งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สารเคมีในชีวิตประจำวัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สารเคมีในชีวิตประจำวัน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สารเคมีในชีวิตประจำวัน
อาจารย์ ดร. เฉลิมพร ทองพูน ห้องพัก ศว.302 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร

2 เคมีสำหรับศตวรรษที่ 21 ก่อนศตวรรษที่ 21 หลังศตวรรษที่ 21
ก่อนศตวรรษที่ 21 หลังศตวรรษที่ 21 การแพทย์และ ยาชา การแก้ไขทางพันธุกรรม สาธารณสุข ยาฆ่าเชื้อ ยาไครัล พลังงานและ ปิโตรเลียม โซลาร์เซล สิ่งแวดล้อม นิวเคลียร์ฟิชชั่น นิวเคลียร์ฟิวชั่น วัสดุและ พลาสติก นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยี LCD โมเลคิวลาร์คอมพิวเตอร์ อาหาร ปุ๋ย ฟีโรโมน เอนไซม์ และเกษตร สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การดัดแปลงยีน

3 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ข้อสังเกต (observation) ทฤษฎี (theory) สมมุติฐาน (hypothesis) หลักการที่ใช้อธิบาย กฏ (law) หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง (fact) ซึ่งได้จากสมมุติฐานที่ผ่านการตรวจสอบด้วยการทดลองหลายๆ การทดลองแล้ว การทดลอง (experiment) สังเกต บันทึกผล แปลผล ผลการทดลอง (data) - เชิงคุณภาพ (qualitative) - เชิงปริมาณ (quantitative)

4 เคมี คือ การศึกษาเกี่ยวกับสสาร (matter) และการเปลี่ยนแปลง
นักเคมีมองและคิดอย่างไร? สารเคมี หมายถึง สาร สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของ ของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ

5 คำที่ควรรู้ สสาร คือ สิ่งที่มีปริมาตรและมวล เช่น ดิน น้ำ อากาศ
สาร (substance) คือ สสารที่มีองค์ประกอบทางเคมีที่แน่นอนซึ่งมีสมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำ แอมโมเนีย น้ำตาลซูโครส ออกซิเจน ทอง (เราไม่สามารถแยกส่วนประกอบของสารได้ด้วยวิธีทางกายภาพ)

6 เราสามารถแยกสารประกอบออกเป็นธาตุองค์ประกอบของมันด้วยวิธีทางเคมี
คือ สารที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเคมีของธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปด้วยอัตราส่วนที่คงที่ เราสามารถแยกสารประกอบออกเป็นธาตุองค์ประกอบของมันด้วยวิธีทางเคมี Water (H2O) Glucose (C6H12O6) Ammonia (NH3)

7 1.4

8

9 สถานะของสสาร ของแข็ง ของเหลว แก๊ส

10 ประเภทของสารเคมี สารเคมีอาหาร สารเคมีในอาหารและเครื่องดื่ม
สารเคมีในผลิตภัณฑ์ความงาม สารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สารเคมีในยาฆ่าแมลง สารเคมีพอลิเมอร์

11 สารเคมีอาหาร น้ำ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่

12 สารเคมีในอาหาร เครื่องดื่ม
น้ำตาล น้ำตาลเทียม (แอสปาแทม แซคคารีน ซอร์บิทอล) สารฟอกขาว กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก สีผสมอาหาร

13

14 สารฟอกขาว ถั่วงอก เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้เวลาผลิตสั้นเพียง วัน ในขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนสภาพได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อคงสภาพถั่วงอกให้มีความสดอยู่นานและสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ชอบถั่วงอกที่มีความกรอบขาว และอวบอ้วน รวมทั้งยังต้องการเร่งการงอกของถั่ว ผู้ผลิตจึงมีการใช้สารเคมีจำพวก สารเร่ง สารอ้วน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด (ฟอร์มาลิน) ซึ่งสารเคมีเหล่านี้กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาทและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้

