ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การทำโครงงาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
การทำโครงงาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย การอบรมเชิงปฏิบัติการ CT – LT เมษายน ๒๕๕๙ ผศ.ดร. จรรยา ดาสา วิทยากรหลัก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4
วัฏจักรสืบเสาะ 1. ตั้งคำถามกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
2. รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน -เด็กมีความรู้เดิม? -เด็กคาดคะเน? -เด็กต้องการรู้? 6. อภิปรายผล -เด็กๆได้ตอบคำถาม ค้นพบ/สมมติฐานถูกหรือผิด/สะท้อนผล วัฏจักรสืบเสาะ 5. บันทึกข้อมูล -อาจใช้ภาพถ่าย/เขียนบรรยาย 3.ทดลองและปฏิบัติการสืบเสาะ -ค้นหาคำตอบได้อย่างไร –ใช้อุปกรณ์อะไร -ทดลองที่เหมาะสมอย่างไร 4. สังเกตและบรรยาย -เด็กตั้งข้อสังเกต สำรวจ/บรรยายสิ่งที่พบ
5
ความหมายของโครงงาน โครงงาน คือ การศึกษาในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่กำหนดหัวข้อ วางแผน ลงมือสำรวจตรวจสอบด้วยกระบวนการที่หลากหลายจนเข้าใจในหัวข้อนั้นอย่างลึกซึ้งและนำไปใช้ต่อยอดได้ BVA-ZWH xxxx-VMS3-v6
6
เหตุผลที่โรงเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
1. หัวข้อโครงงานนำมาจากชื่อใบกิจกรรมในกล่อง และนำกิจกรรมในกล่องมาปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มวัสดุ อุปกรณ์ในการทดลอง หรือนำมาปรับเป็นกิจกรรมตามกระบวนการครบตามขั้นตอนวัฏจักรวิจัย 6 ขั้นตอน ไม่ได้เกิดจากความสงสัยของเด็กจริง 2. คำถามไม่ได้นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบที่ต้องสืบเสาะวิธีการที่หลากหลาย
7
3. กิจกรรมและกระบวนการตามวัฏจักรวิจัย ที่ปฏิบัติรอบที่ 1 และ รอบที่ 2 เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ครูและเด็กไม่สรุปผลที่ได้ แต่เป็น การสนทนาระหว่างเด็กกับเด็ก โดยครูเป็นผู้ตั้งคำถาม ครูเป็นผู้สรุปผล หรือสรุปผลไม่สอดคล้องกับคำถามและไม่มีการอภิปรายผล 4. การรวบรวมความคิด และการคาดคะเนคำตอบยังไม่สอดคล้องกับคำถาม 5. วิธีการสำรวจ ตรวจสอบ ส่วนใหญ่ครูเป็นผู้กำหนดวิธีการ และเด็กเป็นเพียงผู้ทำตาม เด็กไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบการสำรวจตรวจสอบ
8
6. ไม่มีการบรรยาย และสรุปผลการสำรวจตรวจสอบ ว่าผลที่เกิดจากการสังเกต หรือการทดลองว่าผลเป็นอย่างไร ไม่สอดคล้องกับคำถาม 7. การบันทึกผลของเด็กในการสำรวจตรวจสอบ ยังไม่สอดคล้องและไม่ชัดเจนสมบูรณ์
9
แนวคิดของการทำโครงงาน
การเรียนรู้ร่วมกัน (Co-construction) พูดคุยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกัน (Talk and create new ideas together) ทำงานร่วมกันระหว่างเด็กและครูไปทีละขั้นตามแนวทาง/ความคิดของเด็ก (work with students step by step and follows their ideas) เด็กและครูสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกขั้น (metacognition) BVA-ZWH xxxx-VMS3-v6
