ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยBruce Clifford Little ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด
หนังสือ “การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น อ.สุภาณี นิตย์เสมอ” MC220 มี e-book และ จำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด อ.มาลี บุญศิริพันธ์” MCS1250 จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬา
2
บทที่ ๕ องค์กรหนังสือพิมพ์
ตัวอย่างการจัดกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ลักษณะการเป็นเจ้าของธุรกิจ โครงสร้างการจัดองค์กรหนังสือพิมพ์ กองบรรณาธิการ
3
หนังสือพิมพ์ไม่ว่าขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กจะประกอบด้วยหน่วยงานหลัก ๓ หน่วย ได้แก่ ฝ่ายบรรณาธิการ ฝ่ายบริหารจัดการ และฝ่ายบริหารการผลิต ๑ ฝ่ายบรรณาธิการ (editorial department) ๒ ฝ่ายบริหารจัดการ (management department) ๓ ฝ่ายบริหารการผลิต (production department)
4
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์และการสื่อสารยุคเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงด้านประสิทธิภาพงานวารสารศาสตร์และธุรกิจหนังสือพิมพ์อย่างมหาศาล แม้จะลงทุนสูงขึ้นแต่เป็นการพัฒนาระบบและตอบสนองช่องทางของผู้รับสารเพื่อสามารถดำเนินธุรกิจหนังสือพิมพ์ได้ต่อไป
5
พันธกิจของหน่วยงานทั้ง ๓ ฝ่ายในองค์กรหนังสือพิมพ์มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ทุกฝ่ายต้องทำงานประสานกันอย่างมีเอกภาพ ภายใต้นโยบายการข่าวและนโยบายบริหารองค์กร การทำหนังสือพิมพ์จึงเป็นงานที่ทำกันเป็นทีม (team work) ต้องการความรวดเร็วและเที่ยงตรง เพื่อแข่งกับเวลาให้ทันรายงานเหตุการณ์ชนิดวันต่อวัน หรือชั่วโมงต่อชั่วโมง ความเร่งรีบดังกล่าวคนในวงการหนังสือพิมพ์คุ้นเคย คือ “deadline” แปลว่า “เส้นตาย” หมายถึง งานทุกชิ้นทุกขั้นตอนต้องทำให้เสร็จภายใต้เงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ หากบุคคลแต่ละฝ่ายหรือแต่ละคนไม่ให้ความสนใจต่อเงื่อนไขเวลา เนื้อหาของหนังสือพิมพ์ย่อมขาดคุณภาพ ไร้ความสด ไม่มีความทันสมัย และถูกลดทอนความน่าเชื่อถือในที่สุด
6
แนวธุรกิจโลกาภิวัตน์ เริ่มจากการจัดแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบให้สะดวกต่อการบริหารงานยุคใหม่ประกอบด้วย
๑ กองบรรณาธิการ (news/editorial department) ๑.๑ห้องข่าวหรือโต๊ะข่าว (newsroom) ๑.๒ ฝ่ายบรรณาธิกร (copy desk) ๑.๓ ฝ่ายบทบรรณาธิการ/คอลัมน์ (editorial desk) ๑.๔ ฝ่ายภาพ (photography division) ๑.๕ ฝ่ายศิลป์ (art department) ๑.๖ ห้องสมุดหนังสือพิมพ์ (morgue)
7
แนวธุรกิจโลกาภิวัตน์ เริ่มจากการจัดแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบให้สะดวกต่อการบริหารงานยุคใหม่ประกอบด้วย
๒ กองการธุรกิจ/การจัดการ (business department) ๒.๑ ฝ่ายโฆษณา (advertising department) ๒.๒ ฝ่ายจัดจำหน่าย (circulation department) ๒.๓ ฝ่ายรับพิมพ์งานพิเศษ (job printing division)
8