15 โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ชื่อสารเคมี ชื่อพ้อง โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (Sodium hydrosulfite) มีชื่อตาม IUPAC คือ โซเดียมไดไธโอไนต์ (Sodium dithionite)       ชื่ออื่นๆ ได้แก่ Dithionous acid, disodium salt; Sodium dithionite hydrate; Sodium sulfoxylate; Reductone; Sulfoxylate; Virtex L; Hydrolin; D-Ox; Vatrolite; ผงซักมุ้ง สูตรโมเลกุล : Na2O4S2        คุณสมบัติ       เป็นสารเคมีที่เป็นพิษ ลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว มีกลิ่นฉุนกำมะถันอ่อนๆ ละลายได้ในน้ำ ไม่ละลายในแอลกอฮอล์ มีความหนาแน่น 2.19 กรัมต่อมิลลิลิตร จุดหลอมเหลว 52 องศาเซลเซียส มีความคงตัวดี แต่จะสลายตัวในน้ำร้อนและสารละลายที่เป็นกรด ในรูปสารละลายมีคุณสมบัติเป็นสารรีดิวซ์

16 กลไกการออกฤทธิ์ / การเกิดพิษ
กลไกการออกฤทธิ์ / การเกิดพิษ        - โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ มีคุณสมบัติเป็นสารรีดิวซ์ ดังนั้น จึงมีการประยุกต์ใช้ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการฟอกสี โดยเปลี่ยนสีที่ไม่ละลายน้ำให้เป็นรูปของ เกลือโลหะอัลคาไลที่ละลายน้ำได้ จึงสามารถกำจัดสีที่ไม่ต้องการได้        - สารนี้หากสัมผัสผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง - สัมผัสถูกตาจะก่อให้เกิดการระคายเคือง        - ถ้าหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกทางเดินหายใจ        - ถ้าบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ และกระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดหลัง ปวดศรีษะ อาเจียน ความดัน โลหิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หลอดลมหดตัว ทำให้หอบหืด ในผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้วอาจช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ หากบริโภคเกิน 30 กรัม อาจทำให้เสียชีวิตได้        - การได้รับสารติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้        - สารนี้ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง ประโยชน์       เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการฟอกสี เช่น กระดาษ เส้นใยไหม แห อวน และเครื่องหนัง

17 สารเคมีในผลิตภัณฑ์ความงาม
เครื่องสำอาง น้ำยาล้างเล็บ สารกันเสียในเครื่องสำอาง สบู่เด็ก น้ำยายืดผม ยาย้อมผม

18 เครื่องสำอาง

19 ปัจจุบันมีการใช้เครื่องสำอางผสม Alpha - Hydroxy Acids หรือ เอ เอช เอ (AHAs) เช่น กรดกลัยคอลิค (glycolic acid) กรดแลคติค (lactic acid) และ Beta – Hydroxy  Acids หรือ บี เอช เอ (BHAs) เช่น กรดซาลิซิลิค (salicylic acids) อย่างแพร่หลาย ในขณะที่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ เอ เอช เอ ได้แก่ อาการระคายเคืองเล็กน้อย แสบผิว ผิวหนังร้อนแดง มีตุ่มพอง และไหม้       AHAs [Alpha-Hydroxy Acids] และ BHAs [Beta-Hydroxy Acids] เป็นสารที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง แต่เนื่องจากสารทั้งสองกลุ่มนี้มิได้เป็นสารห้ามใช้ หรือสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางที่ผสมสารเหล่านี้และไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษหรือสารควบคุม จัดเป็นเครื่องสำอางทั่วไป มีวางจำหน่ายทั่วไปทั้งที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ       AHAs เป็นกรดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ บางครั้งเรียก กรดผลไม้ (fruit acid) เนื่องจากที่มาของกรดนี้ คือ glycolic acid มาจากน้ำอ้อย  lactic acid มาจากนมเปรี้ยว  citric acid มาจากมะนาว สับประรด  pyruvic acid  มาจากมะละกอ  malic acid  มาจากแอปเปิ้ล tartaric acid มาจากเหล้าองุ่น สารในกลุ่ม AHAs ที่นิยมใช้ในเครื่องสำอาง คือ glycolic acid และ lactic acid

20 BHAs ที่มีการกล่าวถึง คือ Salicylic acid ซึ่งใช้ในทางการแพทย์มานานแล้ว เป็นยาทาภายนอก  ใช้รักษาโรคผิวหนังที่มีลักษณะหนา แข็งกระด้าง เช่น Salicylic acid 6% + Benzoic acid 12% ใช้รักษาเชื้อราที่ผิวหนัง  Salicylic acid 10-12%, Salicylic acid 2-4% + Talcum ใช้โรยเท้าที่มีเหงื่ออกมากผิดปกติ       Salicylic acid ที่ใช้ในเครื่องสำอางนั้นใช้เพื่อเป็นสารระงับเชื้อในผลิตภัณฑ์  ทาผิวบริเวณที่แข็งกระด้าง เช่น ส้นเท้า/ข้อศอก ช่วยลดริ้วรอย จุดด่างดำได้บ้าง ให้ใช้ที่ความเข้มข้นไม่เกิน 2%

