ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยΣυντύχη Βιτάλη ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ โดยการทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ
2
วัตถุประสงค์ เพื่อระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาดทั้งในระดับงบการเงินและในระดับที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ โดยการทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ รวมถึงการควบคุมภายในของกิจการ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการออกแบบวิธีการ และการนำวิธีการไปปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ได้ประเมินไว้
3
ความเสี่ยง ความเสี่ยงในการสอบบัญชีAudit Risk
Risk of material misstatement (ROMM) ความเสี่ยงจากการตรวจสอบDetection risk ความเสี่ยงสืบเนื่องInherent risk ความเสี่ยงจากการควบคุมControl risk
4
ความเสี่ยงในมุมมองของกิจการ
5
ความเสี่ยงในมุมมองของผู้สอบบัญชี
6
คำจำกัดความ ความเสี่ยงทางธุรกิจ หมายถึง ความเสี่ยงที่เป็นผลมาจากเงื่อนไขเหตุการณ์ สภาพแวดล้อม การกระทำหรือการละเลยการกระทำที่สำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อความสามารถของกิจการในการบรรลุวัตถุประสงค์และการดำเนินกลยุทธ์ หรือจากการกำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่ไม่เหมาะสม
7
คำจำกัดความ ความเสี่ยงในการสอบบัญชี หมายถึง ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมเมื่องบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ความเสี่ยงในการสอบบัญชีเป็นผลมาจากความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและความเสี่ยงจากการตรวจสอบ
8
คำจำกัดความ ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ หมายถึง ความเสี่ยงที่วิธีการตรวจสอบที่ผู้สอบบัญชีใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการสอบบัญชีให้อยู่ในระดับต่ำที่ยอมรับได้ จะตรวจไม่พบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่มีอยู่ซึ่งอาจมีสาระสำคัญในแต่ละรายการหรือมีสาระสำคัญเมื่อรวมกับการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอื่น ความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ หมายถึง ความเสี่ยงที่งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญก่อนการตรวจสอบ
9
คำจำกัดความ ความเสี่ยงดังกล่าวประกอบด้วยความเสี่ยงสองส่วน ซึ่งอธิบายในระดับที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ได้ดังนี้ (1) ความเสี่ยงสืบเนื่อง หมายถึง ความเสี่ยงที่สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับประเภทของรายการ ยอดคงเหลือของบัญชี หรือการเปิดเผยข้อมูลจะแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่อาจมีสาระสำคัญ ไม่ว่าจะมีสาระสำคัญในแต่ละรายการหรือมีสาระสำคัญเมื่อรวมกับการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอื่น โดยไม่พิจารณาการควบคุมที่เกี่ยวข้อง
10
คำจำกัดความ (2) ความเสี่ยงจากการควบคุม หมายถึง ความเสี่ยงที่การควบคุมภายในของกิจการไม่สามารถป้องกันหรือตรวจสอบพบและแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่อาจเกิดขึ้นภายในเวลาทันท่วงที ซึ่งการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงกับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ เกี่ยวกับประเภทของรายการ ยอดคงเหลือของบัญชีหรือการเปิดเผยข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น และอาจมีสาระสำคัญ ไม่ว่าจะมีสาระสำคัญในแต่ละรายการหรือมีสาระสำคัญเมื่อรวมกับการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอื่น
11
คำจำกัดความ วิธีการประเมินความเสี่ยง หมายถึง วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจในกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ รวมถึงการควบคุมภายในของกิจการ เพื่อระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาดทั้งในระดับงบการเงินและในระดับที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้
12
การแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง
จำนวนเงิน การจัดประเภทรายการ การแสดงรายการ หรือการเปิดเผยข้อมูลของรายการในงบการเงินตามที่กำหนดโดยแม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง จำนวนเงิน การจัดประเภทรายการ การแสดงรายการ หรือการเปิดเผยข้อมูลของรายการในงบการเงินตามที่รายงานไว้ ผลแตกต่าง อาจเกิดจากข้อผิดพลาดหรือการทุจริต
13
วิธีการประเมินความเสี่ยง
สอบถามผู้บริหารและบุคคลอื่น สังเกตการณ์และตรวจทาน วิเคราะห์เปรียบเทียบ
14
วิธีการประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลจากกระบวนการ ตอบรับงานและคงไว้ซึ่งงานสอบบัญชี ประสบการณ์จากการตรวจสอบกิจการในอดีต ข้อมูลที่ได้จากงานอื่น ๆ การปรึกษาหารือร่วมกันกับสมาชิกกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน
15
การทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ รวมถึงการควบคุมภายในของกิจการ
ปัจจัยภายนอก อุตสาหกรรม ข้อบังคับทางกฎหมายและปัจจัยอื่น การดำเนินกิจการ ความเป็นเจ้าของโครงสร้างการกำกับดูแล และวิธีการจัดหาเงินทุน ลักษณะของกิจการ นโยบายการบัญชี การเลือกและการใช้นโยบายการบัญชีรวมถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของกิจการ และความเสี่ยงทางธุรกิจ การวัดและการทบทวนผลการดำเนินงาน แรงกดดันจากการวัดผลการดำเนินงานทั้งภายนอกและภายใน
16
1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับทางกฎหมาย และปัจจัยภายนอกอื่น
1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับทางกฎหมาย และปัจจัยภายนอกอื่น ปัจจัยทางอุตสาหกรรม เงื่อนไขของอุตสาหกรรม เช่น สภาพการแข่งขัน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายและลูกค้า และการพัฒนาทางเทคโนโลยี ลักษณะของธุรกิจหรือระดับความเข้มงวดของข้อกำหนดทางกฎหมาย
17
1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับทางกฎหมาย และปัจจัยภายนอกอื่น
1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับทางกฎหมาย และปัจจัยภายนอกอื่น ปัจจัยทางข้อกำหนดทางกฎหมาย หลักการบัญชี และแนวปฏิบัติเฉพาะของอุตสาหกรรม ข้อกฎหมายและข้อกำหนด ภาษีอากร การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
18
1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับทางกฎหมาย และปัจจัยภายนอกอื่น
1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับทางกฎหมาย และปัจจัยภายนอกอื่น ปัจจัยภายนอกอื่น สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย ความยากง่ายในการจัดหาเงินทุน และเงินเฟ้อ หรือการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน
19
2. ลักษณะของกิจการ การดำเนินกิจการ
ลักษณะของแหล่งรายได้ ผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการและการตลาด การประกอบกิจการ พันธมิตร กิจการร่วมค้า และการใช้บริการจากกิจการภายนอก การกระจายสินค้าทางภูมิศาสตร์ และการจำแนกส่วนงานตามอุตสาหกรรม สถานที่ที่ใช้ในการผลิต สถานที่เก็บสินค้า สำนักงาน และที่ตั้งและปริมาณของสินค้าคงเหลือ ลูกค้ารายหลัก และผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ให้บริการที่สำคัญ กิจกรรมการวิจัยและพัฒนาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
20
2. ลักษณะของกิจการ เงินลงทุนและกิจกรรมการลงทุน
การซื้อกิจการหรือการจำหน่ายส่วนงานทางธุรกิจที่ได้วางแผนไว้ หรือเกิดขึ้นแล้ว การลงทุนและการจำหน่ายหลักทรัพย์ และเงินให้กู้ยืม กิจกรรมการลงทุนในสินทรัพย์ การลงทุนในกิจการที่มิได้นำมาจัดทำงบการเงินรวม
21
2. ลักษณะของกิจการ การจัดหาเงินและกิจกรรมในการจัดหาเงิน
บริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่สำคัญ รวมถึงโครงสร้างที่ต้องจัดทำงบการเงินรวมและโครงสร้างที่ไม่ต้องจัดทำงบการเงินรวม โครงสร้างหนี้และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดทำรายการทางการเงินนอกงบดุล และการทำสัญญาเช่า ผู้มีสิทธิได้ผลประโยชน์ (ในประเทศ ต่างประเทศ ชื่อเสียงทางธุรกิจ และประสบการณ์) และบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน การใช้ตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน
22
2. ลักษณะของกิจการ การรายงานทางการเงิน
