อารยธรรมโรมัน โดย วรพร พรหมใจรักษ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อารยธรรมโรมัน โดย วรพร พรหมใจรักษ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อารยธรรมโรมัน โดย วรพร พรหมใจรักษ์
โดย วรพร พรหมใจรักษ์ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม โรงเรียนสงวนหญิง

2 ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน
อารยธรรมโรมันกำเนิดที่คาบสมุทรอิตาลี  ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป โดย มีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะภูมิประเทศส่วน ใหญ่เป็นภูเขา และเนินเขา ได้แก่ เทือกเขาแอลป์ทางทิศเหนือซึ่งกั้นคาบสมุทร อิตาลีออกจากดินแดนส่วนอื่นของทวีปยุโรป และเทือกเขาแอเพนไนน์ซึ่งเป็น แกนกลางของคาบสมุทร ส่วนบริเวณที่ราบมีน้อยและมีที่ราบน้อย จึงทำให้การตั้ง ถิ่นฐานของชุมชนอยู่อย่างกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กๆ พื้นที่การเกษตรมีไม่มาก นัก แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น บริเวณดังกล่าวไม่สามารถรองรับการเกษตรที่ ขยายตัวได้ จึงเป็นสาเหตุที่ชาวโรมันขยายดินแดนไปยังดินแดนอื่นๆ

3 ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน
แผนที่อารยธรรมโรมัน  ที่มา  : 

4 ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขา ได้แก่
* เทือกเขาแอลป์ (Alps)ทางทิศเหนือ ซึ่งกั้นคาบสมุทรอิตาลีออกจากดินแดน ส่วนอื่นของทวีปยุโรป * เทือกเขาแอเพนไนน์ (Appennine)ซึ่งเป็นแกนกลางของคาบสมุทร * ที่ราบมีเป็นส่วนน้อย ที่ราบที่สำคัญ เช่น ที่ราบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่ ราบลุ่มแม่น้ำไทเบอร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงโรมปัจจุบัน และที่ราบลุ่มน้ำโปซึ่งอยู่ ทางเหนือ

5 เทือกเขา แม่น้ำในคาบสมุทรอิตาลี

6 อารยธรรมโรมันสมัยประวัติศาสตร์
มีความเชื่อตามตำนานว่า กรุงโรม สถาปนาขึ้นบนเนินเขา 7 ลูกเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพี่ น้องฝาแฝดคู่หนึ่งชื่อ โรมูลูส (Romulus) และเรมุส (Remus) ซึ่งเติบโตจาก น้ำนมและการเลี้ยงดูของสุนัขป่า

7 ประวัติศาสตร์โรมัน ชาวโรมันโบราณที่อพยพเข้ามาอยู่ในแหลมอิตาลีประกอบด้วยเผ่าที่สำคัญ 2 เผ่า คือ พวก ละติน ซึ่งอพยพมาจากทางตอนเหนือ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตที่ราบตะวันตก และตาม แนวแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber River) จากนั้นได้สร้างเมืองต่างๆ ขึ้นรวมทั้งกรุง โรม อีกเผ่าหนึ่งคือพวกอีทรัสคัน (Etruscans) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียไมเนอร์ เมื่อประมาณ 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกอีทรัสคันได้ขยายอาณาเขตรุกรานดินแดน ของพวกละติน และสถาปนากษัตริย์ปกครองแหลมอิตาลีเมื่อประมาณ 600 ปีก่อน คริสต์ศักราช หลังจากขยายอำนาจปกครองได้ประมาณ 100 ปี พวกอีทรัสคันก็สูญเสีย อำนาจ และผสมกลมกลืนกับพวกละตินจนกลายเป็นชาวโรมันในเวลาต่อมา ความ เจริญรุ่งเรืองที่พวกอีทรัสคันสร้างไว้ให้แก่อารยธรรมโรมันคือ การนำตัวอักษรกรีกเข้ามา ใช้ในแหลมอิตาลี ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นอักษรโรมัน

8 อารยธรรมโรมันสมัยสาธารณรัฐ
พวกอิทรัสกัน โดยได้รับอารยธรรมของกรีก ซึ่งต่อมาได้อพยพเข้ามาในแหลมอิตาลี จึงได้นำเอา ความเชื่อในศาสนาและเทพเจ้าของกรีก ศิลปะการแกะสลัก การทำเครื่องปั้นดินเผา ตัวอักษร การทำนายจากการดูเครื่องในของสัตว์และการบินของนก การสร้างซุ้มประตูโค้ง (Arch) และประติมากรรมเทพเจ้าเข้ามาเผยแพร่ นอกจากพวกอิทรัสกันแล้วยังมีชนเผ่าอื่น ๆ อีก เช่น พวกละติน ต่อมาได้ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองพวกอิทรัสกัน        

9 การปกครองและกฎหมายในสมัยสาธารณรัฐ
ในระยะแรกปกครองระบอบกษัตริย์ เรียกว่า อิมพิเรียม (Imperium) กษัตริย์จะ สภาซีเนตหรือสภาขุนนางเป็นที่ปรึกษาโดยสมาชิกจะอยู่ในชนชั้นพาทรีเชียน (patrician) แต่ต่อมาพวกละตินได้ขับไล่อิทรัสกันออกจากบัลลังก์และตั้งกรุงโรม ขึ้น แต่อำนาจการปกครองยังเป็นดินแดนของพวกพาทริเชียน (patrician) เท่านั้น ส่วนราษฎรที่เรียกว่า เพลเบียน (plebeian) ซึ่งเป็นสามัญชนหรือประชาชนส่วน ใหญ่ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ช่างฝีมือ ไม่มีสิทธิใดๆทางการเมืองและสังคมจนนำไปสู่ความ ขัดแย้งระหว่าง 2 ชนชั้น จนพวกเพลเบียนมีสิทธิออกกฎหมายร่วมกับพวกพาทริเชียน เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) เพื่อใช้บังคับ กับชาวโรมันทุกคน ซึ่งกฎหมายสิบสองโต๊ะนับเป็นมรดกชิ้นสำคัญของโรมที่ถือเป็น แม่แบบของกฎหมายโลกตะวันตก ต่อมาโรมันได้ทำสงครามพิวนิกกับพวกคาร์เทจ โดย มีสาเหตุมาจากการแย่งผลประโยชน์ในเกาะชิชิลี ผลคือฝ่ายคาร์เทจแพ้ จึงทำให้โรมัน กลายเป็นรัฐที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น

10 สงครามพิวนิก สงครามพิวนิค (The Punic War, พิวนิคมาจากคำว่า โพเอนุส ในภาษาละติน ซึ่งเป็นคำเรียกพวกฟินิเชียหรือคาร์เธจ) สงครามพิวนิคครั้งแรกเกิดเมื่อ 246 – 241 ก่อน ค.ศ. ครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ 218 – 201 ก่อน ค.ศ. สงครามสองครั้งแรกนี้กินเวลานานและรุนแรงมาก โรมพ่ายแพ้ในการรบหลายครั้ง แต่ก็อดทนจนได้ชัยชนะในการรบครั้งสุดท้ายเมื่อ 149 – 146 ก่อน ค.ศ. คาร์เธจเหลือแต่ซาก โรมได้ครองดินแดนอันกว้างใหญ่ของคาร์เธจในอาฟริกา ซิซิลี และ สเปน

11 อารยธรรมโรมันสมัยจักรวรรดิ
ชาวโรมันเปลี่ยนการปกครองจากสาธารณรัฐมาใช้เป็นจักรวรรดิ และออกุสตุส (Augustus) เป็นจักรพรรดิหรือซีซาร์ (Caesar ) พระองค์แรก ของจักรวรรดิโรมัน ในสมัยนี้โรมันเจริญถึงขีดสุดและได้ขยายอำนาจไปยังภูมิภาค ต่าง ๆ และเมื่อศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายมาถึงดินแดนทางภาคตะวันตกของ ปาเลสไตน์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน ทำให้จักรวรรดิโรมัน ต่อต้านศาสนานี้อย่างรุนแรง

12 จักรพรรดิออกุสตุส ซีซาร์
ในปีที่ 48 ก่อนคริสตกาล นายทหารชื่อ จู เลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้อำนาจปกครองโรม และปราบปรามหัว เมืองที่แข็งข้อได้สำเร็จ แต่ต่อมาไม่นานถูก ลอบสังหาร การจราจลแย่งชิงอำนาจในกรุง โรมเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดออคเตเวียน (Octavian) มีชัยเหนือ มาร์ค แอน โทนี (Mark Antony) และได้ สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ ซึ่งเรียก ตำแหน่งนี้ว่า "ออกัสตัส" (Augustus) ทำให้ยุคสาธารณรัฐที่ ปกครองโดยขุนนางนายทหารสิ้นสุดลง

