ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยEmily Sims ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต(Reproduction & Development)
2
การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์ชั้นต่ำบางชนิด ส่วนใหญ่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมักมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) วิธีการนี้ไม่ต้องใช้เซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งมีอยู่หลายวิธีคือ การแบ่งออกเป็นสองส่วน (Binary fission) การแตกหน่อ (Budding) การจับคู่กัน (conjugation)
3
1. การแบ่งออกเป็นสองส่วน (Binary fission)
ส่วนใหญ่เป็นการแบ่งเซลล์ของพวกโพรทิสต์ ซึ่งอาจแบ่งตัวตามขวางหรือตามยาว ขึ้นกับชนิดของโพรทิสต์นั้น เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา หลังจากแบ่งเซลล์แล้วแต่ละเซลล์จะแยกกันออกไปเจริญเติบโต แต่โพรทิสต์บางชนิดเมื่อแบ่งเซลล์แล้วยังมีการรวมตัวกันอยู่โดยไม่แยกออกจากกัน เช่น โพรโทค็อกคัส (Protococus) หรืออาจจจะแยกกันภายหลังก็ได้ *** การแบ่งออกเป็นสองส่วนนี้ พวกเซลล์ยูคาริโอตใช้วิธีแบ่งเซลล์ไมโทซิส แต่พวกเซลล์โพรคาริโอตยังไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงไม่ถือว่ามีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
4
Simple binary fission
5
Transverse binary fission
6
Transverse binary fission
การแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วนนั้น นิวเคลียสจะแบ่งตัวก่อน ในพารามีเซียมถึงแม้จะมีนิวเคลียส 2 อัน คือ นิวเคลียสใหญ่หรือมาโครนิวเคลียส (Macronucleus) และนิวเคลียสเล็กหรือไมโครนิวเคลียส (Micronucleus) ก็ตามนิวเคลียสทั้งสองแบ่งตัวก่อน เมื่อแบ่งนิวเคลียสแล้วจึงแบ่งไซโทพลาซึมแล้วจึงแบ่งเยื่อหุ้มเซลล์ ทั้งไซโทพลาซึมและเยื่อหุ้มเซลล์ต่างแบ่งแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด และเซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ในเซลล์เหมือนเซลล์แม่ทุกประการ
7
Longitudinal binary fission
8
Multiple Fission
9
2. การแตกหน่อ (Budding) กระบวนการสืบพันธุ์แบบนี้พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพวกโพรทิสต์ สัตว์ชั้นต่ำ เช่น ในยีสต์ไฮดราฟองน้ำ เมื่อมีสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นมีอาหารอย่างสมบูรณ์ เซลล์หรือตัวเดิมเริ่มมีติ่งเล็ก ๆ ยื่นออกมา และติ่งนั้นค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น จนกระทั่งถึงระยะหนึ่งรูปร่างเหมือนตัวเดิมแล้วจึงหลุดออกไปหรือติดอยู่กับตัวเดิมได้
10
สำหรับการแตกหน่อนั้นสามารถทดลองจากสิ่งมีชีวิตได้หลายชนิดดังนี้
ยีสต์ คั้นน้ำสับปะรดหรือน้ำแตงโมใส่โหลปากกว้าง เปิดฝาทิ้งไว้ ชั่วโมง เพื่อให้ยีสต์ที่ปลิวอยู่ในอากาศจะได้ตกลงไปเจริญในน้ำผลไม้คั้นนั้น เมื่อถึงเวลาที่กำหนดแล้วปิดฝา ตั้งทิ้งไว้ 4-5 วัน จึงเปิดฝาโหลนั้นใช้หลอดดูดน้ำผลไม้ในขวดนั้นมาหยดลงบนสไลด์ นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นยีสต์จำนวนมากอยู่บนสไลด์ การที่ใช้เวลา 4-5 วัน ปิดฝาโหลเอาไว้ เพื่อให้ยีสต์เพิ่มจำนวนจะได้ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วเห็นได้ง่าย บางครั้งอาจเห็นหน่อของยีสต์ต่อเนื่องเป็นสายยาว ซึ่งเรียกว่า ซูโดไมซีเลียม (Pseudomycelium)
11
yeast budding
12
3. การจับคู่กัน (conjugation)