10
เป้าหมายของการทำโครงงาน
เปิดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยไม่จำกัดสาขาวิชา เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ทักษะ พัฒนาการ และแนวคิดที่หลากหลาย ทักษะการเรียนรู้ การสังเกต การซักถาม การลงมือปฏิบัติ ทักษะทาง STEM การตั้งคำถาม การแก้ปัญหา การออกแบบ การลงความเห็น พัฒนาการ ด้านสติปัญหา สังคม ภาษา การเคลื่อนไหว ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันทั้งระหว่างเด็กกับเด็ก เด็กกับครู รวมถึงผู้ปกครอง ชุมชน BVA-ZWH xxxx-VMS3-v6
11
ระยะของการทำโครงงาน กำหนดหัวข้อโครงงาน วางแผนการสำรวจตรวจสอบ
ลงมือดำเนินการ สรุป/กิจกรรมสุดท้าย
12
ระยะที่ ๑ กำหนดหัวข้อโครงงาน
13
การกำหนดหัวข้อโครงงาน
สังเกตจากสิ่งที่นักเรียนสนใจ ต่อยอดจากประสบการณ์เดิมของเรียน พูดคุยกับนักเรียนถึงสิ่งที่นักเรียนสนใจ การกำหนดหัวข้อโครงงาน
14
ที่มาของโครงงาน “มันฝรั่ง”
วันหนึ่งที่ครูให้นักเรียนนำมันฝรั้งมาเพื่อทำเฟรนฟราย์ นักเรียนได้สังเกตมันฝรั้งอย่างละเอียด และพบว่า มันฝรั้งมีตาหรือยอดอ่อน จึงเกิดความสงสัยเกี่ยวกับยอดอ่อนของมันฝรั่ง
15
คำถาม ยอดอ่อนหรือตาของมันฝรั่งคืออะไร
ตาหรือยอดอ่อนของมันฝรั่งทำให้เกดิมันฝรั่งลูกใหม่ได้หรือไม่ มันฝรั่งมีเมล็ดหรือไม่ เราสามารถปลูกพืชโดยไม่ใช้เมล็ดได้หรือไม่ การปลูกต้นมันฝรั่งต้องใช้มันฝรั่งทั้งหัวหรือไม่ ครูรวบรวมคำถามที่นักเรียนสงสัย ซึ่งมีดังนี้.....
16
การสำรวจตรวจสอบ ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ศึกษาในคำถามที่สนใจ นักเรียนออกแบบการสำรวจตรวจสอบ วัสดุ อุปกรณ์ อะไรบ้างที่ต้องใช้ วาดภาพแผนการทดลองที่คิดไว้ ลงมือดำเนินการตามที่พบ สรุปสิ่งที่ค้นพบ เพื่อตอบคำถามดังกล่าว ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามความสนใจ เพื่อหาคำตอบของคำถามแต่ละคำถามที่ได้รวบรวมไว้ และให้แต่ละกลุ่มออกแบบการศึกษา ทั้งนี้ครูจะคอยใช้คำถามกระตุ้นนักเรียนคิด สอดแทรกทักษะกระบวนการและพัฒนาการที่เกี่ยวข้อง
17
ส่วนใดของมันฝรั่งที่นำไปปลูกเป็นต้นใหม่
นักเรียนตั้งสมมติฐาน “มันฝรั่งเฉพาะส่วนที่มียอดอ่อนจะเติบโตไปเป็นต้นมันฝรั่ง” วางแผนการ โดยการนำฝรั่งทั้งลูก ครึ่งลูก ส่วนที่มียอดอ่อน และส่วนที่ไม่มียอดอ่อน นำไปปลูก นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลงของมันฝรั่งที่ปลูกอย่างละเอียด และบันทึกสิ่งที่พบ ตัวอย่างเช่น คำถามที่ว่า ส่วนใดของมันฝนั่งที่นำไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ นักเรียนได้รวบรวมความคิดและกำหนดสมมติฐาน จากคำถามที่ตั้งไว้ ออกแบบการสำรวจตรวจสอบ และสังเกตและบรรยายสิ่งที่พบ
