งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
Cost Accounting Chapter 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การบัญชีต้นทุน ผศ.ดร.มนทิพย์ ตั้งเอกจิต และ อ.ดร.เอื้อบุญ เอกะสิงห์ ภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 ประเภทของข้อมูลทางบัญชี
บัญชีการเงิน Financial Accounting บัญชีบริหาร Managerial Accounting จัดทำ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จัดทำ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้บริหาร

3 ขอบเขตการบัญชีต้นทุน
การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนเพื่อให้ข้อมูลจำเป็นในการจัดทำงบการเงิน ได้แก่ ต้นทุนสินค้าขายในงบกำไรขาดทุน มูลค่าสินค้าคงเหลือในงบดุล และให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณต้นทุน บันทึกรายการบัญชี และการรายงานต้นทุนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้บริหารต้องการ

4 วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน
เพื่อตีราคาสินค้าคงเหลือ 01 เพื่อทราบต้นทุนการผลิตสินค้า 02 เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารในการวางแผนและควบคุม 03 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจต่างๆ 04

5 ความสัมพันธ์ระหว่างการบัญชีบริหาร การบัญชีการเงิน และการบัญชีต้นทุน
Financial Accounting Cost Accounting Managerial Accounting การบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีบริหารและบัญชีการเงิน และเน้นไปที่การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน แต่บัญชีบริหารจะเน้นไปที่ การวิเคราะห์ วางแผน ควบคุม และตัดสินใจ

6 การจัดโครงสร้างธุรกิจ
ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบุคคล ฝ่ายผลิต ฝ่ายการเงินและบัญชี

7 หน้าที่ของนักบัญชีต้นทุน
สร้างหลักเกณฑ์การคำนวณ หาแนวทางลดต้นทุนให้องค์กร พัฒนาระบบการคิด วิเคราะห์และจัดทำข้อมูล ต้นทุนเพื่อใช้ในการบริหาร รวบรวมและบันทึกข้อมูล คำนวณต้นทุนของสินค้าและบริการ ประมวลผล สรุป เสนอรายงาน

8 จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
1.โปร่งใส 2.อิสระ 3.เที่ยงธรรม 4.ซื่อสัตย์ 5.ความรู้ความสามารถ 6.การรักษาความลับ 7.รับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการ 8.รับผิดชอบต่อเจ้าของ 9. รับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ และทั่วไป

9 ความหมายของต้นทุน ต้นทุน (Cost) หมายถึง มูลค่าที่วัดได้เป็นหน่วยเงินตรา ของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้ มาซึ่งสินค้าหรือบริการ ในทางบัญชีแบ่งต้นทุนได้ ดังนี้ 1. ต้นทุนที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ หรือรายได้ ในงวดบัญชี ถัดไป กิจการต้องถือเป็นสินทรัพย์ ในงบแสดงฐานะทางการเงิน 2. ต้นทุนที่ให้ประโยชน์บางส่วน หรือทั้งหมด หรือต้นทุน ที่ก่อให้เกิดรายได้ในงวดบัญชีปัจจุบัน กิจการต้องถือเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อเปรียบเทียบกับรายได้ ในงวดบัญชีเดียวกัน ในงบกำไรขาดทุน

10 ค่าใช้จ่าย (Expenses)
สินทรัพย์ (Assets) วัสดุสำนักงานคงเหลือ ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า เครื่องจักร ค่าใช้จ่าย (Expenses) วัสดุสำนักงานใช้ไป ค่าเช่าจ่าย ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร

11 ค่าใช้จ่ายโรงงานFactory
กระบวนการผลิตสินค้า งานระหว่างทำ Work in process วัตถุดิบ Materials สินค้าสำเร็จรูป Finished Goods กระบวนการผลิต Manufacturing Processes แรงงาน Labor ค่าใช้จ่ายโรงงานFactory Overhead

12 การจำแนกประเภทต้นทุน
ส่วนประกอบของ ต้นทุนผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์เพื่อ การตัดสินใจ 01 ความสัมพันธ์กับระดับกิจกรรม 02 07 ความสัมพันธ์ ของเวลา 03 ประเภทต้นทุน ลักษณะกิจกรรมในโรงงาน 06 04 05 ความสัมพันธ์กับ หน่วยต้นทุน ตามหน้าที่

13 การจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของต้นทุนผลิตภัณฑ์
01 การจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Production Cost Elements) วัตถุดิบทางตรง Direct Materials ค่าใช้จ่ายโรงงาน Factory Overhead ค่าแรงทางตรง Direct Labor

