งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Electronic Commerce Law กฏหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Electronic Commerce Law กฏหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Electronic Commerce Law กฏหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการจัดทำ “โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ” ดำเนินการโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ

3 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Interchange Law- EDI) 2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์( Electronic Signatures Law) 3. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Funds Transfer Law) 4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล( Data Protection Law) 5. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Crime Law) 6. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียม

4 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Interchange Law- EDI) เพื่อรับรองสถานะ ทางกฎหมาย ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆโดยเฉพาะในวงการค้าการ ขนส่งระหว่างประเทศทำให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลา และสถานที่ โดยการใช้มาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปในรูปแบบ(format) และโครงสร้างข้อมูลที่ส่งถึงกัน

5 ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

6

7

8 สาระสำคัญของกฏหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ตามกฎหมายต้นฉบับของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติดังนี้ หมวดที่1 บททั่วไป ขอบเขต คำนิยาม การตีความ และการกำหนดโดย ข้อตกลง หมวดที่2 ข้อกำหนดทางกฎหมายต่อรูปแบบของข้อมูล การรับรองรูปแบบข้อมูล ลายเซ็น ลายลักษณ์อักษร ต้นฉบับ พยานหลักฐาน การเก็บรักษาข้อมูล หมวดที่ 3 การส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การเกิดและความสมบูรณ์ของสัญญา การรับรองของคู่สัญญา การรับข้อมูล เวลาสถานในการรับส่งข้อมูล

9 การรับรองสถานะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(มาตรา 7, 9 และ 11) 1. สามารถเข้าถึงได้ด้วยการอ่าน 2. สามารถแปลงกลับมาเป็นข้อความที่นํามาใช้อ้างอิงในภายหลังได้

10 ประโยชน์ของกฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์กำลังคน และ เวลา ลดความผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพในธุรกรรม ขยายโอกาสทางธุรกิจ

11 ปัญหากฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ความสมบูรณ์ของเนื้อหาทางกฎหมาย ลายเซ็น ลายลักษณ์อักษร จะรวมถึงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่ ยากแก่การระบุเอกสารต้นฉบับ พยานหลักฐาน เนื่องจากข้อมูลมาจากหลายส่วน เช่น จานบันทึก หรือพิมพ์ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ การเกิดขึ้นของสัญญา ที่ไหน เมื่อไร

12 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. กฏหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Signatures Law) เพื่อรับรองการใช้ลายมือ ชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใดๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความ เชื่อมั่น มากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

13 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

14 วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
1. การติดต่อทางคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือระบบเครือข่าย เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบอีดีไอ (EDI) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ ( ) การสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล เช่น iCQ การสนทนาโต้ตอบระหว่างกลุ่มบุคคลบนเครือข่าย เช่น chat/IRC การใช้เทคโนโลยี WAP ใน Mobile phone อื่นๆ

15 วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
2. การติดต่อผ่านทางเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น โทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร

16 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

17

18 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

19 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

20 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

21

22

23

24

25 สาระสำคัญขอบเขตกฏหมายลายเซ็นทางอิเล็กทรอนิกส์
ประเภทของเอกสารที่จำเป็นต้องลงลายชื่อดิจิตอล การรับรองความถูกต้อง และการยกเลิกการรับรองความถูกต้อง การรับรองความถูกต้องของหน่วยงานที่รับผิดชอบ การลงลายมือชื่อของนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา การจดแจ้งทะเบียน ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่รับรองความถูกต้อง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และหน่วยงานที่รับรองความถูกต้อง

26 ประเทศที่มีกฎหมายลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์
แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น มาเลเชีย สหราชอาณาจักร

27 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law) เพื่อกำหนด กลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงิน ระหว่าง สถาบันการเงินและระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความ เชื่อมั่นต่อระบบ การทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

28 พัฒนาการของ เงิน การแลกเปลี่ยนสินค้า (Trade by Barter)
เงินตรา (Chattel money) --> เหรียญ ธนบัตร เงินพลาสติก (Plastic Money) เงินอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Money)

