งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Automatic ldentificatoin สมาชิกกลุ่ม นางสาว วรีพร เพ็ชรประเสริฐ เลขที่ 4.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Automatic ldentificatoin สมาชิกกลุ่ม นางสาว วรีพร เพ็ชรประเสริฐ เลขที่ 4."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Automatic ldentificatoin สมาชิกกลุ่ม นางสาว วรีพร เพ็ชรประเสริฐ เลขที่ นาย จักรพันธุ์ อดทน เลขที่ นางสาว ปราณี อาทร เลขที่ สาขาโลจิสติกส์ ปวส.พ 2/6

2 -ระบบบ่งชี้อัตโนมัติมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันด้านใดบ้าง -ระบบบ่งชี้อัตโนมัติสามารถแบ่งออกได้กี่ประเภทอะไรบ้าง -ระบบรหัสแท่งมีกี่รูปแบบอะไรบ้าง -ระบบสมาร์ทการ์ดนำมาใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง -ระบบอาร์เอฟไอดี(RFID)ในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร

3 Auto-ID : Automatic identification ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Barcode เทคโนโลยีรหัสแท่ง Smart card เทคโนโลยีสมาร์ตการ์ด Microchip ไมโครชิป Contactless Auto-ID เทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติแบบไร้สัมผัส Optical character recognition : OCR ระบบการอ่านอักขระด้วยแสงหรือโอซีอาร์ Biometric Symbol ระบบรหัสแทนตัวตนของสิ่งมีชีวิต Radio frequency identification : RFID คลื่นความถี่วิทยุ unique font รูปแบบเฉพาะตัว Authentication การยืนยันตัวบุคคล

4 ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Automatic identification
ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Automatic identification ในปัจจุบันระบบบ่งชี้อัตโนมัติ (Automatic identification) หรือ Auto ID ถูกพัฒนาเพื่อนำมาใช้งานมากขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การให้บริการโลจิสติกส์ กระบวนการผลิต การขนถ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบ ฯลฯ โดยระบบบ่งชี้อัตโนมัติ จะหน้าที่แทนแป้นพิมพ์(Keyboard) เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและลดข้อบกพร่อง ในการจัดเก็บข้อมูล ระบุสถานะของ คน สัตว์ สิ่งของ

5 ประเภทของระบบบ่งชี้อัตโนมัติ ระบบบ่งชี้อัตโนมัติมีอยู่หลายแบบตามลักษณะการใช้งานสามารถแบ่งออกได้เป็น5ระบบหลัก 1.ระบบรหัสแท่ง(Barcode) 2.ระบบการอ่านอักขระด้วยแสงหรือโอซีอาร์ (OCR : Optical Character Recognition) 3.รหัสแทนตัวตนของสิ่งมีชีวิต(Biometric) 4.ระบบสมาร์ทการ์ด(smart card) 5.ระบบอาร์เอฟไอดี(RFID)

6 ระบบรหัสแท่ง(Barcode) รหัสแท่งเป็นเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติที่มีการใช้งานมายาวนาน และยังคงเป็นที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูก ในปัจจุบันรหัสแท่งมี 2 แบบคือ แบบ 1 มิติ และแบบ 2 มิติ

7 1. รหัสแท่ง 1 มิติ รหัสแท่ง 1 มิติประกอบด้วยแท่งสีดำที่มีความกว้างยาวขนาดต่างๆ พิมพ์เรียงติดกันโดยมีช่องห่างระหว่างแท่งเป็นสีขาวที่มีความกว้างต่างกันขั้นระหว่างแท่งสีดำ ทั้งนี้ได้มีการกำหนดมาตรฐานเพื่อใช้เป็นรหัสแท่งแทนตัวอักษรและตัวเลขต่างๆ โดยรหัสแท่งหนึ่งชุดสามารถใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษรได้ประมาณ 20 ตัวอักษร

