ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
Learning Measurement and Evaluation ดร. อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
2
วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา บทที่ 9 การตัดสินผลการเรียนรู้
ดร.อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา บทที่ 9 การตัดสินผลการเรียนรู้
3
เกรด (Grade) หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่เป็นผลการประเมินอย่างเป็นทางการของผู้สอน เพื่อบอกผลการตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แบ่งออกเป็นแต่ละระดับตามมาตรฐานหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแต่ละรายวิชา โดยนำเสนอในรูปสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรและตัวเลข ซึ่งสัญลักษณ์ที่เป็นตัวอักษรจะแบ่งได้ทั้งแบบไม่มีประจุและแบบมีประจุ
4
2 เกรด 3 เกรด 5 เกรด 8 เกรด สัญลักษณ์ ระดับ ตวามหมาย
S (ผ่าน) G (ดี) A 4.0 ดีเยี่ยม (Excellent) B B+ 3.5 ดีมาก (Very Good) 3.0 ดี (Good) P (ผ่าน) C C+ 2.5 ปานกลาง (Fairly Good) 2.0 พอใช้ (Fair) D D+ 1.5 อ่อน (Poor) 1.0 อ่อนมาก (Very Poor) U (ไม่ผ่าน) F (ตก) F 0.0 ตก (Fail)
5
ระบบการตัดเกรด (Grading system) หมายถึง กระบวนการที่ครูผู้สอนตัดสินคุณค่าการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบกับความสามารถของกลุ่มผู้เรียนหรือเกณฑ์มาตรฐาน โดยดำเนินการตั้งแต่การกำหนดแนวคิดของการตัดเกรด(อิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ อิงพัฒนาการ หรือทั้งอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์) การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล การกำหนดน้ำหนักความสำคัญของการวัดผล การตัดเกรด และการรายงานผลในรูปสัญลักษณ์
6
จุดมุ่งหมายของการตัดเกรด
1. เพื่อทราบถึงระดับความสามารถของผู้เรียนและการบรรลุวัตถุประสงค์การทางการศึกษาที่กำหนด 2. เพื่อบรรยายคุณค่า ข้อดี ความเป็นประโยชน์ของงานที่ทำอย่างชัดเจน 3. เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการระบุได้ว่า งานที่ดีมีคุณค่าควรเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยพัฒนาการประเมินตนเองของผู้เรียน ให้เกิดทักษะในการวิเคราะห์จำแนกสิ่งต่างๆ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับงานที่ทำ 4. เพื่อกระตุ้นผู้เรียนและสร้างกำลังใจในการเรียน 5. เพื่อสื่อสารระหว่างการตัดสินผลของครูและความก้าวหน้าของผู้เรียน 6. เพื่อให้ครูผู้สอนได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ที่ผู้เรียนได้รับ และความรู้ที่ผู้เรียนยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 7. เพื่อคัดเลือกผู้เรียนให้ได้รับรางวัล หรือคัดเลือกผู้เรียนให้สอบผ่านเพื่อการเลื่อนชั้น ที่มา: Scriven (1974)
7
นงลักษณ์ วิรัชชัย (2546) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการตัดเกรดมี 2 ระดับ ได้แก่
