ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา
2
ขั้นตอนการสอบสวนโรค (STEPS OF INVESTIGATION)
1. ยืนยันการวินิจฉัยโรค 2. ยืนยันการระบาดของโรค 3. ค้นหาผู้ป่วย รายแรก ๆ รายใหม่ 4. รวบรวมข้อมูลทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เวลา สถานที่ และบุคคล 5. ตั้งสมมุติฐานและพิสูจน์สมมุติฐาน 6. กำหนดมาตรการป้องกันเพื่อควบคุมการระบาดของโรค 7. เขียนรายงาน เพื่อรายงานผู้บริหาร เพื่อพิมพ์เผยแพร่
3
คุณภาพการสอบสวนกับรายงาน
การสอบสวนที่ดี รายงานที่ดี การสอบสวนที่แย่ รายงานที่แย่ ที่มา: นพ.วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์
4
GOLDEN RULE OF REPORT WRITING
1. CONCISE กระชับ 5. PRESENTABLE นำเสนอได้ชัดเจน 6. INTERESTING น่าสนใจ 2. CLEAR ชัดเจน 3. ACCEPTABLE เป็นที่ยอมรับ อ่านได้ง่าย 4. READABLE GOLDEN Rule กฎเหล็ก(ข้อควรปฏิบัติ)ของการเขียน
5
WHY? วัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานสอบสวนโรค
2. เพื่อเสนอข้อคิดเห็นแก่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง 1. เพื่อรายงานผลการสอบสวนทางระบาดวิทยา วัตถุประสงค์หลักของการเขียนรายงานสอบสวนโรค บอกว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น มีมาตรการอะไรที่ใช้ได้ผล และมีปัญหาอุปสรรคอะไรที่จะต้องแก้ไขในครั้งต่อๆ ไป เป็นบันทึกเหตุการณ์ระบาดของโรคหรือปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้น จะทำให้เรารู้ว่าปัญหาในพื้นที่เรามีอะไรบ้าง ถ้ารวบรวมแต่ละเหตุการณ์มาสงเคราะห์ก็จะทำให้เราเห็นรายละเอียดของปัญหาชัดเจนขึ้น เช่นจุดอ่อนจุดแข็งของระบบเฝ้าระวัง ปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรคมีอะไรบ้าง ซึ่งสามารถที่จะนำไปวางแผนป้องกันควบคุมโรคล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. เพื่อบันทึกเหตุการณ์ระบาดของโรคหรือปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้น 3. เพื่อเป็นองค์ความรู้และแนวทางในการสอบสวนโรคในครั้งต่อไป
6
ประเภทของรายงานการสอบสวน
1. รายงานการสอบสวนเสนอผู้บริหาร 1.1 รายงานการสอบสวนเบื้องต้น (Preliminary Report) 1.2 รายงานการสอบสวนสรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report) 2. รายงานการสอบสวนฉบับสมบูรณ์ (Full Report) 3. รายงานบทความวิชาการ (Scientific Article)
7
1. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน
เบื้องต้น (Preliminary Report)
8
องค์ประกอบของรายงานการสอบสวนเบื้องต้น
ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ความเป็นมา ผลการสอบสวนโรค กิจกรรมควบคุมโรคที่ทำไปแล้ว แนวโน้มของการระบาด สรุปความสำคัญ และเร่งด่วน ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ ความยาว 1-2 หน้ากระดาษ A4
9
บทนำหรือ ความเป็นมา วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น
เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ สอบสวนการระบาด ขนาดของปัญหาที่ได้รับแจ้ง เริ่มสอบสวนและเสร็จสิ้นเมื่อไร วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค
10
วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น
ผลการสอบสวนโรค สถานการณ์ที่เกิดขึ้น จำนวนผู้ป่วย เสียชีวิต ผู้ป่วยเป็นใคร หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงใด แหล่งรังโรคและวิธีถ่ายทอดโรค สาเหตุของการระบาด ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการระบาด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศึกษาสิ่งแวดล้อม
11
วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น
กิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว ระบุกิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว ระบุหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการควบคุมโรค รายงานผลการควบคุมโรคในเบื้องต้น
12
พยากรณ์แนวโน้มการระบาด โดยประมวลจาก
วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น แนวโน้มของการระบาด พยากรณ์แนวโน้มการระบาด โดยประมวลจาก จำนวนผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัยที่พบ พบสาเหตุหรือแหล่งรังโรคหรือไม่ มาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพหรือไม่ อยู่ในฤดูการระบาดของโรคหรือไม่
13
วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น
สรุปความสำคัญทางสาธารณสุข และความเร่งด่วน สรุปขนาดของปัญหา และผลกระทบต่อประชาชน เป็นการระบาดหรือเป็นโรคอุบัติใหม่หรือไม่ ต้องการความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ ระดับของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว
14
วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น
ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ มาตรการควบคุมโรคเดิมที่ต้องดำเนินการต่อ ระบุมาตรการใหม่ที่ต้องดำเนินการเพิ่ม ระบุหน่วยงานที่ต้องประสานงานดำเนินการ ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังโรคต่อเนื่อง
15