หลักการบัญชี และแนวปฏิบัติเฉพาะของอุตสาหกรรม แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ การบัญชีสำหรับมูลค่ายุติธรรม สินทรัพย์ หนี้สิน และรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ การบัญชีสำหรับรายการที่ไม่ปกติหรือรายการที่ซับซ้อน
23
3. การเลือกและการใช้นโยบายการบัญชีรวมถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
ความเหมาะสมต่อกิจการ สอดคล้องกับแม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
24
4. วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของกิจการ และความเสี่ยงทางธุรกิจ
4. วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของกิจการ และความเสี่ยงทางธุรกิจ ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ การพัฒนาอุตสาหกรรม (ขาดผู้เชี่ยวชาญ) สินค้าและบริการใหม่ (ภาระหนี้สินอันเนื่องมาจากในสินค้าเพิ่มขึ้น) การขยายตัวทางธุรกิจ (ความต้องการสินค้า ที่ไม่สามารถประมาณได้อย่างถูกต้อง)
25
4. วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของกิจการ และความเสี่ยงทางธุรกิจ
4. วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของกิจการ และความเสี่ยงทางธุรกิจ ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกำหนดทางการบัญชีใหม่ (การนำมาตรฐานการบัญชีใหม่มาใช้อย่างไม่สมบูรณ์หรือไม่เหมาะสม หรือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่) ข้อบังคับทางกฎหมาย (ความเสี่ยงทางกฎหมายเพิ่มขึ้น) ข้อกำหนดทางการเงินในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ผลขาดทุนทางการเงิน เนื่องจากกิจการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้)
26
4. วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของกิจการ และความเสี่ยงทางธุรกิจ
4. วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของกิจการ และความเสี่ยงทางธุรกิจ ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบและกระบวนการประมวลผลไม่สามารถเข้ากันได้) ผลกระทบจากการใช้กลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่จะนำไปสู่ข้อกำหนดทางการบัญชีใหม่ (การใช้กลยุทธ์ที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่เหมาะสม)
27
5.การวัดผลและการทบทวนผลการดำเนินงานทางการเงิน
การวัดผลการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายในอาจก่อให้เกิดแรงกดดันต่อกิจการ แรงกดดันดังกล่าวอาจจูงใจให้ผู้บริหารปรับปรุงผลการดำเนินงานหรือบิดเบือนงบการเงิน
28
5.การวัดผลและการทบทวนผลการดำเนินงานทางการเงิน
ตัวอย่างการวัดผลและการทบทวนผลการดำเนินงาน น ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานที่สำคัญ (ด้านการเงินหรือด้านที่ไม่ใช่การเงิน) และอัตราส่วนที่สำคัญ แนวโน้มและสถิติผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทางการเงินในแต่ละงวดเวลา งบประมาณ การพยากรณ์ การวิเคราะห์ผลต่าง ข้อมูลจำแนกตามส่วนงานและฝ่ายงาน หรือรายงานผลงานในระดับแผนกหรือระดับอื่น การประเมินผลพนักงาน และนโยบายการให้ผลตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกิจการกับคู่แข่ง
29
การควบคุมภายใน กระบวนการที่ผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแล ผู้บริหาร และบุคคลอื่นได้ออกแบบ นำไปปฏิบัติและดูแลให้เหมาะสมอยู่เสมอ เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือได้ของการรายงานทางการเงิน ความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง คำว่า “การควบคุม” หมายถึง องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งหรือหลายองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ผู้สอบบัญชีควรใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการพิจารณาว่าการควบคุมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกันที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี
30
วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
