งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ทรัพยากรท่องเที่ยว Sustainable Tourism.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ทรัพยากรท่องเที่ยว Sustainable Tourism."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทรัพยากรท่องเที่ยว Sustainable Tourism

2 จากการประชุม Globe 1990 ณ ประเทศแคนาดาได้ให้คำจำกัดความของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนว่า
“การพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยมีการปกป้องและสงวน รักษาโอกาสต่างๆของอนุชนรุ่นหลังด้วย การท่องเที่ยวนี้มีความหมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจสังคม และความงามทางสุนทรียภาพ ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศด้วย”

3 Sustainable Tourism ลักษณะที่สำคัญคือ เป็นการท่องเที่ยว ที่ดำเนินการภายใต้ขีดจำกัดความสามารถของธรรมชาติ และต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชากร ชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่มีต่อขบวนการท่องเที่ยว อีกทั้งต้องยอมรับให้ประชาชนทุกส่วนได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และต้องชี้นำภายใต้ความปรารถนาของประชาชนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยวนั้นๆ

4 จากการประชุมระดับโลกเรื่องสิ่งแวดล้อมโลก “Earth Summit” ในปี 1992  นับเป็นจุดเริ่มในการผลักดันความคิดเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน”  ส่งอิทธิพลถึงการให้ความสำคัญเรื่อง “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน” จากกระแสการพัฒนาการท่องเที่ยว 3 ประการ กล่าวคือ กระแสความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระแสความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ กระแสความต้องการในการพัฒนาคนและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น

5 จากกระแสการพัฒนาทั้ง 3 ด้านดังกล่าวได้มีผลต่อการปรับตัวของระบบการท่องเที่ยว และระบบการจัดการท่องเที่ยวในการหาทางเลือกใหม่ (Alternative Tourism) เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการ และทดแทนการท่องเที่ยวตามประเพณีนิยม (Conventional Tourism) แบบเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา แนวคิดในการนำเสนอการท่องเที่ยวอันเป็นทางเลือกใหม่นี้มีชื่อเรียกอย่างหลากหลาย เช่น Green Tourism, Bio Tourism, Sustainable Tourism, Conservation Tourism, Responsible Tourism และการจัดการท่องเที่ยวที่นิยมและแพร่หลายที่สุดในเวลานี้คือ “Eco tourism” หรือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

6 คำว่า “อุตสาหกรรมท่องเที่ยว” ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ มาตรา 4 ให้ความหมายว่า เป็นอุตสาหกรรม ที่จัดให้มี หรือ ให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร โดยมีค่าตอบแทน และหมายรวมถึง ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยว ธุรกิจภัตตาคาร สถานบริการ และสถานที่ตากอากาศสำหรับ นักท่องเที่ยว ธุรกิจการขายของที่ระลึก หรือ สินค้าสำหรับนักท่องเที่ยว ธุรกิจการกีฬา สำหรับ นักท่องเที่ยว การดำเนินงานนิทรรศการ งานแสดง งานออกร้าน โฆษณาเผยแพร่ หรือ การดำเนินงานอื่นใด โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อชักนำ หรือ ส่งเสริมให้มีการเดินทางท่องเที่ยว

7 นักท่องเที่ยว หรือ ผู้มาเยือน (Tourist, Visitor, Excursionist)
จากลักษณะของ “อุตสาหกรรมท่องเที่ยว” และความหมายของคำว่า “การท่องเที่ยว” สรุปได้ว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือ การท่องเที่ยว จะครอบคลุมองค์ประกอบหลัก อย่างน้อย 6 ประการ คือ นักท่องเที่ยว หรือ ผู้มาเยือน (Tourist, Visitor, Excursionist) สิ่งดึงดูดใจ หรือ แหล่งท่องเที่ยว หรือ ทรัพยากรการท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการด้านการท่องเที่ยว องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน เจ้าบ้าน หรือ ประชาชนในท้องถิ่น

8 องค์ประกอบของ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ไทย
โครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก บริการด้านการเดินทาง ที่พัก สิ่งดึงดูด/ ทรัพยากรท่องเที่ยว องค์กรเอกชน และ ธุรกิจเอกชน องค์ประกอบของ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ไทย การคมนาคม องค์กรภาครัฐ เจ้าบ้าน หรือ ประชาชนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยว/ นักทัศนาจร

9 รูปแบบของการท่องเที่ยวในประเทศไทย
รูปแบบการท่องเที่ยว ของประเทศไทย องค์การท่องเที่ยวโลก (Goeldner and Ritchie, 2006: 428) ได้กำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวไว้ 3 แบบเพื่อตอบสนองความต้องการท่องเที่ยว โดยมีรูปแบบในการท่องเที่ยว คือ รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism) รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism) รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism)

