ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ส่วนที่ 1 ความเบื้องต้น
ประวัติศาสตร์กฎหมาย อ.หทัยกาญจน์ กำเหนิดเพชร
2
ความหมายของกฎหมาย วิวัฒนาการของกฎหมาย ความเบื้องต้น ระบบกฎหมายหลัก
1.Introduction ความหมายของกฎหมาย วิวัฒนาการของกฎหมาย ประเภทของกฎหมาย ระบบกฎหมายหลัก ความเบื้องต้น
3
Ubi Societas, Ibi Jus ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย
4
1. ความหมายของกฎหมาย กฎหมายคืออะไร ???
5
ความหมายของกฎหมาย กฎหมาย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
หมายถึง “กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ”
6
มานิตย์ จุมปา อธิบายไว้ว่า กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดความ ประพฤติของบุคคลในสังคมซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามหรือควรจะปฏิบัติ ตาม มิฉะนั้นจะได้รับผลร้ายหรือไม่ได้รับผลดีที่เป็นสภาพบังคับโดย เจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมาย สมยศ เชื้อไทย อธิบายไว้ว่า กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนความ ประพฤติของมนุษย์ในสังคมซึ่งมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะ
7
เหตุผลที่ถูกต้อง ข้อบังคับ
เจตจำนง บทลงโทษ คำสั่งของรัฐ ธรรมชาติ ศีลธรรม
8
กฎหมายในความคิดของท่าน คือ อะไร...
9
ความหมายของกฎหมายในเชิงปรัชญา
ปัญหาที่ว่า กฎหมาย มีความหมายอย่างไรเป็นปัญหาในทางนิติ ปรัชญา ที่มีการอภิปรายกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีความเห็นของสำนักกฎหมายหลายกระแสแตกต่างกัน สำนักคิดทางกฎหมาย (School of Law) 1. สำนักกฎหมายธรรมชาติ 2. สำนักกฎหมายบ้านเมือง 3. สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์
10
1. สำนักกฎหมายธรรมชาติ (School of Natural Law)
สำนักกฎหมายธรรมชาติเป็นสำนักคิดที่เน้นเรื่อง เหตุผล ความถูกต้อง โดย ถือว่าเหตุผลและความถูกต้องมีคุณค่าเหนือกว่าอำนาจของผู้ปกครอง แนวคิดนี้ถือว่า กฎหมายมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ คงทนถาวร ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร มิได้ต้องการให้ผู้ใดบัญญัติหรือสร้างขึ้น "True Law is right reason, harmonious with nature, diffuse among all, constant, eternal..."
11
ซิเซโร (Cicero 106 – 43 BC) “กฎหมายที่แท้จริงคือเหตุผลที่ถูกต้อง สอดคล้องกับธรรมชาติ แผ่ซ่าน ไปในทุกสิ่งทุกอย่าง สม่ำเสมอเป็นนิรันดร ก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องทำ โดยคำสั่ง หรือห้ามมิให้กระทำความชั่วโดยข้อห้าม เป็นหน้าที่อันศักดิ์ สิทธิที่จะต้องไม่บัญญัติกฎหมายให้ขัดแย้งกับกฎหมายนี้ เราไม่อาจ ยกเลิกหรือทำให้กฎหมายนี้เสื่อมทรามลงได้ อันที่จริงแล้ว ไม่ว่า วุฒิสภาหรือประชาชนก็ไม่มีอำนาจที่จะปลดปล่อยเราให้พ้นจาก กฎหมายนี้...