29 สาระสำคัญของกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบและการพิสูจน์ ถึงการแสดงเจตนาและในการชำระเงิน สิทธิของ เจ้าหนี้ และลูกหนี้ ที่ไม่สามารถชำระเงินได้ ระยะเวลาในการใช้คำสั่งให้ ชำระ ยกเลิกการชำระเงิน ความรับผิดชอบในความเสียหายจากการโอนเงิน การใช้การโอนเงินโดยมิชอบ ข้อกำหนดการโอนเงินระหว่างประเทศ

30 ประเทศที่มีกฎหมายการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมัน สหราชอาณาจักร

31 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( Data Protection Law) เพื่อก่อให้เกิด การรับรอง สิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผย หรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ ในระยะ เวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ ในทาง มิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่าง สิทธิขั้นพื้นฐานใน ความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ

32

33

34 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Crime Law) เพื่อกำหนดมาตรการ ทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายฉบับใดกำหนดว่าเป็นความผิด ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกัน สิทธิ เสรีภาพและการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม

35 ตัวอย่างคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
การโจรกรรมเงินในบัญชีลูกค้าของธนาคาร การโจรกรรมความลับของบริษัทต่างๆ ที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ การปล่อยไวรัสเข้าไปในคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการปลอมแปลงเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการก่อวินาศกรรม การขโมยโดเมนเนม (Domain Name) ซึ่งไม่มีรูปร่าง การตัดต่อภาพ หมิ่นประมาท

36 กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย
การแอบเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ ผู้รับเงินโฆษณา แบนเนอร์ การแอบใช้ Internet Account เว็บของ ISP แห่งหนึ่ง ถูกพนักงานที่ไล่ออกไป แก้ไขเป็นเว็บโป๊ และส่ง ในนามของผู้บริหาร ไปด่าผู้อื่น พนักงาน แอบติดตั้งโปรแกรม Cain มา scan หา User / Password ของผู้บริหาร และพนักงานในองค์กร พนักงานใช้ ขององค์กร ไปในทางเสียชื่อเสียง

37 ปัญหาของการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ปัญหาด้านพยานหลักฐาน เพราะพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและกระทำได้ง่าย แต่ยากต่อการสืบหา รวมทั้งยังสูญหายได้ง่าย เช่น ข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ในสื่อบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่อง (Hard Disk) นั้น หากระหว่างการเคลื่อนย้ายได้รับความกระทบกระเทือนหรือเกิดการกระแทก หรือเคลื่อนย้ายผ่านจุดที่เป็นสนามแม่เหล็ก ข้อมูลที่บันทึกใน Hard Disk ดังกล่าวก็อาจสูญหายได้

38 ปัญหาของการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ปัญหาด้านอำนาจในการออกหมายค้น ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเช่นกัน เพราะการค้นหาพยานหลักฐานใน Hard Disk นั้นต้องกำหนดให้ศาลมีอำนาจบังคับให้ผู้ต้องสงสัยบอกรหัสผ่านแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำการสืบสวนเพื่อให้ทำการค้นหาหลักฐานใน Hard Disk ได้ด้วย ปัญหาด้าน ขอบเขตพื้นที่ เพราะผู้กระทำความผิดอาจกระทำจากที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเทศไทย ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลไทย ดังนั้น กฎหมายควรบัญญัติให้ชัดเจนด้วยว่าศาลมีเขตอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำผิดได้ถึงไหนเพียงไร และถ้ากระทำความผิดในต่างประเทศจะถือเป็นความผิดในประเทศไทยด้วยหรือไม่

39 ปัญหาของการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ปัญหาประเด็นเรื่องอายุของผู้กระทำความผิด เพราะผู้กระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ส่วนมาก โดยเฉพาะ Hacker และ Cracker นั้น มักจะเป็นเด็กและเยาวชน และอาจกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเพราะความคึกคะนองหรือความซุกซนก็เป็นได้