บันทึกข้อความ ส่วนราชการ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โทร.0-2590-1882
ส่วนราชการ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โทร ที่ สธ / วันที่ สิงหาคม 2549 เรื่อง รายงานการสอบสวนโรคกรณีผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดนก อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี เรียน อธิบดีกรมควบคุมโรค ความเป็นมา วันที่ 3 สิงหาคม เวลา น. สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ว่ามีผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดนกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลพบุรี จำนวน 1 ราย จึงได้ส่งทีมแพทย์ในโครงการฝึกอบรมสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยาและคณะ ออกดำเนินการสอบสวนโรค ร่วมกับทีมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 3 สิงหาคม 2549โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ศึกษาวิธีการถ่ายทอดโรค และเสนอมาตรการควบคุมป้องกันโรค ผลการสอบสวน ผู้ป่วยชื่อ ด.ญ.แก้วทิพย์ เชียงอินทร์ อายุ 9 ปี อาศัยอยู่กับยายและพี่สาว 1 คน ที่บ้านเลขที่ 15 หมู่ 8 ตำบลยางราก อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ เริ่มป่วยช่วงเย็นของวันที่ 31 กรกฎาคม ด้วยอาการไข้สูง ไอเล็กน้อย ไม่มีน้ำมูก อาเจียน ไม่มีท้องเสีย ได้รับประทานยาลดไข้กลุ่มแอสไพริน ช่วงเช้าวันที่ 2 สิงหาคม 2549 ไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยยางราก ได้ยาลดไข้ไปรับประทาน ขณะนั้นผู้ป่วยรู้สึกตัวดี สามารถพูดคุยได้ดี ไม่มีอาการหอบเหนื่อย แต่มีไข้สูงตลอด เวลา ต่อมาเวลาประมาณ 11.00น. ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเกร็ง ตาเหลือก ปลายมือปลายเท้าเขียว หอบเหนื่อย ยายและภรรยาผู้ใหญ่บ้านจึงนำส่งโรงพยาบาลโคกเจริญ ตรวจพบ มีไข้สูง 38.5 °C, BP 98/50 mmHg, PR 130/min, RR 48/min ใส่ท่อช่วยหายใจ และส่งต่อไปโรงพยาบาลลพบุรี (ระหว่างทางผู้ป่วยยังคงรู้สึกตัวและดึงท่อช่วยหายใจออก จึงได้ใส่ท่อช่วยหายใจอีกครั้งที่โรงพยาบาลหนองม่วง) ที่โรงพยาบาลลพบุรี ถ่ายภาพรังสีทรวงอกพบมีความผิดปกติบริเวณปอดด้านบนทั้งสองข้าง (Upper Bilateral Infiltration of lungs) ผลการตรวจเลือด Hb 14% Hct 46% WBC 4,310 /mm3 PMN 46% Lymphocytte 41% Platelet count 336,000 /mm3 ทำการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วยวิธี Rapid test ให้ผลลบ ต่อมามีอาการหอบเหนื่อยมาก ขึ้น ภาพถ่ายรังสีทรวงอกพบมีความผิดปกติเพิ่มขึ้น ระบบการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตเวลา 06.30น.ของวันที่ 3 สิงหาคม 2549ได้ทำเก็บตัวอย่างเสมหะจาก การ suction, nasopharyngeal swab, เลือด (Cloted Blood) ส่งตรวจหาเชื้อ Enterovirus 71, H5N1, และ Dengue titer ที่ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการตรวจ พบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H1
16
สิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านของผู้ป่วยมีโรงเรือนเล็กสำหรับเลี้ยงไก่บ้าน 20 ตัวมานานกว่า 5 ปี ลักษณะการเลี้ยงแบบปล่อยหากินอิสระ ในช่วงวันที่ กรกฎาคม พ่อ แม่ และพี่ชาย กลับจากกรุงเทพฯ ได้เชือดไก่ และนำมาปรุงอาหาร จำนวน 2 ตัว แต่ผู้ป่วยไม่ได้ช่วยในขั้นตอนการเชือด ถอนขน ชำแหละ มีเพียงนำไก่ที่เตรียมปรุงอาหารเก็บในตู้เย็น ซึ่งให้ประวัติว่าขณะนั้นไก่เป็นปกติดี และขณะที่ทำการสอบสวนโรคพบว่าไก่ที่เลี้ยงในบ้านและบ้านข้างเคียง จำนวนทั้งหมด ประมาณ 150 ตัว ยังคงแข็งแรง โดยไม่มีประวัติไก่ป่วยตายตั้งแต่ต้นปี ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์ในปีที่ผ่านมา ไม่พบการติดเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีก(H5N1) ในหมู่บ้านนี้ มีเพียงรายงานไก่ป่วยตายผิดปกติเฉพาะในหมู่บ้านข้างเคียงได้แก่ หมู่ 1 และ 4 ตำบลโคกเจริญ จากการสอบสวนโรค ไม่พบผู้เสียชีวิตรายอื่นที่อาจเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยรายนี้ ผู้สัมผัสใกล้ชิดในชุมชนประกอบด้วย สมาชิกในครอบครัว 5 คน เพื่อนบ้าน และเพื่อนของผู้ป่วยอีก 16 คน และบุคลากรทางการแพทย์ใน โรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง พบผู้ที่มีไข้เพียง 4 คนที่อาศัยในหมู่บ้านเดียวกับผู้ป่วย จึงได้เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากบริเวณจมูกและเลือด ทั้งสี่รายส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วย อยู่ระหว่างรอผล ข้อพิจารณา ผู้ป่วยที่เสียชีวิตรายนี้ ตรวจพบมีการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H1 ขณะนี้ยังรอผลการตรวจหาเชื้อก่อโรคชนิดอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุร่วมด้วย ในส่วนของการควบคุมป้องกันโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ได้ดำเนินการเฝ้าระวังกลุ่มประชาชนในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสุขภาพทุกวัน และติดตามอาการผู้สัมผัสอย่างใกล้ชิดแล้ว ข้อเสนอ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
17
2. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน
ฉบับสมบูรณ์ (Full report)
18
องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (1)
ชื่อเรื่อง (Title) ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค (Principal Investigator & Team) บทคัดย่อ (Abstract) บทนำหรือความเป็นมา (Introduction or Background) วัตถุประสงค์ (Objectives) วิธีการศึกษา (Methodology) ผลการสอบสวน (Results)
19
องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (2)
มาตรการควบคุมและป้องกันโรค (Prevention & Control Measures) วิจารณ์ผล (Discussion) สรุปผล (Conclusion) ข้อเสนอแนะ (Recommendations) ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวน (Limitations) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) เอกสารอ้างอิง (Reference)
20
ชื่อเรื่อง องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ - สั้น กระชับ
- สั้น กระชับ - ตรงประเด็น - ความหมายครบถ้วน
21
ผู้รายงานและทีมสอบสวน
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผู้รายงานและทีมสอบสวน - ชื่อ - หน่วยงาน - ตำแหน่ง
22
บทคัดย่อ องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
บทนำ (และวัตถุประสงค์) สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา วิธีการศึกษา คำสำคัญ - ไม่เกิน 1 หน้า A4 ( คำ) - หัวข้อหลัก - สรุปย่อรายงาน เป็นเนื้อความย่อที่เสนอประเด็นสำคัญของการสอบสวน สั้น ไม่ควรเกิน คำ ควรเขียนสุดท้าย ภายหลังเขียนส่วนอื่น ๆ เสร็จสิ้นแล้ว บทคัดย่อจะเป็นเครื่องตัดสินใจให้ผู้อ่านว่าจะอ่านต่อไปหรือไม่ หลีกเลี่ยง ตัวย่อ เช่น รร. เป็นต้น ระบุเอกสารอ้างอิง ตาราง หรือรูปภาพในบทคัดย่อ การเขียนผลการศึกษา หรือข้อสรุป ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องเลย
23
บทนำหรือ ความเป็นมา องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case บอกมูลเหตุของการออกไปสอบสวนโรค ขนาดของปัญหา ในรายละเอียดของการสอบสวนโรคเริ่มจากบทนำ เป็นส่วนที่บอกถึงมูลเหตุของการออกไปสอบสวนโรค การได้รับข่าวการเกิดโรคจากที่ใด เมื่อไหร่ ใครเป็นผู้แจ้ง คณะที่ออกไปร่วมสอบสวนประกอบด้วยใครบ้าง เรื่มสอบสวนตั้งแต่เมื่อไหร่ สิ้นสุดเมื่อไหร่ คณะสอบสวนประกอบด้วยหน่วยใด เริ่มสอบสวนและ เสร็จสิ้นเมื่อไหร่
24
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค เป็นตัวกำหนดแนวทางและขอบเขตในการหาคำตอบในการสอบสวนโรค ให้ระบุวัตถุประสงค์เฉพาะของการสอบสวนโรค เช่น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคตามบุคคล เวลา สถานที่ เพื่อค้นหาแหล่งโรค วิธีการถ่ายทอดโรค และผู้สัมผัสโรค เพื่อหามาตรการในการป้องกันควบคุมโรคอื่นๆ ตามแต่กรณี เช่น ศึกษาประสิทธิภาพวัคซีน เป็นส่วนที่สำคัญมากในการสอบสวนโรค เป็นตัวกำหนดแนวทางและขอบเขตในการหาคำตอบในการดำเนินการสอบสวนโรค ซึ่งวัตถุประสงค์ของการออกไปสอบสวนโรค แต่ละโรคไม่เหมือนกัน เช่น ไข้เลือดออก ยืนยันการวินิจฉัย หาสถานที่รับเชื้อ ประเมินกิจกรรมควบคุมโรค HFM หาเชื้อก่อโรค ภาวะแทรกซ้อน ค้นหาว่ามีการผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน หรือมีการระบาดหรือไม่ หาแหล่งโรค สถานที่รับเชื้อ และปัจจัยที่ทำให้มีการถ่ายทอดโรค หามาตรการในการควบคุมโรค
25
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
วิธีการศึกษาที่ใช้ในการสอบสวนโรค - นิยามผู้ป่วย - รูปแบบที่ใช้ในการศึกษา - เครื่องมือที่ใช้ในการสอบสวน - สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล - ศึกษาทางห้องปฏิบัติการ สิ่งแวดล้อม ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ เป็นส่วนที่บอกถึงว่าการสอบสวนโรคครั้งนี้ มีวิธีการศึกษาอย่างไร บอกถึงเครื่องมือที่ใช้ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ อธิบายถึงคำจำกัดความ (ผู้ป่วย กลุ่มควบคุม ปัจจัยเสี่ยง) การเลือกตัวอย่าง การออกแบบการศึกษา เครื่องมือ การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ และกระบวนการอื่นๆ อธิบายถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ การอธิบายต้องชัดเจน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีรายละเอียดเพียงพอให้ผู้อื่นไปทำการศึกษาต่อได้ Case-control study Cohort study
26
วิธีการศึกษาที่ใช้ในการสอบสวนโรค
1. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ข้อมูลผู้ป่วยได้จาก - ทบทวน / รวบรวม …. (passive case finding) - ค้นหาผู้ป่วย (active case finding) - นิยามที่ใช้ในการค้นหาผู้ป่วย/ผู้สัมผัส - วินิจฉัยผู้ป่วยจากอะไร:- อาการ อาการแสดง ผลLab อะไรบ้าง 2. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (ถ้ามี) รูปแบบการศึกษาใช้ case-control study หรือ cohort study - นิยาม case / control - เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม ถามอะไร 3. การศึกษาสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) สำรวจสภาพแวดล้อม และเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 4. สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนา และเชิงวิเคราะห์ (ถ้ามี)