13 จักรวรรดิโรมันเสื่อม
ระยะสองร้อยปีแรกมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านการปกครองและศิลปวัมนธรรม สามารถควบคุมประเทศราชให้อยู่ในอำนาจของโรมได้อย่างเป็นระเบียบโดยส่งทหารเข้า ไปควบคุม และพยายามปลูกฝังวัฒนธรรมโรมันและภาษาละตินให้แก่ชนชาติอาณานิคม ระยะนี้จึงถูกเรียกว่า "สันติโรมัน" (Pax Romana) หลังจากนั้น จักรวรรดิโรมันก็ ค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง ชาวโรมันกลับนิยมความฟุ้งเฟ้อ หรูหรา ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 จักรวรรดิจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก มีศูนย์กลางที่กรุงโรม และจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีเมืองหลวงที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบัน คือ อิส ตันบูล เมืองหลวงของประเทศตุรกีในปัจจุบัน)

14 การสิ้นสุดของอาณาจักรโรมัน
ในสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช(Constantine the Great) พระองค์ ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ทำให้จักรวรรดิโรมันกลายเป็น จักรวรรดิของคริสต์ศาสนา ทรงสร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือ นครอิส ตันบูลในประเทศตุรกี) ทางตะวันตกของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาเรียกว่า จักรวรรดิ โรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) จนกระทั่งสมัย ปลายจักรวรรดิ โรมันเผชิญปัญหาภายในทำให้ถูกพวก อนารยชนเผ่าเยอรมันหรือ เผ่ากอธเข้าปล้นสะดม และขับไล่กษัตริย์ออกจากบัลลังก์ ใน ปี ค.ศ.476 ถือเป็น การสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และประวัติศาสตร์สมัยโบราณ

15 จักรพรรดิคอนสแตนติน จักรพรรดิคอนสแตนตินหรือคอนสแตนตินที่1 เป็นจักรพรรดิโรมันผู้ปกครองอาณาจักรโรมัน ทั้งโรมันตะวันออกและโรมันตะวันตก  และ เป็นผู้ตั้งเมืองคอนแสตนติโนเปิล เป็นเมือง หลวงของจักรวรรดิโรมันในปี ค.ศ.330 และ เป็นศูนย์กลางการปกครอง  คอนสแตนตินเป็น จักรพรรดิโรมันองค์แรกที่ทรงรับศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาประจำรัฐ  โดยการกำหนดให้มีพระ ราชกฤษฎีกาแห่งมิลานที่ประกาศโดย จักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรง เป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ด้วย ซึ่งพระ ราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ ประกาศให้ยกเลิกการทารุณกรรมและเข่นฆ่า ปราบปรามคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิ โรมัน 

16 มรดกของอารยธรรมโรมัน
ความโดดเด่นของอารยธรรมโรมันเกิดจากรากฐานที่ แข็งแรง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมกรีกและอารย ธรรมของดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผสานกับ ความเจริญก้าวหน้าที่เป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันเองที่ พยายามคิดค้นสร้างระบบต่างๆ เพื่อดำรงความยิ่งใหญ่ ของจักรวรรดิโรมันไว้

17 สถาปัตยกรรม  เน้นความใหญ่โต แข็งแรง ทนทาน โดยชาวโรมันได้ พัฒนาเทคนิคการก่อสร้าง ของกรีกเป็นประตู โค้ง  (arch) และ เปลี่ยนหลังคาจากจั่วเป็น โดม และสร้างอาคารต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของ รัฐและ    สาธาณชน เช่น โคลอสเซียม  สถานที่ อาบน้ำสาธารณะ วิหาร แพนธีออน (Pantheon) โคลอสเซียม วิหารแพนธีออน

18 ประติมากรรม   สะท้อนบุคลิกภาพของมนุษย์อย่าง สมจริงตามธรรมชาติ และมีสัดส่วน งดงามเหมือนกรีก แต่โรมันจะเน้นพัฒนา ศิลปะด้านการแกะสลักรูปเหมือนบุคคล สำคัญๆ เช่น จักรพรรดิ นักการเมือง โดยเฉพาะในครึ่งท่อนบนจะสามารถ แกะสลักได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งแสดงให้เห็น ถึงความมีชีวิตชีวา ชาวโรมันเชื่อว่าการ แกะสลักรูปเหมือนจริงที่สุดจะช่วยรักษา วิญญาณของคนนั้นเมื่อตายไปแล้วไว้ ได้  นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักภาพนูน ต่ำ เพื่อบันทึกเรื่องรามทางประวัติศาสตร์ และสดุดีวีรกรรมของนักรบ ทหารโรมัน

