ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
“แนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ”
โดย แผนกพัฒนางานวิจัยและสื่อการเรียนรู้ (ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ)
2
หลักเกณฑ์การพิจารณาการขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ณ ปัจจุบัน ดำเนินการตาม ข้อบังคับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ว่าด้วย การประชุมและการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๕๖ (เพิ่มเติมครั้งที่ 1)
3
แนวโน้มซึ่งคาดว่าจะเปลี่ยนแปลงภายในปี พ.ศ. 2561 (เกณฑ์ใหม่)
4
ตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่
ตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (รศ.) ตำแหน่งศาสตราจารย์ (ศ.)
5
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ - โดยวิธีปกติ - โดยวิธีพิเศษ
6
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำ ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติ
เกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน ผลงานทางวิชาการ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
7
1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ตำแหน่ง ผศ. ป.ตรี หรือเทียบเท่า ต้องปฏิบัติหน้าที่ ไม่น้อยกว่า 9 ปี ป.โท หรือเทียบเท่า ไม่น้อยกว่า 5 ปี ป.เอก หรือเทียบเท่า ไม่น้อยกว่า 2 ปี ตำแหน่ง รศ. ดำรงตำแหน่ง ผศ. และปฏิบัติหน้าที่ ไม่น้อยกว่า 3 ปี ตำแหน่ง ศ. ดำรงตำแหน่ง รศ. และปฏิบัติหน้าที่ ไม่น้อยกว่า 2 ปี
8
1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง เกณฑ์ใหม่
1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง เกณฑ์ใหม่ ตำแหน่ง ผศ. ป.ตรี หรือเทียบเท่า ต้องปฏิบัติหน้าที่ ไม่น้อยกว่า 6 ปี ป.โท หรือเทียบเท่า ไม่น้อยกว่า 4 ปี ป.เอก หรือเทียบเท่า ไม่น้อยกว่า 1 ปี ตำแหน่ง รศ. ดำรงตำแหน่ง ผศ. และปฏิบัติหน้าที่ ไม่น้อยกว่า 2 ปี ตำแหน่ง ศ. ดำรงตำแหน่ง รศ. และปฏิบัติหน้าที่ ไม่น้อยกว่า 2 ปี และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงาน
9
2. ผลการสอน ตำแหน่ง ผศ. มีชั่วโมงสอน และมีความชำนาญในการสอน
- เสนอเอกสารประกอบการสอน ตำแหน่ง รศ. มีชั่วโมงสอนและมีความ ชำนาญพิเศษในการสอน เสนอเอกสารคำสอน ตำแหน่ง ศ. มีชั่วโมงสอนและมีความ เชี่ยวชาญในการสอน - เสนอเอกสารคำสอน เอกสารประกอบการสอน / เอกสารคำสอน – เป็นรายวิชาที่สอนประจำ ไม่น้อยกว่า 1 รายวิชาหรือเทียบค่าเท่ากับ 2 หน่วยกิต คิดเป็นชั่วโมงการสอน ไม่น้อยกว่า 30 ชม. และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว การประเมินผลการสอน - ดำเนินการตามประกาศ มฉก. ที่ 126/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการสอนของผู้เสนอขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ประกอบด้วย
10
การประเมินผลการสอนโดยนักศึกษา – ในรายวิชาที่เสนอเอกสารประกอบการสอน / เอกสารคำสอน ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (รศ.) การประเมินผลการสอน การประเมินเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน (ตามแบบประเมินที่มหาวิทยาลัยกำหนด) คณะวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ประกอบด้วย คณบดี หัวหน้าสาขา(ถ้ามี) และผู้แทนจากคณาจารย์ จำนวน 1-2 คน ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการและอาจคัดเลือกจากผู้มีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ที่เสนอขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ในสาขาวิชาเดียวกันกับผู้เสนอขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 1 คน
11
นับจากวันที่แจ้งผลการประเมิน
ผู้ที่จะเสนอขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ สามารถขอรับ การประเมินผลการสอน จากคณะวิชา และการประเมินเอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารคำสอน จากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกล่วงหน้าก่อนเสนอขอดำรง ตำแหน่งทางวิชาการได้ ทั้งนี้ ให้ผลการประเมินมีอายุได้ 3 ปี นับจากวันที่แจ้งผลการประเมิน
12
แนวทางการประเมินผลการสอน
ผู้เสนอขอดำรงตำแหน่งฯ ประเมินการสอน โดยคณะวิชา คณะวิชาแต่งตั้งกรรมการเพื่อประเมินผลการสอน ประเมินผลการสอน โดยนักศึกษา ส่งเอกสารประกอบ การสอนให้ สพว. สพว. ดำเนินการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกประเมินเอกสารประกอบ การสอน *สพว. = สำนักพัฒนาวิชาการ
13
2. ผลการสอน เกณฑ์ใหม่ ระบุว่า
2. ผลการสอน เกณฑ์ใหม่ ระบุว่า ผลการสอน ต้องประเมินคุณภาพการสอนของผู้ขอที่ครอบคลุมข้อมูล ที่จำเป็นทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ และสามารถประเมินการเรียนรู้ได้ผลถูกต้องที่สุด ทั้งในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือศาสตราจารย์ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้สูงขึ้นตามระดับตำแหน่งที่ประเมินได้
14
2. ผลการสอน เกณฑ์ใหม่ ผู้ขอต้องมีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค (คิดเป็น 45 ชม.) และมีความชำนาญในการสอน ( รศ. ต้องมีความชำนาญพิเศษในการสอน ) จะต้องเสนอเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน สำหรับกรณีที่ ผู้ขอได้ทำการสอนหลายวิชาหรือสอนวิชาที่มีผู้สอนร่วมกันหลายคน จะต้อง เสนอเอกสารหลักฐาน ที่ใช้ในการประเมินผลการสอน ในทุกวิชาหรือทุกหัวข้อที่ผู้ขอเป็น ผู้สอน แล้วแต่กรณี ซึ่งรวมกันได้ ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค และมีคุณภาพดีมีการ อ้างอิงแหล่งที่มาและได้ใช้ประกอบ การสอนมาแล้ว โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ พิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภา สถาบันตามข้อ ๕ แนวทางการประเมินผลการสอน ในเอกสารแนบท้าย