27
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
ผลการศึกษา 1 3 2 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป เป็นส่วนที่อธิบายสิ่งที่พบ เป็นส่วนที่แสดงผลจากการสอบสวนโรคทั้งหมด นำมาเรียบเรียงตามตัวแปรบุคคล เวลา สถานที่ ประกอบการนำเสนอด้วย ตาราง กราฟ แผนภูมิตามความเหมาะสม การนำเสนอผลต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และวิธีการศึกษา แนวทางการเขียน ยืนยันการเกิดโรค แสดงข้อมูลให้เห็นว่ามีการเกิดโรคจริง อาศัยผลการวินิจฉัยของแพทย์ ผลlab ถ้าไม่มีใช้ข้อมูลอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ยืนยันการวินิจฉัยเบื้องต้น อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
28
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
ผลการศึกษา 1 2 3 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป ยืนยันการระบาด แสดงข้อมูลให้เห็นว่ามีการระบาดเกิดขึ้น กรณี outbreak แสดงจำนวนผู้ป่วยในเหตุการณ์นั้นทั้งหมด กรณี epidemic แสดงข้อมูลเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วย กับค่า median หรือจำนวนผู้ป่วยในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา แสดงข้อมูลให้เห็นว่ามีการระบาดเกิดขึ้น กรณี outbreak แสดงจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด กรณี epidemic แสดงข้อมูลเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยที่พบกับ ค่า median หรือจำนวนผู้ป่วยในช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นชัดถึงพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น อัตราป่วยรายพื้นที่
29
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
ผลการศึกษา 1 2 3 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลประชากร ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เกิดโรค เส้นทางคมนาคมและพื้นที่ติดต่อ ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ข้อมูลสุขาภิบาล สาธารณูปโภค ข้อมูลสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณน้ำฝน
30
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
ผลการศึกษา 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการสำรวจสิ่งแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค ผลการสอบสวนทางระบาดวิทยา ระบาดวิทยาเชิงพรรณา เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของการเกิดโรคตามตัวแปรทางระบาดวิทยาฟ ลักษณะการกระจายของโรคตามบุคคล แสดงอัตราป่วย (Attack rate) ที่เกิดขึ้นทั้งหมด อธิบายถึงกลุ่มอายุ หรือเพศที่มีอัตราป่วยสูงสุด ต่ำสุด และกลุ่มใดเกิดโรคมากที่สุด ลักษณะการกระจายตามเวลา แสดงระยะเวลาเกิดโรค(duration of outbreak) ตั้งแต่รายแรกถึงรายสุดท้าย ระยะฟักตัวโรค epidermic curve บอกหรืออธิบายลักษณะการเกิดโรคเป็นแบบใด ลักษณะการกระจายตามสถานที่ แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการเกิดโรคในแต่ละพื้นที่ ในรูปของ Attack rate เช่น จำแนกตามชั้นเรียน จำแนกตามหมู่บ้าน รวมถึงการทำ spot map แสดงการกระจายของผู้ป่วยตามพื้นที่ โดยแสดงให้เห็นถึงจุดที่เกิดผู้ป่วยรายแรก 4.1 ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา -บุคคล เช่น ตาราง กราฟ -เวลา เช่น epidemic curve สถานที่ เช่น mapping 4.2 ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ - ตารางผลการวิเคราะห์ เช่น RR, OR - สดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
31
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
ผลการศึกษา 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค ถัดจากผลการศึกษาทางระบาดวิทยา เป็นผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แสดงให้เห็นว่า เก็บตัวอย่างในคนและสิ่งแวดล้อม เก็บอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ เก็บตัวอย่างในคนและในผู้ป่วยส่งตรวจอะไรบ้าง เก็บใครบ้างกี่ราย ตรวจด้วยวิธีอะไร ส่งตรวจที่ไหน ผลการตรวจพบอะไร แสดงสัดส่วนของการตรวจพบเชื้อ บอกรายละเอียดของผลการตรวจทั้งหมด ตั้งแต่ตัวเชื้อ ผลการตรวจความจำเพาะของเชื้อ เช่น ดื้อยาของเชื้อ ตรวจหา serotype ประเภทวัตถุตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เก็บจากผู้ป่วย และปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเป็นสาเหตุของการระบาด สถานที่ส่งตรวจ ผลการตรวจที่ได้
32
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
ผลการศึกษา 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค อธิบายเหตุการณ์แวดล้อมที่มีความสำคัญ ต่อการระบาดของโรค สภาพโรงครัว แหล่งน้ำ ส้วม กรรมวิธีการปรุงอาหาร
33
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
ผลการศึกษา 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค เฝ้าระวังโรคต่ออีกเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวของโรค
34
ผลการศึกษา เสนอผลตามลำดับเหตุการณ์ในวิธีการศึกษา
