งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการให้คำแนะนำ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการให้คำแนะนำ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการให้คำแนะนำ
นิตยา พรรณาภพ

2 กรอบการให้บริการโภชนาการในANC
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยเฝ้าระวังน้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์ ให้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์และ กินยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ทุกวันตลอดการตั้งครรภ์

3 Flow chart การดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการในคลินิกฝากครรภ์
หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ - ประเมินภาวะโภชนาการ (วัดส่วนสูงครั้งแรก ชั่งน้ำหนัก จุดกราฟโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ แปลผล) - ประเมินภาวะโลหิตจาง (ดูผล Hct./Hb. ที่ 1st ANC. และที่ GA 32 สัปดาห์ ร่วมกับผลธาลัสซีเมีย) - ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีภาวะโลหิตจาง หญิงตั้งครรภ์น้ำหนักน้อย หญิงตั้งครรภ์อ้วน หญิงตั้งครรภ์น้ำหนักปกติ ตรวจพยาธิ แจ้งและอธิบายผลการประเมินภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีพยาธิ ให้ความรู้ด้านโภชนาการเป็นกลุ่มเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก รักษา ให้คำปรึกษาแนะนำทางโภชนาการรายคนทุกครั้งที่มา ANC สนับสนุนให้มีการจัดหาอาหารเสริมที่มีพลังงานและโปรตีนสูง น้ำหนักไม่เพิ่มตามเกณฑ์ น้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์ นัดหมายเดือนละ 1 ครั้ง นัดหมายตามปกติ ติดตามการบริโภคอาหารทุก 2 สัปดาห์ จ่ายยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและยาเม็ดกรดโฟลิกเพิ่มเพื่อการรักษาและติดตาม Hct./Hb. และ จ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีนร่วมด้วย จ่ายยาเม็ดรวมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ในกรณีไม่มีข้อห้าม หรือ ยาเม็ดไอโอดีนและยาเม็ดกรดโฟลิกในกรณีที่แพ้ท้อง

4 การประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
เป็นทั้งเครื่องมือประเมินและเครื่องมือในการให้ความรู้ เพื่อดูว่าพฤติกรรมใดเหมาะสม พฤติกรรมใดไม่เหมาะสม ก่อนการประเมินควรให้ความรู้ในเรื่องธงโภชนาการ ควรมีหุ่นจำลองอาหารหรืออาหารจริงเป็นตัวอย่าง ประกอบการสอน ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

5 แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์
พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ น้อยกว่า มาก กว่า 1. กินอาหารเช้าที่มีกลุ่มอาหารอย่างน้อย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าว-แป้ง ผัก และ เนื้อสัตว์ หรือกลุ่มข้าว-แป้ง ผัก และนม ทุกวัน 2. กินอาหารหลัก วันละ 3-4 มื้อ (เช้า กลางวัน เย็น และ/หรือค่ำ) ทุกวัน 3. กินอาหารว่าง วันละ 2-3 ครั้ง (ช่วงสาย ช่วงบ่าย และ/หรือ ช่วงค่ำ) ทุกวัน 4. ปริมาณอาหารที่บริโภคในแต่ละกลุ่ม 4.1 กินอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง วันละ 9 ทัพพี 4.2 กินอาหารกลุ่มผักวันละ 6 ทัพพี ทุกวัน 4.3 กินอาหารกลุ่มผลไม้ วันละ 6 ส่วน ทุกวัน 4.4 กินอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ วันละ 12 ช้อนกินข้าว ทุกวัน 4.5 ดื่มนม นมสดรสจืด วันละ 3 แก้วหรือกล่อง ทุกวัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่อ้วน นมพร่องมันเนย/นมขาดมันเนย วันละ 3 แก้วหรือกล่อง ทุกวัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์อ้วน ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