10 รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (Natural based tourism)
หมายถึงการท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติ โดยประกอบด้วย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (Marine eco tourism), การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (Geo tourism), การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco tourism), การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (Astrological tourism) และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro tourism)

11 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco tourism)
หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและ แหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและ การท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

12

13

14

15

16 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (Marine Eco-tourism )
กิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล อาทิ เดินป่าชมธรรมชาติ ป่าบนเกาะ ป่าชายหาด ป่าชายเลน การดำน้ำดูปะการัง         

17

18

19

20 การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (Geo tourism)
หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่เป็นหินผา ลานหินทราย อุโมงค์โพรง ถ้ำน้ำรอด ถ้ำหินงอกหินย้อย เพื่อดูความงามภูมิทัศน์ที่มีความแปลกของ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่โลก ศึกษาธรรมชาติของหิน ประเภทต่างๆ และซากบรรพชีวินหรือฟอสซิล ได้ความรู้ มีประสบการณ์ใหม่ บนพื้นฐานการท่องเที่ยว อย่างรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยว

21

22

23

24

25 การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (Astrological tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการไปชม ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวาระ เช่น สุริยุปราคา ฝนดาวตก จันทรุปราคา และการดูดาวจักราศีที่ปรากฏใน ท้องฟ้าแต่ละเดือน เพื่อการเรียนรู้ระบบสุริยจักรวาล มีความรู้ ความประทับใจ ความทรงจำและประสบการณ์เพิ่มขึ้น บนพื้นฐาน การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมี ส่วนร่วมต่อการจัดการร่วมกันอย่างยั่งยืน

26 Total Solar Eclipse

27

28 Total Eclipse of the Sun

29 Total Lunar Eclipse

30 Total Eclipse of the Moon

31

32

33

34 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro tourism)
หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตร สวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์ และเลี้ยงสัตว์ เพื่อชื่นชมความงามความสำเร็จ และเพลิดเพลินในสวนเกษตร ได้ความรู้ มีประการณ์ใหม่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น

35

36

37

38

39

40 รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism)
หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism), การท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและประเพณี (cultural and traditional tourism) และการท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (rural tourism หรือ village tourism)

41 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทาง โบราณคดี และประวัติศาสตร์ เพื่อชื่นชมและเพลิดเพลินในสถานที่ท่องเที่ยวได้ความรู้มีความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์และ โบราณคดี ในท้องถิ่นพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่า ของ สภาพแวดล้อมโดยที่ประชาคมในท้องถิ่น มีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว

42

43

44

45

46 การท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและประเพณี (cultural and traditional tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อชมงานประเพณีต่างๆ ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ จัดขึ้น ได้รับความเพลิดเพลินตื่นตาตื่นใจในสุนทรียะศิลป์ เพื่อศึกษาความ เชื่อ การยอมรับนับถือการเคารพ พิธีกรรมต่างๆ และได้รับความรู้ มีความเข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรม มีประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นบนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรม โดย ประชาคมในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยว

47

48

49

50

51

52

53 การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (rural tourism หรือ village tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ชนบทที่มีลักษณะวิถีชีวิต และผลงานสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมีความโดดเด่นเพื่อความเพลิดเพลินได้ความรู้ ดูผลงาน สร้างสรรค์ และภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการ รักษามรดกทางวัฒนธรรม และคุณค่าของสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว

54

55

56

57 รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism)
หมายถึงการท่องเที่ยวที่ผสมผสานการท่องเที่ยว กับความต้องการอื่นเพิ่มเติมซึ่งประกอบด้วย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (health tourism) การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (edu-meditation tourism) การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (ethnic tourism) การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (sports tourism) การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (adventure travel) การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์และฟาร์มสเตย์ (home stay & farm stay tourism) การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (long stay tourism)

58 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism),
หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติและแหล่งวัฒนธรรมเพื่อ การพักผ่อนและเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพกายใจได้รับความเพลินเพลิน และสุนทรียภาพ มีความรู้ต่อการรักษาคุณค่า และ คุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการ ท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อนึ่ง การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้บางแห่งอาจจัดรูปแบบเป็นการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและความงาม (health beauty and spa)

59

60

61

62

63

64 การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (Edu-meditation tourism)
การเดินทางเพื่อทัศนศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปรัชญาทางศาสนา หาความรู้ สัจธรรมแห่งชีวิตมีการฝึกทำสมาธิ เพื่อมีประสบการณ์และความรู้ใหม่ เพิ่มขึ้น มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวบางกลุ่มมุ่งการเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเช่น การทำอาหารไทยการนวดแผนไทย รำไทย มวยไทย การช่างและงานศิลปหัตถกรรมไทยรวมถึงการบังคับช้างและเป็นควาญช้าง เป็นต้น

