ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การออกแบบปัญหาการวิจัย
ดร.บุญเรือง ศรีเหรัญ
2
ปัญหา คืออะไร ปัญหา หมายถึง ข้อสงสัย ข้อขัดข้อง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า ปัญหา หมายถึง ข้อสงสัย ข้อขัดข้อง
3
ปัญหา หมายถึง ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
พระพุทธศาสนา ปัญหา หมายถึง ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ปัญหา หมายถึง ประเด็นที่เป็นอุปสรรค ความยาก ลำบาก ความต้านทาน หรือความท้าทาย หรือเป็น สถานการณ์ใดๆ ที่ต้องมีการแก้ปัญหา
4
ปัญหา หรือข้อสงสัยเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ความแตกต่าง/ความไม่สอดคล้อง
สิ่งที่คาดหวัง ความแตกต่าง/ความไม่สอดคล้อง สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
5
ประเภทของปัญหา ปัญหา เมื่อแบ่งตามการเกิดขึ้นของปัญหา สามารถแบ่งออกได้เป็น ปัญหาที่มาจากคำถาม ปัญหาที่มาจากสถานการณ์ ปัญหาที่มาจากการโน้มน้าว ปัญหาที่มาจากการแก้ปัญหา
6
ลักษณะของปัญหา ลักษณะของปัญหาเมื่อพิจารณาตามวิธีดำเนินการ สามารถแบ่งออกได้ดังภาพ
7
ปัญหาเชิงแก้ไข ปัญหาเชิงป้องกัน ปัญหาเชิงพัฒนา
อดีต ปัจจุบัน อนาคต อดีต ปัจจุบัน อนาคต อดีต ปัจจุบัน อนาคต สภาพที่ปรากฏ สภาพที่คาดหวัง
8
ลักษณะของปัญหาเมื่อพิจารณาตามวิธีการศึกษา แบ่งออกได้เป็น
ปัญหาเชิงประจักษ์ (Empirical Problems) เป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ มาอธิบาย หรือกำหนดความสัมพันธ์ พฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางเพศของวัยรุ่นชาย
9
ปัญหาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Problems) เป็นปัญหาที่ต้องใช้การแจกแจง หรือแยกแยะให้เห็นว่า มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น และเหตุการณ์เหล่านั้นนำไปสู่ผลที่จะเกิดขึ้นอย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร มีอะไรเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว ผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน
10
ปัญหาเชิงปทัสถาน (Normative Problems) เป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้เชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุป หรือการอ้างอิง มาตรฐานวิชาชีพครูภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน
11
ปัญหาเชิงประเมินค่า (Evaluative Problems) เป็นปัญหาที่ต้องอาศัยการตีความสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นอย่างไร คุณลักษณะของเด็กดีตามพระราชบัญญัติการศึกษา
12
ปัญหาเชิงเสนอมาตรการ (Prescriptive Problems) เป็นปัญหาที่แสดงถึงสภาวะที่ควรทำหรือไม่ควรทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลของประเทศ
13
ความคิดรวบยอดของการวิจัย
ผลที่เกิดขึ้นแล้ว เหตุ Expost Facto Experimental เหตุ ผลที่จะเกิดขึ้น
14
คำที่ใช้เรียก "วิจัย" ในระบบการศึกษา
Professional Research หน่วยกิต ปริญญาเอก ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) วิทยานิพนธ์ (Thesis) Advanced Research ปริญญาโท วิทยานิพนธ์ (Thesis) 12 หน่วยกิต ภาคนิพนธ์/สารนิพนธ์ (Term paper) การศึกษาอิสระ (Individual study) 3-6 หน่วยกิต Basic Research ปริญญาโท ปริญญาตรี
15
ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
SUBSTANTIVE KNOWLEDGE RESEARCH METHODOLOGY KNOWLEDGE STATISTICAL ANALYSIS
16
ปรากฏการณ์ที่สนใจ ปัญหาวิจัย ประเด็นที่สนใจ Multidisciplinary or
Mono-disciplinary ปรากฏการณ์ที่สนใจ ปัญหาวิจัย ประเด็นที่สนใจ
17
ปัญหาวิจัย คืออะไร ปัญหาวิจัย คือสิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ โดยคำตอบที่ได้ต้องใช้กระบวนการที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นวิทยาศาสตร์ ปัญหาวิจัย คือประเด็นที่นักวิจัยสงสัย และต้องการดำเนินการเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง
18
ปัญหาวิจัยเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ความไม่สอดคล้องกันในประเด็นต่างๆ ที่มีอยู่ในทฤษฎี ความไม่สอดคล้องกันระหว่างทฤษฎีหนึ่งกับทฤษฎีอื่นๆ ความไม่สอดคล้องกันระหว่างทฤษฎีกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
19
ในการกำหนดปัญหาวิจัย ผู้วิจัยต้องกำหนดให้ได้ว่า
สิ่งที่ต้องการศึกษา คืออะไร มีอะไรที่เป็นตัวปัญหา มีอะไรที่เป็นอาการแสดงออกของ ตัวปัญหา ปัญหานั้นเกิดจากใคร
20
ตัวอย่างเช่น ผลการเรียนรู้เรียนของนักเรียน <-> สิ่งที่ต้องการศึกษา คะแนนสอบวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน <-> เป็นตัวปัญหา ผลการเรียนรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ <-> อาการที่แสดงออกของตัวปัญหา นักเรียน <-> เป็นที่เกิดของปัญหา
21
ปัญหาวิจัย เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการวิจัยในทุกขั้นตอน ความชัดเจนในปัญหาวิจัยที่ต้องการศึกษาจะนำไปสู่ความชัดเจนในกระบวนการวิจัย ผู้วิจัยต้องระบุปัญหาวิจัย และทำความเข้าใจในปัญหาที่ต้องการหาคำตอบให้ชัดเจน
22
ลักษณะของปัญหาวิจัย 1. ปัญหาวิจัยควรกำหนดในลักษณะของคำถามมากกว่าประโยคบอกเล่า 2. ปัญหาวิจัยต้องไม่กำหนดให้กว้างหรือแคบเกินไป 3. ปัญหาวิจัยควรนำไปกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยให้ชัดเจน
