ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAgus Pranoto ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
แผนภาพอิทธิพล หลังจากปัญหาในการตัดสินใจได้ถูกวิเคราะห์และนิยามออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างตัวแบบ ซึ่งการแสดงภาพรวมของตัวแบบจะช่วยให้ผู้สร้างตัวแบบเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดภายในตัวแบบ เพื่อช่วยในการออกแบบ พัฒนา และช่วยให้เกิดความเข้าใจในตัวแบบเพิ่มมากขึ้น ทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แผนภาพอิทธิพล (influence diagram) แผนภาพนี้จะช่วยในการสื่อสารกับผู้สร้างหรือทีมพัฒนาตัวแบบให้เข้าใจระบบปัญหาได้ดีขึ้น เพราะเป็นเสมือนโครงร่างที่แสดงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของตัวแบบของระบบ และแสดงการขึ้นต่อกันของตัวแปรหนึ่งที่มีต่อตัวแปรอื่น ทำให้ผู้สร้างตัวแบบมองเห็นการทำงานหลัก ๆ ของตัวแบบได้ง่ายขึ้น
2
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพอิทธิพล ลงทุน ? สี่เหลี่ยม แทน การตัดสินใจ สำเร็จหรือล้มเหลว วงรี แทน เหตุการณ์ที่เป็นโอกาส สี่เหลี่ยมมุมมน แทน ผลที่ต้องการ, การคำนวณทางคณิตศาสตร์หรือค่าคงที่ ผลตอบแทน เส้น แทน การมีอิทธิพลของโหนดที่อยู่ ด้านปลาย ที่มีต่อโหนดที่อยู่ ต่อจากหัวลูกศร
3
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตัวอย่าง : นายสมศักดิ์ต้องการทำการตัดสินใจที่จะลงทุนในด้านอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลตอบแทนมูลค่าสูง และต้องการความมีชื่อเสียงในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้ สามารถเขียนแผนภาพอิทธิพลแสดงสถานการณ์การตัดสินใจของนายสมศักดิ์ได้ดังรูปที่ 1
4
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
รูปที่ 1 แผนภาพอิทธิพลในการตัดสินใจลงทุนของนายสมศักดิ์
5
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
แผ่นงานอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมที่เก็บข้อมูลลงในแผ่นงาน และสามารถนำข้อมูลในแผ่นงานนั้น ๆ มาใช้ร่วมกับตัวแบบได้ โดยความสามารถของแผ่นงานอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ สามารถสร้างตัวแบบทำการวิเคราะห์แบบเงื่อนไข (what-if analysis) ด้วยตนเอง สามารถทำการหาค่าตัวแปรตามเป้าหมายที่กำหนด (Goal Seeking) สามารถนำข้อมูลมาสร้างเป็นรายงานได้ สามารถจัดการกับข้อมูลเรียงตามลำดับทั้งแบบตัวอักษรและแบบตัวเลข สามารถดูข้อมูลหลาย ๆ ส่วนในเวลาเดียวกันได้ มีฟังก์ชันการทำงานทั้งทางสถิติ คณิตศาสตร์ และด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพ
6
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
แผ่นงานอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) สามารถฝังสูตรเพื่อใช้คำนวณค่าไว้ในแผ่นงาน สามารถใช้ในการสร้างตัวแบบคงตัวและแบบผันแปร สามารถเพิ่มโปรแกรมเพิ่มเติม (Add-in) และตัวแก้ปัญหา (Solver) จากภายนอก สามารถสร้างชุดการทำงานอัตโนมัติที่เรียกว่ามาโคร (Macro) ได้ ผู้ใช้สามารถสร้างระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเป็นของตนเองได้อย่างรวดเร็วและประหยัด ตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ ได้แก่ โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ๊กเซล (Microsoft Excel) และ โลตัส (Lotus 1-2-3)
7
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