15
ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์
3. ผลงานทางวิชาการ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานวิจัย หรือ - ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ผลงานแต่งหรือเรียบเรียงตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ เกณฑ์การตัดสิน คุณภาพ ดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
16
3. ผลงานทางวิชาการ โดยผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ทุกตำแหน่ง ต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา ดังต่อไปนี้ 1. สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และการ พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ 2. เพื่อให้รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก 3. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4. พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง 5. ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
17
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานวิจัย 2 เรื่อง หรือ ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และตำราหรือหนังสือ 1 เล่ม เกณฑ์การตัดสิน คุณภาพ ดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
18
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่ สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์นั้น ผู้ขออาจใช้ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดีมาก แทนงานวิจัย ตามแบบ (2) - (4) ที่กล่าวมาได้
19
ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์
3. ผลงานทางวิชาการ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ผลงานวิจัย หรือ - ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ ผลงานแต่งหรือเรียบเรียงตำรา / หนังสือ เกณฑ์การตัดสิน คุณภาพ ดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
20
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ เสนอได้ 2 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 ผลงานวิจัย 2 เรื่อง หรือ - ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง และ ผลงานแต่งหรือเรียบเรียงตำรา / หนังสือ เกณฑ์การตัดสิน คุณภาพ ดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
21
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ วิธีที่ 2 ผลงานวิจัยอย่างน้อย 3 เรื่อง ซึ่งมีคุณภาพดีมากอย่างน้อย 2 เรื่อง และมีคุณภาพดี 1 เรื่อง หรือ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก 1 เรื่อง และผลงานทางวิชาการ ในลักษณะอื่นซึ่งมีคุณภาพดี ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย 2 เรื่อง และผลงานวิชาการ รับใช้สังคมซึ่งมีคุณภาพดี
22
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่ สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยวิธีที่ 2 นั้น ผู้ขออาจใช้ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย 2 เล่ม และมีคุณภาพดี 1 เล่ม แทนผลงาน ตามแบบ (1) - (3) ที่กล่าวมาได้
23
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่
3. ผลงานทางวิชาการ เกณฑ์ใหม่ การนำงานวิจัยหรืองานใด ๆ ที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา มาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ ตามข้อนี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่ผู้ขอได้แสดงหลักฐานว่าได้ทำการศึกษาหรือวิจัยเพิ่มเติมขยายผลต่อจากเรื่องเดิม จนปรากฏความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด ในกรณีเช่นนี้ให้พิจารณาเฉพาะผลการศึกษาหรือวิจัยที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเท่านั้น ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องเป็นผลงานหลังจากได้รับ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ทางวิชาการเดิม และต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด พร้อมแสดงหลักฐานว่าการเผยแพร่นั้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบัน ตามเอกสารแนบท้าย
24
4. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่งต้องคำนึงถึงจริยธรรมและ จรรยาบรรณทางวิชาการ ดังนี้ 1. ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็น ผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของ ผู้อื่น ไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ รวมถึงไม่ คัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานเดิมของตน โดยไม่อ้างอิง ผลงานเดิมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ ในลักษณะ ที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่ 2. ต้องอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงาน ทางวิชาการของตนเองเพื่อแสดง หลักฐานของการค้นคว้า 3. ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิ ส่วนบุคคลของผู้อื่นหรือสิทธิ มนุษยชน
25
4. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
