งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(Woodwind Instruments)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(Woodwind Instruments)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 (Woodwind Instruments)
    เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments)

2 เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments)
เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่อง ดนตรี อาจทำจากวัสดุต่างๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง    เครื่องดนตรีประเภทนี้ เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆ ให้เข้าไปภายในท่อ ซึ่งทำหน้าที่เป็น ตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น คุณลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกัน ตามขนาดของท่อ ความสั้นยาว ของท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ เครื่องลมไม้บางชนิด เสียงคล้ายขลุ่ยไทย เช่น ฟลุ้ท ปิคโคโล ซึ่งไม่มีลิ้น เกิดเสียงโดยเป่าลมผ่านเข้าไปทางด้านข้างตามแนวนอนของเครื่อง เครื่อง ลมไม้บางชนิด เสียงคล้ายปี่ เกิดเสียงโดยเป่าลมผ่านลิ้น ซึ่งมีทั้งลิ้นคู่ เช่น บาสซูน โอโบ และลิ้นเดี่ยว เช่น คลาริเนต แซ็กโซโฟน เป็นต้น   เครื่องดนตรีแต่ละชนิดยังมีขนาดต่างๆ กันออกไป เครื่องดนตรีขนาดเล็กจะให้ระดับเสียงสูง เครื่องดนตรีขนาดใหญ่จะให้เสียงต่ำ ผู้บรรเลงจะต้องเลือกใช้เครื่องดนตรีให้เหมาะสมกับบทเพลง ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้

3 ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภทคือ 1. ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (Blowing into a tube) 2. ประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (Blowing through a reed)

4 1. ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (Blowing into a tube) หรือ เครื่องเป่าลมไม้ประเภทขลุ่ย ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อ แบ่งตามลักษณะของการเป่าได้ 2 ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ และประเภทเป่าลมเข้าทางด้านข้าง เช่น ฟลูต และปิคโคโล 1.1 รีคอร์เดอร์ (Recorder) รีคอร์เดอร์ เป็นเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ รีคอร์เดอร์สร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 14 ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ นิยมเล่นในสมัยยุคกลาง และมีความเจริญสูงสุดในยุคบาโรค เป็นเครื่อง เป่าที่มีลักษณะการเป่าแบบด้านตรง มีรูปแบบการเกิดเสียงแบบเดียวกันกับนกหวีด คือ บริเวณปาก เป่านั้นจะทำเป็นช่องลม (Win Way) เพื่อที่จะพุ่งเข้าไปกระทบกับปากนกแก้ว ทำให้อากาศเกิดการ สั่นสะเทือน เกิดเป็นคลื่นเสียงภายในท่อ เกิดเป็นระดับเสียงต่างๆ ท่อของรีคอร์เดอร์มีรูปทรงกรวย คือ จากส่วนปลายของปากเป่าลงมายังส่วนปลายท่อจะค่อยๆ สอบลง และแคบสุดบริเวณปลายของรี คอร์เดอร์ แต่เดิมทำด้วยไม้ ในยุคหลังมีการใช้วัสดุชนิดอื่นมาผลิตแทนไม้ เช่น พลาสติก หรือเรซิน ในปัจจุบันรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับหัดเรียนดนตรีขั้นเบื้องต้น โดยเฉพาะในระดับ ประถมศึกษา

5

6 ส่วนประกอบของรีคอร์เดอร์
รีคอร์เดอร์เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าลมไม้ที่ไม่มีลิ้น มีลักษณะเป็นท่อตั้งตรง มีปากเป่าและรู ปิดเปิดบังคับทิศทางลมเพื่อให้เกิดเสียง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง โดยส่วนบนเป็นส่วนที่ใช้ปากเป่าให้เกิดเสียง ส่วนกลางและส่วนล่างเป็นส่วนที่ทำให้เกิดระดับเสียง ต่างๆ เพราะมีรูสำหรับใช้นิ้วในการปิดเปิดรู ที่ใช้ในการบังคับทิศทางลมให้เกิดระดับเสียง นิยมผลิต จากไม้เนื้อแข็ง เช่น เมเปิ้ล ซีดาร์ โรสวู้ด เป็นต้น แต่ปัจจุบันรีคอร์เดอร์นิยมผลิตจากพลาสติกเพราะมี ราคาถูก และคุณภาพของพลาสติกนั้นเป็นมาตรฐานที่ควบคุมการผลิดให้คงที่ได้ง่าย