6 แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์
พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ น้อยกว่า มากกว่า 5. กินปลาสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน 6. กินไข่ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 1 ฟอง 7. กินอาหารที่เป็นแหล่งธาตุเหล็ก เช่น ตับ เลือด สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง 8. กินยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็กและโฟเลท (เลือกให้ตรงกับยาที่ได้รับ) ยาเม็ดรวมเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟเลท (รวมในเม็ดเดียวกัน) วันละ 1 เม็ด ทุกวัน ยาเม็ดเสริมไอโอดีน วันละ 1 เม็ด ทุกวัน ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก วันละ 1 เม็ด ทุกวัน ยาเม็ดเสริมกรดโฟลิก วันละ 1 เม็ด ทุกวัน 9. กินอาหารประเภทผัด ทอด และกะทิ (เลือกให้ตรงตามภาวะโภชนาการของ หญิงตั้งครรภ์) 1-5 อย่างต่อวัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์น้ำหนักปกติ มากกว่า 5 อย่างต่อวันสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อย 1-3 อย่างต่อวันสำหรับหญิงตั้งครรภ์อ้วน ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

7 แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์
พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ 10. ไม่กินเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หมูสามชั้น ขาหมู คอหมู หนังไก่ หนังเป็ด ไส้กรอก เป็นต้น 11. ไม่กินขนมที่มีรสหวาน เช่น ไอติม หวานเย็น ช็อคโกแล็ต หมากฝรั่ง ลูกอม เยลลี่ เป็นต้น 12. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน โกโก้เย็น ชาเย็น น้ำปั่น น้ำผลไม้ นมเปรี้ยว เป็นต้น 13. ไม่กินขนมเบเกอรี่ เช่น เค้ก พาย โดนัท เป็นต้น 14. ไม่กินขนมขบเคี้ยว เช่น ปลาเส้นปรุงรส มันฝรั่งทอด ขนมปังเวเฟอร์ ขนมปังแท่ง เป็นต้น 15. ไม่เติมเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซี้อิ๊ว แม็กกี้ ในอาหารที่ปรุงสุกแล้วทุกครั้ง 16. ไม่เติมน้ำตาลในอาหารที่ปรุงสุกแล้วทุกครั้ง 17. ไม่กินอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง หอยดอง เป็นต้น 18. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 19. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา เป็นต้น ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

8 แนวโน้มการเพิ่มน้ำหนัก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
แจ้งผลและอธิบายผล หญิงตั้งครรภ์ ภาวะโภชนาการ แนวโน้มการเพิ่มน้ำหนัก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร น้ำหนักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นน้อย ไม่ดี พฤติกรรม ข้อใดเหมาะสม ข้อใดไม่เหมาะสม ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

9 การให้ความรู้ด้านโภชนาการเป็นกลุ่ม
สอนในรูปของ ธงโภชนาการ และควรมีหุ่นจำลองอาหาร (Food Model) หรืออาหารจริง ประกอบการ ให้ความรู้ เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเลือกซื้อ เลือกกินอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ผนวกเนื้อหาเข้ากับโรงเรียนพ่อแม่ อาหารหญิงตั้งครรภ์ จัดอบรม หญิงตั้งครรภ์ สามี และญาติ

10 แนวทางการให้คำแนะนำ/ปรึกษาทางโภชนาการ
เป็นรายคนเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ กินอาหารให้ครบ 5 กลุ่ม ทุกวัน ได้แก่ กลุ่มข้าว-แป้ง ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และนม ดื่มนมสดรสจืดทุกวัน ส่วนแหล่งแคลเซียมจากอาหารอื่น เช่น โยเกิร์ต รสธรรมชาติ ปลาเล็กปลาน้อย ปลากระป๋อง เต้าหู้แข็ง-อ่อน สัตว์ตัวเล็กที่กินทั้งตัวและ กระดูก ได้แก่ กบ/เขียด/อึ่งแห้ง/ แย้/กิ้งก่า กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กินอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ให้หลากหลาย รวมทั้งไข่ ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์ เช่น เต้าหู้ เป็นต้น กินปลา อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 วัน กินอาหารที่เป็นแหล่งธาตุ เหล็กสัปดาห์ละ 2-3 วัน กินไข่ สัปดาห์ละ 3-7 วัน แต่ละกลุ่มปริมาณเพียงพอและกินให้หลากหลาย กินอาหารมื้อหลักวันละ 3-4 มื้อ กินอาหารว่าง 2-3 มื้อ ได้แก่ อาหารว่างเช้า บ่าย และ/หรือค่ำ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่หวาน ไม่เค็ม ไม่มัน ก่อนเวลาอาหารประมาณ 1½ ชั่วโมง – 2 ชั่วโมง กินอาหารกลุ่มผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน และกินให้หลากหลายสี เช่น สีเหลือง-ส้ม เป็นแหล่งของวิตามินเอ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมเป็นประจำ ใช้เกลือหรือเครื่องปรุงรสเค็มเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหารทุกครั้ง เกลือไม่เกิน วันละ 1 ช้อนชา น้ำปลาไม่เกินวันละ 5 ช้อนชา นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ อย่างน้อย 8 ขั่วโมง