4.ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการ เป็นเกณฑ์ ปราศจากอคติ และเสนอผลงาน ตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการศึกษาหรือวิจัย โดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อก่อให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่ขยายข้อค้นพบ โดยปราศจากการตรวจสอบ ยืนยันในทางวิชาการ 5.ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย 6.หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลจากการทำการวิจัยในคน หรือสัตว์ ผู้ขอตำแหน่งจะต้องยื่น หลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของ สถาบันที่มีการดำเนินการ
26
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ลำดับและขั้นตอนการพิจารณาแต่งตั้ง ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
27
คณะวิชาให้ความเห็นชอบ แล้วส่งเรื่องให้ทางสำนักพัฒนาวิชาการ
ผู้เสนอขอดำรงตำแหน่งฯ ผ่านการประเมินการสอนโดยมีความชำนาญในการสอน (รศ. ต้องมีความชำนาญพิเศษ) และเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอนมีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป ผู้เสนอขอดำรงตำแหน่ง ผศ. / รศ. ยื่นแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการและผลงานทางวิชาการให้คณะกรรมการวิชาการประจำคณะพิจารณาคุณสมบัติ ผลงานในระดับเบื้องต้น คณะวิชาให้ความเห็นชอบ แล้วส่งเรื่องให้ทางสำนักพัฒนาวิชาการ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พิจารณา ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ จากบัญชีรายชื่อ ของ สกอ. คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ พิจารณาผลการประเมินผลงานทางวิชาการก่อนให้ความเห็นชอบเสนอ ให้สภามหาวิทยาลัยฯพิจารณา
28
สภามหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งฯ
อธิการบดีลงนามคำสั่งแต่งตั้งฯ สำนักพัฒนาวิชาการ ดำเนินการส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
29
โครงสร้างคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัย
ประธานกรรมการ กรรมการ (Reader) เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการ
30
โครงสร้างคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัย
ประธานกรรมการ จากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ เป็นบุคคลภายนอกที่คัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการ การอุดมศึกษากำหนด ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน (ดำรง ตำแหน่งศาสตราจารย์) กรรมการ (Reader) คัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ เลขานุการ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวิชาการ และแผนกพัฒนางานวิจัยและสื่อ การเรียนรู้
31
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
ผลงานทางวิชาการที่เสนอเพื่อประกอบการพิจารณาต้องเป็นงานที่ผู้ขอต้องเป็นเจ้าของและเป็น ผู้ดำเนินการเอง ถ้าเป็นงานที่ผู้ขอมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ ต้องมีลักษณะดังนี้ 1. ผู้ขอมีส่วนร่วมในผลงานวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 2. ผู้ขอเป็นผู้ดำเนินการหลัก และมีผลงานวิจัยเรื่องอื่นที่เกี่ยวเนื่องสอดคล้องกัน ซึ่งแสดงปริมาณผลงานวิจัย รวมกันแล้วเทียบได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของผลงานวิจัย 1 เรื่อง 3. ในกรณีผลงานวิจัยที่เป็นชุดโครงการ RESEARCH PROGRAM ผู้ขอ จะต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักในบางโครงการ (ของชุดโครงการนั้น) อย่างน้อย 1 เรื่อง และมีปริมาณผลงาน รวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 4. ในกรณีงานวิจัยที่ดำเนินการเป็นชุดต่อเนื่องกัน ผู้ขอจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ หลักและมีปริมาณผลงานรวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
32
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
ผู้ดำเนินการหลัก (Corresponding author) หมายถึง บุคคลที่มีบทบาท และ ความรับผิดชอบสำคัญในการออกแบบการวิจัย (Research Design) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการสรุปผลการวิจัยและให้ข้อเสนอแนะ (Research Summary and Recommendation) รวมทั้ง เป็นผู้ดำเนินการหลักในการเผยแพร่ผลงานดังกล่าว ทั้งนี้ ผลงานวิจัยแต่ละเรื่องควรมีผู้ดำเนินการหลัก (Corresponding author) ได้เพียงคนเดียว เว้นแต่กรณีอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
33
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
การลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ หากมีการเสนอผลงานทางวิชาการ ที่มีผู้ร่วมงานหลายคนจะต้องให้ผู้ร่วมงานทุกคนลงนามรับรองว่า แต่ละคนมีส่วนร่วมในผลงานเรื่องนั้น ร้อยละเท่าใด รวมทั้ง ระบุบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในผลงานนั้น การลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานแต่ละเรื่อง เมื่อได้ลงนาม รับรองแล้วจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ กรณีของผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เผยแพร่อันเป็นผล มาจากวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษานั้น ผู้นั้นต้องเป็นผู้ริเริ่ม กำกับดูแล และมี บทบาทสำคัญในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการวิจัย โดยผู้ขอ ตำแหน่งทางวิชาการอาจใช้ผลงาน ทางวิชาการดังกล่าวได้ในสัดส่วน ไม่เกินร้อยละ 50
34
(ตัวอย่าง)แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ (แบบใหม่)