40 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

41 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544      เหตุผลในการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” คือเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรม หรือสัญญา ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดไว้ ได้แก่ การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อ กล่าวคือถ้ามีการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือ ชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของกฎหมายแล้ว กฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์แล้ว เป็นผลทำให้สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์หรือใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด

42 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ เมษายน พ.ศ โดยคณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นผู้ดูแลการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ โดยมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการค้าของกฎหมายดังนี้

43 เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
1. มาตรา 7 ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทาง กฏหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” 2. มาตรา 9 ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน”

44 เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3. มาตรา 10 ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสาร ต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว(1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้อง ของข้อความตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์ และ(2) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้ ความถูกต้องของ ข้อความตาม (1) ให้พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความ เว้นแต่การรับรอง หรือบันทึกเพิ่มเติม… ”

45 เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
4. มาตรา 23 ระบุไว้ว่า “การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล หากผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดไว้นั้น แต่ถ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ส่งไปยังระบบข้อมูลอื่นของผู้รับข้อมูล ซึ่งมิใช่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลกำหนดไว้ ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ได้เรียกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากระบบข้อมูลนั้น”

46 เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
5. มาตรา 25 ระบุถึงบทบาทของภาครัฐในการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้อำนาจหน่วยงานรัฐบาลสามารถสร้างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ในการให้บริการประชาชนได้ โดยต้องออกประกาศ หรือกฎกระทรวงเพิ่มเติม

47 เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
6. มาตรา 27 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าของใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ดังนี้ “(1) ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้มีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ได้รับอนุญาต (2) แจ้งให้บุคคลที่คาดหมายได้โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะกระทำการใดโดยขึ้นอยู่กับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทราบโดยมิชักช้า เมื่อ(ก) เจ้าของลายมือชื่อรู้หรือควรได้รู้ว่าข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น สูญหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผย โดยมิชอบ หรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (ข) เจ้าของลายมือชื่อรู้จากสภาพการณ์ที่ปรากฏว่ากรณีมีความเสี่ยงมากพอที่ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สูญ หาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผยโดยมิชอบ หรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์...”

48 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

49 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ที่มา พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นการสื่อสารทางหนึ่ง ในทางกฎหมายก็ต้องรับรองสิ่งที่ได้ติดต่อกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เหมือนสิ่งที่พูด สิ่งที่เขียน เหมือนที่เวลาด่าใครแล้วมีความผิด การใช้คอมพิวเตอร์ด่าก็มีความผิดเช่นกัน

50 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
“ประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550” ที่ออกมาเป็นกฎหมายเสริมพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ อันจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 2550 ประกาศฯ เขียนไว้ว่า กรณีเว็บบอร์ดและเว็บบล็อกนั้น ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลไอพีแอดเดรส และวันเวลาที่ผู้ใช้บริการเข้าถึงเท่านั้น ในกรณีเว็บไซต์ทางการค้านั้น ให้กรอกหมายเลขบัตรเครดิต

51 ประเภทผู้ให้บริการตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ระบุ
จำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider) ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

52 ประเภทของข้อมูลที่ต้องเก็บรักษา
ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้ “ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง

53 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา ฐานความผิด โทษจำคุก สูงสุด โทษปรับสูงสุด (บาท) 5 เข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ 6 เดือน 10,000 บาท 6 การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึง 1 เดือน 7 เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ 2 ปี 40,000 บาท 8 การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ 3 ปี 60,000 บาท 9 การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ 5 ปี 100,000 บาท 10 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์

