งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560

2 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
โศกนาฏกรรมของทรัพย์สินร่วม (สาธารณสมบัติ) Tragedy of the Commons - ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ชัดเจนที่สุดคือ การใช้ทรัพยากรประเภทที่เป็นทรัพย์สินสาธารณะร่วมกัน - ทรัพย์สินร่วม หมายถึง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ หรือรัฐเป็นเจ้าของ

3 - ทรัพยากรเหล่านี้มีศักยภาพที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ได้ เช่น อากาศบริสุทธิ์ ปลาในทะเล สัตว์อพยพย้ายถิ่น ชั้นโอโซนในบรรยากาศ - โศกนาฏกรรมของทรัพย์สินร่วม เขียนโดยนักชีววิทยา Garrett Hardin ปี 1968 “ถ้าเราไม่ใช้ทรัพยากรนี้ก็จะมีคนอื่นใช้ ถ้าเราใช้สักหน่อยหรือทำให้เกิดมลภาวะสักนิด ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องใหญ่โตที่จะเป็นปัญหา”

4 - ถ้ามีคนใช้น้อย ความคิดดังกล่าวนี้ก็เป็นจริง
- แต่เกิดปัญหาสะสมจากคนแต่ละคนที่เข้ามาใช้ คนใช้เพิ่ม ขณะที่ทรัพยากรมีจำกัดหรือคงที่ ตัวอย่างเช่น หอยหลอด ที่ปากแม่น้ำแม่กลอง สมุทรสงคราม ในอดีตชาวบ้านจับหอยด้วยการหยอดปูนขาวลงไปในรูที่หอยฝังตัวอยู่ ซึ่งจับได้เฉพาะหอยขนาดใหญ่ (รูใหญ่เห็นชัด)

5 ส่วนหอยขนาดกลางและเล็กก็อยู่รอดต่อไป
- เมื่อความนิยมหอยหลอดเพิ่มสูง ราคาสูง เปลี่ยนจากหยอดปูนขาวเป็นราดปูนขาวคลุมพื้นที่ - หอยหลอดทั้งใหญ่และเล็กขึ้นมาหมด - ชาวบ้านจับทั้งใหญ่และเล็ก - การศึกษาในปี 2538 พบว่า การราดปูนขาวทำให้หอยหลอดลดลงเหลือเพียง 25% - ชาวบ้านรู้ผลเสีย แต่ถ้าตัวเองไม่ทำ คนอื่นก็ทำ

6

7 อีกตัวอย่างคือ แม่น้ำเจ้าพระยากับโรงงานและชุมชนต่าง ๆ ที่ทิ้งของเสียลงแม่น้ำเหมือนกัน
- ทุกโรงงานและชุมชนตระหนักถึงปัญหา - ไม่มีใครลงมือแก้ไข เพราะเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

8 กรอบหลักการในการแก้ปัญหา
- ต้องเข้าใจและยอมรับว่าความโลภเป็นต้นตอปัญหา เห็นแก่ผลตอบแทนระยะสั้น - ต้องลงมือแก้ไขก่อนมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ครบถ้วน - วิทยาศาสตร์ไม่ใช่กระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยตัวของมันเอง - ปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาของมนุษย์ในระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง - ผู้กระทำหรือใช้ประโยชน์ทรัพย์สินร่วม ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย มิใช่ผลักภาระให้สังคมรับผิดชอบร่วมกัน หรืออนุชนรุ่นหลัง

9 วีดิทัศน์ 14 ดูให้รู้ : เที่ยวใต้ทะเล 10,000 เมตร youtu.be/tmvPOMWWAtQ
ใต้ทะเลญี่ปุ่น มีทรัพยากรมากมายที่รอการค้นพบ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ ทั้งแหล่งพลังงานสะอาด พืช และสัตว์ที่เป็นประโยชน์ ชาวญี่ปุ่นจึงพยายามศึกษาวิจัยและสร้างเครื่องมือในการทำงานแบบที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก ขุดเจาะลงไปได้ลึกที่สุด ค้นพบสิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุด และกำลังวิจัยพัฒนาต่อไปเพื่อให้พวกเค้าสามารถสังเคราะห์สิ่งเหล่านั้นเลียนแบบธรรมชาติให้ได้

10 ปัญหามลพิษ มลพิษ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
[มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่นในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น. (อ. pollution). 

