ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMatthias Jaeger ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
หลักเกณฑ์และศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการตัดต่อภาพยนตร์
ภาคทฤษฎี : หลักเกณฑ์และศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการตัดต่อภาพยนตร์
2
ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Jump Cut การตัดต่อในลักษณะ Jump Cut คือการตัดต่อที่ทำลายกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย ๆ อย่าง Continuity Editing ทำให้เกิดการ ‘กระโดด’ ในด้านของเวลาหรือพื้นที่ เช่น อยู่ดี ๆ ของในมือตัวละครก็หายไป การที่ทิศทางในแต่ละช็อตไม่สัมพ้นธ์กันจากการข้ามกฎ 180 องศา การหายไปของเวลาในหนังที่เห็นได้อย่างชัดเจน หรือการเปลี่ยนมุมกล้องหรือตำแหน่งของตัวละครเดียวกันในช็อตต่อเนื่องอย่างฉับพลัน เป็นต้น
3
ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Jump Cut สามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ ได้แก่ ใช่สื่อถึงภาวะไม่ปรกติภายในจิตใจของตัวละคร เตือนให้ผู้ชมตระหนักว่ากำลังชมภาพยนตร์ เพื่อไม่ให้อินไปกับเรื่องราวที่ชม จะได้ตีความสาระหรือประเด็นที่ผู้กำกับต้องการน้ำเสนอ เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกสมจริง เช่น ในภาพยนตร์สาคดี หรือ ภาพยนตร์ที่เลียนแบบลักษณะภาพยนตร์สารคดี เพื่อสร้างสรรค์สไตล์หรือรู้แบบเฉพาะตัวให้กับภาพยนตร์
4
ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
5
ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Montage คำว่า Montage สำหรับภาพยนตร์ มีความหมายอย่างน้อย 3 นัยยะด้วยกัน ได้แก่ Montage ในความหมายที่เทียบเท่ากับ Editing หรือการตัดต่อโยทั่วไป (montage มีรากศัพท์มาจากคำว่า montage ในภาษาฝรั่ง แปลว่า การรวบรวมการเพิ่มขึ้น หรือการก่อตัว) Soviet Montage หมายถึง การนำช็อตที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาร้อยต่อกัน และเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้น (เป็นการตัดต่อที่ถือว่าผู้ตัดต่อมีบทบาทในการสร้างความหมายแทนที่ผู้กำกับ) Montage Sequence คือ ช๊อตที่ร้อยต่อกันเป็นชุด มักใช้เพื่อช่วยเล่าเรื่องในหนังโดยจะทำให้ผู้ชมเข้าใจเหตุการณ์หรือเรื่องราวของตัวละครภายในเวลาอันรวดเร็ว (เมือเทียบกับเวลาจริงในหนัง) บางครั้งมีใส่ดนตรีหรือเพลงประกอบที่มีความหมายสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการจะเล่าเข้าไปด้วย
7
ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Cross-cutting / Parallel Cut หมายถึงการตัดต่อโดยนำเหตุการณ์มากกว่า 1 เหตุการณ์มาเชื่อมต่อกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตื่นเต้น ระทึกใจ หรืออาจเป็นการเปรียบเทียบสิ่งที่ขัดแย้งกัน หรือใช้เพื่ออุปมาอุปมัยภาพเหตุการณ์ที่มีเนื้อหาหรืออารมณ์ที่เชื่อมโยงกัน สิ่งที่น่าสังเกตสำหรับการตัดต่อแบบนี้คือ เหตุการณ์ที่นำมาตัดสลับกันนั้นต้องถูกให้ความสำคัญเท่า ๆ กัน ไม่ใช่เป็นเพียงการแทรกภาพหรือช็อต ๆ หนึ่งเข้ามาเพื่อคั่นเวลาเท่านั้น
8
2 ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
9
2 ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
10
ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Cutaways หมายถึงการขัดจังหวะความต่อเนื่องของเหตุการณ์ในหนัง โดยการแทรกภาพอื่น ๆ เข้าไประหว่างที่เหตุการณ์หลักกำลังดำเนินอยู่ เทคนิคการตัดต่อนี้สามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ ได้แก่ ใช้เพื่อย่อหรือข้ามเวลาในฉากที่มีความยาวมาก ซึ่งภาพที่นำมาแทรกมักจะมีความเกี่ยวพันและใกล้เคียงกับเหตุการณ์หลักในฉากดับงกล่าว ใช่เพื่อการเปรียบเทียบหรือสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ ใช้เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเหตุการณ์หลัก ใช้เพื่อแสดงให้เห็นปฏิกิริยาที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หลัก ใช้เพื่อแก้ไขความผิดพลาดทีเกิดจากการถ่ายทำที่ไม่ต่อเนื่อง (เรียกช็อตที่นำมาแทรกเพื่อช่วยแก้ไขความผิดพลาดว่า buffer shot)