54 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา ฐานความผิด โทษจำคุก สูงสุด โทษปรับสูงสุด (บาท) 11 การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail) 100,000 ไม่เกิน 100,000 บาท 12 การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่ง 1 ปี 2 หมื่นบาท 13,17 การกระทำต่อความมั่นคง - ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลฯ 1 ปี – 10 ปี 2 หมื่นบาท – 2 แสนบาท - กระทบต่อความมั่นคง 3 ปี – 15 ปี 6 หมื่นบาท- 3 แสนบาท - อันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิต ประหารชีวิต / จำคุกตลอดชีวิต / 10 ปี-20 ปี

55 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา ฐานความผิด โทษจำคุก สูงสุด โทษปรับสูงสุด (บาท) 14 ความรับผิดของผู้ให้บริการ 2 ปี - 5 ปี 4 หมื่นบาท – 1 แสนบาท 15 การตัดต่อภาพผู้อื่น 3 ปี 6 แสนบาท

56 หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High-Tech Crime Center) : กองบัญชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ: กรมสอบสวนคดีพิเศษ: เว็บไซต์ NECTEC เพื่อประชาคมความรู้ (NECTEC PEDIA)

57 ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร

58 ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิของผู้สร้างสรรค์แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำได้ (เช่นการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ ให้เช่า หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ์) เกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น "ทรัพย์สินทางปัญญา"

59 งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานนาฏกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือ การแสดงที่ประกอบขึ้นเป็น เรื่องราว การแสดงโดยวิธีใบ้ งานศิลปกรรม เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพ ประกอบแผนที่ โครงสร้าง ศิลปประยุกต์ และรวมทั้งภาพถ่าย และแผนผังของงานดังกล่าวด้วย งานดนตรีกรรม เช่น เนื้อร้อง ทำนอง และรวมถึงโน้ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสาน งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ เป็นต้น

60 งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
งานภาพยนตร์ งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ เป็นต้น งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การนำออกเผยแพร่ทางสถานีกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

61 สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ คำชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น

62 การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งมีลักษณะการได้มา ดังนี้ คุ้มครองทันทีที่ได้มีการสร้างสรรค์งานนั้น กรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย กรณีที่มีการโฆษณางานแล้ว ต้องเป็นการโฆษณาครั้งแรกได้ทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีฯ กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

63 สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตน ดังต่อไปนี้ - มีสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบทำสำเนา - การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตน โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได

64 อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
งานทั่วๆ ไป ลิขสิทธิ์จะมีตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอยู่ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น กรณีได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีศิลปประยุกต์ ให้มีลิขสิทธิ์อยู่ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธารณะ บุคคลใดๆ สามารถใช้งานนั้นๆ ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

65 ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
สิทธิบัตร มีด้วยกัน 2 ความหมาย คือ 1.    สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด 2. สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น เช่น การผลิตและจำหน่าย เป็นต้น และสิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านั้น

66 ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
สิทธิบัตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม 2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิม

67 อายุสิทธิบัตร 1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร 2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร 67

68 ความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน และมิต้องจดทะเบียน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินประเภทที่สามารถซื้อขาย หรือโอนสิทธิกันได้ทั้งทางมรดก หรือ โดยวิธีอื่น ๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ สิทธิบัตร จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ และสิทธิบัตรการออกแบบ ทั้งสองประเภทจะต้องเป็นผลงานที่คิดขึ้นมาใหม่ ยังไม่เคยมีและเผยแพร่ที่ไหนมาก่อนทั้งในประเทศ และต่างประเทศจะต้องมีการจดทะเบียน และเสียค่าธรรมเนียม จนถึงกำหนดอายุในการคุ้มครอง

69 กรณีศึกษาของ “คาราบาวแดง”
เนื่องจากสินค้าคาเฟอีนเปลี่ยนรูปแบบการโฆษณาที่ใช้สื่ออย่างรุนแรงและส่อไปในลักษณะการแจกของแถมและชิงโชค มาเป็น การโฆษณาให้เห็นคุณค่าของการสู้ชีวิตมากขึ้น กระทิงแดง “ลูกผู้ชายตัวจริง” แรงเยอร์ “แรงใจ... ไม่มีวันหมด” คาราบาวแดง “เชิดชูนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่…” M150 “ไม่มีลิมิต ชีวิตเกินร้อย” Birdy “หนึ่งในใจคุณ” โฆษณาเหล่านี้ผิดจริยธรรมเกี่ยวกับการโฆษณาให้ตรงกับลักษณะของสินค้าหรือไม่???

