ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครงการเด็กไทยสายตาดี
แนวทางการฝึกอบรมการคัดกรองระดับการเห็นในเด็กให้แก่คุณครู
2
การฝึกอบรมวิธีการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติในเด็ก
แนะนำโครงการ ผู้บรรยายและทีมผู้ฝึกสอน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ บรรยายภาคทฤษฎี เรื่องโรคตาในเด็กที่พบบ่อย และวิธีการวัดระดับสายตา แจกคู่มือการคัดกรองระดับการเห็น อุปกรณ์การคัดกรองให้คุณครู ฝึกภาคปฏิบัติ เน้นฝึกทำจริงทุกคน ชี้แจงเรื่องระยะเวลาการคัดกรอง วิธีการส่งผลการคัดกรอง ทำความตกลงเรื่อง การส่งเด็กที่คัดกรองว่าผิดปกติตรวจวินิจฉัยและรักษาที่โรงพยาบาล (จำนวนเด็ก จำนวนครั้ง ช่วงเวลา)
3
เทคนิคการบรรยาย พูดเสียงดังฟังชัด ไม่ใช้ศัพท์ทางการแพทย์หรือศัพท์เทคนิค สังเกตการตอบสนองจากผู้เข้าอบรม เพื่อประเมินความสนใจ และความเข้าใจ ให้เน้นความสำคัญของโครงการนี้ เพื่อดึงความสนใจสู่การบรรยาย การโต้ตอบระหว่างผู้บรรยายและผู้เข้าอบรม ขณะบรรยายจะช่วยดึงความสนใจมากขึ้น เน้นการฝึกปฏิบัติจริงให้มาก ผู้เข้าอบรมจะเข้าใจและมั่นใจมากขึ้น หากผู้เข้าอบรมเข้าใจและสามารถวัดระดับการเห็นได้อย่างถูกต้องจะเป็นการช่วยลดจำนวนเด็กที่คัดกรองเป็นผลบวกปลอม (false positive) ลง
4
ชี้แจงโครงการ ชื่อโครงการ วัตถุประสงค์
โครงการเด็กไทยสายตาดี (การคัดกรองและแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติสำหรับเด็กในประเทศไทย) วัตถุประสงค์ เพื่อจัดการอบรมการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติในเด็กให้แก่คุณครู เพื่อจัดบริการคัดกรอง ค้นหาปัญหาสายตาสำหรับเด็กในประเทศไทยโดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายบริการส่งเสริมสุขภาพ รักษาและป้องกันภาวะสายตาผิดปกติในเด็กในระดับจังหวัดและในระดับประเทศ เพื่อให้แว่นที่ถูกต้องตามสายตาแก่เด็กที่จำเป็นต้องใส่แว่นฟรี และให้การรักษาโรคตาอื่นๆ ในเด็ก
5
การคัดกรองการเห็นในเด็กมีความสำคัญอย่างไร?
เด็กที่มีสายตาผิดปกติอาจจะถูกมองว่าดื้อรั้นหรือโง่ เด็กที่เกิดมาพร้อมภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น, ยาว หรือเอียง) จะไม่รู้ว่าตนเองตามัวเพราะเห็นอย่างนี้มาตั้งแต่เกิด ผู้ปกครองก็ไม่ทราบ จนกระทั่งโตขึ้นมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการเรียน จึงค่อยเรียนรู้ว่าตนเองเห็นไม่เหมือนคนอื่น แล้วพยายามหาทางแก้ไข แต่หารู้ไม่ว่าเมื่อถึงเวลานั้น....อาจสายเกินไป และอาจจะมองไม่ชัดอีกเลยตลอดชีวิต ทำไมคุณครูต้องเป็นผู้คัดกรอง? จำนวนบุคลากรสาธารณสุขมีจำกัด เด็กนักเรียนมีจำนวนมาก คุณครูเป็นผู้ใกล้ชิด สามารถสังเกตพฤติกรรมเด็กขณะเรียนได้ สามารถคัดกรองได้ต่อเนื่องทุกปี
6
ขอบเขตการบรรยาย ส่วนประกอบของตาและพัฒนาการตามอายุ โรคตาที่พบบ่อยในเด็ก
ภาวะสายตาผิดปกติ การวัดระดับสายตาในเด็ก
7
การเห็นเกิดขึ้นได้อย่างไร