การควบคุมภายในได้ถูกออกแบบ นำไปปฏิบัติและรักษาไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงทางธุรกิจที่ได้ระบุไว้ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการซึ่งประกอบด้วย การเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของกิจการ ความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และ การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
31
ข้อจำกัดของการควบคุมภายใน
การใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจสามารถผิดพลาดได้ การไม่ปฏิบัติตามการควบคุมภายในสามารถเกิดขึ้นได้จากข้อผิดพลาด การควบคุมอาจจะไม่มีประสิทธิผลเนื่องจากบุคลากรไม่เข้าใจ การควบคุมสามารถถูกหลีกเลี่ยงโดยการร่วมมือกันระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือการแทรกแซงการควบคุมภายในที่ไม่เหมาะสมโดยฝ่ายบริหาร
32
องค์ประกอบของการควบคุมภายใน
การติดตามผลการควบคุม กิจกรรมการควบคุม ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร การประเมินความเสี่ยงของกิจการ สภาพแวดล้อมการควบคุม
33
1. สภาพแวดล้อมการควบคุม
ผู้บริหารโดยการกำกับดูแลของผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลได้สร้างและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมในเรื่องความซื่อสัตย์และพฤติกรรมทางจรรยาบรรณ ความเข้มแข็งขององค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการควบคุมโดยรวมเป็นพืนฐานที่ดีต่อองค์ประกอบของการควบคุมภายในอื่น และในกรณีที่สภาพแวดล้อมการควบคุมมีข้อบกพร่อง ข้อบกพร่องนั้นมีผลกระทบต่อองค์ประกอบของการควบคุมภายในอื่นหรือไม่
34
องค์ประกอบสำคัญที่ควรประเมิน
การสื่อสารและผลักดันให้เกิดความซื่อสัตย์และคุณค่าทางจรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์และคุณค่าทางจรรยาบรรณเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิผลของการออกแบบ การบริหาร และการติดตามผลของการควบคุมอื่น
35
องค์ประกอบสำคัญที่ควรประเมิน
พันธสัญญาเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ การพิจารณาของผู้บริหารเกี่ยวกับระดับความรู้ความสามารถของงานซึ่งเฉพาะเจาะจง และระดับความรู้ความสามารถดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นทักษะที่จำเป็นและความรู้ได้อย่างไร
36
องค์ประกอบสำคัญที่ควรประเมิน
การมีส่วนร่วมของผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแล คุณลักษณะของผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแล เช่น ความเป็นอิสระจากผู้บริหาร ประสบการณ์และภูมิความรู้ ขอบเขตของการเข้ามีส่วนร่วมและข้อมูลที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลได้รับรวมทั้งความเอาใจใส่ในกิจกรรมการกำกับดูแล ความเหมาะสมของการปฏิบัติงาน รวมถึง เรื่องสำคัญที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อติดตามกับผู้บริหาร และการปฏิสัมพันธ์กับผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี
37
องค์ประกอบสำคัญที่ควรประเมิน
ปรัชญาและรูปแบบของการบริหาร ลักษณะของผู้บริหารเกี่ยวกับ แนวทางของผู้บริหารในการยอมรับและบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ทัศนคติของผู้บริหารและพฤติกรรมต่อการรายงานทางการเงิน ทัศนคติต่อการประมวลผลข้อมูล หน้าที่ทางการบัญชีและเจ้าหน้าที่บัญชี
38
องค์ประกอบสำคัญที่ควรประเมิน
โครงสร้างองค์กร กรอบการจัดโครงสร้างองค์กรสำหรับแต่ละกิจกรรมในกิจการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ มีการนำไปปฏิบัติ ควบคุม และสอบทาน
39
องค์ประกอบสำคัญที่ควรประเมิน
การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบสำหรับกิจกรรมการดำเนินงานถูกมอบหมายไว้อย่างไร และความเกี่ยวข้องในการจัดทำรายงานและอำนาจตามลำดับขั้นมีการกำหนดอย่างไร
40
องค์ประกอบสำคัญที่ควรประเมิน
นโยบายและวิธีปฏิบัติด้านทรัพยากรบุคคล นโยบายและวิธีปฏิบัติด้านทรัพยากรบุคคล – นโยบายและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือก การปฐมนิเทศ การอบรม การประเมินผล การให้คำปรึกษา การเลื่อนขั้นการกำหนดค่าตอบแทน และการบำรุงขวัญและกำลังใจ เป็นต้น
41
2. การประเมินความเสี่ยงของกิจการ
กระบวนการประเมินความเสี่ยงจะให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้บริหารในการพิจารณาว่าธุรกิจและความเสี่ยงต่อการทุจริตที่ต้องจัดการ และการกระทำใดที่ต้องดำเนินการ