23
4. ปัญหาวิจัยควรเป็นปัญหาที่มีความหมายและเชื่อมโยงกับทฤษฏีหรือการปฏิบัติที่มีอยู่
5. ปัญหาวิจัยควรตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง 6. ปัญหาวิจัยจะมีเพียงประเด็นเดียวหรือหลายประเด็นก็ได้ 7. ปัญหาวิจัยควรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยต้องการแสดงให้เห็นว่า การตอบปัญหาการวิจัยดังกล่าวยังไม่มีนักวิจัยคนใดทำมาก่อน
24
ที่ก่อเกิดแนวคิดใหม่ เกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษา
Road Map to Research 1. ประวัติของ ประเด็นที่ศึกษา 5. Research Methodology 4. กรอบความคิดใหม่ ของประเด็นที่ศึกษา 6. ข้อค้นพบใหม่ ที่ก่อเกิดแนวคิดใหม่ ของประเด็นที่ศึกษา 2. ประเด็นศึกษา ในโลกวิชาการ 3. ข้อค้นพบทางการวิจัย เกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษา 7. นำข้อค้นพบใหม่ ไปใช้เพื่อการพัฒนา อ่านอย่างน้อย 400 หัวข้อ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะศึกษา
25
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อขั้นตอนและกระบวนการวิจัย
26
กระบวนการ หมายถึง การดำเนินการใดๆ ที่มีการกำหนดขั้นตอนอย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่องและมีรายละเอียดที่ชัดเจน สามารถที่นำไปปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง จนบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินการนั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
27
ขั้นตอนและกระบวนการวิจัยประกอบด้วย
- การตั้งชื่อเรื่อง - การกำหนดคำถามวิจัย - การกำหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ - การกำหนดวิธีวิทยาการวิจัย - การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย - การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - การกำหนดเครื่องมือการวิจัย - การวิเคราะห์ข้อมูล
28
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อชื่อเรื่อง
ชื่อเรื่องเป็นสิ่งแรกที่ผู้ศึกษางานวิจัยต้องอ่าน หรือพบเห็น ชื่อเรื่องเป็นสิ่งบ่งบอกถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา บอกวิธีการศึกษา บอกประชากรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา บอกความเป็นศาสตร์ ฯลฯ
29
ขั้นตอนการตั้งชื่อเรื่องวิจัย แสดงได้ดังภาพ
การตั้งชื่อเรื่องที่ดี และน่าสนใจจึงต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยเป็นอย่างมาก ขั้นตอนการตั้งชื่อเรื่องวิจัย แสดงได้ดังภาพ
30
ชื่อเรื่องวิจัย/ชื่อปัญหาวิจัย
ปรากฏการณ์ สภาพเหตุการณ์ที่สนใจ วิเคราะห์/ศึกษาปัญหา ศึกษาทฤษฎี/แนวคิดของ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา คำถามวิจัย เชิงพรรณนา Theoretical Framework เชิงความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ Conceptual Framework ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ชื่อเรื่องวิจัย/ชื่อปัญหาวิจัย
31
ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา
รวบรวมข้อเท็จจริงที่คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา สังเกตว่าข้อเท็จจริงมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา หรือไม่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงว่ามีอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของประเด็นปัญหา
32
กำหนดคำถามวิจัย/สมมุติฐานเพื่อแสวงหาคำตอบของการวิจัย
กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคำอธิบายที่จะเป็นประเด็นที่สำคัญของประเด็นปัญหา กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างความจริงและคำอธิบาย มีข้อตกลงเบื้องต้นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา
33
หลักการตั้งชื่อเรื่องวิจัย
ชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ดึงดูดความสนใจ บอกถึงวิธีดำเนินการศึกษา สิ่งที่ต้องการศึกษา ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง รวมองค์ประกอบสำคัญ คือ ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น และวิธีดำเนิน การวิจัย บ่งบอกความเป็นศาสตร์
34
ส่วนประกอบของชื่อเรื่องวิจัย
ชื่อเรื่องวิจัยที่มีความชัดเจน และสอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการศึกษา ควรประกอบด้วยส่วนต่างๆ ต่อไปนี้ 1. ตัวแปรตาม และตัวแปรต้น (ถ้ามี) 2. วัตถุประสงค์หรือวิธีการวิจัยหลัก 3. บริบท (context) หรือประชากร 34
35
ตัวอย่าง ปัจจัยเชิงพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การเปรียบเทียบทัศนะคติต่อการมีคู่ครอง ระหว่างคนงานชายหญิง การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวตามเส้นทางแอ่งอารยธรรมขอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 35
36
การพัฒนาศักยภาพของผู้สูงวัย ตามแนวคิดพฤฒพลัง
การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นมาตรฐานสากล การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาวิชาชีพครู ตามกรอบสมรรถนะครูอาเซียน การพัฒนาศักยภาพของผู้สูงวัย ตามแนวคิดพฤฒพลัง 36
37