วัตถุประสงค์ทั่วไป คือ เพื่อให้เกรดที่บ่งชี้ผลการเรียนรู้หรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ถูกต้องและเป็นธรรม วัตถุประสงค์ย่อย 4 ประการ คือ 1. การใช้เกรดเพื่อบริหาร โดยการจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มตามโปรแกรมการเรียน การจำแนกผู้เรียนตามระดับความสามารถ การตัดสินเพื่อเลื่อนระดับชั้นของผู้เรียน การให้รางวัล และการสำเร็จการศึกษา 2. การใช้เกรดเพื่อเป็นสารสนเทศหรือเพื่อการสื่อสาร โดยเป็นสื่อระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง 3. การใช้เกรดเป็นเครื่องกระตุ้นการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม เกรดก็อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความท้อถอยได้ 4. การใช้เกรดสำหรับการแนะแนว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เรียน ผู้ปกครองและครู เพื่อประกอบการตัดสินใจในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
8
กลวิธีทั่วไปของการตัดเกรด
ตัดเกรดภายใต้ความรู้และความสามารถของผู้เรียน สำหรับการประเมินที่เน้นหนักในด้านการประเมินความสามารถทางวิชาการของผู้เรียน ผู้สอนควรลดการประเมินในประเด็นที่เป็นคุณลักษณะทางวิชาการลง เช่น พฤติกรรมในชั้นเรียน เจตคติต่อการเรียน ความตรงต่อเวลา เป็นต้น เพื่อให้การประเมินผลบ่งชี้ถึงสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากรายวิชาได้ชัดเจนตรงประเด็นที่สุด อย่างไรก็ตาม เพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ครูจึงไม่ควรมุ่งวัดเฉพาะความสามารถทางวิชาการเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ครูควรตกลงทำความเข้าใจกับผู้เรียนให้ชัดเจนว่าจะเลือกเป้าหมายการประเมินทั้งที่เป็นวิชาการและไม่เป็นวิชาการแต่ละส่วนอย่างไรบ้าง
9
กลวิธีทั่วไปของการตัดเกรด
หลีกเลี่ยงระบบการตัดเกรดที่เน้นการแข่งขัน และจำกัดจำนวนผู้เรียนที่จะได้เกรดในระดับสูง เมื่อเทียบกับระบบการตัดเกรดโดยทั่วไป พบว่า การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มโดยตัดสินจากโค้งปกติ การให้ผู้เรียนทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่ม จะทำให้เกิดการเรียนรู้แบบแข่งขันขึ้นในกลุ่มผู้เรียน หากครูผู้สอนจะใช้การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม ก็ควรตะหนักถึงผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาแก่ผู้เรียนที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย เช่น การลดแรงจูงใจในการเรียนของผู้เรียน ภาวะกดดันและเครียดจากการประเมิน การลดความสามารถในการพัฒนาการเรียนรู้ การขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้น เป็นต้น
10
กลวิธีทั่วไปของการตัดเกรด
พยายามอย่าให้ความสำคัญกับเกรดมากจนเกินไป ครูผู้สอนควรอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจถึงกระบวนการตัดเกรดอย่างชัดเจนในช่วงเปิดภาคการศึกษา จากประมวลรายวิชาที่ต้องแจ้งให้ผู้เรียนทราบ เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าจะมีวิธีการวัดและประเมินผลอย่างไร (ทำการสอบกี่ครั้ง ส่งรายงานกี่ฉบับ คะแนนการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน กฏกติกาในการเรียนเป็นอย่างไร) ที่ต้องนำไปใช้ในการตัดเกรด ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเห็นว่า การที่จะเกรดสูงๆ นั้น เป็นความพยายามที่สามารถกระทำได้ นอกจากนี้ ครูควรหลีกเลี่ยงความกดดันอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน เช่น การพูดถึงคะแนนและเกรดบ่อยๆ ในชั้นเรียน เป็นต้น แต่ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนพยายามให้มากขึ้นเป็นสำคัญ
11
กลวิธีทั่วไปของการตัดเกรด