42
2. การประเมินความเสี่ยงของกิจการ
ผู้สอบบัญชีต้องได้มาซึ่งความเข้าใจว่ากิจการมีกระบวนการดังต่อไปนี้ การระบุความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ในการรายงานทางการเงิน การประมาณความมีนัยสำคัญของความเสี่ยง การประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง การกำหนดวิธีการที่จะจัดการกับความเสี่ยงดังกล่าว
43
2. การประเมินความเสี่ยงของกิจการ
หากผู้สอบบัญชีพบว่ามีความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญซึ่งผู้บริหารไม่ได้ระบุไว้ ผู้สอบบัญชีต้องประเมินว่า: เพราะเหตุใดกระบวนการประเมินความเสี่ยงของกิจการจึงล้มเหลว กระบวนการประเมินความเสี่ยงของกิจการมีความเหมาะสมต่อสถานการณ์หรือไม่ หากมีข้อบกพร่องในการประเมินความเสี่ยงของกิจการจะต้องมีการสื่อสารไปยังผู้บริหารและผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแล
44
3. ระบบสารสนเทศ (รวมถึงกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง) ที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางการเงิน และการสื่อสาร สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร ทั้งที่ได้รับจากแหล่งภายใน หรือ ภายนอกองค์กร การสื่อสาร หมายถึง การรับ-ส่ง สารสนเทศในการบริหารและการปฏิบัติงานระหว่างบุคคลที่รับผิดชอบในงานที่สัมพันธ์กัน
45
ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในเรื่องการายงานทางการเงิน รวมถึงระบบบัญชี
46
3. ระบบสารสนเทศ (รวมถึงกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง) ที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางการเงิน และการสื่อสาร ผู้สอบบัญชีต้องได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับรายงานทางการเงิน ประเภทของรายการในการดำเนินงานของกิจการที่มีนัยสำคัญต่องบการเงิน วิธีการปฏิบัติที่อยู่ภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบที่ปฏิบัติด้วยมือที่ทำให้เกิดรายการ บันทึก ประมวลผลแก้ไขรายการในกรณีที่จำเป็น ผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท และรายงานในงบการเงิน
47
3. ระบบสารสนเทศ (รวมถึงกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง) ที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางการเงิน และการสื่อสาร ผู้สอบบัญชีต้องได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับรายงานทางการเงิน การบันทึกรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือด้วยมือ ข้อมูลประกอบและบัญชีเฉพาะในงบการเงินที่ใช้ในการทำให้เกิด บันทึก ประมวลผล และรายงานรายการ ทั้งนี้รวมถึงการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและการผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททั่วไป
48
3. ระบบสารสนเทศ (รวมถึงกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง) ที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางการเงิน และการสื่อสาร ผู้สอบบัญชีต้องได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับรายงานทางการเงิน วิธีการที่ระบบสารสนเทศใช้รวบรวมเหตุการณ์และเงื่อนไขนอกเหนือจากรายการต่าง ๆ ที่มีนัยสำคัญต่องบการเงิน กระบวนการรายงานทางการเงินที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินของกิจการ รวมถึง การประมาณการทางบัญชี และการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญ
49
3. ระบบสารสนเทศ (รวมถึงกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง) ที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางการเงิน และการสื่อสาร ผู้สอบบัญชีต้องได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับรายงานทางการเงิน การควบคุมเกี่ยวกับการจัดทำสมุดรายวันทั่วไป รวมถึงสมุดรายวันที่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานที่ใช้บันทึกรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ รายการที่ไม่ปกติ หรือรายการปรับปรุง
50