เสนอเฉพาะผลที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่าง ถ้ามีตาราง กราฟ หรือรูปภาพ ต้องใส่หมายเลข กำกับ และเรียงตามเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง จำนวนตาราง กราฟ และรูปภาพ จะได้สูงสุดเท่าไร ขึ้นกับวารสารแต่ละฉบับ ถ้าเสนอตารางแล้วไม่จำเป็นต้องลอกข้อมูลในตารางลงไปในเนื้อเรื่องอีก
35
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
มาตรการควบคุมและป้องกันโรค เพื่อควบคุมการระบาดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ ถัดจากการเขียนผลการศึกษา เป็นมาตรการควบคุมและป้องกันโรค แสดงให้เห็นว่า ในการสอบสวนโรคได้ทำอะไรไปบ้าง ในการกำจัดแหล่งโรค การตัดวงจรการถ่ายทอดโรต และการป้องกันในกลุ่มเสี่ยง และถ้าจะป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดขึ้นอีก จะมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง Agent Host Environment
36
วิจารณ์ผล องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสั้นๆ อภิปรายว่าผลที่ได้ตรงกับวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานหรือไม่โดยเชื่อมโยงกับวรรณกรรมว่าอะไรที่เหมือนเดิม อะไรที่แตกต่าง แตกต่างอย่างไร เพราะอะไร ถัดจากมาตรการควบคุมป้องกันโรค เป็นวิจารณ์ผลการสอบสวนโรค เป็นการแปลผลการสอบสวนและให้เหตุผลการแปลนั้น เริ่มจากอธิบายเหตุการณืที่เกิดขึ้นสั้นๆ ว่าตรงกับวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานของการเกิดโรคหรือไม่ โยงกับวรรณกรรมที่ทบทวน ว่าอะไรที่เหมือนเดิม อะไรที่แตกต่างอย่างไร เพราะเหตุใด ใช้ความรู้ที่ค้นคว้าเพิ่มเติม มาอธิบายการเกิดโรค วิเคราะห์หาสาเหตุและสมมุติฐานให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น วิจารณ์ให้เห็นว่าการเกิดโรคในครั้งนี้ต่าง จากที่ผ่านมาในประเด็นไหนบ้าง บอกว่าการสอบสวนโรคในครั้งนี้ประสบความสำเร็จหรือไม่สำเร็จ เน้นการนำไปใช้ประโยชน์ การให้ประเด็นคำถามการวิจัยสำหรับการศึกษาต่อไป อภิปรายให้เห็นถึงความแตกต่างหรือคล้ายคลึง กับการระบาดในอดีตหรือไม่ อย่างไร วิจารณ์ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการควบคุมโรค เป็นการแปลผลการสอบสวนและให้เหตุผลการแปลนั้น
37
ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค ระบุปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ข้อจำกัดที่พบในขณะสอบสวนโรค บอกแนวทางการแก้ไขปัญหา สำหรับการสอบสวนครั้งต่อไป หัวข้อถัดไปเขียนปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค มีปัญหาอะไรบ้าง ที่ทำให้การสอบสวนเป็นไปไม่ได้อย่างเต็มที่ หรือไม่สามารถตอบคำถามได้ทุกข้อ หรือไม่สามารถตอบตามวัตถุประสงค์ได้ เขียนเป็นข้อๆ และควรมีข้อเสนอแนะไว้ด้วยทุกข้อ จะมีประโยชน์มากในการสอบสวนครั้งต่อไป
38
สรุปผลการสอบสวน องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
ตอบวัตถุประสงค์และสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ยืนยันการเกิดโรคและการระบาด แหล่งรังโรค วิธีถ่ายทอดโรค กลุ่มเสี่ยง ถัดมาเป็นการเขียนสรุปผลการสอบสวนโรค เขียนสรุปตอบวัตถุประสงค์และสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยการสรุปจะต้องตอบประเด็นหลักๆ นี้ - เป็นโรคอะไร ด้วยเหตุผลอะไร เป็นการระบาดหรือไม่ - แหล่งโรคคืออะไร หาได้หรือไม่ได้ - มีวิธีการถ่ายทอดโรคอย่างไร - กลุ่มเสี่ยงคือใคร - ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมีอะไรบ้าง - สถานการณ์ล่าสุดเป็นอย่างไร ยังพบผู้ป่วยหรือไม่ ปัจจัยเสี่ยง สถานการณ์ล่าสุด
39
ให้สอดคล้องและจำเพาะ กับผลการศึกษา
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการควบคุมป้องกันโรค ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงการสอบสวนในครั้งหน้า ให้สอดคล้องและจำเพาะ กับผลการศึกษา
40
องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์
กิตติกรรมประกาศ ผู้ให้ความร่วมมือในการสอบสวนโรค ผู้ให้การสนับสนุนด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผู้ที่ให้ข้อมูลอื่นๆ ประกอบการสอบสวนโรค เอกสารอ้างอิง รูปแบบแวนคูเวอร์ ( Vancouver Style) รูปแบบมาตรฐาน อื่นๆ ตามที่วารสารกำหนด
41
ตัวอย่างรายงานสอบสวนโรค
42
รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ Botulism
จากหน่อไม้อัดปี๊บ ในจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2541 Foodborne botulism from home canned bamboo shoot, Nan province, Thailand, 1998 นพ. พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์1 นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ2 พญ.ลักขณา ไทยเครือ1 นาย ธัญญา วิเศษสุข2 นส.ศุภวรรณ นันทวาส2 นายอนุวัฒน์ ธนะวงศ์4 นส.สุกัลยา เล็กศิริวิไล3 1กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข 2 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน 3 โรงพยาบาลน่าน 4 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าวังผา
43