สารบัญ และระบุว่าผู้ขอเขียนส่วนใด ระบุปริมาณสัดส่วนของ การมีส่วนร่วม(ร้อยละ) และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ใส่รายชื่อผู้มี ส่วนร่วมในผลงาน
35
แนวทางประเมินการสอน คำจำกัดความและลักษณะ (ปัจจุบัน)
เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน คำนิยาม ผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบัน อุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้สอนในการใช้ประกอบการสอน ผลงานทางวิชาการที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาที่สอน และวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ โดยอาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารประกอบการสอนจนมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้เรียนที่นำไปศึกษาด้วยตนเองหรือเพิ่มเติมขึ้นจากการเรียนในวิชานั้นๆ
36
แนวทางประเมินการสอน คำจำกัดความและลักษณะ (ปัจจุบัน)
เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน รูปแบบ เป็นเอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาที่ตนสอน ประกอบด้วย แผนการสอน หัวข้อบรรยาย (มีรายละเอียดประกอบพอสมควร) และอาจมีสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ เพิ่มขึ้นอีกก็ได้ เช่น รายชื่อบทความหรือหนังสืออ่านประกอบ บทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่อง แผนภูมิ (chart) แถบเสียง (tape) หรือภาพเลื่อน (slide) เป็นต้น เป็นเอกสารรูปเล่มหรือสื่ออื่นๆที่เกี่ยวข้องในวิชาที่ตนสอน ประกอบด้วย แผนการสอน หัวข้อบรรยาย (มีรายละเอียดประกอบพอสมควร) และมีสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้เพิ่มขึ้น เช่น รายชื่อบทความหรือหนังสืออ่านประกอบ บทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่อง แผนภูมิ (chart) แถบเสียง (tape) ภาพเลื่อน (slide) ตัวอย่างหรือกรณีศึกษาที่ใช้ประกอบการอธิบายภาพ แบบฝึกปฏิบัติ รวมทั้งการอ้างอิงเพื่อขยายความที่มาของสาระและข้อมูล และบรรณานุกรมที่ทันสมัย
37
แนวทางประเมินการสอน คำจำกัดความและลักษณะ (ปัจจุบัน)
เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน การเผยแพร่ อาจเป็นเอกสารที่จัดทำเป็นรูปเล่มหรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม หรือเป็นสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม ที่ได้ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษามาแล้ว ต้องได้รับการจัดทำเป็นรูปเล่มด้วยการพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม หรือสื่ออื่นๆ ที่แสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่โดยใช้เป็น “คำสอน” ให้แก่ผู้เรียนในวิชานั้นๆ มาแล้ว
38
แนวทางประเมินการสอน (เกณฑ์ใหม่)
แบบที่ 1 แบบที่ 2 นิยาม ผลงานทางวิชาการที่เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบในการประเมินผลการสอน วิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็น เนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบจัดเป็นเครื่องมือสำคัญของ ผู้สอนในการใช้ประกอบการสอน ผลงานทางวิชาการที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของ สถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาที่สอนและวิธีการสอน อย่างเป็นระบบ โดยอาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารประกอบการสอน จนมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน จัดเป็นเครื่องมือสำคัญ ของผู้เรียนที่นำไปศึกษาด้วยตนเองหรือเพิ่มเติมขึ้นจากการเรียน ในวิชานั้น ๆ
39
แนวทางประเมินการสอน (เกณฑ์ใหม่)
แบบที่ 1 แบบที่ 2 รูปแบบ เป็นเอกสารหรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาที่ตนสอน ประกอบด้วย แผนการสอน หัวข้อบรรยาย (มีรายละเอียดประกอบพอสมควร) และ อาจมีสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เพิ่มขึ้นอีกก็ได้ เช่น รายชื่อบทความหรือ หนังสืออ่านประกอบ บทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่อง แผนภูมิ (chart) แถบเสียง (tape) ภาพเคลื่อนไหว (video) ภาพเลื่อน (slide) หรือสื่อการสอนออนไลน์อื่น ๆ ซึ่งมีการอ้างอิง แหล่งที่มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นเอกสารรูปเล่มหรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาที่ตนสอน ประกอบด้วย แผนการสอน หัวข้อบรรยาย (มีรายละเอียดประกอบ พอสมควร) และมีสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เพิ่มขึ้น เช่น รายชื่อบทความ หรือหนังสืออ่านประกอบบทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่อง แผนภูมิ (chart) แถบเสียง (tape) ภาพเคลื่อนไหว (video) ภาพเลื่อน (slide) ตัวอย่างหรือกรณีศึกษาที่ใช้ประกอบการอธิบายภาพ แบบฝึกปฏิบัติ รวมทั้ง การอ้างอิงเพื่อขยายความที่มาของสาระและข้อมูล และบรรณานุกรมที่ทันสมัยและถูกต้องตามกฎหมาย
40
แนวทางประเมินการสอน (เกณฑ์ใหม่)
แบบที่ 1 แบบที่ 2 การเผยแพร่ อาจเป็นเอกสารที่จัดทำเป็นรูปเล่มหรือถ่ายสำเนาเย็บเล่มหรือเป็น สื่ออื่น ๆ อาทิ ซีดีรอม ที่ได้ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษามาแล้ว ต้องได้รับการจัดทำเป็นรูปเล่มด้วยการพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม หรือสื่ออื่น ๆ ที่แสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่โดยใช้เป็น “คำสอน” ให้แก่ผู้เรียนในวิชานั้น ๆ มาแล้ว
41
แนวทางประเมินการสอน (เกณฑ์ใหม่)
