งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นายแพทย์พสุวัฒน์ คงศีล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นายแพทย์พสุวัฒน์ คงศีล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “ Key Counseling Messages ที่เกี่ยวข้องกับ การให้บริการ โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด”
นายแพทย์พสุวัฒน์ คงศีล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

2 สถิติประเทศไทย

3 จำนวนผู้ป่วยโรคซิฟิลิส ในเด็กแรกเกิด ถึง 2 ปี ในประเทศไทย ยังมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ประเทศไทยมีการป้องกันควบคุมซิฟิลิสแต่กำเนิดตั้งแต่ พ.ศ โดยทำการตรวจคัดกรองซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการสาธารณสุข สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข

4 แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิส แต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558
แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิส แต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558 เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ในการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด รวมทั้งการตรวจคัดกรองดูแล รักษาซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์และโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด เป้าหมาย: เพื่อควบคุมอัตราการเกิดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดใน ประเทศไทยให้ไม่เกิน 0.05 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 ราย ภายในปี พ.ศ. 2563 Consultants Royal college of pediatrics Royal college of OB/GYN Pediatric infectious disease society of Thailand STI society of Thailand Technical support Bangrak, STI cluster, Bureau of AIDS, TB, STI, DDC, MOPH Bureau of health promotion, DOH, MOPH Thailand MOPH-US. CDC Collaboration Authors from Bangrak hospital, Queen Sirikit National Institute of Child Health, Siriraj Hospital, Rajvithi Hospital, Nakornping Hospital, Kampangphet hospital, Bureau of epidemiology, ODPC region 8/10, TUC ด้วยความร่วมมือของส􀄞ำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และส􀄞ำนักงานป้องกันควบคุมโรค กรมควบคุมโรค ส􀄞ำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ส􀄞ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กระทรวง สาธารณสุข ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัย กุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5 ผลกระทบของซิฟิลิส ในทารกแรกเกิด
ปัญหาที่เกิดกับทารก 520,905 รายจากทั่วโลก 212,327 stillbirths (> 28 wk) or early fetal deaths (22 to 28 wk) 91,764 neonatal deaths 65,267 preterm or low birth weight infants 151,547 infected newborns 80% ของเด็กเหล่านี้ มาฝากท้อง แต่ : ฝากท้องช้า ไม่ได้ตรวจ ไม่ได้มาฟังผล ไม่มียารักษา (74% ของรพ. ในประเทศไทยมียารักษา, Tanprasert S. WESR 2013;44:81-88.) ติดเชื้อใหม่จากคู่ universal syphilis screening in ANC and prompt treatment of women testing positive are basic interventions that have been proven to be cost-effective even in low prevalence settings. Additionally, rapid point-of-care syphilis tests allowing testing and treatment in almost any clinical setting Newman L, et al. PLoS Med (2): e doi: /journal.pmed

6 ปัญหาในการดำเนินงานที่ผ่านมา
ขาดระบบการติดตามสามีมารักษา ทารกไม่ได้การรักษา โดยเฉพาะ Late ANC หรือ No ANC ไม่มี Same Day Result Testing (การตามผู้ป่วยมารับการรักษา) ขาดระบบการประสานงานที่ดี ขาดระบบการรายงานโรคที่มีประสิทธิภาพ

7 แนวทางการให้การปรึกษา เรื่องโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด แก่หญิงตั้งครรภ์ และ สามีหรือคู่เพศสัมพันธ์
เพื่อให้ผู้รับการปรึกษา เกิดการเรียนรู้ เข้าใจตนเองและผู้อื่น สามารถพัฒนาตนเอง ควบคุมตนเอง กล้าเผชิญปัญหา สามารถตัดสินใจเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลรักษาตนเองอย่างต่อเนื่องจนหายจากโรค มีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและตระหนักในประโยชน์ของการตรวจเลือดเพิ่มเติม ได้แก่ การตรวจเลือดหาการติดเชื้อซิฟิลิส การตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี และการตรวจเลือดหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี รวมทั้งเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถสื่อสาร เพื่อพาสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์มาตรวจรักษาและสื่อสาร ให้สามารถมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยได้

8 หลักสำคัญของCsg. Empathy Client Center Here and Now

9 เตือนความจำ ในการทำ CSG ให้เป็น CSG จริงๆ
สร้างบรรยากาศของ ความเป็นเพื่อน เธอกับฉันเจอกันเพราะอะไร ที่นี่สามารถให้อะไรได้บ้าง ตกลงจะคุยกันเรื่องอะไรดี เหตุการณ์เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว ต้องการให้มันจบอย่างไร จะทำอย่างไรให้ได้ตามนั้น จะถามอะไรอีกไหม ถ้าไม่ถาม สรุปให้ฟังหน่อยว่า วันนี้ได้คุยอะไรกันบ้าง จะถามอะไรอีกไหม ถ้าไม่ถาม สรุปให้ฟังหน่อยว่า กลับไปตั้งใจจะทำอะไร “ คุณเป็นคนดีที่ทำอย่างนี้เพื่อคนนั้น ถ้าคนนั้นเขารู้เขาคงภูมิใจในตัวคุณ ” เจอกันอีกสักครั้งดีไหม เมื่อไหร่ จะคุยเรื่องอะไร นานเท่าไหร่ 11/24/2018

10 แนวทางการวินิจฉัยโรคซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์
การซักประวัติ ซักประวัติ ตามแนวทางการฝากครรภ์ของกรมอนามัย ซักประวัติ อาการของโรคซิฟิลิส เช่น แผลที่อวัยวะเพศ ผื่น ผมร่วง ต่อมน้ำเหลืองโต และประวัติ พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รายละเอียดของการรักษาที่ผ่านมาของหญิงตั้งครรภ์ที่เคยเป็นโรคซิฟิลิส ได้แก่ สถานที่รักษา การวินิจฉัยที่ได้รับ การรักษาที่ได้รับ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (RPR/VDRL และการตรวจยืนยันด้วย Treponemal test ครั้งล่าสุด ประวัติทางสูติกรรมที่ผ่านมา ได้แก่ ทารกตายคลอด แท้งทารก ประวัติการบริจาคและได้รับเลือด และประวัติการฝากครรภ์ ประวัติการติดเชื้อกลุ่ม Treponema อื่นๆ ได้แก่ Yaws, Pinta เป็นต้น และประวัติการเดินทาง ไปทำงานในต่างประเทศ หรือการอาศัยอยู่ในประเทศที่มีความชุกของโรคเหล่านี้สูง แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

11 การคัดกรองซิฟิลิส ในหญิงตั้งครรภ์
เจาะ VDRL/ RPR 1 ครั้งที่การฝากครรภ์ครั้งแรก เจาะ VDRL/ RPR 2 ครั้ง ที่การฝากครรภ์ครั้งแรก และที่ GA สัปดาห์ เจาะ TPHA 1 ครั้งที่ฝากครรภ์ครั้งแรก เจาะ VDRL/RPR และ TPHA 2 ครั้ง ที่การฝากครรภ์ครั้งแรก และที่ GA สัปดาห์ VDRL = venereal disease research laboratory RPR = Rapid plasma reagin TPHA = T. pallidum hemagglunitation

12 การรักษาผู้ที่มีผลตรวจซิฟิลิสเป็นผลบวก
กรณีผลตรวจคัดกรอง ด้วยวิธี Non-Treponemal (RPR หรือ VDRL) เป็นบวก ต้องส่งเลือดเพื่อตรวจ ยืนยันด้วย Treponemal Test ต่อไป ซึ่งหากการตรวจยืนยันให้ผลบวก แสดงว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคซิฟิลิส ต้องให้การดูแล รักษาอย่างครบถ้วน ตามมาตรฐาน กรณีการตรวจคัดกรองซิฟิลิสเป็นลบ ให้นัดตรวจครั้งต่อไป กรณีผลตรวจคัดกรองด้วยวิธี Non-Treponemal (RPR หรือ VDRL) เป็นบวกและพบ Titer สูง (≥1:8) ให้การดูแลรักษา แก่หญิงตั้งครรภ์และคู่โดยทันที พร้อมทั้งส่งเลือดเพื่อตรวจยืนยันด้วย Treponemal Test ต่อไป กรณีใช้วิธีตรวจยืนยันที่ทราบผลภายในวันเดียว และหญิงตั้งครรภ์นั้นไม่เคยเป็นซิฟิลิสมาก่อน ให้ดูแลรักษาพร้อมกับส่งเลือด เพื่อตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธี RPR หรือ VDRL เพื่อการวินิจฉัยระยะของโรค และนัดฟังผลในสัปดาห์ถัดไป เพื่อให้การรักษาอย่างต่อเนื่อง แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