ความเป็นมา วันที่ 14 เมษายน คณะสอบสวนโรคได้รับทราบข้อมูลจากอายุรแพทย์ของโรงพยาบาลน่าน ว่ามีผู้ป่วย 6 ราย มีอาการทางระบบประสาท ได้แก่ หนังตาตก, พูดไม่ชัด, กลืนลำบาก,แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน โดยเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ เมษายน 2541 และทั้ง 6 รายมาจากอำเภอท่าวังผา แพทย์ได้ให้การวินิจฉัยว่าสงสัยเกิดจากพิษ Botulinum toxin คณะสอบสวนโรคจากกองระบาดวิทยาร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน จึงได้ทำการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 15 –18 เมษายน 2541
44
1. เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค 2. เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค ในแง่ บุคคล เวลา สถานที่ และปัจจัยเสี่ยง 3. เพื่อค้นหาแหล่งที่มาของการแพร่ระบาด 4. เพื่อหาแนวทางในการควบคุม และป้องกันการ แพร่กระจายของโรค
45
วิธีการศึกษา 1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
1.1 ทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน ตั้งแต่วันที่ เมษายน 2541 โดยมีนิยามผู้ป่วยดังนี้ นิยามผู้ป่วย คือผู้ที่มีอย่างน้อย 3 ใน 10 อย่างดังต่อไปนี้ หนังตาตก, กลืนลำบาก, พูดไม่ชัด, เสียงอาการ แหบ, ปากแห้ง, เจ็บคอ, อุจจาระร่วง, อาเจียน, แขนขาอ่อนแรง แบบ symmetrical 1.2 ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา 2.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ทำการศึกษาแบบ Case-control study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค โดยมีกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเปรียบเทียบดังนี้ ผู้ป่วยมีอาการตามนิยามเช่นเดียวกับการศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงพรรณา และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา ในช่วงเวลา เมษายน 2541 กลุ่มเปรียบเทียบ เป็นแม่บ้านที่มาช่วยงานศพของผู้ป่วยในวันที่ 16 เมษายน 2541 เวลา – น. และไม่มีอาการตามนิยามผู้ป่วย
46
3.การศึกษาสิ่งแวดล้อม 3.1 ศึกษาวิธีการผลิตหน่อไม้อัดปี๊ป ในหมู่บ้าน 3.2 สำรวจบ้านที่ผลิตหน่อไม้อัดปี๊ปและจำนวนหน่อไม้อัดปี๊ปที่มี อยู่ในหมู่บ้าน 4. การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ 4.1 เก็บอุจจาระผู้ป่วย 2 ราย ตัวอย่างดินบริเวณรอบร้านขายหน่อไม้ปี๊ปที่ สงสัย และอาหารที่สงสัยอื่นๆ ส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ Clostridium botulinum ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4.2 เก็บตัวอย่างหน่อไม้อัดปี๊ปในบ้านผู้ป่วยและจากร้านที่ขายหน่อไม้ อัดปี๊ปในหมู่บ้าน ส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ Clostridium botulinum ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ตรวจหา botulinum toxin ที่ US Army Medical Research Institue for Infectious Disease
47
1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา 1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา จากการทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน ตั้งแต่วันที่ เมษายน พบผู้ป่วย 9 ราย ซึ่งทั้ง 9 รายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้วอำเภอท่าวังผา จึงได้ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในทั้งสองหมู่บ้านพบผู้ป่วยอีก 4 ราย รวมพบ ผู้ป่วยทั้งสิ้น 13 รายโดยมีลักษณะตาม เวลา สถานที่ และ บุคคลดังนี้
48
รูปที่ 1 จำนวนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ Botulism จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย
หมู่บ้านหนองบัวและดอนแก้ว อ.ท่าวังผา จ.น่าน, เมษายน 41 (N=13) จำนวน (คน) วันที่ เดือน เมษายน 2541
49
ผู้ป่วย 12 รายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว อีก 1 รายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา อัตราส่วนผู้ป่วยชายต่อหญิง เท่ากับ 1 : อายุเฉลี่ย (Median) 44 ปี (อยู่ในช่วง ปี) ผู้ป่วย 2 รายเสียชีวิต 3 วันและ 5 วันหลังจากมีอาการ จากประวัติและการตรวจร่างกาย อายุรแพทย์ผู้ทำการรักษาให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรค Foodborne Botulism โดยมีโรคอื่นๆที่อาจเป็นไปได้ดังนี้ -พิษจากยาฆ่าแมลง (Anticholinergic, organophosphate poisoning) -พิษจากเห็ดพิษบางชนิด (Amanita muscaris poisoning) -พิษจากสารเคมีบางชนิด (Chemical poisoning)
50
รูปที่ 2 ลักษณะทางคลินิก ของผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ Botulism ,
หมู่บ้านหนองบัวและดอนแก้ว อ.ท่าวังผา จ.น่าน, เมษายน 41 สัดส่วนของอาการและอาการแสดง
51
ผู้ป่วย 2 ราย มีอาการหายใจลำบาก แพทย์ได้ทำการใส่ท่อช่วยหายใจ (intubation) และส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิษวิทยา ได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ทั้ง 2 ราย (Electromyogram) พบว่ามีลักษณะเฉพาะ ที่เข้าได้กับโรค Botulism (โดยผู้ป่วยทั้งสองรายเป็นพี่น้องกัน)
52
ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งซึ่งเสียชีวิต เป็นเจ้าของร้านหน่อไม้