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อคำถามวิจัย
คำถามวิจัย เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการรู้ หรือต้องการหาคำตอบ
38
ลักษณะของคำถามวิจัย - ผู้วิจัยต้องการรู้หรือทำความเข้าใจอะไรบ้าง
- มีสิ่งใดบ้างที่ไม่มีใครรู้แต่ผู้วิจัยอยากรู้ - ผู้วิจัยจะพยายามตอบคำถามอะไรบ้าง - คำถามเหล่านั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร คำถามวิจัยมีผลต่อการออกแบบส่วนประกอบอื่นๆ
39
- สภาพแวดล้อมของชุมชนเป็นอย่างไร
เนื่องจาก คำถามวิจัยเป็นข้อความที่ผู้วิจัยเขียนขึ้นมาเพื่อบอกให้รู้ว่าอยากรู้อะไรเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่องที่ต้องการศึกษา ซึ่งจะอยู่ในรูปของประโยคคำถาม ตัวอย่างเช่น - สภาพแวดล้อมของชุมชนเป็นอย่างไร - แนวนโยบายแห่งรัฐกับวิถีชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร - การเข้าสู่ประชาคมอาเชียนมีผลต่อวิถีชุมชนอย่างไร
40
คำถามวิจัย แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
คำถามที่ยึดกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย กลุ่มเป้าหมายอาจกำหนดได้เป็น กลุ่มเป้าหมายทั่วไป และกลุ่มเป้าหมายเจาะจง
41
กลุ่มเป้าหมายทั่วไป กลุ่มเป้าหมายเจาะจง
- พฤติกรรมจิตสาธารณะของบุคคลเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเจาะจง - พฤติกรรมจิตสาธารณะของเด็กนักเรียนเป็นอย่างไร
42
ข้อมูลทั่วไป คำถามที่บ่งนัยของข้อมูลที่ต้องการ
นัยของข้อมูลอาจแบ่งออกได้เป็น ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลเจาะจง ข้อมูลทั่วไป - การให้คำปรึกษาแก่หญิงที่ถูกกระทำทางเพศอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน มีผลกระทบต่อนักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานในด้านนี้อย่างไร
43
ข้อมูลเจาะจง - การประกอบอาชีพเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่หญิงที่ถูกกระทำทางเพศอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์และพฤติกรรมทางเพศของนักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานนี้อย่างไร
44
ตัวอย่างคำถามวิจัย คำถามแบบมุ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
- เป็นคำถามที่ต้องการศึกษาว่า ถ้ามีความผันแปรเกิดขึ้นในปัจจัย (ตัวแปร) หนึ่ง จะก่อให้เกิดความแตกต่างในอีกปัจจัย (ตัวแปร) อีกตัวหนึ่งอย่างไร ตัวอย่างคำถามวิจัย
45
คำถามแบบมุ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร แบ่งออกได้เป็น
- นักเรียนที่มาจากครอบครัวแตกแยกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้อยกว่านักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีแตกแยกจริงหรือไม่ - ครอบครัวที่แตกแยกส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กได้อย่างไร คำถามแบบมุ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร แบ่งออกได้เป็น
46
คำถามวิจัยเชิงพรรณนา
คำถามวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research Question) เป็นคำถามวิจัยประเภท ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด เท่าไร ฯลฯ
47
คำถามวิจัยเชิงอธิบาย
คำถามวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory Research Question) เป็นคำถามวิจัยที่ต้องใช้การอธิบายความเป็นเหตุผล เช่น ทำไม อย่างไร เพราะเหตุใด ฯลฯ
48
คำถามวิจัยเชิงวิเคราะห์
คำถามวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytic Research Question) เป็นคำถามวิจัยประเภทเดียวกับคำถามวิจัยเชิงอธิบาย
49
ไม่ควรมีมากข้อ (1 - 3 ข้อ)
จำนวนข้อคำถามของการวิจัย ไม่ควรมีมากข้อ (1 - 3 ข้อ)
50
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
- จุดมุ่งหมาย เป็นเรื่องของเป้าหมายโดยรวมที่ต้องการบรรลุถึง - วัตถุประสงค์ เป็นเรื่องของสิ่งที่จะต้องทำเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น
51
จุดมุ่งหมาย : หนุ่มสาวสมัยใหม่สร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาย-หญิงของตนอย่างไร
วัตถุประสงค์ : ปัจจัยเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม วัฒนธรรม ครอบครัว และสื่อมีบทบาทอย่างไรในการหล่อหลอมความเป็นชาย-หญิงของคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ จุดมุ่งหมายของการวิจัยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
52
จุดมุ่งหมายส่วนตัวของผู้วิจัย
เป็นแรงบันดาลใจส่วนตัวของผู้วิจัยที่ต้องการศึกษาเรื่องนั้น อาจเป็นสำนึกทางสังคม ความสนใจใคร่รู้ หรือเพื่อความก้าว หน้าในหน้าที่การงาน
53
จุดมุ่งหมายเชิงปฏิบัติ
เป็นจุดมุ่งหมายที่จะบรรลุถึงสิ่งที่จะมีผลต่อวงการใดวงการหนึ่ง หรือต่อส่วนรวม หรือเป็นการหาทางแก้ปัญหาในระดับองค์กร หรือมุ่งสนองต่อนโยบายสาธารณะ หรือการบริหารจัดการกิจการสาธารณะ
54
จุดมุ่งหมายเพื่อการค้นคว้าวิจัย
เป็นจุดมุ่งหมายเชิงวิชาการที่ อาจมีแรงบันดาลใจในการอยากรู้รวมอยู่ด้วย เป็นจุดมุ่งหมายที่ต้องการทำความเข้าใจหรือค้นหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง - ปรากฏการณ์นั้นมีธรรมชาติเป็นอย่างไร - ทำไมสิ่งต่างๆ ในปรากฏการณ์นั้นจึงเป็นอย่างนั้น - มีเหตุผลอะไรอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์นั้น
