งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ทฤษฎี ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป Transformational Leadership Theories.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ทฤษฎี ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป Transformational Leadership Theories."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทฤษฎี ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป Transformational Leadership Theories

2 ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป
ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษ แนวคิดภาวะผู้นำแห่ง การเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติ

3 ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป
ความหมายผู้นำเชิงปฏิรูป ลักษณะผู้นำเชิงปฏิรูป ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership)

4 ผู้นำเชิงปฏิรูป ความหมาย
ภาวะผู้นำแบบปฏิรูปหรือ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ (Transformational leadership) คือกระบวนการที่ผู้นำเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ตามให้สูงขึ้น จากความพยายามที่คาดหวังเป็นผลให้ปฏิบัติงานเกินความคาดหวัง โดยผู้นำแสดงบทบาททำให้ผู้ตามมีความรู้สึกไว้วางใจยินดีและนับถือ ทำให้ผู้ตามกลายเป็นผู้มีศักยภาพเป็นนักพัฒนา เป็นผู้ที่เสริมแรงได้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้นำจะต้องยกระดับความรู้สึก ความสำนึกของผู้ตาม ทำให้ผู้ตามไม่คำนึงประโยชน์ส่วนตน แต่อุทิศตนเพื่อองค์การ โดยกระตุ้นระดับความต้องการของผู้ตามให้สูงขึ้นตามระดับความต้องการของมาสโลว์

5 ลักษณะผู้นำเชิงปฏิรูป
เบิร์นส์ สรุปลักษณะผู้นำเป็น 3 แบบ ได้แก่ ผู้นำการแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ผู้นำจริยธรรม (Moral Leadership)

6 ผู้นำการแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) คือ
ผู้นำที่ติดต่อกับผู้ตามโดยการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และสิ่งแลกเปลี่ยนนั้นต่อมากลายเป็นประโยชน์ร่วมกัน ลักษณะนี้พบได้ในองค์กรทั่วไป เช่น ทำงานดีก็ได้เลื่อนขั้น ทำงานก็จะได้ค่าจ้างแรงงาน และในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรมีข้อแลกเปลี่ยนกับชุมชน เช่น ถ้าตนได้รับการเลือกตั้งจะสร้างถนนให้ เป็นต้น

7 ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)
ผู้นำที่ตระหนักถึงความต้องการของผู้ตาม พยายามให้ผู้ตามได้รับการตอบสนองสูงกว่าความต้องการของผู้นำ เน้นการพัฒนาผู้ตาม กระตุ้นและยกย่องซึ่งกันและกันจนเปลี่ยนผู้ตามเป็นผู้นำ และมีการเปลี่ยนต่อๆกันไป เรียกว่า Domino effect ต่อไปผู้นำการเปลี่ยนแปลงก็จะเปลี่ยนเป็นผู้นำจริยธรรม ตัวอย่างผู้นำลักษณะนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชน

8 ผู้นำจริยธรรม (Moral Leadership) คือ
ผู้นำที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ตาม ซึ่งผู้นำจะมีความสัมพันธ์กับผู้ตามในด้านความต้องการ (Needs) ความปรารถนา (Aspirations) ค่านิยม (Values) และควรยึดจริยธรรมสูงสุด คือ ความเป็นธรรมและความยุติธรรมในสังคม ผู้นำลักษณะนี้มุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นอย่างแท้จริงของผู้ตาม ตัวอย่างผู้นำจริยธรรมที่สำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ท่านทรงเป็นนักวางแผนและมองการณ์ไกล นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง เช่น โครงการอีสานเขียว โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง โครงการแก้มลิง เป็นต้น

9 ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership)
หมายถึง การที่ผู้นำให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้ตามเพื่อให้เกิดขวัญและแรงใจในระดับที่สูงขึ้น ผู้นำสามารถทำให้ผู้ตามเกิดแรงดลใจในการทำงาน และพยายามที่จะทำงานให้ได้มากกว่าที่คาดหวังไว้ ซึ่งความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป

10 ประกอบด้วย ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership)
ภาวะผู้นำบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ (Charismatic – Inspirational Leadership) ภาวะในการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration) การดลใจ (inspiration motivation) 4. ภาวะในการกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation)

11 ภาวะผู้นำบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ
(Charismatic – Inspirational Leadership) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะแสดงออกด้วยการเป็นแม่แบบที่เข้มแข็งให้ผู้ตามได้เห็นตาม เกิดการรับรู้ในพฤติกรรมของผู้นำ ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมผู้นำขึ้น นอกจากนี้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงยังมีพฤติกรรมปฏิบัติที่มีมาตรฐานทางศีลธรรม และศีลธรรมสูงจนเกิดการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ทำให้ได้รับความศรัทธา ความไว้วางใจ การยอมรับ นับถืออย่างลึกซึ้งจากผู้ตามพร้อมได้รับความไว้วางใจอย่างสูงอีกด้วย

12 ภาวะในการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล
(Individualized Consideration) เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ให้ความสำคัญในการใส่ใจถึงความต้องการความสำเร็จและโอกาสก้าวหน้าของผู้ตามเป็นรายบุคคล ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลบางคนอาจต้องดูแลใกล้ชิด ในขณะที่บางคนมีความรับผิดชอบสูงอยู่แล้ว จะให้อิสระในการทำงาน

13 การดลใจ (inspiration motivation)
การดลใจ หมายถึงการที่ผู้นำใช้คำพูดและการกระทำปลุกปลอบใจ เร้าอารมณ์ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความร่าเริง มีชีวิตชีวา กระตือรือร้น และทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุ่มเทความพยายามมากกว่าที่คิดไว้ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน บาสและอโวลิโอ (Bass and Avolio) ให้คำจำกัดความว่าดลใจนั้น คือการที่ผู้นำสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เปลี่ยนแปลงความสนใจในการกระทำเพื่อตนเองไปสู่การกระทำประโยชน์เพื่อกลุ่มเพื่อองค์การ

14 ภาวะในการกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation)
เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แสดงออกด้วยการกระตุ้นให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ โดยใช้วิธีการคิดทวนกระแสความเชื่อและค่านิยมเดิมของตนหรือผู้นำหรือองค์การ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะสร้างความรู้สึกท้าทายให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตาม มองปัญหาเป็นโอกาส และจะให้การสนับสนุนหากต้องการทดลองวิธีการใหม่ ๆ ของตน หรือการริเริ่มสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ให้กับองค์การ ส่งเสริมให้ผู้ตามแสวงหาทางออกและวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองเปิดโอกาสให้ผู้ตามได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ กระตุ้นให้ทุกคนได้ทำงานอย่างอิสระในขอบเขตของงานที่ตนมีความรู้ความชำนาญ

15 ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน
ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจะมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม โดยเน้นการแลกเปลี่ยนประโยชน์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ผู้นำและผู้ตามต่างก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ต่างพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์บางอย่าง ต่างฝ่ายต่างอำนวย ประโยชน์ให้ซึ่งกันและกัน และต่างฝ่ายต่างก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน

16 การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
1 สมรรถนะและพฤติกรรม การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2 แนวทางในการพัฒนา สมรรถนะของการเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

17 สมรรถนะและพฤติกรรมการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
สมรรถนะที่ 1 มีความสามารถในการคิดเกี่ยวกับ ระบบและมีความรู้ในการนำระบบ สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในความเข้าใจความแปรปรวน ของงานที่จะต้องวางแผนและแก้ปัญหา สมรรถนะที่ 3 เข้าใจวิธีการเรียนรู้ การพัฒนา และการปรับปรุง เพื่อการเรียนรู้และการปรับปรุงที่แท้จริง สมรรถนะที่ 4 เข้าใจคนและเหตุผลของพฤติกรรม