แนวธุรกิจโลกาภิวัฒน์ เริ่มจากการจัดแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบให้สะดวกต่อการบริหารงานยุคใหม่ประกอบด้วย
๓ กองการตลาดและส่งเสริมการขาย (marketing and promotion department) ๔ กองการผลิต (mechanical department) ๕ กองอำนวยการบริหาร (administrative department)
9
แผนภูมิโครงสร้างองค์กรหนังสือพิมพ์โดยทั่วไป
เจ้าของ (ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา) บรรณาธิการใหญ่ บรรณาธิการบริหาร กองการผลิต ฝ่ายเรียงพิมพ์ ฝ่ายแม่พิมพ์ ฝ่ายจัดพิมพ์ ฝ่ายหีบห่อ ฝ่ายขนส่ง ฯลฯ กองจัดการ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายจัดจำหน่าย ฝ่ายจัดหาโฆษณา ฝ่ายส่งเสริมการขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายจัดส่ง/สมาชิก กองบรรณาธิการ โต๊ะข่าวในประเทศ โต๊ะข่าวการเมือง/เศรษฐกิจ โต๊ะข่าวต่างจังหวัด โต๊ะข่าวกีฬา โต๊ะข่าวเด็ก/สตรี โต๊ะข่าวการศึกษา/สิ่งแวดล้อม โต๊ะข่าวต่างประเทศ โต๊ะบทความ/คอลัมน์ ฝ่ายภาพ/กราฟฟิก ฝ่ายบรรณาธิการ ฝ่ายออกแบบ/จัดหน้า ฝ่ายศูนย์ข้อมูล/ห้องสมุด แผนภูมิโครงสร้างองค์กรหนังสือพิมพ์โดยทั่วไป
10
กองบรรณาธิการ เป็นหน่วยงานหลักของงานวารสารศาสตร์ในสื่อทุกแขนง มีหน้าที่ผลิตเนื้อหาสาระ เปรียบเสมือนอาหารทางปัญญาที่สนองตอบความสนใจและความต้องการรู้ข้อมูลข่าวสารของกลุ่มเป้าหมายได้ ซึ่งคุณค่าของอาหารทางปัญญาขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคลากรในกองบรรณาธิการ ซึ่งจำแนกตามประเภทข่าวดังนี้ 11. บรรณาธิการ/หัวหน้าฝ่ายบทความ/สารคดี (article/feature editor) 12. บรรณาธิการ/หัวหน้าฝ่ายจัดหน้า/ฝ่ายศิลป์ (make-up editor) 13. ผู้เขียนบทนำ (editorial writer) 14. ผู้เขียนคอลัมน์ประจำ (columnist) 15. ผู้เรียบเรียงต้นฉบับ (rewriter) 16. ช่างภาพ (photographer) 17. ผู้สื่อข่าว (reporters) 18. ผู้ตรวจต้นฉบับ (copy editor) 19. ผู้พิสูจน์อักษร (proof reader) 20. ช่างเรียงพิมพ์/พนักงานพิมพ์ต้นฉบับ (typist) 21. ฯลฯ บรรณาธิการอำนวยการ (group editor) บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา (editor & publisher) บรรณาธิการใหญ่ (editor-in-chief) บรรณาธิการบริหาร (managing editor) บรรณาธิการข่าว/หัวหน้าข่าว (news editor) บรรณาธิการ/หัวหน้าข่าวต่างประเทศ (foreign news editor) บรรณาธิการ/หัวหน้าข่าวในประเทศ (city editor) บรรณาธิการ/หัวหน้าข่าวกีฬา (sports editor) บรรณาธิการ/หัวหน้าข่าวสังคม/ธุรกิจ (society editor/business editor) บรรณาธิการ/หัวหน้าข่าวสตรี (woman’s page editor)
11
แผนผังแสดงทางเดินภายในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์
12
หน้าที่ของตำแหน่งต่าง ๆในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์
๑ ผู้สื่อข่าว/นักข่าว – ผู้มีหน้าที่แสวงหาข่าวตามที่ได้รับมอบหมาย ๑.๑ ผู้สื่อข่าวพิเศษ (special reporter) ๑.๒ ผู้สื่อข่าวทั่วไป (general reporter) ๑.๓ ผู้สื่อข่าวประจำ (beat reporter) ๒ บรรณธิการข่าวในประเทศ ๓ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ ๔ บรรณาธิการภาพ
13