7 ประเภทของรีคอร์เดอร์
รีคอร์เดอมีทั้งหมด 10 ประเภท แต่ที่นิยมในปัจจุบันมี 6 ประเภทเท่านั้น ได้แก่ 1.โซปรานิโน (Sopranino) มีขนาดความยาวประมาณ 24 เซนติเมตร มีขนาดเล็ก ลักษณะเสียงสูง แหลมมาก ถ้าใช้นิ้วปิดทั้ง 7 รูจะได้เสียง "ฟา" 2.โซปราโน (Soprano) หรือเดสแคนท์ (Descant) มีความยาวประมาณ 31 เซนติเมตร เป็นประเภทที่ ได้รับความนิยมเล่นมากที่สุด ถ้าใช้นิ้วปิดทั้งหมด 7 รูจะได้เสียง Middle C หรือโดกลางเมื่อเทียบกับ เสียงเปียโน 3.อัลโต (Alto) หรือ เทร็บเบิล (Treble) มีความยาวประมาณ 47 เซนติเมตร 4.เทนเนอร์ (Tenor) มีความยาวประมาณ 64 เซนติเมตร 5.เบส (Bass) มีความยาวประมาณ 94 เซนติเมตร 6.คอนทราเบส (Contra bass)โดยแต่ละประเภทจะแตกต่างกันที่ขนาดและระดับเสียงต่างกัน รีคอร์ เดอร์ที่มีระดับเสียงต่ำขนาดก็จะใหญ่กว่ารีคอร์เดอร์ที่มีระดับเสียงสูง

8 1.2 ปิคโคโล (Piccolo) ปิคโคโล เป็นภาษาอิตาเลียน แปลว่า เล็ก จิ๋ว (tiny) ความจริงแล้ว พิ๊กโคโล่ ก็จัดว่าเป็นเครื่อง ดนตรีในตระกูลเดียวกับฟลุ๊ต ดังนั้น บางครั้งในภาษาอิตาเลียน ก็มักจะเรียกชื่อเต็ม ๆ ว่า Flauto Piccolo หรือ ฟลุ๊ตที่มีขนาดเล็ก เช่นเดียวกับกรณีเครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น ไวโอลินที่มีขนาดเล็กกว่า และให้เสียงสูงกว่าไวโอลินปกติ ก็จะเรียกว่า Violino Piccolo เป็นต้น ปิคโคโล เป็นเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมไม้ เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลฟลุท ลำตัวมีทั้งทำด้วย ไม้ โลหะ และเรซิน วิธีการเป่าจึงเหมือนกับการเป่าฟลุท ปิคโคโลมีระดับเสียงสูงกว่าฟลุทอยู่ 1 ช่วงคู่ แปด มีขนาดเล็กกว่าฟลุท 4 เท่า จึงทำให้มีคุณภาพเสียงที่สดใสและแหลมมาก เสียงในระดับต่ำ ของปิคโคโลจะดังไม่ชัดเจน ปิคโคโลจึงเหมาะที่จะใช้ในการเล่นในระดับเสียงกลาง และเสียงสูง มากกว่าในระดับเสียงต่ำ เครื่องดนตรีที่มีเสียงแหลมเหมือนปิคโคโล ซึ่งอยู่ในตระกูลฟลุทมีอีกหลาย ชนิด เช่น Panpipes , Recorder เป็นต้น

9

10 1.3 ฟลูต (Flute) ฟลูต หรือที่เรียกกันว่า Transverse Flute เพราะต้องการแยกต่างหากจาก Recorder ซึ่งในสมัยก่อน มักนิยมเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Flute a bec ถึงแม้ว่าฟลุ๊ต จะมีมาตั้งแต่สมัยยุค Renaissance แต่ กลับมาเป็นที่นิยมจริงจังเอาในช่วงปลายยุคบาโร้ค หรือล่วงเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากน้ำเสียงของฟลุ๊ตที่อ่อนหวาน นุ่มนวล กว่ารีคอร์เดอร์ มีคีตกวีในยุคปลายบาโร้คหลายท่านที่ เป็นนักเล่นฟลุ๊ตโดยตรง เช่น Jean-Baptiste Loelliet คีตกวีชาวฝรั่งเศส หรือ Johann Joachim Quantz ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็น อาจารย์ถวายการสอนฟลุ๊ตของ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 2 มหาราชแห่งป รัสเซีย ซึ่งก็ทรงเป็นคีตกวี และทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงสำหรับฟลุ๊ตไว้จำนวนหนึ่งด้วยเช่นกัน

