งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 6 ความเป็นเลิศขององค์กร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 6 ความเป็นเลิศขององค์กร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 6 ความเป็นเลิศขององค์กร

2 องค์การสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลได้อย่างไร
สมาชิกมีเป้าหมายร่วมกัน มีการตระหนักถึงปัญหาหรือโอกาส การวิเคราะห์สถานการณ์ กำหนดทางเลือกในการแก้ไข

3 องค์การสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างไร
กำหนดแผนงาน การตัดสินใจปฏิบัติ ติดตามและประเมินผล

4 หน้าที่ของผู้บริหาร เนื่องจากความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การอาจเกิดจากการตัดสินใจและการประสานงานในหน้าที่และกิจกรรม บุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสทางธุรกิจเรียกว่า ผู้จัดการ (Manager) หรือผู้บริหาร (การบริหารคือการทำงานให้บรรลุเป้าหมายโดยอาศัยความร่วมมือของผู้อื่น)

5 ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ผู้บริหารระดับสูง (Top Executive) ทำหน้าที่กำหนดเป้าหมาย นโยบาย กลยุทธ์ ได้แก่ ตำแหน่ง ประธาน รองประธาน กรรมการ (Board) ผู้จัดการ นายกรัฐมนตรี รมต. ปลัดกระทรวง อธิบดี

6 ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ผู้บริหารระดับกลาง (Middle manager) ทำหน้าที่ดำเนินกลยุทธ์ และนโยบายตามที่ถูกกำหนด ได้แก่ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่าย หัวหน้าแผนก รองอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง ผู้บริหารระดับต้น หรือระดับปฏิบัติการ (Supervisor หรือ Operational Manager) ได้แก่ตำแหน่งหัวหน้างาน หัวหน้าทีม หัวหน้าแผนก

7 ผู้บริหารและผู้นำต่างกันอย่างไร
ผู้บริหาร (Manager) Do the things right ทำสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ตามกฎระเบียบ ผู้นำ (Leader) Do the right things ทำในสิ่งที่ควรทำ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

8 ความหมายของผู้นำ (Leader)
ผู้นำ หมายถึงหัวหน้า หรือบุคคลที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการจากสมาชิกในแต่ละสถานการณ์ เพื่อทำหน้าที่นำให้สมาชิกบรรลุวัตถุประสงค์ตามปัจจัยแวดล้อม (โอกาส อุปสรรค)โดยใช้อำนาจกระตุ้นสมาชิก

9 องค์ประกอบของคนเป็นผู้นำ
ผู้นำ (บุคคลที่ทำหน้าที่หัวหน้า) กลุ่มหรือหมู่คณะ ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามผู้นำ วัตถุประสงค์ เป้าหมายที่กลุ่มต้องการ สถานการณ์ ปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สภาพแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสและอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่ม

10 ความหมายของภาวะผู้นำ (Leadership)
ภาวะผู้นำ หมายถึง ความสามารถ (Ability) มีอิทธิพล(Influence) จูงใจให้บุคคล เข้าใจ (Understand) เห็นด้วย (Agree) และทำตาม (Act) เพื่อบรรลุเป้าหมายด้วยความเต็มใจ อิทธิพล (Influence) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยการกระทำของบุคคลหนึ่งมีผลกระทบต่อความคิด ทัศนคติ หรือการกระทำของอีกบุคคลหนึ่ง

11 แหล่งที่มาของอำนาจ (Sources of Power)
1. อำนาจที่ได้รับมอบหมาย (Legitimate Power) เป็นอำนาจที่บุคคลอื่นยอมปฏิบัติตามเนื่องจากยอมรับว่าผู้ใช้อำนาจมีความชอบธรรมในการใช้คำสั่ง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

12 แหล่งที่มาของอำนาจ (Sources of Power)
2. อำนาจในการให้รางวัล (Reward Power) เป็นอำนาจใน การให้คุณ เนื่องจากต้องการไดรับรางวัลหรือผลตอบแทน หรือความดีความชอบจากผู้มีอำนาจนั้น 3. อำนาจในการบังคับ (Cohesive Power) หรือเรียกว่า อำนาจให้โทษ เป็นอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อหลีกเลี่ยง มิให้ต้องถูกลงโทษโดยผู้มีอำนาจ