เพื่อแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม จากนั้นจึงแยกกันและแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนตามปกติ
13
conjugation ตัวอย่างเช่น โปรโตซัวจะมีการ conjugation ระหว่างโปรโตซัว 2 ตัว นิวเคลียสของโปรโตซัวทั้งสองจะมีการแบ่งตัวแบบไมโอซิส ต่อจากนั้นมีการแลกเปลี่ยนนิวเคลียส หลังจากที่นิวเคลียสรวมตัวกันแล้ว โปรโตซัวทั้งสองตัว จะแยกจากกันและต่างก็ไปแบ่งตัวต่อไป
14
2. การสืบพันธุ์ของสัตว์ 2.1.1 การงอกใหม่ (regeneration)
2.1 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 2.1.1 การงอกใหม่ (regeneration)
17
Fragmentation เกิดขึ้นโดยที่ส่วนของร่างกายหลุดออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนสามารถเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ -ต้องเกิดพร้อมกับ regeneration -พบใน ไฮดรา, ดอกไม้ทะเล, พลานาเรีย, ดาวทะเล -regeneration ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถสร้างส่วนที่ขาดหายไปทดแทนขึ้นมาใหม่ได้ (arm ของดาวทะเล)
18
2.1.2 การแตกหน่อ(budding)
19
การปฏิสนธิ (fertilization) มีหมายความอย่างไร
การปฏิสนธิมีกี่ประเภทอะไรบ้าง แต่ละประเภทมีความหมายอย่างไร
20
2.2.1 สัตว์ที่มีสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน กะเทย (hermapphodite)
2.2 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสัตว์ 2.2.1 สัตว์ที่มีสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน กะเทย (hermapphodite) สัตว์ส่วนใหญ่มีอวัยวะเพศแยกกันอยู่คนละตัว เป็นสัตว์เพศผู้และเพศเมีย แต่มีสัตว์บางชนิดที่มีอวัยวะเพศทั้งสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน เรียกว่า กะเทย (Hermaphrodite) เช่นไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน เป็นต้น
21
พลานาเรีย เป็นสัตว์ที่มีอวัยวะเพศทั้งสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน แต่การปฏิสนธิจะเป็นการผสมข้ามตัวโดยพลานาเรียจะจับคู่แล้วแลกเปลี่ยนอสุจิกัน อสุจิจะเคลื่อนไปตามท่อนำไข่แล้วเกิดปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ในท่อนำไข่ ไส้เดือนดิน จะเกิดขึ้นโดยไส้เดือนดิน 2 ตัวจะมาจับคู่สลับหัวสลับหางกัน ช่องรับอสุจิของตัวหนึ่งจะแนบกับถุงเก็บอสุจิของอีกตัวหนึ่ง อสุจิจากอวัยวะสืบพันธุ์ของแต่ละตัวจะถูกส่งไปยังช่องอสุจิของอีกฝ่ายหนึ่ง จากนั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ถุงเก็บอสุจิ แล้วไส้เดือนจะแยกออกจากกัน ต่อมา 2-3 วัน ไส้เดือนดินจะสร้างถุงหุ้มเซลล์ไข่ขึ้นและปล่อยเซลล์ไข่ออกมาที่ถุงหุ้มเซลล์ไข่ หลังจากนั้นไส้เดือนดินจะเคลื่อนถอยหลังให้ถุงหุ้มเซลล์ไข่เคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อไปรับอสุจิที่ถุงเก็บอสุจิ ถุงหุ้มเซลล์ไข่จะถูกปล่อยไว้ตามพื้นดิน เซลล์ไข่ที่ผสมกับอสุจิจะฟักอยู่ในถุงหุ้มเซลล์ไข่และเจริญเป็นตัวในระยะต่อมา
24
2.2.2 สัตว์ที่มีอวัยวะแยกเพศกันอยู่คนละตัว
การปฏิสนธิภายนอก (external fertilization) ไข่กบ
25
การปฏิสนธิภายใน (internal fertilization)
26
แมลง เป็นสัตว์แยกเพศ และมีการปฏิสนธิภายใน โดยแมลงเพศผู้จะผลิตอสุจิจากอัณฑะออกมาเก็บไว้ที่ถุงเก็บอสุจิ เมื่อมีการผสมพันธุ์กับแมลงเพศเมียจะมีการหลั่งอสุจิออกทางอวัยวะสืบพันธุ์ (penis) เข้าสู่ระบบสืบพันธุ์ของเพศเมียอสุจิที่หลั่งออกมาจะผ่านช่องคลอด (vagina) ของเพศเมีย ผสมกับเซลล์ไข่ที่ผลิตขึ้นจาก รังไข่ (ovary) ตรงบริเวณท่อนำไข่ (oviduct) แมลงเพศเมียบางชนิดจะมี สเปอร์มาทีกา (spermarheca) เพื่อเก็บสะสมอสุจิไว้ผสมกับเซลล์ไข่เมื่อเซลล์ไข่เจริญเต็มที่พร้อมรับการผสมพันธุ์