21 น้ำยาล้างเล็บ

22 ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำยาล้างเล็บคือ อะซีโตน หรือ Acetone
โดย อะซีโตนเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ ที่ไม่มีสี มีความเป็นพิษต่ำ ระเหยง่าย จึงมักถูกนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรม และใช้ในงานด้านเภสัชกรรม โดยอะซีโตนที่มีความเข้มข้นมากกว่า 80% มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ (antiseptic) ชื่อสารเคมี: อะซีโตน  Acetone C3H6O

23 สารกันเสียในเครื่องสำอาง
  สารกันเสีย (Preservative) เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อยีสต์ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องสำอางเสียง่าย เช่นการเติมในครีมทาผิวเพราะมีการแต่งกลิ่นและอาจใช้แป้งเป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดการบูดเสียได้        สารกันเสียที่ใช้สำหรับเครื่องสำอางมีหลายชนิด เช่น Bronopol (2-bromo-2-nitropropane-1,3-diol หรือ BNPD) ฟอร์มาดีไฮด์ (formaldehyde) อิมิดาโซลิดินิลยูเรีย (imidazolidinyl urea) เมทิลคลอโรไอโซไทอะโซลิโนน (methylisothiazolinone) ฟีโนซีเอทานอล  (phenoxyethanol) EDTA (ethylene diamine tetreacetic acid) สารกลุ่มพาราเบน (paraben) ได้แก่ เมทิลพาราเบน (methyl paraben) เอทิลพาราเบน (ethyl paraben) โพรพิลพาราเบน (propyl paraben) และ บิวทิลพาราเบน (butyl paraben)

24 สบู่ ยาย้อมผม

25 สบู่ สำหรับเด็กที่มีผิวบอบบางและแพ้ง่ายควรใช้สบู่ที่ปราศจากสารก่อความระคายเคืองและน้ำหอม ในปัจจุบันมีผู้ผลิตสบู่ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น wheat germ oil (ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามินอีจากธรรมชาติ) olive oil coconut oil palm kernel oil castor oil almond oil avocado oil สารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อผิวพรรณและปราศจากอันตรายนอกจากนี้ยังมีการนำ colloidal oat meal มาผสมในสบู่เด็กเพื่อลดอาการผิวแห้ง แพ้คัน เป็นต้น ในสบู่เด็กบางชนิดจะผสมกลิ่นหอมจากธรรมชาติ เช่น lavender และ chamomile

26 น้ำยายืดผม น้ำยายืดผม มีสารที่ใช้อยู่ 3 ชนิด คือ sodium hydroxide,
guanidine hydroxide   ammonium thioglycolate โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นรีแลกเซอร์ที่เป็นอันตราย เนื่องจากมีความเป็นด่างแรงที่สุด มี pH มีฤทธิ์กัด ควรจะใช้กับเส้นผมที่หยิกมากๆ ถ้าใช้ไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บแสบหนังศีรษะ เส้นผมแห้งและแตก guanidine hydroxide (ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นสารผสมระหว่าง calcium hydroxide และ guanidine carbonate)   ammonium thioglycolate มี pH มีความแรงน้อยกว่าโซเดียมไฮดรอกไซด์       

27 ยาย้อมผม ขวดที่ 1 ครีมสี เป็นของเหลวหรือครีม ซึ่งประกอบด้วยสีที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม ที่เรียกว่า สีออกซิเดชัน หรือสีพารา ได้แก่ พาราฟีนิลีนไดอะมีน (p-Phenylenediamine, PPD) และ พาราโทลูอีนไดอะมีน (p-Toluenediamine, PTD) ซึ่งอยู่ในสภาวะด่างจากการเติม แอมโมเนีย (Ammonia)         ขวดที่ 2 น้ำยาโกรก ประกอบด้วย 6% ของ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) ซึ่งทำหน้าที่ออกซิไดซ์ สีพาราให้เกิดสีย้อมผม หากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มีความเข้มข้นมากกว่า 6% จะทำลายเส้นผมและระคายเคืองหนังศีรษะ แต่ถ้าความเข้มข้นต่ำกว่านี้ก็จะไม่สามารถออกซิไดซ์สีพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ

28 สารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
ฟอร์มาลีน น้ำยาลบคำผิด น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาล้างห้องน้ำ สารขจัดการอุดตันในท่อน้ำทิ้ง

29

30 ฟอร์มาลีน ชื่อทางเคมี (Chemical Name) :  ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ชื่อพ้อง (Synonyms): Formaldehyde; Formalin; Methanal; Formic aldehyde; Methaldehyde สูตรเคมี (Chemical Formula): CH2O

31

32 น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาทำความสะอาดสารพัดประโยชน์และน้ำยาเช็ดกระจกหลายยี่ห้อมีแอมโมเนียเป็นส่วนผสม แอมโมเนียมีฤทธิ์เป็นด่างและสามารถกัดกร่อน มีสูตรเคมีคือ NH3 ซึ่งปกติจะอยู่ในสถานะก๊าซไม่มีสีที่มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว แต่เมื่อละลายน้ำจะอยู่ในรูปสารละลายของแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH)

33 น้ำยาลบคำผิด   ปัจจุบันน้ำยาลบคำผิดได้เข้ามาแทนที่ยางลบมากขึ้น เนื่องจากใช้สะดวก ไม่ต้องออกแรง แถมยังไม่ต้องอารมณ์เสียกับปัญหากระดาษเปื่อยหรือขาดอีกด้วย ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์น้ำยาลบคำผิดจำหน่ายหลายยี่ห้อและรูปแบบ เช่น บรรจุในขวด หรือ ในปากกา โดยอาจมีส่วนผสมโดยละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง แต่ทั่วไปจะประกอบด้วยสารทึบแสงซึ่งช่วยปิดทับคำผิด เช่น titanium dioxide   ตัวทำละลาย เช่น น้ำ ตัวทำละลายอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย สารที่ช่วยให้สารทึบแสงกระจายตัวได้ในตัวทำละลาย และอาจแต่งสีบ้าง ส่วนประกอบที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์นี้เองที่อาจมีผลต่อสุขภาพของผู้ใช้หากมีการใช้ไม่ถูกต้องหรือมีการสัมผัสอย่างต่อเนื่องนานๆ

34 ตัวทำละลายอินทรีย์ที่นิยมใช้ในน้ำยาลบคำผิดได้แก่ เมธิลคลอโรเฮกเซน (methylchlorohexane) Methylchlorohexane ชื่ออื่นๆ: chlorohexylmethane, hexahydrotoluene, toluene hexahydride

35 สารขจัดการอุดตันในท่อน้ำทิ้ง
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) ชื่อพ้อง   โซดาไฟ, โซดาไฮเดรท, โซดาแผดเผา, Caustic soda, Sodium hydrate, Lye, Soda lye, Caustic flake สูตรโครงสร้างทางเคมี    NaOH                       มวลโมเลกุล    40.00 ความเข้มข้นในผลิตภัณฑ์ขจัดสิ่งอุดตันในท่อน้ำทิ้ง       ในรูปของแข็ง   ประมาณ 53-55% โดยน้ำหนัก       ในรูปสารละลาย   ประมาณ 24-25% โดยน้ำหนัก การเกิดพิษ       เกิดจากการรับประทาน การสัมผัส หรือการสูดดมไอระเหย  ที่เข้มข้นหรือมากเกินไป      

36 น้ำยาล้างห้องน้ำ กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ คือ HCl
ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำจะมีกรดไฮโดรคลอริกร้อยละ 8 ถึงร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ชะล้างรอยเปื้อนภายใน 5 นาที กรดไฮโดรคลอริกมีคุณสมบัติเป็นกรดแก่ ทำปฏิกิริยากับหินปูน(แคลเซียม) เกิดฟองฟู่ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสามารถกัดกร่อนโลหะได้เป็นอย่างดี จึงใช้ผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำเพื่อขจัดคราบที่เกิดจากการตกตะกอนของอนุภาคโลหะซึ่งเป็นคราบ ขาวเทา หรือคราบสนิมสีส้ม ตามผนังและพื้นห้องน้ำได้ นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอ่าง กระเบื้อง และโถส้วม กรดฟอสฟอริก สารลดแรงตึงผิว เช่น Nonylphenol, Linear Alkyl Benzene Sulfonate (LAS)

