ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พลังงาน (Energy)
2
พลังงาน (Energy) ความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้แรงงานได้ เป็นกำลังงานที่ใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง หรือระยะทางหนึ่ง มีค่าเป็น จูล(Joule) ตัวอย่างของพลังงานได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ในแบตเตอรี่ พลังงานเคมีในอาหาร พลังงานความร้อนของเครื่องทำน้ำร้อน หรือพลังงานศักย์ของน้ำที่อยู่เหนือเขื่อน พลังงานสามารถเปลี่ยนรูปจากรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบอื่นได้ โดยกฎการอนุรักษ์พลังงาน
3
พลังงานที่ว่านี้ไม่สามารถจะทำให้สูญสลายไปได้ เว้นแต่ว่าจะแปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของพลังงานในรูปแบบอื่น ยกตัวอย่างเช่น - เปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ตาม บ้านเรือน (โดยใช้โซลาร์เซลล์) - เปลี่ยนพลังงานสะสมที่มีอยู่ในน้ำที่เก็บไว้ในเขื่อน (พลังงานศักย์) มา เป็นพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนไดนาโม (พลังงานจลน์) ของโรงไฟฟ้า
4
พลังงานสามารถจำแนกรูปแบบได้หลายลักษณะ รูปแบบของพลังงาน
พลังงานกล (Mechanical Energy) (พลังงานศักย์ + พลังงานจลน์) พลังงานเคมี (Chemical Energy) พลังงานความร้อน (Thermal Energy) พลังงานแสง (รังสี) (Radiant Energy) พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy) พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)
5
พลังงานกล (Mechanical Energy)
พลังงานศักย์ (Potential Energy) พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) พลังงานเคมี (Chemical Energy) พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy) พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy) พลังงานความร้อน (Thermal Energy) พลังงานแสง (รังสี) (Radiant Energy)
6
พลังงานกล (mechanical energy)
เป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พลังงานศักย์และพลังงานจลน์ พลังงานศักย์ (Potential Energy) พลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุ เกี่ยวกับตำแหน่ง น้ำหนัก และแรงโน้มถ่วงของโลก ถ้าเราอยู่ในตำแหน่งที่สูง จะมีพลังงานศักย์สูง พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) พลังงานของวัตถุขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง
8
พลังงานเคมี (Chemical Energy)
พลังงานที่สะสมอยู่ในสารต่างๆ โดยอยู่ในพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล เมื่อพันธะแตกสลาย พลังงานสะสมจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง ตัวอย่างเช่น พลังงานเคมีที่อยู่ในอาหาร พลังงานที่ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่
9
พลังงานความร้อน (Thermal Energy)
มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
10
พลังงานแสง (รังสี) (Radiant Energy)
พลังงานที่มาในรูปของคลื่น เช่น แสง ความร้อน คลื่นวิทยุ อินฟาเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีคอสมิก เป็นต้น
11
พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)
เป็นพลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือประจุไฟฟ้าในช่วงเวลาหนึ่ง โดยอิเล็กตรอนเคลื่อนจากขั้วที่จ่ายอิเล็กตรอนได้ดีไปสู่ขั้วที่รับ อิเล็กตรอนได้ดี (ขั้วลบไปหาขั้วบวก) แต่ไฟฟ้าเป็นกระแสสมมุติเคลื่อนสวนทางกับอิเล็กตรอนจากขั้วบวกไปขั้วลบ
12
พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)
พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาในรูปของสารกัมมันตรังสีซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ หรือสารกัมมันตรังสีในระเบิดนิวเคลียร์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือระเบิดปรมาณู
13
พลังงานสามารถเปลี่ยนรูปได้ แต่ไม่สามารถทำให้สูญหายหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ เรียกว่า กฎอนุรักษ์พลังงาน (Law of conservation of energy) กระบวนการหรือเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนรูปพลังงานแสดงดังภาพ
17
การถ่ายโอนพลังงาน พลังงานสามารถถูกถ่ายโอนได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1. งาน (work) เป็นการถ่ายโอนพลังงานเนื่องจากแรงที่กระทำต่อวัตถุ อัตราเร็วและตำแหน่งความสูงของลูกบอลเปลี่ยนแปลง โดยงานที่เกิดขึ้นจะถูกถ่ายโอนกลายเป็นพลังงานกลของวัตถุนั้น
18
2. การถ่ายโอนความร้อน (heat transfer)
เป็นการถ่ายโอนพลังงานระหว่างวัตถุหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน โดยค่าของอุณหภูมิจะมีความสัมพันธ์กับการสั่นและการเคลื่อนที่ของอะตอมหรือโมเลกุลของวัตถุ 3. การส่งไฟฟ้า (electrical transmission) เป็นการถ่ายโอนพลังงานโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของประจุ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ส่งพลังงานไปยังบ้านเรือน โรงงาน ฯ
19
4. คลื่นกล (mechanical waves)
เป็นการถ่ายโอนพลังงานโดยการรบกวนตัวกลาง ทำให้คลื่นแผ่ออกไป ต้องมีการอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นน้ำ เป็นต้น 5. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves) เป็นการถ่ายโอนพลังงานโดยการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า ซึ่งไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น แสง ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ เป็นต้น
20
อ้างอิง หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ “พลังงาน” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.