55
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อ วิธีวิทยาการวิจัย
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อ วิธีวิทยาการวิจัย วิธีวิทยาการวิจัย เป็นรูปแบบของกระบวนการที่ผู้วิจัยใช้เพื่อการหาคำตอบของคำถามวิจัยที่กำหนดไว้ แบ่งได้เป็น
56
การวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research)
วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) : การวิจัยเชิงปริมาณ วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research Methodology) : การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research)
57
Statistics Research Program Evaluation Quantitative Research
Qualitative Research Data-Driven Decision Making Program Evaluation
58
(สิ่งที่เป็นกฎทั่วไป) กรอบแนวคิด ทฤษฎี สมมติฐาน (สิ่งที่เป็นกฎทั่วไป)
สมมติฐาน คำอธิบาย ข้อสรุปเชิงทฤษฎี (สิ่งที่เป็นกฎทั่วไป) กรอบแนวคิด ทฤษฎี สมมติฐาน (สิ่งที่เป็นกฎทั่วไป) อุปนัย (Inductive) เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ นิรนัย (Deductive) ข้อมูล ข้อเท็จจริง หลักฐานเชิงประจักษ์ (ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง) ข้อมูล ข้อเท็จจริง หลักฐานเชิงประจักษ์ (ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง)
59
การวิจัยเชิงคุณภาพ
60
แนวคิดของการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่ตั้งอยู่บนแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) หรือ ปฏิ-ปฏิฐานนิยม (Post Positivist) มุ่งทำความเข้าใจ ตีความ และให้ความหมายแก่ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ เจตคติ พฤติกรรม และวัฒนธรรมของมนุษย์
61
การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคม จากสภาพแวดล้อมตามความจริงในทุกมิติ สนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล เน้นการเข้าไปสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฏการณ์โดยตรงในทุกมิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อม
62
การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแสวงหาความเป็นจริงในทัศนะของคนในสังคมที่ถูกศึกษาและต้องการค้นหา
63
หลักการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่ตั้งอยู่บนแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา มีหลักการที่ควรทราบ ดังนี้
64
ความจริงหรือความรู้ที่มีอยู่อย่างอิสระด้วยตนเองไม่มี
ความจริงหรือสิ่งที่เป็นจริง ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้น ความจริงจึงมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับคนและบริบท ซึ่งรวมถึงประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมอันเป็นที่มาของความจริง/ความรู้นั้น
65
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำการวิจัยกับสิ่งที่ถูกวิจัยมีปฏิสัมพันธ์กัน และต่างก็มีอิทธิพลต่อกัน
ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้เป็นสองส่วนที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ ข้อมูลที่ดีจะเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ผู้ถูกศึกษามีความไว้วางใจนักวิจัย
66
เป็นวิธีการดำเนินการวิจัยที่ให้เหตุผลโดยการใช้ภาษาคำพูดแทนการใช้ข้อมูลตัวเลข
มุ่งทำความเข้าใจทางลึก มากกว่าทางกว้าง
67
ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพ มีลักษณะสำคัญที่ควรทราบ ดังนี้
68
เป็นการวิจัยที่ทำในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ
- วิจัยในขณะที่สิ่งเหล่านั้นกำลังดำเนินไปตามธรรมชาติ - วิจัยในสถานการณ์ที่ไม่มีการควบคุม ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลง โดยผู้วิจัย - วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นไปตามธรรมชาติ
69
ดำเนินการวิจัยแบบอุปมาน (Inductive) คือทำวิจัยโดยเริ่มต้นจาก “สิ่งที่มีลักษณะจำเพาะเจาะจง” ไปสู่ “สิ่งที่มีลักษณะทั่วไป” In = เข้า Duct = ทาง, ท่อ ทฤษฎี/สมมุติฐาน ปรากฏการณ์ทางสังคม
70
เป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจแบบองค์รวม
- องค์รวม คือระบบที่มีความซับซ้อนประกอบ ด้วยส่วนต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์แบบหลายมิติต่อกันภายใต้บริบทหนึ่งๆ - การศึกษาแบบองค์รวม คือ การค้นหาส่วนประกอบของระบบ และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ของระบบ
71
ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ หมายถึง ข้อมูลทุกรูปแบบที่เป็นข้อความอยู่ในรูปของคำพูด บทสัมภาษณ์ บันทึกต่างๆ เพลง ดนตรี ภาพยนตร์ ภาพวีดิทัศน์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ของมนุษย์ที่สื่อข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง - ถ้าเป็นตัวเลขต้องเปลี่ยนให้เป็นข้อความ
72
ในกระบวนการวิจัย ผู้วิจัยติดต่อโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
- การใช้เวลาอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย และเรียนรู้สิ่งที่ต้องการศึกษาโดยตรงของผู้วิจัย เป็นภารกิจสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ - ระยะเวลาที่ผู้วิจัยอยู่ในพื้นที่เป้าหมายมีผลโดยตรงต่อการได้รับข้อมูลที่ตรงตามสภาพที่เกิดขึ้น