27
testis (ovary) oviduct penis spermatheca vagina
28
ระบบสืบพันธุ์ของคน อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย(male genital organ) แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1. อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายนอก(externalmale genital organ) 1.1 ลึงค์(penis) เป็นส่วนใช้ในการร่วมเพศเป็นทางผ่านของน้ำอสุจิและน้ำปัสสาวะ พบว่ามีเนื้อเยื่อที่แข็งได้(erectile tissue) ประกอบด้วย คอร์พัสสปองจิโอซัม(corpus spongiosum) 1 อัน อยู่รอบท่อปัสสาวะ และอีก 2 อันอยู่ทางด้านบน บริเวณปลายสุดเรียกว่าหัวลึงค์(gland penis) และมีผิวหนังหุ้มอยู่เรียกว่า พรีพิว(prepuce)
29
1.2 ถุงอัณฑะ(scrotum หรือ scrotal sec) เป็นผิวหนังที่ยื่นออกจากช่องท้องเนื่องจากอัณฑะอยู่ในช่องท้องเลื่อนลงมา โดยทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิโดยให้ต่ำกว่า 3-5 องศาเซลเซียสของร่างกาย ซึ่งเหมาะสมต่อการสร้างอสุจิ
30
2. อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายใน(internal male genital organ)
2.1 อัณฑะ(testis) มีอยู่ 2 เลื่อนจากช่องท้องลงมาถ้าไม่เลื่อนจะทำให้เป็นหมัน แต่ถ้าเลื่อนลงมาเพียงข้างเดียวเรียกว่า ทองแดง (crytochism)
31
2.1.1 หลอดสร้างอสุจิ(seminiferous tubule) เป็นท่อภายในอัณฑะมีเซลล์ 2 ชนิดคือ เซอร์ทอไลเซลล์(sertoli cell) มีขนาดโตมีรูปร่างไม่แน่นอนเป็นตัวให้อาหารแก่ เซลล์อีกชนิดหนึ่งได้แก่ สปอร์มาโตโกเนีย(spormatogonia) ซึ่งจะแบ่งตัวสร้างอสุจิ ต่อไปการสร้างอสุจิถูกควบคุมโดยฮอร์โมน FSH กับ textosterone ในอัณฑะ 2.1.2 เนื้อเยื่ออินเตอร์สติเชียล(interstitial cell) อยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิ ประกอบด้วยเส้นเลือด เส้นประสาทและพวกเซลล์ต่างๆ อินเตอร์สติเชียลเซลล์ออฟเลยติก(interstitial cell of leydig) เป็นเซลล์ที่เจริญมากกว่าเซลล์อื่นถูกควบคุมโดย ฮอร์โมน LH
32
2.2 ท่อต่างๆ(duct) ประกอบด้วย
2.2.1 เรตีเทสทิส(rete testis) เป็นท่อรวมของหลอดสร้างอสุจิ(seminiferous tuble)มีลักษณะเป็นร่างแหอยู่หลังอัณฑะ
33
2.2.2 เอพิดิไดมีส(epididymis) เป็นท่อยาวขดไปมาทำหน้าที่ในการเก็บอสุจิและสร้าง อาหารเลี้ยงอสุจิ สามารถพักได้นาน 6 สัปดาห์ 2.2.3 ท่อนำอสุจิ(vas deferens) มีความยาวประมาณ 18 นิ้ว เป็นทางผ่านของอสุจิและเปิดเข้าสู่ท่อรวม เซมินัลเวซิเคิล(seminal vesicle) ใน การทำหมันชายจะตัดส่วนนี้เองเรียกว่า วาเซกโทมี(vasectomy) 2.2.4 ท่ออีเจคูลาทอรี(ejecculatory duct) เป็นท่อที่เกิดจากการรวมกันของท่อนำอสุจิกับเซมินัลเวซิเคิล ผสมกันระหว่างอสุจิและน้ำเลี้ยงอสุจิและบีบตัว ปล่อยออกสู่ภายนอก
34
2.3 ต่อมต่าง ๆ (accessory male genital glands)
2.3.1 เซมินัลเวซิเคิล(seminal vesicle) เป็นท่อ 2 ท่อ ขอไปมาทำหน้าที่ในการสร้างอาหารสำหรับอสุจิได้แก่ น้ำตาลฟรักโตส วิตามินซี โปรตีนโกลบูลิน รวมกันเรียกว่า เซมินัลฟูลอิด (seminal fluid) ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจากอัณฑะ 2.3.2 ต่อมลูกหมาก(prostate gland) สร้างสารสีขาวมีกลิ่นเฉพาะตัวมีกรดซิตริกรวมอยู่ด้วย เรียกว่า prostatic fluid ช่วยทำให้ท่อปัสสาวะซึ่งเป็นกรดทำให้ลดความเป็นกรดลง
