งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี

2 การบัญชี (Accounting)
การจัดทำระบบข้อมูลทางการเงินของกิจการเพื่อให้ได้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจแก่ผู้ใช้งบการเงิน โดยกระบวนการเพื่อให้ได้มาเพื่อข้อมูลที่ต้องการต้องมี การจดบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทาง เศรษฐกิจ จัดหมวดหมู่ของรายการที่เกิดขึ้น สรุปผล และแปลความของผลการดำเนินงานดังกล่าว

3 1. การระบุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนทางการบัญชี 1. การระบุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Identifies) 2. การจดบันทึก(Records) 3. การสื่อสาร (Communicates)

4 เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis)
รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีจะรับรู้เมื่อเกิดขึ้น ไม่ใช่เมื่อมีการรับหรือจ่ายเงินสด หรือได้รับหรือ จ่ายสิ่งซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในอนาคต

5 Cash Basis Cash basis calls for the recognition of an expense when the cash is paid, regardless of when the expense was actually incurred

6 Accrual Basis In accrual basis accounting, income is reported in the fiscal period it is earned, regardless of when it is received, and expenses are deducted in the fiscal period they are incurred, whether they are paid or not. In other words, both revenues and expenses are recorded when they occur. In accrual basis, the matching principle states that expenses should be recorded during the period in which they are incurred, regardless of when the transfer of cash occurs

7 Accruals-The Cornerstone
Illustration - Case Facts Establish company and invest $700 equity Purchase 100 plain T-shirts for $5 each Fixed screen cost of $100 Variable print cost of $0.75 per T-shirt Sold 25 T-shirts at $10 each for cash Sold 25 T-shirts at $10 each on credit

8 Accruals- The Cornerstone
Case Illustration – Cash Accounting Receipts Assets T-Shirt sales $250 Cash $275   Payments T-Shirt purchases $500 Equity Screen purchase Beginning Equity $700 Printing charges Less net cash outflow (425) Total payments $(675) Total equity $275 Net cash outflow $(425) Statement of Cash Flows Balance Sheet (Cash basis)

9 Accruals-The Cornerstone
Case Illustration – Accrual Accounting Revenues Assets T-Shirt sales $ Cash $275.00 T-Shirt inventory Expenses Receivables T-Shirts costs $ Total assets $862.50 Screen depreciation 50.00 Printing charges Equity Total expenses (337.50) Beginning equity $700.00 Add net income Net income $ Total equity $862.50 Balance Sheet (Accrual basis) Income Statement

10 มาตรฐานรายงานทางการเงินของไทย
(Thai Financial Reporting Standards: TFRS) มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Thai Financial Reporting Standard for Publicly Accountable Entities :TFRS for PAEs) มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Thai Financial Reporting Standard for Non-Publicly Accountable Entities: TFRS for NPAEs)

11 PAEs (Publicly Accountable Entities)
กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ซื้อขายในตลาดสาธารณะ หรือกิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการนำส่งงบการเงินให้ สำนักงานคณะกรรมการ กลต. หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อ ออกขายหลักทรัพย์ใดๆ ในตลาดสาธารณะ กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่ม บุคคลภายนอกในวงกว้าง บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน

12 NPAEs (Non-Publicly Accountable Entities)
ผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามมาตรา 8 พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ และ กิจการที่ไม่ใช่ PAEs

13 มาตรฐานรายงานทางการเงินของไทย
(Thai Financial Reporting Standards: TFRS) TFRS for PAEs PAEs TFRS for NPAEs NPAEs

14 อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 สภาวิชาชีพบัญชีซึ่งเป็น หน่วยงานในการออกมาตรฐานรายงานทางการเงินของไทย กำลังเตรียมความพร้อมในการนำมาตรฐานรายงานทาง การเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (Thai Financial Reporting Standard for Small and Medium Enterprise :TFRS for SME) ใช้สำหรับ รายงานทางการเงินของกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม

15 กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน
เพื่อให้กฎระเบียบ มาตรฐานการบัญชีแต่ละฉบับและ กระบวนการเกี่ยวกับการจัดทำและนำเสนองบการเงินมี ความสอดคล้องกัน อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการรายงานทางการเงินและ ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินที่มี ประโยชน์

16 วัตถุประสงค์ของการรายงานทางการเงิน
เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้ใช้ หลัก (Primary Users) ได้แก่ ผู้ลงทุน ผู้ให้กู้ยืม และเจ้าหนี้อื่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต หรือเรียกว่า วัตถุประสงค์ทั่วไป (The Objective of General Purpose Financial Reporting)

17 (The Objective of General Purpose Financial Reporting)
วัตถุประสงค์ทั่วไป (The Objective of General Purpose Financial Reporting) 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน 2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกิจการ งบกำไรขาดทุน 3. ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานที่ถูกสะท้อนด้วยกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด

18 ลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินที่มีประโยชน์
ลักษณะที่ทำให้ข้อมูลมีประโยชน์สูงสุดในการตัดสินใจ เชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน ประกอบด้วย ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน (Fundamental Qualitative Characteristics) และ ลักษณะเชิงคุณภาพเสริม (Enhancing Qualitative Characteristics)

19

20 1) องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับฐานะการเงิน
องค์ประกอบของงบการเงิน (The Elements of Financial Statements) 1) องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับฐานะการเงิน สินทรัพย์ (Assets) หนี้สิน (Liabilities) ส่วนของเจ้าของ (Equity) 2) องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลการดำเนินงาน รายได้ (Income) ค่าใช้จ่าย (Expenses) 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน 3. ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานที่ถูกสะท้อนด้วยกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด

21 สินทรัพย์ (Assets) ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ซึ่งเป็นผลมาจาก เหตุการณ์ในอดีต ไม่ว่ามาจากการซื้อ การผลิต หรือการรับ บริจาคก็ตาม แต่ต้องไม่รวมถึงรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยที่กิจการที่คาดว่าจะได้รับ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากทรัพยากรนั้น สินทรัพย์ของกิจการไม่จำเป็นต้องเป็นทรัพยากรที่กิจการมี กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย แต่หากกิจการสามารถควบคุมประโยชน์ ที่คาดว่าจะได้รับจากทรัพยากรนั้น ทรัพยากรนั้นทางบัญชีจะ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน

22 หนี้สิน (Liabilities) ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีต เช่น การซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน การขายสินค้าพร้อมกับการรับประกันภายหลังการขาย โดยที่กิจการคาดว่าจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการชำระภาระผูกพันนั้น ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นอาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น การจ่ายเงินสด การโอนสินทรัพย์อื่น การให้บริการ การเปลี่ยนภาระผูกพันเดิมเป็นภาระผูกพันใหม่การแปลงหนี้เป็นทุน 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน

23 ส่วนของเจ้าของ (Equity) ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งหมดออกแล้ว เช่น หุ้นสามัญ กำไรสะสม เป็นต้น ทั้งนี้ มูลค่าของส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงินมักไม่เท่ากับราคาตลาดของหุ้นทั้งหมดที่อยู่ในมือของผู้ถือหุ้น เนื่องจากการวัดมูลค่าของส่วนของเจ้าของขึ้นอยู่กับการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงด้วยราคาตลาดของสินทรัพย์และหนี้สินนั้น 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน

24 รายได้ (Revenue) การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงานในรูปของกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น แต่ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ตัวอย่างรายการรายได้ เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้ดอกเบี้ย รายได้เงินปันผล รายได้ค่าเช่า 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน

25 ค่าใช้จ่าย (Expenses) การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงานในรูปของกระแสออกหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง แต่ต้องไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ตัวอย่างรายการค่าใช้จ่าย เช่น ต้นทุนขาย ค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงาน ทั้งนี้ผลขาดทุนถือเป็นรายการที่เป็นค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกัน 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน

26 ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน
(Underlying Assumption) การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern) กิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ต่อไปใน อนาคต (กิจการไม่มีเจตนาหรือมีความจำเป็นที่จะเลิก กิจการหรือลดขนาดการดำเนินงานอย่างมีสาระสำคัญ) หากกิจการมีเจตนาหรือมีความจำเป็นดังกล่าว งบ การเงินต้องจัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์อื่น และต้องเปิดเผย หลักเกณฑ์ที่ใช้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย

27 จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
กรอบความประพฤติและวิธีปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ที่ต้องยึดปฏิบัติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงไว้ซึ่ง - ความเชื่อมั่นจากผู้รับบริการ - ความเชื่อถือได้ในผลงาน - ความเป็นมืออาชีพ - คุณภาพของงานบริการ 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน 3. ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานที่ถูกสะท้อนด้วยกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด

28 จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
หลักการพื้นฐานเป็นแนวคิดหลักการสำคัญของจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ประกอบด้วย 1) ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรมและ ความซื่อสัตย์สุจริต 2) ความรู้ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน 3) ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ และการรักษาความลับ 4) ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคล หรือนิติบุคคลที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้ 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน 3. ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานที่ถูกสะท้อนด้วยกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด

29 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี
1. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี 2. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 นิยามของ "วิชาชีพบัญชี” กำหนดให้มีสภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Professions) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 1. ให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการและสิทธิเรียกร้องต่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงิน 3. ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานที่ถูกสะท้อนด้วยกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด


ดาวน์โหลด ppt หลักการและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google