18
ผลการศึกษา นักเรียนพบว่ามันฝรั่งส่วนที่มีตา มีต้นงอกออกมา ส่วนที่ไม่มีตาก็แห้งเหี่ยวไป ไม่มีต้นงอก เมื่อต้นมันฝรั้งโตขึ้นพบว่า มีมันฝรั่งลูกใหม่ เกาะที่ราก
19
คำถามเพิ่มเติม ใช้เวลานานเท่าใด กว่าจะได้มันฝรั่งลูกโต
ในต้นมันฝรั่งหนึ่งต้นจะมีมันฝรั่งได้กี่ลูก มันฝรั่งที่เกิดขึ้นใหม่สามารถนำมาปลูกเป็นต้นใหม่ได้หรือไม่ จากการทำการศึกษานักเรียนเกิดคำถามเพิ่มเติมมากมาย เนื่องจากใกล้ปิดภาคเรียน ครูจึงให้นักเรียนนำคำถามเหล่านี้ไปหาคำตอบในช่วงปิดเทอม ร่วมกับผู้ปกครง
20
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
ขั้นพี้นฐาน ขั้นบูรณาการ การลงความเห็น การตั้งสมมติฐาน ทำนาย กำหนดและควบคุมตัวแปร การออกแบบการทดลอง การสังเกต การนับ การจำแนก การวัด สเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา การจัดกระทำและสื่อสารข้อมูล
21
หัวข้อโครงงานที่ดี อยู่ในความสนใจและเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของเด็กส่วนใหญ่ในกลุ่ม ง่ายต่อการค้นคว้าด้วยตัวของเด็กและเด็กสามารถสังเกตผลได้เอง ไม่ควรจะซับซ้อนหรือง่ายจนเกินไป มีกิจกรรมที่หลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในโครงงาน เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นและทรัพยากรหรืออุปกรณ์ที่มี
22
หัวข้อโครงงานใดน่าจะเป็นหัวข้อที่ดี
A) ไอติมแสนสวย B) ไอติมแสนอร่อย ไอติมมีกี่สี ไอติมมีรสอะไรบ้าง ไอติมมีรูปร่างแบบใดบ้าง ในห้องของเราชอบไอติมรสชาติใดมากที่สุด เราจะทำไอติมอย่างไร น้ำอัดลมและน้ำหวานอันไหนทำไอติมได้เร็วกว่ากัน ทำอย่างไรให้ไอติมอยู่ได้นานที่สุด
23
ระยะที่ ๒ การวางแผน
24
การวางแผนกระบวนการ ครูและเด็กร่วมกันคิดวิธีการในการหาคำตอบ
การวางแผนขั้นตอนสามารถยึดหยุ่นได้ และสามารถปรับเปลี่ยนได้ ครูควรใช้คำถามเพื่อช่วยให้เด็กสามารถวางแผนในการสืบเสาะได้อย่างเป็นระบบ ครูควรบันทึกรวบรวมหลักฐาน เพื่อสะท้อนการสอนของตนเอง เช่น วิธีการใดหรือคำถามใดที่ช่วยกระตุ้นเด็กเกิดการเรียนรู้
25
การวางแผนการสำรวจตรวจสอบ
มีคำถามอะไรบ้างที่นักเรียนสนใจ คำถามใดบ้างที่เราจะสำรวจตรวจสอบร่วมกัน คำถามใดควรหาคำตอบก่อนหลัง จะตอบคำถามนั้นอย่างไร การวางแผนการสำรวจตรวจสอบ
26
การวางแผนการสำรวจตรวจสอบ
พูดคุยกับนักเรียนเพื่อร่วมกันออกแบบวิธีการหาคำตอบ กำลังจะศึกษาอะไร หาคำตอบได้อย่างไร ต้องสังเกต หรือ บันทึกอะไรบ้าง คำถามสำหรับครู: มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือพัฒนาการด้านใดที่เพิ่มเติมให้กับเด็กได้บ้าง การวางแผนการสำรวจตรวจสอบ
27
ระยะที่ ๓ ดำเนินการ
28
การดำเนินการ (ลงมือทำ)