บอกให้ผู้เรียนทราบความก้าวหน้าทางการเรียนเป็นระยะ ภายหลังการมอบหมายงานแต่ละชิ้นงาน รวมถึงการสอบเก็บคะแนนแต่ละครั้ง ครูควรแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าตนเองได้คะแนนเท่าใด และคะแนนที่ได้หมายความว่าอย่างไร งานแต่ละชิ้นครูควรให้คะแนนเป็นตัวเลขที่ชัดเจนมากกว่าการให้เป็นตัวอักษร การให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางการเรียนเป็นระยะ ตลอดทั้งภาคการศึกษานี้ จะช่วยป้องกันความไม่พึงพอใจในเกรดที่ได้รับ ที่อาจเกิดขึ้นได้หากครูผู้สอนไม่แจ้งข้อมูลใดๆ ให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าเลย
12
ข้อร้องเรียนของผู้เรียนในการ
การลด ข้อร้องเรียนของผู้เรียนในการ ตัดเกรด 1. ระบุวิธีตัดเกรดที่ชัดเจนในประมวลผลรายวิชา สัดส่วนของน้ำหนักคะแนน วิธีการให้-ตัดคะแนนให้ชัดเจนก่อนการเรียนการสอน 2. กำหนดข้อปฏิบัติในกรณีที่มีการส่งงานช้ากว่ากำหนด 3. หลีกเลี่ยงการแก้ไขข้อกำหนดในการตัดเกรดระหว่างภาคการศึกษา (หากจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนข้อกำหนดจริง ผู้สอนต้องอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจและรับทราบโดยทั่วกัน) 4. ผู้เรียนควรมีโอกาสแสดงให้ผู้สอนทราบว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรแล้วบ้าง ที่จะทำให้ผู้สอนได้เห็นภาพความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนและป้องกันการลงโทษที่เกินกว่าความจำเป็น 5. ผู้เรียนควรได้มีโอกาสเลือกวิธีการวัดและประเมินผลทางเลือกอื่น ที่เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง
13
ข้อร้องเรียนของผู้เรียนในการ
6. เน้นย้ำให้ผู้เรียนทราบว่า เกรดเป็นเครื่องสะท้อนคุณภาพของงาน ไม่ใช่การตัดสินตัวบุคคล โดยการย้ำว่าผู้สอนให้เกรดในตัวงานที่ส่งเท่านั้น 7. ให้กำลังใจผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียนต่ำ โดยอาจจะให้คะแนนเพิ่มเติมหากผู้เรียนมีคะแนนพัฒนาการที่สูงขึ้นมาก 8. พูดคุยกับผู้เรียนโดยตรงถึงความรู้สึกผิดหวังในเกรดที่ตนเองได้รับ โดยแสดงเหตุผลและหลักฐานในการให้เกรดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อพิจารณาถึงความสอดคล้องระหว่างหลักฐานที่ปรากฏกับเกรดที่ตัดสิน ผู้สอนต้องสามารถยืนยันได้ว่าไม่ได้ทำการแก้ไขเกรดภายใต้ความต้องการส่วนตัวของตนเอง 9. เก็บบันทึกการตัดเกรดที่ถูกต้องอยู่เสมอ โดยการทำสำเนาหลักฐานให้ครบถ้วนทุกภาคการศึกษา การลด ข้อร้องเรียนของผู้เรียนในการ ตัดเกรด
14
การตัดเกรดที่มีประสิทธิภาพ
ให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับผลการสอบหรือผลการทำงานให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้า ก่อนวันสุดท้ายของการขอถอนรายวิชา และก่อนวันสุดท้ายที่จะสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอน ให้คะแนนที่เป็นตัวเลขแทนคะแนนที่เป็นตัวอักษรให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ให้โอกาสผู้เรียนในการแก้ไขงานที่ส่งเพื่อให้ได้รับคะแนนดีขึ้น ควรจัดให้มีการเรียนการสอนซ่อมเสริม หากผู้เรียนส่วนใหญ่มีผลคะแนนสอบต่ำ
15
ปัจจัยที่มีผลต่อความตรงและความเที่ยงของการตัดเกรด
ให้นิสิตจับกลุ่มอภิปรายว่า ปัจจัยต่อไปนี้ ส่งผลต่อความตรงและความเที่ยงของการตัดเกรดได้อย่างไร คุณภาพลายมือของผู้เรียน ความถูกต้องของไวยกรณ์ โครงสร้างของการเขียนตอบ ความคาดหวังที่มีต่อผู้เรียน บุคลิกภาพของผู้สอน ความเชื่อเกี่ยวกับการตัดเกรดของผู้สอน ประสบการณ์ในการตัดเกรดของผู้สอน คุณภาพของชิ้นงาน/ผลงาน
16
การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม (Norm – Referenced Grading)
17
แนวคิดในการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม
มีแนวคิดตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีของความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่เชื่อว่าบุคคลสามารถเรียนรู้ได้แตกต่างกัน คะแนนที่ได้จากแบบสอบใช้แทนความรู้ความสามารถของผู้เรียน ซึ่งควรมีการกระจายเข้าใกล้การแจกแจงแบบโค้งปกติ (ถ้ามีผู้เข้าสอบจำนวนมากพอ) โดยมีผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถปานกลางจำนวนมาก ส่วนผู้เรียนที่มีความสามารถสูงหรือต่ำจะมีจำนวนน้อยกว่า การจัดระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนเช่นนี้จะทำให้ทราบว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้ความสามารถสูงหรือต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้เรียนทั้งหมด แต่จะไม่สามารถทราบความสามารถที่แท้จริงของตนเองได้ แบบสอบที่ใช้ต้องเป็นแบบสอบชุดเดียวกันหรือคู่ขนานกัน มีความยากง่ายพอเหมาะ และมีอำนาจจำแนกสูง มุ่งจัดระดับความสามารถของผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ โดยการเปรียบเทียบภายในกลุ่มว่าใครอยู่ในกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน
18
แนวคิดในการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม
ข้อดี 1. ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการแข่งขันกัน เป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนพยายามเรียนรู้ให้ได้ดีที่สุด ไม่ใช่การเรียนเพื่อหวังผลแค่สอบผ่านเท่านั้น 2. สะดวกในการนำไปใช้ ข้อเสีย 1. มาตรฐานของการกำหนดเกรดขึ้นกับผลการเรียนรู้ของกลุ่ม 2. มีปัญหาในการเปรียบเทียบระหว่างห้อง ระหว่างรุ่นของผู้เรียน ซึ่งแต่ละห้องแต่ละรุ่นอาจมีความสามารถแต่งต่างกัน ถึงแม้จะได้เกรดเดียวกัน 3. เนื่องจากการตัดเกรดวิธีนี้ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้เรียน จึงอาจส่งผลให้ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะไม่ช่วยเหลือกันในการทำงานร่วมกันได้
19
วิธีการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม
การใช้พิสัย (Range) หลักการ การตัดเกรดวิธีนี้จะขึ้นอยู่กับคะแนนสูงสุดกับคะแนนต่ำสุดของผู้เรียนและจำนวนเกรดที่ต้องการให้ผู้เรียน ตัวอย่าง ในการสอบวิชาภาษาอังกฤษมีผู้สอบได้คะแนนสูงสุด 75 คะแนน คะแนนต่ำสุด 25 คะแนน ถ้าผู้สอนต้องการตัดเกรดแบ่งเป็น 4 ช่วง อยากทราบว่าแต่ละเกรดมีช่วงคะแนนเท่าใด วิธีทำ 1. กำหนดจำนวนเกรดที่ต้องการ 4 เกรด (A, B, C, D) 2. คำนวณหาพิสัย (R) จาก พิสัย = คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด พิสัย = 75 – 25 = 50
20
การใช้พิสัย (range) วิธีทำ 3. คำนวณหาช่วงคะแนนในแต่ละเกรด (I) จาก
ช่วงห่างคะแนน = พิสัย จำนวนเกรด = =12.5 4. นำช่วงของคะแนนไปกำหนดเกรดแต่ละระดับ จะได้ คนที่ได้เกรด A จะมีคะแนน 62.5 X (มาจาก ) คนที่ได้เกรด B จะมีคะแนน 50 X 62.5 คนที่ได้เกรด C จะมีคะแนน 37.5 X 50 คนที่ได้เกรด D จะมีคะแนน X 37.5
21
กรณีตัดเกรด 5 ระดับ ช่วงห่างคะแนน = พิสัย จำนวนเกรด = =10
22
การใช้พิสัย (range) แบบฝึกหัด จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ในการตัดเกรด 5 ช่วง (A, B, C, D, F) อยากทราบว่าแต่ละเกรดมีช่วงคะแนนเท่าใด และมีผู้เรียนจำนวนกี่คนที่ได้เกรดนั้น คะแนน ความถี่ 58 56 55 51 50 49 47 46 45 44 42 41 1 2 3 6 40 39 38 37 36 35 34 33 32 31 30 29 5 7 28 27 26 25 24 23 22 21 20 18 15 4