13 (same day result) หากพบผลผิดปกติ ให้การรักษาโดยเร็วที่สุด
* การตรวจคัดกรองซิฟิลิสควรท􀄞ำอย่างน้อย 2 ครั้งคือเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก และครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ สัปดาห์ ในรายที่มาฝากครรภ์ ครั้งแรกหลัง 32 สัปดาห์หรือตรวจครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ควรท􀄞ำการตรวจด้วยวิธีที่สามารถรู้ผลในวันที่รับการตรวจเลือด (same day result) หากพบผลผิดปกติ ให้การรักษาโดยเร็วที่สุด ส􀄞ำหรับหญิงที่มาคลอดโดยไม่มีผลเลือดซิฟิลิสมาก่อนควรท􀄞ำการตรวจเมื่อมาคลอดพร้อมการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี และตับอักเสบบี ในหญิงตั้งครรภ์ ** สามารถเลือกตรวจได้ทั้งวิธี treponemal test (EIA, CMIA, ICT, TPHA เป็นต้น) หรือ non-treponemal test (RPR, VDRL) ศึกษารายละเอียดที่ภาคผนวก 2 *** ในกรณีไม่สามารถตรวจด้วย treponemal test ที่ต่างชนิดกัน ให้ดูพฤติกรรมเสี่ยง หากมีพฤติกรรมเสี่ยงและไม่มีประวัติการรักษา ให้วินิจฉัยว่าเป็นซิฟิลิส และท􀄞ำการรักษาแบบซิฟิลิสระยะหลัง แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

14 Traditional Algorithm (1)
Non-treponemal Test (e.g. VDRL) No serologic evidence of syphilis Non-reactive Treponemal Test (e.g. TPHA) Reactive Not consistent with syphilis Non-reactive Syphilis Reactive

15 Algorithm for Screening with a Treponemal Test (1)
Treponemal Test (e.g. CMIA) No serologic evidence of syphilis Non-reactive Nontreponemal Test (e.g. VDRL) Reactive Second Treponemal Test (e.g. TPHA) Non-reactive Syphilis Reactive Past successfully treated syphilis Primary, late latent syphilis False positive treponemal test Non-reactive

16 Interpretation Treponemal test VDRL 2nd Treponemal test Interpretation
Neg - No serologic evidence of syphilis Pos Untreated or recently treated syphilis False-positive screening Possible syphilis or previously treated syphilis

17 ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีผลเลือดซิฟิลิสบวก ท่านปฏิบัติอย่างไร
ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีผลเลือดซิฟิลิสบวก ท่านปฏิบัติอย่างไร ติดตามหญิงตั้งครรภ์กลับมาฟังผลเลือดทันที รอนัดครั้งต่อไป ให้ยา อ.ส.ม.ไปฉีดที่อนามัย ส่งทีมเข้าไปสืบค้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย และมีโอกาสติดเชื้อทั้งหมด

18 การรายงานผลเลือด กรณีที่สถานบริการสาธารณสุขไม่สามารถแจ้งผลเลือดได้ในวันฝากครรภ์ และหากผลการคัดกรองเลือดบ่งชี้ว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคซิฟิลิส ก็จะต้องจัดระบบติดตามผู้ป่วยให้รับการรักษา โดยไม่ควรรอให้ถึงกำหนดการฝากครรภ์ครั้งถัดไป เพราะเป็นไปได้ว่า หญิงตั้งครรภ์อาจไม่เดินทางมารับการตรวจครรภ์ซ้ำ ระบบการติดตามนี้ มีความสำคัญ และจำเป็นในการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด เพราะทารกที่ป่วยส่วนใหญ่ ตรวจพบการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ ตอนฝากครรภ์ แต่ไม่ได้มีการติดตามให้รับการรักษา เนื่องจาก การติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิส เป็นมาตรการที่สำคัญ สถานบริการฝากครรภ์ จึงควรมีระบบการเก็บข้อมูลรายละเอียดของหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ทั้งที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ที่บ้าน โทรศัพท์มือถือ และข้อมูล รวมถึงการซักถามวิธีการที่สะดวกในการติดต่อ กรณีที่จำเป็นต้องติดตามให้รับการรักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีพบว่า หญิงตั้งครรภ์มีผลการตรวจพบว่า เป็นโรคในตอนรับบริการฝากครรภ์ในระยะตั้งครรภ์ สัปดาห์ ซึ่งหากติดตามรักษาล่าช้า ก็อาจไม่สามารถป้องกันการแพร่โรคไปสู่ทารกได้ แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

19 แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

20 ประเด็นการให้การปรึกษา เรื่องซิฟิลิส สำหรับหญิงตั้งครรภ์ และสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์
1. การให้การปรึกษาเพื่อ สร้างความเข้าใจก่อนตรวจคัดกรอง แจ้งผลตรวจซิฟิลิส ขั้นต้นผิดปกติ และ ขอตรวจเลือดยืนยัน 2. การให้การปรึกษาเพื่อ แจ้งผลตรวจยืนยัน กรณีผลบวกและการดูแลรักษา 3. การให้การปรึกษาเพื่อ แจ้งผลตรวจยืนยัน กรณีผลลบและการประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการรับเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

21 ประเด็นการให้การปรึกษา เรื่องซิฟิลิส สำหรับหญิงตั้งครรภ์ และสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์
4. การให้การปรึกษาเพื่อการรักษาต่อเนื่อง (ongoing counseling) ทั้งกรณีฉีดยาและกินยารักษาซิฟิลิส 5. การให้การปรึกษาเพื่อติดตามผลการรักษา (กรณีได้รับการรักษาครั้งแรก และผู้รับบริการเข้าถึงการรักษาไม่ต่อเนื่อง) 6. การให้การปรึกษาสำหรับมารดาหลังคลอด กรณีทารกได้รับผลกระทบจากผลเลือดซิฟิลิสผิดปกติ

22 วัตถุประสงค์ ของการให้การปรึกษา
- เพื่อเน้นย้ำประเด็นที่เป็น ประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ คู่ของหญิงตั้งครรภ์ และทารก ในการตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส และการดูแลรักษา - ความสำคัญในการตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส เข้าใจในรูปแบบการตรวจวินิจฉัย และการดูแลรักษา - เพื่อให้เกิดความร่วมมือของหญิงตั้งครรภ์และคู่ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดการเป็นโรคซ้ำและลดผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ - สามารถให้การปรึกษาเพื่อเชื่อมโยงการตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส กับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี - ความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดจากการฉีดยารักษาโรคซิฟิลิส (กรณีรักษาด้วยยาฉีด)

23 ผู้ให้การปรึกษาควร พัฒนาทักษะ และ ทบทวนเนื้อหา การให้การปรึกษาแบบคู่
- ความสำคัญ และ หลักการสำคัญ ของการให้การปรึกษาแบบคู่ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส ในระบบบริการฝากครรภ์ - เจตคติ ของผู้มารับบริการ ต่อการตรวจคัดกรองและรักษาโรคซิฟิลิส - ทักษะพื้นฐาน ในการให้การปรึกษาแบบคู่ - การให้การปรึกษาแบบคู่ ก่อนตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส กรณีผลเลือดลบทั้งคู่ - การให้การปรึกษาแบบคู่ หลังตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส กรณีผลบวกทั้งคู่ - การให้การปรึกษาแบบคู่ หลังตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส กรณีผลเลือดต่าง

24 ประเด็นการให้การปรึกษาและเนื้อหา ที่ควรสื่อสาร ให้ผู้รับบริการ เกิดความเข้าใจ
1. การให้การปรึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจก่อนตรวจคัดกรอง แจ้งผลตรวจเลือดซิฟิลิสขั้นต้นผิดปกติ และขอตรวจเลือดยืนยัน 1.1 เตรียมความพร้อม ก่อนการตรวจคัดกรอง ในการรับฟังผลการตรวจซิฟิลิส ประกอบด้วย ตกลงบริการ ประเมินการรับรู้ เกี่ยวกับ การแพร่กระจายและการถ่ายทอดเชื้อซิฟิลิส ผลกระทบต่อลูก ต่อคู่ ความหมายและความสำคัญของการตรวจ การตรวจซ้ำ (มากกว่า 1 ครั้ง) รวมทั้ง ความสำคัญของการตรวจคัดกรองและดูแลรักษา พร้อมสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ - ทำความเข้าใจประเด็น biological false positive “การตั้งครรภ์ อาจทำให้ผลตรวจซิฟิลิส เป็นบวกปลอมได้ ต้องตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผล”