36
แสดงอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงภายนอก(external female genetial organ) 1. คลิทอริส(clitoris) เป็นส่วนที่มีลักษณะการเจริญเช่นเดียวกับลึงค์ เป็นเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้ มีปลายประสาทมาสิ้นสุดมากจึงรับความรู้สึกได้เร็ว
37
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงภายใน (internal female genetial organ)
1.2 แคมใหญ่(labia majora) เป็นส่วนที่เจริญมาเช่นเดียวกับถุงอัณฑะของเพศชาย เป็นส่วนของผิวหนังที่มีชั้นไขมันอยู่ 1.3 แคมล็ก(labia minora) เป็นส่วนอยู่ด้านในของแคมใหญ่ มีต่อมไขมันจำนวนมากเพื่อช่วยในการหล่อลื่นและกันการเสียดสีระหว่างการร่วมเพศ อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงภายใน (internal female genetial organ) 2.1 รังไข่(ovary) ทำหน้าที่ในการสร้างไข่ และฮอร์โมนเพศ ในคนเราจะมีประมาณ 4 แสนเซลล์แต่จะตกไข่เพียง 400 เซลล์
38
2.2 มดลูก(uterus) ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมและเป็นแหล่งให้กำเนิดประจำเดือน และประกอบด้วย ปากมดลูก(cervix) ตัวมดลูก(body) ส่วนบนมดลูก(fundus) โดยผนังมดลูกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น โดยชั้นในมีชื่อว่า endometrium
39
2.3 ช่องคลอด(vagina) ที่ปากช่องคลอดมีเยื่อบางๆย่นๆบิดอยู่ เรียกว่า เยื่อพรหมจารีย์(hymen) มีความเป็นกรดเล็กน้อยและโปรโตซัวที่พบในช่องคลอดได้แก่ Trichomonas vaginalis ซึ่งทำให้ผนังช่องคลอดอักเสบเกิดการตกขาวได้ 2.4 ท่อนำไข่(oviduct หรือ fallopian tube) เป็นท่อที่มีการปฏินธิกันโดยเกิดที่ส่วนที่บริเวณแอมพูลาจะมีการปฏิสนธิกันของอสุจิและไข่
40
แสดงอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง
41
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (gametogenesis)
42
Spermatogenesis เป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องในผู้ชาย ผลทำให้ได้สเปิร์ม ล้านตัวในการฉีดแต่ละครั้ง เกิดขึ้นใน seminiferous tubules ของ testes เริ่มจาก primodial germ cells เปลี่ยนมาเป็น spermatogonia ใน embryonic testes (2n) spermatogonia อยู่ที่ผนังด้านข้างของ semniniferous tubules แบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนตลอดเวลาด้วย mitosis เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ spermatogonia จะแบ่งตัวแบบ meiosis และเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนได้สเปิร์ม 4 ตัว
43
Spermatogenesis แสดงท่อ seminiferous tubules ที่ผลิตสเปิร์มภายในอัณฑะ สเปิร์มจะเจริญเป็นขั้นๆโดยเริ่มจาก spermatogonium (2n) เจริญเป็น primary spermatocyte เซลล์นี้ 1 เซลล์แบ่งแบบ meiosis I กลายเป็น secondary spermatocyte 2 เซลล์ ในการแบ่งตัว meiosis II จะได้ spermatid 4 เซลล์ spermatid จะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นสเปิร์ม ในขณะที่ได้สารอาหารจาก sertoli cell
46
โครงสร้างของสเปิร์ม ส่วนหัวของสเปิร์มมี haploid nucleus และ acrosome ซึ่งมีเอนไซม์ช่วยในการเจาะเข้าไปในเซลล์ไข่ ส่วนหางมีไมโตคอนเดรียจำนวนมาก (หรือบางชนิดอาจมีไมโตคอนเดรียขนาดใหญ่เพียงอันเดียว) ทำหน้าสร้าง ATP ช่วยในการเคลื่อนไหวของ flagella
47
Hormonal control of the testes
48