(1) กระจกตา(Cornea ) เลนส์แก้วตา ( Lens) จุดรับภาพ (Macula) Retina เส้นประสาทตา ( Optic N) (2) (3) จอประสาทตา (Retina ) (5)น้ำวุ้นตา (Vitreous) (4) (6)
8
พฤติกรรมการเห็นปกติ 1 เดือนแรก มองตามไฟ จ้องหน้ามารดา
1 เดือนแรก มองตามไฟ จ้องหน้ามารดา 2-3 เดือน อ่านริมฝีปากมารดาได้ สนใจวัตถุสดใสและเคลื่อนไหว 3-6 เดือน จ้องมองมือตัวเอง กวาดตาจากข้างไปอีกข้างได้ เอื้อมมือ หยิบได้ 7-10 เดือน สนใจรูปภาพ หยิบขึ้นมาได้โดยใช้สองนิ้ว 11-12 เดือน สามารถจำผู้คนได้ จำภาพต่างๆได้ เล่นซ่อนหา 2 ปี จับคู่วัตถุที่มีรูปร่างหรือสีเหมือนกันได้ ชี้รูปตามสั่งได้ 2-5 ปี ต่อภาพจิ๊กซอว์อย่างง่ายได้ วาดภาพวงกลมได้ 5-7 ปี มีการพัฒนาต่อเนื่องขึ้นกับการรับรู้ ประสบการณ์
9
พฤติกรรมการเห็นที่ผิดปกติ
ไม่จ้องตา อายุ 2-3 เดือน ควรมองหน้ามารดาเมื่อกินนม ตาสั่น แสดงถึงปัญหาตามัว ที่เกิดก่อน 2 ปี ตาลอยไร้จุดหมาย แสดงถึงตามัวมาก
10
การตรวจตา ให้มองหาสิ่งต่อไปนี้
ดูลักษณะของดวงตาทั้งสองข้าง รูปร่าง ขนาด ความใส มีน้ำตา ตาแดง ขี้ตา แสบตา คันตา การเคลื่อนไหวตาสองข้างไปด้วยกันหรือไม่ ตามองตรงทั้งสองข้างหรือไม่ เวลาดูต้องหยีตาหรือไม่ การกระพริบตาบ่อย ขยี้ตา ดูระยะใกล้มากผิดปกติหรือไม่ ต้องเดินเข้ามาใกล้เวลาดูกระดาน ลักษณะของศีรษะ เอียง หรือก้มชิดโต๊ะเวลาอ่าน EYE CARE FOR CHILDREN
11
โรคตาในเด็ก ตาปกติ
12
โรคตาติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็ก
โรคตาแดง โรคภูมิแพ้ ทำให้มีอาการคันตา,เยื่อบุตาบวม มักเป็นๆหายๆ 2 ตา ติดเชื้อไวรัส มักมีการระบาดเพราะติดต่อกันง่าย ทำให้มีอาการตาแดง,มีน้ำตาไหล, ขี้ตาเป็นเมือก ติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีอาการตาแดง ขี้ตามาก เหนียว สีเขียวเหลือง
13
โรคตาแดง หยุดไปโรงเรียน อย่าขยี้ตา ล้างมือบ่อยๆ
อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น
14
ตากุ้งยิง เป็นการอักเสบของต่อมน้ำตาที่เปลือกตา ทำให้เห็นการอักเสบบริเวณเปลือกตา จะแบ่งเป็นแบบด้านนอกและแบบด้านใน
15
ตากุ้งยิง การป้องกันการเป็นซ้ำ
แนะนำการหลีกเลี่ยงฝุ่นหรือเชื้อโรคเข้าตา การใช้มือที่ไม่สะอาดขยี้ตา
16
อุบัติเหตุทางตา ชนิดที่เกิดจากสิ่งมีคมทำให้เกิดแผลแตก รอยขาดหรือรอยทะลุที่ส่วนต่างๆของลูกตา ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุแท่งไม้ ปากกา ดินสอทิ่มตา เป็นต้น ชนิดที่เกิดจากการกระทบกระแทกจากของไม่มีคม เช่น ถูกต่อย หรือ จากการเล่นกีฬาบางอย่าง เช่นลูกแบดมินตัน เทนนิส ปืนอัดลม หนังสติ๊ก ชนิดที่เกิดจากสารเคมี กรด ด่างชนิดต่างๆ ของเหลวที่สกปรก
17
การดูแลเบื้องต้น ของมีคม ของแข็ง ชนิดของเหลว ห้ามขยี้ตา ห้ามล้างตา
ห้ามหยอดหรือป้ายยา ห้ามใช้ผ้าหรือมือกดตา ชนิดของเหลว ล้างตาด้วยน้ำสะอาดเร็วที่สุด ห้ามขยี้ตา ห้ามใช้ผ้าหรือมือกดตา
18
ตาผิดปกติ ต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด กระจกตาขุ่น มะเร็งจอประสาทตา (ตาวาว)