23
การใช้พิสัย (range) วิธีทำ คำตอบ ช่วงห่างระหว่างคะแนน = 8.9 ปัด เป็น 9
คำตอบ ช่วงห่างระหว่างคะแนน = 8.9 ปัด เป็น 9 คนที่ได้เกรด A จะมีคะแนนระหว่าง X จำนวน คน คนที่ได้เกรด B จะมีคะแนนระหว่าง X จำนวน คน คนที่ได้เกรด C จะมีคะแนนระหว่าง X จำนวน คน คนที่ได้เกรด D จะมีคะแนนระหว่าง X จำนวน คน คนที่ได้เกรด F จะมีคะแนนระหว่าง X จำนวน คน
24
วิธีการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม
2. การตัดเกรดโดยกำหนดสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ในแต่ละเกรด หลักการ วิธีการตัดเกรดแบบนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน ส่วนมากมักกำหนดสัดส่วนของแต่ละเกรดโดยใช้สัดส่วนของโค้งปกติ
25
2. การตัดเกรดโดยกำหนดสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ในแต่ละเกรด
ตัวอย่าง1 จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ในการตัดเกรด หากมีผู้เรียนจำนวน 80 คน คะแนน Z 2% 14% 34% วิธีการ 1. กำหนดจำนวนเกรดที่ต้องการตัดเท่ากับ 4 เกรด 2. เรียงอันดับที่ของการสอบตามคะแนนมากไปน้อย จะได้ เกรด A ต้องการ 16% จะมีผู้เรียนได้เกรดนี้ 13 คน เกรด B ต้องการ 34% จะมีผู้เรียนได้เกรดนี้ 27 คน เกรด C ต้องการ 34% จะมีผู้เรียนได้เกรดนี้ 27 คน เกรด D ต้องการ 16% จะมีผู้เรียนได้เกรดนี้ 13 คน
26
2. การตัดเกรดโดยกำหนดสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ในแต่ละเกรด
ตัวอย่าง2 จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ในการตัดเกรด หากมีผู้เรียนจำนวน 80 คน คะแนน Z 2% 14% 34% วิธีการ 1. กำหนดจำนวนเกรดที่ต้องการตัดเท่ากับ 5 เกรด 2. เรียงอันดับที่ของการสอบตามคะแนนมากไปน้อย จะได้ เกรด A ต้องการ ……% จะมีผู้เรียนได้เกรดนี้ …… คน เกรด B ต้องการ ……% จะมีผู้เรียนได้เกรดนี้ …… คน เกรด C ต้องการ ……% จะมีผู้เรียนได้เกรดนี้ …… คน เกรด D ต้องการ ……% จะมีผู้เรียนได้เกรดนี้ …… คน เกรด F ต้องการ ……% จะมีผู้เรียนได้เกรดนี้ …… คน
27
วิธีการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม
3. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลักการ การตัดเกรดโดยวิธีนี้ อาศัยค่าเฉลี่ยกับค่าส่วนเบี่ยงเบนมตรฐานมาเป็นตัวกำหนดช่วงห่างของแต่ละเกรด โดยยึดถือว่าคะแนนมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ ขั้นตอนการคำนวณ 1. คำนวณหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. กำหนดจำนวนเกรด และจำนวนช่วงห่างของค่าเฉลี่ยของเกรดแต่ละระดับ 3. คำนวณคะแนนตามช่วงเกรดที่กำหนดไว้
28
F D C B A 3. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เกรด 5 ระดับ ช่วงห่าง 1 S.D. 𝑿 S.D. ขึ้นไป ได้เกรด A 𝑿 S.D. ถึง 𝑿 S.D. ได้เกรด B 𝑿 S.D. ถึง 𝑿 S.D. ได้เกรด C 𝑿 S.D. ถึง 𝑿 S.D. ได้เกรด D 𝑿 S.D. ลงมา ได้เกรด F F D C B A -3S.D S.D. -1S.D 𝑿 S.D. +2S.D. +3S.D.
29
F D C B A 3. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เกรด 5 ระดับ ช่วงห่าง 2 S.D. 𝑿 + 3 S.D. ขึ้นไป ได้เกรด A 𝑿 + 1 S.D. ถึง 𝑿 + 3 S.D. ได้เกรด B 𝑿 - 1 S.D. ถึง 𝑿 + 1 S.D. ได้เกรด C 𝑿 - 3 S.D. ถึง 𝑿 - 1 S.D. ได้เกรด D 𝑿 - 3 S.D. ลงมา ได้เกรด F F D C B A -3S.D S.D. -1S.D 𝑿 S.D. +2S.D. +3S.D.