เด็กหาคำตอบของคำถามด้วยตนเองเป็นหลัก โดยครูเป็นผู้ช่วยเหลือ เปิดโอกาสให้เด็กได้นำเสนอ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบหรือเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็กเป็นระยะ ในการตอบคำถามแต่ละคำถาม อาจจะทำตามขั้นตอนของวัฏจักรการสืบเสาะ 6 ขั้น หากเกิดคำถามใหม่ระหว่างกระบวนการ ควรกระตุ้นให้เด็กวางแผนและหาคำตอบด้วยตนเองเพิ่มขึ้น เด็กบันทึก จัดทำหรือรวบรวมเอกสารด้วยตนเอง
29
กิจกรรมสรุป นักเรียนร่วมกันจัดทำวิดีโอแสดงบทบาทสมมุติของตนเอง เพื่อนำไปให้ผู้ปกครองดูผลงานของตนเอง
30
โครงงาน เรื่อง ใบโพธิ์ถอดเสื้อ
เป็นโครงการในจังหวัดสระแก้ว โครงงานนี้เกิดจากากรที่นักเรียนต้องทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน โดยหน้าที่ของห้องอนุบาลคือ กวาดใบโพธิ์ วันหนึ่งนักเรียนพบว่า มีใบโพธิ์บางใบที่มีแต่ก้านใบ แต่ส่วนใหญ่จะแหว่ง ๆ นักเรียนจึงสงสัยว่า เราจะทำใบโพธิ์ที่มีแต่ก้านแบบนี้ได้หรือไม่ จึงเป็นที่มาของโครงงานใบโพธิ์ ถอดเสื้อ
31
เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร
การนำใบโพธิ์ไปต้มในน้ำเดือดจะทำให้ใบโพธิ์ถอดเสื้อ เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร โดยครูได้พูดคุยกับนักเรียนว่า เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื่อได้อย่างไร นักเรียนร่วมกันคิดแล้วได้ข้อสรุปว่า เราน่าจะต้องนำใบโพธิ์ไปต้มในน้ำเดือด เพราะเวลาที่แม่ทำอาหาร เอาผักต้มในน้ำ ผักจะเปื่อย และใบจะหลุดออกมา แต่ยังมีส่วนที่เป็นก้านแข็ง ๆ อยู่ จึงเริ่มทำการออกแบบ และ ดำเนินการทดลองเอาใบโพธิ์ไปต้มในน้ำเดือด
32
เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร
ข้อสรุป: การนำใบโพธิ์ไปต้มในน้ำเดือดไม่สามารถทำให้ใบโพธิ์ถอดเสื้อได้ เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร หลังจากทดลอง พบว่า ใบโพธิ์ไม่ถอดเสื้อ
33
เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร
ถ้าเติมสารบางอย่างลงไปในน้ำเดือดจะทำให้ใบโพธิ์ถอดเสื้อได้ เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร นักเรียนให้ข้อเสนอว่า เราน่าจะต้องเติมอะไรบางอย่างลงไปในน้ำด้วย เพราะตอนทำอาหาร แม่ก็เติม เกลือ น้ำตาล และบางทีก็น้ำส้มสายชูลงไป ดังนั้นจึงร่วมกันออกแบบการทดลอง โดยการเติมเกลือ น้ำตาล น้ำส้มสายชู ลงไปในน้ำ ที่จะต้มใบโพธิ์ โดยทำการเติมสารทีละชนิด เพื่อเปรียบเทียบกัน เกลือ น้ำตาล น้ำส้มสายชู
34
เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร
ข้อสรุป: การเติมเกลือ น้ำตาล หรือน้ำส้มสายชูลงในน้ำเดือดก็ไม่สามารถทำให้ใบโพธิ์ถอดเสื้อได้ เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า การเติมเกลือ น้ำตาล หรือน้ำส้มสายชู ไม่สามารถทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้ ตอนนี้นักเรียนเริ่มคิดไม่ออกแล้วว่าจะต้องทำอย่างไร