11 แนวทางการให้คำแนะนำ/ปรึกษาการบริโภคอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ขาดอาหารและกลุ่มเสี่ยง
เพิ่มปริมาณอาหารที่ให้ พลังงาน อาหารประเภทข้าว-แป้ง เช่น ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก มัน อาหารไขมัน เช่น น้ำมัน โดย การปรุงอาหารด้วยวิธีทอดหรือ ผัด และกะทิอาจทำเป็นกับข้าว หรือขนมหวานแบบไทยๆ เช่น กล้วยบวชชี เพิ่มปริมาณและจำนวนครั้งของอาหารว่างเป็น 3 มื้อ ได้แก่ ช่วงสาย ช่วงบ่าย และช่วงค่ำ และให้ก่อนเวลาอาหารมื้อหลักประมาณ 1½ - 2 ชั่วโมง งดกินขนม-เครื่องดื่ม ที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เช่น ขนมขบเคี้ยว ขนม-เครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เป็นต้น เพิ่มปริมาณอาหารทีละน้อย จนได้ตามปริมาณที่แนะนำ

12 แนวทางการให้คำแนะนำ/ปรึกษาการบริโภคอาหาร
สำหรับหญิงตั้งครรภ์อ้วนและกลุ่มเสี่ยง เปลี่ยนชนิดของนมจากนมสดรสจืด เป็น นมขาดมันเนย หรือ นมพร่องมันเนย(รสจืด) อย่าอดอาหารมื้อหลัก หรือลดปริมาณอาหารมากเกินไป จะมีผลกระทบต่อ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การจัดการน้ำหนักจึงควรทำในลักษณะควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากเกินไป ไม่ใช่ลดน้ำหนัก กินผัก ผลไม้รสไม่หวานจัดเพิ่มขึ้น งดกินขนม-เครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เช่น ลูกอม ชอคโกแล็ต เยลลี่ น้ำหวาน น้ำอัดลม การลดหรือเพิ่มอาหาร ต้องค่อยๆ ลด หรือเพิ่มปริมาณทีละน้อย จนกว่าได้ตามที่แนะนำ งดกินขนมเบเกอร์รี่ เช่น เค็ก โดนัท พาย ลดปริมาณอาหารที่ให้พลังงานหากกินมากกว่าที่แนะนำ ได้แก่ กลุ่มข้าว-แป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก มัน เป็นต้น กลุ่มไขมัน เช่น น้ำมัน กะทิ ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่ปรุงด้วยวิธีการทอด ผัด แกงกะทิหรือขนมที่ใส่ กะทิ ให้เปลี่ยนเป็นอาหารที่ปรุงโดยการต้ม ตุ๋น นึ่ง ปิ้ง อบ ยำ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หนังไก่ หมูสามชั้น หมูติดมัน ไส้กรอก เป็นต้น งดกินจุบจิบ เช่น ขนมกรุบกรอบ ไม่ควรมีอาหาร/ ขนม/ เครื่องดื่มที่ให้ พลังงานสูงไว้ในบ้านมากเกินไป ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายและ/หรือ ออกกำลังกาย