30
C B D A 3. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เกรด 4 ระดับ ช่วงห่าง 1 S.D. 𝑿 + 1 S.D. ขึ้นไป ได้เกรด A 𝑿 ถึง 𝑿 + 1 S.D. ได้เกรด B 𝑿 - 1 S.D. ถึง 𝑿 ได้เกรด C 𝑿 - 1 S.D. ลงมา ได้เกรด D D C B A -3S.D S.D. -1S.D 𝑿 S.D. +2S.D. +3S.D.
31
3. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ทดสอบ เกรด 8 ระดับ ช่วงห่าง 1 S.D ได้เกรด A ได้เกรด B+ ได้เกรด B ได้เกรด C+ ได้เกรด C ได้เกรด D+ ได้เกรด D ได้เกรด F -3S.D S.D. -1S.D 𝑿 S.D. +2S.D. +3S.D.
32
F D C B A 3. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตัวอย่าง ในการสอบวิชาฟิสิกส์ มีผู้เข้าสอบจำนวน 150 คน ค่าเฉลี่ยของคะแนนชุดนี้มีค่าเท่ากับ 20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.5 หากผู้สอนต้องการตัดเกรด 5 ระดับ ที่มีช่วงห่างระหว่างเกรดเท่ากับ 1 S.D จงคำนวณหาช่วงคะแนนของผู้เรียนในแต่ละเกรด เกรด 5 ระดับ ช่วงห่าง 1 S.D. 𝑿 S.D. ขึ้นไป ได้เกรด A 𝑿 S.D. ถึง 𝑿 S.D. ได้เกรด B 𝑿 S.D. ถึง 𝑿 S.D. ได้เกรด C 𝑿 S.D. ถึง 𝑿 S.D. ได้เกรด D 𝑿 S.D. ลงมา ได้เกรด F F D C B A -3S.D S.D. -1S.D 𝑿 S.D. +2S.D. +3S.D.
33
3. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิธีทำ 𝑿 = 20 และ S.D. = 4.5 ดังนั้น ค่า 1.5 S.D. = (1.5)(4.5) = 6.75 ค่า 0.5 S.D. = (0.5)(4.5) = 2.25 จะได้ 𝑿 S.D. = = นั่นคือ เกรด A 26 คะแนน (ตั้งแต่ 26 ขึ้นไป) 𝑿 S.D. = = นั่นคือ 22 เกรด B 26 𝑿 S.D. = = นั่นคือ 17 เกรด C 22 𝑿 S.D. = 20 – 6.75 = นั่นคือ 13 เกรด B 17 𝑿 S.D. = 20 – 6.75 = นั่นคือ เกรด F 13
34
F D C B A 3. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แบบฝึกหัด ในการสอบวิชาพละศึกษา มีผู้เข้าสอบจำนวน 100 คน ค่าเฉลี่ยของคะแนนชุดนี้มีค่าเท่ากับ 80 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4 หากผู้สอนต้องการตัดเกรด 5 ระดับ ที่มีช่วงห่างระหว่างเกรดเท่ากับ 1 S.D จงคำนวณหาช่วงคะแนนของผู้เรียนในแต่ละเกรด เกรด 5 ระดับ ช่วงห่าง 1 S.D. 𝑿 S.D. ขึ้นไป ได้เกรด A 𝑿 S.D. ถึง 𝑿 S.D. ได้เกรด B 𝑿 S.D. ถึง 𝑿 S.D. ได้เกรด C 𝑿 S.D. ถึง 𝑿 S.D. ได้เกรด D 𝑿 S.D. ลงมา ได้เกรด F F D C B A -3S.D S.D. -1S.D 𝑿 S.D. +2S.D. +3S.D.