19
ตาเข หรือ ตาเหล่ ตาเข คืออะไร
ตาเข คือ ภาวะที่ตาทั้งสองไม่อยู่ในแนวตรงตามธรรมชาติ ไม่ได้มองไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้ตาข้างหนึ่งในการมอง แต่อีกข้างกลับหันเข้าด้านหัวตา หรือเฉออกไปทางหางตา หรือลอยขึ้นบน ลงล่าง อาจจะเป็นตาใดตาหนึ่ง หรือสลับข้างกันไปมา โดยที่เจ้าตัวไม่ค่อยรู้สึก ไม่รู้ว่าใช้ตาไหนมอง เพราะความเคยชิน ถ้าตาเขเกิดขึ้นหลังอายุ 8 ปี ซึ่งมีการพัฒนาการมองเห็นเต็มที่แล้วจะมีภาพซ้อนเกิดขึ้น
20
ตาเขเข้า ตาเขออก
21
ตาเขปลอม
22
ตาขี้เกียจ ตาขี้เกียจ (Amblyopia หรือ lazy eye) หมายถึง
ภาวะที่ตาข้างนั้นๆมองเห็นได้ไม่ดี เนื่องจากมีโรคทางตาที่ทำให้การพัฒนาด้านสายตาของข้างนั้นในวัยแรกเกิดถึงประมาณ 6 ปี ถูกขัดขวางหรือหยุดไป สาเหตุ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีตาเข ผู้ป่วยที่มีสายตาผิดปกติมากๆ อาจจะสายตาสั้น ยาว หรือเอียงมากทั้งสองข้าง ผู้ป่วยที่มีสายตาสองข้างแตกต่างกันมาก ทำให้ตาข้างที่สายตาผิดปกติมากเห็นภาพมัวลง จนเกิดสายตาขี้เกียจได้ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตา ทำให้ภาพหรือแสงไปกระตุ้นได้ไม่เต็มที่ เช่น ผู้ป่วยเด็กที่เป็นต้อกระจก
23
เด็กมีตาขี้เกียจข้างขวา
24
ภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive error)
คือ ความผิดปกติที่เกิดจากการที่แสงตกกระทบผ่านกระจกตาและเลนส์แก้วตา โดยที่การรวมแสงไม่พอดีกับความยาวของลูกตา ทำให้แสงที่ตกกระทบไม่โฟกัสที่จอประสาทตาจึงมองเห็นไม่ชัดเจน ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง แก้ไขได้ด้วยการใส่แว่นสายตา
25
การหักเหของแสง
29
(โปรดดูคู่มือประกอบ)
การวัดระดับสายตา (โปรดดูคู่มือประกอบ)
30
“ระดับสายตา” หรือ “Visual acuity” (VA)
หมายถึง ความสามารถในการแยกความแตกต่างที่น้อยที่สุดระหว่างวัตถุสองชิ้น หรือโดยทั่วไปหมายถึงความคมชัดของสายตานั่นเอง
31
ทดสอบสายตาที่ระยะ 20 ฟุตหรือ 6 เมตร ในเด็กประถม
การเตรียมสถานที่ ทดสอบสายตาที่ระยะ 20 ฟุตหรือ 6 เมตร ในเด็กประถม ทดสอบที่ระยะ 10 ฟุต หรือ 3 เมตรในเด็กอนุบาล เมตร
32
เครื่องมือ
33
แผ่นทดสอบสายตาในเด็กอนุบาล
Lea chart ทดสอบที่ระยะ 3 เมตร
34
Lea symbols
35
แผ่นทดสอบสายตาในเด็กประถม Snellen chart (ทดสอบที่ระยะ 6 เมตร)
20/200 20/100 20/70 20/50 20/40 20/30 20/20
36
ไม้บังตา
37
ให้เด็กปิดตาทีละข้างอ่านตัวเลขบนแผ่นป้าย ควรเริ่มด้วยการใช้ตาขวาอ่านก่อนเสมอ
38
การวัดระดับสายตา ทดสอบตาขวาก่อน (ไม้บังตาซ้าย)
ให้เด็กอ่านทีละแถว จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา (มาตรฐาน) การสุ่มเลือกให้อ่าน การจับคู่ภาพ อ่านจากล่างขึ้นบน สลับมาทดสอบตาซ้าย (ไม้บังตาขวา) หากมีแว่นให้ใส่แว่นทดสอบหลังจากอ่านด้วยตาเปล่าแล้วอีกครั้ง
39
การบันทึกระดับสายตา (Visual acuity, VA)