หน้าที่ของตำแหน่งต่าง ๆในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์
๕ บรรณาธิการข่าว หรือ หัวหน้าข่าว ๖ ผู้ตรวจต้นฉบับ ๗ ผู้พิสูจน์อักษร สรุปการทำงานในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เป็นงานที่ต้องทำกันเป็นทีม ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้ทันกำหนดเวลาวางจำหน่าย ความเข้าใจในพันธกิจและกระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์ที่ตรงกันของทุกห่วงโซ่บุคคลในกองบรรณาธิการย่อมช่วยให้งานวารสารศาสตร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
14
ตัวอย่างการจัดกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ
15
โครงสร้างกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน
16
โครงสร้างกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
17
โครงสร้างกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
18
โครงสร้างกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Nation
19
ลักษณะการเป็นเจ้าของธุรกิจหนังสือพิมพ์
20
งานวารสารศาสตร์ในบริบทของการดำเนินธุรกิจหนังสือพิมพ์ยุคทุนนิยมได้ถูกปรับประยุกต์ให้ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ด้านการตลาด ที่เรียกว่า market driven journalism อย่างเหลีกเลี่ยงไม่ได้แตกต่างจากการบริหารในอดีตที่ฝ่ายการตลาดไม่สามารถมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจด้านเนื้อหาของกองบรรณาธิการ และแน่นอนว่าการบริหารสื่อวารสารศาสตร์แบบการตลาดเป็นตัวนำ ย่อมมีผลกระทบต่อรูปแบบการเป็นเจ้าของ หลักการบริหาร จริยธรรม และปรัชญาทางวิชาชีพ ในระดับหนึ่ง ความจริงที่แท้จริงของหนังสือพิมพ์ก็คือ คุณภาพงานวารสารศาสตร์ที่ต้องมีพันธกิจและกรณียกิจแนบเนื่องอยู่กับสังคมพร้อมๆ กับหลักการบริหารให้ธุรกิจอยู่รอดได้อย่างดีเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน เมื่อหนังสือพิมพ์ต้องผันพันธกิจกับระบบทุนนิยมที่มีการตลาดเป็นตัวนำ การบริหารงานจึงต้องมีการวางแผนให้รอบคอบ เพราะต้องคำนึงถึงผลผลิตที่มีคุณค่าในการบริการความคิด ความรู้ สติปัญญา สร้างคุณภาพ และค่านิยมที่ถูกต้องให้แกสังคมมากกว่าผลประกอบการเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นการใช้กลยุทธ์การตลาดบนพื้นฐานความจริงใจต่อสังคมและผู้บริโภค ถือเป็นพันธกิจที่ต้องทำควบคู่กับความอยู่รอดขององค์กร
21
รูปแบบการเป็นเจ้าของธุรกิจหนังสือพิมพ์นั้น แฟรงก์ รักเกอร์ (Frank W
รูปแบบการเป็นเจ้าของธุรกิจหนังสือพิมพ์นั้น แฟรงก์ รักเกอร์ (Frank W. Rucker) และ เฮอร์เบิร์ต วิลเลียมส์ (Herbert L. Williams) ได้จัดรูปแบบการเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ดังนี้ ๑ รูปแบบเจ้าของคนเดียว (single ownership) ๒ รูปแบบหุ้นส่วนหรือกลุ่มบุคคล (partnership/group ownership) ๓ รูปแบบบริษัทจำกัด (company limited ownership) ๔ รูปแบบลูกโซ่หรือเครือข่าย (chain/network ownership) ๕ รูปแบบธุรกิจข้ามสื่อ (cross-media ownership) ๖ รูปแบบธุรกิจหลายกิจการ (conglomerate ownership) ๗ รูปแบบธุรกิจร่วมทุน (joint operation ownership) สำนึกในการสร้างความสมดุลระหว่างผลกำไรทางธุรกิจกับกรณียกิจและพันธกิจที่แนบเนื่องอยู่กับการยกระดับคุณธรรม ศีลธรรม รสนิยม ทัศนคติ และมาตรฐานการครองชีพของประชาชน ด้วยการคัดสรรปฏิบัติหน้าที่การรายงานข่าวสารอย่างไรให้มีคุณภาพ จึงเป็นโจทย์สำคัญยิ่งของนักวารสารศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคต
22
หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด
หนังสือ “การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น อ.สุภาณี นิตย์เสมอ” MC220 มี e-book และ จำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด อ.มาลี บุญศิริพันธ์” MCS1250 จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬา
23
บทที่ ๖ ข่าว : ความหมาย และอุดมการณ์
ความหมายของข่าว องค์ประกอบของข่าว คุณลักษณะของข่าว ประเภทข่าว อุดมการณ์
24
ข่าวต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ความน่าสนใจ ความสำคัญ การรายงานและผู้อ่าน
25
นิยามคำว่า “ข่าว” จึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง
ข่าว คือ เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ประชาชนสนใจใคร่รู้ ข่าว คือ เหตุการณ์ หรือ “ข้อมูล” ที่รายงานให้ ผู้อ่านทราบ ข่าว คือ สิ่งที่ประชาชนสนใจ ข่าว คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสำคัญ ข่าว คือ สิ่งที่บรรณาธิการตัดสินใจเลือกลงพิมพ์ ข่าว คือ สิ่งที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ ข่าว คือ รายงานเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีความเป็น ธรรม รวดเร็ว ถูกต้อง เที่ยงตรง ข่าว คือ อะไรก็ตามที่ได้รับการนำเสนอใน หนังสือพิมพ์
26
“ข่าว” คือ “รายงาน” ต้องเป็นเรื่องราวที่มีการรายงานให้เราทราบ สาระสำคัญของข่าวต้องเป็นการรายงานของเหตุการณ์ และ/หรือ สถานการณ์ที่ผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการเห็นพ้องกันว่าสำคัญและน่าสนใจ พอที่ประชาชนควรหรือต้องรับรู้เหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้นๆ ตามหลักการประเมินคุณค่าข่าว “ความน่าสนใจ” มาจาก ความสด ความทันสมัย ทันต่อ เหตุการณ์ เป็นสิ่งที่มนุษย์ปุถุชนสนใจ ข่าวจึงเปรียบเสมือน “สินค้า” กลยุทธ์สร้างความสนใจ เพื่อให้ประชาชน “อยากรู้” จนต้องซื้อหนังสือพิมพ์อ่าน การเคลื่อนไหวจากสังคมข้อมูลข่าวสาร (information society) สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (knowledge based society)
27
องค์ประกอบของข่าว ต้องเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากรู้ (want to know) เรื่องที่ประชาชนควรรู้ (ought to know) และเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องรู้ (have to know) ข่าวที่มีคุณค่าสูงมักมีทั้งความสำคัญ (significance)และความน่าสนใจ (interest)ในตัวเอง
28
องค์ประกอบของข่าว ความสำคัญ (significance)