13 แหล่งที่มาของอำนาจ (Sources of Power)
4. อำนาจจากความเชี่ยวชาญ (Expert Power) เป็นการให้การยอมรับต่อใครก็ตามที่เชื่อถือว่าบุคคลผู้นั้นมีความสามารถด้านความรู้ ทักษะ ความชำนาญ 5. อำนาจจากการยอมรับ/ยกย่อง/อำนาจจากการอ้างอิง (Reference Power) เกิดขึ้นจากการเลื่อมใส ศรัทธา ชื่นชมในคุณงามความดี ความมีบารมี ด้วยการอ้างอิงบุคคลนั้นเพื่อให้คนเกิดความเชื่อถือ

14 ทฤษฎีผู้นำ (Leader Theory)
ทฤษฎีคุณลักษณะ (Trait Theory) เน้นลักษณะส่วนตัวของผู้นำ ทฤษฎีพฤติกรรม (Behavioral Theory) เน้นพฤติกรรมระหว่างผู้นำกับผู้ตาม ทฤษฎีสถานการณ์ (Situational Theory) เน้นความเหมาะสมระหว่างพฤติกรรมของผู้นำกับสถานการณ์ ทฤษฎีผู้นำที่มีความสามารถพิเศษและผู้นำเชิงปฏิรูป (Charismatic leader and Transformational leader)

15 1. ทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ
คุณลักษณะของแต่ละบุคคล - ทางกายภาพ ได้แก่ความสูง น้ำหนัก รูปร่าง - บุคลิกภาพ เปิดเผย ริเริ่ม - ทักษะและความสามารถ สติปัญญา ความสามารถ ทางเทคนิค

16 ทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ
ลักษณะเด่นทางสังคม เก่งคน เข้าสังคมเก่ง มีสถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม Keith Davis ได้สรุปคุณลักษณะผู้นำไว้ดังนี้ 1. ฉลาด 2. มีวุฒิภาวะด้านสังคม

17 ทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ
3. มีแรงจูงใจใฝ่ความสำเร็จ 4. มีคุณสมบัติด้านมนุษย์สัมพันธ์ จากการวิจัยสรุปว่าคุณลักษณะผู้นำที่ควรมีคือ - มีพลังสูง มีความเหนียวแน่นไม่ปล่อยให้ อะไรหลุดมือได้ง่าย ๆ - เชื่อมั่นในตนเอง - มีความคิดสร้างสรรค์

18 ทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ
- มีความสามารถในการคิด - มีความรู้ทางธุรกิจ - จูงใจคน - ยืดหยุ่น - ซื่อสัตย์ โปร่งใส

19 2. ทฤษฎีพฤติกรรม (Behavioral theory)
2.1 การศึกษาของมหาวิทยาลัยไอโอวา (Iowa Studies) 2.2 การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (Michigan Studies) 2.3 การศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ (Ohio State Studies)

20 2. ทฤษฎีพฤติกรรม (Behavioral theory)
2.4 ตาข่ายพฤติกรรมการบริหาร (Managerial Grid) 2.5 ทฤษฎี X และทฤษฎี Y

21 2.1 การศึกษาของมหาวิทยาลัยไอโอวา (Iowa Studies)
Kurt Lewin นักวิชาการของมหาวิทยาลัยไอโอวา ได้สรุปพฤติกรรมผู้นำมี 3 ลักษณะคือ 1. ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) ทำหน้าที่ตัดสินใจให้กลุ่ม

22 การศึกษาของมหาวิทยาลัยไอโอวา (Iowa Studies)
2. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leader) ทำ หน้าที่ตัดสินใจร่วมกับกลุ่ม 3. แบบเสรีนิยม (Laissez – faire Leader) ปล่อยให้ สมาชิกตัดสินใจเองตามความเหมาะสม

23 การศึกษาของมหาวิทยาลัยไอโอวา
จากผลการเก็บรวบรวมข้อมูลสรุปได้ดังนี้ 1. สมาชิกชอบผู้นำแบบประชาธิปไตยมากกว่าแบบ เผด็จการ 2. ผู้นำแบบเผด็จการและเสรีนิยมจะส่งผลให้กลุ่มผูกพัน สูงกว่าแบบประชาธิปไตย แต่มิได้บ่งชี้ถึงความสำเร็จ หรือประสิทธิของผู้นำแต่ละลักษณะ