แบบที่ 1 แบบที่ 2 การเผยแพร่ อาจเป็นเอกสารที่จัดทำเป็นรูปเล่มหรือถ่ายสำเนาเย็บเล่มหรือเป็น สื่ออื่น ๆ อาทิ ซีดีรอม ที่ได้ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษามาแล้ว ต้องได้รับการจัดทำเป็นรูปเล่มด้วยการพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม หรือสื่ออื่น ๆ ที่แสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่โดยใช้เป็น “คำสอน” ให้แก่ผู้เรียนในวิชานั้น ๆ มาแล้ว ลักษณะคุณภาพ อยู่ในดุลยพินิจของสภาสถาบันอุดมศึกษาที่จะกำหนดเป็นข้อบังคับ
42
ประเภทผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
แบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 งานวิจัย กลุ่ม 2 ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น 2.1 ผลงานวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม 2.2 ผลงานวิชาการเพื่อการเรียนการสอนและการเรียนรู้ 2.3 ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ 2.4 กรณีศึกษา (Case Study) งานแปล 2.6 พจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม และงานวิชาการใน ลักษณะเดียวกัน
43
ประเภทผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
กลุ่ม 2 ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น (ต่อ) 2.7 ผลงานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.8 ผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ ศิลปะ 2.9 สิทธิบัตร 2.10 ซอฟต์แวร์ กลุ่ม 3 ผลงานวิชาการรับใช้สังคม กลุ่ม 4 ตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการ
44
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
นิยาม รูปแบบ งานวิจัย ผลงานวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบ ด้วยวิธีวิทยาการวิจัย ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ และมีที่มาและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลคำตอบหรือข้อสรุปรวม ที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ (งานวิจัยพื้นฐาน) หรือการนำวิชาการนั้นมาใช้ประโยชน์ (งานวิจัยประยุกต์) หรือการพัฒนาอุปกรณ์ หรือกระบวนการใหม่ที่เกิดประโยชน์ อาจจัดได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. รายงานการวิจัยที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์และชัดเจนตลอดทั้ง กระบวนการวิจัย (research process) อาทิ การกำหนดประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การทำวรรณกรรม ปริทัศน์ โจทย์หรือสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การพิสูจน์โจทย์หรือสมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลสรุปผลและให้ข้อเสนอแนะ การอ้างอิง และอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าได้นำความรู้จากงานวิจัยมาตอบโจทย์และแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
45
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
รูปแบบ (ต่อ) งานวิจัย เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพ โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบัน ดังนี้ 1. เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์ หรือเป็นสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ อาจจัดได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 2.บทความวิจัยที่ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยในผลงานวิจัยนั้น ให้มีความกระชับ และสั้น สำหรับการนำเสนอในการประชุมทางวิชาการ หรือในวารสารทางวิชาการ 3. ในรูปของหนังสือ (monograph) ซึ่งนำงานวิจัยมาใช้ประกอบการเขียน
46
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
การเผยแพร่ ต่อ) ลักษณะคุณภาพ งานวิจัย 2.เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัย 3. นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมทางวิชาการที่เป็นฉบับเต็มของการประชุม ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ โดยต้องมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิหรือคณะกรรมการ คัดเลือกบทความซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในวงวิชาการนั้นหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่คัดสรรกลั่นกรอง รวมถึงตรวจสอบความถูกต้อง การใช้ภาษา (ต่อ) ระดับดี เป็นงานวิจัยที่มีกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอนถูกต้องเหมาะสมในระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ ระดับดีมาก ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีและต้อง 1. เป็นผลงานที่แสดงถึงการวิเคราะห์และนำเสนอผลเป็นความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิม ที่เคยมีผู้ศึกษาแล้ว 2. เป็นประโยชน์ด้านวิชาการอย่างกว้างขวางหรือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลาย
47
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