25 ประเด็นการให้การปรึกษาและเนื้อหา ที่ควรสื่อสาร ให้ผู้รับบริการ เกิดความเข้าใจ
1.2 การแจ้งผลการตรวจ แจ้งผลการตรวจ ความหมาย การอธิบายผลการตรวจ และให้ความมั่นใจต่อการรักษา “ผลตรวจซิฟิลิสขั้นต้นผิดปกติ จำเป็นต้องตรวจซ้ำเพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามสามารถรักษาให้หายได้” ประเมินความเข้าใจเรื่องซิฟิลิส และจัดการกับภาวะอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อผลการตรวจ ในระยะนี้ หญิงตั้งครรภ์อาจเกิดปัจจัยทางจิตสังคม 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) อารมณ์ ความรู้สึก ต่อการติดเชื้อซิฟิลิส และการรักษา 2) ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว 3) กรณีที่มาตรวจคนเดียว ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของการพาสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ มาตรวจคัดกรองและดูแลรักษาจนหายขาด

26 ประเด็นการให้การปรึกษาและเนื้อหา ที่ควรสื่อสาร ให้ผู้รับบริการ เกิดความเข้าใจ
1.2.3 ความสำคัญของการตรวจซิฟิลิสซ้ำ เพื่อยืนยันผล ในกรณีที่ไม่ได้ทำ couple counseling ตั้งแต่แรก ให้ชวนสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์มาตรวจซิฟิลิส - อธิบายเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด ในการสื่อสารกับคู่ เกี่ยวกับผลการตรวจซิฟิลิส ที่ผิดปกติ - กรณีที่มีคู่มาพร้อมกันตั้งแต่แรก ตรวจทั้งคู่ ควรให้การปรึกษาและอธิบายกรณีผลเลือดซิฟิลิสต่างกัน

27 ประเด็นการให้การปรึกษาและเนื้อหา ที่ควรสื่อสาร ให้ผู้รับบริการ เกิดความเข้าใจ
1.2.5 การมาตรวจครั้งที่สอง ใกล้คลอด กรณีเรื่องซิฟิลิส ทบทวนสิ่งที่จะต้องตรวจ ประเมินความเสี่ยง ให้มองพฤติกรรมเสี่ยงของทั้งตัวเองและคู่ ความเข้าใจต่อผลเลือด ความหมาย ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ 1.2.6 กรณีหญิงตั้งครรภ์มารับการคลอด โดยไม่มาฝากครรภ์ ก็แนะนำว่าควรตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส เพื่อให้การดูแลรักษาทั้งแม่และทารก การให้คำแนะนำหลังคลอด 1.2.7 ประเมินและตรวจทานประวัติการรักษาซิฟิลิสในอดีต กรณีเป็นหญิงตั้งครรภ์เก่าที่มี การตรวจพบร่องรอยของการติดเชื้อซิฟิลิส 1.2.8 ทบทวนสิทธิประกันสุขภาพทั้งของผู้รับบริการและสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์

28 ขั้นตอนการแจ้งให้ทราบและถามความสมัครใจตรวจเลือดเอชไอวี Steps of Patient Notification of the HIV Testing 1. เปิดประเด็นการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี “ทราบไหมว่า คุณหมอได้สั่งตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีให้กับคุณ” 2. พร้อมเหตุผล “ทราบเหตุผลไหมว่า เพราะอะไรคุณหมอถึงได้สั่งตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีให้กับคุณ” 2.1 เป็นการตรวจสุขภาพอย่างหนึ่ง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนรับบริการฝากครรภ์ ตรวจวินิจฉัยส่องกล้อง หรือ ผ่าตัดหากตรวจพบ จะต้องตรวจดูภูมิต้านทานก่อนว่าแข็งแรงพอหรือไม่ หรือควรกินยาต้านไวรัสให้แข็งแรงก่อน 2.2 เพื่อให้สามารถดูแลรักษา ตั้งแต่แรกเริ่ม แม้จะยังไม่มีอาการ ” ตรวจแล้วได้อะไร “ได้รู้ก่อน และมั่นใจว่าไม่เป็น หากเป็นจะได้รักษาแต่เนิ่นๆ และป้องกันคู่ของเรา” ไม่ตรวจจะเป็นอย่างไร “เสียโอกาสในการรับการดูแลรักษา ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ” 3. เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย 4. ถามความสมัครใจตรวจเลือดเอชไอวี ว่ายินยอมตรวจหรือไม่ 5. หากยินยอม ให้ลงลายมือชื่อ ว่ายินยอมตรวจเอชไอวี

29 “หากจะมาตรวจวันหลัง ให้พาคู่มาด้วย จะได้ตรวจด้วยกัน พร้อมกันไปเลย”
ขั้นตอนการสื่อสารเพื่อชักชวนตรวจเลือดเอชไอวี Steps of Invitation for the HIV Testing 1. การสร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ สบตา ยิ้ม ทักทาย แนะนำตัว เชิญนั่ง 2. สำรวจ/ช่วยเหลือ ปัญหาที่นำมา - อาการเป็นอย่างไร มีปัญหาอะไร คิดว่าเป็นอะไร ต้องการอะไร จึงได้มาขอรับบริการ - เมื่อได้พบหมอแล้ว หมอบอกอะไร แนะนำเรื่องอะไร ให้ทำอย่างไร - เกี่ยวกับเรื่องที่ได้คุยกับหมอไปแล้วนั้น สงสัยอะไรไหม ต้องการให้ช่วยเหลืออะไรบ้าง 3. เปิดประเด็นการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี “หน่วยงานของเรามีโครงการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ที่มารับบริการที่คลินิกนี้ทุกคน เพื่อให้สามารถดูแลรักษา ตั้งแต่แรกเริ่ม แม้จะยังไม่มีอาการ ” ตรวจแล้วได้อะไร “ได้รู้ก่อน และมั่นใจว่าไม่เป็น หากเป็นจะได้รักษาแต่เนิ่นๆ และป้องกันคู่ของเรา” ไม่ตรวจจะเป็นอย่างไร “เสียโอกาสในการรับการดูแลรักษา ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ” 4. สำรวจ/แก้ไข ผลกระทบ/อุปสรรค ของการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (กลัวช้า/ กลัวจ่าย/ กลัวเจ็บ/ กลัวเจอ) 5. สำรวจ พฤติกรรมเสี่ยง [Couple risk] ส่งเสริม Safer sex [Condom] 6 ถามความสมัครใจ ให้ทางเลือก “วันนี้สะดวกตรวจหรือไม่ หรือ จะกลับไปคิดดูก่อน แล้วมาตรวจวันหลังก็ได้” “หากจะมาตรวจวันหลัง ให้พาคู่มาด้วย จะได้ตรวจด้วยกัน พร้อมกันไปเลย” 7 การยุติการปรึกษา สรุปเรื่องที่คุย สรุปเรื่องที่จะกลับไปทำ นัดหมายครั้งต่อไป

30 2. การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจยืนยันกรณีผลบวก และการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจนหายขาด
2.1 ประเมินภาวะจิตสังคม ของหญิงตั้งครรภ์ ก่อนรับฟังผลการตรวจ 2.2 ทบทวนความเข้าใจ ความหมาย ของผลตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส 2.3 แจ้งผลการตรวจยืนยันเป็นบวก และอธิบายการดูแลรักษา เน้นความมั่นใจต่อผลการรักษา ว่าสามารถรักษาซิฟิลิสหายได้ และผลกระทบที่มีต่อลูกในกรณีตรวจพบความผิดปกติ ถ้าไม่รักษาจนหายขาด อาจจะมีผล กระทบต่อลูก กรณีหญิงตั้งครรภ์ ถามเรื่องยุติการตั้งครรภ์ ควรให้การปรึกษาว่า จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ และปรึกษาแพทย์ต่อไป ควรเน้นความสำคัญของการรักษา ความคาดหวังและแรงจูงใจในการมารับการรักษา อย่างต่อเนื่อง จนหายขาด การปฏิบัติตนขณะรับการรักษา อาการข้างเคียง อาการแพ้ยา

31 ขั้นตอนการให้การปรึกษาก่อนตรวจเลือดเอชไอวี Pre HIV Test Counseling
1. สร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ 2. หาแรงจูงใจ ที่มาตรวจ 3. ผลตรวจเป็นบวก/ลบ คืออะไร 4. คิดว่าผลจะเป็นลบหรือบวก กี่เปอร์เซ็นต์ เพราะอะไร 5. ผลลบจะทำอย่างไรกับผลกระทบ สุขภาพ/ชีวิต 6. ผลบวกจะทำอย่างไรกับผลกระทบ สุขภาพ/ชีวิต 7. ยุติการปรึกษา

32 4. สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและคาดการผลเลือด
คุณคิดว่าเป็น บวก หรือ ลบ คุณคิดว่าผลตรวจ น่าจะเป็น บวก หรือ ลบ กี่ เปอร์เซ็นต์ เพราะอะไร ถึงคิดอย่างนั้น