13 การจ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก
ไอโอดีน ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม กรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม หญิงตั้งครรภ์ทุกรายตลอดการตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตรในระยะ 6 เดือนแรก คำแนะนำการกินยา กินยาหลังรับประทานอาหารเช้า หากกินยาแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันหรือทำงานได้ ให้กินยาหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน ในรายที่แพ้ท้องไม่มาก ให้กินยาเม็ดรวมหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน ในรายที่แพ้ท้องมาก ให้เปลี่ยนจากยาเม็ดรวมเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก มาเป็น ยาเม็ดเดี่ยวไอโอดีน และกรดโฟลิก (งดยาเม็ดธาตุเหล็ก) จนกว่าจะหายจากอาหารแพ้ท้อง จึงให้ยาเม็ดรวมตามปกติ

14 การจัดอาหารเสริมที่มีพลังงานและโปรตีนสูงให้แก่หญิงตั้งครรภ์น้ำหนักน้อย
ไข่ จัดหาหรือแนะนำอาหารเสริมที่มีพลังงานและโปรตีนสูง ขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนสุขภาพตำบล หรือจากหน่วยงานอื่น ๆ หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อยกินทุกวันจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะโภชนาการปกติ นม กระยาสารท (หวานน้อย) ถั่วลิสง

15 การติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหา
ด้านโภชนาการ หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาด้านโภชนาการ หญิงตั้งครรภ์ ที่น้ำหนักน้อย หญิงตั้งครรภ์อ้วน หญิงตั้งครรภ์ที่น้ำหนัก ไม่เพิ่มตามเกณฑ์ ติดตามพฤติกรรม การบริโภคอาหาร ทุก 2 สัปดาห์ พฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้นติดตามทุกเดือน

16 กรอบการให้บริการโภชนาการในWCC
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-5 ปี โดยเฝ้าระวังส่วนสูงและน้ำหนักให้อยู่ในสูงดีสมส่วนและมีแนวโน้มการเพิ่มส่วนสูงและน้ำหนักดี รวมทั้งหญิงให้นมบุตร 6 เดือนแรก กินยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ทุกวัน และ เด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

17 Flow chart การดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการในคลินิกเด็กดี
ลงทะเบียน/ซักประวัติ - ประเมินภาวะโภชนาการ (วัดความยาว/ส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดรอบศีรษะ แปลผล) - ประเมินภาวะโลหิตจาง (ดูผล Hct./Hb.สำหรับเด็กอายุ เดือน) - ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีภาวะโลหิตจาง เด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม และกลุ่มเสี่ยง เด็กอ้วนและกลุ่มเสี่ยง เด็กสูงดีสมส่วน ตรวจพยาธิ แจ้งและอธิบายผลการประเมินภาวะการเจริญเติบโตและ พฤติกรรมการบริโภคอาหารกับพ่อแม่/ผู้ดูแล มีพยาธิ ให้ความรู้ด้านโภชนาการกับพ่อแม่/ผู้ดูแลเด็ก เป็นกลุ่ม รักษา ให้คำปรึกษาแนะนำทางโภชนาการกับพ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กรายคน ทุกครั้งที่มา WCC สนับสนุนให้มีการจัดหาอาหารเสริมที่มีพลังงานและโปรตีนสูง นัดหมายเดือนละ1 ครั้ง แนวโน้มการเจริญเติบโตไม่ดี แนวโน้มการเจริญเติบโตดี ติดตามการบริโภคอาหารทุก 2 สัปดาห์ นัดหมายตามปกติ จ่ายยาน้ำวิตามินเสริมธาตุเหล็ก สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี - เด็กสูงดี สมส่วน และเด็กอ้วน กินยาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง - เด็กเตี้ย ผอม น้ำหนักน้อย และกลุ่มเสี่ยงเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง กินยาทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน

18 การประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
เป็นการประเมินพฤติกรรมการ บริโภคอาหารในช่วง 1 สัปดาห์ที่ ผ่านมา เพื่อดูว่าพฤติกรรมใด เหมาะสม พฤติกรรมใดไม่ เหมาะสม เป็นทั้งเครื่องมือประเมินและ เครื่องมือในการให้ความรู้ ก่อนการประเมินควรให้ความรู้ ในเรื่องธงโภชนาการ ควรมีหุ่นจำลองอาหารหรือ อาหารจริงเป็นตัวอย่างประกอบ การสอน พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ น้อยกว่า มากกว่า 1. กินอาหารเช้าที่มีกลุ่มอาหารอย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าว-แป้งและเนื้อสัตว์ หรือกลุ่มข้าว-แป้งและนม ทุกวัน 2. กินอาหารหลัก วันละ 3 มื้อ (เช้า กลางวัน เย็น) ทุกวัน 3. กินอาหารว่าง วันละ 2 ครั้ง (ช่วงสายและช่วงบ่าย) ทุกวัน 4. ปริมาณอาหารที่บริโภคในแต่ละกลุ่ม 4.1 กินอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง วันละ 3 ทัพพี ทุกวัน 4.2 กินอาหารกลุ่มผักวันละ 2 ทัพพี ทุกวัน 4.3 กินอาหารกลุ่มผลไม้ วันละ 3 ส่วน ทุกวัน 4.4 กินอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ วันละ 3 ช้อนกินข้าว ทุกวัน 4.5 ดื่มนม นมสดรสจืด วันละ 2-3 แก้วหรือกล่อง ทุกวัน สำหรับเด็กไม่อ้วน นมพร่องมันเนย/นมขาดมันเนย วันละ 2-3 แก้วหรือกล่อง ทุกวัน สำหรับเด็กอ้วน 5. กินปลาสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน 6. กินไข่ สัปดาห์ละ 3-7 วัน ๆ ละ 1 ฟอง 7. กินอาหารที่เป็นแหล่งธาตุเหล็ก เช่น ตับ เลือด สัปดาห์ละ 1-2 วัน 8. กินยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก (เลือกให้ตรงตามภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 1 ช้อนชา สำหรับเด็กที่มีการเจริญเติบโตดี ทุกวัน ๆ ละ 1 ช้อนชา สำหรับเด็กที่ขาดอาหารและกลุ่มเสี่ยง เป็นเวลา 1 เดือน 9. กินอาหารประเภทผัด ทอด และกะทิ (เลือกให้ตรงตามภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก) ไม่มากกว่า 4 อย่างต่อวัน สำหรับเด็กที่มีการเจริญเติบโตดี ไม่มากกว่า 3 อย่างต่อวัน สำหรับเด็กอ้วนและกลุ่มเสี่ยง มากกว่า 4 อย่างต่อวัน สำหรับเด็กขาดอาหารและกลุ่มเสี่ยง 10. ไม่กินเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หมูสามชั้น ขาหมู คอหมู หนังไก่ หนังเป็ด เป็นต้น 11. ไม่กินขนมที่มีรสหวาน เช่น ไอติมหวานเย็น ช็อคโกแล็ต หมากฝรั่ง ลูกอม เยลลี่ เป็นต้น 12. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน โกโก้เย็น ชาเย็น น้ำปั่น น้ำผลไม้ นมเปรี้ยว เป็นต้น 13. ไม่กินขนมเบเกอรี่ เช่น เค้ก พาย โดนัท เป็นต้น 14. ไม่กินขนมขบเคี้ยว เช่น ปลาเส้นปรุงรส มันฝรั่งทอด ขนมปังเวเฟอร์ ขนมปังแท่ง เป็นต้น 15. ไม่เติมเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซี้อิ๊ว แม็กกี้ ในอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ทุกครั้ง 16. ไม่เติมน้ำตาลในอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

19 ให้อาหารอะไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของทารก ทารกแรกเกิด- 6 เดือน ให้อาหารอะไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) นมแม่ นมขวด น้ำ อาหารอื่น ๆ ระบุ ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

20 ทารกอายุ 6 – 12 เดือน แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของทารก
ให้อาหารอะไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) นมแม่ นมขวด น้ำ อาหารอื่นที่ให้ต่อวัน ระบุ กลุ่มข้าวแป้ง ช้อนกินข้าว กลุ่มผัก ช้อนกินข้าว กลุ่มเนื้อสัตว์ ช้อนกินข้าว กลุ่มผลไม้……………………ชิ้นพอคำ ปรุงรสอาหารหรือไม่ ไม่ปรุง ปรุง ระบุชื่อเครื่องปรุงรส ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