การบันทึกการทดสอบสายตา ต้องบอกว่าเป็นตาข้างใด มองด้วยตาเปล่าเห็นเท่าใด มองด้วยแว่นตาที่มีเห็นได้เท่าใด
40
การบันทึกผลการวัดสายตาประกอบด้วย 2 ส่วน
เศษ คือระยะที่ผู้ป่วย มองเห็น ส่วน คือระยะที่คนปกติ เช่น 20/20, 20/200 หรือ 6/6, 6/60
41
การบันทึก เขียนบวก (+) ในกรณีอ่านแถวถัดไปได้ไม่ถึงครึ่ง เช่น 20/70+2 เขียนลบ (-) ในกรณีอ่านผิดในแถวนั้นน้อยกว่าครึ่ง เช่น 20/50-2 20/200 20/100 20/70 20/50 20/40 20/30 20/20
42
ตัวอย่างการบันทึก ข้อควรระวัง ปิดตาไม่สนิท / แอบมอง ตาขวา ตาซ้าย VA
ข้อควรระวัง ปิดตาไม่สนิท / แอบมอง ตัวอย่างการบันทึก ตาขวา ตาซ้าย VA 20/70+2 20/50-2 VA + gl 20/40 20/20-3
43
ตัวอย่างการแปลผล
44
O P P P P P ตัวอย่างที่ 1 20/200 20/100 P P P P 20/70 P P P P P 20/50
20/40 20/30 20/20 P P P P P P P P P P P P O
45
เฉลย 20/50
46
O P P O O P P P ตัวอย่างที่ 2 20/200 20/100 P P P P 20/70 P P P 20/50
20/40 20/30 20/20 P P P P P P P O O P P P O
47
เฉลย 20/50-2
48
O P P O O O P P P ตัวอย่างที่ 3 20/200 20/100 P P P P 20/70 P P 20/50
20/40 20/30 20/20 P P P P P P P O O O P P O
49
เฉลย 20/70+2
50
ตัวอย่างที่ 4 20/200 20/100 20/70 20/50 20/40 20/30 20/20 O
51
เฉลย < 20/200
52
O P P O O P P P O O O O ตัวอย่างที่ 5 20/200 20/100 P P P 20/70 P P P
20/50 20/40 20/30 20/20 P P P O P P P O P P P P O O O O P P O
53
เฉลย 20/50+2
54
เกณฑ์ตัดสินว่าผิดปกติ
ต้องวัดสายตาประกอบแว่น หรือต้องตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม ได้แก่ กรณีวัดด้วย Lea chart (เด็กอนุบาลหรือเด็กอ่านตัวเลขไม่ได้) VA < 20/40 ในตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ตาทั้งสองข้างมองเห็นต่างกันตั้งแต่ 2 แถว เป็นต้นไป กรณีวัดด้วย Snellen chart (เด็กประถมที่อ่านตัวเลขได้) VA < 20/30 ในตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือ
55
การฝึกปฏิบัติ แบ่งคุณครูเป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 10 คน
จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมติด Snellen chart หรือ Lea chart ไว้ที่ผนังที่มีแสงสว่างมากพอ และไม่มีแสงสะท้อน วัดระยะจากแผ่นทดสอบห่างออกไป 6 เมตร (Snellen chart)หรือ 3 เมตร (Lea chart) ทำเครื่องหมายไว้ ให้คุณครูวัดสายตาครูในกลุ่ม โดยแสดงเป็นครู และนักเรียน ทีละคนจนครบทุกคน อย่างน้อยควรได้ฝึกวัดคนละ 2 รอบ มีพี่เลี้ยง (ครู ก. หรือผู้ช่วย) คอยให้คำแนะนำ และตอบข้อสงสัยตลอดการฝึกปฏิบัติ
56
หลังการบรรยายและฝึกปฏิบัติ
กำหนดช่วงเวลาการคัดกรอง และการส่งผลการคัดกรอง กำหนดเวลาและจำนวนเด็กที่คัดกรองผิดปกติส่งมาตรวจที่โรงพยาบาล แจกแบบฟอร์มรายงานผลการคัดกรองให้แก่ผู้ปกครอง ถาม-ตอบ ปัญหาต่างๆ และหาวิธีแก้ไข
57
Thank you for your attention
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.