งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 10 การนำระบบไปใช้/การบำรุงรักษาระบบ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 10 การนำระบบไปใช้/การบำรุงรักษาระบบ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 10 การนำระบบไปใช้/การบำรุงรักษาระบบ
คว

2 บทนำ ระยะนี้จะทำให้ระบบเกิดผลด้วยการสร้างระบบขึ้นมา ซึ่งข้องเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การจัดหาระบบ การเขียนโปรแกรม (Coding) การทดสอบ (Testing) การติดตั้ง (Installation) การจัดทำเอกสารคู่มือการใช้งาน (Documentation) การฝึกอบรม (Training) การประเมินผลระบบ (System Evaluation)

3 หัวข้อการเรียนรู้ ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
การทดสอบแบบ Black Box และ White Box วิธีการติดตั้งระบบ เอกสารคู่มือการใช้งาน ชนิดของการฝึกอบรม แบบฟอร์มการประเมินผล วิธีการบำรุงรักษาระบบ

4 การจัดหาระบบ เกิดขึ้นเมื่อทีมงานโครงการทำการออกแบบระบบได้เสร็จสิ้นลง ทีมงานพัฒนาระบบก็จะทราบว่าระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาขึ้นใหม่จะมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ การจัดหาอุปกรณ์ การจัดหาระบบ การจัดหาโปรแกรมประยุกต์ การพิจารณาข้อเสนอของผู้ขาย

5 การจัดหาระบบ การจัดหาอุปกรณ์ (Hardware Acquisition)
การซื้อระบบสำเร็จรูป การขอข้อเสนอทั่วไป การจัดหาอุปกรณ์ การขอข้อมูลเสนอที่เฉพาะเจาะจง การซื้อจากผู้ขายรายเดียวหรือหลายราย

6 การจัดหาโปรแกรมประยุกต์
การจัดหาระบบ 2. การจัดหาโปรแกรมประยุกต์ (Application Software Acquisition) การซื้อเข้ามาทั้งโปรแกรม การจัดหาโปรแกรมประยุกต์ การพัฒนาขึ้นเอง

7 การพิจารณาข้อเสนอของผู้ขาย
การจัดหาระบบ 3. การพิจารณาข้อเสนอของผู้ขาย (Vendor Review and Evaluation) การทดสอบแบบ Benchmark การพิจารณาข้อเสนอของผู้ขาย การให้คะแนนผู้ขาย

8 การเขียนโปรแกรม (Coding)
คือการสร้างระบบขึ้นมาเพื่อใช้งาน โดยผู้รับผิดชอบคือโปรแกรมเมอร์ โดยการเขียนโปรแกรม ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ หมายถึงเอกสารที่ได้จากการวิเคราะห์ และออกแบบที่นักวิเคราะห์ระบบได้จัดทำไว้ให้ ประกอบด้วย แผนภาพกระแสข้อมูล คำอธิบายการประมวลผลข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล รวมถึงรูปแบบการบันทึกข้อมูลทางจอภาพ และรูปแบบเอาต์พุตหรือรายงานต่างๆ ออกแบบโปรแกรม เพื่อแก้ปัญหา และตัดสินใจแนวทางเพื่อให้การพัฒนาในขั้นตอนนี้เกิดผลสำเร็จ เขียนโปรแกรม ซึ่งขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชันที่ใช้เขียน

9 การเขียนโปรแกรม (Coding)
ทดสอบโปรแกรม ตามปกติแล้ว โปรแกรมเมอร์จะดำเนินการเขียนโปรแกรมควบคู่ไปกับการทดสอบโปรแกรมเสมอ โปรแกรมเมอร์นอกจากตรวจสอบความถูกต้องในรูปแบบภาษาเขียนแล้ว ยังต้องตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของโปรแกรมด้วย จัดทำเอกสารประกอบโปรแกรม เอกสารที่ใช้ประกอบการเขียนโปรแกรม การจัดทำเอกสารดังกล่าว ก็เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในอนาคต

10 การทดสอบ (Testing) เป็นการทดสอบโปรแกรมที่ใช้งานในระบบว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการติดตั้งระบบเพื่อใช้งานจริง อาจมีความจำเป็นต้องจำลองสถานการณ์การดำเนินงานขึ้นมา

11 การทดสอบ (Testing) เทคนิคการทดสอบ (Testing Techniques) สามารถดำเนินการทดสอบวิธีการต่อไปนี้ Black Box Testing เป็นการทดสอบฟังก์ชันการทำงานของระบบที่ต้องการทราบเพียงว่า เมื่อมีการอินพุตข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไร โดยไม่สนใจว่าระบบมีกระบวนการทำงานอย่างไร White Box Testing เป็นการทดสอบโปรแกรมภายในว่ามีวิธีการเขียนอย่างไร มีการตรวจสอบฟังก์ชันการทำงานว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมีข้อผิดพลาดเชิงตรรกะ (Logic Error) หรือไม่ มีการออกแบบตรรกะโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร

12 การทดสอบ (Testing) เทคนิคการทดสอบ (Testing Techniques)

13 การทดสอบ (Testing) ขั้นตอนการทดสอบ (Stages of Tests) จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนพื้นฐาน คือ 1. การทดสอบหน่วยย่อย (Unit Testing) 2. การทดสอบด้วยการนำโปรแกรมมาประกอบรวมกัน (Integration Testing) 3. การทดสอบทั้งระบบ (System Testing) 4. การทดสอบการยอมรับในระบบ (Acceptance Testing)

14 การทดสอบ (Testing) การทดสอบหน่วยย่อย (Unit Testing) มุ่งเน้นถึงการตรวจสอบความถูกต้องและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายในโมดูล โปรแกรมเมอร์ก็จะทดสอบจนกระทั่ง เชื่อว่าโค้ดโมดูลนี้ปราศจากข้อผิดพลาด การทดสอบด้วยการนำโปรแกรมมาประกอบรวมกัน (Integration Testing) คือการทดสอบ ด้วยการนำกลุ่มโปรแกรมหรือโมดูลต่าง ๆ มาประกอบรวมกัน ระบบจะต้องทำงานโดยปราศจากข้อผิดพลาด และต้องมีความมั่นใจว่าการเชื่อมโยง และการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างโมดูลจะต้องทำงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน สามารถดำเนินการด้วยวิธีแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up Integration) และวิธีแบบบนลงล่าง (Top-down Integration)

15 การทดสอบ (Testing) การทดสอบทั้งระบบ (System Testing) คือการทดสอบระบบทั้งหมดก่อนที่จะดำเนินการส่งมอบให้กับลูกค้า นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมั่นใจว่าทุก ๆ โมดูล และโปรแกรมต่าง ๆ จะต้องทำงานร่วมกันโดยปราศจากข้อผิดพลาด และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ (Performance Testing) ว่าระบบมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร การทดสอบการยอมรับในระบบ (Acceptance Testing) คือการตรวจรับระบบ ที่ผู้ใช้จะเป็นผู้ยืนยันถึงความสมบูรณ์ของระบบ ว่าระบบสามารถรองรับกระบวนการทางธุรกิจได้ตรงความต้องการ ถูกต้อง และครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร

16 การทดสอบ (Testing) การทดสอบแบบอัลฟา (Alpha Testing) จะดำเนินการทดสอบระบบด้วยการจำลองสภาพแวดล้อมขึ้นมา การทดสอบแบบเบต้า (Beta Testing) ทีมงานจะให้ผู้ใช้งานจริงทำการทดสอบระบบบนสภาพแวดล้อมจริง และใช้ข้อมูลจริงในการทดสอบ

