งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยการเรียนที่ 6 เรื่อง การจัดการฐานข้อมูลด้วย PHP Function

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยการเรียนที่ 6 เรื่อง การจัดการฐานข้อมูลด้วย PHP Function"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยการเรียนที่ 6 เรื่อง การจัดการฐานข้อมูลด้วย PHP Function
เมื่อกล่าวถึงการเขียนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ด้วยภาษา PHP ก็มีคำสั่งที่นำมาใช้งานบ่อยๆไม่กี่คำสั่ง เช่น การเชื่อมต่อฐานข้อมูล การเพิ่มข้อมูล การค้นหาข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล การลบข้อมูล ซึ่งในหน่วยการเรียนนี้จะเป็นการเรียกใช้ PHP Function ภาพที่ 6.1 การบริหารจัดการฐานข้อมูล MySQL ด้วย Dreamweaver ที่มา : ที่ใช้ในการติดต่อฐานข้อมูล MySQLโดยกล่าวถึงการทำงานและขั้นตอนการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานฐานข้อมูล MySQL ดังต่อไปนี้

2 ตารางที่ 6.1 รูปแบบการใช้คำสั่งเชื่อมต่อฐานข้อมูล
1. คำสั่งสำหรับจัดการฐานข้อมูล MySQL ด้วย PHP Function ในการเรียกใช้งานฐานข้อมูล MySQL นั้นภาษา PHP ได้มีการออกแบบคำสั่งสำหรับติดต่อและจัดการฐานข้อมูลมาโดยเฉพาะโดยมีคำสั่งที่นิยมใช้บ่อยเช่น mysqli_connect, mysqli_query, mysqli_num_rows, mysqli_fetch_array เป็นต้น โดยมีรูปแบบและคำอธิบายวิธีการใช้งานดังนี้ 1.1 การเชื่อมต่อฐานข้อมูล MySQL ด้วยคำสั่ง mysqli_connect() ฟังก์ชั่น mysqli_connect เป็นการเริ่มต้นการเชื่อมต่อฐานข้อมูล MySQL เพื่อเข้าไปใช้งานฐานข้อมูลในลักษณะต่างๆโดยมีรูปแบบดังนี้ ตารางที่ 6.1 รูปแบบการใช้คำสั่งเชื่อมต่อฐานข้อมูล อธิบายความหมายรูปแบบการใช้งานคำสั่ง mysqli_connect 1) โดเมน คือ ชื่อโดเมนหรือหมายเลขไอพีแอดแดสประจำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่รันฐานข้อมูล MySQL ในกรณีปกติที่ฐานข้อมูลทำงานบนเครื่องเดียวกันเราจะนิยมใช้ localhost หรือหมายเลขไอพีประจำเครื่องคือ 2) ชื่อผู้ใช้งาน คือ ชื่อผู้ใช้งาน username ที่จะเข้าใช้งานฐานข้อมูล 3) รหัสผ่าน คือ รหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูล 4) ชื่อฐานข้อมูล คือ ฐานข้อมูลที่ต้องการเรียกใช้ การเรียกใช้งาน mysqli_connect มักจะใช้ควบคู่กับคำสั่งสำหรับตรวจสอบการเชื่อมต่อที่ไม่สมบูรณ์โดยใช้ตัวดำเนินการ or เพื่อใช้ในการแสดงผลการเชื่อมต่อดังนี้

3 ตารางที่ 6.2 รูปแบบการใช้คำสั่งเชื่อมต่อฐานข้อมูลพร้อมคำสั่งตรวจสอบการเชื่อมต่อ
1.2 การประมวลผลข้อมูลภาษา SQL ด้วยคำสั่ง mysqli_query() ในกระบวนการติดต่อฐานข้อมูล MySQL ต้องมีการจัดการฐานข้อมูล เช่น การเพิ่ม ค้นหา ลบ แก้ไข ข้อมูลในระบบฐานข้อมูล ซึ่งมีความต้องใช้ภาษา SQL ในการจัดการฐานข้อมูล โดยภาษา PHP นั้นมีคำสั่งที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับประมวลผลคำสั่ง SQL นั้นคือคำสั่ง mysqli_query ตารางที่ 6.3 การประมวลผลข้อมูลภาษา SQL ด้วยคำสั่ง mysqli_query การเรียกใช้งาน mysqli_query มักจะใช้ควบคู่กับคำสั่งสำหรับตรวจสอบการเชื่อมต่อที่ไม่สมบูรณ์โดยใช้ตัวดำเนินการ or เพื่อใช้ในการแสดงผลการเชื่อมต่อดังนี้ ตารางที่ 6.4 รูปแบบการใช้คำสั่งเชื่อมต่อฐานข้อมูลพร้อมคำสั่งตรวจสอบการประมวลผล