33 ใบงาน 1 การประเมินพฤติกรรมเสี่ยง การจัดระดับความเสี่ยง
ใบงาน 1 การประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ข้อคำถาม การจัดระดับความเสี่ยง เสี่ยงมาก เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงน้อยมาก ไม่เสี่ยง การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน การเลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนมมารดา การใช้มือทำความสะอาดแผลให้ผู้ป่วยเอดส์ ทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี ใช้นิ้วมือลูบไล้ สอดใส่ในอวัยวะเพศอีกฝ่ายเสียวสุดยอด ใช้ปากเลียอวัยวะเพศของคู่นอนหญิง การจูบปากอย่างดูดดื่ม เพศสัมพันธ์ที่มีการสอดใส่ โดยหลั่งภายนอก ผู้ชายใช้ปาก อม เลีย ดูด อวัยวะเพศของคู่นอนชาย ผู้หญิงที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี ใช้ปากสำเร็จความใคร่ให้คู่นอน เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดในระหว่างมีประจำเดือน เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด โดยใช้ถุงยางอนามัย เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด โดยไม่สวมถุงยางอนามัย เพศสัมพันธ์ทางช่องทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัย เพศสัมพันธ์ทางช่องทวารหนักโดยใช้ถุงยางอนามัย

34 การประเมินพฤติกรรมเสี่ยง
ผู้ชักชวนไม่จำเป็นต้องจดจำข้อความในแบบ ประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ว่ากรณีเหล่านี้เสี่ยงมาก เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงน้อย หรือไม่เสี่ยง ขึ้นอยู่กับกระบวนการชักชวนที่ต้องสำรวจ โดยยึด หลักการแพร่เชื้อระหว่างบุคคล

35 สาเหตุจำเป็นที่ต้องประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทุกราย
ตระหนักรู้ว่าตนมีพฤติกรรมเสี่ยงอะไรบ้าง พิจารณาความจำเป็นในการตรวจโรคอื่น ๆ และ เกิดแรงจูงใจในการตรวจเลือด เป็นแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น ยอมรับผลเลือด นำไปสู่การลดปฏิกิริยาการปฏิเสธที่รุนแรงลง และจะส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

36 การชักชวนเพื่อให้มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
ผู้ชักชวนไม่ด่วนสรุปทางเลือกในการมีเพศสัมพันธ์ให้กับผู้รับบริการ สำรวจความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ของผู้รับบริการก่อนให้ข้อมูล การให้ข้อมูล ควรตรวจสอบความเข้าใจของผู้รับบริการ ผู้ชักชวน เอื้อให้ ผู้รับบริการสามารถ เลือก การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยด้วยตนเอง และเชื่อว่าทางเลือกนั้นสามารถทำได้ด้วยการทดลองทำ

37 พฤติกรรมเสี่ยงที่เคยปฏิบัติ เพศสัมพันธ์ สารเสพติด การสัก
ถ้าลบจะทำอย่างไร ชีวิตปกติเป็นอย่างไร เรียนหรือทำงาน ภาระที่ต้องรับผิดชอบ สำคัญมาก ใช้เงินมาก ใช้เวลามาก การวางแผนอนาคต การมีคู่ การมีลูก พฤติกรรมเสี่ยงที่เคยปฏิบัติ เพศสัมพันธ์ สารเสพติด การสัก พฤติกรรมเสี่ยงครั้งล่าสุด( Window period.) มีเมื่อใด หากมีก่อนหน้ามาตรวจไม่ถึง 1 เดือน ควรตรวจเลือดซ้ำ ถุงยางอนามัย

38 ถ้าบวกจะทำอย่างไร ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร จะเปลี่ยนแปลงชีวิตอย่างไร
ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร จะเปลี่ยนแปลงชีวิตอย่างไร ชีวิตกระทบอย่างไร ไม่รู้ไม่กระทบ ไม่อนุญาตไม่บอก จะรู้ได้ไง สลากยา ภาระกระทบอย่างไร แบ่งออกไป รับไว้เดิมๆ ดูแลตัวเองเพิ่ม แผนอนาคตกระทบอย่างไร การมีคู่ โปร่งใส ปลอดภัย การมีลูก ติดเชื้อน้อยมาก การดูแลสุขภาพ ตรวจสอบสิทธิ์ ตรวจสุขภาพ และ ความพร้อมกินยาต้านไวรัส กินยาต้านไวรัส ใส่ถุงยางอนามัย พบแพทย์ทุก 1-3 เดือน

39 การกินยาต้านไวรัส หาก CD4 < 500
วินัยในการกินยา กินทุก 12 ชั่วโมง หรือ 24 ชั่วโมง หากดื้อยา ยาใหม่จะมีอาการข้างเคียงมากกว่า แพงกว่า เมื่อเริ่มกินยาแล้วต้องกินตลอดชีวิต ต้องปฏิบัติตัวควบคู่ไปด้วยเสมอ

40 การปฏิบัติตน การไม่รับเชื้อไวรัสเพิ่ม ใช้ถุงยางอนามัย งดใช้สารเสพติด
การไม่กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน ใช้ถุงยางอนามัย ป้องกันโรคติดเชื้อ รักษาโรคติดเชื้อให้หาย การบำรุงภูมิต้านทานให้แข็งแรง อาหาร นอนหลับ พักผ่อน ออกกำลังกาย ฝึกจิต คลายเครียด

41 2. การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจยืนยันกรณีผลบวก และการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจนหายขาด
2.4 การตรวจติดตาม ตรวจซ้ำเมื่อแม่ตรวจพบซิฟิลิส และการตรวจซ้ำเป็นระยะ เพื่อป้องกันการ รับเชื้อใหม่จากสามี/คู่ ระหว่างการตั้งครรภ์ 2.5 ทบทวนความรู้ และความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเช่น การมีเพศสัมพันธ์ ระดับ Titer เท่าไร จึงจะมีลูกคนใหม่ได้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษาจนหาย 2.6 การให้การปรึกษาเพื่อพาคู่/สามี มารับการตรวจรักษาซิฟิลิสเน้นย้ำความสำคัญของการตรวจรักษาผู้สัมผัส ควรเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ซักถามและทบทวนความเข้าใจ “ตรวจสอบความรู้เดิม เพิ่มความรู้ใหม่ เปิดใจให้ซักถาม และติดตามความเข้าใจ”

42 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก แจ้งผลรายบุคคลกับผู้รับการตรวจเอชไอวีโดยตรง ตรวจสอบชื่อสกุลของผู้รับบริการให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการแจ้งผลผิดคน ให้เวลาที่มากพอ ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ดำเนินการด้วยความสุขุมอย่างเหมาะสม แจ้งผลอย่างตรงไปตรงมา

43 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับการปรึกษา ยอมรับ ในผลเลือด ที่เป็นบวก 2. เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาสามารถ ปรับตัว กับ สถานการณ์ใหม่ ที่ติดเชื้อเอชไอวี.

44 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 1. สร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ 2. ประเมินปัญหาทางจิตสังคม 3. ตรวจสอบความเข้าใจ 4. แจ้งผลอย่างเป็นขั้นตอน 5. จัดการกับปัญหาอารมณ์และความรู้สึก 6. จัดการกับปัญหาที่แท้จริง 7. ยุติบริการ

45 3. การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจยืนยัน กรณีผลลบ และการประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3.1 ประเมินภาวะจิตสังคม ของหญิงตั้งครรภ์ ก่อนรับฟังผลการตรวจ 3.2 ทวนความเข้าใจ ความหมาย ของผลการตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส 3.3 แจ้งผลการตรวจยืนยันเป็นลบ อธิบายผลการตรวจ และให้ความมั่นใจต่อผลการตรวจ 3.4 การประเมินพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการรับเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เน้นประเด็นการป้องกันโดย ต้อง Safe Sex ตลอดระยะที่ตั้งครรภ์ และให้เป็นผลลบตลอดไป (Stay Negative)

46 3. การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจยืนยัน กรณีผลลบ และการประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3.5 การให้การปรึกษา เพื่อส่งเสริมการสื่อสาร กับ สามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ ชวนคู่/สามี มารับการตรวจ ซิฟิลิส เน้นความสำคัญและประโยชน์ ของการตรวจโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ anti-HIV, hepatitis B, ธาลัสซีเมีย (ก่อนที่สามีจะตรวจ ควรพูดคุยเรื่อง สิทธิการรักษาไปด้วย เพราะอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจ)