อัดปี๊ป จากการสอบถามญาติของผู้ที่เสียชีวิตพบว่า ผู้ตายได้ผลิตหน่อไม้อัดปี๊ปขายเป็นอาชีพที่หมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา ในวันที่ 9 เมษายน 2541 ผู้ตายได้เปิดหน่อไม้อัดปี๊ป 2 ปี๊ป ปี๊ปแรกมีลักษณะผิดปกติจึงได้นำไปทิ้ง และเปิดปี๊ปที่ 2 และนำไปกินร่วมกันกับเพื่อนอีก 2 คนซึ่งเป็นผู้ป่วยด้วยโดยไม่ได้ปรุงด้วยความร้อน เหลือจากนั้นนำออกขายที่ตลาดบ้านหนองบัวในเช้าวันที่ 10 เมษายน และผู้ตายเริ่มมีอาการในบ่ายวันนั้น จากข้อมูลอาหารและวันที่สัมผัสอาหารทำให้ได้ ระยะฟักตัว 12 ชม. ถึง 4 วัน
53
2.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
ได้ทำการศึกษา Case –control study โดยใช้แบบสอบถาม ถามผู้ป่วยและกลุ่มเปรียบเทียบ ถึงประวัติอาหารที่รับประทานในวันที่ 9-11 เมษายน 2541 (คำถามปลายเปิด) และ ถามว่าได้รับประทานอาหารที่สงสัย ดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ (คำถามปลายปิด)
54
ตารางที่ 1 ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
ตารางที่ 1 ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ อาหารที่รับประทาน ผู้ป่วย กลุ่ม เปรียบเทียบ ค่า OR. 95 %CI กิน ไม่กิน หน่อไม้อัดปี๊ปจากร้านใดๆ 13 15 51 89.7* ( ) หน่อไม้อัดปี๊ปจากร้านที่สงสัย 4 62 375.0* ( ) เหล้าขาว 6 7 60 8.57 ( ) เหล้าสาเก 8 5 25 41 2.62 ( ) เห็ดจากตลาด 3 10 16 50 0.94 ( )
55
3.การศึกษาสิ่งแวดล้อม วิธีการผลิตหน่อไม้ปี๊ปในหมู่บ้าน
การผลิตหน่อไม้อัดปี๊ปในจังหวัดน่านเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตมากในอำเภอท่าวังผา โดยเฉพาะในหมู่บ้านดอนแก้ว โดยในช่วงฤดูฝน (เดือนมิย.-ตค.) ชาวบ้านจะเก็บหน่อไม้ในป่า นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาใส่ในปี๊ป ขนาด 20 ลิตร (ปี๊ปใส่น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว) ซึ่งมีรูเปิดข้างบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ใส่น้ำจนเต็มปี๊ปแล้วต้มจนเดือด คอยเติมน้ำตลอด ต้มประมาณ 1 ชม.และแน่ใจว่าหน่อไม้สุกแล้ว จึงยกลงจากเตาแล้วปิดด้วยฝาโลหะ และเชื่อมด้วยตะกั่ว โดยละลายตะกั่วด้วยกรดไฮโดรซัลฟูริก แล้วเก็บหน่อไม้อัดปี๊ปไว้ขายในฤดูร้อน (เดือน กพ.-เมย.) ซึ่งไม่มีหน่อไม้สดขาย รวมเก็บไว้ประมาณ 3-6 เดือน
56
หน่อไม้อัดปี๊ป ขนาด 20 ลิตร
ซึ่งมีการผลิตและขายในตลาด วิธีการปิดผนึกฝาด้วยดีบุกและ ใช้ตะกั่วซึ่งหลอมด้วยกรดซัลฟุริก ป้ายรอบฝา
57
ตารางที่ 3 ผลการส่งตรวจหน่อไม้อัดปี๊ปทางห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างหน่อไม้ได้จาก ส่งเพาะ เชื้อที่NIH* US Army Medical Research Institute เพาะ เชื้อ Elisa test Mouse antitoxin bioassay 1)เหลือจากเจ้าของร้านที่เสียชีวิต - ve + ve +ve type A 2)เหลือจากผู้ป่วยที่ส่งต่อไปรพ.ศิริราช 3)สุ่มจากร้านค้าทั่วไป(ปี๊ปปกติ) 2 ปี๊ป 4)สุ่มจากร้านค้าทั่วไป(ปี๊ปบวม) 2 ปี๊ป
58
วิจารณ์ ข้อจำกัดของการสอบสวน
เสนอมาตรการควบคุมป้องกันโรค ขณะที่ดำเนินการสอบสวน ในส่วนของอำเภอ จังหวัด สำนักงาน อย. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ :- พัฒนาระบบเฝ้าระวัง การ รักษา ระบบป้องกันโรค เอกสารอ้างอิง
59
สรุปผลการสอบสวน
60
วิจารณ์ผล
61
ข้อเสนอแนะ
62
กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง
63
การเขียนบทคัดย่อ
64
บทคัดย่อ บทนำ (และวัตถุประสงค์):
ชื่อเรื่อง ผู้รายงานและคณะสอบสวน หน่วยงาน บทนำ (และวัตถุประสงค์): กล่าวถึงที่มาของเรื่อง และวัตถุประสงค์ของ การสอบสวน อย่างสั้น รัดกุม และได้ใจความ
65
บทคัดย่อ (ต่อ) วิธีการศึกษา :
ระบุองค์ประกอบที่สำคัญของระเบียบวิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา (Study Design) กลุ่มตัวอย่าง และประชากรศึกษา ตัวแปรที่ใช้วัดผล เช่น นิยามผู้ป่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
66
บทคัดย่อ (ต่อ) ผลการศึกษา : ระบุผลการศึกษาที่สอดคล้องกับวิธีการศึกษา
สรุปและข้อเสนอแนะ : สรุปผลการศึกษาอย่างสั้น รัดกุม และชัดเจน โดยเน้นประเด็นสำคัญ และผลกระทบของการศึกษา รวมทั้ง ข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการต่อไป คำสำคัญ (Key word): 3-5 คำ
67
ตัวอย่างบทคัดย่อ
68
บทคัดย่อ ความเป็นมา เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2541 แพทย์ประจำบ้านในโครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา ได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยด้วยอาการทางระบบประสาทพร้อมกัน จำนวน 6 ราย จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุและแหล่งที่มาของการระบาดในครั้งนี้ วิธีการศึกษา นิยามผู้ป่วย หมายถึง ชาวบ้านในหมู่บ้าน 2 หมู่บ้านในจังหวัดน่าน ที่มีอาการอย่างน้อย 3 ใน 9 อย่าง ดังนี้ หนังตาตก, กลืนลำบาก, พูดไม่ชัด, เสียงแหบ, ปากแห้งคอแห้ง, เจ็บคอ, อุจจาระร่วง, อาเจียน, กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากนิยามดังกล่าว นำไปสู่การสัมภาษณ์ และศึกษาอาการป่วยจากทะเบียนผู้ป่วย และทำการศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (case-control study) โดยมีผู้ป่วย 13 ราย และ กลุ่มควบคุม 66 ราย หลังจากนั้นได้ทำการเก็บตัวอย่างอาหารที่สงสัย, หน่อไม้อัดปี๊บ, ดิน และ อุจจาระของผู้ป่วย เพื่อส่งตรวจเพาะเชื้อ Clostridium Botulinum และ ทดสอบหาสารพิษที่ห้องปฏิบัติการ ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งศึกษากรรมวิธีการทำหน่อไม้อัดปี๊บ ในหมู่บ้าน