35
เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร
ใบโพธิ์ที่แตกต่างกัน จะสามารถนำมาถอดเสื้อได้เหมือนกันหรือไม่ เราจะทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้อย่างไร หลังจากที่นักเรียนทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้ นักเรียนเริ่มส่งสัยว่า ใบโพธิ์ต่างขนิดกัน สามารถทำใบโพธิ์ถอดเสื้อได้เหมือนกันหรือไม่ โดยครั้งนี้นักเรียนได้ใช้วัฎจักรการสืบเสาะ ในการหาคำตอบ
36
ระยะที่ ๔ ขั้นสรุปหรือปิดโครงการ
37
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้: เขียนแผนภาพหรือข้อสรุปทั้งหมดที่ได้จากการทำโครงงาน ตอบคำถามทุกคำถาม
นำเสนอสิ่งที่ค้นพบให้กับคนอื่น: จัดบอร์ดหรือนิทรรศการ หรือกิจกรรมเพื่อบอกเล่าสิ่งที่ตนเองค้นพบ กิจกรรมสรุป
38
เด็ก ๆ นำใบโพธิ์ถอดเสื้อที่ได้มาออกแบบ และ สร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์
จัดมุมแสดงผลงานของตนเอง พร้อมบอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงงานให้กับเพื่อนห้องอื่น ๆ และผู้ปกครอง กิจกรรมสรุป โครงงาน
39
การเขียนรายงาน
40
หัวข้อที่ต้องมีในรายงาน
ที่มาของโครงงาน ซึ่งระบุถึงที่มาของคำถามและสรุปคำถามที่ต้องการสำรวจตรวจสอบ การวางแผนและดำเนินการของโครงงาน โดยตอบคำถามทีละคำถาม กิจกรรมสรุปจบโครงงาน ระบุว่านักเรียนได้สื่อสารสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดจากการทำโครงงานอย่างไร ผลที่ได้รับจากการทำโครงงาน (ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ / พัฒนาการของผู้เรียน
41
บอกเล่าว่านักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไร หรือ เกิดความสนใจในเรื่องใด
การสนทนาระหว่างครูกับเด็กจนได้มาซึ่งคำถามที่นักเรียนสงสัย สรุปว่าในโครงงานนี้มีคำถามที่ต้องการหาคำตอบกี่คำถาม อะไรบ้าง ทั้งนี้อาจจะเริ่มแค่ที่ 1 คำถาม ที่มาของโครงงาน
42
คำถามในโครงงาน ต้มใบโพธิ์ในน้ำเดือดใบโพธิ์จะถอดเสื้อหรือไม่
ต้มใบโพธิ์ในน้ำตาล เกลือ น้ำส้มสายชูใบโพธิ์จะถอดเสื้อหรือไม่ ใบโพธิ์แบบใดบ้างที่นำมาถอดเสื้อได้ เป่าฟองสบู่อย่างไรได้ฟองขนาดใหญ่ หลอดต่างกันได้ฟองขนาดต่างกันหรือไม่ หลอดที่มีรูกว้างต่างกันได้ฟองขนาดต่างกันหรือไม่ หลอดสั้นยาวต่างกันได้ฟองขนาดต่างกันหรือไม่ อัตราส่วนใดทำให้ได้น้ำยาล้างจานที่เป่าฟองได้ใหญ่ที่สุด
43
คำถามที่ ๑ ……….. อาจจะระบุที่มาเฉพาะคำถามนี้หรือไม่ต้องก็ได้ถ้าได้เกริ่นแล้วในที่มา ถ้ามีการเกริ่นนำ ให้เกรินนำก่อนแล้วค่อยสรุปคำถาม ตอนท้าย จากการได้เป่าฟองสบู่นักเรียนพบว่าฟองสบู่ที่เราเป่านั้นใสไม่มีสีแต่จะมีสีรุ้งเมื่อโดนแสง นักเรียนจึงเกิดความสงสัยว่า เราจะทำฟองสบู่สีต่าง ๆ เช่น แดง ชมพู ฟ้า ได้หรือไม่ จึงเกิดความสงสัยว่า “เราสามารถทำฟองสบู่สีต่าง ๆ ได้หรือไม่อย่างไร”
