งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศาสนาคริสต์ ในประเทศไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศาสนาคริสต์ ในประเทศไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศาสนาคริสต์ ในประเทศไทย
อาจารย์สอง Satit Up

2 ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในไทย
ปรากฏหลักฐานว่าในปี ค.ศ มีมิชชันนารีคณะโดมินิกัน(Dominican) 2 คน เข้าสอนศาสนาให้ชาวโปรตุเกสรวมทั้งชาวพื้นเมืองที่เป็นภรรยา ภายหลังต่อมาจึงมีมิชชันนารีคณะฟรังซิสกัน(Franciscan) และคณะเยซูอิต(Jesuit)เข้ามาด้วย โดยในช่วงแรกๆบาทหลวงส่วนมากเป็นชาวโปรตุเกส ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่ในไทยเป็นครั้งแรก สมัยอยุธยา รัชสมัยของพระมหาธรรมราชา ระยะแรกที่ยังถูกปิดกั้นทางศาสนา มิชชันนารี(Missionary)จึงเน้นการดูแลกลุ่มคนชาติเดียวกัน กระทั่งรัชสมัยพระนารายณ์ ได้มีสัมพันธภาพอันดีกับฝรั่งเศส ตรงกับรัชสมัยกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทำให้มีจำนวนบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนามากขึ้น และการแสดงบทบาททางสังคมมากขึ้น ทั้ง ด้านสังคมสงเคราะห์ มีการจัดตั้งโรงพยาบาล ด้านศาสนา มีการตั้งเซมินารี(Seminary)เพื่อผลิตนักบวชพื้นเมือง และมีการโปรดศีลบวชให้นักบวชไทยรุ่นแรกในสมัยนี้

3 ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในไทย หลังรัชสมัยของพระนารายณ์
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับชาติตะวันตกเสื่อมลงอย่างมาก และ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกลับไม่ได้รับความไว้ใจจากกษัตริย์องค์ต่อมา และไม่ได้รับสะดวกในการเผยแพร่ศาสนาเช่นเดิมที่ผ่านมา โดยถูกจำกัดขอบเขต ถูกห้ามประกาศเผยแพร่ศาสนา ถูกห้ามเขียนหนังสือศาสนาเป็นภาษาไทย และภาษาบาลี ประกอบกับพม่าเข้ามารุกรานประเทศไทย บาทหลวงถูกย่ำยี โบสถ์ถูกทำลาย บาทหลวงมิชชันนารีทั้งหลายต้องหนีออกนอกประเทศ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ยุติในช่วงเสียเอกราชให้พม่า

4 ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในไทย
หลังสมัยอยุธยา กระทั่งสมัยธนบุรีแม้การเผยแพร่ศาสนาคริสต์เริ่มต้นขึ้นใหม่ แต่เพราะประเทศกำลังอยู่ในภาวะสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ จึงไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เมื่อเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์แล้ว ชาวคริสต์คาทอลิกอพยพเข้ามายังสยามมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเปิดเสรีการนับถือศาสนา และทรงประกาศพระราชกฤษฎีกา ให้ทุกคนมีสิทธิในการนับถือศาสนาใดก็ได้ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 แม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศสไม่ดีนัก(อันเนื่องจากปัญหาเรื่องดินแดน) แต่พระองค์ก็ทรงรับรองมิสซังโรมันคาทอลิกเป็นนิติบุคคล หลังจากนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้เติบโตและได้ตั้งสถานศึกษาหลายแห่งในเวลาต่อมา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ใน ค.ศ.1877 ภายหลังเกิดโรงเรียนอีกหลายแห่ง เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โรงเรียนมาแตร์แดอีวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอัญสัมชัญ(ABAC) โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนอัญสัมชัญศรีราชา และโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เป็นต้น

5 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในไทย
คณะเผยแพร่ของนิกายโปรเตสแตนต์กลุ่มแรกที่เข้ามาประเทศไทยตามหลักฐานที่ปรากฏ คือ มิชชันนารี 2 ท่าน ศาสนาจารย์ คาร์ล ออกัสตัส เฟรดเดอริค กุตสลาฟ (Rev. Karl Fredrich Augustus Gutzlaff) ชาวเยอรมัน จาก สมาคมเนเธอร์แลนด์มิชชันนารี (Netherlands Missionary Society) และศาสนาจารย์ จาคอบทอมลิน (Rev. Jacob Tomlin) ชาวอังกฤษ จาก สมาคมลอนดอนมิชชันนารี (London Missionary Society) มาถึงประเทศไทยเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ (ค.ศ. 1828) ทั้งสองท่านช่วยกันเผยแพร่ศาสนาด้วยความเข้มแข็ง ต่อมาจึงมีมิชชันนารีจาก คณะอเมริกันบอร์ด (The American Board of Commissioners for Foreign Missions หรือ A. B. C. F. M) เข้ามา ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแพร่ในไทยครั้งแรก สมัยรันตโกสินทร์ ตอนต้น