47 4. การให้การปรึกษาเพื่อการรักษาต่อเนื่อง (Ongoing Counseling) ทั้งกรณีฉีดยาและกินยารักษาซิฟิลิส
4.1 ประเมินภาวะจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์ หลังได้รับการรักษาครั้งก่อน 4.2 ติดตามผลการรักษา อาการผิดปกติหลังการรักษา และการมีเพศสัมพันธ์ โดยสอบถามและพิจารณาจากบันทึกการตรวจรักษา 4.3 เน้นให้ตระหนักถึงผลการรักษาต่อตนเอง และผลกระทบที่มีต่อทารก 4.4 การประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรค 4.5 ติดตามการนำสามี/คู่เพศสัมพันธ์ เข้ารับการตรวจรักษาซิฟิลิส โดยเน้นย้ำความสำคัญของ การตรวจรักษาผู้สัมผัส

48 ข้อใดผิดเกี่ยวกับการรักษาซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์
เพนิซิลลินเป็นยาตัวเดียว ที่มีข้อมูลในการป้องกัน การติดเชื้อของทารกในครรภ์ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ แพ้ยาเพนิซิลลิน ต้องทำ desensitization หากหญิงตั้งครรภ์และคู่ มีประวัติการรักษาแล้ว และในครรภ์นี้ตรวจพบ VDRL/RPR Titer ≤1:4 ไม่จำเป็นต้องรักษาอีก หากหญิงตั้งครรภ์และคู่ มีประวัติการรักษาแล้ว และในครรภ์นี้ตรวจพบ VDRL/RPR Titer ≥1:8 จำเป็นต้องรักษา หากหญิงตั้งครรภ์และคู่ มีประวัติการรักษาแล้ว แต่ไม่ใช่ยาเพนิซิลลิน และ ในครรภ์นี้ จำเป็นต้องรักษา ตอบ 2 ceftriaxone ก็ได้

49 การวินิจฉัยซิฟิลิสและการดูแลรักษา
แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

50 แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

51 ท่านมีแนวทางดูแล หญิงตั้งครรภ์ ที่แพ้ Penicillin อย่างไร
ทำ Desensitization รักษาด้วย Erythromycin รักษาด้วย Ceftriaxone ถูกทุกข้อ ตอบ 4

52 การทำ Desensitization โดยใช้ยากิน
ทำใน ICU โดยอายุรแพทย์ร่วมดุแลด้วย Desensitization สามารถทำโดยค่อยๆ เพิ่มระดับยากินหรือยาฉีด การทำโดยใช้ยากินจะสะดวกกว่า(ตารางที่ 5) โดยจะต้องรับหญิงตั้งครรภ์ไว้ในโรงพยาบาลขณะทำ desensitization หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการรักษาด้วย penicillin ต่อหลังจากการทำ desensitization

53 หญิงตั้งครรภ์ที่แพ้ Penicillin
หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการ Desensitization ก่อน อาการของผู้ที่มีการแพ้ Penicillin อาจมีเพียง เล็กน้อย เช่น ผื่นลมพิษ ตาบวม ไปจนถึงอาการแพ้รุนแรง เช่น ทางเดินหายใจอุดกั้น หลอดลมตีบ หรือความดันต่ำ การให้ยาซ้ำอีกครั้งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรงกว่าเดิม คำแนะนำ สำหรับผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาPenicillin หรือ เคยได้รับการตรวจการแพ้ยาPenicillin ทางผิวหนังให้ผลบวก (Positive Skin Test) โดยผู้ที่มีแนวโน้มจะแพ้รุนแรง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติแพ้รุนแรงมาก่อน หรือ มีประวัติแพ้ยา/สารชนิดอื่นอย่างรุนแรง หรือกำลังได้รับการรักษาด้วย Beta-adrenergic Blocking Agents กลุ่มนี้ ควรได้รับการตรวจ การแพ้ยาPenicillin ทางผิวหนังทุกราย โดยในช่วงที่มีการทดสอบนี้ หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยากลุ่มAnti-Histamine (ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนการทดสอบสำหรับ Chlorpheniramine หรือ Fexofenadine, ภายใน 4 วัน ก่อนทดสอบสำหรับ Diphenhydramine HCI, ภายใน 3 สัปดาห์ก่อนการทดสอบสำหรับ Hydroxyzine หรือ Phenothiazines)

54 การรักษาซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์

55 ข้อใด ถูก ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย
ให้รักษาตามปกติ ควรเจาะน้ำไขสันหลังทุกราย ควรพิจารณาให้ยาที่ยาวนานขึ้น หาก CD4 count ต่ำมาก ห้ามทำ desensitization ตอบ 1

56 ถ้าคนไข้ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย การรักษาซิฟิลิส ต่างกันอย่างไร
กรณีที่หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย ให้รักษาเหมือนผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้พบว่า การเพิ่มจำนวนครั้งของการฉีด Benzathine Penicillin หรือ การให้ Amoxicillin หรือ ยาปฏิชีวนะอื่นๆ เพิ่มในการรักษาซิฟิลิสระยะต้น/แรก ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ได้เพิ่มประสิทธิผลในการรักษา ทั้งนี้ ไม่ขึ้นกับระดับความรุนแรง ของการติดเชื้อเอชไอวี อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคน แนะนำให้ตรวจน้ำไขสันหลังและหรือรักษาโดยให้ยาระยะเวลายาว (แบบซิฟิลิสระยะหลัง/ท้าย) โดยไม่คำนึงว่า หญิงตั้งครรภ์จะเป็นซิฟิลิสระยะใด ซึ่ง การตรวจน้ำไขสันหลังเป็นหัตถการ ที่ไม่ควรทำในหญิงตั้งครรภ์ แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

57 ท่านทราบได้อย่างไรว่า การรักษา สำเร็จ หรือ ล้มเหลว

58 เมื่อคิดว่า การรักษาล้มเหลว ท่านควรทำสิ่งต่อไปนี้ ยกเว้น
เมื่อคิดว่า การรักษาล้มเหลว ท่านควรทำสิ่งต่อไปนี้ ยกเว้น ประเมินหญิงตั้งครรภ์ ว่ามีการติดเชื้อใหม่หรือไม่ พิจารณาตรวจเลือด เพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี ให้ผู้ป่วยเดินทางไป โรงพยาบาลศูนย์ หรือ โรงเรียนแพทย์ ตรวจสอบชนิดและวิธีการใช้ยา ชุดที่ผู้ป่วยได้รับ

59 5. การให้การปรึกษาเพื่อติดตามผลการรักษา (กรณีได้รับการรักษาครั้งแรก และผู้รับบริการเข้าถึง การรักษาไม่ต่อเนื่อง) ก่อนยุติบริการ ไม่ว่าผู้รับบริการผลเลือดเป็นลบหรือบวก ควรเน้น 5.1 การมารับการตรวจรักษาตามนัดทุกครั้ง 5.2 ถ้ามีอาการผิดปกติ ต้องรีบมาพบแพทย์ 5.3 โอกาสเสี่ยงเป็นซ้ำ ถ้าไม่ป้องกันโรค 5.4 ความเข้าใจและช่องทางเข้าถึง บริการสุขภาพ ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม และอื่นๆ 5.5 ภาคีเครือข่ายสถานบริการสุขภาพที่ใกล้บ้าน 5.6 แจกเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องสุขภาพ และถุงยางอนามัย

60 6. การให้การปรึกษาสำหรับมารดาหลังคลอด กรณีทารกมีผลเลือด ซิฟิลิสผิดปกติ
6. การให้การปรึกษาสำหรับมารดาหลังคลอด กรณีทารกมีผลเลือด ซิฟิลิสผิดปกติ 6.1 ให้ข้อมูลเรื่องผลกระทบ ในทารกที่ติดโรคซิฟิลิสจากมารดา 6.2 ประเมินความคิด ความรู้สึก ต่อภาวการณ์ที่ทารกติดเชื้อซิฟิลิส 6.3 ประเมินความเป็นไปได้ และแรงจูงใจต่อการสนับสนุนให้ทารกเข้าถึงบริการสุขภาพ เพื่อให้ได้ รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนหายขาด 6.4 พิจารณาและร่วมกำหนดเป้าหมาย วางแผนหาวิธีการแก้ไขปัญหาอาการผิดปกติของทารกและผลกระทบที่เกิดขึ้น 6.5 เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการทบทวน วิธีการแก้ไขปัญหาอาการผิดปกติของทารกและผลกระทบที่เกิดขึ้น และให้กำลังใจ 6.6 ให้ข้อมูลการเข้าถึงช่องทางบริการสุขภาพ ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม และอื่นๆ