8 2.รหัสแท่ง 2 มิติ เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนามาจากเทคโนโลยีรหัสแท่ง 1 มิติ กล่าวคือรหัสแท่ง 1 มิติเก็บข้อมูลได้เฉพาะในแนวนอน ในขณะที่รหัสแท่ง 2 มิติได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ดังนั้นรหัสแท่ง 2 มิติจึงเก็บข้อมูลได้มากกว่ารหัสแท่ง 1 มิติ ประมาณ 200เท่า (หรือ 4,000 ตัวอักษร) ในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า นอกจากนี้รหัสแท่ง 2 มิติยังสามารถถอดรหัสได้แม้ว่าภาพบางส่วนของรหัสแท่งจะขาดหายไป รหัสแท่ง 2 มิติได้ถูกนำมาใช้งานในหลายด้าน ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์, ด้านกระบวนการผลิตสินค้า, ด้านการขนส่งสินค้า, ด้านการจัดการคลังสินค้า, ด้านปศุสัตว์, และด้านการแพทย์

9 ระบบการอ่านอักขระด้วยแสงหรือโอซีอาร์(OCR Optical Character Recognition) การอ่านอักขระด้วยแสงหรือโอซีอาร์ (OCR) เป็นเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติอีกแบบหนึ่งที่มีใช้งานมาตั้งแต่ปี ค.ศ โดยจะทำการออกแบบตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขให้มีรูปแบบเฉพาะตัว(unique font) ที่สามารถอ่านได้ด้วยสายตามนุษย์และเครื่องอ่าน OCR ซึ่งมีหลายรูปแบบ ระบบ OCR ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือทางด้านธุรกิจธนาคารนั่นคือตัวเลขที่ปรากฏอยู่ด้านล่างของเช็ค (cheque) แต่ละใบจะเป็นรหัส OCR แต่นิยมใช่กันมากคือมาตรฐาน “OCR–A Full Alphanumeric” ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือการเลือกใช้เครื่องอ่านจะต้อง มั่นใจว่าสามารถรองรับมาตรฐาน OCR ตามที่ต้องการได้ หรือมิฉะนั้นก็เลือกใช้เครื่องอ่าน OCR ที่สามารถอ่านรหัสได้หลายมาตรฐาน

10 เครื่องอ่านOCRที่ใช้โดยทั่วไป

11 รหัสแทนตัวตนของสิ่งมีชีวิต(Biometric Symbol)
รหัสแทนตัวตนของสิ่งมีชีวิต(Biometric Symbol) เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีรหัสบ่งชี้อัตโนมัติแบบใช้การสัมผัสเช่นเดียวกับมาตรฐานบาร์โค้ด และ OCR ซึ่งความหมายของการสัมผัสนั้น อาจหมายถึงการสัมผัสกันตรงๆหรือใช้ลำแสงสัมผัสก็ได้ เทคโนโลยีนี้แยกเป็น 2 ประเภท คือ การตรวจสอบโดยใช้ลายนิ้วมือ (Finger Scan) และการตรวจสอบโดยใช้เสียงพูด (Voice Recognition)

12 เทคโนโลยีอ่านลายนิ้วมือ(Fingerprint)

13 เทคโนโลยียืนยันเสียงพูด (Voice Recognition)

14 ระบบสมาร์ตการ์ด(smart card) สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทดังนี้ 1
ระบบสมาร์ตการ์ด(smart card) สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทดังนี้ 1.บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic) เป็นเทคโนโลยีไอดีอัตโนมัติ (Automatic Identification) ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่สุด ได้แก่ บัตรเครดิต บัตรเครื่องถอนเงินด่วน (ATM) เป็นต้น

15 2.บัตรพร็อกซิมิตี้ (Proximity) หัวอ่านบัตรสามารถอ่านบัตรในระยะห่าง 2-5 ซม.ได้ หัวอ่านไม่มีการสึกหรอ ผู้ใช้เพียงทาบบัตรใกล้กับหัวอ่าน จึงเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งานของผู้ใช้ บัตรมีหลายชนิดตามบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่บัตรประเภทนี้จะใช้งานภายในองค์กร (Closed-Loop) ไม่มีการทำงานร่วมกันกับภายนอก