การวิเคราะห์การตัดสินใจ สถานการณ์การตัดสินใจที่มีทางเลือกในการแก้ปัญหาจำนวนจำกัดและจำนวนไม่มากนัก จะถูกจำลองโดยวิธีการที่เรียกว่า การวิเคราะห์การตัดสินใจ ในวิธีนี้ทางเลือกในการแก้ปัญหาถูกแสดงออกมาและทำการคาดเดาถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาว่าบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด จากนั้นจึงทำการประเมินเพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด มี 2 กรณีคือ 1. สถานการณ์ที่มีวัตถุประสงค์เดียว สามารถวิเคราะห์การตัดสินใจโดยการใช้ตารางการตัดสินใจ หรือต้นไม้การตัดสินใจ 2. สถานการณ์ที่มีหลายวัตถุประสงค์ สามารถวิเคราะห์การตัดสินใจโดยใช้หลายวิธีการ
8
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางการตัดสินใจ (Decision Table) : การวิเคราะห์การตัดสินใจต้องกำหนดปัจจัยดังนี้ ทางเลือก (Alternatives) ทั้งหมดที่เป็นไปได้ คาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด เรียกว่า สภาวการณ์นอก บังคับ (State of Natures) คาดคะเนผลตอบแทน (Payoff) จากการตัดสินใจในสภาวการณ์นอก บังคับต่าง ๆ และนำข้อมูลทั้งหมดมาแสดงในรูปแบบของตาราง ผลตอบแทน (Payoff Table) หรือตารางการตัดสินใจ
9
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตัวอย่าง บริษัทเงินทุนบริษัทหนึ่งกำลังพิจารณาการลงทุนเลือกหนึ่งในสามทางเลือกคือ พันธะบัตร, หุ้น หรือตั๋วเงินฝาก โดยวัตถุประสงค์ของบริษัทมีเพียงเป้าหมายเดียวคือ ต้องการหาวิธีการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่สนใจวัตถุประสงค์ด้านอื่น ๆ เช่น วัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย หรือด้านสภาพคล่อง ผลตอบแทนที่จะได้รับขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจ (state of nature) ได้แก่ เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมั่นคง, เศรษฐกิจอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง, หรือเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะเงินเฟ้อ การประมาณการผลกำไรรายปีต่อไปนี้ถูกคาดเดาโดยผู้เชี่ยวชาญ
10
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
1. ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะเจริญเติบโตอย่างมั่นคง พันธะบัตรจะให้ผลตอบแทน 12%, หุ้นให้ผลตอบแทน 15%, และตั๋วเงินฝากให้ผลตอบแทน 6.5% 2. ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง พันธะบัตรจะให้ผลตอบแทน 6%, หุ้นให้ผลตอบแทน 3%, และตั๋วเงินฝากให้ผลตอบแทน 6.5% 3. ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะเงินเฟ้อ พันธะบัตรจะให้ผลตอบแทน 3%, หุ้นทำให้ขาดทุน 2%, และตั๋วเงินฝากให้ผลตอบแทน 6.5% สามารถสร้างตารางการตัดสินใจดังตารางที่ 1 ดังนี้
11
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางที่ 1 ตารางการตัดสินใจในการลงทุนของบริษัทเงินทุน สภาวะทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้) ทางเลือก (ตัวแปรตัดสินใจ) เจริญเติบโต หยุดนิ่ง เงินเฟ้อ พันธะบัตร 12.0% 6.0% 3.0% หุ้น 15.0% -2.0% ตั๋วเงินฝาก 6.5% ตัวแปรผลลัพธ์
12
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
แนวความคิดการเสียโอกาส (Regret) การสูญเสียที่เกิดขึ้นเนื่องจากผลของการไม่เลือกทางเลือกที่ดีที่สุดใน สภาวการณ์นอกบังคับเดียวกัน ค่าเสียโอกาสจะเท่ากับผลต่างของ ผลได้กรณีเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดกับผลได้กรณีเลือกทางเลือกนั้น ๆ ดังตารางที่ 2
13