18 แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
แนวทางการพัฒนาที่ 1 Continuing Education แนวทางการพัฒนาที่ 2 Expert Briefing แนวทางการพัฒนาที่ 3 Job Rotation แนวทางการพัฒนาที่ 4 On the job training แนวทางการพัฒนาที่ 5 Project Assignment แนวทางการพัฒนาที่ 6 Self-Directed Study แนวทางการพัฒนาที่ 7 Team-based Activities แนวทางการพัฒนาที่ 8 Workshop, Class or Seminar

19 ภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษ
ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษ (Chariamatic Leadership) คำว่า "Charisma" หรือ "ความสามารถพิเศษ" มาจากภาษากรีก หมายถึงบุคคลที่มีพรสวรรค์ที่สามารถทำงานได้สำเร็จ อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งยังสามารถทำนายเหตุการณ์และคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ นักสังคมวิทยาอย่าง แม็กซ์ วีเบอร์ (Max Weber, 1947) อ้างจาก ยุคส์ (Yukl, 1989:204) ได้อธิบายถึง ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic Leader) ว่าเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลเหนือผู้ตามโดยไม่ได้อาศัยตำแหน่ง อำนาจหน้าที่และประเพณีที่ยึดถือกันมา

20 คุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic leaders)
1. วิสัยทัศน์กว้างไกล (Extremty vision) 2. กล้าเสี่ยง (High personal risk) 3. ใช้กลยุทธวิธีทุกรูปแบบ (Use of unconventional strategies) 4. ประเมินสถานการณ์รอบข้างตลอดเวลา (Accurate assessment of the situation) 5. เปลี่ยนความติดยึดของผู้ตาม (Follower disenchantment) 6. สื่อสารด้วยความมั่นใจ (Communication of self-confidence) 7. ใช้อำนาจส่วนบุคคล (Use of personal power)

21 แนวคิดภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติ
ในการประชุมของสหประชาชาติเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ (UN Conference on Human Settlements) เพื่อจัดทำ “วิสัยทัศน์ชุมชนในศตวรรษที่ 21 ของสหประชาชาติ” ขึ้น มีการนำเสนอและอภิปรายถึง “ความเป็นปึกแผ่นหรือ Solidarity” และ “การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)” ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย การจัดทำแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของโลก (Global oneness) ขึ้น มีการพูดถึง การพยายามรวมคนที่อยู่อย่างกระจัดกระจายกันในเมืองใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันให้กลายเป็นชุมชนใหม่ต่าง ๆขึ้น ในเมืองใหญ่นั้น จากนั้นก็จะใช้กลยุทธ์ใหม่ทางจิตวิทยา (Psychological approach ) รวมทั้งกระบวนการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Dialectic process) ทำการฝึกอบรมคนเหล่านี้ในเรื่อง “วิธีคิดใหม่ หรือ A new way of thinking” และ “การอยู่ร่วมอย่างมีสัมพันธภาพต่อกันหรือ Living and relating to one another”

22 แนวคิดภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติ
จากที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติดังกล่าว ได้พยายามนำหลักการของทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Transformational leadership theory) กับหลักการ 7 ประการที่ได้มามาสร้างต้นแบบของผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สามารถก่อให้เกิด “พลังการทำงานเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ หรือ Synergy of energy” หลักการที่ 1 : หลักการ “ทำให้เป็นเรื่องง่าย” (Principle of Simplification) หลักการที่ 2 : หลักการ “การจูงใจ” (Principle of Motivation) หลักการที่ 3 : หลักการ “การเอื้ออำนวยความสะดวก” (Principle of Facilitation) หลักการที่ 4 : หลักการแห่ง “การริเริ่มสิ่งใหม่” (Principle of Innovation) หลักการที่ 5 : หลักการ “ด้านการขับเคลื่อน” (Principle of Mobilization) หลักการที่ 6 : หลักการเตรียมความพร้อม (Principle of Preparation) หลักการที่ 7 : หลักการแห่ง “การสิ้นสุด” (Principle of Determination)

23 Thank You !


ดาวน์โหลด ppt ทฤษฎี ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป Transformational Leadership Theories.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google