การสื่อสาร การสื่อสารเป็นองค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิผล ดังนั้น หากข้อมูลเป็นข้อมูลที่ต้องใช้ในการตัดสินใจ และช่วยในการทำงานของการควบคุมภายใน ข้อมูลดังกล่าวต้องได้รับการสื่อสารอย่างทันท่วงทีไปยังบุคคลที่เหมาะสม การสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแล และ การสื่อสารกับบุคคลภายนอก เช่น หน่วยงานที่กำกับดูแล ผู้มีส่วนได้เสีย สถาบันการเงิน หน่วยงานรัฐบาล
51
4. กิจกรรมการควบคุม เป็นนโยบายและวิธีการที่ช่วยให้มั่นใจว่ากิจการมีการดำเนินการตามแนวทางของผู้บริหาร ซึ่งการควบคุมดังกล่าวตอบสนองต่อความเสี่ยงซึ่งอาจมีผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการหากความเสี่ยงดังกล่าวไม่ได้รับการทำใหับรรเทาลง
52
กิจกรรมการควบคุม ประเภท คำอธิบาย การควบคุมเพื่อป้องกัน
หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดหรือความผิดปกติ เช่น กระบวนการอนุมัติรายการ การแบ่งแยกหน้าที่ การจำกัดการเข้าใช้งานในระบบ การควบคุมเพื่อค้นพบ ระบุข้อผิดพลาดหรือความผิดปกติหลังจากเกิดขึ้น ทำให้สามารถดำเนินการแก้ไข เช่น การสอบทางผลการปฏิบัติงาน การทำงบกระทบยอด การเปรียบเทียบรายการในรายงานกับข้อมูลเบื้องต้น การควบคุมเพื่อแก้ไข แก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้อง หรือเพื่อหาวิธีแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต เช่น การทำรายการปรับปรุงทันทีหลังจากพบข้อผิดพลาด
53
5. การติดตามผลการควบคุม
เป็นกระบวนการประเมินความมีประสิทธิผลของการควบคุมภายในตลอดเวลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่าการควบคุมมีการปฏิบัติอย่างเหมาะสมและดำเนินการแก้ไขอย่างทันท่วงทีเมื่อมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม
54
5. การติดตามผลการควบคุม
การติดตามผลการควบคุมให้ผลสะท้อนไปยังผู้บริหารว่าระบบการควบคุมภายในที่ผู้บริหารได้ออกแบบไว้เพื่อลดความเสี่ยงนั้น มีประสิทธิผลในการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมดังกล่าวหรือไม่ พนักงานได้นำไปปฏิบัติและมีความเข้าใจอย่างเหมาะสม มีการใช้ และปฏิบัติตามเป็นปกติทุกวันหรือไม่ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงเพื่อให้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์หรือไม่
55
5. การติดตามผลการควบคุม
ในกรณีทีกิจการมีหน่วยงานตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องได้มาซึ่งความเข้าใจในลักษณะความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน สถานะในองค์กร และกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้วและที่กำลังจะทำ
56
5. การติดตามผลการควบคุม
ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้ในการติดตามผลอาจถูกจัดทำขึ้นโดยระบบสารสนเทศของกิจการ ผู้สอบบัญชีต้องทำความเข้าใจ กิจกรรมหลักที่กิจการใช้ในการติดตามผลการควบคุมภายในเกี่ยวกับการรายงานทางการเงิน แหล่งที่มาของข้อมูล เกณฑ์ที่ผู้บริหารใช้ในการพิจารณาความเพียงพอและความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ใช้ การดำเนินการเมื่อการควบคุมมีความบกพร่อง
57
ความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ผู้สอบบัญชีต้องระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ดังนี้: ในระดับของงบการเงิน ผลกระทบของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็น สาระสาคัญมีอยู่ทั้งงบการเงินโดยรวมและกระทบต่อสิ่ง ที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้หลายๆเรื่อง ในระดับของงบการเงิน ในระดับที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ ผลกระทบของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอัน เป็นสาระสาคัญถูกจำกัดไว้เฉพาะสิ่งที่ผู้บริหารต้องให้ คำรับรองในการจัดประเภทรายการ ยอดคงเหลือทาง บัญชี หรือ การเปิดเผยข้อมูล ในระดับที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้
58
คำจำกัดความ ความมีอยู่จริง/การเกิดขึ้นจริง ความครบถ้วน ความถูกต้อง กรรมสิทธิ์และข้อผูกพัน การจัดประเภทรายการ การตัดยอด การแสดงมูลค่าและการปันส่วน สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ (Assertions) หมายถึง การรับรองของผู้บริหารที่มีต่องบการเงินไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนหรือไม่ก็ตามที่ผู้สอบบัญชีใช้ ในการพิจารณาประเภทของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่อาจเกิดขึ้น