65 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (Ethnic tourism)
หมายถึงการเดินทาง ท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมของชาวบ้านวัฒนธรรม ของชนกลุ่มน้อยหรือชนเผ่าต่าง ๆ เช่น หมู่บ้านชาว ไทยโซ่ง หมู่บ้านผู้ไทย หมู่บ้านชาวกูย หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ เป็นต้น เพื่อมีประสบการณ์และความรู้ใหม่ เพิ่มขึ้นมีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมี ส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

66 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (sports tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเล่นกีฬาตามความถนัดความสนใจ ในประเภทกีฬา เช่น กอล์ฟ ดำน้า ตกปลา สนุกเกอร์ กระดานโต้คลื่น สกีน้า เป็นต้น ให้ได้รับความเพลิดเพลินความสนุกสนาน ตื่นเต้น ได้รับประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและ วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

67 การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (adventure travel)
หมายถึง การเดินทางท่อง เที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ ที่นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวแล้วได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น หวาดเสียว ผจญภัย มีความทรงจำ ความปลอดภัย และได้ประสบการณ์ใหม่

68 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์และฟาร์มสเตย์ (home stay & farm stay tourism)
หมายถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ต้องการใช้ ชีวิตใกล้ชิดกับครอบครัวในท้องถิ่นที่ไปเยือน เพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้รับประสบการณ์ใน ชีวิตเพิ่มขึ้น โดยมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ในท้องถิ่นที่ยั่งยืน

69 การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (long stay tourism)
หมายถึงกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในปั้นปลายหลังเกษียณอายุจากการทำงานที่ ต้องการมาใช้ชีวิตต่างแดนเป็นหลัก เพื่อเพิ่มปัจจัยที่ห้าของชีวิตคือ การท่องเที่ยว โดยเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเฉลี่ย ครั้งต่อปี คราวละนาน ๆ อย่างน้อย 1 เดือน

70 การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (incentive travel)
หมายถึงการจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของบริษัทที่ประสบ ความสำเร็จ (มีความเป็นเลิศ) ในการขายสินค้านั้น ๆ ตามเป้ าหมายหรือเกินเป้ าหมาย เช่น กลุ่มผู้แทนบริษัทจำหน่ายรถยนต์ ผู้แทนบริษัทจำหน่ายเครื่องไฟฟ้ า ผู้แทนบริษัทจำหน่ายเครื่องสำอางค์ จากภูมิภาคหรือจังหวัดต่าง ๆ ที่สามารถขายสินค้า ประเภทนั้นได้มากตามที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในประเทศตั้งเป้ าหมายไว้เป็นการให้รางวัลและจัดนำเที่ยว โดยออกค่าใช้จ่ายใน การเดินทาง ค่าพักแรมและค่าอาหารระหว่างการเดินทางให้กับผู้ร่วมเดินทาง เป็นการจัดรายการพักแรมตั้งแต่ วัน เป็น รายการนำเที่ยวชมสถานท่องที่ต่าง ๆ อาจเป็นรายการนำเที่ยวแบบผสมผสาน หรือรายการนำเที่ยวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

71 การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (MICE หมายถึง M=meeting/I= incentive/ C=conference / E=exhibition)
เป็น การจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของผู้ที่จัดประชุม มีรายการจัดนำเที่ยวก่อนการประชุม (pre-tour) และการจัดรายการนำเที่ยว หลังการประชุม (post-tour) โดยการจัดรายการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ไปทั่วประเทศ เพื่อบริการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม โดยตรง หรือสำหรับผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ประชุม (สามีหรือภรรยา) อาจเป็นรายการท่องเที่ยววันเดียว หรือรายการเที่ยวพักค้าง แรม วัน โดยคิดราคาแบบเหมารวมค่าอาหารและบริการท่องเที่ยว

72 การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้จัดการการท่อง เที่ยวคัดสรรรูปแบบการท่องเที่ยวที่ กล่าวมาแล้วข้างต้น นำมาจัดรายการนำเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความแตกต่างระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในระยะ ยาวนานตั้งแต่ วันหรือมากกว่านั้น เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเกษตร (eco–agro tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและ ประวัติศาสตร์ (agro-historical tourism) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย (eco-adventure travel) การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา และประวัติศาสตร์ (geo- historical tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม (agro-cultural tourism) เป็นต้น

