ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Chapter 9 Peaceful Settlement of Dispute
Kanya Hirunwattanapong Faculty of Law Chiang Mai University November 2015 Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
2
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
กฎบัตรสหประชาชาติได้เรียกร้องให้สมาชิกสหประชาชาติยุติข้อพิพาทที่มีลักษณะยืดเยื้อที่มีแนวโน้มจะเกิดอันตรายต่อสันติภาพของสังคมระหว่างประเทศโดยสันติวิธีเพื่อดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การยุติข้อพิพาทโดยสันติวิธีแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ (1) การยุติข้อพิพาทโดยทางการฑูต (2) การยุติข้อพิพาทโดยกระบวนการยุติธรรมทางศาล การยุติข้อพิพาทโดยทางการฑูต (Diplomatic methods of dispute settlement) 1. การเจรจา (Negotiations) รัฐมีหน้าที่ที่จะทำการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาทอย่าสันติวิธี ดังปรากฏในกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายทะเล และคำประกาศความสัมพันธ์ฉันท์มิตร (the Friendly Relations Declaration of 1970) อย่างไรก็ตามการเจรจาก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จเสมอไป เนื่องจากรัฐที่สามที่เป็นกลางไม่ค่อยอยากเข้าร่วมเจรจา ดังนั้นเมื่อไม่มีคนกลางการเจรจาก็มักไม่สำเร็จ ส่วนใหญ่ข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งหลายมักกำหนดให้การเจรจาเป็นมาตรการขั้นต้นในการยุติข้อพิพาท โดยให้ผ่านสู่ขั้นตอนการยุติข้อพิพาทอย่างอื่นต่อไป 2. Good Offices and mediation (การไกล่เกลี่ย) Good Offices บุคคลที่สามพยายามทำให้รัฐพิพาทเข้าสู่การเจรจาตกลงโดยการเป็นผู้ส่งผ่านข้อความและคำแนะนำไปยังรัฐพิพาทเมื่อการเจรจาเริ่มต้นซึ่งทำให้หน้าที่การทำ good office สิ้นสุดลง Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
3
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Mediation ผู้ไกล่เกลี่ยมีบทบาทมากขึ้นกว่าการเพียงทำ good office กล่าวคือผู้ไกล่เกลี่ยเข้าร่วมเจรจาและอาจแนะนำข้อยุติหรือเงื่อนไขการยุติข้อพิพาทซึ่งมักพบในส่วนของการประนีประนอมข้อพิพาทหรือ conciliation ทำให้ความแตกต่างระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการประนีประนอมข้อพิพาทไม่แตกต่างกันมากนักในทางปฏิบัติ การไกล่เกลี่ยมีความยืดหยุ่นในขั้นตอนการเจรากล่าวคือไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวว่าด้วยขั้นตอน ผู้ไกล่เกลี่ยอาจให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้วย อาทิ การยุติข้อพิพาทระหว่างอินเดียและปากีสถานช่วงระหว่างปี ใน Indus basin ได้ธนาคารโลกเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและช่วยเหลือทางการเงิน การทำ good office อาจทำรวมกับการไกล่เกลี่ย Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
4
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
3. การตรวจสอบข้อเท็จจริง (fact-finding and inquiry) เป็นวิธีการหาข้อเท็จจริงในตามกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อพิพาทระหว่างประเทศหลายกรณีเป็นการพิพาททางข้อเท็จจริง ดังนั้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยยุติธรรมไม่ลำเอียงจึงเป็นการลดความตึงเครียดของเหตุการระหว่างรัฐคู่กรณี อาจรวมการประเมินแง่มุมทางกฎหมายของผลนั้นด้วย) เพื่อเตรียมไปสู่การยุติข้อพิพาท อย่างไรก็ตามรัฐคู่กรณีไม่จำต้องรับผลการตรวจสอบนี้ แต่ส่วนมากแล้วมักจะรับเพราะเป็นผู้เลือกคนกลางเองด้วย 4. การประนีประนอม (conciliation) คำนิยามของการประนีประนอมได้ระบุไว้ใน the Institute de droit international 1961 ดังนี้ “วิธีการยุติข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยที่คู่กรณีตั้งคณะกรรมาธิการ (a Commission) ไม่ว่าจะเป็นการเฉพาะกิจ (ad hoc) หรือถาวรเพื่อดำเนินการยุติข้อพิพาทโดยการตรวจสอบที่เป็นกลางและกำหนดเงื่อนไขอันเป็นที่ยอมรับของคู่พิพาทเพื่อให้เกิดการยุติซึ่งข้อพิพาทนั้น” ถูกมองว่าเป็นการผสานกันระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการไกล่เกลี่ย แต่การประนอมฯมีลักษณะเป็นทางการมากกว่า Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
5