59
ประเภทของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้
Assertions ประเภทของรายการ และเหตุการณ์ ยอดคงเหลือทาง บัญชี การแสดง รายการและการ เปิดเผยข้อมูล ความมีอยู่จริง การเกิดขึ้นจริง กรรมสิทธิ์และข้อผูกพัน ความครบถ้วน ความถูกต้อง การตัดยอด การจัดประเภทรายการ การแสดงมูลค่าและการปันส่วน
60
ประเภทของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้
สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับประเภทของรายการและเหตุการณ์สำหรับระยะเวลาที่ตรวจสอบ สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับประเภทของรายการและเหตุการณ์สำหรับระยะเวลาที่ตรวจสอบ การเกิดขึ้นจริง - รายการและเหตุการณ์ทุกรายการที่ถูกบันทึกนั้นเกิดขึ้นจริงและเกี่ยวข้องกับกิจการ ความครบถ้วน – รายการและเหตุการณ์ทุกรายการที่ควรจะบันทึกได้ถูกบันทึกแล้ว ความถูกต้อง - จำนวนเงินและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับรายการและเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกได้ถูกบันทึกอย่างเหมาะสม การตัดยอด - รายการและเหตุการณ์ได้ถูกบันทึกในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกต้อง การจัดประเภทรายการ - รายการและเหตุการณ์ได้ถูกบันทึกในบัญชีที่เหมาะสม
61
ประเภทของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้
สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับยอดคงเหลือทางบัญชี ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับยอดคงเหลือทางบัญชี ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ความมีอยู่จริง – สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น มีตัวตนหรือมีอยู่จริง กรรมสิทธิ์และข้อผูกพัน – กิจการถือหรือควบคุมสิทธิในสินทรัพย์และมีหนี้สินที่กิจการมีข้อผูกพัน ความครบถ้วน – สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น ทั้งหมดที่ควรบันทึกได้ถูกบันทึกแล้ว การแสดงมูลค่าและการปันส่วน – สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น ที่แสดงในงบการเงิน แสดงด้วยจำนวนที่เหมาะสมและผลจากการปรับมูลค่าหรือการปรับปรุงการปันส่วนได้ถูกบันทึกอย่างเหมาะสม
62
ประเภทของสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้
สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล การเกิดขึ้นจริง และกรรมสิทธิ์และข้อผูกพัน – การเปิดเผยเหตุการณ์ รายการและประมาณการอื่น ๆ เกิดขึ้นจริงและเกี่ยวข้องกับกิจการ ความครบถ้วน – การเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดที่ควรรวมอยู่ในงบการเงินได้รวมไว้แล้ว การจัดประเภทรายการและการเข้าใจได้ – ข้อมูลทางการเงินมีการแสดงและอธิบายอย่างเหมาะสมและเปิดเผยอย่างชัดเจน ความถูกต้องและการแสดงมูลค่า – ข้อมูลทางการเงินและอื่น ๆ ได้ถูกเปิดเผยด้วยจำนวนเงินที่เหมาะสม
63
ระบุความเสี่ยงว่าเป็นความเสี่ยงระดับใด
การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ระบุความเสี่ยงว่าเป็นความเสี่ยงระดับใด ประเมินว่าความเสี่ยงมีผลกระทบแผ่กระจายไปยังงบการเงินโดยรวมหรือกระทบสิ่งที่ผู้บริหารรับรองไว้หลายเรื่อง เชื่อมโยงความเสี่ยงที่ระบุได้กับสิ่งที่สามารถผิดพลาดได้ในระดับที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ พิจารณาความน่าจะเป็นรวมถึงโอกาสที่จะมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง และผลของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่อาจเกิดขึ้นจะส่งผลให้เกิดการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่
64
การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
โดยที่ความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงในการตรวจสอบ แบ่งได้เป็น ความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญซึ่งต้องมีการพิจารณาเรื่องการตรวจสอบเป็นพิเศษ
65
ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ
ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญมักเกี่ยวข้องกับรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำหรือรายการที่ต้องใช้ดุลยพินิจ รายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำเป็นรายการที่ไม่ปกติไม่ว่าจะเกิดจากขนาดของรายการหรือลักษณะของรายการ ดังนั้นจึงไม่เกิดขึ้นบ่อย รายการที่ต้องใช้ดุลยพินิจ อาจรวมถึงการประมาณการทางบัญชีในกรณีที่มีความไม่แน่นอนอย่างมากในการวัดมูลค่า
66
การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญซึ่งต้องมีการพิจารณาเรื่องการตรวจสอบเป็นพิเศษ เกี่ยวข้องกับทุจริต ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ การบัญชีหรือพัฒนาการอื่น ๆ ซึ่งต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ รายการที่มีความซับซ้อน รายการที่สำคัญระหว่างกิจการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน การวัดมูลค่าที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนอย่างมาก รายการที่มีนัยสำคัญที่ไม่ใช่การดำเนินธุรกิจตามปกติของกิจการหรือรายการที่ผิดปกติ
67
การเชื่อมโยงการควบคุมกับสิ่งที่ผู้บริหารให้คำรับรองไว้
ในการประเมินความเสี่ยง ผู้สอบบัญชีควรระบุการควบคุมที่มีความเป็นไปได้ที่จะป้องกันหรือค้นพบและแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ในแต่ละเรื่อง
68
การเชื่อมโยงการควบคุมกับสิ่งที่ผู้บริหารให้คำรับรองไว้
กิจกรรมการควบคุมบางอย่างอาจมีผลกระทบเฉพาะต่อสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้อย่างใดอย่างหนึ่งในเรื่องประเภทของรายการหรือยอดคงเหลือทางบัญชี ยิ่งความสัมพันธ์มีลักษณะเป็นทางอ้อมมากเท่าไร ความมีประสิทธิผลของการควบคุมที่จะป้องกันหรือค้นพบและแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงในสิ่งที่ผู้บริหารได้ ให้การรับรองไว้ยิ่งน้อยลง
69
การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ความเสี่ยงที่วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระเพียงอย่างเดียวไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ การบันทึกรายการที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนของประเภทของรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำที่สำคัญหรือยอดคงเหลือทางบัญชีที่สำคัญ ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการประมวลผลแบบอัตโนมัติโดยไม่ได้ใช้ระบบที่ปฏิบัติด้วยมือเข้าไปเกี่ยวข้องหรือใช้น้อย กรณีดังกล่าว ผู้สอบบัญชีต้องได้มาซึ่งความเข้าใจในการควบคุมของกิจการที่มีต่อความเสี่ยงดังกล่าว
70
การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
การปรับเปลี่ยนการประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของผู้สอบบัญชีในระดับที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้อาจมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการปฏิบัติงานตรวจสอบเมื่อ ได้รับหลักฐานการสอบบัญชีเพิ่มขึ้น ได้รับข้อมูลใหม่ซึ่งมีความขัดแย้งกับหลักฐานการสอบบัญชีที.ผู้สอบบัญชีใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินไว้แต่เดิม ผู้สอบบัญชีควรปรับเปลี่ยนการประเมินความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนแผนงานการสอบบัญชีให้สอดคล้องต่อไป
71
เอกสารหลักฐาน ผู้สอบบัญชีต้องรวบรวมเอกสารหลักฐานการตรวจสอบบัญชีดังต่อไปนี้ การปรึกษาหารือภายในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบและข้อสรุปจากการตัดสินใจที่สำคัญ องค์ประกอบที่สำคัญของความเข้าใจที่ได้มาเกี่ยวกับกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการและองค์ประกอบการควบคุมภายใน และแหล่งที่มาของข้อมูลที่ได้มาจากการทำความเข้าใจและจากการใช้วิธีการประเมินความเสี่ยง ความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ได้ระบุและประเมินไว้ในระดับงบการเงินและในระดับที่เกี่ยวกับสิ่งที.ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ ความเสี่ยงที่ระบุได้และการควบคุมที่เกี่ยวข้องที่ผู้สอบบัญชีได้รับจากการทำความเข้าใจ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.