21 ทารกอายุ 6 – 12 เดือน แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของทารก
ให้อาหารเสริมทารกชนิดสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปหรือไม่ ไม่ให้ ให้ ระบุชื่ออาหารเสริม ให้วิตามินน้ำเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ ครั้ง ครั้งละ ช้อนชา ลูกกินขนมกรุบกรอบ กิน ไม่กิน ลูกดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำที่มีรสหวานจัด ดื่ม ไม่ดื่ม ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

22 แนวโน้มการเพิ่มน้ำหนัก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
แจ้งผลและอธิบายผล เด็กอายุ 0-5 ปี ภาวะการเจริญเติบโต แนวโน้มการเพิ่มน้ำหนัก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ส่วนสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดี พฤติกรรม ข้อใดเหมาะสม ข้อใดไม่เหมาะสม ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

23 การให้ความรู้ด้านโภชนาการเป็นกลุ่ม
สอนในรูปของ ธงโภชนาการ และควรมีหุ่นจำลองอาหาร (Food Model) หรืออาหารจริง ประกอบการ ให้ความรู้ เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเลือกซื้อ เลือกกินอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ผนวกเนื้อหาเข้ากับโรงเรียนพ่อแม่ อาหารทารกและอาหารเด็กอายุ 1-5 ปี จัดอบรม พ่อแม่/ ผู้เลี้ยงดูเด็ก

24 แนวทางการให้คำแนะนำ/ปรึกษาทางโภชนาการ
เป็นรายคนเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็ก กินอาหารให้ครบ 5 กลุ่ม ทุกวัน ได้แก่ กลุ่มข้าว-แป้ง ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และนม กินอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ ให้หลากหลาย รวมทั้งไข่ ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์ เช่น เต้าหู้ เป็นต้น กินปลา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน กินอาหารที่เป็นแหล่งธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1-2 วัน กินไข่ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ฟอง ดื่มนมสดรสจืดทุกวัน ส่วนแหล่งแคลเซียมจากอาหารอื่น เช่น โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้แข็ง-อ่อน กุ้งแห้ง กุ้งฝอย แต่ละกลุ่มปริมาณเพียงพอและกินให้หลากหลาย กินอาหารมื้อหลักวันละ 3 มื้อ กินอาหารว่าง 2 มื้อ ได้แก่ อาหารว่างเช้า บ่าย ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่หวาน ไม่เค็ม ไม่มัน ก่อนเวลาอาหารประมาณ 1½ ชั่วโมง – 2 ชั่วโมง ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม เป็นประจำ ลดกิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ กินอาหารกลุ่มผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน และกินให้หลากหลายสี เช่น สีเหลือง-ส้ม เป็นแหล่งของวิตามินเอ จัดอาหารให้สะดวกแก่การกิน โดยหั่นอาหารให้มีขนาดเล็ก ตักง่าย เคี้ยวง่าย นอนหลับพักผ่อน อย่างน้อย วันละ 10 ชั่วโมง ใช้เกลือหรือเครื่องปรุงรสเค็มเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหารทุกครั้ง เกลือไม่เกินวันละ ½ ช้อนชา น้ำปลาไม่เกินวันละ 2 ช้อนชา