14 การจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของต้นทุนผลิตภัณฑ์
01 การจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Production Cost Elements) 1.1 วัตถุดิบ (Materials) แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.1.1 วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials) หมายถึง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต สามารถทราบได้อย่างชัดเจนและโดยง่าย ว่าใช้ไปเพื่อการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ เป็น จำนวนเท่าใด 1.1.2 วัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Materials) หมายถึงวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบเล็กน้อยของการผลิตสินค้า และเป็นการยากในการระบุว่าเป็นสินค้านั้นๆ เท่าใด กิจการบางแห่งจะเรียกวัตถุดิบทางอ้อมว่า “วัสดุโรงงาน (Factory Supplies)”

15 การจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของต้นทุนผลิตภัณฑ์
01 การจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Production Cost Elements) 1.2 ค่าแรง (Labor) หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการจ่ายไปเพื่อเป็นค่าจ้างตอบแทนแรงงานในการผลิต จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ 1.2.1 ค่าแรงทางตรง (Direct Labor) หมายถึง ค่าจ้างตอบแทนแรงงาน ในการแปลสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง สามารถคำนวณเป็นต้นทุนค่าแรงได้โดยง่าย 1.2.2 ค่าแรงทางอ้อม (Indirect Labor) หมายถึง ค่าแรง และผลตอบแทนสิทธิประโยชน์ อื่นๆ ของคนงานที่ไม่ใช่แรงงาน เป็นแรงงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการผลิต เช่น ผู้ควบคุมงาน หัวหน้าโรงงาน เป็นต้น รายการค่าแรงทางอ้อมถือเป็นค่าใช้จ่ายโรงงานหรือการผลิต

16 การจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของต้นทุนผลิตภัณฑ์
01 การจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Production Cost Elements) 1.3 ค่าใช้จ่ายโรงงาน (Factory Overhead) หรือค่าใช้จ่ายในการผลิต หมายถึงต้นทุนผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า แต่ไม่ใช่วัตถุดิบทางตรงและค่าแรงทางตรง แต่เป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน เช่น ค่าน้ำค่าไฟโรงงาน เป็นต้น Direct Labor Factory Overhead Product Cost Direct Materials

17 - ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร
ค่าใช้จ่ายในการผลิต - ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า - ค่าเช่าโรงงาน - ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร วัตถุดิบ ค่าแรงงาน 1.วัตถุดิบทางตรง 3.ค่าใช้จ่ายในการผลิต 2.ค่าแรงงานทางตรง ทางตรง ทางอ้อม สินค้า

18 ต้นทุนขั้นต้น = วัตถุดิบทางตรง + ค่าแรงงานทางตรง
(Prime Cost) วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายโรงงาน ต้นทุนแปรสภาพ (Conversion Cost) ต้นทุนขั้นต้น = วัตถุดิบทางตรง + ค่าแรงงานทางตรง ต้นทุนแปรสภาพ = ค่าแรงงานทางตรง + ค่าใช้จ่ายโรงงาน 18

19 เครื่องยนต์ของรถ แรงงานคนงานประกอบรถ ล้อรถ ค่าไฟฟ้าและ ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตรถ

20 จำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
02 การจำแนกต้นทุนตามความสัมพันธ์กับปริมาณการผลิตหรือระดับกิจกรรม (Relationship to Volume or Activity Level) จำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 2.1 ต้นทุนผันแปร (Variable Costs) หมายถึง ต้นทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลง ปริมาณการผลิต หรือปริมาณกิจกรรม 2.2 ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) หมายถึง ต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลง ในระดับหนึ่ง ไม่ว่าปริมาณการผลิตจะเพิ่มหรือลดลง ลักษณะของต้นทุนคงที่คือ ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าจะต่ำ ถ้าปริมาณการผลิตมาก และต้นทุนต่อหน่วยสินค้าจะสูงถ้าปริมาณการผลิตน้อย