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางที่ 2 แสดงค่าเสียโอกาสในการลงทุนของแต่ละทางเลือก สภาวะทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้) ทางเลือก (ตัวแปรตัดสินใจ) เจริญเติบโต หยุดนิ่ง เงินเฟ้อ พันธะบัตร =3.0% =0.5% =3.5% หุ้น =0.0% 6.5-(-2.0)=8.5% ตั๋วเงินฝาก =8.5% =0.0%
14
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน หมายถึง ไม่ทราบค่าความน่าจะเป็นของแต่ละสภาวการณ์ซึ่งเป็นตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้ เกณฑ์การตัดสินใจที่สำคัญ ได้แก่ 1. เกณฑ์มากมากที่สุด (Maximax Criterion) หรือวิธีมองโลกในแง่ดี เลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดของแต่ละทาง และเลือกทางเลือกที่ให้ค่าผลตอบแทนสูงจากทางเลือกทั้งหมด ดังนั้นจึงเลือกลงทุนด้วยหุ้น ดังตารางที่ 3
15
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางที่ 3 ตารางการตัดสินใจ Maximax Criterion สภาวะทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้) ทางเลือก (ตัวแปรตัดสินใจ) เจริญเติบโต หยุดนิ่ง เงินเฟ้อ ค่าสูงสุดของทางเลือกต่าง ๆ พันธะบัตร 12.0% 6.0% 3.0% หุ้น 15.0% -2.0% ตั๋วเงินฝาก 6.5%
16
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน (ต่อ) 2. เกณฑ์น้อยมากที่สุด (Maximin Criterion) หรือวิธีมองโลกในแง่ร้าย เลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนน้อยที่สุดจากแต่ละทาง และเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดจากทางเลือกทั้งหมด ดังนั้นจึงเลือกลงทุนด้วยตั๋วเงินฝาก ดังตารางที่ 4
17
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางที่ 4 ตารางการตัดสินใจ Maximin Criterion สภาวะทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้) ทางเลือก (ตัวแปรตัดสินใจ) เจริญเติบโต หยุดนิ่ง เงินเฟ้อ ค่าสูงสุดของทางเลือกต่าง ๆ พันธะบัตร 12.0% 6.0% 3.0% หุ้น 15.0% -2.0% ตั๋วเงินฝาก 6.5%
18
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน (ต่อ) 3. เกณฑ์ค่าเสียโอกาสมากน้อยที่สุด (Minimax Regret Criterion) เลือกทางเลือกที่ให้ค่าเสียโอกาสมากที่สุดจากแต่ละทาง และเลือกทางที่ให้ค่าเสียโอกาสน้อยที่สุดจากทางเลือกทั้งหมด ดังนั้นจึงเลือกลงทุนด้วยพันธะบัตร ดังตารางที่ 5
19
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางที่ 5 ตารางการตัดสินใจ Minimax Regret Criterion สภาวะทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้) ทางเลือก (ตัวแปรตัดสินใจ) เจริญเติบโต หยุดนิ่ง เงินเฟ้อ ค่าสูงสุดของทางเลือกต่าง ๆ พันธะบัตร 3.0% 0.5% 3.5% หุ้น 0.0% 8.5% ตั๋วเงินฝาก
20
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง หมายถึง การวิเคราะห์การตัดสินใจโดยการสมมติค่าความน่าจะเป็นให้กับสภาวการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้แก่ 1. เกณฑ์การใช้หลักของเหตุผล (LAPLACE Criterion) ลักษณะข้อมูลไม่เพียงพอจะถือว่าทุกสภาวการณ์มีโอกาสเกิดเท่ากัน ดังนั้นจึงเลือกลงทุนด้วยพันธะบัตร ดังตารางที่ 6
21
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางที่ 6 ตารางการตัดสินใจ LAPLACE สภาวะทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้) ทางเลือก (ตัวแปรตัดสินใจ) เจริญเติบโต หยุดนิ่ง เงินเฟ้อ ค่าคาดหวัง พันธะบัตร 12.0% 6.0% 3.0% 12(1/3)+6(1/3)+3(1/3)=7% หุ้น 15.0% -2.0% 15(1/3)+3(1/3)+(-2)(1/3)=5.3% ตั๋วเงินฝาก 6.5% 6.5(1/3)+6.5(1/3)+6.5(1/3)=6.5% ความน่าจะเป็น 1/3
22
