งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Learning Assessment and Evaluation

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Learning Assessment and Evaluation"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Learning Assessment and Evaluation
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ Learning Assessment and Evaluation ดร. อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

2 หลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติ ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 1 หลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติ ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ดร. อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

3 องค์ประกอบพื้นฐานในการจัดการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา ความเชื่อที่เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษา มวลประสบการณ์ในการจัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับปรัชญา สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตัดสินคุณค่าผลการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจประเมินทั้งผู้เรียน ผู้สอน หลักสูตร โครงการ กิจกรรมของโรงเรียน กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริง ด้วยวิธีการที่มีระบบและเชื่อถือได้ หลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผล การวิจัย

4 การวัดและการประเมินผลตามการปฏิรูปการศึกษา
ข้อกำหนดใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 - การจัดการศึกษายึดหลักการ “ผู้เรียนสำคัญที่สุด” - ให้ความสำคัญกับพัฒนาการของผู้เรียน เน้นการประเมินตามสภาพจริง - การจัดสาระการเรียนรู้ เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และการบูรณาการให้เหมาะสมกับผู้เรียน - ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขได้เต็มตามศักยภาพ

5 การจัดกระบวนการเรียนรู้
- จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียน - ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และประยุกต์ใช้ความรู้มาป้องกันและแก้ปัญหา - ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง - ผสมผสานสาระความรู้อย่างสมดุล และปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา - จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ และใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ - พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา และทุกสถานที่

6 แนวทางการวัดและประเมินผล
- วัดและประเมินผลตามศักยภาพของแต่ละคน - ใช้เครื่องมือการวัดที่หลากหลาย - มีการวัดและประเมินผลระหว่างที่มีการเรียนการสอน เพิ่มเติมจากการวัดและประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน - เปิดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล - เป็นการวัดที่เน้นวิธีการเรียนรู้ วิธีการคิด และคำตอบที่ถูกต้องอาจมีความหลากหลายมากกว่าการเน้นคำตอบถูกเพียงคำตอบเดียว - เป็นการวัดและประเมินผลที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน เน้นการเพิ่ม/เสริมกำลังใจในการเรียนรู้ สามารถให้ถ่ายโยงความรู้สู่ชีวิตจริง มากกว่าการแข่งขันเพื่อบอกว่าใครสอบตกหรือเปรียบเทียบว่าใครดีกว่า

7 การวัดและประเมินการเรียนรู้ผู้เรียน

8 การวัดและการประเมินผล จุดมุ่งหมายของการวัด
ความหมายของ การวัดและการประเมินผล การวัด (Measurement) กระบวนการกำหนดตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัดอย่างมี กฎเกณฑ์เชื่อถือได้ องค์ประกอบของการวัด จุดมุ่งหมายของการวัด เครื่องมือที่ใช้วัด การแปลผล

9 การเลือกใช้ผลการวัด สิ่งที่ ต้องการวัด ผล การวัด คุณภาพ ของการวัด
เครื่องมือ/วิธีการ ที่ยอมรับร่วมกัน สิ่งที่ ต้องการวัด ผล การวัด คุณภาพ ของการวัด คุณภาพ ของเครื่องมือ การเลือกใช้ผลการวัด

10 ตัวอย่างการวัด (Measurement)
- ธิดาขับรถด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง - แม่ค้าชั่งลำไย 1 ถุง ได้หนัก 2 กิโลกรัม - ยศศักดิ์มีคะแนนเชาวน์ปัญญา เท่ากับ 95 - วิไลพร สอบวิชาภาษาไทย ได้ 8 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10

11 การวัดและการประเมินผล องค์ประกอบของการประเมินผล
ความหมายของ การวัดและการประเมินผล การประเมินผล (Evaluation) กระบวนการในการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ อย่างมีกฎเกณฑ์ โดยอาศัยข้อมูลจากการวัดนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ การประเมินผล = การวัด + การตัดสินคุณค่า องค์ประกอบของการประเมินผล ข้อมูล จากการวัด เกณฑ์ที่ตั้งไว้ การตัดสินคุณค่า