19 ภาษาและวรรณกรรม ชาวโรมันพัฒนาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษากรีกที่ พวกอีทรัสกันนำมาใช้ จนใช้กันแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของ ยุโรปสมัยกลาง และเป็นภาษาทางราชการของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนวรรณกรรมระยะแรกเป็นบันทึก พงศาวดาร กฎหมาย ตำราการทหาร และการเกษตร ต่อมามี การแต่งงานประพันธ์เป็นของตนเอง ได้แก่ เรื่อง อิเนียด ประพันธ์โดยเวอร์จิล งานประพันธ์ของซิเซโร เป็นต้น

20 มหากาพย์อีเนียด  อีเนียส (Aeneas) เป็นชื่อวีรบุรุษคนหนึ่งในตำนาน ปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายคนหนึ่งแห่งเมืองทรอย เป็นบุตร ของเทพีอโฟรไดท์ กับแอนไคซีส ญาติผู้น้องของท้าว เพรียม เจ้าเมืองทรอย อีเนียสจึงมีศักดิ์เป็นหลานของท้าว เพรียม เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเฮกเตอร์และปารีสอีเนียสมี ส่วนร่วมรบอยู่ในสงครามเมืองทรอย แต่ได้รับการปกป้อง ระหว่างการรบหลายครั้งจากเทพมารดาคืออโฟรไดท์ รวมถึงอพอลโลและโพไซดอน ก่อนทรอยจะแตก อโฟร ไดท์ช่วยให้อีเนียสหนีออกมาได้ เขาพาพลเมืองและทหาร ติดตามที่หลงเหลือ รวมถึงเชื้อพระวงศ์ทรอยอีกจำนวน หนึ่ง เดินทางระหกระเหินไปจนถึงดินแดนอิตาลี และตั้ง อาณาจักรใหม่ขึ้นชื่อว่า อาณาจักรโรมัน ด้วยเหตุนี้ เทพ ปกรณัมของโรมันจึงมีเค้าที่มาจากเทพปกรณัมของกรีก

21  วิศวกรรม การสร้างถนนคอนกรีต โดย ถนนทั้ง 2 ข้างจะมีท่อระบาย น้ำ และมีหลักบอกระยะทาง นอกจากนี้ยังมีการสร้าง สะพานส่งน้ำ (aqueduct) ขนาด สูงใหญ่จำนวนมากเพื่อนำน้ำ วันละ 300 ล้านแกลลอนหรือ ประมาณ 8,505 ล้านลิตร จากภูเขาไปยังเมืองเพื่อให้ ชาวเมืองได้ใช้

22 ปฏิทิน  ปฏิทินจูเลียน (แบบสุริยคติ) ปีหนึ่งมี 12 เดือน แต่ละปีมี 365 วัน และเพิ่มเดือนกุมภาพันธ์ให้ทุก ๆ 4 ปีมี 366 วัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เกรกอเรียน

23  กฎหมาย ระยะแรกโรมันไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นระบบ แต่มีลักษณะ กลมกลืนไปกับศาสนา ต่อมาเปลี่ยนเป็นกฎหมายบ้านเมือง จนในที่สุดก็ได้มีการ ตรากฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) ซึ่ง ประมวลกฏหมายโรมันนี้เป็นรากฐานประมวลกฎหมายของประเทศต่าง ๆ แม้แต่ กฎหมายของวัดในสมัยกลาง และยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลในกฎหมายโรมันใน สมัยจักรพรรดิจัสติเนียน ซึ่งได้และจัดเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า ประมวลกฎหมายจัส ติเนียน (Justinian Code) และทิ้งไว้เป็นมรดกล้ำค่าของโลกตะวันตก

24 การแพทย์   แพทย์โรมันสามารถผ่าตัด รักษาโรคได้หลายโรค โดน เฉพาะการผ่าตัดทำคลอด ทารกทางหน้าท้องของ มารดา ซึ่งเรียกว่า ศัลยกรรม ซีซาร์ (Caesarean Operation) นอกจากนี้ยังมีการสร้าง โรงพยาบาล ระบบบำบัดน้ำ เสียและสิ่งปฏิกูล


ดาวน์โหลด ppt อารยธรรมโรมัน โดย วรพร พรหมใจรักษ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google