17 การติดตั้ง (Installation)
นักวิเคราะห์ระบบ สามารถเลือกใช้วิธีการติดตั้งที่มีอยู่หลายวิธีด้วยกันตามความเหมาะสม ซึ่งประกอบด้วยวิธีการติดตั้ง 4 วิธีด้วยกันคือ การติดตั้งเพื่อใช้งานใหม่ทันที (Direct Installation) เนื่องมาจากระบบเดิมกับระบบใหม่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถนำผลลัพธ์จากระบบทั้งสองมาทำการเปรียบเทียบกันได้ สำหรับวิธีนี้บางครั้งอาจเรียกว่า Immediate Cutover ซึ่งถือเป็นวิธีการติดตั้งที่ง่ายที่สุด

18 การติดตั้ง (Installation)
การติดตั้งเพื่อใช้งานใหม่ทันที (Direct Installation) ข้อดี - ระบบใหม่สามารถดำเนินการใช้งานได้ทันที - สถานการณ์บังคับให้ผู้ใช้งานต้องใช้ระบบใหม่ โดยไม่สามารถกลับไปใช้ ระบบงานเดิมได้ - ง่ายต่อการวางแผน - ค่าใช้จ่ายต่ำ และใช้เวลาน้อย

19 การติดตั้ง (Installation)
การติดตั้งเพื่อใช้งานใหม่ทันที (Direct Installation) ข้อเสีย - อาจเกิดข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงในขณะที่ใช้ระบบใหม่ - ถึงแม้ระบบใหม่จะใช้งานได้จริงก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายถึงความสมบูรณ์ของ ระบบใหม่โดยรวม - จัดเป็นวิธีการติดตั้งที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้งด้วยวิธีอื่น ๆ

20 การติดตั้ง (Installation)
การติดตั้งแบบคู่ขนาน (Parallel Installation) เป็นวิธีการติดตั้งที่มีการปฏิบัติงานทั้งระบบเดิมกับระบบใหม่ขนานกันไป หากกรณีที่ระบบใหม่เกิดปัญหาขึ้น ก็จะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ เนื่องจากระบบงานเดิมก็ยังคงดำเนินการปกติ โดยระบบจะสมบูรณ์ต่อเมื่อการดำเนินงานของระบบใหม่เป็นไปอย่างไม่มีปัญหาหรือไม่พบข้อผิดพลาดใด ๆ จนกระทั่งมั่นใจ แล้วจึงค่อยดำเนินการใช้ระบบใหม่ และยกเลิกใช้งานระบบเดิมในที่สุด ข้อดี - มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากหากระบบใหม่เกิดข้อผิดพลาด ระบบเดิมก็ยัง สามารถนำมาใช้งานเพื่อการสำรองได้ - สามารถเปรียบเทียบกระบวนการทำงาน รวมทั้งเอาต์พุตที่ได้จาก ระบบระหว่างระบบเดิมกับระบบใหม่

21 การติดตั้ง (Installation)
การติดตั้งแบบคู่ขนาน (Parallel Installation) ข้อเสีย - ใช้ต้นทุนสูง เนื่องจากจำเป็นต้องดำเนินการทั้งระบบเดิม กับระบบใหม่ควบคู่ ด้วยกัน - สิ้นเปลืองเวลาไปกับการทำงานทั้งสองระบบ และการเปรียบเทียบระบบทั้งสอง - ในกรณีที่ระบบใหม่เกิดข้อผิดพลาด ผู้ใช้งานอาจเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อระบบใหม่ และอาจมุ่งความสนใจกับการใช้งานระบบงานเก่าเช่นเดิม - ยากต่อการวางแผน และมีขั้นตอนควบคุมการทำงานที่ยุ่งยาก