70 กรณีศึกษาปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลูกค้าผู้หนึ่งโทรศัพท์ไปยังร้านพิซซ่า มีเสียงพนักงานรับสาย พนักงาน : ร้านพิซซ่าไฮเทค ยินดีต้อนรับค่ะ มีอะไรให้เราได้บริการคะ ลูกค้า :ขอสั่งพิซซ่า มาส่งให้หน่อยครับ พนักงาน :ขอเลขที่บัตรประชาชนด้วยค่ะ ลูกค้า : จะเอาไปทำไม? พนักงาน : ร้านพิซซ่าไฮเทค มีความยินดีขอแจ้งให้ท่านทราบว่าขณะนี้ทางร้านได้เชื่อมการบริการเข้ากับฐานข้อมูลบัตรประชาชนของราชการ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้การบริการแก่ลูกค้าทุกท่านแล้วค่ะขอเลขที่บัตรประชาชนด้วยค่ะ ลูกค้า : โอเค บัตรผมเลขที่

71 พนักงาน : ขอบคุณค่ะ ยินดีต้อนรับคุณสมชาย โชคดีอยู่บ้านเลขที่ 77 ถ
พนักงาน : ขอบคุณค่ะ ยินดีต้อนรับคุณสมชาย โชคดีอยู่บ้านเลขที่ 77 ถ.สุทธิสาร กรุงเทพ โทรศัพท์ที่บ้าน ที่ทำงาน มือถือ นะคะ ไม่ทราบว่าติดต่อสะดวกที่เบอร์ไหนคะ ลูกค้า:โอ้โห แค่เลขบัตรประชาชน ให้ข้อมูลได้ขนาดนี้เลยเหรอ...น่าทึ่งจริง ๆอือ...วันนี้วันหยุดต้องมาส่งที่ บ้าน  ผมขอสั่งพิซซ่าหน้าไก่เพิ่มชีสพิเศษ แล้วกัน พนักงาน :เปลี่ยนเป็นพิซซ่าสูตรลดน้ำหนักรวมมิตรผัก ดีกว่ามั๊ยคะ ลูกค้า : ทำไมล่ะ พนักงาน : จากฐานข้อมูลของคุณ มีข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า คุณมีอาการของโรคเก๊าและคอเรสเตอรอลสูงเกินมาตรฐาน เป็นมาหลายปีแล้วด้วย หมอสั่งให้คุณงดของมันและสัตว์ปีก ไม่ใช่หรือคะ

72 ลูกค้า : ก็ได้ๆ ขอ 2 ถาดใหญ่เลยแล้วกัน
ลูกค้า : โอเค อ้อ..ผมจะจ่ายเป็นเครดิตการ์ดนะ พนักงาน :ต้องขอโทษด้วยค่ะ จากการตรวจสอบข้อมูลด้านการเงินขณะนี้วงเงินบัตรเครดิตของคุณทั้ง 3 ใบเต็มแล้วค่ะ ลูกค้า :อ้าวเหรอ... อือ...ไม่เป็นไรคุณจะใช้เวลามาส่งกี่นาทีเดี๋ยวผมไปกดเอทีเอ็มให้ พนักงาน :ประมาณ 45 นาทีค่ะ ดูตามฐานข้อมูลด้านการจราจรรอบบริเวณบ้านคุณ ถ้าคุณออกจากหมู่บ้าน เลี้ยวขวาไปประมาณ 500 เมตร คุณจะพบเอทีเอ็มตู้แรก แต่คุณต้องเสียค่าธรรมเนียมเบิกเงิน 20บาทนะคะ เนื่องจากเป็นตู้เอทีเอ็มต่างธนาคารไม่ใช่ของธนาคารที่คุณมีเงินสดเหลือค้างอยู่ ดิฉันขอแนะนำให้คุณยอมเลยไปอีกซัก 100 เมตร จึงจะพบตู้เอทีเอ็มของธนาคารที่คุณเป็นลูกค้าซึ่งน่าจะดีกว่าเพราะจากตรงนั้นคุณสามารถเข้าซอยเล็กๆ ทางด้านหลังซึ่งเป็นทางลัดกลับมาบ้านคุณได้ รวมเวลาทั้งไปจนกลับจะประมาณ30  นาทีค่ะ