12
และเราไม่จำต้องพึ่งบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นใดนอกจากตัวเราเองที่จะเป็นผู้ แสดงออกว่ากฎหมายนั้นเป็นอย่างไร หรือตีความว่ากฎหมายนั้นมี ความหมายอย่างไร กฎหมายนี้จะไม่เป็นอย่างหนึ่งที่กรุงโรมและเป็นอีก อย่างหนึ่งที่กรุงเอเธนส์ เป็นอย่างหนึ่งในสมัยนี้ แต่เป็นอีกอย่างหนึ่งใน สมัยต่อมา แต่ยังคงเป็นกฎหมายอันหนึ่งอันเดียวชั่วนิรันดร ไม่ เปลี่ยนแปลงและผูกพันบังคับทุกชาติ ทุกภาษา ทุกยุคทุกสมัย”
13
การใช้กฎหมายย่อมเป็นไปตามเหตุผลที่เป็นธรรมชาติตามปกติ ผู้มีอำนาจ ไม่มีสิทธิสร้างความยุติธรรมโดยกฎหมายของตนเองได้ = กฎหมายธรรมชาติอยู่เหนือกฎหมายบ้านเมือง กฎหมายมีเนื้อหาเหมือนกันทุกสถานที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา และ มนุษย์ทุกคนต้องปฏิบัติตามเหตุผลที่ถูกต้องนี้
14
เช่น การฆ่าคน การทำร้ายร่างกายผู้อื่น การลักทรัพย์ มีความผิด
นักปรัชญาสำคัญ คือ เพลโต โซเครติส อริสโตเติล ซิเซโร ดังนั้น กฎหมายตามสำนักกฎหมายธรรมชาติจึงหมายถึง “เหตุผลที่ถูกต้อง”
15
ความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติ ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมไทยมาแต่เดิม ซึ่ง ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ที่เป็นกฎหมายเก่าแก่ของไทย พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายขั้นธรรมะที่มีความสำคัญสูงสุด แม้ พระราชาก็เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า “กฎหมายกับธรรมะเป็นสิ่งเดียวกัน” ส่วนมาตรการที่มนุษย์กำหนดขึ้นเอง เรียกว่า พระราชศาสตร์ – พระราชบัญญัติ – พระราชกำหนด – พระบรมราชโองการ
16
2. สำนักกฎหมายบ้านเมือง
หรือ สำนักปฏิฐานนิยม (School of Positivism), (Legal Positivism) มีแนวคิดว่ากฎหมายคือ "คำสั่ง"ของรัฐ ซึ่งไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับศีลธรรม กฎหมายจึงอาจขัด กับศีลธรรมได้ เน้นความสำคัญที่ข้อเท็จจริงอันปรากฏเกี่ยวกับกฎหมาย และ ไม่มีสิ่งใดมาขัดหรือแย้งกับอำนาจหรือคำสั่งดังกล่าวได้ “Law is something deliberately made”
17
นักปรัชญาสำคัญชื่อ John Austin กล่าวไว้ว่า
"เมื่อกฎหมายบัญญัติว่าผิดก็ต้องผิด ไม่ผิดก็ย่อมไม่ผิด" ไม่จำเป็นต้อง แสวงหาหลักการหรือเหตุผลอื่นใดมาเปลี่ยนแปลงหรือสร้างความยุติธรรม เพราะเมื่อมีกฎหมายย่อมถือว่าเป็นที่ยุติธรรมแล้ว กฎหมายในความหมาย ของออสตินคือ "The command of sovereign backed by threat of sanction" (คำสั่งของผู้มีอำนาจสูงสุด โดยมีการระวางโทษเป็นเครื่องมือ รองรับ) ดังนั้น กฎหมายของสำนักกฎหมายบ้านเมืองจึงหมายถึง “คำสั่งของรัฎฐาธิปัตย์” หรือ “คำสั่งของผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ”
18