25 แนวทางการให้คำแนะนำ/ปรึกษาการบริโภคอาหารสำหรับเด็กขาดอาหารและกลุ่มเสี่ยง
การลดหรือเพิ่มอาหาร ต้องค่อยๆ ลดหรือเพิ่มปริมาณทีละน้อย จนกว่าได้ตามที่แนะนำ และต้องดูแลกินอาหารให้หมด นอนหลับพักผ่อน อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง เพิ่มปริมาณอาหารที่ให้พลังงาน อาหารประเภทข้าว-แป้ง เช่น ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก มัน อาหารไขมัน เช่น น้ำมัน โดยการ ปรุงอาหารด้วยวิธีทอดหรือผัด และ กะทิอาจทำเป็นกับข้าวหรือขนม หวานแบบไทยๆ เพิ่มกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมลดกิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ เพิ่มปริมาณและจำนวนครั้งของอาหารว่างเป็น 3 มื้อ ได้แก่ ช่วงสาย ช่วงบ่าย และช่วงค่ำ และให้ก่อนเวลาอาหารมื้อหลักประมาณ 1½ - 2 ชั่วโมง เด็กเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย ให้กินอาหารพวกเนื้อสัตว์ และ/หรือดื่มนมสดรสจืดเพิ่มขึ้น หากกินไม่เพียงพอ งดกินขนม-เครื่องดื่ม ที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เช่น ขนมขบเคี้ยว ขนม-เครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เป็นต้น ลดปริมาณอาหาร หากบริโภคมากกว่าที่แนะนำ

26 แนวทางการให้คำแนะนำ/ปรึกษาการบริโภคอาหาร เด็กอ้วนและกลุ่มเสี่ยง
เปลี่ยนชนิดของนมจากนมสดรสจืด เป็น นมขาดมันเนย หรือ นมพร่องมันเนย(>3 ปี) ส่วนเด็ก 1-2 ปี ยังคงให้นมรสจืด ได้ อย่าให้เด็กอดอาหารมื้อหลัก หรือลดปริมาณอาหารมากเกินไป เนื่องจากเด็กกำลังเจริญเติบโต การลดอาหารมากเกินไปจะทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า กินผัก ผลไม้รสไม่หวานจัดเพิ่มขึ้น งดกินขนม-เครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เช่น ลูกอม ชอคโกแล็ต เยลลี่ น้ำหวาน น้ำอัดลม การลดหรือเพิ่มอาหาร ต้องค่อยๆ ลด หรือเพิ่มปริมาณทีละน้อย จนกว่าได้ตามที่แนะนำ งดกินขนมเบเกอร์รี่ เช่น เค็ก โดนัท พาย ลดปริมาณอาหารที่ให้พลังงานหากกินมากกว่าที่แนะนำ ได้แก่ กลุ่มข้าว-แป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก มัน เป็นต้น กลุ่มไขมัน เช่น น้ำมัน กะทิ ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่ปรุงด้วยวิธีการทอด ผัด แกงกะทิหรือขนมที่ใส่ กะทิ ให้เปลี่ยนเป็นอาหารที่ปรุงโดยการต้ม ตุ๋น นึ่ง ปิ้ง อบ ยำ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หนังไก่ หมูสามชั้น หมูติดมัน ไส้กรอก เป็นต้น งดกินจุบจิบ เช่น ขนมกรุบกรอบ ไม่ควรมีอาหาร/ ขนม/ เครื่องดื่มที่ให้ พลังงานสูงไว้ในบ้านมากเกินไป ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายและ/หรือ ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เช่นวิ่งเล่น ว่ายน้ำ เป็น ต้น

27 การจัดอาหารเสริมที่มีพลังงานและโปรตีนสูงให้แก่
เด็กเตี้ย ผอม น้ำหนักน้อย ไข่ จัดหาหรือแนะนำอาหารเสริมที่มีพลังงานและโปรตีนสูง ขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนสุขภาพตำบล หรือจากหน่วยงานอื่น ๆ เด็กเตี้ย ผอม น้ำหนักน้อยกินทุกวันจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะการเจริญเติบดี นม กระยาสารท (หวานน้อย) ถั่วลิสง

28 การติดตามเด็กที่มีปัญหาด้านโภชนาการ
เด็กเตี้ย เด็กผอม เด็กน้ำหนักน้อย เด็กอ้วน เด็กมีแนวโน้มการเจริญเติบโตไม่ดี ติดตามพฤติกรรม การบริโภคอาหาร ทุก 2 สัปดาห์ พฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้นติดตามทุกเดือน

29


ดาวน์โหลด ppt การประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการให้คำแนะนำ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google