73
การให้ความสำคัญต่อพลวัตของสิ่งที่ศึกษา
- สังคมมีลักษณะเคลื่อนไหว (Dynamic) อยู่ตลอดเวลา ปรากฏการณ์ทางสังคมจึงมีสภาพแตกต่างกันตามลักษณะของบุคคลที่เป็นสมาชิกของสังคม - การรับรู้ ให้ความหมาย และแสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและบริบท
74
ศึกษาปรากฏการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ
- เก็บข้อมูลรายละเอียดอย่างรอบด้าน - เลือกศึกษาปรากฏการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ เจาะจง หรือปรากฏการณ์เด่นชัดที่เกี่ยวกับบุคคล องค์กร หรือชุมชน - เพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจในทางลึก - เป็นการศึกษาติดตามระยะยาว (Longitudinal Study)
75
การให้ความสำคัญต่อบริบทของสิ่งที่ศึกษา
- ข้อเท็จจริงทางสังคมเกิดขึ้นเพราะอิทธิพลของสังคม ดังนั้น ผู้รู้ข้อเท็จจริงก็คือสมาชิกของสังคมเท่านั้น - การแปลความหมายของสิ่งใดต้องพิจารณาถึงบริบทของสิ่งนั้น
76
การออกแบบการวิจัยมีลักษณะยืดหยุ่น
- ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการเก็บข้อมูลที่ได้ - ต้องไม่มีผลต่อสาระสำคัญของวัตถุประสงค์และเป้าหมายการวิจัย - ยึดความมีเหตุผลในการปรับเปลี่ยน
77
มีเครื่องมือการวิจัยที่หลากหาย
- ไม่มีโครงสร้างที่เคร่งครัด - ใช้ข้อมูลหลายชนิด - ผู้วิจัยเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญ
78
การวิจัยแบบผสม
79
การวิจัยแบบผสม เป็นการวิจัยที่ใช้
วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ ร่วมกันในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการวิจัย ดังแสดงในภาพ
81
Flowchart Describing the Process of Generating
Identification of Content Area of Interest Reasons for Conducting Research Research Questions Statement of Objectives (Optional) Qualitative Research Quantitative Research Flowchart Describing the Process of Generating Research Objectives of MM Research
82
แสดงรูปแบบของการวิจัยแบบผสม
เมื่อพิจารณาการให้ความสำคัญและเวลา
83
Chart Illustration of Traditional Quantitative
Conceptualization State Methodological Analytical Inferential State Chart Illustration of Traditional Quantitative or Traditional Qualitative Designs
84
Chart Illustration of Parallel Monomethod Multistrand Designs
Conceptualization State Conceptualization State Methodological Methodological Analytical Analytical Inferential State Inferential State Meta-Inference Chart Illustration of Parallel Monomethod Multistrand Designs
85
Chart Illustration of Monostrand Conversion Designs
Conceptualization State Methodological Analytical Inferential State Chart Illustration of Monostrand Conversion Designs
86
Chart Illustration of Parallel Mixed Designs
Conceptualization State Conceptualization Stage Methodological Methodological Analytical Analytical Inferential State Inferential Stage Meta-Inference Chart Illustration of Parallel Mixed Designs
87
Conceptualization State Conceptualization Stage
Methodological Methodological Analytical Analytical Inferential State Inferential Stage Meta-Inference Chart Illustration of Sequential Mixed Designs Start by Quantitative Methodology
88
Conceptualization State Conceptualization Stage
Methodological Methodological Analytical Analytical Inferential State Inferential Stage Meta-Inference Chart Illustration of Sequential Mixed Designs Start by Qualitative Methodology
89
Chart Illustration of Conversion Mixed Designs
Conceptualization State Conceptualization Stage Methodological Analytical Analytical Inferential State Inferential Stage Meta-Inference Chart Illustration of Conversion Mixed Designs
90
Chart Illustration of Fully Integrated Mixed Designs
Conceptualization State Conceptualization Stage Methodological Methodological Analytical Analytical Inferential State Inferential Stage Meta-Inference Chart Illustration of Fully Integrated Mixed Designs
91
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อกรอบแนวคิดการวิจัย
รูปแบบของกรอบแนวคิดการวิจัย - เขียนเป็นสมการคณิตศาสตร์ - เขียนเป็นข้อความเชิงอธิบาย - เขียนเป็นแผนภาพ
92
กรอบแนวคิดการวิจัย - เป็นความเชื่อ หรือข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการศึกษา - เป็นระบบมโนทัศน์ ข้อสรุปสิ่งที่ผู้วิจัยคาดหวัง - เป็นมุมมองที่ผู้วิจัยใช้ในการทำความเข้าใจในประเด็นคำถามการวิจัย - เป็นแบบจำลอง (Model) เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา
93
- เป็นทฤษฎีชั่วคราวเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา (การวิจัยเชิงคุณภาพ)
กรอบแนวคิดการวิจัยเป็นสิ่งที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา
94
ตัวอย่างของกรอบแนวคิดการวิจัย
