งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Sex Chromosome

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Sex Chromosome"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Sex Chromosome

2 X-linked โรคที่ควบคุมโดยยีนในโครโมโซม x ได้แก่
Hemophilia G-6-PD Red-green color blindness

3 โรคฮีโมฟีเลีย(Hemophilia)
ฮีโมฟีเลียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด  เป็นโรคที่พบไม่บ่อยโดยมากพบในเพศชาย ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียจะมีโปรตีนตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดหายไปหรือมีไม่เพียงพอ  โปรตีนเหล่านี้รู้จักกันในนาม แฟคเตอร์ (Factor) ซึ่งมีอยู่ในเลือดตามธรรมชาติ  ร่างกายจะต้องอาศัยแฟคเตอร์ (Factor) เหล่านี้ในการทำให้เลือดแข็งตัวและช่วยรักษาแผลเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือสูญเสียเลือด  นับเป็นความโชคดีที่ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียสามารถดำเนินชีวิตด้วยความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์

4 โรคฮีโมฟีเลีย แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ ฮีโมฟีเลีย เอ, บี และซี
• ฮีโมฟีเลีย เอ (หรือ classical hemophilia) มีแฟคเตอร์ 8 (factor VIII) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดแฟคเตอร์ 8 (Factor VIII) • ฮีโมฟีเลีย บี (หรือ Christmas disease) มีแฟคเตอร์ 9 (factor IX) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดแฟคเตอร์ 9 (Factor IX) • ฮีโมฟีเลีย ซี  มีแฟคเตอร์ 11 (factor XI) ต่ำกว่าปริมาณที่ต้องการ มีแฟคเตอร์ 11 (factor XI) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดแฟคเตอร์ 11 (factor XI)

5 ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียไม่ได้มีเลือดออกมากหรือเร็วกว่าคนปกติ  แต่มีเลือดออกเป็นระยะเวลานานกว่าคนปกติหลังจากถูกของมีคมบาดหรือมีเลือดออกภายใน  การมีเลือดออกภายในมักเกิดขึ้นในข้อต่อและกล้ามเนื้อ  แต่อาจเกิดขึ้นได้ที่สมองหรืออวัยวะอื่นๆ

6 โรคฮีโมฟีเลียมักพบในเพศชายเนื่องมาจากยีนที่กำหนดอาการของโรคโรคฮีโมฟีเลียอยู่บนโครโมโซม X ส่วนผู้หญิงที่มียีนดังกล่าวจะเรียกว่าเป็นพาหะ (carrier)ซึ่งจะถ่ายทอดยีนนี้ไปยังลูกหลาน อย่างไรก็ตามร้อยละ 30 ของผู้ป่วยอาจไม่มีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติดังกล่าว   ในกรณีนี้แม่ที่เป็นพาหะอาจไม่ทราบว่าเธอมียีนโรคฮีโมฟีเลียอยู่ หรืออาจมีการกลายพันธุ์ของยีนตามธรรมชาติ

7 G-6-PD ภาวะพร่องเอนไซม์ Glucose-6-phosphate dehydrogenase หรือ G-6-PD (G-6-PD deficiency) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีการถ่อยทอดแบบยีนด้อยบนโครโมโซม X หรือ X-linked recessive ทำให้พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ภาวะนี้พบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบทวีปแอฟริกา เมดิเตอร์ เรเนียน ตะวันออกกลาง และเอเซีย โดยพบมีอุบัติการณ์แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยพบ ในเพศชายร้อยละ 3ถึง18

8 สาเหตุของภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD
สาเหตุของภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD เกิดจากความผิดปกติของยีน G-6-PD ที่อยู่บนโครโมโซม X ทำหน้าที่ในการสร้างเอนไซม์ glucose-6-phosphate dehydrogenase หรือ G-6-PD เป็นผลให้มีการสร้างเอนไซม์ดังกล่าวในปริมาณที่ลดลงในระดับที่แตกต่างกันออกไป เอนไซม์ G-6-PD มีความสำคัญในกระบวนการ pentose phosphate pathway ของน้ำตาลกลูโคส ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นปฏิกริยาการเปลี่ยน NADP ไปเป็น NADPH ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสารที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant) ดังนั้นในผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD เมื่อได้รับยา, สารเคมี หรือเกิดภาวะใดก็ตามที่กระตุ้นให้มีการสร้างสารอนุมูลอิสระต่างๆ (oxidant) ขึ้นมาและไม่สามารถกำจัดออกไปได้ สารดังกล่าวจึงเป็นพิษต่อเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์เม็ดเลือดแดง ก็จะทำให้เกิดการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) ได้

9 อาการและอาการแสดงของภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD
อาการและอาการแสดงของภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ ส่วนในรายที่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (neonatal jaundice) และภาวะเม็ดเลือดแดงแตกสลายอย่างฉับพลัน (acute hemolytic anemia) หลังจากที่ได้รับยา สารเคมี หรือเกิดภาวะใดก็ตามที่กระตุ้นให้มีการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงเช่น ภาวะติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการซีดลงฉับพลัน ตัวเหลือง (จากการที่มีระดับสารสีเหลืองหรือบิลิรูบินที่ได้จากการแตกสลายตัวของฮีโมโกลบินสูงในเลือด) และในบางรายอาจมีปัสสาวะสีน้ำตาลดำหรือสีโคล่า (จากการที่มีฮีโมโกลบินที่เกิดจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงปนมาในปัสสาวะ) อาการต่างๆ มักเกิดขึ้นภายใน 24–72 ชั่วโมง ในรายที่รุนแรงอาจพบว่าปริมาณปัสสาวะออกน้อยลงจนก่อให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) ได้