Hormonal control of the testes
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary) ผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด ได้แก่ 1. Luteinizing hormone (LH) ซึ่งจะไปกระตุ้น leydig cells ให้ผลิต androgen ซึ่งเป็นฮอร์โมนควบคุม primary sex characteristics ได้แก่การเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ และ secondary sex characteristics ได้แก่ การมีเสียงแหบห้าว การมีหนวดเป็นต้น และ 2. Follicle stimulating hormone (FSH) ซึ่งมีผลต่อกระบวนการ spermatogenesis ใน seminiferous tubules การผลิต LH และ FSH ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน Gonadotropin-releasing hormone (GnRH) ซึ่งสร้างจากต่อม hypothalamus ถ้ามี androgen มากก็จะมีกลไกย้อนกลับ (feedback mechanism) ไปควมคุมการผลิต LH, FSH และ GnRH อีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ GnRH ถูกควบคุมโดยกลไกย้อนกลับของ LH และ FSH ด้วยซึ่งไม่ได้แสดง ณ ที่นี้
49
Oogenesis การสร้างไข่เกิดขึ้นในรังไข่ เริ่มต้นจากกลุ่ม primordial germ cell ในเอมบริโอเริ่มแบ่งแบบไมโตซิสเพื่อเพิ่มจำนวน ได้เป็น oogonium (2n) (ในรูปนี้ 2n=4) แต่ละ oogonium เจริญไปเป็น primary oocyte (2n) โดยแบ่งแบบไมโอซิสและหยุดกระบวนการอยู่ที่ระยะ prophase I เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ primary oocyte จะแบ่งตัวต่อไปจนสิ้นสุดกระบวนการ meiosis I แต่การแบ่งไซโตพลาสซึมได้เซลล์ที่มีขนาดไม่เท่ากัน คือได้ secondary oocyteที่มีขนาดใหญ่ และ first polar body ที่มีขนาดเล็กกว่ามาก ต่อมาในกรณีที่มีการผสมพันธุ์และสเปิร์มเจาะเข้าไปใน secondary oocyte จะกระตุ้นให้เกิด meiosis II เมื่อ meiosis เสร็จสิ้น secondary polar body แยกออกจากไข่ (ovum) สเปิร์มและไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วจะเกิดการปฏิสนธิขึ้น
50
ไข่เจริญอยู่ภายในถุง follicle ซึ่งเป็นช่องว่างภายใต้ผิวของรังไข่ (1-3) หลังจากเซลล์ไข่หลุดจากถุงนี้ (4) เซลล์ของถุงก็จะเจริญไปเป็น corpus luteum ซึ่งแปลว่า ก้อนสีเหลือง (5) ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสม corpus luteum ก็จะฝ่อภายใน 2-3 สัปดาห์ (6) ถ้าไข่ได้รับการผสมพันธุ์ corpus luteum ก็จะยังคงอยู่และผลิตโปรเจสเตอโรนซึ่งจะช่วยในการเตรียมมดลูกรอรับเอมบริโอ
53
ข้อแตกต่าง spermatogenesis และ Oogenesis
1. ผลที่ได้ 4 mature spermatozoa 2. เกิดตลอดเวลาในช่วงอายุของสิ่งมีชีวิต 3. Spermatogenesis เกิดต่อไปเรื่อยๆ 1. ผลที่ได้ single ovum ส่วน polar body สลายไป 2. Potentail ova (primary oocyte) อยู่ใน ovary แล้วตั้งแต่เกิด 3. Oognesis มีช่วงพัก
54
The reproductive cycle of the human female
แสดงวงจรของประจำเดือนซึ่งสัมพันธ์กับการตกไข่ ฮอร์โมน FSH ผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary) ในปริมาณที่สูงขึ้นจะไปกระตุ้นการเจริญของ follicle และการผลิตฮอร์โมน estrogen จาก follicle Estrogen มีหน้าที่กระตุ้นการเจริญของเยื่อบุภายในของผนังมดลูกให้หนาขึ้น estrogenที่มีปริมาณสูงจะไปยับยั้งการผลิต FSH ขณะเดียวกัน LH ที่กำลังผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าในปริมาณสูงขึ้นๆเช่นกัน ก็จะร่วมกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ หลังจากนั้น follicle ก็จะกลายเป็น corpus luteum ซึ่งจะเริ่มผลิตฮอร์โมน progesterone ฮอร์โมนนี้จะกลับไปยับยั้งการผลิต LH ในระยะนี้หากไม่มีการผสมพันธุ์ระดับฮอร์โมนต่างๆก็จะลดลง ผลคือการสลายตัวของผนังเยื่อบุมดลูก มีการหลุดตัวของเยื่อบุและตกเลือด หลังจากนั้นก็เริ่มวงจรใหม่ แต่ในระยะเวลาเดียวกัน หากมีการผสมพันธุ์ corpus luteum จะไม่สลายตัว และผลิตฮอร์โมนต่อ เยื่อบุมดลูกก็จะไม่สลายตัว และมีการฝังตัวของเอมบริโอ