35
3. การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ยกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิธีทำ 𝑿 = และ S.D. = ..... ดังนั้น ค่า 1.5 S.D. = (1.5)(.....) = ..... ค่า 0.5 S.D. = (0.5)(.....) = ..... จะได้
36
การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ (Criterion – Referenced Grading)
37
แนวคิดในการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์
มีแนวคิดตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนเพื่อรอบรู้ ที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถอะไร ทำอะไรได้บ้าง คะแนนที่ได้จากการวัดจึงใช้แทนระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียน แบบสอบที่ใช้ต้องเป็นแบบสอบที่สามารถวัดสิ่งที่เป็นตัวแทนพฤติกรรมหรือลักษณะสำคัญของวิชานั้นๆ มุ่งเปรียบเทียบระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนกับเกณฑ์มาตรฐานของความรู้ความสามารถที่ผู้เรียนพึงมี โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่นในกลุ่มเดียวกัน ผลการประเมินมักออกมาในรูป ‘‘ผ่านหรือไม่ผ่าน’’ ‘‘รู้หรือไม่รู้’’ หรือออกมาในรูปของเกรดระดับต่างๆ เกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบกับจุดมุ่งหมาย. คะแนนเต็ม. คะแนนจุดตัด (Cut of scores) มาตรฐานวิชาชีพ เป็นต้น
38
แนวคิดในการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์
ข้อดี 1. ช่วยเสริมสร้างความร่วมมือกันระหว่างผู้เรียน เป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ร่วมกัน 2. วิชาชีพส่วนใหญ่มีเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการตัดสินคุณภาพ ข้อเสีย 1. ผู้สอนแต่ละคนต่างมีเกณฑ์สำหรับตัดสินระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนต่างกัน 2. อาจมีปัญหาในเรื่องความเชื่อถือได้ของเกณฑ์ที่ใช้ 3. เป็นการยากที่จะตั้งเกณฑ์การให้คะแนนที่สมเหตุสมผล ยุติธรรมสำหรับผู้เรียน หากผู้สอนขาดประสบการณ์ในการสอนและการให้คะแนน
39
การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์
การกำหนดเกณฑ์คะแนน ด้วยร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ของแต่ละเกรด เช่น 80 ขึ้นไป A B+ B C+ C D+ D 49 ลงไป F
40
การตัดเกรดแบบอิงพัฒนาการ
การตัดเกรดแบบอิงพัฒนาการ ผู้สอนสามารถพิจารณาคะแนนพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตัดเกรดได้ โดยคำนวณจากสูตร คะแนนพัฒนาการ= คะแนนหลังเรียน −คะแนนก่อนเรียน คะแนนเต็ม−คะแนนก่อนเรียน
41
การตัดเกรดแบบอิงพัฒนาการ
คะแนนพัฒนาการ= คะแนนหลังเรียน −คะแนนก่อนเรียน คะแนนเต็ม−คะแนนก่อนเรียน ตัวอย่าง ชื่อ-สกุล Pre-test Post-test คะแนนพัฒนาการ การแปลผล มะลิ มะลิลา 𝟏𝟓 𝟐𝟎 𝟏𝟔 𝟐𝟎 = 𝟏𝟔−𝟏𝟓 𝟐𝟎−𝟏𝟓 = 𝟏 𝟓 =𝟎.𝟐𝟎 มีพัฒนาการในทางบวก เป่าเปา เป่าฮื้อ 𝟖 𝟐𝟎 𝟏𝟎 𝟐𝟎 ชูใจ ชูชู 𝟐 𝟐𝟎 𝟓 𝟐𝟎
42
การเปรียบเทียบและการแปลงคะแนน
คะแนนดิบ (Raw Score) คะแนนที่ได้จากการวัด บอกได้ว่าทำข้อสอบได้มากน้อยเพียงใดเมื่อ เทียบกับข้อสอบทั้งฉบับเท่านั้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามีความรู้อยู่ เท่าไร ดังนั้น คะแนนดิบจึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ จุดหมายของคะแนนดิบ ต้องทำให้เป็นคะแนนมาตรฐานให้มีช่วง เท่าๆ กัน จึงจะสามารถเปรียบเทียบกันได้