44
การรวบรวมความคิดเห็นและ-ข้อสันนิษฐาน
แสดงให้เห็นบรรยากาศที่เกิดขึ้นจริงในห้องเรียน เช่น การสนทนา อาจแนบภาพประกอบการสรุปสิ่งที่นักเรียนรวบรวม ครูถามนักเรียนว่า..ดินแบบใดบ้างค่ะที่นักเรียนเอามาปั้น กลุ่ม 3: ดินเหนียวค่ะ กลุ่ม 2: ดินร่วนค่ะ กลุ่ม 3: ดินเหนียวปนร่วมค่ะ
45
การรวบรวมความคิดเห็นและ-ข้อสันนิษฐาน
การรวบรวมความคิดเห็นทำได้หลายแบบไม่จำเป็นแค่การถามตอบ อาจให้นักเรียนวาดภาพก็ได้ จากคำถามที่นักเรียนสงสัยว่าลูกมะพร้าวประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ครูได้ให้นักเรียนวาดรูปลูกมะพร้าว โดยแสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบทั้งภายในและภายนอก แล้วเล่าให้เพื่อนฟัง จากนั้นสรุปร่วมกันว่า ลูกมะพร้าวจะประกอบด้วย …. (ทั้งนี้ถูกหรือผิดก็ได้)
46
การดำเนินการสำรวจตรวจสอบ
ออกแบบการสำรวจตรวจสอบ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการว่า นร มีส่วนร่วมในการสำรวจตรวจสอบอย่างไร ถ้าเราอยากรู้ว่าลูกมะพร้าวมีอะไรบ้างเป็นส่วนประกอบ นักเรียนคิดว่าเราต้องทำอย่างไร ก: ถามพ่อค่ะ ข: ดูในคอมค่ะ ค: เอามะพร้าวมาดูค่ะ ครู: แล้วถ้าเราเอามะพร้าวมาดู เราจะเห็นข้างในมั๊ยคะ ก: เอามีดมาผ่าดูครับ ดังนั้นเราจะเอามะพร้าวมาดูและผ่าดูข้างในดีมั๊ยคะ ไม่จำเป็นต้องแบ่งสามกลุ่มตามตัวอย่าง ควรเลือกทำวืธีที่เหมาะสมที่สุดเพียงวิธีเดียว
47
การดำเนินการสำรวจตรวจสอบ
2) การสำรวจตรวจสอบ แสดงทีละขั้น ว่านักเรียนทำอะไรบ้าง โดยในแต่ละขั้นนั้นควรใส่ภาพประกอบที่แสดงให้เห็นว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการดำเนินการสำรวจตรวจสอบ
48
การสังเกตบรรยาย ควรบรรยายให้เห็นว่านักเรียนได้สังเกตเห็นอะไรบ้างขณะดำเนินการสำรวจตรวจสอบ ทั้งนี้จะต้องแสดงให้เห็นบรรยากาศที่เกิดขึ้น ขณะที่นักเรียนสังเกตลักษณะของดินและบันทึกลักษณะของเม็ดดิน ครูถามนักเรียนว่านักเรียนพบอะไรอีกบ้างคะ ก: ในดินที่ที่เอามาจากสระน้ำ เวลาเอามือบี้ ๆ มันเหนียวติดมือด้วยค่ะ ข: ผมเห็นเหมือนมีแมลงอยู่ในดินด้วยครับ ค: ดินในกระถางมันเปียก ๆ ด้วยนะคะ
49
การสังเกตบรรยาย ควรบรรยายให้เห็นว่านักเรียนได้สังเกตเห็นอะไรบ้างขณะดำเนินการสำรวจตรวจสอบ ทั้งนี้จะต้องแสดงให้เห็นบรรยากาศที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ขณะที่นักเรียนเทน้ำลงไปในกรวย เห็นอะไรบ้างค่ะ ก: น้ำค่อย ๆ ไหลลงไปข้างล่าง แป๊บเดียวแล้วก็หยุดค่ะ ข: ของผมน้ำไหลลงทีเดียวหมดเลยครับ ครู: แล้วดินที่อยู่ในกรวยเป็นอย่างไรคะ เมื่อเราเทน้ำ ง: มีเศษอะไรก็ไม่รู้ลอยขึ้นมาเต็มเลยค่ะ
50