การเผยแพร่ ต่อ) ลักษณะคุณภาพ (ต่อ) งานวิจัย และแก้ไขถ้อยคำ หรือรูปแบบการนำเสนอที่ถูกต้องก่อนการเผยแพร่ในหนังสือประมวลบทความในการ ประชุมทางวิชาการ (proceedings) ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอาจเผยแพร่ก่อนหรือหลังการประชุมก็ได้ ทั้งนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิหรือคณะกรรมการ คัดเลือกบทความดังกล่าวจะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในวงวิชาการสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน ระดับดี เป็นงานวิจัยที่มีกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอนถูกต้องเหมาะสมในระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ ระดับดีมาก ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีและต้อง 1. เป็นผลงานที่แสดงถึงการวิเคราะห์และนำเสนอผลเป็นความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิม ที่เคยมีผู้ศึกษาแล้ว 2. เป็นประโยชน์ด้านวิชาการอย่างกว้างขวางหรือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลาย
48
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
การเผยแพร่ ต่อ) ลักษณะคุณภาพ (ต่อ) งานวิจัย 4. เผยแพร่ในรูปของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ พร้อมหลักฐานว่าได้เผยแพร่ ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้นและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ทั้งนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) จะต้องไม่ใช่คณะกรรมการตรวจรับทุนหรือตรวจรับงานจ้างเพื่อให้งานวิจัยนั้นเป็นไปตาม วัตถุประสงค์หรือข้อกำหนดของสัญญาจ้างเท่านั้น ระดับดีเด่น ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมากและต้อง 1. เป็นงานบุกเบิกที่มีคุณค่ายิ่งและมีการสังเคราะห์อย่างลึกซึ้งจนทำให้เป็นการสร้าง องค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเกิดการใช้ประโยชน์ในแนวทางหรือรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะมีผลกระทบ (Impact) อย่างชัดเจน 2. เป็นที่ยอมรับและได้รับการอ้างอิงถึงอย่างกว้างขวางในวงวิชาการหรือวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
49
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
การเผยแพร่ ต่อ) งานวิจัย 5.เผยแพร่ในรูปของหนังสือ (monograph) พร้อมหลักฐานว่าได้เผยแพร่ ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้นและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด เมื่อได้เผยแพร่ “งานวิจัย” ตามลักษณะ ข้างต้นแล้ว การนำ “งานวิจัย” นั้น มาแก้ไข ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อ นำมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และ ให้มีการประเมินคุณภาพ “งานวิจัย” นั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทำไม่ได้
50
การเผยแพร่ในวารสารวิชาการ (สิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์)
การเผยแพร่ในวารสารวิชาการ (สิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์) วารสารวิชาการ อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ Scopus / Web of Knowledge (ISI) / Pubmed / ฯลฯ อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ TCI กลุ่ม 1 / TCI กลุ่ม 2
51
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
ตำรา หนังสือ คำนิยาม งานวิชาการที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนทั้งวิชา หรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ซึ่งเกิดจาก การนำข้อค้นพบจากทฤษฎี จากงานวิจัยของผู้ขอ หรือความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าศึกษา มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวบรวมและเรียบเรียง โดยมีมโนทัศน์ที่ผู้เขียนกำหนดให้เป็น แกนกลาง ซึ่งสัมพันธ์กับมโนทัศน์ย่อยอื่นอย่างเป็นระบบ มีเอกภาพสัมพันธภาพและ *สารัตถภาพตามหลักการเขียนที่ดี ใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ และให้ความรู้ใหม่ อันเป็นความรู้สำคัญที่มีผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อวงการวิชาการนั้น ๆ งานวิชาการที่เกิดจากการค้นคว้าศึกษาความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างรอบด้านและ ลึกซึ้ง มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยมโนทัศน์หลัก ที่เป็นแกนกลางและมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กัน มีความละเอียดลึกซึ้ง ใช้ภาษาที่เป็น มาตรฐานทางวิชาการ ให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความ แข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาของหนังสือ ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่ง ในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง *สารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด
52
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
ตำรา หนังสือ คำนิยาม (ต่อ) เนื้อหาสาระของตำราต้องมีความทันสมัยเมื่อพิจารณาถึงวันที่ผู้ขอยื่นเสนอขอกำหนด ตำแหน่งทางวิชาการ ทั้งนี้ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งจะต้องระบุวิชาที่เกี่ยวข้องใน หลักสูตรที่ใช้ตำราเล่มที่เสนอขอ ตำแหน่งทางวิชาการด้วย ผลงานทางวิชาการที่เป็น “ตำรา” นี้อาจได้รับการพัฒนาขึ้น จากเอกสารคำสอนจนถึง ระดับที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่ง ผู้อ่านอาจเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้เรียนในวิชานั้น แต่สามารถ อ่านและทำความเข้าใจในสาระของตำรานั้นด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องเข้าศึกษาในวิชานั้น หากผลงานทางวิชาการที่เคยเสนอเป็นเอกสารประกอบการ สอนหรือเอกสารคำสอน ไปแล้ว จะนำมาเสนอเป็นตำรา ไม่ได้ เว้นแต่จะมีการพัฒนาจนเห็นได้ชัดว่าเป็นตำรา เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัยเมื่อพิจารณาถึงวันที่ผู้ขอยื่นเสนอขอ กำหนดตำแหน่งทางวิชาการ หากผลงานทางวิชาการที่เคยเสนอ เป็นเอกสารประกอบการสอนหรือ เอกสารคำสอน ไปแล้ว จะนำมา เสนอเป็นหนังสือไม่ได้