6 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในไทย
ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแพร่ในไทยครั้งแรก สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในบรรดานักเผยแพร่ศาสนานั้น ผู้เริ่มต้นสัมพันธภาพที่ดีและยาวนานที่สุดระหว่างคนไทยกับศาสนาคริสต์คือ ศาสนาจารย์แดน บีช บรัดเลย์ (Rev. Dan Beach Bradley, M. D.) หรือ หมอบรัดเลย์ (คนไทยมักเรียกว่า หมอบลัดเลย์) ซึ่งเป็นมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียน(Presbyterian)ในคณะอเมริกันบอร์ด (มิชชันนารีชาวอเมริกัน) เข้ามากรุงเทพฯ (ขณะนั้นเรียกว่า บางกอก) พร้อมภรรยา เมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ (ค.ศ. 1835) ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ ใช้ชีวิต เกือบ 40 ปีที่อยู่ในสยาม หมอบรัดเลย์มีชีวิตอยู่ในสยามผ่านเวลามาถึง 3 แผ่นดิน คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 รัชการที่ 4 และรัชกาลที่ 5 โดยที่ไม่มีโอกาสร่ำรวยและสุขสบายเลย หมอบรัดเลย์เสียชีวิตลงในประเทศไทย ในปี พ.ศ ขณะมีอายุได้ 69 ปี อนุสรณ์สถานของครอบครัวบรัดเลย์อยู่ที่สุสานโปรเตสแตนท์ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง

7 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในไทย
ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแพร่ในไทยครั้งแรก สมัยรันตโกสินทร์ รัชสมัยของพระมหาธรรมราชา ตลอดเวลาที่หมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันได้เข้ามายังประเทศไทย ได้สร้างคุณประโยชน์มากมายหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการแพทย์และการพิมพ์ ทั้งรักษาผู้ป่วยไข้ทรพิษ(ฝีดาษ)และอหิวาตกโรค(โรคห่า) นำการผ่าตัดเข้ามาครั้งแรก การทดลองปลูกฝีดาษในประเทศไทย ริเริ่มการสร้างโรงพิมพ์ เริ่มจากจัดพิมพ์ใบประกาศห้ามฝิ่น และจัดพิมพ์หนังสือ "บางกอกกาลันเดอร์" ซึ่งเป็นจดหมายเหตุรายวัน กล่าวได้ว่า ความเชื่อมั่นของชาวไทยต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ เกิดจากคณะสมาคมอเมริกันมิชชันนารีนำความเจริญเข้ามาควบคู่ไปกับการเผยแพร่ศาสนา

8 คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในไทย
ผลงานสำคัญของหมอบรัดเลย์ คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในไทย ด้านการพิมพ์ - เป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก (บิดาของการพิมพ์สมัยใหม่ของไทย) และ ตั้งโรงพิมพ์ - หลังจากอยู่ที่บ้านซางตาครูส กุฎีจีนได้ราว 3 ปีพวกมิชชันนารีได้ทำสัญญาเช่าบ้าน 2 หลัง ของเจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ บุนนาค) ข้างวัดประยุรวงศาวาส ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใช้เป็นที่อยู่ใหม่และเป็นโรงพิมพ์สำหรับพิมพ์หนังสือเผยแผ่คริสต์ศาสนาโรงพิมพ์แห่งนี้ได้มีส่วนรับใช้ราชการไทยโดยการพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นและห้ามค้าฝิ่นที่ ร.3โปรดให้ทำขึ้นจำนวน 9000 แผ่น เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์พิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นจำนวน 9,000 ฉบับ นับเป็นสิ่งตีพิมพ์เอกสารทางราชการฉบับแรกในประวัติศาสตร์สยาม (ถือเป็นหมายสำคัญว่ายุคแห่งการคัดด้วยลายมือกำลังจะหมดไป เป็นการเริ่มต้นยุคสมัยแห่งการพิมพ์สยาม) - 10 ปีแรกพิมพ์หนังสือเผยแพร่ศาสนา เป็นหนังสือเล่มแรกที่เกี่ยวข้องกับศาสนา - เมื่อปี 4 กรกฎาคม 2387 หมอบรัดเลย์ก็ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยามขึ้น ในชื่อว่า หนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอเดอ (The Bangkok Recorder) - พิมพ์หนังสือ วรรณคดี ตัวอย่างเช่นสามก๊ก นิราศเมืองลอนดอน แบบเรียนจินดามณี พิชัยสงครามพม่า เป็นต้น พิมพ์ปฏิทินสุริยคติเป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