24 2.2 การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (Michigan Studies)
จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกนแบ่งพฤติกรรมของผู้นำเป็น 2 แบบดังนี้ 1. แบบมุ่นเน้นผลผลิต (Production Centered) หรือผู้นำมุ่งงาน มีพฤติกรรมเน้นให้สมาชิกทำงานให้บรรลุตามเป้าที่วางไว้ 2. แบบมุ่งเน้นผู้ร่วมงาน (Employee Centered) หรือมุ่งคน ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เอาใจใส่กับปัญหาของสมาชิก

25 2.3 การศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ
สรุปพฤติกรรมผู้นำมี 2 แบบ คือ 1. แบบมุ่งโครงสร้างงาน (Initiating Structure) หรือมุ่งเน้นงาน ผู้นำจะกำหนดเป้าหมาย แผน รายละเอียดในการปฏิบัติงาน 2. แบบมุ่งความสัมพันธ์ของบุคคล หรือมุ่งคน (Consideration) มีมิตรภาพดีกับลูกน้อง สื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

26 การศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ
พฤติกรรมผู้นำทั้งสองมิติทำให้เกิดแบบผู้นำ 4 แบบ (หน้า 126) แต่ผู้นำที่มีประสิทธิผลสูงสุด คือ ผู้นำที่มุ่งงานสูง และมุ่งสัมพันธ์สูง

27 2.4 ตาข่ายพฤติกรรมการบริหาร
Robert R. Blake และ Jane S. Mouton กล่าวถึงผู้นำที่มุ่งเน้นผลผลิต และมุ่งเน้นผู้ร่วมงาน แล้วนำมาจัดลงบนแกน X และแกน Y สรุปพฤติกรรมผู้นำได้ 5 คู่ดังนี้ 1. แบบปล่อยปละละเลย (Impoverished Leader) พฤติกรรมไม่สนใจต่อความเป็นไปของสมาชิก (1,1) 2. แบบมุ่งเน้นผลงาน (Production Pusher) มุ่งที่งานสูง ไม่มุ่งคน เรียกเผด็จการ (9,1)

28 ตาข่ายพฤติกรรมการบริหาร
3. แบบเน้นความสัมพันธ์ (Country Club Leader) ไม่สนใจต่องาน มุ่งความสัมพันธ์ (1,9) 4. แบบนักสร้างกลุ่ม (Team Builder) ให้ความสนใจทั้งคนและงานสูง (9,9) 5. แบบพบกันครึ่งทาง (Middle of the road Leader) แบบปานกลาง (5,5) ไม่สามารถทำให้การดำเนินงานเป็นเลิศได้

29 2.5 ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ทฤษฎี X จะมองคนในแง่ลบว่าคนส่วนใหญ่เกียจคร้าน ไม่รับผิดชอบ ไม่รักความก้าวหน้า ต้องใช้ปัจจัยทางวัตถุ เช่น เงินหรือสิ่งของกระตุ้น และมีการควบคุมใกล้ชิด ทฤษฎี Y มองคนในแง่บวก เชื่อว่าแต่ละคนมีลักษณะโดยธรรมชาติขยัน รับผิดชอบ มีเหตุผล รักความก้าวหน้า ไม่ต้องมีผู้ควบคุม

30 3. ทฤษฎีสถานการณ์ (Situational Theory)
3.1 ทฤษฎีสถานการณ์ของ Fiedler 3.2 ทฤษฎีแนวทางและเป้าหมาย (Path – goal Theory) ของ House 3.3 ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Leadership Theory) ของ Hersey และ Blanchard

31 ทฤษฎีสถานการณ์ (Situational Theory)
ทฤษฎีสถานการณ์สรุปได้ว่า ผู้นำอาจเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความต้องการและสอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งมีปัจจัยที่ส่งผลต่อผู้นำได้แก่ 1. ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของ Hersey และ Blanchardความคาดหวังและความพร้อมของผู้ร่วมงาน เช่น ลูกน้องไม่เก่ง และไม่เต็มใจ ต้องใช้วิธีสั่งงาน ไม่เก่งแต่เต็มใจ ใช้วิธีสอนงาน เก่งแต่ไม่เต็มใจ ใช้วิธีให้มีส่วนร่วม และ เก่งและเต็มใจ ใช้วิธีมอบงาน