4 1.3 การนับจำนวนแถวข้อมูลด้วยคำสั่ง mysqli_num_rows()
การนับจำนวนแถวข้อมูล ด้วยคำสั่ง mysqli_num_rows นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียกแสดงข้อมูลด้วยคำสั่ง select * from ….. ซึ่งมีความจำนวนต้องใช้คำสั่ง while เพื่อทำการวนรอบดึงข้อมูลออกมาเพื่อทำการแสดงผลตามจำนวนที่ คำสั่ง mysqli_num_rows สามารถดึงออกมาได้ ตารางที่ 6.5 การนับจำนวนแถวข้อมูลด้วยคำสั่ง mysqli_num_rows การประยุกต์ใช้งานคำสั่ง mysqli_num_rows สำหรับดึงข้อมูลนั้นจะใช้ควบคู่กับคำสั่ง mysql_fetch_array() แต่ในบทเรียนนี้จะใช้คำสั่ง mysqli_fetch_assoc() ซึ่งมีความสะดวกกว่าในการดึงข้อมูลออกมาแสดง 1.4 การอ่านข้อมูลและจัดการข้อมูลด้วยคำสั่ง mysqli_fetch_assoc() การอ่านข้อมูลออกมาจากฐานข้อมูลทีละแถว แล้วนำไปเก็บไว้ในตัวแปรอาร์เรย์เมื่อเราต้องการเรียกใช้ข้อมูลก็ระบุตำแหน่งตัวแปรอาร์เรย์เพื่อเรียกใช้งานข้อมูลนั้นๆ ซึ่งนิยมสำหรับใช้ในการดึงข้อมูลมาแสดงผลโดยคำสั่งที่นิยมใช้กัน เช่น คำสั่ง mysql_fetch_array, mysqli_fetch_assoc ในที่นี้จะแนะนำการใช้คำสั่ง mysqli_fetch_assoc ซึ่งมีความสะดวกและความเร็วในการประมวลผลดีกว่าการใช้คำสั่ง mysql_fetch_array แบบเดิม โดยจะกล่าวถึงการประยุกต์ใช้งานในส่วนถัดไปเรื่องการแสดงผลข้อมูล ตารางที่ 6.6 การอ่านข้อมูลและจัดการข้อมูลด้วยคำสั่ง mysqli_fetch_assoc()

5 2. การเขียนโปรแกรมเพิ่มข้อมูลด้วยคำสั่ง insert
การจัดการข้อมูลในระบบฐานข้อมูล MySQL นั้นภาษา PHP มีคำสั่งสำหรับจัดการฐานข้อมูลโดยเฉพาะซึ่งได้กล่าวถึงไปแล้วนั้น ในส่วนของหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการนำคำสั่งมาประยุกต์ใช้งานสำหรับจัดการข้อมูลโดยการเพิ่มข้อมูลจะกระทำการค่าตัวแปรผ่านฟอร์มรับข้อมูลแล้วทำการส่งค่าในรูปแบบของ POST เพื่อนำข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกผ่านคำสั่ง Insert ในชุดคำสั่ง SQL ในภาษา PHP จะมีลำดับการทำงานของคำสั่งตามแผนผังลำดับไดอะแกรมดังนี้ registeradd.php ภาพที่ 6.2 แผนผังการทำงานการเพิ่มข้อมูล ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