12 ตัวอย่างการประเมินผล (Evaluation)
ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนทำแบบทดสอบได้ 75 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และมีการกำหนดเกณฑ์ไว้ว่า ถ้าได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน ผลคือ ผู้เรียนคนนี้สอบผ่าน - นภาพรสอบผ่านในวิชาเคมี แต่สอบตกในวิชาคณิตศาสตร์ - ธงชัยมีผลการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าธงชาติ - จินตราเขียนเรียงความได้ถูกต้องตามหลักที่ครูกำหนด

13 ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เกณฑ์/มาตรฐาน ผลการประเมิน ตัดสิน ปรับปรุง พัฒนา ผ่าน/ไม่ผ่าน

14 การเลือกใช้ผลการประเมิน
การวัด การตัดสินคุณค่า การประเมินผล คุณภาพ ของการประเมิน คุณภาพ ของเกณฑ์ การเลือกใช้ผลการประเมิน

15 ความต่างระหว่างการวัดและการประเมิน
ต้องการทราบว่านักศึกษามีความรู้เรื่องการประเมินผลการศึกษา มากหรือน้อยเพียงใด? คะแนน แบบทดสอบ การวัดผล

16 ความต่างระหว่างการวัดและการประเมิน
ต้องการทราบว่านักศึกษามีความรู้เรื่องการประเมินผลการศึกษาผ่านเกณฑ์หรือไม่ คะแนน จากการวัด ผ่าน การประเมินผล ไม่ผ่าน เกณฑ์ ( > 60%)

17 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ การวัดและการประเมินผล
การประเมิน (Assessment) กระบวนการรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยกำหนดเกณฑ์เชิงคุณลักษณะสำหรับใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับผู้เรียน แล้วให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกับความก้าวหน้า จุดเด่น และจุดด้อย เพื่อตัดสินประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และความพอเพียงของหลักสูตร และเพื่อชี้แนะนโยบาย (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, 2544)

18 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ การวัดและการประเมินผล
แบบสอบ (Test) เครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วย ชุดของข้อคำถาม ตัวเลือก(คำตอบ) และมีการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน การทดสอบ (Testing) การนำเอาชุดของสิ่งเร้า (ข้อคำถาม, ข้อสอบ) ไปกระตุ้นหรือเร้าให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา (มีการตอบสนอง) และให้ผลการวัดเป็นคะแนน

19 การทดสอบ (Testing)

20 ความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบ (T) การวัด (M) การประเมินผล (E) และการประเมิน (A)
Assessment Measurement Testing Test Evaluation Value Judgment

21 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ การวัดและการประเมินผล
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) กระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วน ร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้และประเมินตนเอง โดยมีจุดเน้นอยู่ที่การ แสดงออก (Performance) กระบวนการดำเนินงาน (Process) และผลผลิต (Product) เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubrics) เครื่องมือที่ใช้ในการให้คะแนนที่ประกอบด้วย รายการของเกณฑ์ (criteria) ที่จะใช้ในการพิจารณาชิ้นงาน โดยมีการให้คำอธิบายถึงระดับ คุณภาพในแต่ละเกณฑ์ โดยเรียงลำดับจากดีเยี่ยม ลดหลั่นลงมาตามลำดับไป จนถึงต้องปรับปรุง

22 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ การวัดและการประเมินผล
แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) การสะสมหลักฐานที่แสดงถึงทักษะ ความสามารถหรือพัฒนาการของ ผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเนื้อหา กำหนดเกณฑ์ในการ คัดเลือกผลงาน เกณฑ์การตัดสินคุณค่าของงาน และมีส่วนร่วมในการ ประเมินตนเอง การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment) กระบวนการตัดสินคุณค่าแฟ้มสะสมงานที่นักเรียนทำตั้งแต่ต้นจนจบ โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดโดยผู้เกี่ยวข้อง และเกณฑ์นี้ต้องเปิดเผยแก่ ผู้เกี่ยวข้องและมาตรฐานของสถาบันการศึกษา