61 8.3 ประเด็นที่ผู้ให้การปรึกษาควรทราบ
1. กรณีผลเลือดต่างของคู่ในการตรวจซิฟิลิส ควรให้การปรึกษาโดยใช้หลักการเดียวกันกับการตรวจเอชไอวี โดยใช้การให้การปรึกษาแบบคู่ (Couple Counseling) จะให้การปรึกษาได้ง่ายกว่า คู่ที่ตรวจซิฟิลิสจะเข้าใจมากขึ้น เข้าใจกันและไม่มีปัญหาสัมพันธ์ภาพ ทั้งนี้ ควรถามถึงประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการรักษา เพื่อช่วยการให้การปรึกษา - ควรมีข้อมูลอธิบายสาเหตุของผลเลือดต่าง (discordance) - ประเด็นซับซ้อนอาจเป็นกรณีหญิงเป็นบวก และชายเป็นลบ ควรให้ข้อมูลเพื่อลดปัญหาของคู่

62 8.3 ประเด็นที่ผู้ให้การปรึกษาควรทราบ
2. การแจ้งผลเลือด หากมีการปรึกษาก่อนตรวจ และได้อธิบายถึงวิธีการตรวจและผลการตรวจ ว่าจะมีโอกาสเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งผลเป็นลบ และผลเป็นบวกเบื้องต้น และความจำเป็นที่ต้องตรวจซ้ำเพื่อยืนยัน การแจ้งผลจะง่าย และผู้รับบริการจะเข้าใจที่ต้องตรวจซ้ำ ไม่ตกใจ กังวลใจ และการอธิบายถึงสาเหตุของผลตรวจเบื้องต้น เป็นบวกหมายความว่าอย่างไร และผลการตรวจซ้ำจะเป็นการยืนยัน นอกจากนี้ ผู้ให้การปรึกษาควรรู้และเข้าใจกรณี False Negative 3. การตรวจครั้งที่ 1 หากให้การปรึกษาครบถ้วนแล้ว การตรวจครั้งที่ 2 การให้การปรึกษาจะทำได้ง่าย และใช้เวลาไม่นาน

63 8.3 ประเด็นที่ผู้ให้การปรึกษาควรทราบ
4. การที่ผู้รับบริการปฏิเสธการตรวจซิฟิลิสจะเป็นได้น้อย หากผู้รับบริการปฏิเสธ ผู้ให้การปรึกษาควรอธิบายถึง ความจำเป็นและให้พิจารณาผลกระทบของการไม่ตรวจ ซึ่งหากได้เข้าใจแล้ว ก็จะรับการตรวจโดยเห็นประโยชน์ หากมีประเด็นนี้ใน Flow บริการจะต้องระบุประเด็นการปรึกษาและส่งเข้ารับการตรวจ 5. กรณีมาคลอดโดยไม่ได้รับการฝากครรภ์ ควรให้บริการตรวจซิฟิลิส และบริการให้การปรึกษา

64 8.3 ประเด็นที่ผู้ให้การปรึกษาควรทราบ
6. การตอบคำถามของหญิงตั้งครรภ์ กรณีผลกระทบต่อทารก หรือ ควรยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ ควรมีข้อมูล เหตุผล และแนวทางการสื่อสารกับหญิงตั้งครรภ์ให้เข้าใจและลดความวิตกกังวล เช่น การที่แม่ติดเชื้อซิฟิลิส ไม่ใช่เกณฑ์ในการยุติการตั้งครรภ์ ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาอย่างดีที่สุด 7. ควรเน้นความสำคัญของการรักษาต่อเนื่อง ให้ครบตามกำหนด เช่น บางระยะต้องรับการฉีดยา 3 เข็ม หากขาดการรักษา ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้ง 3 เข็ม และหากไม่รักษาตามกำหนดจะไม่หายขาด ซึ่งผู้รับบริการหากทราบข้อมูลนี้ จะให้ความร่วมมือการรักษามากขึ้นจนครบ

65 8.3 ประเด็นที่ผู้ให้การปรึกษาควรทราบ
8. แนวทางการให้การปรึกษา เมื่อผู้รับบริการมาตามนัด 3 ครั้ง ว่าจะมีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องพูดคุย และบันทึกข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ เช่น สถานที่ การวินิจฉัย การรักษาที่ได้รับ ผลเลือดในแต่ละครั้ง ให้ศึกษาจากเกณฑ์การติดตามหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคซิฟิลิสมารับการตรวจภายหลังการรักษา (ดูบทที่ 7) 9. กรณีตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ต้องซักประวัติเกี่ยวกับ การตรวจซิฟิลิสย้อนหลัง ซักประวัติการรักษา มีความสำคัญ 10. ควรให้ข้อมูลผู้รับบริการว่า หากตรวจพบผลบวกต่อซิฟิลิส ไม่ควรบริจาคโลหิต พร้อมให้เหตุผล

66 8.3 ประเด็นที่ผู้ให้การปรึกษาควรทราบ
11. ควรมีถุงยางอนามัยและสื่อประกอบการให้การปรึกษาด้วย 12. ในการยุติบริการการให้การปรึกษาแต่ละครั้ง ควรสรุปประเด็นต่างๆ ด้านการป้องกัน การรักษาให้ผู้รับบริการเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง 13. ควรศึกษา flow บริการปรึกษา ควบคู่ไปกับ flow บริการตรวจรักษา เพื่อให้เข้าใจแต่ละช่วงบริการ และสิ่งที่ควรให้การปรึกษา (ดูบทที่ 11 แผนภูมิที่เกี่ยวข้องฯ)

67 8.3 ประเด็นที่ผู้ให้การปรึกษาควรทราบ
14. กรณีผู้รับบริการเป็นคนต่างด้าว ควรให้การปรึกษาเรื่องการรักษาและเรื่องสิทธิการรักษาด้วย เพื่อความร่วมมือในการรักษา 15. ในการติดตามหลังได้รับการรักษา (แผนภูมิที่4) หากใช้การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการชนิดใด ควรใช้การตรวจเลือดชนิดเดิมนั้นในการติดตามผลการรักษา และควรตรวจที่สถานบริการสาธารณสุขที่ไปรับบริการเดิม (ห้องปฏิบัติการเดิม) เนื่องจากค่าที่ตรวจได้มีความแตกต่างกันหากใช้วิธีตรวจต่างกัน และตรวจโดยห้องปฏิบัติการต่างแห่ง

68 ข้อใดผิด เกี่ยวกับ แนวทางติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิส
ข้อใดผิด เกี่ยวกับ แนวทางติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิส ไม่เคยมีรายงานการดื้อต่อยาเพนิซิลลิน ของเชื้อก่อโรคซิฟิลิส การฉีดยา Benzathine Penicillin แต่ละครั้งห่างกันไม่เกิน วัน ติดตามโรค โดยการตรวจร่างกายและตรวจเลือด Treponemal Test หลังได้รับยาครบ ควรติดตามทุก 1 เดือน 3 ครั้ง จากนั้นทุก 3 เดือน 3 ครั้ง แล้วจึงเป็นทุก 6 เดือน 2 ครั้ง

69 การตรวจติดตาม แนวทางระดับชาติ
เรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

70 การดำเนินการเกี่ยวกับสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์
หญิงตั้งครรภ์ทุกราย ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคซิฟิลิส ควรได้รับคำแนะนำ ให้สามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ เข้ารับการตรวจและรักษาโดยให้ ใบติดตามผู้สัมผัสโรค เพื่อเป็นการป้องกันหญิงตั้งครรภ์จากการติดเชื้อซ้ำ และในบางกรณีอาจพบว่าสามีหรือคู่นอน มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นด้วย ก็จะช่วยในการตัดสินใจรักษาโรคชนิดอื่นในหญิงตั้งครรภ์ด้วย หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัย โรคซิฟิลิส ระยะที่หนึ่ง ควรติดตามสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ทุกคนใน 3 เดือนที่ผ่านมาให้มารับการตรวจ เพราะระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3 เดือน สำหรับ ผู้ที่เป็นซิฟิลิส ระยะที่สอง ควรติดตามสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ทุกรายในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาสำหรับ ผู้ที่เป็นซิฟิลิส ระยะแฝงช่วงแรก ควรติดตามสามี หรือคู่เพศสัมพันธ์ทุกรายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาให้รับการรักษา

71 การดำเนินการ เกี่ยวกับสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์
สามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ ของ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัย เป็นซิฟิลิส ระยะที่ 1, 2 และ ระยะแฝงช่วงแรก ต้องได้รับการรักษา ทุกราย ในกรณีหญิงตั้งครรภ์ เป็นซิฟิลิส ระยะแฝงช่วงหลัง (เกิน 2 ปี) ควรพยายามซักประวัติเกี่ยวกับผลเลือด และการรักษาเพื่อการประเมินระยะของโรค การเป็นโรคในระยะนี้ มักจะถ่ายทอดเชื้อไปยังคนอื่นได้น้อย โอกาสที่จะติดไปยังทารกก็น้อย จึงแนะนำให้สามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ มารับการตรวจเลือดก่อน หากผลปกติ ไม่จำเป็นต้องให้การรักษา ให้ติดตามดูผลเลือดต่อไป การติดตาม สามีหรือคู่เพศสัมพันธ์นั้น สามารถทำได้โดยหญิงตั้งครรภ์เองหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดย ผ่านการให้การปรึกษาก่อน จะเลือกวิธีใดควรเป็นการตัดสินใจของหญิงตั้งครรภ์เองและมีการบันทึกอย่างครบถ้วน