32 ทฤษฎีสถานการณ์ (Situational Theory)
2. ทฤษฎีสถานการณ์ของ Fiedler เกี่ยวกับโครงสร้างของงานเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาวะผู้นำ โครงสร้างของงานหมายถึงความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการของคนในองค์การ เช่นโครงสร้างชัดเจนดี ก็ไม่ต้องเอาใจใส่ติดตาม 3. วัฒนธรรมองค์การ สมาชิกที่เป็นอนุรักษ์นิยม ย่อมมีพฤติกรรมยึดมั่นตามประเพณีนิยมที่เน้นความมั่นคง ต่างจากสมัยใหม่ เน้นการแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์

33 ทฤษฎีสถานการณ์ (Situational Theory)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาวะผู้นำ ทำให้ต่างทราบว่าอีกฝ่ายทำอะไรหรือมีความคาดหวังอย่างไร

34 4. ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ และผู้นำเชิงปฏิรูป (Charismatic leader and Transformational Leader)
ผู้นำแบบมีคุณลักษณะพิเศษ (Charismatic Leadership) เป็นลักษณะผู้นำที่เก่ง ดี มีเสน่ห์ - เก่ง นักสื่อสาร นักวิสัยทัศน์ เก่งพูด เก่งเขียน - ดี ไม่ทำอะไรเพื่อตนเอง แต่ทำเพื่อส่วนรวม (สังคมและ ประเทศชาติ) - มีเสน่ห์ สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้คนเชื่อในวิสัยทัศน์

35 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ และผู้นำเชิงปฏิรูป
- ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน หรือผู้นำการปฏิบัติ ใช้รางวัลเป็นเครื่องจูงใจ เช่น ให้พักร้อนถ้าขายได้ตามยอดที่กำหนด - ผู้นำการปฏิรูป จะสร้างแรงบันดาลใจ แรงจูงใจให้ลูกน้อง ไม่บังคับขู่เข็ญ

36 การพัฒนาความเป็นผู้นำ
การสร้างทักษะ ฝึกอบรมภายในที่ต้องการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะที่ควรมีได้แก่ ฟอมส (FORMS) มีดังนี้ ฟ = ไฟ (Fire) การใช้แรงจูงใจ (Motivation) รู้จักใช้ไฟขั้วบวกให้สมดุลกับไฟขั้วลบ (ความโลภของพนักงาน เบี้ยขยัน พนักงานจะเน้นปริมาณ ทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพ เครื่องจักรถูกใช้งานมาก ขาดการหยุดพักเพื่อซ่อมบำรุง ทำให้ของเสียมีเปอร์เซ็นต์สูง

37 การพัฒนาความเป็นผู้นำ
อ = อำนาจ (Organized Power) ผู้นำที่ดีต้องมีอำนาจ คือตัวพลังขับเคลื่อน ได้แก่ความรู้ในเทคโนโลยีของธุรกิจอุตสาหกรรมที่ตนเองทำ หลักการบริหารธุรกิจ การบริหารความรู้ ม = มนุษยสัมพันธ์ คนเราอาจมีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ เชิงลบ เชิงบวก และแบบกลาง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ ปัจจัยภายใน ได้แก่บุคลิกภาพอันเกิดจากลักษณะนิสัยบวกกับจิตใจที่เกิดจากความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยม

38 การพัฒนาความเป็นผู้นำ
ส่วนปัจจัยภายนอก เกิดจากวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศของ องค์กรที่เกิดจากภาวะผู้นำระดับสูงเป็นตัวการสำคัญ ส = สมาธิ และ สติ ผู้นำที่ขาดสมาธิจะพยายามทำหลายอย่างพร้อมกัน ทำให้ทำไม่ได้หรือทำได้แต่ไม่ดี บางครั้งเป็นปัญหา ส่วนสติเป็นสิ่งกำกับ ควบคุมตัวผู้นำและองค์กรให้ทำสิ่งที่ควรทำในจังหวะเวลาที่เหมาะสม