21 02 การจำแนกต้นทุนตามความสัมพันธ์กับปริมาณการผลิตหรือระดับกิจกรรม (Relationship to Volume or Activity Level) 2.3 ต้นทุนผสม (Mixed Costs) หมายถึง ต้นทุนที่มีลักษณะเป็นต้นทุนคงที่และต้นทุน ผันแปรรวมอยู่ด้วยกัน แยกเป็น2 ประเภท ได้ 2.3.1 ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semi-variable Costs) เป็นต้นทุนที่แปรเปลี่ยนไปตามปริมาณการผลิต แต่ไม่ได้แปรเปลี่ยนในอัตราส่วนโดยตรงกับปริมาณการผลิต 2.3.2 ต้นทุนกึ่งคงที่ (Semi-fixed Costs) หรือเรียกว่า ต้นทุนเชิงขั้น เป็นต้นทุนที่คงที่ในช่วงเวลาระดับกิจกรรมหนึ่งๆ หากช่วงกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนจะแปรเปลี่ยนไปด้วย และจะคงที่เท่าเดิมตลอดกิจกรรมใหม่

22 ต้นทุนผันแปร (Variable Costs)
หมายถึง ต้นทุนที่จะมีต้นทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปตามสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงตามระดับกิจกรรมหรือปริมาณการผลิต

23 ต้นทุนผันแปร รถ (คัน) ต่อหน่วย รวม 1 100.- 100.- 10 100.- 1,000.- 50
ตัวอย่าง ต้นทุนผันแปร (Variable Costs) รถจักรยานยนต์ 1 คัน ติดตั้งเบาะเพียง 1 ชุดๆ ละ 100 บาท = มีต้นทุนคันละ 100 บาท ต้นทุนผันแปร รถ (คัน) ต่อหน่วย รวม 1 100.- 100.- 10 100.- 1,000.- 50 100.- 5,000.-

24 หน่วย สูตร Y = bx แผนภาพ ต้นทุนรวม ต้นทุนต่อหน่วย บาท บาท 500 100 100

25 ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)
หมายถึง ต้นทุนรวมที่มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามระดับของการผลิต เช่น - ค่าเช่า - ค่าเสื่อมราคา - เงินเดือนผู้จัดการ ฯลฯ

26 ตัวอย่าง ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs)
ในการผลิตรถจักรยานยนต์นั้น บริษัทต้องจ่ายค่าเช่าโรงงานเดือนละ 100,000 บาท ต้นทุนค่าเช่าโรงงาน จำนวนสินค้า รวม 1 10 50 100,000 10,000 2,000 ต่อหน่วย

27 แผนภาพ : สูตร Y = a 100,000 ต้นทุนรวม ต้นทุนต่อหน่วย บาท
ถ้าผลิตน้อย ต้นทุนต่อหน่วยสูง ถ้าผลิตมาก ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ สูตร Y = a

28 ต้นทุนผสม (Mixed Cost)
หมายถึง ต้นทุนที่มีลักษณะของต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรรวมอยู่ด้วยกัน แบ่งออกเป็น ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semivariable costs) ต้นทุนเชิงชั้น (Step costs) หรือ ต้นทุนกึ่งคงที่ (Semifixed costs)

29 ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semi-variable costs)
ต้นทุนแปรไปตามปริมาณการผลิต แต่มิได้แปรในอัตราส่วนโดยตรงกับปริมาณการผลิต หรือ ต้นทุนส่วนหนึ่งคงที่ทุกระดับกิจกรรม แต่มีต้นทุนอีกส่วนหนึ่งจะผันแปรไปตามระดับของกิจกรรม

30 ตัวอย่าง ค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐานต้องจ่ายขั้นต่ำ 100 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ แต่ละครั้งที่ใช้บริการ คิดเพิ่มอีกครั้งละ 3 บาท บาท 100 หน่วย สูตร Y = a + bx

31 ต้นทุนกึ่งคงที่ (Semi-fixed Costs)
ต้นทุนเชิงชั้น (Step costs) หรือ ต้นทุนกึ่งคงที่ (Semi-fixed Costs) ต้นทุนที่มีลักษณะจำนวนคงที่ ณ ระดับกิจกรรมหนึ่งและจะเปลี่ยนไปคงที่ในอีกระดับกิจกรรมหนึ่ง

32 ตัวอย่าง ถ้าผลิตสินค้าต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100,000 ตันต่อเดือน
ใช้หัวหน้าคนงาน 1 คน อัตราเงินเดือน 30,000 บาท ถ้าผลิตมากกว่านี้ ใช้หัวหน้าเพิ่มอีก 1 คน 60,000 30,000 หน่วย 100,000 สูตร Y = a1 , a2 , … , an