“ความสำคัญ” หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมี ผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อ่านส่วนใหญ่ ส่วนมากข่าวที่มีความสำคัญหรือสร้างผลกระทบต่อ ประชาชนจะมีลักษณะข่าวสถานการณ์ (situation news) ที่มีพัฒนาการต่อเนื่อง มีประเด็นซับซ้อน มากกว่าข่าวเหตุการณ์ (event news)
29
องค์ประกอบของข่าว ความน่าสนใจ (interest)
เหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนสนใจใคร่รู้ อยากติดตามอ่าน ๑ ความรวดเร็ว หรือ ความสด (immediacy/timelines) ๒ ความใกล้ชิด (proximity) ๓ ความเด่น (prominence) ๔ ความผิดปกติ (unusualness) ๕ ความสนใจตามปุถุชนวิสัย (human interest)
30
องค์ประกอบของข่าว ๖ ความขัดแย้ง (conflict)
๗ ความลึกลับ หรือ มีเงื่อนงำ (mystery/suspense) ๘ ผลกระทบ (consequence) ๙ ความก้าวหน้า (progress) ๑๐ เพศ (sex)
31
คุณลักษณะของข่าว ๑ ความถูกต้อง (accuracy) ๒ ความสมดุล (balance)
๓ ความเป็นกลาง (objectivity) ๔ ความกระชับชัดเจน (concise and clear) ๕ ความทันเหตุการณ์ (recentness)
32
ประเภทข่าว ความหลากหลายของข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ สถานการณ์ นำมาสู่ความจำเป็นในการจัดประเภทของข่าวให้เป็นหมวดหมู่เข้าใจง่ายขึ้น การจัดประเภทข่าวตามเกณฑ์ที่ต่างกันอาจมีคุณสมบัติ ทับซ้อนกับลักษณะของข่าวอีกประเภทหนึ่งที่มีเกณฑ์ การจัดแบ่งต่างออกไป ผู้ต้องการฝึกฝนให้เป็นนัก วารสารศาสตร์ที่มีคุณภาพต้องเรียนรู้การแยกแยะ ประเภทข่าวและนำเสนอให้ตรงประเด็นเนื้อหาและ คุณค่าของข่าว
33
ประเภทข่าว ประเภทข่าวที่สามารถจัดแบ่งตามสาระเนื้อหา ดังนี้
๑ ข่าวสาระหนัก (hard news) ข่าวหนักจะมีองค์ประกอบของคุณค่าด้านความสำคัญ (significance) ผลกระทบ (consequence) ความขัดแย้ง (conflict) บางครั้งยังมีความลึกลับซับซ้อน (suspense) อยู่ด้วย
34
ประเภทข่าว ๒ ข่าวสาระเบา (soft news)
องค์ประกอบในคุณค่าด้านความน่าสนใจ (interest) ประกอบด้วย ความสนใจของปุถุชน (human interest) ความขัดแย้ง (conflict) ความผิดปกติ (unusualness) ความเด่น (prominence) ความใกล้ชิด (proximity) เพศ (sex)
35
ประเภทข่าว ๓ ข่าวเชิงลึก (depth news)
ข่าวที่ได้จากการสืบค้นข้อเท็จจริงเน้นประเด็นลึกอย่าง เจาะจง ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด (focuses deeply on a narrow topic) ตรงข้ามกับการรายงานข่าวอย่างกว้าง (width) ๔ ข่าวสืบสวน (investigative news) การรายงานข่าวอย่างครบถ้วนรอบด้าน โดยเน้น เป้าหมายสำคัญคือพฤติกรรม
36
ประเภทข่าว ๕ ข่าวประเด็นเดียว (single incident story)
“ข่าวตรง” (straight news) บางคนเรียกว่า “ข่าว ตรงไปตรงมา” (straight forward news) ข่าวประเด็น เดียวส่วนมากเป็นข่าวเหตุการณ์มากกว่าข่าว สถานการณ์ ๖ ข่าวหลายประเด็น (several incident story) ข่าวที่ มีหลายประเด็นในเวลาเดียวกัน ๗ ข่าวประเด็นซับซ้อน (complex incident story) ข่าวประเด็นซับซ้อนเป็นผลพวงของสังคมที่สะท้อนให้ เห็นความเกี่ยวโยงของประเด็นปัญหาหนึ่งไปสู่อีก ประเด็นปัญหาหนึ่งอย่างเลี่ยงไม่ได้
37