22 การติดตั้ง (Installation)
การติดตั้งแบบทีละเฟส (Phased Installation) เป็นวิธีการติดตั้งที่มีการกำหนดเป็นระยะ ๆ โดยแต่ละระยะจะมีการเพิ่มองค์ประกอบหรือฟังก์ชันการทำงานของระบบ ข้อดี - เจ้าของระบบ หรือเจ้าของกิจการไม่จำเป็นต้อง ชำระเงินก้อนใหญ่ทั้งหมด สามารถชำระเงินค่าระบบ ในแต่ละส่วน ของแต่ละระยะนั้น ๆ ได้ - หากเกิดข้อผิดพลาด จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม โดยจะส่งผลต่อระบบ

23 การติดตั้ง (Installation)
การติดตั้งแบบทีละเฟส (Phased Installation) ข้อเสีย - อาจใช้เวลามากเกินไปกับบางระบบงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรอพัฒนาระบบงานย่อย ในลำดับถัดไปของระยะต่อไป - หากระบบย่อยต่าง ๆ ไม่สามารถแบ่งแยกโดยอิสระได้ ก็จะยากต่อการแบ่งการติดตั้งทีละระยะ กล่าวคือ ไม่เหมาะสมกับระบบงานที่ไม่สามารถแบ่งระบบออกเป็นส่วนย่อย ๆ ได้

24 การติดตั้ง (Installation)
การติดตั้งแบบโครงการนำร่อง (Pilot Project) โดยจะดำเนินการติดตั้งระบบเฉพาะส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งก่อน ข้อดี - ลดความเสี่ยงได้ดี และค่าใช้จ่ายต่ำ ข้อเสีย - วิธีนี้เหมาะสมกับระบบที่มีความสมบูรณ์ใน ตัวเอง ที่ไม่ข้องเกี่ยวกับระบบงานอื่น ๆ

25 การติดตั้ง (Installation)

26 การจัดทำเอกสารคู่มือใช้งาน (Documentation/Manuals)
จัดได้ว่าเป็นเอกสารส่วนหนึ่งที่ใช้สำหรับการฝึกอบรม คุณภาพ และชนิดของเอกสารคู่มือการใช้งาน แต่หมายถึงความสำเร็จของระบบ โดยพื้นฐานชนิดของเอกสารคู่มือใช้งาน ประกอบด้วย เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ และเอกสารคู่มือระบบ เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Documentation) อ่านคู่มือใช้งานก่อนที่จะปฏิบัติงานจริงกับระบบ ข้อความในเอกสารต้องชัดเจน อ่านแล้วง่ายต่อการทำความเข้าใจ และควรมีการจัดแบ่งลำดับหัวข้อต่าง ๆ ให้เหมาะสม มีสารบัญ และดัชนีเพื่อใช้สำหรับช่วยค้นหาคำที่ต้องการได้ เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ ในบางครั้งอาจเรียกว่า User’s Manual แบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ

27 การจัดทำเอกสารคู่มือใช้งาน (Documentation/Manuals)
เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Documentation) ระบบความช่วยเหลือ (The Help System) เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการทราบว่าจะปฏิบัติงานกับฟังก์ชันต่าง ๆ เหล่านี้อย่างไร

28 การจัดทำเอกสารคู่มือใช้งาน (Documentation/Manuals)
เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Documentation) คู่มือปฏิบัติงาน (Procedures Manuals) เป็นการอธิบายว่าจะปฏิบัติงานกับงานทางธุรกิจนี้อย่างไร การฝึกสอน (Tutorials) เป็นการ ฝึกสอนให้ผู้ใช้สามารถระบบได้ด้วย บทเรียน

29 การจัดทำเอกสารคู่มือใช้งาน (Documentation/Manuals)
เอกสารคู่มือระบบ (System Documentation) จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติการหรือโอเปอเรเตอร์ได้เข้าใจเกี่ยวกับแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ว่าจะจัดการกับระบบ หรือบำรุงรักษาระบบอย่างไรหลังจากที่ได้ดำเนินการติดตั้งไปแล้ว รวมถึงการปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพอย่างไร จะดำเนินการแก้ไขอย่างไรในกรณีที่ระบบเกิดข้อขัดข้อง การติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต้องดำเนินการอย่างไร การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่าง ๆ วิธีการเพิ่มหรือเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ออกจากระบบ และการสำรองข้อมูลระบบ