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง (ต่อ) จากตัวอย่าง สมมติค่าความน่าจะเป็นของการที่เศรษฐกิจจะเจริญเติบโตมีค่าเท่ากับ 50%, เศรษฐกิจหยุดนิ่งมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 30% และเศรษฐกิจเงินเฟ้อมีความน่าจะเป็นเท่ากับ 20% 2. เกณฑ์ความน่าจะเป็นมากที่สุด (Maximum Likelihood Criterion) เลือกทางเลือกที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุด ดังนั้นจึงเลือกลงทุนด้วยหุ้น ดังตารางที่ 7
23
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางที่ 7 ตารางการตัดสินใจ Maximum Likelihood Criterion สภาวะทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้) ทางเลือก (ตัวแปรตัดสินใจ) เจริญเติบโต หยุดนิ่ง เงินเฟ้อ ค่าคาดหวัง พันธะบัตร 12.0% 6.0% 3.0% หุ้น 15.0% -2.0% ตั๋วเงินฝาก 6.5% ความน่าจะเป็น 0.5 0.3 0.2
24
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง (ต่อ) 3. ค่าคาดหวังสูงสุด (Maximize Expected Profit) เลือกทางเลือกที่ให้ค่าคาดหวัง (Expected value) สูงที่สุด ดังนั้นจึงเลือกลงทุนด้วยพันธะ-บัตร ดังตารางที่ 8
25
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางที่ 8 ตารางการตัดสินใจ Maximize Expected Profit สภาวะทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้) ทางเลือก (ตัวแปรตัดสินใจ) เจริญเติบโต หยุดนิ่ง เงินเฟ้อ ค่าคาดหวัง พันธะบัตร 12.0% 6.0% 3.0% 12(0.5)+6(0.3)+3(0.2)=8.4% หุ้น 15.0% -2.0% 15(0.5)+3(0.3)+(-2)(0.2)=8.0% ตั๋วเงินฝาก 6.5% 6.5(0.5)+6.5(0.3)+6.5(0.2)=6.5% ความน่าจะเป็น 0.5 0.3 0.2
26
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง (ต่อ) 4. ค่าคาดหวังต่ำสุด (Minimize Expected Profit) เลือกทางเลือกที่มีค่าคาดหวังต่ำที่สุด โดยใช้ค่าเสียโอกาสเข้ามาช่วยในการคิด ดังนั้นจึงเลือกลงทุนด้วยพันธะบัตร ดังตารางที่ 9
27
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตารางที่ 9 ตารางการตัดสินใจ Minimize Expected Profit สภาวะทางเศรษฐกิจ (ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้) ทางเลือก (ตัวแปรตัดสินใจ) เจริญเติบโต หยุดนิ่ง เงินเฟ้อ ค่าคาดหวัง พันธะบัตร 3% 0.5% 3.5% 3(0.5)+0.5(0.3)+3.5(0.2)=2.35% หุ้น 0.0% 8.5% 0(0.5)+3.5(0.3)+(8.5)(0.2)=2.75% ตั๋วเงินฝาก 8.5(0.5)+0(0.3)+0(0.2)=4.25% ความน่าจะเป็น 0.5 0.3 0.2
28
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ต้นไม้ในการตัดสินใจ (Decision Tree) จะช่วยวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่มีความเสี่ยง โดยต้นไม้ในการตัดสินใจหนึ่งต้น แทนการเลือกทางเลือกหนึ่ง ๆ ของตารางการตัดสินใจ มีข้อดีคือเป็นแผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ของปัญหาออกมาในลักษณะรูปภาพที่สามารถเข้าใจได้ง่าย และสามารถใช้งานกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนต่าง ๆ ได้ (เช่น ปัญหาการลงทุนแบบหลายช่วงเวลา) โดยซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการสร้างต้นไม้ในการตัดสินใจ ได้แก่ DPL และ DATA เป็นต้น
29
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