6 ภาพที่ 6.3 ตัวอย่างไฟล์ฟอร์มกรอกข้อมูล register.php
ในหน่วยการเรียนที่ 4 ได้ทำการสร้างฐานข้อมูลและออกแบบความสัมพันธ์ภายในตารางด้วยโปรแกรม MySQL Workbench ในส่วนนี้จะไม่กล่าวถึงการสร้างฐานข้อมูล แต่จะกล่าวถึงการเขียนโปรแกรมเพื่อจะเพิ่มข้อมูลลงในฐานข้อมูล MySQL โดยการเพิ่มข้อมูลจะประกอบด้วย 2 ไฟล์ คือ register.php และ registeradd.php ในส่วนของไฟล์ register.php จะทำหน้าที่เป็นฟอร์มรับค่าข้อมูลเพื่อส่งค่า POST[ ] ไปยังไฟล์ ที่จะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลลงสู่ฐานข้อมูล MySQL registeradd.php ภาพที่ 6.3 ตัวอย่างไฟล์ฟอร์มกรอกข้อมูล register.php ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

7 ภาพที่ 6.4 ตัวอย่างไฟล์ฟอร์มกรอกข้อมูล registeradd.php
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 เมื่อสร้างไฟล์เพิ่มข้อมูล register.php และ registeradd.php ทำการรันโปรแกรมจะแสดงผลฟอร์มกรอกข้อมูลนักศึกษา และคลิกปุ่มบันทึกข้อมูล หน้าจอจะแสดงข้อความ ข้อมูลบันทึกสมบูรณ์

8 ภาพที่ 6.5 ตัวอย่างฟอร์มกรอกข้อมูล register.php
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 3. การเขียนโปรแกรมแสดงข้อมูลด้วยคำสั่ง select 3.1 โปรแกรมแสดงข้อมูลด้วยคำสั่ง select เพื่อแสดงข้อมูลทั้งหมด การเขียนโปรแกรมสำหรับแสดงข้อมูลนั้นคำสั่ง SQL สำหรับการเรียกดูข้อมูลคือ Select โดยมีลักษณะการทำงานของการเรียกใช้งานโปรแกรมแสดงผลข้อมูลทั้งหมดจากตารางฐานข้อมูลที่ต้องการโดยใช้เลือกใช้คำสั่ง SQL สำหรับการเรียกแสดงข้อมูล เช่น select * from student; โดยการแสดงลำดับการทำงานดังบล็อคไดอะแกรมแสดงการทำงานดังนี้

9 ภาพที่ 6.6 แผนผังการทำงานการแสดงผลข้อมูล ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
ภาพที่ 6.7 ไฟล์การแสดงผลข้อมูล

10 ภาพที่ 6.8 ผลลัพธ์การแสดงข้อมูล studentshow.php
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 3.2 โปรแกรมแสดงข้อมูลด้วยคำสั่ง select แบบมีเงื่อนไข การเขียนโปรแกรมสำหรับแสดงข้อมูลนั้น คำสั่ง SQL สำหรับการเรียกดูข้อมูลคือ Select เราสามารถเพิ่มเงื่อนไขในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เช่น การค้นหาชื่อนักศึกษา โดยมีลักษณะการทำงานของการเรียกใช้งานโปรแกรมแสดงผลข้อมูลดังบล๊อคไดอะแกรมแสดงการทำงานดังนี้

11 ภาพที่ 6.9 แผนผังการทำงานการแสดงผลข้อมูลแบบมีเงื่อนไข
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

12 ภาพที่ 6.10 ไฟล์การแสดงผลข้อมูลแบบมีเงื่อนไข studentshow.php
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