อุดมการณ์ข่าว การตัดสินใจกลั่นกรองตั้งแต่เริ่มการสื่อแสวงหาหรือรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง (researching) การวินิจฉัยคุณค่า (judgment) และการนำเสนอ (presentation) ข้อเท็จจริงของบุคลากรข่าวด้วย ตามทัศนะของคาร์ล มาร์ก (Karl Marx) หน้าที่ของนักวารสารศาสตร์คือ การแสวงหาความจริง (search for truth) ให้ปรากฏ หนังสือพิมพ์มีหน้าที่ชี้นำสังคมอย่างเป็นกลางและเป็นธรรม (objective and fair) ถือเป็นเงื่อนไขที่สร้างแรงขับเคลื่อนให้ หนังสือพิมพ์ต้องเป็นธรรม อิสระ และโปร่งใส ดังนั้น วารสารศาสตร์จึงเป็นงานที่มีอุดมการณ์เพื่อมวลชนและ สังคม อุดมการณ์ข่าว (news ideology) เป็นหลักประกันหนึ่ง ของวิชาชีพวารสารศาสตร์ที่กำกับให้นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ปฏิบัติภารกิจให้มีคุณค่าสมกับความไว้วางใจจากสังคม
38
อุดมการณ์ข่าว ปัจจัยที่สนับสนุนอุดมการณ์ข่าวให้บรรลุผลนั้น ต้องวางอยู่บนความเชื่อตามกรอบคิดเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของหนังสือพิมพ์ว่า ๑ หนังสือพิมพ์ (และ/หรือสื่อมวลชน) ๒ หนังสือพิมพ์ต้องสนอง “สิทธิการรับรู้ ข่าวสารของประชาชน (the public’s right to know)” ๓ หนังสือพิมพ์ต้องเรียนรู้การนำเสนอรายงาน ข้อเท็จจริงอย่างเป็นกลางและเป็นธรรม (objectively and fairly)
39
อุดมการณ์ข่าว องค์กรวิชาชีพหนังสือพิมพ์จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิด “ความเป็นไปได้ในความเป็นกลาง” ในการรายงานข่าวมากที่สุด โครงสร้างการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ พีระมิดหัวกลับ (inverted pyramid) ๑ ให้ความสะดวกแก่ผู้อ่าน ๒ สนองความอยากรู้ของผู้อ่าน ๓ อำนวยความสะดวกสำหรับการจัดหน้าหนังสือพิมพ์ ๔ สะดวกต่อการบรรณาธิการและพาดหัวข่าว
40
อุดมการณ์ข่าว ส่วนประกอบโครงสร้างข่าว
ความนำ (lead) ส่วนเชื่อม (bridge) เนื้อเรื่อง (body) ส่วนที่ ๑ สรุปประเด็นสำคัญเด่นที่สุด ส่วนที่ ๒ ส่วนเชื่อมข้อความระหว่างความนำกับเนื้อ เรื่อง ส่วนที่ ๓ ลำดับรายละเอียดเนื้อเรื่องตามประเด็นสำคัญ จากมากที่สุดถึงประเด็นสำคัญน้อยที่สุด
41
อุดมการณ์ข่าว การกำหนดจริยธรรมในแวดวงวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไทยนั้น สุภา ศิรฺมานนท์ ได้เสนอแนวปฏิบัติในเรื่องความเป็นกลาง ตามแนวคิดว่าด้วย “หลักแห่งความจริงที่แท้จริง (objectivity) ที่มา:
42
อุดมการณ์ข่าว ๑ ความไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย (impartiality)
๒ ความปราศจากข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือทาง ความสนใจ (absence of conflict of interest) ๓ โอกาสของการปฏิเสธ (opportunity of denial) ๔ การละเว้นเสียจากความลำเอียงต่อผู้อยู่ใกล้ชิด (avoidance of cronyism) ๕ การละเว้นเสียจากความเคียดแค้นพยาบาท (avoidance of vengeance)
43
หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด
หนังสือ “การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น อ.สุภาณี นิตย์เสมอ” MC220 มี e-book และ จำหน่ายที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด อ.มาลี บุญศิริพันธ์” MCS1250 จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.