การบันทึกผล แนบผลการบันทึกของเด็ก อาจะเป็นการวาดภาพ การตัดแปะ หรือบันทึกในตารางที่ครูออกแบบ ทั้งนี้ การบันทึกต้องตรงกับสิ่งที่ทำ และคำถามที่กำหนด ในกรณีที่แบ่งหลายกลุ่มแต่ละกลุ่มทำแตกต่างกัน นักเรียนควรจะบันทึกเฉพาะกลุ่มของตนเองเท่านั้น ภาพขณะเด็กบันทึกจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่สิ่งที่ต้องมี คือใบบันทึกของเด็ก
51
การสรุปและอภิปราย ควรแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีส่วนร่วมในการสรุป
ใส่บทสนทนาระหว่างครูกับเด็กว่าได้ร่วมกันลงข้อสรุปอย่างร ในกรณีที่แบ่งหลายกลุ่มแต่ละกลุ่มทำแตกต่างกัน นักเรียนควรจะนำเสนอผลงานของตัวเอง แลกเปลี่ยนกับเพื่อนในชั้น แล้วลงข้อสรุปด้วยกัน อาจให้นักเรียนวาดภาพสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้
52
การสรุปและอภิปราย ควรแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีส่วนร่วมในการสรุป
จากการที่นักเรียนได้ปลูกถั่วงอก ด้วยถั่วชนิดต่าง ๆ นักเรียนพบอะไรบ้างคะ ก: ถั่วลิสงปลูกมา 5 วันไม่มีอะไรงอกเลยค่ะ ข: มีแต่ถั่วเขียวที่งอกมาแล้วเหมือนถั่วงอกครับ ค: ถั่วฝักยาวส่วนที่งอกมาไม่เหมือนถั่วงอกเลยค่ะ ครู: แสดงว่าเราจะสรุปได้ว่าถั่วชนิดไหน ที่นำมาปลูกแล้วได้ต้นถั่วงอกคะ เด็กร่วมกันตอบว่า ถั่ววเขียวค่ะ/ครับ
53
การสรุปและอภิปราย การสรุปไม่ควรเกินจากสิ่งที่นักเรียนทำ (ต่อจากหน้าที่ผ่านมา) จากการทดลองทำให้นักเรียนสรุปได้ว่า ถั่วเขียวนำมาปลูกเป็นถั่วงอกได้ ถั่วงอกเป็นผักท่ีมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีวิตามีนอี และ แคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ส่วนที่ขีดเส้นใต้นี้ไม่เกี่ยวกับการทดลองเลย ไม่ต้องนำมาใส่ค่ะ เพราะสรุปเกินจากสิ่งที่ทำ
54
การสรุปและอภิปราย กรณีที่แต่ละกลุ่มทดลองต่างกัน การบันทึกจะเฉพาะที่ตนเองทำ เวลาสรุปต้องนำมาแลกเปลี่ยนกัน จากการสังเกตส่วนประกอบของดอกไม้ชนิดต่าง ๆ กลุ่ม ก กลุ่ม ข ศึกษาดอกไม้ต่างชนิดกัน ครูจึงให้แต่ละกลุ่มเล่าให้เพื่อนฟังถึงผลที่ได้จากการศึกษา จากนั้นจึงมาสรุปร่วมกัน ครู: ตกลงแล้วดอกกุหลาบประกอบไปด้วยอะไรบ้างคะ ก: กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสร ครู: มีอย่างอิ่นอีกมั๊ยคะ ข: เกสรมีผู้ชาย กับ ผู้หญิงด้วยครับ ครู: แล้วดอกกล้วยไม้ละคะ หลังจากนักเรียนได้ข้อสรุปแล้ว ครูให้นักเรียนวาดรูป ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่พบในดอกไม้
55
การสรุปและอภิปราย นอกจากากรสรุปแล้วจะต้องอภิปรายว่าสอดคล้องกับสิ่งที่นักเรียนคาดคะเนไว้หรือไม่ ข้อสรุปที่ได้ตรงกับที่นักเรียนคาดการณ์ไว้หรือไม่ค่ะ ก: ของผมไม่ตรงครับ ข: ของหนูเหมือนเลยค่ะ เพราะหนูเก่งกว่า
56
คำถามที่ ๒ ……….. ทั้งนี้ถ้าคำถามใด ไม่สามารถตอบได้โดยใช้วัฎจักรวิจัย ก็สามารถทำกิจกรรมได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ควรทำเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับโครงงานมากยิ่งขั้น เช่น การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ การทำกิจกรรมนันทนาการ/สร้างสรรค์ กิจกรรมเหล่านี้ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่มากขึ้น