55
The reproductive cycle of the human female
รอบประจำเดือน(menstrual cycle) 1.ระยะก่อนตกไข่(follicle stage) FSH กระตุ้นให้ฟอลลิเคิลขยายตัวเป็นแกรเฟียนฟอลลิเคิลและมีการสร้าอีสโทนเจนเพื่อกระตุ้นให้ผนังด้านในมดลูกหนาขึ้น 2.ระยะตกไข่(ovulation stage) LH เพิ่มขึ้นอย่างมากมีผลต่อแกรเฟียนฟอลลิเคิลทำให้แตกออกไข่จึงหลุดออกมา และเคลื่อนที่เข้าสู่ปีกมดลูก 3.ระยะหลังตกไข่(corpusluteum stage) ส่วนฟอลลิเคิลที่แตกออกจะเปลี่ยนเป็นคอลพัสลูเทียม และส่วนนี้สร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนและฮีสโทรเจนกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนามากขึ้นพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่
56
The human life cycle ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศทั้งพ่อและแม่ ต่างต้องมีกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีจำนวนโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์ร่างกาย ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดในกระบวนการแบ่งเซลล์แบบพิเศษ ที่เรียกว่า meiosis เซลล์ที่มีสมบัติสามารถแบ่งเซลล์แบบ meiosis นี้ได้ คือ gonad ในเพศหญิงจะพบเซลล์ชนิดนี้ในรังไข่ (ovary) ซึ่งจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เรียกว่า ไข่ (ovum) ส่วนในเพศชายจะพบเซลล์ชนิดนี้ในอัณฑะ (testis) ซึ่งสร้างเซลล์สืบพันธุ์เรียกว่าสเปิร์ม (sperm) เมื่อเกิดการปฏิสนธิระหว่างสเปิร์มและไข่ ทำให้เกิดไซโกตซึ่งเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยใหม่ต่อไป ในคนจำนวนโครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์ซึ่งเป็น haploid cell = 23 (n=23) และจำนวนโครโมโซมในไซโกต และเซลล์ร่างกายซึ่งเป็น diploid cell = 46 (2n=46).
57
การปฏิสนธิ 1. มีการรวมตัวกันของอสุจิและไข่
2. เป็นการรวมโครโมโซมชนิดแฮพลอยด์ที่มีอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ตัว ให้กลายเป็นเซลล์ชนิดดิพลอยด์เซลล์เดียว คือ ไซโกต 3. การปฏิสนธิยังช่วยกระตุ้นไข่ ในขณะที่อสุจิไปสัมผัสที่ผิวไข่ ทำให้เกิดกระบวนการเมแทบอลิซึมในไข่ที่ทำให้เกิดการพัฒนาของตัวอ่อนต่อไป
58
วิธีการักษาภาวะ การมีบุตรยาก
1. การสร้างทารกหลอดแก้ว (in vitro fertilization)
59
2. อิ๊กซี่(ICS : Intracytoplasmic Sperm Injection)
61
ขั้นตอนในการทำอิกซี่ ขั้นตอนในการทำอิกซี่จะเหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้ว คือ 1. กระตุ้นไข่เพื่อให้มีการเจริญของไข่ครั้งละ หลาย ๆ ใบ 2. ติดตามการเจริญของไข่โดยการเจาะเลือด วัดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูจำนวนและขนาดของไข่ 3. เมื่อไข่สุกแล้ว ฉีดยาให้มีการตกไข่ 4. ทำการเก็บไข่ โดยใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด ภายใต้การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ภายหลังฉีดยาให้ไข่ตกประมาณ 36 ชม.