16 3.บัตรสมาร์ทการ์ด ชนิดไม่สัมผัสกับหัวอ่าน (Contactless) เป็นแบบบัตรพร็อกซิมิตี้คือหัวอ่านบัตรสามารถอ่านบัตรในระยะห่างได้ มีระยะอ่านบัตรได้ไกลขึ้นและมีความสามารถอื่นๆมากขึ้น บัตรสมาร์ทการ์ดประเภทนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น มีความปลอดภัยมาก การทำสำเนาบัตรทำไม่ได้ สามารถเก็บข้อมูลได้บนบัตรสำหรับการใช้งานจำเพาะบัตรสมาร์ทการ์ดนี้จัดเป็นอุปกรณ์ด้านการรักษาความปลอดภัย จึงนำมาเป็นบัตรประจำตัว บัตรโดยสาร บัตรเงินสด บัตรผ่านทางเข้าออก บัตรที่จอดรถ

17 4.บัตรสมาร์ทการ์ด ชนิดสัมผัสกับหัวอ่าน (Contact) มีความสามารถเหมือนบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดไม่สัมผัสหัวอ่าน แต่การใช้งานต้องเสียบบัตรเข้ากับหัวอ่าน ซึ่งทำให้มีขั้นตอนที่เสียเวลาเพิ่มขึ้น จึงไม่เหมาะสมกับการใช้ผ่านเข้าออกที่ต้องการความรวดเร็ว ข้อดีของบัตรชนิดนี้คือบัตรมีความจุข้อมูลที่มากขึ้น สามารถเก็บข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์เพื่อเรียกดูได้ทันที เช่น รูปถ่าย ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลลายนิ้วมือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ การยืนยันตัวบุคคล (Authentication) บัตรชนิดนี้ได้ถูกนำไปใช้เป็นบัตรประชาชนใหม่ของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย

18 5.บัตรวิซินนิตี้ (Vicinity) เป็นบัตรสามาร์ทการ์ดชนิดไม่สัมผัสกับหัวอ่าน ระบบสามารถอ่านบัตรในระยะห่างถึง 3 เมตรได้ แต่บัตรประเภทนี้มีข้อจำกัดในด้านหน่วยความจำบนบัตร มักถูกนำมาใช้งานด้านไอดีอัตโนมัติ (Automatic Identification) ที่เป็นออนไลน์ (On-line) ได้มีการพัฒนาให้รหัสสินค้าในรูปบาร์โค้ดมาตรฐาน (Universal Product Code,UPC) มาอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Product Code, EPC) ซึ่งมีพื้นฐานจากเทคโนโลยีนี้ มีห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศที่ลูกค้าไม่ต้องหยิบสินค้าออกจากรถเข็น แล้วเครื่องอ่านสามารถอ่านรหัสสินค้าทุกชิ้นเพื่อคำนวณราคาที่ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

19 ระบบอาร์เอฟไอดี(RFID) RFID   ย่อมาจาก Radio Frequency Identification  เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน

20 RFID ใน ปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมูล ของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต  ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไหร่ ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุบันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียน ข้อมูล

21 เทคโนโลยี RFID สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เช่น การผลิตในอุตสาหกรรม, การประยุกต์ใช้กับห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์, การควบคุมการเข้า-ออกสถานที่, การปศุสัตว์, และธุรกิจการเงิน เป็นต้น ปัจจุบันนี้เทคโนโลยี RFID ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากความต้องการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ที่เคยมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยีในอดีต

22 คำถาม 1. รหัสแท่ง 1 กับ 2 มิติมีความแตกต่างกันอย่างไร 2
คำถาม 1.รหัสแท่ง 1 กับ 2 มิติมีความแตกต่างกันอย่างไร 2.บัตรสมาร์ทการ์ดแบบใดที่นำไปใช้เป็นบัตรประชาชนแบบใหม่ 3.บัตรพร็อกซิมิตี้(Proximity)มีลักษณะการใช้งานอย่างไร 4.ระบบอาร์เอฟไอดี(RFID)มีลักษณะอย่างไร 5.เทคโนโลยีRFIDสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้านใดบ้าง


ดาวน์โหลด ppt ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Automatic ldentificatoin สมาชิกกลุ่ม นางสาว วรีพร เพ็ชรประเสริฐ เลขที่ 4.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google