73 ลูกค้า. : หา. ตรงนั้นมีทางลัดกลับบ้านผมด้วย
ลูกค้า : หา.. ตรงนั้นมีทางลัดกลับบ้านผมด้วย หรือ ทำไมผมไม่เคยรู้นึกว่าต้องตามวันเวย์ไปลอดทางด่วนกลับมาซะอีก พนักงาน : อย่าทำอย่างนั้นนะคะ เพราะคุณจะใช้ เวลาเดินทางเกือบชั่วโมงซึ่งจะไม่ทันรอรับพิซซ่า ทางลัดที่แนะนำนี้ไม่ค่อยมีคนรู้จัก เพราะทางค่อนข้างแคบ รถยนต์ผ่านลำบากโชคดีที่ดิฉันดูข้อมูลของคุณแล้วพบว่ารถยนต์ของคุณเพิ่งโดนไฟแนนซ์ยึด คุณจึงเปลี่ยนไปซื้อมอเตอร์ไซด์ฮอนด้าดรีม 300 ซีซีซึ่งถึงแม้จะเป็นรถมือ 2 แต่จากรายงานการตรวจเช็คพบว่าเป็นรถที่นำเข้าศูนย์ตลอดแสดงว่าสภาพรถน่าจะยัง ดีพอที่จะลัดเลาะผ่านทางลัดที่ค่อนข้างขรุขระนี่ได้

74 ลูกค้า. : อู้หู. มันล้วงข้อมูลส่วนตัวกันได้ลึกขนาดนี้เลยรึ
ลูกค้า : อู้หู....มันล้วงข้อมูลส่วนตัวกันได้ลึกขนาดนี้เลยรึ ...นี่มันบอกข้อมูลอะไรอื่นๆ ได้อีก เยอะมั๊ยเนี่ย? พนักงาน :อือ... สักครู่นะคะเอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริการของร้านพิซซ่าไฮเทคของเราแล้วกัน อ้อ! มีอีกอย่างค่ะดิฉันขอแนะนำคุณให้ใส่หมวกกันน๊อคและเปิดไฟหน้าขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ออกมาด้วยนะคะ เพราะขณะนี้บันทึกคะแนนใบขับขี่ของคุณเหลือแค่ 30 คะแนน หากโดนจับอีก คุณจะโดนยึดใบขับขี่ 1ปีเชียวนะคะ

75 ลูกค้า. : เฮ้ย. อะไรกันวะ
ลูกค้า : เฮ้ย...อะไรกันวะ...แค่เลขบัตรประชาชนนี่ทำให้ใครๆมาเสือกรู้เรื่องส่วนตัวคนอื่นๆ ได้ทุกเรื่องเลยรึไง พนักงาน : กรุณาใช้คำสุภาพด้วยนะคะ เพราะขณะนี้ชื่อคุณยังอยู่ในฐานข้อมูลของผู้อยู่ระหว่างโดนทัณฑ์บน แม้ข้อหาของคุณจะเป็นขั้นลหุโทษเพราะแค่มีความผิดฐานใช้วาจาไม่สุภาพกับเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เมื่อคุณโดนตำรวจจับโทษฐานขับรถเร็วเมื่อเกือบปีมาแล้ว นี่อีกเพียง 2 เดือนก็จะพ้นระยะแล้ว ถ้าเกิดตอนนี้มีใครแจ้งความจับคุณในข้อหาเดียวกัน คุณต้องกลับไปรับโทษจำคุกตั้ง 1 เดือนเชียวนะคะอย่าหาเรื่องใส่ตัวดีกว่า ลูกค้า :โอ๊ย....อยากจะบ้าตาย ไม่กงไม่กินมันแล้วยกเลิกที่สั่งทั้งหมดไปเลยแล้วกัน