33 การจำแนกประเภทต้นทุนในโรงงาน ตามลักษณะกิจกรรม
03 การจำแนกประเภทต้นทุนในโรงงาน ตามลักษณะกิจกรรม จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 3.1 ต้นทุนแผนกผลิต เกี่ยวข้องกับการผลิตแต่ละแผนกโดยตรง หรือต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับแผนกที่ทำหน้าที่แปรสภาพ ได้แก่ แผนกตัด แผนกประกอบ ฯลฯ 3.2 ต้นทุนแผนกบริการ ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง แต่เป็นต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการของแผนกบริการ เช่น แผนกจัดซื้อวัตถุดิบ แผนกซ่อมบำรุง เป็นต้น

34 การจำแนกประเภทต้นทุนตามหน้าที่
04 การจำแนกประเภทต้นทุนตามหน้าที่ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 4.1 ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Costs) เป็นต้นทุนที่เกิดจากหน้าที่งานในการผลิตนั้น 4.2 ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต (Non-manufacturing Costs) เป็นต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า ได้แก่ 4.2.1 ต้นทุนการตลาด (Marketing Costs) 4.2.2 ต้นทุนการบริหาร (Administrative Costs) 4.2.3 ต้นทุนทางการเงิน (Financial Costs)

35 การจำแนกประเภทต้นทุนตามความสัมพันธ์กับหน่วยต้นทุน
05 การจำแนกประเภทต้นทุนตามความสัมพันธ์กับหน่วยต้นทุน หน่วยต้นทุน (Cost Object) หมายถึง สิ่งที่จะคิดต้นทุน ได้แก่ สินค้าแผนกโครงการ เป็นต้น แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 5.1 ต้นทุนทางตรง (Direct Costs) เป็นต้นทุนที่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นของหน่วยต้นทุนใด 5.2 ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Costs) หรือต้นทุนร่วม เป็นต้นทุนที่ยากจะทราบว่าเป็นต้นทุนของหน่วยต้นทุนเท่าไร

36 การจำแนกประเภทต้นทุนตามความสัมพันธ์ของเวลา
06 การจำแนกประเภทต้นทุนตามความสัมพันธ์ของเวลา แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 6.1 ต้นทุนในอดีต (Historical Costs) หรือต้นทุนจริง เป็นต้นทุนที่กิจการจ่ายไปจริง 6.2 ต้นทุนทดแทน (Replacement Cost) หมายถึง มูลค่าหรือราคาตลาดปัจจุบันของสินทรัพย์ประเภทเดียวกันกับที่กิจการใช้อยู่ หากกิจการต้องการจัดหาสินทรัพย์มาเปลี่ยนหรือทดแทนจะต้องสืบราคาในตลาด 6.3 ต้นทุนในอนาคต (Future Cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่กิจการคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยต้นทุนในอนาคตนั้นอาจได้มาจากการประมาณแนวโน้มจากต้นทุนในอดีต

37 การจำแนกประเภทต้นทุนตามการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ
07 การจำแนกประเภทต้นทุนตามการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ 7.1 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevant Costs) คือ ต้นทุนที่จะต้องนำมาพิจารณาในการตัดสินใจ 7.1.1 ต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Costs) คือผลประโยชน์ที่จะต้องสูญเสียจากทางเลือกหนึ่งหากกิจการเลือกตัดสินใจเลือกอีกทางหนึ่งแทน 7.1.2 ต้นทุนแตกต่าง (Differential Costs) คือ ต้นทุนส่วนที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง อันเป็นผลจากการเปลี่ยนการตัดสินใจหนึ่งไปยังอีกทางเลือกหนึ่ง 7.1.3 ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ (Avoidable Costs) หมายถึง ต้นทุนที่กิจการสามารถประหยัดได้จากการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง ต้นทุนส่วนที่สามารถลดลงได้เรียกว่า ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้

38 การจำแนกประเภทต้นทุนตามการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ
07 การจำแนกประเภทต้นทุนตามการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ 7.2 ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Irrelevant Costs) ประกอบด้วย 7.2.1 ต้นทุนจม (Sunk Costs) เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไปแล้ว เช่น การลงทุนซื้อเครื่องจักร การทำสัญญาเช่าต่างๆ 7.2.2 ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Unavoidable Costs) เป็นต้นทุนที่ไม่มีผลกระทบในการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะลดหรือเพิ่มระดับกิจกรรม หรือแม้ว่ากิจการไม่ได้ใช้กิจกรรมนั้นๆ กิจการก็ยังคงต้องจ่ายต้นทุนดังกล่าว

39 You can safely remove this slide
You can safely remove this slide. This slide design was provided by SlideModel.com - You can download more templates, shapes and elements for PowerPoint from


ดาวน์โหลด ppt ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google