แนวความคิดเรื่องกฎหมายบ้านเมืองมีอิทธิพลไปทั่วทุกประเทศที่เจริญแล้ว ในศตวรรษที่ 19 เป็นสมัยที่รัฐสมัยใหม่ (The Modern Nation State) กำลังเจริญรุ่งเรือง โดยมีความคิดว่าการจัดการบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองได้ต้องอาศัยกฎหมาย ของรัฐ และกฎหมายนั้นต้องมีลักษณะมีอำนาจสิทธิขาด และสมบูรณ์ใน ตัวเอง ไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของศีลธรรม ความยุติธรรม หรือสิ่งอื่นใด
19
มองเตสกิเออร์ – จอห์น ลอค์ค
นำเสนอทฤษฎี “separation of power” “การแบ่งแยกอำนาจ อธิปไตย” อำนาจนิติบัญญัติ – รัฐสภา (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร+สมาชิกวุฒิสภา) อำนาจบริหาร – คณะรัฐมนตรี (นายกฯ + รัฐมนตรี ไม่เกิน 35 คน) อำนาจตุลาการ – ศาลร.ธ.น. ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลยุติธรรม องค์ประกอบของรัฐ – ดินแดน ประชากร (รัฐบาล) และ อำนาจอธิปไตย
20
แนวคิดเรื่องกฎหมายของนักกฎหมายไทยจึงเปลี่ยนไปนับแต่นั้น
ผล คือ กฎหมายกลายเป็นเรื่องของอำนาจ ไม่ใช่ความถูกผิด เป็นเรื่องของ เจตจำนงของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่แยกต่างหากจากกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ซึ่งเป็นบิดาแห่งกฎหมายไทย ก็ได้รับอิทธิพลจาก สำนักคิดนี้ โดยการนำแนวคิดของจอห์น ล็อคค์ มาสอนในโรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสอนว่ากฎหมายคือคำสั่งของรัฐที่ต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้นต้องโทษ รวมทั้งสอนว่ากฎหมายกับศีลธรรมแยกออกจากกันด้วย แนวคิดเรื่องกฎหมายของนักกฎหมายไทยจึงเปลี่ยนไปนับแต่นั้น
21
3. สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์
(School of Historical) สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ มีแนวคิดพื้นฐานเหมือนสำนักกฎหมายธรรมชาติ และปฏิเสธอำนาจรัฐของ สำนักกฎหมายบ้านเมือง โดยเชื่อว่า กฎหมาย คือ ผลผลิตจากความเป็นไปในทางประวัติศาสตร์ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
22
มีที่มาจากประสบการณ์และหลักการประพฤติปฏิบัติของคนในแต่ละชนชาติ โดยมีวิวัฒนาการตามกาลเวลา ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และมีลักษณะเฉพาะ แตกต่างกันไปในแต่ละชาติ กฎหมายของแต่ละชาติจึงมีความแตกต่างกันไป ไม่มีลักษณะเป็นสากลเหมือนกันในทุกที่ทุกเวลาอย่างสำนักกฎหมาย ธรรมชาติ มีจุดกำเนิดที่ประเทศเยอรมัน ในช่วงที่ฝรั่งเศสจัดทำประมวลกฎหมายแพ่ง ของนโปเลียน
23
นักปรัชญาที่สำคัญคือ ซาวิญยี่
เห็นว่ากฎหมายพัฒนาจากศีลธรรมจนได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และทุกคนต้องปฏิบัติตาม และมีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดนิ่งตายตัว แต่ จะมีวิวัฒนาการไปตามสังคม ดังนั้น กฎหมายของสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ หมายถึง “ผลผลิตทางจิตวิญญาณประชาชาติ”
24
สรุป กฎหมาย คือ.....