13 ภาพที่ 6.11 ผลลัพธ์การแสดงข้อมูลแบบมีเงื่อนไข studentshow.php
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 การค้นหาข้อมูลแบบมีเงื่อนไขนั้นจะใช้คำสั่ง select * from student where stu_name like '%".$_POST['search']."%' โดยเครื่อง % จะเป็นการแทนค่าตัวแปรใดๆก็ได้ ดังตัวอย่างที่ป้อนข้อมูลเพียงคำนำหน้าชื่อก็จะแสดงข้อมูลชื่อทั้งหมดออกมาเมื่อทำการคลิกปุ่มเพื่อค้นหา 4. การเขียนโปรแกรมแก้ไขข้อมูลด้วยคำสั่ง update การแก้ไขข้อมูลด้วยคำสั่ง update นั้นมีขั้นตอนการทำงานที่อาจจะซับซ้อนกว่าขั้นตอนการจัดการข้อมูลอื่นๆอยู่พอสมควรโดยมีลำดับขั้นการการทำงานดังนี้ สร้างไฟล์เพื่อแสดงข้อมูล studentshow.php ส่งค่าตัวแปร stu_id เพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูลเพื่อทำการแก้ไข ทำการค้นหาข้อมูลจากตัวแปรที่ได้รับ และทำการแสดงผลข้อมูลผ่าน form ส่งค่าตัวแปรผ่าน form เพื่อส่งข้อมูลไปทำการแก้ไข ประมวลผลคำสั่ง SQL เพื่อทำการแก้ไขข้อมูล

14 ภาพที่ 6.12 แผนผังการทำงานการแก้ไขข้อมูล ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
Studentshow.php Studentupdate.php Studentedit.php ภาพที่ 6.12 แผนผังการทำงานการแก้ไขข้อมูล ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

15 ภาพที่ 6.13 ไฟล์การแสดงผลข้อมูลแบบมีเงื่อนไข studentshow.php
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

16 ภาพที่ 6.14 ผลลัพธ์การแสดงข้อมูล studentshow.php
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ภาพที่ 6.15 ไฟล์การแสดงผลข้อมูลผ่านฟอร์ม studentedit.php ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

17 ภาพที่ 6.16 ผลลัพธ์การแสดงผลข้อมูล studentedit.php
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 ภาพที่ 6.17 ไฟล์การแสดงผลการแก้ไขข้อมูล studentupdate.php ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

18 ภาพที่ 6.18 ผลลัพธ์การแก้ไขข้อมูล ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560
5. การเขียนโปรแกรมลบข้อมูลด้วยคำสั่ง delete เมื่อทำการเขียนโปรแกรมแก้ไขข้อมูลเราได้สร้างไฟล์แสดงข้อมูลเพื่อส่งค่าตัวแปร stu_id ไว้สำหรับแก้ไขและลบข้อมูลไว้แล้ว โดยจะทำการสร้างไฟล์เพิ่มเติมเพื่อมารับค่าตัวแปรเพื่อทำการลบในไฟล์ชื่อ studentdel.php ดังนี้ ภาพที่ 6.19 ไฟล์การแสดงผลการลบข้อมูล studentdel.php ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

19 6. บทสรุปท้ายหน่วยเรียน
เมื่อกล่าวถึงการเขียนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ด้วยภาษา PHP ก็มีคำสั่งที่นำมาใช้งานบ่อยๆไม่กี่คำสั่ง เช่น การเชื่อมต่อฐานข้อมูล การเพิ่มข้อมูล การค้นหาข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล การลบข้อมูล ซึ่งในหน่วยการเรียนนี้จะเป็นการเรียกใช้ Function ในภาษา PHP เมื่อต้องการพัฒนาโปรแกรมด้วย ภาษา PHP เองก็มี Function ที่สร้างขึ้นมาเฉพาะสำหรับจัดการฐานข้อมูล MySQL ซึ่งก็สร้างความสะดวกเป็นยิ่งในการเรียกใช้งานข้อมูลต่างๆ เช่น คำสั่งสำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูล การเพิ่มข้อมูล การค้นหาข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล การลบข้อมูล ในหน่วยการเรียนนี้จะกล่าวถึงการเรียกใช้ Function พื้นฐานในการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL เพื่อเป็นแนวทางในการนำมาพัฒนาโปรแกรมสำหรับงานธุรกิจในโอกาสต่อไป ภาพที่ 6.20 ผลลัพธ์การลบข้อมูล ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560


ดาวน์โหลด ppt หน่วยการเรียนที่ 6 เรื่อง การจัดการฐานข้อมูลด้วย PHP Function

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google