11

12 2. ประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (Blowing through a reed) หรือ เครื่องเป่าลมไม้ประเภทปี่ ส่วนประกอบที่สำคัญคือมีลิ้น (Reed) เป็นตัวสั่นสะเทือน ส่วนที่เป็นลิ้นจะอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของปี่ เมื่อเป่าลมผ่านลิ้นให้เกิดการสั่นสะเทือน ลมจะเข้าไปในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงหรือตัวกำทอน แล้วออกไปยังปากลำโพง เครื่องดนตรีพวกปี่ยังจำแนกออกได้ตามลักษณะของลิ้นที่ใช้ เป็นประเภทลิ้นคู่ (Double reed) และลิ้นเดี่ยว (Single reed) 2.1.1 คลาริเนต (Clarinet) คลาริเ น็ต เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า Chalumeau คลาริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน ช่วงเสียงคลาริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียน ว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นคลาริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้น ไปประมาณ 3 ½ คู่แปด

13 ชนิดของคลาริเน็ท 1. อีแฟลตคลาริเน็ต (Eb Clarinet) มีขนาดเล็กกว่าบีแฟลตคลาริเน็ต และมีระดับเสียงสูงกว่าบีแฟลตคลาริเน็ตคู่ 5 เพอร์เฟค 2. บีแฟล็ตคลาริเน็ต (Bb Clarinet) คลาริเน็ตในระดับเสียงบีแฟล็ตได้ถูกใช้เป็นตัวแทนเมื่อมีการกล่าวถึงคลาริเน็ตเสมอ

14 3. อัลโตคลาริเน็ต (Alto Clarinet) ขนาดใหญ่และยาวกว่าคลาริเน็ตอื่นๆ ระดับเสียงต่ำกว่าบีแฟล็ตคลาริเน็ตอยู่คู่ 5 เพอร์เฟกต์ ปากลำโพงทำด้วยโลหะ โค้งงอย้อนขึ้นเหมือนแซกโซโฟน 4. เบสคลาริเน็ต (ฺBass Clarinet) ใช้ระบบการวางนิ้วชุดเดียวกับคลาริเน็ตบีแฟลตทุกอย่าง แต่เวลาเล่นจะมีเสียงต่ำกว่าบีแฟลตคลาริเน็ตอยู่ 1 คู่แปด เหมาะที่จะนำไปใช้บรรเลงแนวทำนองในระดับเสียงต่ำ ลักษณะเด่นของเบสคลาริเน็ตอยู่ที่ข้อต่อ กำพวดจะเป็นรูปโค้งงอ ปากลำโพงทำด้วยโลหะ งอย้อนขึ้นมาคล้ายกับแซกโซโฟน

15 2.1.2 แซกโซโฟน (saxophone) แซกโซโฟน (saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่า ตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า "คลาริเนต ทองเหลือง" (brass clarinet) แซกโซโฟน (Saxophone) มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องลมไม้ มีอายุน้อยเมื่อเทียบ กับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ประดิษฐ์เมื่อ ค.ศ ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ อดอล์ฟ แซก ได้รับการว่าจ้างจากหัวหน้าวงโยธวาทิต ให้ผลิตเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ซึ่ง สามารถเล่นเสียงให้ดัง เพื่อใช้ในวงโยธวาทิต (Military Band) และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้เป็น เครื่องลมไม้ เขาจึงนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งล้าสมัยแล้ว เรียกว่าแตรออพิคเลียด (Ophicleide) มาถอดที่เป่าอันเดิมออก แล้วเอาที่เป่าของคลาริเนตมาใส่แทน จากนั้นเขาได้แก้กลไกของ กระเดื่องต่าง ๆ และปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้ แซกโซโฟนจึงได้กำเนิดขึ้นมาเป็นชิ้นแรกของโลก ในอดีตแซกโซโฟนมีฉายาว่า คลาริเนตทองเหลือง เพราะสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว ปราดเปรียวเหมือน คลาริเนต ปัจจุบันแซกโซโฟนเป็นเครื่องเป่าที่มีบทบาทมากทั้งในวงโยธวาทิต วงแจ๊ส วงคอมโบ ตลอดจนวง ดนตรีสมัยใหม่ แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์ และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำ ได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว

16 ชนิดของแซกโซโฟน ตระกูลแซกโซโฟนเป็นตระกูลใหญ่เช่นเดียวกับคลาริเนท แซกโซโฟนมีขนาดต่างๆ ถึง 8 ขนาด ด้วยกัน แต่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิดด้วยกัน หลากหลายชนิดของแซกโซโฟน ได้กล่าวเกี่ยวกับ ชนิดของแซกโซโฟนไว้ว่าแซกโซโฟนในปัจจุบันประกอบด้วยแซกโซโฟนโซปราโน, แซก โซโฟนอัลโต้, แซกโซโฟนเทเนอร์และบาริโทนแซกโซโฟนในบรรดา 4 ชนิดที่กล่าวมานี้ แซก โซโฟนโซปราโนเป็นแซกโซโฟนที่มีเสียงความถี่เสียงสูงที่สุด ตามด้วยแซกโซโฟนอัลโต้ แซก โซโฟนเทเนอร์และสุดท้ายที่ต่ำคือบาริโทนแซกโซโฟน  1. Sopranino Saxophone เป็น Saxophone ที่เล็กที่สุดในตระกูล อยู่ในบันไดเสียง Eb ส่วนมากมี ลักษณะตรง แต่บางครั้งก็มีแบบงอบ้างก็มี และให้เสียงที่แหลมมาก และควบคุมเสียงยากมาก ดังนั้น จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม ซักเท่าไหร่

17 2. โซปราโนแซกโซโฟน (Soprano Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและมี ความถี่ยังไม่สูงที่สุด มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจึงสามารถถือไว้ในมือได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องใช้ สายสะพายแซกโซโฟนก็ได้ โซปราโนแซกโซโฟนไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการหัดเล่นแซก โซโฟนใหม่ๆ เนื่องจากมีความยากในการคุมเสียงมากกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และเทเนอร์ ถือเป็น เครื่องที่ใช้แทนใวโอลินในช่วงโพสิชั่นที่หนึ่ง(1st)ในวงประเภทเครื่องเป่า ระดับเสียง Bb เท่ากับ เครื่องดนตรีคลาริเน็ตและทรัมเป็ต ในปัจจุบันแซกโซโฟนโซปราโนจะมีรูปทรงให้เลือก 2 แบบ คือ แบบตรง และแบบโค้งก็จะมีลักษณะเหมือกับแซกโซโฟนอัลโต้แต่มีขนาดเล็กกว่า

18 3. อัลโต้แซกโซโฟน (Alto Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ข้อนข้างเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เนื่องจากเป็นแซกโซโฟนที่เป่าง่ายกว่าโซปราแซกโซโฟนและมีน้ำหนักเบากว่าแซกโซโฟนเทเนอร์ แซกโซโฟนอัลโต้สามารถเป่าได้ในดนตรีหลาย ๆ สไตล์ไม่ว่าจะเป็นสไตล์คลาสสิก, ป็อป, แจ็ส แต่ นักดนตรีคลาสสิกจะนิยมใช้แซกอัลโต้ในการเล่นมากกว่าการใช้แซกโซโฟนชนิดอื่น ๆ รวมถึงการ เล่นดนตรีแบบแตรวง, คอนเสิร์ตหรือมาร์ชชิ่งแบรนด์ก็เช่นกัน ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนใวโอลิน-วิโอ ล่าในวงประเภทเครื่องเป่า แซกโซโฟนอัลโต้จึงเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชีย

19 4. เทเนอร์แซกโซโฟน (Tenor Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ถูกใช้มากในการเล่นดนตรีแนว แจ็ส แต่ก็สามารถเห็นแซกโซโฟนเทเนอร์ได้ในการเล่นดนตรีแบบอื่น ๆ เสียงของแซกเทเนอร์จะมี ลักษณะแบบนุ่ม ๆ อ้วน ๆ ระดับเสียงBb และต่ำกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และแซกโซโฟนโซปราโน รองจากแซกโซโฟนอัลโต้ (โทนเสียงที่เล่นได้จะอยู่ในโทนอัลโต้-เทนเนอร์) ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนวิ โอล่าในวงประเภทเครื่องเป่า แล้วแซกโซโฟนเทเนอร์ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่มือใหม่ควรจะใช้ในการ เริ่มต้น

20 5. C melody (Tenor Saxophone In C ) เป็น Saxophone ที่มีขนาดใหญ่ กว่า Alto Saxophone แต่ เล็กกว่า Tenor Saxophone มีลำตัวโค้งงอเช่นกันอยู่ใน บันได เสียง C ไม่ค่อยเป็นที่นิยมซักเท่าไหร่

21 6. บาริโทนแซกโซโฟน (Baritone Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่และมีความถี่เสียง ต่ำ แต่ยังสามารถที่จะบรรเลงเดื่ยวได้เพราะโทนเสียงอยู่ในช่วงโทนเทนเนอร์-เบส ถือเป็นเครื่องที่ใช้ แทนเชลโล่ในวงประเภทเครื่องเป่า และมีราคาค่อนข้างแพง และมีน้ำหนัก ดังนั้นบาริโทนแซก โซโฟนจึงไม่เหมาะแก่นักแซกโซโฟนมือใหม่ทั้งหลาย ความยาวท่อของบาริโทนแซกโซโฟนจะอยู่ ประมาณ 7 ฟุต

22 7. เบสแซกโซโฟน (Bass Saxophone) เป็น Saxophone ที่มีขนาดข้อนข้างใหญ่ มีขนาดใหญ่กว่า Baritone มี Range เสียงเทียบเท่า Tuba เสียงต่ำกว่าเทนเนอร์แซกฯ 1 ช่วงคู่แปด และต่ำกว่าบาริโทน แซกฯ เป็นคู่ 4 สมบูรณ์ อยู่ในบันไดเสียง Bb และใช้เป็นเสียง Bass ได้ดี เล่นโทนเบส เป็นหลัก ถือ เป็นเครื่องที่ใช้แทนเสียงคอนทร่าเบสในวงประเภทเครื่องเป่า มีลำตัวโค้งงอ และขดเป็นวงที่บริเวณ คอ เหมือน Baritone Saxophone สำหรับผู้ที่สูงประมาณ 175 Cm ขนาดของมันถ้าตั้งพื้นจะอยู่ ประมาณ หน้าอกเรา หรือขนาด 4.5 ฟุต บางท่านสามารถคล้องคอเล่นได้ หรือบางท่านจะตั้งกับพื้น แล้วเล่น

23 8. คอนทราเบส แซกโซโฟน (Contrabass Saxophone) เป็น saxophone ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน ตระกูล อยู่ในบันไดเสียง Eb มี Range เสียงเทียบเท่า Double Bass, Bass Guitar มีช่วงเสียงต่ำกว่าบาริ โทนแซกฯ 1 ช่วงคู่แปด ความยาวเป็นสองเท่าของบาริโทนแซกฯ มีขนาดถึง 6.5 ฟุต ความสูงของ เครื่องมากกว่าคนเล็กน้อย เวลาเล่นต้องตั้งพื้น แล้วยืนเล่น หรือนั่งเก้าอี้สูงๆ เสียงจะเป็นลักษณะ Buzzy มากกว่าจะบอกได้ว่าเล่นโน้ตตัวอะไรเพราะความใหญ่ของตัวเครื่องต่อปากเป่า เป็นเครื่อง ดนตรีที่พบเห็นได้ยาก ยังคงมีการผลิตอยู่แต่ไม่มาก ด้วยความที่ใหญ่มากจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก

24 2.2 ประเภทลิ้นคู่ (Double reed)
2.2.1 โอโบ (Oboe) ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Hautbois แปลว่า High Wood มาจากภาษาอังกฤษโบราณ คือ คำว่า Hautboy เป็นเครื่องดนตรี ประเภท เครื่องลมลิ้นคู่ (Double Reed) ที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคบาโร้ค ใน ประเทศฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1650 นักดนตรี ชื่อ Jean Hotteterre และ Michel Danican Philidor ได้ดัดแปลง ปี่โบราณ ในสมัยยุค Renaissance ที่เรียกว่า ปี่ชอว์ม (Shawm) ให้มีน้ำเสียงที่ดีขึ้น และมีพัฒนาการมา ตลอดจนได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในยุคบาโร้ค โอโบ ไม่นิยมเล่นเดี่ยว แต่มักจะใช้เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทหลักในวงดนตรี โดย ในช่วงบาโร้คยุคกลาง มักจะใช้ โอโบ 2 ตัว และ บาสซูน 1 ตัว เล่นประกอบกันเสมอ เรียกว่า Trio Part พอมาในช่วงปลายยุคบาโร้ค ที่มีการประพันธ์บทเพลงประเภท Concerto คีตกวีก็นิยมประพันธ์ เพลง Oboe Concerto ด้วย ที่สำคัญอาทิเช่น Antonio Vivaldi, Tomaso Albinoni, Allessandro Marcello, J.S.Bach และ G.F.Handel เป็นต้น

25 โอโบ ดาโมเร่ ( Oboe d'Amore )
เป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่มีวิวัฒนาการมาจาก โอโบ โดยตรง โดย จะมีน้ำเสียงที่เบา และทุ้มต่ำกว่าโอโบ เสียงปกติ จะอยู่ในบันไดเสียง A minor ลักษณะจะแตกต่างจากโอโบ ปรกติ ตรงที่ ขนาดตัวเครื่องจะใหญ่กว่า และให้สังเกตที่ปลายปาก เครื่อง โอโบ ดาโมเร่ จะมีปลายปากที่กลม (Bell Shape) ซึ่งต่างจาก โอโบ ปรกติที่ปลายปากจะบาน ออก ทำให้ โอโบ ดาโมเร่ มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเครื่องดนตรีที่เรียกว่า Cor Anglais โอโบ ดาโมเร่ เป็นที่นิยมของคีตกวีในการประพันธ์ดนตรีในช่วงปลายยุคบาโร้ค อาทิเช่น J.S.Bach และ Georg Philip Telemann

26 โอโบ ดา คักชา ( Oboe da Caccia )
เป็นภาษาอิตาเลี่ยน แปลว่า โอโบสำหรับการล่าสัตว์ สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่นโบราณ ก่อนยุคบาโร้ค และหายสาบสูญไปนาน แต่ต่อมา J.S.Bach ได้ฟื้นฟูและได้ร่วมกับ ช่างทำเครื่อง ดนตรีชาวเยอรมัน ที่ชื่อว่า J.H. Eichentopf ชาวเมืองไลป์ซิก ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ใน ค.ศ.1723 และ Bach ได้กำหนดให้ใช้ Oboe da Caccia นี้ในบทเพลงหลายชิ้นของเขา อาทิเช่น ใน Christmas Oratorio (1734) และ Cantata, BWV 13, "Mein Seufzer, meine Tränen" (1736) Oboe da Caccia มีน้ำเสียงที่ต่ำกว่า Oboe ปรกติอยู่มาก และโดยความเป็นจริงแล้ว แม้จะเรียกว่า โอ โบ และจัดอยู่ในตระกูลโอโบก็ตาม แต่ก็มีความใกล้เคียง และเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของเครื่อง ดนตรีที่เรียกว่า English Horn หรือ Cor Anglais มากกว่า แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้ ในวงดนตรี หากจะต้องมีบทเพลงที่ต้องเล่นโดยใช้ Oboe da Caccia จะใช้ Bassoon แทน ซึ่งจะมีเสียงที่ใกล้เคียง กว่า

27 2.2.2 คอร์ แองเกลส์ หรืออิงลิชฮอร์น (Cor Anglais or English horn)
คอร์ แองเกลส์ หรืออิงลิชฮอร์น เป็นเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ เป็นปี่ประเภทลิ้น คู่ อยู่ในตระกูลเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำ กว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่ ปี่ชนิดนี้ มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็น มุมและเกิดคำว่า “อองเกล (Angle)” ขึ้น ต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษา ฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับ ภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn) คอร์ แองเกลส์นอกจากมีชื่อประหลาดแล้วยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลมโลหะโค้งงอติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปากลำโพง (Bell) ป่องเป็น กระเปาะกลมๆ ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต

28 2.2.3 บาสซูน (Bassoon) เป็นเครื่องดนตรีที่ค่อนข้างแปลกและลึกลับ เพราะไม่มีใครทราบแน่นอนว่า ถือกำเนิดขึ้นเมื่อไหร่ และที่ไหน แต่สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากประเทศอิตาลี ในช่วงปี ค.ศ.1550 โดยแปลงมาจากเครื่องลม ที่ให้เสียงเบส ที่เรียกว่า ดัลเชียน (Dulcian) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมในยุค Renaissance เพราะเครื่อง ดนตรีที่เรียกว่า Dulcian นี้ ในภาษาอิตาเลียน เรียกว่า ฟาก็อตโต้ (Fagotto) ละ คำว่า บาสซูน นี้ ภาษาอิตาเลียน ก็ใช้คำว่า Fagotto เช่นเดียวกัน

29 บาสซูน (Bassoon) เป็นปี่ขนาดใหญ่ ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบ รูปร่างของบาสซูน ค่อนข้างจะ ประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่นๆ เนื่องจากความใหญ่โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลิ่มให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสาย คล้องคอเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักเรียกว่า Sling เพื่อให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกด แป้นนิ้วต่างๆ ได้ สะดวก บาสซูนได้รับฉายาว่าเป็น "ตัวตลกของวงออร์เคลตร้า" (The Clow of the Orchestra) ทั้งนี้ เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้นๆ ห้วนๆ (Staccato) อย่างเร็วๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด…คล้ายลักษณะ ท่าทางของตัวตลก ที่มีอากัปกริยากระโดดเต้นหยองๆ ในโรงละครสัตว์ เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของกลุ่มเครื่องลมไม้ นอกนั้นยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างงดงามอีกด้วย

30 คอนทราบาสซูน หรือดับเบิลบาสซูน (Contra Bassoon or Double Bassoon) คอนทราบาสซูน ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยชาวอังกฤษสองคน ชื่อ สโตน และ มอร์ตัน (Stone & Morton) ต่อมา เฮคเคล (Heckel) ได้ปรับปรุงโดยติดกลไกของแป้นนิ้วต่างๆ ให้สมบูรณ์และนำมาใช้จนถึงทุกวันนี้ คอนทรา บาสซูนเป็นปี่ที่ใหญ่กว่าบาสซูน ประมาณเท่าตัวคือมีความยาวของท่อลมทั้งหมดถึง 18 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 220 นิ้วพับเป็นสี่ท่อน แต่ละท่อนเชื่อมต่อด้วย Butt และข้อต่อรูปตัว U ที่ปลายท่อนสุดท้ายจะ ต่อกับลำโพงโลหะที่คว่ำลงในแนวดิ่ง แต่คอนทราบาสซูนอีกชนิดหนึ่งลำโพงหงายขึ้นในแนวดิ่ง ให้ เสียงต่ำกว่าบาสซูน ลงไปอีก 1 ออคเทฟ เสียงจะนุ่มไม่แข็งกร้าวเหมือนบาสซูน แต่ถ้าบรรเลงเสียงต่ำ อย่างช้าๆ ในวงออร์เคสตรา ขณะที่เครื่องดนตรีอื่นๆ เล่นอย่างเบาๆ จะสร้างภาพพจน์คล้ายมีงูใหญ่ เลื้อยออกมาจากที่มือโอกาสที่ใช้ไม่สู้มากนัก

31 ผู้จัดทำ ๑.นางสาวกัญญาพัชร สละยอง เลขที่ ๖ ๒.นางสาวนันทิกานต์ แก้วยา เลขที่ ๑๕ ๓.นางสาวปริญญา สายปิง เลขที่ ๑๖ ๔.นางสาวมลฑกานต์ คนแรง เลขที่ ๑๗ ๕.นางสาวสุชาวดี วงค์ถา เลขที่ ๒๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕/๑


ดาวน์โหลด ppt (Woodwind Instruments)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google