11 มลพิษ เริ่มมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว
- ตั้งแต่มนุษย์เริ่มใช้ไฟ ก็มีมลพิษทางอากาศ - พบรอยเขม่าในผนังถ้ำ - การหลอมโลหะ ก่อมลพิษทางอากาศ - พบร่องรอยมลพิษในธารน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ สอดคล้องกับอารยธรรมกรีก โรมัน จีน

12 ร่องรอยโลหะในถ้ำ Gorham

13

14

15 มลพิษในเขตเมืองในอดีต
การเผาไหม้ของฟืนและถ่านหิน มลพิษทางอากาศ การเลี้ยงม้า ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมในอังกฤษ

16 รูปแบบของมลพิษ Air การปลดปล่อยสารเคมีและอนุภาคเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เช่น carbon monoxide, sulfur dioxide, nitrogen oxide จากอุตสาหกรรมและยานพาหนะ Light รบกวนการดำรงชีวิต การสังเกตทางดาราศาสตร์ Littering การทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล Noise มลพิษทางเสียง Soil contamination การปนเปื้อนลงสู่ดิน Radioactive contamination สารกัมมันตรังสี Thermal pollution ความร้อน

17 รูปแบบของมลพิษ Visual pollution ทัศนอุจาด ภาพที่ไม่น่าดู เช่น สายไฟฟ้าระเกะระกะ ป้ายโฆษณารกรุงรัง ทิวทัศน์บริเวณเหมืองแร่ ชุมชนแออัด ถังขยะที่เปิดอยู่ Water มลพิษทางน้ำ Plastic pollution ส่งผลกระทบกับสัตว์ป่า สัตว์น้ำและมนุษย์เอง

18 แม่น้ำจีตารุม (Citarum river) ในอินโดนีเซีย

19 วีดิทัศน์ 15 รักโลก : อุตสาหกรรมกลืนเมือง youtu.be/uXy9jrXmZAE
มาบตาพุด เมืองมลพิษ ผังเมืองฉบับใหม่ เปลี่ยนพื้นที่สีเขียวเป็นอุตสาหกรรม

20

21

22

23

24

25 สนธิสัญญาเกี่ยวกับมลพิษ
สนธิสัญญา (treaty) เป็นข้อตกลงเฉพาะหน้าภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเข้าทำสัญญาโดยตัวแสดงในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น รัฐเอกราชและองค์การระหว่างประเทศ เรียกได้หลายอย่าง เช่น ข้อตกลง ความตกลง แถลงการณ์ ปฏิญญา พิธีสาร อนุสัญญา

26 ตัวอย่างสนธิสัญญาเกี่ยวกับมลพิษ
- พิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ได้จำแนกสารทำลายชั้นโอโซนออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยแบ่งตารางเวลาที่สารเหล่านี้จะต้องยุติการผลิต - พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก - ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution )

27 - อนุสัญญาลอนดอน (London Convention) ว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางทะเลเนื่องจากการทิ้งวัสดุเหลือใช้และวัสดุอย่างอื่น - อนุสัญญาบาเซิล (Basel Convention) ว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนและการกำจัดซึ่งของเสียอันตราย

28 วีดิทัศน์ 16 รักโลก : นักเดินทางคาร์บอนต่ำ youtu.be/VzH0jI2RMlE
"มลพิษจากการเดินทาง พลังงานที่ต้องสูญเสีย การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon จะช่วยโลกของเราได้อย่างไร ตอบโจทย์พฤติกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่หรือไม่ ร่วมสัมผัสธรรมชาติที่สวยงามของเกาะหมาก"

29 สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ข้อมูลดูได้ที่เว็บไซต์ของ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน - ปัญหาที่ลดลง: ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินตื้น - ปัญหาที่เพิ่มขึ้น: ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน

30 การใช้ประโยชน์ที่ดิน
- ที่ดินกว่าครึ่งของประเทศเป็นพื้นที่เกษตรกรรม รองลงมาคือพื้นที่ป่าไม้ - พื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลดลง ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรม ชุมชน สิ่งปลูกสร้างมากขึ้น

31 ทรัพยากรแร่ - ส่วนใหญ่เป็นหินปูนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง - แร่ที่มูลค่าส่งออกสูงสุดคือ ยิปซัมใต้ดิน - แร่ที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุดคือ ถ่านหิน ทรัพยากรพลังงาน - ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยลดลง - ถ่านหินลิกไนต์ลดลง - นำเข้าน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน

32 พลังงานทดแทน - พลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ และเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอลและไบโอดีเซล) ทรัพยากรป่าไม้ - ปี 2558 ไทยมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด 31.75% - ป่าอนุรักษ์ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ - ป่าสงวนแห่งชาติ - ป่าชุมชน

33

34

35 ทรัพยากรน้ำ - ปี 2559 มีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ลดลง (32,422 ล้านลูกบาศก์เมตร) เทียบกับปี 2558 ที่มีน้ำกักเก็บ 36,567 ล้าน ลบ.ม. ทรัพยากรทางทะเล - ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง - ป่าชายเลนมีพื้นที่เพิ่มขึ้น - สัตว์ทะเลหายาก เช่น เต่าทะเล พะยูน โลมาและวาฬ ลดลง

36 วีดิทัศน์ 17 เปิดปม : BIGSTORY ชุด มหันตภัยขยะไฮเทค ตอน ขยะโลก ขยะเรา
youtu.be/tQQLJbSiTJM ตามดูอินเดีย แหล่งทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ใหญ่ 1 ใน 5 ของโลก อินเดีย หนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับอีก 50 กว่าประเทศทั่วโลก ย้อนมองประเทศไทย ยกร่างกฎหมายนี้ตั้งแต่ปี 2557 แต่วันนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา


ดาวน์โหลด ppt มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google