25
“ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย”
2. วิวัฒนาการของกฎหมาย “ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย” สังคม กฎหมาย สงบสุข
26
ทฤษฎีกฎหมายสามชั้น วิวัฒนาการของกฎหมายตามทฤษฎีกฎหมายสามชั้น (ศ.ดร.ปรีดี เกษม ทรัพย์) เป็นการอธิบายถึงที่มาของกฎหมายใน 3 รูปแบบ ยุคกฎหมายชาวบ้าน หรือกฎหมายจารีตประเพณี เป็นกฎเกณฑ์ที่ เกิดขึ้นจากเหตุผลธรรมดาของสามัญชนหรือสามัญสำนึก เป็นความรู้สึก ผิดชอบชั่วดีที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน มีที่มาจากขนบธรรมเนียมและศีลธรรม เป็นเรื่องที่ประชาชนสามารถรับรู้ ได้ด้วยสามัญสำนึกของตนเอง เช่น การห้ามฆ่าผู้อื่น การลักทรัพย์ หลักการสัญญาต้องเป็นสัญญา เป็น ต้น
27
กฎหมายของนักกฎหมาย เกิดขึ้นโดยเหตุผลทางนิติศาสตร์บางประการ ผ่านการใช้เหตุผลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาท เป็นเหตุผลที่ปรุงแต่งทางกฎหมาย ให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริงในแต่ละคดี ก่อให้เกิดกฎหมายที่สลับซับซ้อนประกอบด้วยหลักกฎหมายต่าง ๆ จึง ก่อให้เกิดวิชานิติศาสตร์ขึ้น กฎหมายในยุคนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจ สามัญสำนึก ธรรมดาอาจไม่สามารถทำให้เข้าใจกฎหมายได้ เช่น หลักการครอบครองปรปักษ์ เรื่องอายุความ เรื่องการป้องกัน จำเป็น เป็นต้น
28
กฎหมายเทคนิค เกิดจากการบัญญัติกฎหมายขึ้นเพื่อแก้ปัญหา เฉพาะเจาะจงในบางเรื่อง เนื่องจากสังคมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น กฎหมายชาวบ้านและกฎหมายเทคนิคอาจไม่สามารถแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่ เกิดขึ้นได้ กฎหมายเทคนิคมิใช่เหตุผลที่เชื่อมโยงกับศีลธรรม แต่เป็นเรื่องของความ มุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติกฎหมาย เข้าสู่ยุคนิติบัญญัติ เช่น กฎหมายจราจร กฎหมายภาษีอากร การจดทะเบียนนิติกรรมบาง ประเภท เป็นต้น
29
ยุคกฎหมายจารีตประเพณี กฎเกณฑ์ (norms) ศีลธรรม จารีตประเพณี
ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย หลักกฎหมาย เหตุผลทางกฎหมาย ยุคกฎหมายเทคนิค กฎหมายที่บัญญัติขึ้นผ่านการนิติบัญญัติ Simple Natural Reason Juristic Reason Technical Reason
30
3. ประเภทของกฎหมาย ประเภทของกฎหมายที่แบ่งตามการใช้หรือบทบาทของกฎหมาย
กฎหมายสารบัญญัติ (substantive law) คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหา ของสิทธิ หน้าที่ ข้อห้าม หรือเป็นกฎหมายที่ควบคุมความประพฤติของคนใน สังคมโดยตรง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ (procedure law) คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวน ในการยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามกฎหมายสารบัญญัติ เช่น ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พรบ.วิธีพิจารณา คดีปกครองและจัดตั้งศาลปกครอง เป็นต้น
31
ประเภทของกฎหมายที่แบ่งตามความสัมพันธ์ของคู่กรณี
กฎหมายเอกชน (private law) คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติ สัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน หรือรัฐกับเอกชน ในฐานะที่เท่าเทียมกัน อาศัยความสมัครใจตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญา กรณีเกิดข้อพิพาท คู่กรณีต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรม เช่น การที่นาย ก ซื้อสินค้าจากนาย ข, มหาวิทยาลัยทักษิณสั่งว่าจ้าง พนักงานทำความสะอาด ตัวอย่างกฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
32