72 ข้อใดผิด เกี่ยวกับ การติดตามคู่ ของหญิงที่เป็นซิฟิลิส เพื่อมารับการรักษา
สามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นซิฟิลิสระยะที่ 1, 2 และ ระยะแฝงช่วงแรก ต้องได้รับการรักษาทุกราย ซิฟิลิสระยะที่หนึ่ง ควรติดตามสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ทุกคน ใน 3 เดือนที่ผ่านมา ให้มารับการตรวจ ซิฟิลิสระยะที่สอง ควรติดตามสามีหรือคู่เพศสัมพันธ์ทุกราย ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ให้มารับการตรวจ ซิฟิลิสระยะแฝงช่วงแรก ควรติดตามสามี หรือคู่เพศสัมพันธ์ทุกรายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ให้รับการตรวจ เป็นความรับผิดชอบของผู้ป่วย เนื่องจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำในอนาคต ทดสอบความจำ เป็นความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อและหากทำได้ไม่ดีอาจเกิดปัญหาครอบครัวตามมาได้

73 การปฏิบัติต่อผู้สัมผัสโรค/สามีหรือคู่เพศสัมพันธ์
แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

74 แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558

75 การชักชวนคู่มารับการตรวจเลือด โดยเชื่อมโยงกับ การมาตรวจของผู้ป่วยก่อนหน้า
ชวนมาเป็นเพื่อน เมื่อมาหาหมอตามนัด แจ้งว่าผลตรวจเลือดผิดปกติ หมอนัดให้มาตรวจยืนยันผล และให้ชวนคู่มาตรวจเลือดด้วย แต่ไม่ระบุว่าตรวจอะไร แจ้งว่าผลตรวจเลือดขั้นต้นผิดปกติ หมอนัดให้มาตรวจยืนยันผล และให้ชวนคู่มาตรวจเลือดด้วย แต่ระบุว่าตรวจซิฟิลิส (หรือ เอชไอวี) แจ้งว่าผลตรวจเลือดขั้นต้นผิดปกติ หมอยืนยันผลแล้วว่าเป็นโรค ระบุว่าตรวจซิฟิลิส (หรือเอชไอวี) และให้ชวนคู่มาตรวจเลือดด้วย

76 การชักชวนคู่มารับการตรวจเลือด โดยเชื่อมโยงกับ การมาตรวจของผู้ป่วยก่อนหน้า
ชวนคู่มาตรวจเช็คสุขภาพทั่วไป ชวนคู่มาตรวจเช็คสุขภาพก่อนแต่งงาน ชวนคู่มาตรวจเช็คสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ชวนคู่มาตรวจเช็คสุขภาพเมื่อตั้งครรภ์แล้ว

77 ขั้นตอนการให้การปรึกษาก่อนตรวจเลือดเอชไอวี Pre HIV Test Counseling
1. สร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ 2. หาแรงจูงใจ ที่มาตรวจ 3. ผลตรวจเป็นบวก/ลบ คืออะไร 4. คิดว่าผลจะเป็นลบหรือบวก กี่เปอร์เซ็นต์ เพราะอะไร 5. ผลลบจะทำอย่างไรกับผลกระทบ สุขภาพ/ชีวิต ผลบวกจะทำอย่างไรกับผลกระทบ สุขภาพ/ชีวิต 6. จะตรวจหรือไม่ 7. ยุติการปรึกษา

78 การให้การปรึกษาเป็นคู่ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ให้การปรึกษาจะต้องมี ความเป็นกลาง และ สร้างความมีส่วนร่วม ของสมาชิกทุกคน ต่อปัญหา วัตถุประสงค์ ของการให้การปรึกษา เป็นคู่ ให้ เข้าใจกัน รักกันมากขึ้น ให้ เข้าใจปัญหา ตรงกัน ให้เริ่ม แก้ปัญหา ร่วมกัน

79 1.1 การให้การปรึกษาเป็นคู่ก่อนตรวจเอชไอวี
1.1 การให้การปรึกษาเป็นคู่ก่อนตรวจเอชไอวี 1. สร้างสัมพันธภาพ และ ตกลงบริการ 2. หา แรงจูงใจ 3. บวก ลบ คืออะไร 4. คุณคิดว่าเป็น บวก หรือ ลบ 5. ถ้าลบหรือบวกจะทำอย่างไร ถ้าผลต่างจะทำอย่างไร 6. จะตรวจไหม 7. ยุติบริการ

80 1.1 การให้การปรึกษาเป็นคู่ก่อนตรวจเอชไอวี
1.1 การให้การปรึกษาเป็นคู่ก่อนตรวจเอชไอวี 5. ถ้าลบจะทำอย่างไร ถ้าบวกจะทำอย่างไร ถ้าผลเลือดต่างจะทำอย่างไร ผู้รับบริการผลเลือดบวก คู่ผลเลือดลบ จะเกิดปัญหาอะไร รู้สึกอย่างไร คิดอะไร จะอยู่กันอย่างไร ผู้รับบริการผลเลือดลบ คู่ผลเลือดบวก

81 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก แจ้งผลรายบุคคลกับผู้รับการตรวจเอชไอวีโดยตรง ตรวจสอบชื่อสกุลของผู้รับบริการให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการแจ้งผลผิดคน ให้เวลาที่มากพอ ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ดำเนินการด้วยความสุขุมอย่างเหมาะสม แจ้งผลอย่างตรงไปตรงมา

82 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับการปรึกษา ยอมรับ ในผลเลือด ที่เป็นบวก 2. เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาสามารถ ปรับตัว กับ สถานการณ์ใหม่ ที่ติดเชื้อเอชไอวี.

83 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 1. สร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ 2. ประเมินปัญหาทางจิตสังคม 3. ตรวจสอบความเข้าใจ 4. แจ้งผลอย่างเป็นขั้นตอน 5. จัดการกับปัญหาอารมณ์และความรู้สึก 6. จัดการกับปัญหาที่แท้จริง 7. ยุติบริการ

84 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 1. สร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ เน้นการตรวจสอบ ชื่อสกุล ให้ตรงกับผลตรวจเลือด SMALL TALK: ทักทาย พูดคุยเรื่องเบาๆ เพื่อสร้างบรรยากาศเป็นมิตร เรื่องที่ผู้รับบริการเพิ่งประสบ เรื่องที่ผู้รับบริการพูดกับผู้ให้บริการได้ง่าย เรื่องอื่นๆที่เป็นที่รู้กันทั่วไป เรื่องสุขภาพทั่วไป นอนหลับดีไหม เหนื่อยไหม ทานอะไรมาหรือยัง

85 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 2. ประเมินปัญหาทางจิตสังคม “ ตั้งแต่ เราพบกัน เมื่อครั้งที่แล้ว ระหว่างรอฟังผล ไม่ทราบว่า เป็นอย่างไรบ้าง ” คุณรู้สึกอย่างไร คุณทำอะไรบ้าง เกิดอะไรกับคุณบ้าง

86 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 3. ตรวจสอบความเข้าใจ “ อยากจะให้ช่วยสรุป เรื่องที่เราได้คุยกันครั้งที่แล้วว่า มีเรื่องอะไรบ้าง ” เน้นหัวข้อที่ใช้ในการทำ Pre HIV Test Counseling. โดยเฉพาะ คุณคิดว่า ผลเลือดจะเป็น บวกหรือลบ กี่เปอร์เซ็นต์ เพราะอะไร หากผลเลือดเป็น ลบ จะทำอะไร หากผลเลือดเป็น บวก จะทำอะไร

87 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 4.แจ้งผลอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ต่อผลเลือดที่แจ้ง 4.1 ทบทวนขั้นตอน และความหมายของคำพูด “การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี มี 2 ขั้นตอน คือ ตรวจ ขั้นต้น และ ตรวจ ยืนยันผล ถ้าการตรวจ ขั้นต้น ผลปกติเราจะไม่ตรวจอะไรต่อ แต่ ถ้า ผลผิดปกติ จะตรวจยืนยันซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถ้าผลยืนยันเป็น ลบ แปลว่าไม่พบการติดเชื้อ แต่ ถ้าผลเป็น บวก แปลว่าพบการติดเชื้อ ไม่ทราบว่าเข้าใจไหมครับ ”