53
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
ตำรา หนังสือ รูปแบบ เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วยคำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การอธิบายหรือการวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิง บรรณานุกรม และดัชนีค้นคำ ทั้งนี้ควรมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยและ ครบถ้วนสมบูรณ์ การอธิบายสาระสำคัญมีความชัดเจน โดยอาจใช้ข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบจนผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิง บรรณานุกรม และดัชนีค้นคำ ที่ทันสมัยและครบถ้วนสมบูรณ์ โดยอาจมีข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบด้วยก็ได้ ตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 1. เป็นงานที่นักวิชาการเขียนทั้งเล่ม (authored book) คือเอกสารที่ผู้เขียนเรียบเรียง ขึ้นทั้งเล่มอย่างมีเอกภาพ มีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้าง เสริมปัญญา ความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการ (ต่อ)
54
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
ตำรา หนังสือ รูปแบบ (ต่อ) 2.เป็นงานวิชาการบางบทหรือส่วนหนึ่งในหนังสือที่มีผู้เขียนหลายคน (book chapter) โดยจะต้องมีความเป็นเอกภาพของเนื้อหาวิชาการ ซึ่งผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจ ในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จในแต่ละบท และเป็นงานศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิทยาอันเป็นที่ยอมรับจนได้ข้อสรุปที่ทำให้เกิด ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือนำไปประยุกต์ใช้ได้ กรณีที่ในแต่ละบทมีผู้เขียนหลายคน จะต้องระบุบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนอย่างชัดเจน จำนวนบทที่จะนำมาแทนหนังสือ 1 เล่ม ให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
55
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
ตำรา หนังสือ การเผยแพร่ เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมิน โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบัน ดังนี้ 1. การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ หรือ 2. การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม, e-learning, online learning 3. การเผยแพร่เป็น e-book โดยสำนักพิมพ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ 1. การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ 2. การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาทิ การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม
56
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
ตำรา หนังสือ การเผยแพร่ (ต่อ) การเผยแพร่ดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอน วิชาต่างๆ ในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีหนึ่งที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่าง กว้างขวางได้ แต่อาจใช้ดัชนีอื่นวัดความกว้างขวางในการเผยแพร่ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองการเผยแพร่จาก คณะกรรมการของสถาบันอุดมศึกษา คณะหรือสถาบันทาง วิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้น กรณีที่ได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของตำราแล้วไม่อยู่ใน เกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด การนำตำรานั้นไปแก้ไขปรับปรุงหรือ เพิ่มเติมเนื้อหาในตำราเพื่อนำมาเสนอขอกำหนด ตำแหน่งทาง วิชาการครั้งใหม่ สามารถกระทำได้ แต่ให้มีการประเมินคุณภาพ ตำรา ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขนั้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง
57
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
ตำรา หนังสือ คุณภาพ ระดับดี เป็นตำราที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัยมีแนวคิดและ การนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ระดับดีมาก ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีและต้อง 1. มีการวิเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ 2. มีการสอดแทรกความคิดริเริ่มและประสบการณ์หรือผลงานวิจัยของผู้เขียน ที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน 3. สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้ ระดับดี เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัยมีแนวคิดและ การนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ 2. มีการสอดแทรกความคิดริเริ่มและประสบการณ์หรือผลงานวิจัยที่เป็นการแสดง ให้เห็นถึงความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
58
คำจำกัดความ รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ใหม่)
ตำรา หนังสือ คุณภาพ ระดับดีเด่น ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมากและต้อง 1. มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการและมีการสังเคราะห์จนถึงระดับที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 2. มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าต่อเนื่อง 3. เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติ หรือนานาชาติ ระดับดีเด่น ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมากและต้อง 1. มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการและมีการสังเคราะห์จนถึงระดับที่สร้าง องค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 3. เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติหรือ นานาชาติ