กฎหมายมหาชน (public law) คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติ สัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐด้วยกันหรือ ระหว่างรัฐ หน่วยงานของ รัฐ กับเอกชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจเหนือกว่า โดยมุ่งคุ้มครองประโยชน์ สาธารณะเป็นหลัก เช่น การเวนคืนที่ดิน การทำสัญญาสัมปทาน การจัดทำ บริการสาธารณะ ตัวอย่างกฎหมายมหาชนภายใน ได้แก่ กฎหมายอาญา กฎหมาย รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลัง เป็นต้น ตัวอย่างกฎหมายมหาชนภายนอก ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศ
33
กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน
เมื่อไม่มีกฎหมายให้อำนาจ รัฐหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระทำมิได้ รัฐจะกระทำการใดต้องมีกฎหมาย ให้อำนาจไว้ และรัฐต้องไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขตที่ กฎหมายให้อำนาจไว้ ทำไม่ได้ ถ้ากฎหมายไม่อนุญาต เช่น ตำรวจจับผู้ร้าย นายอำเภอรับจด ทะเบียนสมรส เป็นต้น กฎหมายเอกชน เอกชนจะกระทำการอย่างไรก็ได้ ถ้าไม่มีกฎหมายห้าม หลักศักดิ์สิทธิในการแสดงเจตนา หลักเสรีภาพในการทำสัญญา ทำได้ ถ้ากฎหมายไม่ห้าม เช่น ซื้อสินค้า กู้ยืมเงิน เป็นต้น
34
4. ระบบกฎหมายหลัก ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law System)
ระบบกฎหมาย หรือสกุลกฎหมาย หมายถึง กฎหมายต่างๆที่พอจะจัด กลุ่มรวมกันได้ เพราะมีความสัมพันธ์หรือมีจุดร่วมกันในบางเรื่อง ระบบกฎหมายที่สำคัญของโลกมี 4 ระบบ ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law System) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law System) ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law System) ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
35
1. ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law System)
เรียกว่า ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์ อักษร หรือระบบประมวลกฎหมาย มีที่มาจากกฎหมายโรมันโบราณ จากกฎหมาย 12 โต๊ะ ต่อมามีการรวบรวม กฎหมายครั้งสำคัญของพระเจ้าจัสติเนียน เรียกว่า Corpus Juris Civilis หรือประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกที่มีลักษณะ เป็นประมวลกฎหมายอย่างที่ใช้กันในปัจจุบัน เป็นระบบที่มีการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีการจัดทำ ประมวลกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ ที่มาของกฎหมายที่สำคัญในระบบนี้ คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษร
36
ศาลจะยึดถือตัวบทกฎหมายเป็นตัวอย่างในการพิพากษาคดีความต่างๆ
คำพิพากษาของศาลในคดีก่อนๆ ไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย หากแต่เป็นเพียง ตัวอย่างในการปรับใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง ดังนั้น ผู้พิพากษาจึงไม่จำต้องผูกพันกับคำพิพากษาของศาลในคดีก่อนๆ มี อิสระในการตัดสินคดีตามตัวบทกฎหมาย ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ สเปน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย เป็นต้น
37
2. ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law System)
ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายอังกฤษ มีต้นกำเนิดจาก ประเทศอังกฤษ การพิจารณาคดีอาญา จะพิจารณาโดยใช้คณะลูกขุน (Jury) ซึ่งเป็น ประชาชนในท้องถิ่นทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดจริง หรือไม่ หากคณะลูกขุนลงความเห็นว่าจำเลยผิดจริง ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ กำหนดบทลงโทษสำหรับจำเลย ที่มาของกฎหมายที่สำคัญในระบบนี้ คือ คำพิพากษาของศาล (Precedent)
38
คำพิพากษาของศาลในคดีก่อนๆ ถือเป็นบรรทัดฐานที่ผู้พิพากษาซึ่งตัดสิน ในคดีหลังๆ ที่มีลักษณะข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันจำต้องตัดสินไปในแนวทาง เดียวกันกับคดีก่อนๆ กฎหมายในระบบนี้จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นกฎหมายที่ศาลสร้างขึ้น หรือ Judge made law ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