9 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในไทย
ผลงานสำคัญของหมอบรัดเลย์ ด้านการแพทย์ - เป็นผู้เริ่มต้นการแพทย์ตะวันตกในเมืองไทย - ทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก - การปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษ(ฝีดาษ) (งานรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคฝีดาษนี้ทำให้ท่านได้รับพระราชทานเงินจำนวนหนึ่งเป็นรางวัล จาก รัชกาลที่ 3) ท่านถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ (พ.ศ. 2378) ซึ่งเป็นวันที่ท่านมีอายุครบ 31 ปีพอดีจากนั้นท่านได้ร่วมงานเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์พร้อมกับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกรุงเทพฯ โดยในตอนแรกได้เช่าบ้านของข้าราชการไทยคนหนึ่ง เปิดเป็นที่จ่ายยาและรักษาโรคใกล้กับ วัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศาราม)แต่ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านซางตาครูส ฝั่งธนบุรี การรักษาด้วยการแพทย์สมัยใหม่ทำให้หมอบรัดเลย์ได้ความไว้วางใจให้รักษาแก่เจ้านายและชนชั้นสูงหลายคน จนได้รับความไว้วางใจ ไม่ว่าจะเป็น ร.4 , หลวงนายสิทธิ์ (ช่วง บุนนาค ซึ่งต่อมาก็คือเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ในรัชกาลที่ 4)

10 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในไทย
ใช้อีเทอร์เป็นยาสลบ ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในไทย นอกจากพวกสมาคมอเมริกันมิชชันนารีจะนำความเจริญมาให้ประเทศไทยควบคู่ไปกับการเผยแพร่ศาสนาแล้ว ยังมีนักเผยแพร่ศาสนากลุ่มอื่น ๆ อีก เช่น กลุ่มอเมริกันแบพติสมิชชัน (The American Baptist Mission) ซึ่งเป็นพวกที่สร้างคริสตจักรโปรเตสแตนต์แห่งแรกในกรุงเทพฯ ประมาณกลางปี ค.ศ คณะเพรสไบทีเรียนอเมริกัน (The American Presbyterian Board) เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่สร้างความเจริญให้กับประเทศไทยไม่น้อยไปกว่ากลุ่มอื่น ๆ เช่น ดร.เฮ้าส์ (Samuel R.House) ซึ่งเป็นแพทย์ผ่าตัดคนแรกในประเทศไทยที่ใช้อีเทอร์เป็นยาสลบ และเป็นแพทย์ผู้ช่วยชีวิตคนไทยจากโรคอหิวาตกโรค ศาสนจารย์และนางแมตตูน (Rev. and Mrs. Stephen Mattoon) เป็นผู้ที่มีความสำคัญอีกเช่นกัน เพราะเป็นผู้ริเริ่มเปิดโรงเรียนแบบเช้าไปเย็นกลับ ซึ่งต่อมาโรงเรียนนี้ได้ร่วมกับโรงเรียนประจำของมิชชัน และได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในปัจจุบัน

11 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ในไทย
ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ได้เผยแพร่ออกไปยังหลายแห่ง และ ได้นำวิทยาการ สมัยใหม่ทั้งการแพทย์ และ การศึกษา ไปยังที่ต่าง ๆ โดยตั้ง โรงพยาบาลและโรงเรียน อาทิเช่น โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพฯ โรงเรียนปรินส์รอยแยลวิทยาลัย โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน กรุงเทพฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลโอเวอร์บรุคส์ จังหวัดเชียงราย เป็นต้น

12 ศาสนาคริสต์ในไทย ปัจจุบันประเทศไทย มีองค์กรคริสตจักรที่กรมการศาสนารับรองอยู่ 5 องค์กร คือ 1) สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย (โรมันคาทอลิก) 2) สภาคริสตจักรในประเทศไทย (โปรเตสแตนท์) 3) สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย (โปรเตสแตนท์) 4) คริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ (โปรเตสแตนท์) 5) คริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย หรือ คริสตจักรเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ (โปรเตสแตนท์) นอกจากนี้ยังมี - คริสตจักรลูเธอร์แรนในประเทศไทย (โปรเตสแตนท์) - คริสตจักรออร์โธด็อกซ์ในประเทศไทย (ออร์โธดอกซ์) - ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย หรือ มอร์มอน (โปรเตสแตนท์) - มูลนิธิคริสตจักรความหวัง (โปรเตสแตนท์) เป็นต้น


ดาวน์โหลด ppt ศาสนาคริสต์ ในประเทศไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google