37

38 สารเคมีอันตรายในบุหรี่

39

40 พิษที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน

41 ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน
ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนที่มักก่ออันตราย น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค สารเคมีในเครื่องปรับอากาศ

42 1.เอทิลลีนกลัยคอล (Ethylene glycol)
ละลายน้ำได้ดี นิยมใช้เป็นสารเคมีในเครื่องปรับอากาศ : สารต้านเยือกแข็ง สัตว์กินโดยบังเอิญ ดูดซึมผ่านทางเดินอาหารอย่างรวดเร็ว พบสารพิษในกระแสเลือด ภายใน 1-4 ชั่วโมง ตรวจพบในเลือดและปัสสาวะ ภายใน 4 ชั่วโมง

43 ตกตะกอนเป็นผลึกตามผนังหลอดเลือดและไต
Ethylene glycol กลไกการเกิดพิษ เอทิลลีนกลัยคอล เมตาบอไลส์ กลัยซีน กรดฟอร์มิก กรดออกซาลิก +แคลเซียมในเลือด +กรดเบนโซอิก คาร์บอนไดออกไซด์ กรดฮิบพูริก ตกตะกอนเป็นผลึกตามผนังหลอดเลือดและไต ขับออกทางปัสสาวะ ขับออกทางลมหายใจ

44 อาการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 (1-4 ชม.หลังกินสารพิษ)
กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะมาก กระหายน้ำ ระยะที่ 2 (4-6 ชม.หลังกินสารพิษ) ซึม อาเจียน ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ระยะที่ 3 ไตวาย ตาย

45 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
pH ของเลือดต่ำกว่า 7.3 การทำงานของไตผิดปกติ : ยูเรีย ผลึกของแคลเซียมออกซาเลต สารตกค้างในเลือด ปัสสาวะ และเนื้อเยื่อของไต

46 รอยโรค กระเพาะอักเสบ และเยื่อเมือกมีเลือดออก ลำไส้อักเสบ
ปอดมีเลือดออก และบวมน้ำ ไตมีสีซีดลง พบผลึกออกซาเลทสีเหลืองอ่อน ตามผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และผนังท่อไต

47 การรักษา ให้กิน activated charcoal ภายใน 4 ชม.หลังกินสารพิษ
ให้ 20% ethanal ภายใน 18 ชม.หลังกินสารพิษ สุนัข 5.5 mg/kg IV แมว 5.0 mg/kg IV รักษาตามอาการ เช่น ให้สารน้ำ เพื่อเพิ่มการขับปัสสาวะ ให้สเตียรอยด์ เพื่อแก้ไขสภาพปอดบวมน้ำ และช็อค

48 2.ฟีนอล และครีซอล (Phenol & Cresol)
มักพบเป็นส่วนผสมในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และน้ำยาทำความสะอาด ถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง หรือการกิน แมว : เกิดการแพ้มาก ระคายเคือง และเป็นก้อนเนื้อตาย สะสมในตับ และไต มีผลกระตุ้นศูนย์การหายใจ เกิดการหอบ

49 อาการ สัมผัส : เจ็บปวด แผลเปื่อย และก้อนเนื้อตาย แสดงอาการทางประสาท
ตับ และเม็ดเลือดถูกทำลาย เกิดภาวะดีซ่าน

50 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจปัสสาวะ พบโปรตีน เลือด และเซลล์เยื่อบุท่อไตปนอยู่ สารตกค้างของฟีนอล และครีซอลในปัสสาวะ ปัสสาวะ 10 มล. + 20% เฟอริกคลอไรด์ 1 มล. = สีม่วง ตรวจค่าเอนไซม์ของตับ เช่น GSOT และ SGPT

51 รอยโรค แผลเปื่อย หรือเนื้อตาย การอักเสบบริเวณผิวหนัง และทางเดินอาหาร
ไตซีด และบวม ตับมีเลือดออก และหย่อมเนื้อตาย

52 การรักษา ให้กินผงถ่าน หรือไข่ขาว เพื่อจับกับฟีนอล ให้พิษเจือจางลง
ล้างบริเวณที่ถูกสารพิษด้วยสบู่ และทาด้วยกลีเซอรอล รักษาตามอาการ


ดาวน์โหลด ppt สารเคมีในชีวิตประจำวัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google