57
เมื่อนักเรียนตอบคำถามทุกคำถามแล้วควรมีกิจกรรมสรุปเพื่อให้นักเรียนได้ประมวลความรู้จากการได้ทำโครงงานทั้งหมด เช่น นักเรียนวาดรูปเล่าเรื่องสิ่งที่ได้ทำในโครงงาน และนำไปเล่าเรื่องให้ผู้ปกครองฟัง นักเรียนจัดแสดงผลงานจากการทำโครงงานพร้อมทั้งเล่าเรื่องราวให้เพื่อนห้องอื่น นักเรียนนำชิ้นงานที่ได้ไปใช้ประโยชน์ กิจกรรมสรุปโครงงาน
58
กิจกรรมสรุปโครงงาน ตัวอย่างโครงงาน เรื่อง ขี้ดินสอ
นักเรียนพบว่าขี้ดินสอ นำไปปั้นได้ ดังนั้นในกิจกรรมสรุป นักเรียนนำขี้ดินสอมาปั้นเป็นสัตว์ที่นักเรียนชอบ และนำมาจัดแสดงผลงานหลังห้องเรียน ตัวอย่างโครงงาน เรื่อง ทานตะวันแสนสวย จาการทำโครงงานนักเรียนทราบว่าจะปลูกทานตะวันอย่างไร นักเรียนจึงร่วมกันปลูกต้นทานตะวัน หน้าห้องเรียน โดยใช้วิธีการและวัสดุที่ได้เรียนรู้จากการทำโครงงาน กิจกรรมสรุปโครงงาน
59
ผลที่ได้รับจาก การทำโครงงาน
ระบุว่านักเรียนได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ พัฒนาการด้านต่าง ๆ อะไรบ้าง อย่างไร ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนได้รับคือ การสังเกต สังเกต เปรียบเทียบ น้ำที่ไหลออกมาจากดินต่างชนิดกัน การวัด วัดปริมาณน้ำที่เติมลงไปและน้ำที่ไหลออกมา โดยใช้แก้วขนาดเล็ก พัฒนาการที่นักเรียนได้รับคือ ภาษา บอกเล่าสิ่งที่ทำให้ครูและเพื่อนฟัง สังคม ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและผู้ปกครองได้ ผลที่ได้รับจาก การทำโครงงาน
60
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ การกำหนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง (ออกแบบ ปฏิบัติ บันทีก) การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป การสังเกต การวัด การจำแนกประเภท ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา การคำนวณ จัดกระทำกับข้อมูล (การสื่อสารข้อมูล) การลงความเห็นจากข้อมูล
61
พัฒนาการ 4 ด้าน การเรียนรู้ การเคลื่อนไหว ภาษา สังคม
62
คำถาม
63
สิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม
เว็บไซต๋ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ศึกษาคู่มือการประเมินออนไลน์และการจัดทำเอกสารโครงงาน ดาวน์โหลดได้ที่ HTTP : // SORNORSSK32.wordpress.com (ขั้นตอนการทำโครงงานตามวัฏจักรสืบเสาะ 6 ขั้น ทำ 2 รอบหรือ 3 รอบ) ลงทะเบียนออนไลน์ในเว็บ ควรเข้าสู่ระบบประเมินออนไลน์ เมื่อได้จัดทำโครงงานเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นควรเข้าเว็บประเมินช่วงเดือน พฤศจิกายน เป็นต้นไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.