39 การพัฒนาความเป็นผู้นำ
การฝึกอบรมการรับรู้ อาศัยข้อมูลจากผู้นำที่มีประสบการณ์โดยใช้วิธีการที่สามารถประยุกต์ได้ถ้าต้องเผชิญกับเหตุการณ์จริง มีพลังปัญญาที่สมดุล ได้แก่ ไอคิว อีคิว เอ็มคิว เอคิว

40 ไอคิว (Intelligence Quotient)
รับรู้ จดจำ ใช้ความรู้ และข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาประจำวันและเพื่อการปรับตัว รวมทั้งเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในสภาพแวดล้อมที่คงที่และเปลี่ยนแปลง

41 ไอคิว (Intelligence Quotient)
ไอคิว (Intelligence Quotient) เป็นพลังปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ ความเข้าใจและความคิดฉับไว ในการกล่าวแก้หรือโต้ตอบได้ฉับพลันทันทีและสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ เป็นคะแนนที่ได้รับของแต่ละบุคคลจากการทดสอบ ที่มีเจตนารมณ์ที่จะประเมินวัดความสามารถเชิงถ้อยคำ ภาษา และเชิงปริมาณ (Quantitative abilities)

42 อีคิว (Emotional Quotient)
อีคิว เป็นพลังปัญญาด้านอารมณ์ เป็นความสามารถในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น เป็นศักยภาพที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้นได้ แต่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลข ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการผสมผสานองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างของอารมณ์ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด กระบวนการภายในร่างกาย พฤติกรรมที่แสดงออกทางถ้อยคำและไม่ใช้ถ้อยคำ

43 เอ็มคิว (Moral Intelligence Quotient)
เอ็มคิว เป็นพลังปัญญาด้านศีลธรรม จริยธรรม คุณงามความดี ในขณะที่ “ไอคิว” ช่วยให้เกิดการ “คิดใหม่ ทำใหม่” ส่วน “เอ็มคิว” จะช่วยให้เกิดการ “คิดดี ทำดี”

44 เอคิว (Advancement Intelligence Quotient หรือ Adversity Quotient)
เอคิว เป็นพลังปัญญาด้านความมุ่งมั่น ความเพียรมานะอุตสาหะ ฝ่าฟันปัญหาอุปสรรค ช่วยให้สามารถปีนป่ายขึ้นสู่ยอดภูเขาสูงได้สำเร็จ เป็นคนที่เมื่อพบอุปสรรคแล้ว ไม่ย่นย่อท้อถอย ถือคติ “ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง”

45 โอคิว (Organizational Intelligence Quotient)
โอคิว เป็นพลังปัญญาของผู้นำที่สามารถช่วยให้องค์กรเกิดการพัฒนาเป็น “องค์กรฉลาด” (Intelligent Organization) สามารถรับรู้ว่ามีปัญหา สามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลสารสนเทศและตีความ สามารถดำเนินการโดยนำผลการตัดสินใจนั้นลงสู่ปฏิบัติ

46 โอคิว (Organizational Intelligence Quotient)
องค์กรบางแห่งประกอบด้วยคนฉลาดจำนวนมากมารวมกัน แต่ปรากฏว่ามี OQ ต่ำโดยมีลักษณะดังนี้ ไม่รู้ว่ามีปัญหา หรือรู้แต่ทำเสมือนว่าไม่รู้ ไม่มีการดำเนินการอย่างไรต่อไป หรือตัดสินใจอย่างผิดพลาดเพราะบกพร่องในการวิเคราะห์ปัญหา บางครั้งอาจรับรู้ปัญหา และได้ดำเนินการตัดสินใจแล้วว่าจะทำการแก้ไขและป้องกันปัญหาอย่างไร แต่กลับไม่มีการดำเนินการหรือมีการดำเนินการอย่างหย่อนประสิทธิภาพ ขาดประสิทธิผล

47 จบการนำเสนอ

48 แบบฝึกหัด ให้ทำแบบฝึกหัดท้ายบท หน้า 136 ข้อ 1 – 10 ส่งก่อนเรียนชั่วโมงหน้า


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 6 ความเป็นเลิศขององค์กร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google