23 องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้
O (Objectives) L (Learning Experiences) E (Evaluation) OLE องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้

24 ความสำคัญของการวัดและการประเมิน
การวัดและการประเมินผลมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจทางการศึกษาหลายประการ ดังนี้ การบริหารการศึกษา การจัด การเรียนการสอน การทดสอบ, การตัดเกรด การแนะแนว และให้คำปรึกษา การตัดสินใจ

25 แนวคิดพื้นฐานสำหรับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
Why What How Value Judgment วัดและประเมินผลไปทำไม วัดและประเมินผลอะไร วัดและประเมินผลอย่างไร ตัดสินด้วยวิธีใด

26 คำถาม 1 วัดและประเมินผลไปทำไม
1) กำหนดจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมิน ขั้นตอนการเรียน การวัด การประเมิน เป้าหมาย ก่อน Placement Test Placement Evaluation - ตรวจสอบความพร้อมทักษะพื้นฐานที่สำคัญ ระหว่าง Formative Test Diagnostic Test Formative Evaluation Diagnostic Evaluation - ติดตามความก้าวหน้า - วินิจฉัยสาเหตุของปัญหาการเรียนรู้ หลัง Summative Test Summative Evaluation - สรุปผลการเรียนรู้

27 คำถาม 2 วัดและประเมินผลอะไร
2) วิเคราะห์เป้าหมายของการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้น การเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) เกี่ยวกับความรู้ ความจำ ความคิด การแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้ทางด้านอารมณ์และความรู้สึก (Affective Domain) เช่น ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม คุณธรรม เป็นต้น การเรียนรู้ทางด้านทักษะและการปฏิบัติ (Psychomotor Domain) เช่น การเคลื่อนไหวอวัยวะและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นต้น

28 คำถาม 3 วัดและประเมินผลอย่างไร
3) เลือกใช้เครื่องมือและสร้างเครื่องมือ ออกแบบการสร้างเครื่องมือ ลงมือสร้างเครื่องมือ ทดลองใช้และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 4) เก็บรวบรวมข้อมูล (นำไปทดสอบ) 5) วิเคราะห์ข้อมูล (ตรวจให้คะแนน)

29 คำถาม 4 ตัดสินผลด้วยวิธีใด
6) ตัดสินคุณค่าของผลการเรียนรู้ วิธีแปลความหมาย การวัด การประเมิน เป้าหมาย เปรียบเทียบกับกลุ่ม (อิงกลุ่ม) Norm-Referenced Measurement Evaluation ตัดสินการเรียนรู้ว่า ใครเก่ง/อ่อนกว่ากัน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ /มาตรฐาน (อิงเกณฑ์) Criterion-Referenced ใครมีสมรรถนะเพียงใด เปรียบเทียบกับตนเอง Self-Referenced ตนเองมีความงอกงาม เพียงใด 7) รายงานผลและนำผลไปใช้ในการพัฒนา/ปรับปรุงการเรียนรู้

30 แนวคิดเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล
สิ่งใดมีอยู่ สิ่งนั้นต้องวัดได้ การวัดเป็นส่วนหนึ่งของการสอน การสอนกับการสอบเป็นกระบวนการที่สัมพันธ์กัน การสอนไม่ใช่เพื่อสอบ หรือสอนเฉพาะที่สอบ ผู้สอนควรเป็นผู้สอบ

31 ความแตกต่างระหว่างการวัดและประเมินผลแนวเดิมและแนวใหม่

32 ความแตกต่างระหว่างการวัดและประเมินผลแนวเดิมและแนวใหม่

33 ความแตกต่างระหว่างการวัดและประเมินผลแนวเดิมและแนวใหม่

34 หลักการวัดผลการศึกษา
วัดให้ตรงจุดมุ่งหมาย วัดให้ครอบคลุมพฤติกรรมที่ต้องการวัด สุ่มตัวอย่างของสิ่งที่ต้องการวัดให้เหมาะสม ทั้งด้านเนื้อหา ความสามารถ และคุณลักษณะตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัด วิธีการและเครื่องมือวัดสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของสิ่งที่ต้องการวัด ใช้วิธีการวัดและเครื่องมือวัดหลายประเภทและวัดหลายครั้ง ใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพดี แปลผลการวัดอย่างถูกต้อง มีความยุติธรรม ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า