69
ผลการศึกษา: ในผู้ป่วยทั้งหมด 13 ราย มีผู้เสียชีวิต 2 ราย มีอัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 15 ผู้ป่วย 9 ราย เป็นผู้หญิง และอายุเฉลี่ย 44 ปี อยู่ในช่วง ปี ผู้ป่วยรายแรกคือเจ้าของร้านหน่อไม้อัดปี๊บ เริ่มมีอาการป่วยเมื่อ 10 เมษายน ระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 6 ชั่วโมง ถึง 6 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 2 วัน ผู้ป่วยทั้ง 13 รายมีประวัติการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บที่ทำจากแหล่งเดียวกัน แต่รับประทานในเวลาต่างกัน เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ป่วยในกลุ่มควบคุมรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บ 4 คน (6 %) (OR 375, 95%CI 19,7385) และการนำหน่อไม้มาผ่านการปรุงด้วยความร้อน สามารถช่วยป้องกันหรือลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อได้ (ค่า OR = 0.03 และ 95%CI =0.00,0.95) อาหารอื่นๆไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง 2 ราย พบว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ เข้าได้กับโรคอาหารเป็นพิษ Botulism และจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจพบพิษ Botulinum toxin ในหน่อไม้อัดปี๊บที่ได้รับมาจากผู้ป่วยรายหนึ่ง โดยวิธีการ Elisa และ Mouse antitoxin bioassay และจากการศึกษากรรมวิธีการผลิตหน่อไม้อัดปี๊บ พบว่า ใช้การต้มให้เดือด ซึ่งไม่เพียงพอในการฆ่า สปอร์ของเชื้อ Botulinum ได้ สรุป การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ Botulism ในประเทศไทย ซึ่งได้ดำเนินการควบคุมโรค โดยหยุดการจำหน่าย หน่อไม้อัดปี๊บจากหมู่บ้านที่ผลิต จำนวน 12,000 ลิตร และป้องกันการระบาดต่อไปโดยให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ในการปรุงหน่อไม้อัดปี๊บให้ร้อนก่อนรับประทาน รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ผลิตในการควบคุมคุณภาพการผลิตต่อไป ซึ่งหลังจากการดำเนินการดังกล่าว ไม่พบมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก
70
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเขียนรายงาน
ผู้เขียนได้รับความรู้เพิ่มเติมจากขบวนการเขียน เรียบเรียงข้อมูล ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ วางแผนควบคุมและป้องกันโรคต่อไป ผู้อ่านได้รับความรู้ในเรื่องการสอบสวนทางระบาดวิทยา พัฒนาคุณภาพของการสอบสวนทางระบาดวิทยา
71
จุดอ่อนของรายงานการสอบสวนโรค
ความเป็นมา:- ยังไม่ครอบคลุมประเด็นที่ควรจะมี เช่น ข้อมูลของ index case ความจำเป็นที่ต้องสอบสวนโรค ทีมสอบสวน ระยะเวลาที่ออกสอบสวน วัตถุประสงค์ของการสอบสวนโรค ไม่ชัดเจน วิธีการสอบสวนไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การตั้งนิยามผู้ป่วย เพื่อการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ส่วนใหญ่ไม่ ถูกต้อง ไม่ครอบคลุม ไม่สื่อถึงมูลเหตุที่ต้องออกสอบสวน ไม่บอกทีมสอบสวนและระยะเวลาที่สอบสวน
72
6. ลำดับขั้นตอนการเขียน:- กล่าวถึงประเด็นเดียวกัน ซ้ำไป ซ้ำมา
5. ผลการสอบสวนไม่ตอบวัตถุประสงค์ &ไม่สามารถบอกประเด็นสำคัญของการสอบสวนโรคได้ เช่น ขนาดของปัญหาการเกิดโรคในครั้งนั้น ๆ , ขอบเขตการเกิดโรคไม่ชัดเจน, การถ่ายทอดโรค, ปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการแพร่ระบาด ฯลฯ จึงเสมือนเป็นเพียง การรายงานผู้ป่วยเท่านั้น 6. ลำดับขั้นตอนการเขียน:- กล่าวถึงประเด็นเดียวกัน ซ้ำไป ซ้ำมา 7. เนื้อหามากเกินความจำเป็น:- การลอกรายละเอียด ของ อาการ การรักษา ผล Lab จากแฟ้มทะเบียนผู้ป่วยเกือบทั้งหมด มาไว้ในรายงานสอบสวนโรค ที่ควรเป็นคือสรุปประเด็นจากรายละเอียดเหล่านั้นออกมาให้ได้ว่า ลักษณะอาการหลัก คืออะไร สอดคล้องกับ ผล Lab/ การรักษาของแพทย์หรือไม่ และจากข้อมูลดังกล่าว สามารถสรุปได้หรือไม่ว่า น่าจะเป็นโรคใด ผลการสอบสวน เขียนแค่รายงานผู้ปวย ไม่มีข้อมูลอื่นๆ ประกอบ เช่นการค้นหาผู้สัมผัส ผู้ป่วยรายอื่น ข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
73
ข้อเสนอมาตรการควบคุมป้องกัน ยังไม่สามารถระบุมาตรการที่จำเพาะและสอดคล้องกับสถานการณ์จริง เช่น การให้ยาแก่ผู้สัมผัสมากเกินความจำเป็น, คำแนะนำในการควบคุมโรค ควรระบุให้ชัดเจนว่า ข้อเสนอเหล่านั้น จะให้ใครทำ จะทำอย่างไร และเริ่มทำ/สิ้นสุดเมื่อไร, ขาดความเข้าใจเรื่องการสอบสวนเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์
74
Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา
75
Practice makes perfect
76
ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.