62
5. หลังการเก็บไข่ ให้ฝ่ายชายเอาน้ำอสุจิออกแล้ว เตรียมอสุจิโดยการปั่นล้างด้วยน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อน เช่นเดียวกับกรรมวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว แต่แทนที่จะนำตัวอสุจิผสมกับไข่แล้วทิ้งไว้ในตู้เลี้ยงตัวอ่อน จะทำขั้นตอนต่อไปนี้แทน 5.1 นำไข่ที่ได้ไปย่อยเอาเซลล์พี่เลี้ยงออกก่อนให้เหลือแต่ตัวไข่ 5.2 จากนั้นใช้เข็มแก้วที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผม จับตัวอสุจิหนึ่งตัวไว้ 5.3 จับไข่ให้อยู่กับที่โดยใช้เข็มแก้วอีกอันหนึ่งดูดไข่ไว้ 5.4 นำตัวอสุจิมาฉีดเข้าภายในเซลล์ไข่ 5.5 ติดตามดูการผสมของไข่กับอสุจิ ใน ชม. ต่อมา 5.6 วันถัดมา (48-72 ชม. หลังเก็บไข่) ตัวอ่อนจะมีการแบ่งเซลล์เป็น 2, 3, 4… 8 เซลล์ และพร้อมที่จะนำกลับไปใส่คืนสู่โพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการฝังตัว
63
การทำกิ๊ฟต์ (GIFT:Gamete Intra Fallopian Transfer)
64
3. การทำกิ๊ฟต์(GIFT : Gamete Intra Fallopian Transfer)
โดยการนำเอาไข่ออกมาเลือกที่สมบูรณ์ แล้วนำเครื่องมือที่นำอสุจิและเซลล์ไข่ ใส่ เข้าไปในท่อนำไข่เพื่อให้มีการผสมและตั้งครรภ์แบบธรรมชาติ แต่ในกรณีนี้ต้องไม่มีปัญหาที่ปีกมดลูก
65
ซิ๊ฟ (ZIFT : Zygote Intrafallopian Transfer)
การเก็บไข่ โดยแทงเข็มผ่านทางช่องคลอดเข้าสู่รังไข่โดยตรงซึ่งสามารถเห็นได้จากอัลตราซาวด์ หรือผ่านทางหน้าท้องไปที่รังไข่ การเก็บสเปิร์ม โดยการหลั่งภายนอก (masturbation) เลือกสเปิร์มที่แข็งแรงเท่านั้น ซึ่งถ้าต้องการเก็บไว้ใช้ภายหลังสามารถเก็บได้ไว้ในไนโตรเจนเหลวเป็นเวลาหลายปีโดยไม่เสื่อมสภาพ การปฏิสนธินอกร่างกาย นำไข่และสเปิร์มผสมรวมกันในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงจนเป็นตัวอ่อน (zygote)
66
ซิ๊ฟ (ZIFT : Zygote Intrafallopian Transfer)
67
การย้ายฝากตัวอ่อน (embryo transfer) เมื่อตัวอ่อนแบ่งเซลล์ได้ 2-8 เซลล์นำตัวอ่อนใส่กลับไปยังโพรงมดลูก ให้ฮอร์โมนช่วยในการฝังตัวอ่อน
68
การผสมเทียม (Artificial insemination)
การฉีดเชื้อผสมเทียมในโพรงมดลูก (Intrauterine Insemination-IUI) คือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง โดยใช้ท่อพลาสติกเล็กๆ สอดผ่านปากมดลูกแล้วฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในช่วงที่มีหรือใกล้กับเวลาที่มีไข่ตก
69
การเจริญเติบโตของสัตว์
growth หมายถึงอะไร และ development หมายถึงอะไรมีความหมายเหมือนกันหรือไม่
70
การเจริญเติบโต (development)
การแบ่งเซลล์(cell division) การเพิ่มขนาดของเซลล์หรือการเติบโต(growth) การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ(cell differentiation) กระบวนการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นอวัยวะและการเกิดเป็นรูปร่าง(morphogensis)
71
cell differentiation
72
กราฟแสดงการเจริญเติบโตของสัตว์
73
การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
74
การเจริญเติบโตของสัตว์ ขึ้นกับชนิดของไข่ชนิดต่างๆ
75