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
คู่กรณีไม่ผูกพันที่ต้องยอมรับเงื่อนไขการยุติข้อพิพาทของผู้ประนอมฯ เพราะแท้จริงแล้วมันมีลักษณะเป็นคำแนะนำ กระบวนการประนอมข้อพิพาทจะเป็นความลับ ถ้าข้อเสนอของผู้ประนอมฯไม่ได้รับการยอมรับหน้าที่ก็สิ้นสุดลง และสิ่งที่คณะกรรมธิการได้ข้อมูลมาคู่กรณีพิพาทก็ไม่อาจนำไปใช้อีกเว้นแต่จะตกลงยินยอมกัน ทั้งการไกล่เกลี่ยและการประนอมฯมีความยืดหยุ่นมากกว่าการดำเนินการยุติข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ (arbitration) หรือโดยการศาล Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
6
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
การยุติข้อพิพาทโดยกระบวนการกฎหมาย (legal methods of dispute settlement) 1. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice – ICJ) 2. อนุญาโตตุลาการ (International Arbitration) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice – ICJ) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักเป็นการทั่วไปว่า “ศาลโลก” (the world court) เป็นหน่วยงานหลัก ทางการศาลแต่เพียงหน่วยงานเดียงของสหประชาชาติ (เป็นหนึ่งในหกหน่วยงานหลักขององค์การสหประชาชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่ the Peace Palace ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ศาลโลกแห่งนี้ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน โดยที่ 5 คนนั้นต้องเลือกทุกๆ 3 ปีเพื่ออยู่ในหน้าที่เป็นเวลา 9 ปี ผู้พิพากษาเลือกโดยสภาความมั่นคง (the Security Council) และสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (the General Assembly) อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกถาวรแห่งสภาความมั่นคง 5 ประเทศ (จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐ) มีผู้พิพากษาในศาลโลกเสมอ Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
7
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีเขตอำนาจศาล 2 ประเภท ข้อพิพาทระหว่างรัฐ (contentious cases) และ การให้คำแนะนำ (advisory opinion) เขตอำนาจศาลเหนือข้อพิพาทระหว่างรัฐ (contentious cases) เป็นกรณีที่รัฐ (เท่านั้น) ที่ยื่นข้อพิพาทให้ศาลฯพิจารณาทั้งนี้ต้องด้วยความยินยอม (consent) ที่จะมอบข้อพิพาทให้ศาล การแสดงการยินยอมทำได้หลายรูปแบบ รัฐอาจตกลงไว้ล่วงหน้าโดยสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาล (มาตรา 36(1) Statute of International Court of Justice) การที่รัฐที่เป็นภาคีสมาชิกของ Statute of International Court of Justice อาจประกาศการยอมรับเขตอำนาจศาลฯ (โดยที่ไม่ได้มีข้อตกลงกับรัฐใด) ในประเด็นพิพาทข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ (ก) การตีความสนธิสัญญา, (ข) ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ, (ค) การมีอยู่ของข้อเท็จจริงที่จะมีผลเป็นการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศ, (ง) ลักษณะหรือประเภทการเยียวยา จากการกระทำละเมิดกม. รปท. ‘optional clause’ (36(2)(3)) Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
8
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
คำพิพากษาของศาลฯ ผูกพันรัฐคู่กรณี และมาตรา 94 กฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้อำนาจแก่ สภาความมั่นคง (the Security Council) หามาตรการที่ใช้เพื่อบังคับคำพิพากษา แต่การบังคับตามคำพิพากษามักไม่มีปัญหาเพราะการนำคดีมาสู่ศาลเกิดจากการยินยอมของรัฐคู่กรณีพิพาทอยู่แล้ว เขตอำนาจศาลเหนือการให้คำแนะนำ (Advisory opinion) มาตรา 96 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้ สมัชชาใหญ่ หรือ สภาความมั่นคงร้องขอศาลให้มีความเห็นในข้อกฎหมาย นอกจากนั้น หน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติและองค์การชำนัญพิเศษอื่นๆ อาจร้องขอให้ศาลมีความเห็นได้ ทั้งนี้การร้องขอนี้ต้องได้อนุญาตจากสมัชชาใหญ่ ความเห็นนี้ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายเพราะเป็นเพียงคำแนะนำหรือคำปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามก็มีน้ำหนักในทางการเมืองระหว่างประเทศ Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.