HOMENV MATHATT MATHABIL MATHACH SCHENV
95
ตัวแปรเมื่อแบ่งตามบทบาทหน้าที่
ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ตัวแปรต้น , ตัวแปรสาเหตุ , ตัวแปรจัดกระทำ , ตัวแปรพยากรณ์ , ตัวแปรภายนอก (Exogenous Variables) ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ตัวแปรผล , ตัวแปรเกณฑ์ , ตัวแปรภายใน (Endogenous Variables)
96
ตัวแปรเมื่อแบ่งตามคุณลักษณะ
ตัวแปรสังเกต (Observed Variables) ตัวแปรแฝง (Latent Variables) ตัวแปรจินตภาพ (Imaginary Variables) Phantom Variables Ghost Variables
97
ที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ
ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย แนวคิดทฤษฎีเดิมที่มีอยู่แล้ว การศึกษานำร่อง ความคิดสร้างสรรค์
98
ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัว ของผู้วิจัย
- ให้ความสำคัญต่อความรู้ที่มีอยู่ในตัวผู้วิจัย - อ่านมากๆ - ฟังมากๆ
99
แนวคิดทฤษฎีเดิมที่มีอยู่แล้ว
- อย่าทำในลักษณะเลือกใช้แนวคิดทฤษฎีใด ทฤษฎีหนึ่ง - ควรทำในลักษณะสังเคราะห์องค์ความรู้จาก หลายๆ แนวคิดทฤษฎี
100
การศึกษานำร่อง - ศึกษาจากกลุ่มเล็กเพื่อนำข้อค้นพบไปใช้กับ
กลุ่มที่เป็นเป้าหมาย
101
ความคิดสร้างสรรค์ - ให้คิดหรือลองคิดต่างไปจากที่เคยคิด เคยรู้
“ถ้า ... แล้วจะเป็นอย่างไร”
102
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร (Population) คือ ส่วนทั้งหมดของทุกหน่วยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของปัญหาที่ต้องการศึกษา อาจเป็นกลุ่มของสิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีคุณสมบัติตามที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา
103
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) คือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกสุ่มหรือเลือกขึ้นมาใช้ในการศึกษาแทนประชากร
ลักษณะของตัวอย่าง หรือกลุ่มตัวอย่าง ขึ้นอยู่กับวิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้
104
การเลือกตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ
- ไม่ใช้การสุ่ม - ยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก - เลือกแล้วเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย - ตัวอย่างที่เลือกต้องมีลักษณะ Key Informants หรือ Information-Rich Cases
105
ประเภทของตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล มีดังนี้
ประเภทของตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล มีดังนี้ - ตัวอย่างที่แสดงลักษณะสุดขั้ว เหตุผลในการเลือกแบบนี้ เพื่อการเปรียบเทียบ เช่น ผู้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว - ตัวอย่างที่มีประสบการณ์มาก เหตุผลในการเลือกแบบนี้ เพื่อมุ่งตีความหมาย เช่น การปรับตัวของคนที่ผ่านสงครามอย่างโชกโชน
106
- ตัวอย่างที่ครอบคลุมความหลากหลายในประชากรได้มากที่สุด
เหตุผลในการเลือกแบบนี้ เพื่อต้องการแสดงให้เห็นประเด็นของการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างไรในตัวอย่างที่มีลักษณะต่างกัน - ตัวอย่างที่มีลักษณะเหมือนกัน เหตุผลในการเลือกแบบนี้ เพื่อการศึกษาประชากรกลุ่มนั้นเชิงลึก
107
- ตัวอย่างที่แสดงลักษณะสำคัญของประชากรทั้งหมด
เหตุผลในการเลือกแบบนี้ เพื่อศึกษาลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างที่มีเหมือนๆ กันในประชากรกลุ่มนั้น เช่น ลักษณะที่เด่นของนางแบบ หรือลักษณะสำคัญของพระสงฆ์ ลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
108
- ตัวอย่างที่เป็นเกณฑ์สำหรับตัดสินกรณีอื่นๆ
จุดมุ่งหมายของการเลือกแบบนี้ เพื่อนำข้อสรุปที่ได้ไปใช้กับกรณีอื่นๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น “การศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวของกลุ่มคนโสด” ได้ผลเป็นอย่างไร กลุ่มคนที่แต่งงานแล้วก็น่าจะเป็นอย่างนั้น
109
- ตัวอย่างที่เลือกจากการแนะนำต่อๆ กัน
เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยทางอ้อมที่ผู้วิจัยไม่ได้ติดต่อกับเป้าหมายโดยตรง ใช้ในกรณีที่ผู้วิจัยมีความรู้จำกัดเกี่ยวกับประชากร เริ่มจากใครก็ได้ที่คิดว่าน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูล เช่นถามว่า “มีใครบ้างในตำบลนี้ที่รู้เรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสานบ้าง” เรียกวิธีนี้ว่า Snowball หรือ การบอกต่อ
110
- ตัวอย่างที่ไม่เข้าเกณฑ์กำหนด
เหตุผลในการเลือกแบบนี้ เพื่อศึกษาประเด็นที่ไม่เป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ถ้ากำหนดว่า “ผู้มาขอออกบัตรประชาชนใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที” แต่มีผู้มาขอออกบัตรใช้เวลามากกว่า 10 นาที จะเป็นตัวอย่างที่ต้องการ
111
- ตัวอย่างที่สนับสนุนหรือที่แย้งข้อค้นพบ
เหตุผลในการเลือกแบบนี้ เพื่อยืนยันหรือสนับสนุนข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา โดยข้อมูลที่ได้จากกลุ่มอื่นที่ต่างกัน - ตัวอย่างเพื่อพิสูจน์ทฤษฎี เป็นตัวอย่างที่ใช้เพื่อการยืนยันหรือท้าทายแนวคิดทฤษฎี จะต้องหาบุคคลหรือสถานการณ์ที่เหมาะสม
112
- ตัวอย่างที่เจาะจงเลือกมาจากประชากรที่แบ่งเป็นช่วงชั้น