35 ขั้นตอนการวัดและประเมินผล
1. กำหนดสิ่งที่จะวัด/ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของการเรียนรู้ในด้านที่มุ่งวัด 2. กำหนดนิยามของคุณลักษณะที่ต้องการวัด 3. กำหนดวิธีการวัดผล 4. เลือก/สร้างเครื่องมือการวัดผล ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ กำหนดวิธีการแปลความหมายข้อมูล 7. บริหารการวัดผล/ การสอบ 8. นำผลการวัดมาแปลความหมายโดยเทียบ กับเกณฑ์ 9. ตัดสินค่าจากผลการวัด 10. ให้ผลป้อนกลับจากการวัดและประเมินผล 11. นำผลการวัดไปใช้พัฒนา ส่งเสริม และ แก้ไขปรับปรุง

36 ธรรมชาติของการวัดผลการศึกษา
• เป็นการวัดสิ่งที่เป็นพฤติกรรมซึ่งไม่สามารถวัดได้โดยตรง • ไม่สามารถวัดได้อย่างแน่นอน • สามารถวัดได้เพียงบางส่วนของเนื้อหาและพฤติกรรมที่สุ่มออกมาวัด • ผลการวัดจะมีความหมายเมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์ • มีความคลาดเคลื่อนจากการวัดทุกครั้ง X = t + e เกิดจาก - การกำหนดกลุ่มพฤติกรรมภายนอกที่วัดไม่ สอดคล้องกับพฤติกรรมภายในและไม่ ครบถ้วน - เครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพไม่ดี - ข้อบกพร่องในการดำเนินการสอบ - การแปลความหมายของคะแนนผิดพลาด

37 ประเภทของการวัดผล การวัดด้านกายภาพศาสตร์ (Physical science)
เป็นการวัดสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม มีตัวตน จึงมีความแม่นยำและเชื่อถือได้มาก เป็นการวัดทางตรง การวัดด้านสังคมศาสตร์ (Social science) เป็นการวัดด้านการศึกษาและจิตวิทยา เป็นการวัดเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะแฝง ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง เป็นการวัดทางอ้อม ประเภทของการวัดผล

38 หลักการประเมินผลการศึกษา
สอดคล้องกับปรัชญาการประเมินผล “ทดสอบเพื่อค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของมนุษย์” ศาสตราจารย์ ดร.ชวาล แพรัตกุล “Evaluation is not to prove, but to improve” Danial L. Stufflebeam

39 หลักการประเมินผลการศึกษา
เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการเรียน เน้นนำผลที่ได้ไปปรับปรุงผู้เรียน จุดมุ่งหมายในการประเมินต้องชัดเจน ใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพดี สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ใช้การวัดหลายด้าน หลายวิธี ระวังข้อผิดพลาดที่เกิดจากการวัด แปลผลการประเมินอย่างระมัดระวัง รอบคอบ ใช้ผลการประเมินอย่างคุ้มค่า

40 จุดมุ่งหมายของการประเมินผลการศึกษา
เพื่อจัดตำแหน่ง, จัดประเภท เพื่อพยากรณ์/ ทำนาย เพื่อประเมินค่า/ สรุปคุณภาพของการศึกษา เพื่อปรับปรุงการเรียน การสอน เพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้เรียน เพื่อตัดสินผลการเรียน เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจ ในการเรียน เพื่อคัดเลือก

41 ประเภทของการประเมินผล
จำแนกตามขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอน 1. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-evaluation) เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน จัดกลุ่มผู้เรียน กำหนด/ปรับจุดประสงค์ และวางแผนการจัดการเรียนการสอน 2. การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative evaluation) เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า เพื่อวินิจฉัยปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน และตรวจสอบประสิทธิภาพผู้สอน 3. การประเมินผลหลังเรียน (Summative evaluation) เป็นการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน

42 ประเภทของการประเมินผล
จำแนกตามการแปลความหมายของคะแนน 1. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Evaluation) เพื่อบรรยายและตัดสินความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่พึงมี 2. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Evaluation) เพื่อบรรยายและตัดสินความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบกับผู้เรียนคนอื่นๆ ภายในกลุ่ม 3. การประเมินผลแบบอิงตนเอง (Self-Referenced Evaluation) เพื่อบรรยายและตัดสินความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบผลการวัดประเมินระดับความรู้ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน

43 วิธีการวัดและประเมินผล
การทดสอบ (Testing) ใช้แบบทดสอบไปตรวจสอบคุณลักษณะที่ต้องการวัด การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก ลงมือปฏิบัติ สัมภาษณ์ ดูแฟ้มสะสมผลงาน การประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) พิจารณาความสามารถในการปฏิบัติงาน จากกระบวนการและคุณภาพของงาน การประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio Assessment) พิจารณาจากผลงานที่โดดเด่นและน่าสนใจ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ตามสภาพจริง การประเมินโดยใช้ศูนย์การประเมิน (Assessment Centers) สร้างสถานการณ์จำลอง สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก

44 เครื่องมือวัดและประเมินผล
1. แบบทดสอบ ชุดของข้อคำถามที่ใช้วัดตัวอย่างพฤติกรรมผู้เรียน 2. แบบสังเกต การเฝ้าดูพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมาย ใช้ตาเป็นเครื่องมือ และอาจใช้แบบตรวจสอบรายการเป็นกรอบเพื่อช่วยประเมิน 3. แบบสัมภาษณ์ การสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า 4. แบบสอบถาม คล้ายแบบทดสอบ แต่เน้นให้ผู้ตอบแสดงความรู้สึกออกมาจากใจโดยเสรี จึงไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด 5. การจัดอันดับคุณภาพ วัดและประเมินค่าสถานการณ์ หรือคุณลักษณะ ที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้โดยตรง จึงใช้วิธีการจัดอันดับตามลักษณะของคุณภาพ

45 เกณฑ์การประเมินผล / แนวทางการให้คะแนน
ผู้สอนต้องตอบคำถามสุดท้ายว่า... “ ควรตัดสินผลด้วยวิธีใด / เลือกใช้เกณฑ์อะไร” อาจนำผลการวิเคราะห์ไปเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม เปรียบเทียบก่อน – หลัง เพื่อดูพัฒนาการ เกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative Criteria) อาจนำผลการวิเคราะห์ไปเปรียบเทียบกับระดับความสามารถ/ ทักษะที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criteria)

46 ประเด็นที่ควรเน้นในการประเมิน
ความเข้าใจในความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือขั้นตอนที่ใช้ ทักษะการแก้ปัญหา การสื่อความหมาย ผลสำเร็จของงาน

47 ลักษณะการให้คะแนน การให้คะแนนแบบเป็นภาพรวม (Holistic score) คือ การให้คะแนนโดยดูภาพรวมของชิ้นงานว่ามีความคิดรวบยอด การสื่อความหมาย กระบวนการที่ใช้ และผลงานเป็นอย่างไร แล้วบรรยายคุณภาพของงานเป็นระดับ การให้คะแนนแบบเป็นรายองค์ประกอบ (Analytic score) คือ การให้คะแนนโดยพิจารณาแต่ละองค์ประกอบของงาน และบรรยายคุณภาพของงานแต่ละองค์ประกอบเป็นระดับ

48 ข้อควรคำนึงในการสร้างเกณฑ์การประเมิน
ประเมินรวม หรือแยกเป็นรายชิ้น คุณลักษณะใดบ้างที่สามารถสะท้อนภาพรวมของจุดประสงค์การประเมิน การให้น้ำหนักชิ้นงาน บทบาทของการประเมิน ประเมินโดยตนเองผู้ปกครอง ผู้สนใจ และเพื่อน