การจำแนกชนิดของไข่ 1. ใช้ปริมาณของไข่แดง (amount of yolk) ในการจำแนกชนิดของไข่ แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ - ไข่ชนิดอะเลซิทัล (alecithal egg) หมายถึง ไข่ที่มีไข่แดงสะสมอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลยได้แก่ไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม - ไข่ชนิดไมโครเลซิทัล (microlecithal egg) เป็นไข่ที่มีไข่แดงสะสมอยู่เล็กน้อยได้แก่ไข่ของหอยเม่น ปลาดาว เป็นต้น - ไข่ชนิดมีโซเลซิทัล (mesolecithal egg) หมายถึง ไข่ที่มีไข่แดงสะสมอยู่พอสมควร ได้แก่ ไข่ของพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ไข่ของปลากระดูกแข็ง - ไข่ชนิดพอลิเลซิทัล (polylecithal egg) หมายถึง ไข่ที่มีไข่แดงบรรจุเป็นอาหารสะสมอยู่เป็นจำนวนมากได้แก่ ไข่ของสัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน รวมทั้งไข่แมลงด้วย
76
2. ใช้การแพร่กระจายของไข่แดง (distribution of yolk) ในการจำแนกชนิดของไข่ โดยวิธีนี้
แบ่งไข่ออกเป็น 2 แบบ คือ - ไข่ชนิดไอโซเลซิทัล (isolecithal egg) เป็นไข่ที่มีการแพร่กระจายของไข่แดงในไซโทพลาซึมอย่างสม่ำเสมอไข่แบบนี้มักมีขนาดเล็ก ได้แก่ ไข่ของดาวทะเล เม่นทะเล - ไข่ชนิดเทโลเลซิทัล (telolecithal egg) เป็นไข่ที่มีไข่แดงรวมตัวกันอยู่ ทางด้านใดด้านหนึ่งของไข่ เราจะแบ่งไข่ออกเป็น 2 ส่วน โดยถือเอาการรวมตัวของไข่แดงเป็นหลักในการแบ่งด้านบนของไข่จะมีไข่แดงน้อยจะมีนิวเคลียสอยู่ด้วย เรียกบริเวณว่า “แอนิมัลโพล (animal pole) ” ส่วนด้านล่างจะมีไข่แดงสะสมอยู่มาก เรียกว่า “วีจีทัลโพล (vegetal pole) ” ไข่แดงมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์มาก
78
ไข่ของหอยเม่น microlecithal eggหรือ isolecithal egg
79
ไข่ของพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
81
ไข่สัตว์ปีก ไข่สัตว์เลื้อยคลาน polylecithal egg
83
1. การเจริญเติบโตของกบ
84
1.1 การเจริญเติบโตของกบระยะเอมบริโอ
ตั้งแต่ ไข่จนเป็นลูกอ๊อด 1.1.1 ระยะคลีเวจ(cleavage) 1.1.2 ระยะบลาสทูลา(blastula)เรียก กระบวนการบลาสทูเลชั่น (blastulation) 1.1.3 ระยะแกสทรูลา (gastrula)เรียก กระบวนการแกสทรูเลชั่น (gastrulation)
86
ระยะบลาสทูลา(blastula)
88
ระยะแกสทรูลา (gastrula)
90
1.2 การเจริญเติบโตของกบระยะหลังเอมบริโอ
ตั้งแต่ กบลูกอ๊อดจนเป็นตัวเต็มวัย มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในการเจริญระยะหลังเอมบริโอ (metamorphosis)
91
2. การเจริญเติบโตของไก่
92
1.1 การเจริญเติบโตของไก่ระยะเอมบริโอ
ตั้งแต่ ไข่จนเป็นลูกเจี๊ยบ 1.1.1 ระยะคลีเวจ(cleavage) 1.1.2 ระยะบลาสทูลา(blastula)เรียก กระบวนการบลาสทูเลชั่น (blastulation) 1.1.3 ระยะแกสทรูลา (gastrula)เรียก กระบวนการแกสทรูเลชั่น (gastrulation)
93
egg of Chicken anatomy
94
ระยะคลีเวจ(cleavage)
96
ระยะบลาสทูลา(blastula)
97
ระยะแกสทรูลา (gastrula)
99
1.2 การเจริญเติบโตของไก่ระยะหลังเอมบริโอ
ตั้งแต่ลูกเจี๊ยบจนเป็นไก่ ไม่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในการเจริญระยะหลังเอมบริโอ
100
1. ระยะเอมบริโอ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนมีอายุ 8 สัปดาห์ขณะอยู่ในครรภ์มารดา
การเจริญเติบโตของคน 1. ระยะเอมบริโอ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนมีอายุ 8 สัปดาห์ขณะอยู่ในครรภ์มารดา
102
2. การเจริญเติบโตของคนระยะฟีตัส (fetus)
106
3. การเจริญเติบโตของคนระยะหลังคลอด
109
Ametamorphosis or withoutmetamorphosis
110
Gradual metamorphosis
111
แมลงสาบ
112
complete metamorphosis
115
เตรียมตัวสอบย่อย..อิอิ
จบบทแล้วนะ เตรียมตัวสอบย่อย..อิอิ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.