88 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 4. แจ้งผลอย่างเป็นขั้นตอน ( ต่อ) 4.2 แจ้งผลตามขั้นตอนตรวจขั้นต้น เน้นการตรวจสอบ ชื่อสกุล ให้ตรงกับผลตรวจเลือด ก่อนเริ่มแจ้งผลเลือด เน้นการสบตา พูดอย่างมั่นใจ ช้าๆ ชัดๆ เรียงตามลำดับเหตุการณ์ และพยายาม เรียกชื่อ ของผู้รับการปรึกษา บ่อย ๆ “หลังจากที่เราได้เจาะเลือดของ คุณศักดิ์ ไป เราได้นำเลือดของ คุณศักดิ์ ไปตรวจขั้นต้น ตอนนี้ผลตรวจขั้นต้นของ คุณศักดิ์ ก็ออกมาแล้ว ผลตรวจขั้นต้นของ คุณศักดิ์ ผิดปกติ ”

89 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 4. แจ้งผลอย่างเป็นขั้นตอน ( ต่อ) 4.3 แจ้งผลตรวจยืนยันผล โดยเน้นการสบตาพูดอย่างมั่นใจ ช้าๆ ชัดๆ เรียงตามลำดับเหตุการณ์ พยายาม ใส่ชื่อ ของผู้รับการปรึกษา ไว้บ่อย ๆ “หลังจากนั้น เราได้เอาเลือดของ คุณศักดิ์ ไปตรวจยืนยันซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้ผลตรวจยืนยันของ คุณศักดิ์ ก็ออกมาแล้ว ปรากฎว่า ผลเลือดของ คุณศักดิ์ เป็น บวก………”

90 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 5. จัดการกับปัญหาอารมณ์และความรู้สึก 5.1. VENTILATING (venting): กระตุ้นให้ระบาย เมื่อ CLIENT ไม่สามารถระบายได้เอง เมื่อ CLIENT ระบายเล่าออกมาได้เอง 5.2. ENCOURAGING (support): ให้กำลังใจ เพื่อให้ CLIENT รู้สึกว่า ตนเองยังมี ศักยภาพที่ดี และยังมี สิ่งที่ผูกพันอยู่ “คุณเป็นคน..( ดี )…ที่ทำ..( อย่างนั้น )…..เพื่อ คนที่คุณผูกพัน ถ้าคนที่คุณผูกพัน รู้ เขาคง ภูมิใจในตัวคุณ”

91 กระบวนการให้การปรึกษามี 5 ขั้นตอน
4. การวางแผนแก้ไขปัญหา 4.1 ปัญหาภาวะอารมณ์ หรือ ความรู้สึก กระตุ้นให้ระบาย หรือ ให้กำลังใจ 4.2 ปัญหาความคิดไม่เป็นระบบ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 4.3 ปัญหาขาดข้อมูล หรือ ขาดประสบการณ์ การให้ข้อมูล หรือ คำแนะนำ

92 การวางแผนแก้ไขปัญหา ปัญหาภาวะอารมณ์
1 Ventilating (venting): กระตุ้นให้ระบาย 1.1 เมื่อ Client ไม่สามารถระบายได้เอง 1.2 เมื่อ Client ระบายเล่าออกมาได้เอง 2 Encouraging (support): ให้กำลังใจ เป็นการพูดเพื่อให้ CLIENT รู้สึกว่า ตนเองยังมี ศักยภาพที่ดี และยังมี สิ่งที่ผูกพันอยู่ “คุณเป็นคน..( ดี )…ที่ทำ..( อย่างนี้ )…..เพื่อ คนที่คุณผูกพัน ถ้าคนที่คุณผูกพัน รู้ เขาคงรู้สึก ภูมิใจในตัวคุณ”

93 “ คุณรู้สึก (ไม่สบายใจ/ตกใจ) กับ (เรื่องนี้,เรื่องที่เกิดขึ้น) ”
1 Ventilating (venting): กระตุ้นให้ระบาย เมื่อ Client ไม่สามารถระบายได้เอง 1 ให้การใส่ใจ: สบตา โน้มตัว ตั้งใจฟัง สัมผัส 2 สะท้อนความรู้สึก: “ คุณรู้สึก (ไม่สบายใจ/ตกใจ) กับ (เรื่องนี้,เรื่องที่เกิดขึ้น) ” “ ดูท่าทาง คุณ ….. ไม่ค่อยสบายใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น)….” 3 ให้บรรยายความรู้สึก และ/หรือ เสนอความช่วยเหลือ: “ อยากให้คุณลองพูดถึงความรู้สึกของคุณในตอนนี้ให้ฟัง หรือ ถ้าคุณมีอะไรที่อยากให้ช่วย ก็ยินดีช่วย ”

94 การ 1 Ventilating (venting): กระตุ้นให้ระบาย 1
การ 1 Ventilating (venting): กระตุ้นให้ระบาย เมื่อ Client ไม่สามารถระบายได้เอง 4 แสดงความเห็นใจ: ไม่ว่าใครก็ตาม ที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเกี่ยวข้องกับ โรคเอดส์ แต่อยู่ๆ ก็มา ทราบว่า ตัวเองติดเชื้อเอดส์ ก็คงรู้สึกตกใจมาก เหมือนที่คุณรู้สึกอยู่ในตอนนี้ ” 5 ตกลงบริการ: “เรื่องที่ประสบอยู่ คงกระทบกระเทือนจิตใจคุณมาก จนไม่สามารถพูดอะไรออกมา ในขณะนี้ คุณคงอยากได้ เวลาคิด ถ้าอยากจะบอกหรือเล่าอะไร พี่ก็ยินดี พี่รอได้”

95 1 Ventilating (venting): กระตุ้นให้ระบาย 1
1 Ventilating (venting): กระตุ้นให้ระบาย เมื่อ Client สามารถระบายได้เอง L : Look – สบตา A : Ask - ถามเปิด ตามประเด็นที่ Client เพิ่งจะพูดจบ D : Do not interuppt– ไม่ขัดจังหวะ D : Do not change subject– ไม่เปลี่ยนประเด็น E : Empathy -เห็นใจและเข้าใจ Cl. ( Sympathy - เวทนาสงสาร รู้สึกร่วมไปกับ Cl. ) R : Response - พยักหน้า ครับ/ค่ะ

96 การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเพื่อแจ้งผลตรวจเลือด เอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 6. จัดการกับปัญหาที่แท้จริง Concern:ความกังวล Confidentiality: หากคุณไม่อนุญาติเราจะไม่บอกใคร Condom: ใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดการเพิ่มเชื้อซึ่งกันและกัน CD4. หากภูมิต้านทานต่ำ จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส Couple Communication: การแจ้งผลตรวจเลือดกับผู้ใกล้ชิด Conception / Contraception: การมีบุตร/การคุมกำเนิด

97 การให้การปรึกษาเป็นคู่เพื่อแจ้งผลตรวจเอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเป็นคู่เพื่อแจ้งผลตรวจเอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาและคู่ ยอมรับ ในผลเลือด ที่เป็นบวก 2. เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาและคู่ สามารถ ปรับตัว กับ สถานการณ์ใหม่ ที่ติดเชื้อเอชไอวี.

98 การให้การปรึกษาเป็นคู่ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ให้การปรึกษาจะต้องมี ความเป็นกลาง และ สร้างความมีส่วนร่วม ของสมาชิกทุกคน ต่อปัญหา วัตถุประสงค์ ของการให้การปรึกษา เป็นคู่ ให้ เข้าใจกัน รักกันมากขึ้น ให้ เข้าใจปัญหา ตรงกัน ให้เริ่ม แก้ปัญหา ร่วมกัน

99 การให้การปรึกษาเป็นคู่เพื่อแจ้งผลตรวจเอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเป็นคู่เพื่อแจ้งผลตรวจเอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก 1. สร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ 2. ประเมินปัญหาทางจิตสังคม 3. ตรวจสอบความเข้าใจ 4. แจ้งผลอย่างเป็นขั้นตอน 5. จัดการกับปัญหาอารมณ์และความรู้สึก 6. จัดการกับปัญหาที่แท้จริง 7. ยุติบริการ

100 การให้การปรึกษาเป็นคู่เพื่อแจ้งผลตรวจเอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก
การให้การปรึกษาเป็นคู่เพื่อแจ้งผลตรวจเอชไอวี กรณีผลตรวจเลือดเป็นบวก การบอกผลในคู่ Concordant Positive แจ้งผลเลือด ทีละคน แจ้ง และให้การปรึกษา ฝ่ายที่สุขภาพจิตดีกว่า ก่อน แจ้ง และให้การปรึกษา ฝ่ายที่ระบุว่าต้องการทราบผลก่อน


ดาวน์โหลด ppt นายแพทย์พสุวัฒน์ คงศีล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google