43
การเปรียบเทียบและการแปลงคะแนน คะแนนมาตรฐาน (Standard score)
เป็นการนำคะแนนดิบมาปรับเปลี่ยนด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้ เป็นรูปคะแนนใหม่ที่มีความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถอ่านแล้วเข้าใจว่า ผู้สอบที่ได้คะแนนนั้นๆ เก่งหรืออ่อนเท่าไหร่ มีจุดกลางที่จุดเดียวกัน คือ Mode, Median และ Mean อยู่จุดเดียวกัน การกระจายของคะแนนหรือความเบี่ยงเบนของคะแนนแต่ละตัวจะต่างไป จากค่าเฉลี่ยตรงกลางเป็นระยะทางเท่ากัน ทั้งทางซ้ายและทางขวาของจุด กลาง นั่นคือ คะแนนแต่ละตัวจะมีระยะห่างแต่ละตัวเท่ากัน คะแนนมาตรฐานที่นิยม มี 2 อย่าง คือ คะแนนซี และคะแนนที การกระจายของคะแนนซี และคะแนนที จะเป็นรูปโค้งปกติ (Normal curve) เมื่อแบ่งครึ่งโค้งปกติพื้นที่ทางซ้ายและขวาจะเท่ากัน
44
การเปรียบเทียบและการแปลงคะแนน
คะแนนซี (Z-score) เป็นคะแนนมาตรฐานที่บอกให้ทราบว่าคะแนนซีแต่ละตัวห่างจากจุด กลางเป็นกี่เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เช่น คะแนน Z = 1 จะห่างไปจาก ค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 1 เท่าของส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนน Z = 2 จะห่างไปจาก ค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 2 เท่าของส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การคำนวณ ค่า 𝒁= 𝑿 − 𝑿 𝑺.𝑫. คะแนนซีทุกวิชาสามารถเปรียบเทียบกันได้เพราะได้ทำการปรับจาก คะแนนดิบแล้ว
45
การเปรียบเทียบและการแปลงคะแนน
คะแนนที (T-score) เป็นคะแนนมาตรฐาน สะดวกกว่าคะแนนซี มีค่าตั้งแต่ 1 – 100 คะแนนเป็นบวกทุกตัว การกระจายของคะแนนมีลักษณะเหมือนคะแนนซี คะแนนทีมีค่าเฉลี่ย = 50 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 10 คะแนนที คำนวณได้จากสูตร T = Z
46
คะแนน T-score ( 𝐗 = 50, S.D. = 10) คะแนน Z-score ( 𝐗 = 0, S.D. = 1)
47
การเปรียบเทียบและการแปลงคะแนน
ตัวอย่าง คะแนนสอบกลางภาควิชาภาษาไทยของนักเรียนทั้ง 3 คน ปรากฏ ดังตาราง อยากทราบว่าใครเรียนภาษาไทยเก่งกว่ากัน? ชื่อ-สกุล คะแนนดิบ (X) 𝐗 = 30 S.D. = 5 คะแนนมาตรฐาน 𝐙= 𝐗 − 𝐗 𝐒.𝐃. T = Z รักชาติ ยิ่งชีพ 30 𝐙= 𝟑𝟎 −𝟑𝟎 𝟓 =𝟎 50 รักเกียรติ ยิ่งยง 38 𝐙= 𝟑𝟖 −𝟑𝟎 𝟓 =𝟏.𝟔 66 รักสัตย์ ยิ่งใหญ่ 29 𝐙= 𝟐𝟗 −𝟑𝟎 𝟓 =𝟎.𝟐 48
48
การเปรียบเทียบและการแปลงคะแนน
แบบฝึกหัด ในการสอบกลางภาคที่ผ่านมา สุภาพรมีคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์และ วิชาเคมี ดังนี้ วิชาคณิตศาสตร์ สอบได้ 30 คะแนนจาก 60 คะแนน วิชาเคมี สอบได้ 60 คะแนนจาก 80 คะแนน โดยในการสอบครั้งนี้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์เท่ากับ 40, ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5 และคะแนนเฉลี่ยวิชาเคมีเท่ากับ 60, ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3 อยากทราบว่าสุภาพรเรียนวิชาใดเก่งกว่ากัน?
49
บรรณานุกรม พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์. ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2551) เอกสารประกอบการสอนวิชา การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.