11
2 ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
12
ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Match Cut โดยนิยามกว้างๆ Match Cut ก็คือการตัดต่อที่ตรงกันข้ามกับ Jump Cut ซึ่งก็แปลว่ามีความหมายเทียบเท่าได้กับ Continuity Editing นั่นเอง อย่างไรก็ดี การตัดต่อแบบ Match Cut ก็มีความหมายที่เฉพาะเจาะจงถึงรูปแบบการเชื่อมต่อช็อตที่ให้ความรู้สึกกลมกลืนอย่างรูปธรรม นั่นคือ มีความคล้ายกันของรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ สี การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภาพในช็อต รวมถึงการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งบางครั้งจะเรียกรูปแบบการตัดต่อประเภทนี้ว่า Graphic Match การตัดต่อแบบ Graphic Match อาจแบ่งย่อยๆ ได้ โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น Directional Cut คือ มีการเชื่อต่อของทิศทางเคลื่อนไหว Tonal Cut คือ มีการเชื่อมต่อของโทนสีและแสง Form Cut หรือ Shape Cut คือ มีการเชื่อมต่อของรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ
13
2 ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
14
ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Metaphorical Cut การตัดต่อรูปแบบนี้หมายถึงการตัดต่อที่มีการสร้างความหมายเชิงอุปมาอุปมัย หรือการนำสิ่ง ๆ หนึ่งไปโยงความหมายเข้ากับสิ่งอื่น ซึ่งการตัดต่อรูปแบบนี้มีลักษณะที่เหลื่อมกับบางส่วนของการตัดต่อรูปแบบอื่น ๆ เช่น Cross-cutting , Cutaways และ Graphic Match
15
ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Dynamic Cut เป็นการตัดต่อจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่งอย่างรวดเร็ว เพื่อเปลี่ยนการกระทำเปลี่ยนความต่อเนื่อง และเปลี่ยนอารมณ์ของผู้ชม โดยมักยังคงความต่อเนื่องของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ไว้ระดับหนึ่ง แต่มักจะมีการข้ามเวลาและพิ้นที่อย่างทันทีทันใด เป็นการเพิ่มระดับความสนใจและความรู้สึกมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ของผู้ชม เช่น ช็อตแรก ตัวละครคุยโทรศัพท์นัดกับเพื่อนว่าจะไปเจอกันที่ร้านอาหาร ช็อตที่สอง ตัวละครนั่งอยู่ในร้านอาหารและกำลังกินข้าวอยู่
16
2 ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
17
2 ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Slow Cut / Delay Cut หมายถึงการตัดต่อด้วยช็อตที่มีความยาวมาก โดยแต่ละช็อตอาจจะยาวมากกว่า 15 วินาทีขึ้นไป การตัดต่อรูปแบบนี้อาจจะทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความนุ่มนวลและอ่อนโยน สงบนิ่งเศร้า หรือบางครั้งก็อาจทำให้รู้สึกถึงความน่าเบื่อ อ่อนแอ และเฉื่อยชาได้ Fast Cut / Quick Cut เป็นรูปแบบการตัดต่อที่ตรงกันข้ามกับ Slow Cutting นั่นคือ การตัดต่อที่ใช้ช็อตสั้น ๆ มาร้อยต่อกัน เช่น แต่ละช็อตสั้นเพียง 3 วินาทีหรือน้อยกว่า ซึ่งสามารถทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น มีชีวิตชีวา เร่งรีบ เร้าใจ ตลอดจนอาจทำให้รู้สึกสับสนอลหม่านได้เช่นกัน
18
2 ศัพท์ที่ใช้เรียกการตัดต่อรูปแบบต่างๆ
Rhythmic Cut หมายถึงการตัดต่อสลับระหว่างช็อตสั้นกับช็อตยาว เพื่อให้เกิดท่วงทำนองของการบีบอารมณ์อย่างมีจังหวะ โดยช็อตสั้นมักเป็นภาพขนาดใกล้ หรือภาพที่เห็นเพียงบางส่วนของเหตุการณ์ Hidden Cut จัดเป็นการตัดต่อลักษณะหนึ่งในกลุ่ม Continutiy Editing แต่มีจุดเน้นเป็นพิเศษตรงที่เป็นการออกแบบการเชื่อมภาพโดยซ่อนรอยต่อจะกระทั้งผู้ชมไม่ทันสังเกต หลายครั้งมักใช้เพื่อหลอกให้เห็นว่าเป็นการถ่ายแบบ Long Take
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.