10 การวินิจฉัยภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD
การวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยประวัติ รวมทั้งอาการและอาการแสดงที่ทำให้สงสัยภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD หลังจากนั้น แพทย์จะทำการตรวจนับเม็ดเลือดเพื่อดูภาวะซีด รวมถึงการดูเสมียร์เลือดที่จะพบลักษณะของเม็ดเลือดแดงแตกที่เข้าได้กับภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD สำหรับการวินิจฉัยที่แน่นอนสามารถทำได้โดยการตรวจหาระดับของเอนไซม์ G-6-PD ในเลือดจะพบว่ามีระดับต่ำกว่าปกติ

11 รูป เสมียร์เลือดแสดงลักษณะของเม็ดเลือดแดงแตกสลายในภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD

12 การรักษาภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะ (specific therapy) สำหรับภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD การรักษาที่ดีที่สุดได้แก่ การหลีกเลี่ยง ยา สารเคมี และ ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง  ในกรณีที่เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงอย่างฉับพลัน (acute hemolytic anemia) ให้รีบหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง หยุดการใช้ยาหรือสารเคมีนั้นทันที หรือทำการรักษาภาวะที่เป็นปัจจัยกระตุ้นดังกล่าว ในกรณีที่ซีดมากจนมีอาการเหนื่อยเพลีย หรือมีปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีโคล่า ควรรีบพบแพทย์ เนื่องจากอาจจำเป็นต้องได้รับเลือด (blood transfusion) รวมทั้งให้การรักษาประคับประคอง (supportive therapy) ต่างๆ เพื่อป้องกันภาวะไตวายฉับพลัน

13 ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง (neonatal jaundice) จากภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD อาจต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ (phototherapy) จนกว่าระดับบิลิรูบิน (bilirubin) กลับมาอยู่ในระดับปกติ หรือในกรณีที่เหลืองมากอาจต้องได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด (exchange transfusion) ร่วมด้วย เมื่อเกิดอาการไม่สบายควรปรึกษาแพทย์ และต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งว่าป่วยเป็นโรคนี้ รวมทั้งควรมีบัตรประจำตัวหรือคำแนะนำสำหรับภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD พกติดตัวไว้เสมอ

14 Color blindness เป็นภาวะการมองเห็นผิดปกติ โดยมากเป็นการตาบอดสีตั้งแต่กำเนิด และมักพบในเพศชายมากกว่า เพราะเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบลักษณะด้อยบนโครโมโซม ผู้ที่เป็นตาบอดสีส่วนใหญ่จะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีเขียวและสีแดงได้ จึงมีปัญหาในการดูสัญญาณไฟจราจร รองลงมาคือ สีน้ำเงินกับสีเหลือง หรืออาจเห็นแต่ภาพขาวดำ และความผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้าง ไม่สามารถรักษาได้

15 สาเหตุการเกิดตาบอดสี
ตาบอดสี (Color blindness)เกิดขึ้นจากเซลล์ประสาทชนิดหนึ่ง ในม่านตาซึ่งมีความไวต่อสีต่าง ๆ มีความบกพร่องหรือพิการ ทำให้ดวงตาไม่สามารถที่จะมองเห็นสีบางสีได้ ตาบอดสี มีหลายชนิด ชนิดที่ทุกคนรู้จักโดยทั่วไปได้แก่ ตาบอดสีที่มองสีเขียว กับสีแดงไม่เห็น (Red – Green blindness) ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถแยกสีแดงกับสีเขียวจากสีอื่น ๆ ได้ ดังนั้นคนตาบอดสีชนิดนี้จะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในโลกเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีขาว สีดำ สีเทา และส่วนผสมของสีเหล่านั้นทั้งหมด

16 การพบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบ แดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากว่ายีน ที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุรับสีชนิดสีแดง และสีเขียวนั้น (red-pigment gene, green-pigment gene) อยู่บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้ขาดตกบกพร่องไปในคนใดคนหนึ่ง ก็จะทำให้คนนั้นสามารถรับรู้ สีเหล่านั้นได้ลดลงกว่าคนปกติแน่นอนว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่าเนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชาย มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีแพคเกจบรรจุยีนนี้แถมมาด้วย ;) ก็จะแสดง อาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป

17 ภาพแสดงถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม

18 Y-linked ขนที่ใบหู

19 โรคขนที่ใบหู ลักษณะมีขนที่ใบหูพบเฉพาะในเพศชายเท่านั้น โดยมียีน h (holandric gene) ควบคุมลักษณะนี้อยู่ ชายที่มีลักษณะมีขนที่ใบหูจะมีจีโนไทป์เป็น XYh ส่วนชายที่มีลักษณะปกติไม่มีขนที่ใบหูจะมีจีโนไทป์เป็น XYH

20 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Sex Chromosome

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google