73 รูปแบบการท่องเที่ยวตามลักษณะการจัดการเดินทาง
การท่องเที่ยวในลักษณะนี้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่  ตามลักษณะของการจัดการเดินทางของนักท่องเที่ยว  คือ  การท่องเที่ยวแบบหมู่คณะ 2. การท่องเที่ยวแบบอิสระ

74 การท่องเที่ยวแบบหมู่คณะ
เป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวซื้อรายการนำเที่ยว  (Package  Tour)  จากบริษัทนำเที่ยว  โดยเดินทางท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ บริษัทนำเที่ยวจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับยานพาหนะ  ที่พัก  อาหาร  และการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยว  โดยอาจดำเนินการอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ  (full  package)  หรืออาจจัดสรรบริการเพียงบางสิ่งบางอย่างให้เท่านั้น โดยทั่วไปนักท่องเที่ยวเหล่านี้จะเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆเป็นหมู่คณะ  ด้วยรถนำเที่ยว  โดยมีมัคคุเทศก์ของบริษัทนำเที่ยวเป็นผู้นำทาง  และบรรยายเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว  การท่องเที่ยวลักษณะนี้จึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่งมาเยือนสถานที่นั้นเป็นครั้งแรก  (First  Visitor)  และยังไม่คุ้นเคยหรือไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆมาก่อน

75  เหตุผลหลักที่นักท่องเที่ยวนิยมเลือกการเดินทางในรูปแบบการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะ  
ประหยัดเงิน ได้เพื่อนร่วมทาง ความเหมาะสมคล่องตัว   ความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร   สิทธิพิเศษที่ได้รับ

76 การท่องเที่ยวแบบอิสระ (FIT – Foreign Individual Tourism)
  เป็นลักษณะของการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยววางแผนจัดการเดินทางด้วยตนเองทุกอย่าง  หรือการใช้บริการของบริษัทนำเที่ยวในการอำนวยความสะดวกบางส่วน  เช่น  การจองบัตรโดยสารเครื่องบิน  การจองที่พัก  เป็นต้น ผู้วางแผนการท่องเที่ยวที่จะเข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวเมื่อใด  และจะใช้เวลานานเท่าใด  เป็นความรับผิดชอบของนักท่องเที่ยวคนนั้นเอง    ในกรณีการท่องเที่ยวในลักษณะนี้นักท่องเที่ยวเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการท่องเที่ยวกับบริษัทนำเที่ยว  นักท่องเที่ยวคุ้นเคยกับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นแล้ว  แต่หากนักท่องเที่ยวไม่คุ้นเคยกับเส้นทางหรือสถานที่นั้นๆ  ก็อาจเสียทั้งเวลาและเงินทองมากเกินความจำเป็นได้   การท่องเที่ยวประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้มีการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆมาก่อน  หรือเป็นนักท่องเที่ยวที่กลับมาเยือนแหล่งท่องเที่ยวนั้นซ้ำอีกครั้ง  ซึ่งนักท่องเที่ยวมีความคุ้นเคนกับสถานที่นั้นดีแล้ว

77  เหตุผลหลักที่นักท่องเที่ยวนิยมเลือกเดินทางในรูปแบบการท่องเที่ยวแบบอิสระ  คือ
2.1  มีความเป็นส่วนตัวสูง  และสามารถยืดหยุ่นเวลาได้ตามต้องการ  ทั้งนี้หากเดินทางเป็นหมู่คณะกับบริษัทนำเที่ยว  นักท่องเที่ยวจะต้องปฏิบัติตามเวลาที่กำหนดไว้มนรายการนำเที่ยวอย่างเคร่งครัด  โอกาสที่จะเยี่ยมชมสถานที่ที่สนใจอย่างละเอียดจึงมีน้อย     2.2  ต้องการการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณแหล่งท่องเที่ยวที่ได้ไปเยือน  กล่าวคือ  หากท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ  นักท่องเที่ยวมักจะไปเยือนสถานที่ท่องเที่ยวจำนวนมาก  แต่นักท่องเที่ยวกลับไม่มีเวลาได้ศึกษาสถานที่นั้นอย่างละเอียดอย่างที่ต้องการ  หรือขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้วัฒนธรรม  หรือรู้จักกับคนในท้องถิ่นได้เต็มที่  นักท่องเที่ยวจึงเพียงได้แต่สัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวนั้นโดยผิวเผิน  ในขณะที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางจะมีโอกาสในการสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวที่ไปเยือนได้อย่างลึกซึ้ง  ตามความต้องการ  เนื่องจากมีเวลามากกว่า  และสามารถวางแผนการเดินทางได้ด้วยตนเอง


ดาวน์โหลด ppt ทรัพยากรท่องเที่ยว Sustainable Tourism.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google