ตัวอย่าง บริษัท ABC ต้องการตัดสินใจว่าจะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าใหม่ด้วยตนเองหรือไม่ ถ้าเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าเองจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงในด้านยอดขาย และค่าใช้จ่ายในการผลิต รายละเอียดมีดังนี้ บริษัทต้องตัดสินใจว่าจะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าด้วยตนเองหรือขายกรรมสิทธิ์ให้กับบริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้าอื่น ถ้าขายกรรมสิทธิ์ให้ตัวแทนอื่น บริษัทจะได้รับค่าธรรมเนียม 225 ล้านเหรียญ ถ้าเป็นตัวแทนจำหน่ายเองจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในด้านค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยสมมติให้ความน่าจะเป็นของค่าใช้จ่ายในการผลิตกรณีที่มีค่าสูงและต่ำ เท่ากัน ค่าใช้จ่ายเท่ากับ 700 ล้านเหรียญในกรณีค่าใช้จ่ายสูง และ 300 ล้านเหรียญในกรณีค่าใช้จ่ายต่ำ นอกจากเรื่องค่าใช้จ่ายในการผลิตแล้วบริษัทยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของจำนวนยอดขายที่จะขายได้อีกด้วย ในกรณีนี้สมมติให้ยอดขายมีค่าสูงและต่ำมีความน่าจะเป็นเท่ากัน โดยยอดขายที่มีค่าสูงขายได้เท่ากับ 100 ล้านชิ้น และยอดขายมีค่าต่ำมีค่าเท่ากับ 50 ล้านชิ้น รายได้ของบริษัทคำนวณได้จากยอดขายคูณด้วยราคาต่อหน่วย และกำหนดให้ราคาต่อหน่วยมีค่าเท่ากับ 10 เหรียญ จงพิจารณาว่าบริษัทควรตัดสินใจอย่างไร สามารถสร้าง Decision Tree ดังรูปที่ 2
30
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
รูปที่ 2 แสดงต้นไม้การตัดสินใจของบริษัท ABC
31
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : 2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ
สถานการณ์การตัดสินใจที่มีเป้าหมายมากกว่าหนึ่ง กรณีที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินการมากกว่าหนึ่ง เช่น ผลตอบแทน, ความปลอดภัย, และสภาพคล่อง อาจสมมติให้อยู่ภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน นั่นคือ แต่ละทางเลือกจะมีเพียงผลลัพธ์เดียวที่เป็นไปได้โดยผลลัพธ์อาจจะไม่อยู่ในรูปของตัวเลขแต่อยู่ในรูปแบบเชิงคุณภาพแทนก็ได้
32
ทดสอบย่อย บริษัทแปรรูปผลไม้แห่งหนึ่ง ต้องการหารูปแบบการแปรรูปผลไม้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดเท่านั้น ซึ่งรูปแบบที่นำมาพิจารณามีทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบ A, B, C, D และ E โดยจะเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ – 2553 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในขั้นแรก ทั้งนี้ผลตอบแทนจะขึ้นกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและนอกประเทศ ได้แก่ ตลาดมีความต้องการสูง ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 48%, ความต้องการของตลาดอยู่ในระดับคงที่ ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 32% และความต้องการของตลาดอยู่ในระดับต่ำ ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 20% โดยสามารถประมาณการผลกำไรได้ดังนี้ 1. ตลาดมีความต้องการสูง แต่ละรูปแบบให้ผลตอบแทนดังนี้ A = 7%, B = 15%, C = 6%, D = 2% และ E = 4% 2. ความต้องการของตลาดอยู่ในระดับคงที่ แต่ละรูปแบบให้ผลตอบแทนดังนี้ A = 6%, B = 10%, C = 3%, D = -3% และ E = 2% 3. ความต้องการของตลาดอยู่ในระดับต่ำ แต่ละรูปแบบให้ผลตอบแทนดังนี้ A = 2%, B = 8%, C = 3%, D = -3% และ E = 2% จงสร้างตารางการตัดสินใจในการลงทุนแปรรูปผลไม้ โดยใช้วิธีต่อไปนี้ และแต่ละวิธีให้ระบุทางเลือกที่ชัดเจน เกณฑ์มากมากที่สุด (Maximax Criterion) เกณฑ์ค่าเสียโอกาสมากน้อยที่สุด (Minimax Regret Criterion) เกณฑ์การใช้หลักของเหตุผล (LAPLACE Criterion) ค่าคาดหวังสูงสุด (Maximize Expected Profit) ค่าคาดหวังต่ำสุด (Minimize Expected Profit)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.