59
คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะการเผยแพร่
และผลงานทางวิชาการ ที่จำแนกตามระดับคุณภาพอื่นๆ (สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เอกสารแนบท้ายข้อบังคับฯ)
60
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้ง ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อยห้าคน พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ โดยการตัดสินของ ที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพ อยู่ในระดับดีมาก การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่ 1 เท่านั้น และให้ดำเนินการ ตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์โดย วิธีปกติโดยอนุโลม โดยให้แต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อยห้าคน พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ โดยการตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการ ต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
61
การเทียบสัดส่วนคณาจารย์
-อาจารย์ประจำทั้งหมด คน อาจารย์ 398 คน ผศ. 71 คน รศ. 26 คน ศ คน สกอ. กำหนดให้อาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
62
ผลการดำเนินการและแนวโน้ม
63
ระยะเวลาในการดำเนินการ (ย้อนหลัง 3 ปี)
ปีการศึกษา เร็วที่สุด ช้าที่สุด เฉลี่ย 2558 8 เดือน 23 วัน 1 ปี 13 วัน 9.31 เดือน 2559 3 เดือน 29 วัน 10 เดือน 5.61 เดือน 2560-ปัจจุบัน 4 เดือน 3 วัน 7 เดือน 26 วัน 6.86 เดือน
64
ข้อสังเกต ข้อควรระวัง และปัญหาที่พบบ่อย
การกำหนดสาขาวิชาที่เสนอขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ การกำหนดสาขาวิชาที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ไม่สอดคล้องกับผลงานทางวิชาการ หรือไม่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้ได้รับการแต่งตั้ง (หรือผู้ขอ) ผลงานวิชาการที่เสนอขอเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดตำแหน่ง ไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ ผู้ขอเสนอผลงานทางวิชาการผิดประเภท หรือไม่เข้าข่ายตามคำจำกัดความและรูปแบบของผลงานทางวิชาการ ที่ กกอ. กำหนด
65
ข้อสังเกต ข้อควรระวัง และปัญหาที่พบบ่อย
แนวปฏิบัติในการกำหนดสาขาวิชา ให้พิจารณาจาก ภาระงานสอน ผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอกำหนดตำแหน่ง เป็นสาขาวิชาที่เป็นระบบสากล แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้ขอ และได้รับการยอมรับในวงวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ การกำหนดสาขาวิชา ไม่ใช่การกำหนดจากวุฒิการศึกษา หรือวิชาเอก/สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาหรือภาควิชา คณะ หลักสูตร หรือหน่วยงานที่สังกัด
66
ข้อสังเกต ข้อควรระวัง และปัญหาที่พบบ่อย
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ระยะเวลาการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการไม่ครบถ้วนตามที่หลักเกณฑ์กำหนดไว้
67
ข้อสังเกต ข้อควรระวัง และปัญหาที่พบบ่อย
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ระยะเวลาการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการไม่ครบถ้วนตามที่หลักเกณฑ์กำหนดไว้
68
ข้อสังเกต ข้อควรระวัง และปัญหาที่พบบ่อย
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ กรณีการนำเสนอต่อที่ประชุมทางวิชาการ และมีการนำไปเผยแพร่ใน Proceedings กกอ. ได้กำหนดคำนิยามและลักษณะของ Proceedings ดังนี้ “Proceedings หมายถึง หนังสือประมวลบทความในการประชุมทางวิชาการ ที่เป็นฉบับเต็มของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ โดยต้องมี การประชุมคณะบรรณาธิการที่ทำหน้าที่คัดสรรกลั่นกรองก่อนการเผยแพร่หนังสือ ประมวลบทความ ในการประชุมทางวิชาการนี้ อาจอยู่ในรูปแบบหนังสือหรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอาจเผยแพร่ก่อนหรือหลังการประชุมก็ได้
69
ข้อสังเกต ข้อควรระวัง และปัญหาที่พบบ่อย
คณะบรรณาธิการดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในวงวิชาการ สาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลายๆ สถาบัน” ทั้งนี้ คณะบรรณาธิการดังกล่าวที่มีหน้าที่คัดสรรกลั่นกรองผลงานนั้นให้รวมถึง การตรวจสอบความถูกต้อง การใช้ภาษา และแก้ไขถ้อยคำหรือรูปแบบการนำเสนอ ให้ถูกต้องก่อนการเผยแพร่ด้วย
70
(ตัวอย่าง) แบบเสนอขอฯ (ก.พ.อ. 03)
กรอกข้อมูลเบื้องต้นให้ชัดเจนและถูกต้อง ระยะเวลาการทำงานจนถึงวันที่เสนอขอ (ผศ.) ใส่หัวข้อเรื่องวิทยานิพนธ์
71
(ตัวอย่าง) แบบเสนอขอฯ (ก.พ.อ. 03)
กรอกเฉพาะข้อมูลผลงานในประเภทที่ยื่นเท่านั้น เขียนตามหลักการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบนาม-ปี (APA)
72
(ตัวอย่าง) แบบเสนอขอฯ (ก.พ.อ. 03)
วันที่เสนอขอ หากได้รับการแต่งตั้งจะนับจากวันนี้ (โดยส่วนมาก)
73
(ตัวอย่าง) แบบเสนอขอฯ (ก.พ.อ. 03)
เป็นการสรุปการประเมินผลการสอน ซึ่งต้องดำเนินการแล้วเสร็จก่อนวันที่ยื่นเสนอขอฯ ดังนั้นวันที่จะไม่ตรงกับวันที่ยื่นเสนอขอ
74
Thank You For your Attention
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.