ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAmberlynn Anderson ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
แนวคิด หลักการ การสื่อสารความหมายและการนำเสนอแนวคิดจากภาพถ่าย
2
Difference >>>>>
3
Difference >>>>>
4
ศิลปะ คือ "ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิด ความงาม และความพึงพอใจ" 1. ความงามทางกาย (Physical Beauty) เป็นความงามของรูปทรงที่กำหนดเรื่องราว หรือเกิดจากการ ประสานสร้างอย่างกลมกลืน ซึ่งเป็นผลจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ 2. ความงามทางใจ (Moral Beauty) ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์ที่แสดงออกมา จากงานศิลปะหรือ ที่ผู้ชมสัมผัส ได้จากงานศิลปะนั้น ๆ ในงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ๆ มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภท ของงาน เจตนาของผู้สร้างและการรับรู้ของผู้ชมด้วย ที่มา :
5
ประเภทของ ศิลปะ >>>>
ศิลปะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. วิจิตรศิลป์ (Fine Art) เป็นการถ่ายทอดงานศิลปะที่มุ่งเน้นความงาม ความพึงพอใจ สุขใจเป็นหลัก หรือถ่ายทอดออกมาโดยปราศจากความคาดหวัง 1.1 จิตรกรรม (Painting) งานเขียนลงบนวัตถุต่างๆ เป็นแบบ 2 มิติ มองเห็นด้านกว้างและยาว (สุรพงษ์ บัวเจริญ : 2554)
6
ประเภทของ ศิลปะ >>>>
1.2 ประติมากรรม (Sculpture) คือ การสร้างงานที่เป็นรูปทรง 3 มิติ เช่น งานปั้น 1.3 สถาปัตยกรรม (Architecture) คือ ศิลปะที่สร้างสรรค์อยู่บนสิ่งก่อสร้าง อาคารรูปแบบต่างๆ
7
ประเภทของ ศิลปะ >>>>
1.4 ภาพพิมพ์ (Print) เป็นการสร้างงานบนแม่พิมพ์มีลักษณะ 2 มิติ 1.5 สื่อผสม (Mixed media) คือ ศิลปะที่สามารถนำวิจิตรศิลป์หลายรูปแบบมาผสมกัน
8
ประเภทของ ศิลปะ >>>>
1.6 ศิลปภาพถ่าย (Photography) คือ การถ่ายภาพเพื่อสร้างสรรค์ 1.7 วรรณกรรม (Literature) คือ งานประพันธ์ประเภทต่างๆ ที่มีศิลปะในการใช้ภาษาอย่างไพเราะ
9
ประเภทของ ศิลปะ >>>>
1.8 ดนตรีและนาฏศิลป์ (Music and drama) คือ การเรียบเรียงผสมผสานเสียงผ่านเครื่องดรนตรีประเภทต่างๆให้เกิดความไพเราะในการรับฟัง
10
ประเภทของ ศิลปะ >>>>
2. ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) คือ การถ่ายทอดผลงานที่มุ่งประโยชน์ในการนำไปใช้งาน สนองตอบความต้องการเป็นหลัก โดยความงามเป็นรองแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 2.1 พาณิชย์ศิลป์ (Commercial Art) คือ ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อธุรกิจ เช่นภาพในสื่อโฆษณาต่างๆ
11
ประเภทของ ศิลปะ >>>>
2.2 มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) คือ ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตกแต่งภายใน เครื่องใช้และอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในอาคาร 2.3 ศิลปหัตถกรรม (Art and Crafts) คือ ศิลปะที่สร้างสรรค์เพื่อผลงานด้วยมือ เพื่อประโยชน์ในการทำงานด้วยประเพณีและวิถีชีวิต
12
ประเภทของ ศิลปะ >>>>
2.4 อุตสหกรรมศิลป์ (Industrial Art) คือ ศิลปะที่มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยความงามเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์
13
ศิลปะการถ่ายภาพ คือ “ศิลปะการถ่ายภาพ” คือ การถ่ายทอดสิ่งที่มองเห็น ให้เกิดคุณค่าทางความงาม คิด อารมณ์ ความรู้สึก และเกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ต่อการดำรงชีวิตแลพเกิดรูปแบบการมองเป็นทิศทางเดียวกัน เป็นศิลปะประเภทวิจตรศิลป์ สัมผัสความสวยงามด้วย การมองเห็น หรือ ทัศนศิลป์ (สุรพงษ์ บัวเจริญ : 2554)
14
การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร คือ .........
“การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร” หมายถึง การถ่ายเพื่อนำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร (กนกรัตน์ ยศไกร: 2550) ประเภทของการถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร 1. ภาพถ่ายที่ระลึกในครัวเรือน 2. ภาพถ่ายที่ใช้ในงานต่างๆ เช่น ประกอบการสอน อธิบาย 3. ภาพถ่ายที่นำมาประยุกต์เป็นงานศิลปะ 4. ภาพถ่ายที่ใช้ในวงการสื่อสารมวลชน
15
“ภาพเพียงภาพเดียว ดีกว่าคำพูดพันคำ”
“A PICTURE SAYS MORE THAN A THOUSAND WORDS” “ภาพเพียงภาพเดียว ดีกว่าคำพูดพันคำ” สุภาษิตไทย : สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
16
การรับรู้จากภายนอก ตา ถือว่าเป็นอวัยวะที่สามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
การสื่อสารของมนุษย์ ใช้คำพูด + ภาษา แปลความหมาย สมอง จินตนาการเป็นภาพ (แตกต่างกันตามประสบการณ์) ที่เกิดจาก การเรียนรู้ + สิ่งที่เคยพบเห็น
17
ความหมายของ “การถ่ายภาพ”
การถ่ายภาพ = PHOTOGRAPHY มาจากภาษากรีก PHOS หรือ PHOTOS = LIGHT (แสง) GRAPHOS = to write (การเขียน) PHOTOGRAPHY = “การเขียนภาพด้วยแสงสว่าง”
18
ความสำคัญของ “การถ่ายภาพ”
1. ภาพถ่ายใช้เป็นภาพนิ่ง เพื่อแสดงรายละเอียดของวัตถุที่เคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจนเป็นเวลานานตามต้องการ เช่น สัตว์กำลังวิ่ง หรือ รถกำลังแล่น 2. ภาพถ่ายสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ได้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ความเป็นจริง ภาพถ่ายสามารถเล่า บรรยายเหตุการณ์แทนคำพูดได้ และสามารถทำให้ผู้สามารถตีความได้ใกล้เคียงกับความจริงมากกว่าการบรรยายด้วยคำพูด
19
ความสำคัญของ “การถ่ายภาพ”
3. ภาพถ่ายสามารถสื่อสารได้ด้วยตนเองภาพสามารถสื่อสารกับผู้ชมหรือผู้รับได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องผ่านสื่ออื่นๆ 4. ภาพถ่ายสามารถแพร่กระจายได้สะดวกและรวดเร็ว ภาพถ่ายสามารถแพร่กระจายได้โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต
20
แสดงจำนวนร้อยละของการเกิดการเรียนรู้ จากประสาทสัมผัส
หู 10 % ตา 83 % จมูก 4 % ปาก 1 % สัมผัส 2 %
21
ประโยชน์ของ “การถ่ายภาพ”
1. ภาพถ่ายช่วยสื่อความหมาย (Communicate) และถ่ายทอดข่าวสารไปยังผู้ดู เช่น ภาพข่าวใน หนังสือพิมพ์ 2. ภาพถ่ายเป็นประโยชน์ในการศึกษาและงานวิชาการเพราะการอธิบายเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นนามธรรมทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ยากและช้า 3. ภาพถ่ายเป็นประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย เช่น ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ หรือ การ X-Ray
22
ประโยชน์ของ “การถ่ายภาพ”
4. ภาพถ่ายเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เช่น สตูดิโอถ่ายภาพ wedding studio ช่างภาพอิสระ นักข่าว 5. ภาพถ่ายใช้เป็นหลักฐานในเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัว passpot 6. การถ่ายภาพเป็นการแสดงออกทางศิลปะ แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ 7. ภาพถ่ายช่วยบันทึกภาพในอดีต ภาพถ่ายบุคคล ภาพเหตุการณ์
23
ประโยชน์ของ “การถ่ายภาพ”
8. ภาพถ่ายเป็นประโยชน์ทางด้านการค้า การประชาสัมพันธ์ และโฆษณา เช่น poster postcard 9. เพื่อความเพลิดเพลิน เป็นงานอดิเรก มีความสุขเมื่อได้ถ่ายภาพ 10. ความรู้ในการถ่ายภาพเป็นพื้นฐานในการเรียนด้านภาพยนตร์
24
แนวทาง “การถ่ายภาพ” แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ
1. แนวทางที่มุ่งประโยชน์ในแง่ของความเป็นจริง เป็นการถ่ายภาพตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งบางครั้งอาจไม่ใช่ภาพ ที่สวยงาม ดูรกรุงรัง วุ่นวาย ไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของภาพ เป็นการถ่ายทอดธรรมชาติให้ออกมาเหมือนจริงมากที่สุดเช่น ภาพข่าวเหตุการณ์จริง ภาพข่าวจี้ตัวประกันตามหน้าหนังสือพิมพ์ ภาพวัสดุอุปกรณ์ เครื่องยนต์ เรียกว่า การถ่ายภาพแบบ objective
25
2. แนวทางการถ่ายภาพที่มุ่งความงามทางศิลปะ และอาจมีการมุ่งหวังประโยชน์ควบคู่กันไปด้วย ช่างภาพจะต้องสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกของตนเองลงไปด้วย ภาพถ่ายลักษณะนี้จะมีการจัดองค์ประกอบของภาพ แสงเงา ความงดงาม มีคุณค่า ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของช่างภาพไปยังผู้ดูและมีความเป็นศิลปะมากกว่าแนวทางแรก เรียกว่า แนวทางการถ่ายภาพแบบ subjective
26
การถ่ายภาพที่ดีควรประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ
1. ภาพถ่ายนั้นต้องถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปยังผู้ดูภาพได้ คือ ต้องสามารถสื่อสารในสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร ผู้ดูทราบทันทีว่าเป็นรูปของอะไร มีความชัดเจนเพียงพอ 2. ภาพถ่ายนั้นต้องถ่ายทอดความคิดของช่างภาพ ว่าต้องการสื่ออะไรและสร้างความคิดให้ผู้ชมได้ 3. ภาพถ่ายนั้นต้องสามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกให้กับผู้ดูภาพเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เช่น ภาพเด็กกำลังวิ่งเล่น ก็สื่อถึงความสดใส ไร้เดียงสา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.