30 การฝึกอบรม (Training)
ผู้ใช้ คือ ผู้ที่โต้ตอบกับระบบเพื่อทำงานประจำวัน ผู้ปฏิบัติการหรือโอเปอเรเตอร์ ผู้ที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการสนับสนุนระบบให้สามารถดำเนินการได้ตามปกติ

31 การฝึกอบรม (Training)
ชนิดของการฝึกอบรม (Types of Training) การฝึกอบรม จึงสมควรดำเนินการฝึกอบรมตามชนิดของกลุ่มบุคคล ซึ่งประกอบด้วย การฝึกอบรมผู้ใช้ และการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการ - การฝึกอบรมผู้ใช้ (User Training) จะตั้งอยู่บนพื้นฐานการทำงานของระบบ และความต้องการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้เป็นสำคัญ จะต้องอธิบายให้ผู้ใช้เข้าใจถึงการทำงานของระบบว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง และจะต้องดำเนินการอย่างไรเป็นสำคัญ - การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการ (Operator Training) จะมุ่งความสนใจถึงหน้าที่การสนับสนุนระบบเป็นสำคัญ ด้วยการอธิบายว่าระบบมีการทำงานอย่างไร มากกว่าที่จะอธิบายว่าระบบทำอะไรบ้าง

32 การฝึกอบรม (Training)
วิธีการฝึกอบรม (Training Method) - ฝึกอบรมโดยใช้วิทยากร การบรรยาย การอภิปราย หรือการสาธิตประกอบการฝึกอบรม - ฝึกอบรมด้วยตนเอง (Online Help) CBT (Computer-Based Training)

33 การประเมินผลระบบ (System Evaluation)
ควรกำหนดในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมของการประเมินผลระบบ ก็คือ ควรดำเนินการภายหลังการติดตั้งและใช้งานไปแล้วประมาณ 6 – 9 เดือน จุดประสงค์หลัก ก็คือ ต้องการประเมินผลระบบงานว่า ระบบใหม่ที่ติดตั้งและใช้งานนั้นเป็นไปตามความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของผู้ใช้หรือไม่มีข้อบกพร่องส่วนใดบ้างที่คิดว่าน่าจะได้รับการปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นด้านฟังก์ชันการทำงานของระบบ การโต้ตอบกับระบบ ความปลอดภัยของระบบ รวมถึงเอกสารคู่มือประกอบการใช้งาน

34 การบำรุงรักษาระบบ (Systems Maintenance)
ชนิดของการบำรุงรักษาประกอบด้วย 4 วิธี การบำรุงรักษาด้วยการแก้ไขให้ถูกต้อง (Corrective Maintenance) เป็นการควบคุมการทำงานของระบบที่ดำเนินงานอยู่ประจำวัน ให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งผู้ใช้อาจพบข้อผิดพลาดในระบบการทำงานบางส่วน ดังนั้น จะต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อให้ระบบงานสามารถดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ การบำรุงรักษาด้วยการปรับระบบให้สามารถรองรับสภาพแวดล้อมใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป (Adaptive Maintenance) หรือเป็นไปตามเทคโนโลยี นอกจากนี้ Adaptive Maintenance ยังรวมถึงการปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามความต้องการใหม่ด้วย

35 การบำรุงรักษาระบบ (Systems Maintenance)
ชนิดของการบำรุงรักษาประกอบด้วย 4 วิธี การบำรุงรักษาด้วยการปรับปรุงให้ระบบมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น (Perfective Maintenance) เป็นการบำรุงรักษาด้วยการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ (Features) หรือปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิม การบำรุงรักษาด้วยการป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 10 การนำระบบไปใช้/การบำรุงรักษาระบบ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google