49 ความสอดคล้องสัมพันธ์ระหว่าง จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด และเครื่องมือที่ใช้
ประเภทของจุดประสงค์ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย การทดสอบ การสัมภาษณ์ การสอบถาม การซักถาม แบบทดสอบข้อเขียน แบบทดสอบภาคปฏิบัติ แบบวัด แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ข้อคำถาม

50 ความสอดคล้องสัมพันธ์ระหว่าง จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด และเครื่องมือที่ใช้
ประเภทของจุดประสงค์ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย การสังเกต การตรวจผลงาน การตรวจแบบฝึกหัด การใช้แฟ้มสะสมงาน แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรประมาณค่า แบบบันทึก แบบประเมินผลงาน แบบฝึกหัด / ใบงาน แบบวัด / แบบบันทึก / แบบประเมินผลงาน / แบบประเมินตนเอง

51 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการเรียนรู้ วิธีการวัด และเครื่องมือที่ใช้
จุดประสงค์ วิธีการวัด เครื่องมือที่ใช้ บอก บรรยาย อธิบาย ระบุความสัมพันธ์ เสนอแนวทาง เปรียบเทียบ จัดลำดับ แสดง ปฏิบัติ เขียนรายงาน ยอมรับ เห็นคุณค่า ตระหนักในความสำคัญ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย ซักถาม ทดสอบ ซักถาม สังเกต ตรวจผลงาน ตรวจสอบ สังเกต ข้อคำถาม แบบทดสอบ ข้อคำถาม แบบสังเกต/ตรวจสอบรายการ/ แบบประเมินผลงาน แบบรายงานพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม

52 คุณธรรมของผู้ทำหน้าที่วัดและประเมินผล
มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ มีความละเอียดรอบคอบในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวกับการวัดและประเมินผล มีความกล้าคิด กล้าวิจารณ์อย่างมีเหตุผลและถูกต้องตามหลักวิชา มีความเชื่อมั่นในตนเองและในหลักวิชา มีความมีความเพียรพยายามและอดทน

53 กิจกรรมในชั้นเรียน ให้นิสิตจับกลุ่ม กลุ่มละ5-6 คน เพื่ออภิปรายถึงประโยชน์ของการวัดและประเมินผลการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ จากนั้นนำเสนอหน้าชั้นเรียน 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน 3) ผู้ปกครอง 4) งานแนะแนว 5) การบริหารการศึกษา 6) การวิจัยการศึกษา

54 แบบฝึกหัด 1 ให้นิสิตพิจารณาข้อความต่อไปนี้ แล้วระบุว่าเป็นการวัดหรือการประเมิน รัศมีมีสัดส่วน นมขวดนั้นหมดอายุมานานหลายวันแล้ว รถคันนี้ใช้มา 5 ปีแล้ว วันนี้ เวลากลางวัน จังหวัดพะเยาจะมีอุณหภูมิสูงสุด 39 องศา พรทิพย์เป็นคนสวยมาก นักบาสมีความสูงเฉลี่ย 190 เซนติเมตร วินัยเป็นเด็กที่มีน้ำใจและเสียสละ ภราดรสอบตกวิชาความเป็นครูมืออาชีพ รษิกาสอบกลางภาควิชาการวัดและประเมินผลได้ 27/30 คะแนน วราพรมีความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับดีมาก

55 แบบฝึกหัด 2 ให้นิสิตพิจารณาว่า สารสนเทศที่ได้จากวัดและประเมินผลต่อไปนี้ อยู่ในช่วงเวลาใดของการจัดการเรียนการสอน ก. ก่อนการเรียนการสอน ข. ระหว่างการเรียนการสอน ค. หลังการเรียนการสอน การให้เกรด A-F การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน การติดตามพัฒนาการ การประมวลผลความรู้ทั้งหมด การจัดชั้นเรียนจำแนกตามความสามารถ การตรวจสอบความพร้อมผู้เรียน การวัดความถนัด การหาสาเหตุที่ผู้เรียนสะกดคำผิด

56 ขอบคุณครับ ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt Learning Assessment and Evaluation

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google