ใช้หลักการเช่นเดียวกับการสุ่มเลือกตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณ - ตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่เลือกแบบนี้ ผู้วิจัยต้องมั่นใจว่าเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการศึกษาอย่างแท้จริง เช่น การศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
113
- ตัวอย่างที่สุ่มจากประชากรที่เลือกแบบเจาะจง
กลุ่มที่เลือกแบบนี้ ผู้วิจัยต้องมั่นใจว่าเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการศึกษาอย่างแท้จริง เช่น การศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนขับรถบรรทุกทางไกล แล้วใช้การสุ่มของการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อให้ได้ตัวอย่างมาให้ข้อมูล
114
- ตัวอย่างที่เลือกแบบเฉพาะหน้า
ใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น ในการเลือกตัวอย่าง โดยเหตุการณ์นั้นต้องสอดคล้องกับประเด็นที่ต้องการศึกษา - ตัวอย่างที่เลือกตามความสะดวก กลุ่มที่เลือกแบบนี้ ผู้วิจัยไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า อาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์
115
วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูล สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ
1. การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) 2. การเลือกแบบโควต้า (Quota Selection) 3. การเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Selection) 4. การเลือกตามสะดวก (Convenience Selection) 5. การเลือกแบบอาสาสมัคร (Volunteer Selection) 6. การเลือกแบบสโนว์บอลล์ (Snowball Selection)
116
การเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ
เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยหลักความน่าจะเป็น ผู้วิจัยสามารถกำหนดโอกาสที่หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยถูกเลือก ทำให้ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก
117
ค่าสถิติของตัวแปรที่ศึกษาต้องมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้จะใช้วิธีการสุ่ม (Random) เป็นเครื่องมือและผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง สามารถนำไปใช้อ้างอิงสู่ประชากรได้ ค่าสถิติของตัวแปรที่ศึกษาต้องมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ
118
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ
การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)
119
การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ
(Stratified Random Sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-State Random Sampling)
120
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อเครื่องมือการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย ผู้วิจัยต้องใช้เครื่องมือให้เหมาะสมและสอดคล้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา ข้อมูล และตัวแปรมีหลากหลายประเภท
121
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยวิจัยทางสังคมศาสตร์ มี 5 ชนิด คือ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยวิจัยทางสังคมศาสตร์ มี 5 ชนิด คือ การสังเกต การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบวัด 121
122
คุณภาพของเครื่องมือวิจัยพิจารณาจาก
ความเที่ยงตรง (Validity) ความเชื่อมั่น (Reliability) ความเป็นปรนัย (Objectivity) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความยาก (Difficulty) 122
123
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อ การวิเคราะห์ข้อมูล
ความสำคัญของปัญหาวิจัยที่มีต่อ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยดำเนินการเพื่อนำข้อค้นพบที่ได้ตอบคำถามวิจัย และวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ แบ่งออกได้เป็น
124
การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ <-> นักวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ <-> สถิติ
125
ความเกี่ยวข้องกันของปัญหาวิจัย ขั้นตอนและกระบวนการวิจัย สามารถแสดงได้ดังภาพ
126
ปัญหาวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย วิจัยเชิงคุณภาพ เลือก
วิจัยเชิงปริมาณ เลือก เลือก Non EM EM เลือก วิจัยเชิงบุกเบิก วิจัยเชิงยืนยัน วิจัยเชิงบุกเบิก วิจัยเชิงยืนยัน Research design วิจัยเชิงพัฒนา Problem design Measurement design Sampling design Analytic design จำนวน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ทฤษฎี การสร้าง/พัฒนา วิธีการเลือก ตัวแปร การหาคุณภาพ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ กรอบความคิด ข้อมูล/การจัดเก็บ หลักการเลือกสถิติ ประชากร การเขียนรายงานการวิจัย สรุป อภิปรายผล
127
หลักเกณฑ์การเลือกปัญหาวิจัย
128
ปัญหาวิจัยมีความสำคัญต่อทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย การเลือกปัญหาวิจัยต้องจึงต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ในเรื่องต่อไปนี้ ตัวของนักวิจัย เนื้อหาสาระที่จะศึกษา สภาพที่เอื้อต่อการวิจัย
129
ตัวของนักวิจัย - มีความสนใจ ต้องการศึกษาอย่างแท้จริง
- สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ - ความรู้เกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัย - ความรู้ในศาสตร์ของประเด็นที่ศึกษา - เหมาะสมกับเวลา งบประมาณ ที่มีอยู่
130
เนื้อหาสาระที่จะศึกษา
- น่าสนใจ มีคุณค่า คุณประโยชน์ - เรื่องเร่งด่วน สำคัญ - เรื่องใหม่ไม่ซ้ำซ้อน ทันสมัย Hot Hit - ทำแล้วได้ผลคุ้มค่า (เวลา คน เงิน) - มีความพอดี ไม่ใหญ่ ไม่เล็กเกินไป - ไม่เป็นอันตรายต่อผู้วิจัยและผู้อื่นทั้งระหว่าง และหลังการวิจัย
131
สภาพที่เอื้อต่อการวิจัย
- มีข้อมูลที่จะใช้เป็นหลักฐานเพียงพอ - มีแหล่งค้นคว้า สืบค้นข้อมูล - มีเครื่องมือ หรือสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลได้ - มีผู้ให้การสนับสนุน - สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้เกี่ยวข้องได้
132
แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย
133
ปัญหาเป็นสภาพการณ์ที่ปรากฏอยู่ทั่วไป ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้วิจัย ดังนั้นการทราบถึงแหล่งที่มาของปัญหาวิจัยที่เหมาะสม จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญต่อการวิจัย แหล่งที่มาของปัญหาวิจัยที่ควรพิจารณามีดังนี้
134
1. วิเคราะห์ผลงานวิจัยที่คนอื่นเคยทำมาก่อนในเรื่องที่ตนเองสนใจ และกำลังศึกษาอยู่
2. นำคำพูด ข้อเสนอแนะของผู้รู้ต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ถกเถียง หรือเป็นข้อขัดแย้งที่ยังไม่ได้ ทำการศึกษาวิจัยมาเป็นปัญหาสำหรับการวิจัย 3. วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาว่าสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพ เวลา และวิทยาการต่างๆ อาจทำให้เกิดปัญหาได้
135
4. วิเคราะห์ปัญหาจากการสนทนา หรือปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ในกรณีที่เป็นนักศึกษา อาจปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชานั้นๆ 5. ศึกษาปัญหาจากสถาบัน หรือหน่วยงานที่มีการวิจัย หรือบุคคลที่ทำการวิจัย โดยเข้าร่วม โครงการวิจัยนั้น 6. หน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัย
136
สรุป แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย
นักวิจัยคิดหรือกำหนดปัญหาเอง ผู้อื่นคิดหรือกำหนดปัญหาให้
137
แนวทางการประเมินปัญหาวิจัย
1. ธรรมชาติและความต้องการในการแก้ปัญหา 2. ขอบเขตของปัญหาการวิจัย 3. ข้อมูลที่ต้องการ 4. ประโยชน์ที่จะได้รับ 5. ความรู้ความเข้าใจของผู้วิจัย 6. ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการวิจัย
138
ข้อผิดพลาดในการเลือกปัญหาวิจัย
1. รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะกำหนดขอบเขตของปัญหาวิจัย ทำให้ขาดความชัดเจน และไม่ครอบคลุมปัญหาที่ต้องการศึกษาอย่างแท้จริง 2. หาข้อมูลที่มีอยู่แล้ว และพยายามคิดปัญหาให้เหมาะสมกับข้อมูล เพราะข้อมูลที่เก็บมาจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งอาจไม่มีความสมบูรณ์มากพอ
139
3. ปัญหาและจุดมุ่งหมายของการวิจัยไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบแหล่งข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการสรุปผลหรือข้อยุติต่างๆ 4. วิจัยโดยไม่ศึกษาผลงานวิจัยของบุคคลอื่นที่คล้ายๆ กัน ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้แคบ และอาจเกิดความยุ่งยากในการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้
140
5. ทำวิจัยโดยไม่มีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎี หรือไม่มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานทางการวิจัย จะก่อให้เกิดปัญหาในการวางแผนงานวิจัย การตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ
141
สถาพการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง
เมื่อต้องการกำหนดปัญหาวิจัย ผู้วิจัยพยายามหลีกเลี่ยงสถาพการณ์ ดังต่อนี้ งานวิจัยไม่ควรถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการอยากรู้ของผู้วิจัยแต่เพียงอย่างเดียว ถ้าปัญหานั้นไม่อาจนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่
142
ปัญหาการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลสองชุดแต่เพียงอย่างเดียวไม่เป็นปัญหาวิจัยที่เหมาะสม เพราะเป็นการวิจัยที่ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร เหมือนการสรุปข้อมูลมากกว่า
143
การคำนวณเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสองชุด เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ อาจไม่ถือว่าเป็นปัญหาวิจัยที่ดี หากขาดสิ่งที่เรียกว่า Human mind ของผู้วิจัย
144
ปัญหาวิจัยที่สร้างขึ้นเพื่อเพียงตอบคำถามว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ อาจไม่เป็นปัญหาที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย เพราะปัญหาวิจัยที่ดีควรเป็นปัญหาที่เมื่อทำการวิจัยแล้วจะได้คำตอบที่สามารถแก้ไขสิ่งที่เป็นอยู่ ปัญหาวิจัยที่ต้องการศึกษาว่าว่ามีปัญหา หรือไม่มีปัญหาอาจไม่มีความสำคัญเพียงพอ แต่ต้องศึกษาให้รู้ว่ารู้ว่า ปัญหานั้นเกิดที่ไหน เกิดเมื่อไร และเกิดเพราะอะไร
145
ตัวอย่างเช่น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.