76 พนักงาน :เสียใจด้วยค่ะ คำสั่งซื้อได้ส่งผ่านระบบออนไลน์โดยคำยืนยันจากคุณผ่านการบันทึกทางสายโทรศัพท์เข้าสู่ส่วนประมวลผลกลางแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้แล้วนะคะ ลูกค้า :ทำไม จะเอากันเข้าคุกกับแค่ยกเลิกพิซซ่า 2 ถาดนี่รึยังไง พนักงาน :อือ... ทางร้านเราไม่ทำอย่างนั้นหลอกค่ะใจจริงดิฉันก็อยากทำเรื่องยกเลิกคำสั่งของคุณเหมือนกัน แต่ตามนโยบายของรัฐบาลที่ท่านอยากให้ธุรกิจทุกอย่างในผืนแผ่นดินไทยดำเนินการอย่างเป็นระบบตรงไปตรงมา เปิดเผย ตรวจสอบได้ ทุกอย่างเมื่อยืนยันเข้าระบบแล้ว จะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ลูกค้า : แต่ถ้าไม่เอาซะอย่าง ใครจะทำอะไรได้

77 พนักงาน :ไม่มีใครทำอะไรคุณหรอกค่ะ เพียงแต่ระบบจะบันทึกชื่อคุณเป็นบุคคลมีประวัติหรือที่เรียกว่าแบล็คลิส ลูกค้า :บันทึกก็บันทึกไปซิ มันจะเป็นอะไรนักหนากันเชียว พนักงาน :อือ..มันก็จะส่งผลเวลาต้องตรวจสอบเครดิตหรือข้อมูลความน่าเชื่อถือส่วนบุคคล ซึ่งจะใช้เวลาคุณยื่นขอเครดิตต่างๆ เช่น กู้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือขอบัตรเครดิตใบต่อไปรวมถึงเวลาขอวีซ่าเดินทางไปต่างประเทศ หรือเกิดในอนาคตคุณเข้าสู่แวดวงการเมือง หากฝ่ายตรงข้ามตรวจสอบพบว่าคุณเคยชักดาบไม่จ่ายค่าพิซซ่าถึง 2 ถาดใหญ่ ก็อาจเป็นเหตุขอยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจคุณได้ค่ะ

78 ลูกค้า : โอ๊ย!…. พอๆๆ โอเค เอามาส่งเลย จบๆ พอๆ พอกันที
พนักงาน : ร้านพิซซ่าไฮเทค ยินดีที่ได้บริการค่ะ ทางร้านหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสให้บริการ.. ...โครม!!! .... เสียงกระแทกหูโทรศัพท์จากลูกค้าก่อนสิ้นประโยคอำลาตามมาตรฐานการบริการจากบริษัทต่างแดน ......

79 กิจกรรม ให้นักศึกษายกตัวอย่างอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต หรือภัยจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต มาคนละ 2 ตัวอย่าง และให้พิจารณาว่าภัยดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ หรือ พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ข้อใดบ้าง (ให้นักศึกษาบอกแหล่งที่มาของข้อมูลอาชญากรรมหรือภัยทางอินเทอร์เน็ตด้วย) 2. ให้นักศึกษายกตัวอย่างผลงาน หรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีการจดสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์มาอย่างละ 1 ผลงาน โดยให้บอกชื่อผลงาน ผู้ประดิษฐ์ และเว็บไซต์ที่มา


ดาวน์โหลด ppt Electronic Commerce Law กฏหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google