39
ความแตกต่างระหว่างระบบซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์
กฎหมายของประเทศที่ใช้ซีวิลลอว์จะมีการบัญญัติไว้ในรูปของ พระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมาย ส่วนกฎหมายของประเทศคอม มอนลอว์จะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เกิดจากจารีตประเพณีและคำ พิพากษาของศาล ส่วนพระราชบัญญัติต่าง ๆ (Act) เป็นข้อยกเว้นของ กฎหมายทั่วไป ในระบบประมวลกฎหมาย คำพิพากษาของศาลเป็นเพียงการตีความตัว บทกฎหมาย มิใช่ที่มาของกฎหมายเหมือนในระบบคอมมอนลอว์
40
ในระบบซีวิลลอว์ ศาลจะนำตัวบทกฎหมายที่เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปมาปรับ ใช้กับคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป แต่ในระบบคอมมอนลอว์ ศาลจะพิพากษาคดีโดย พิจารณาจากเรื่องเฉพาะเรื่องแล้วก่อให้เกิดบรรทัดฐานสำหรับศาลที่จะใช้ เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิพากษาคดีต่อ ๆ มา ในระบบซีวิลลอว์ ความสำคัญอยู่ที่ตัวบทกฎหมาย นักกฎหมายจึงรู้จักแค่ ชื่อของผู้เขียนตำรา ส่วนในระบบคอมมอนลอว์นักกฎหมายจะให้ความ เคารพต่อคำพิพากษาของศาลสูงเหมือนเป็นกฎหมาย จึงมักรู้จักชื่อของผู้ พิพากษา ในระบบซีวิลลอว์ จะถือเอาหลักเกณฑ์เป็นใหญ่ ศาลมีหน้าที่ใช้กฎหมาย ส่วนในระบบคอมมอนลอว์ ถือเอาคำพิพากษาคดีเป็นใหญ่
41
3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law System)
สังคมนิยม หมายถึง การรวบรวมทุกอย่างหรือส่วนใหญ่เข้าเป็นสมบัติ ร่วมกันของสังคม ไม่ใช่ส่วนของบุคคลคนใดคนหนึ่ง ยึดหลักการและแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน ยึดถือว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบและกลไกต่างๆของสังคม เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และคุ้มครองคนในสังคมให้พ้นจาก การกดขี่ข่มเหงของนายทุน ระบบกฎหมายนี้จึงให้ความสำคัญกับรัฐมากกว่าเสรีภาพของประชาชน
42
ข้อแตกต่างกับระบบกฎหมายอื่น เช่น เรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คือ ระบบ กฎหมายสังคมนิยมถือว่ารัฐมีอำนาจในการจำกัดการมีกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินของเอกชนได้ ที่มาของกฎหมายที่สำคัญในระบบนี้ คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษร ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายสังคมนิยม ได้แก่ รัสเซีย จีน ประเทศ สังคมนิยมในยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย บัลกาเรีย ยูโกสลาเวีย ฮังการี เป็นต้น
43
4.ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
คือ ระบบกฎหมายที่มาจากคำสั่งสอนทางศาสนา เช่น หลักธรรม คัมภีร์ต่างๆที่มุ่งสอนการดำเนินชีวิต และหลักการดังกล่าว เป็นที่ยอมรับจนกลายเป็นกฎหมายของบ้านเมือง ลักษณะสำคัญของระบบกฎหมายนี้คือ ไม่ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่ฝ่าย บ้านเมืองเป็นผู้บัญญัติขึ้น เพราะหลักคำสอนสามารถนำมาใช้ได้อย่าง กฎหมายและบทลงโทษก็มีอยู่แล้วตามหลักคำสอนนั้น กฎหมายศาสนาที่ยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน คือ กฎหมายอิสลาม กฎหมาย ฮินดู ตัวอย่างประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม ได้แก่ ประเทศอียิปต์ ซาอุดิอาราเบีย อิหร่าน ซีเรีย
44
ศาสนาอิสลาม/ กฎหมายอิสลามที่ใช้บังคับในประเทศไทย
ใช้บังคับเฉพาะคู่กรณีที่เป็นชาวมุสลิม ที่อาศัยอยู่ใน 4 จังหวัด เท่านั้น ได้แก่ สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เฉพาะเรื่อง ครอบครัวและมรดก เท่านั้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.