งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการต้นทุนการขนส่งสินค้าทางทะเล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการต้นทุนการขนส่งสินค้าทางทะเล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการต้นทุนการขนส่งสินค้าทางทะเล
จัดทำโดย นายจักนรินทร์ แก้วกงพาน สาขาโลจิสติกส์ รหัส25334 นายกันตินันท์ มุ่งเกิด สาขาโลจิสติกส์ รหัส24999 นายกฤติน รอดสวัสดิ์ สาขาโลจิสติกส์ รหัส25292 นางสาวภัทรนันท์ ทองประสูติ สาขาโลจิสติกส์ รหัส25322 นายพีรวัส ทัดเกิด สาขาโลจิสติกส์ รหัส25332 นายศราวุธ พูลพะไล สาขาโลจิสติกส์ รหัส25457

2 keyword SHIP OWNER เจ้าของเรือ SHIP CHARTERER ผู้เช่าเรือ
SHIPPING AGENT & FREIGHTFORWARDER ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ SHIPPER or EXPORTER ผู้ส่งสินค้า CONSIGNEE ผู้รับตราส่ง NOTIFY PARTY ผู้รับสินค้า SHIPPING SCHEDULE ตารางเดินเรือ FREIGHT CHARGE ค่าระวางเรือ

3 ต้นทุนคงที่(Fixed cost)ของการขนส่งทางทะเล
 เปิดประเด็น  ต้นทุนคงที่(Fixed cost)ของการขนส่งทางทะเล ต้นทุนผันแปร(Variable cost)ของการขนส่งทางทะเล รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล ตารางเดินเรือ (SHIPPING SCHEDULE) ค่าระวางเรือ (FREIGHT CHARGE)

4 การขนส่งทางทะเลจะมีความประหยัดด้วยขนาดในการส่งแต่ละเที่ยวได้มาก ทำให้มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการขนส่งทางถนนและทางรางการขนส่งทางทะเลมี 2 รูปแบบคือ รูปแบบการขนส่งเดี่ยว นั่นคือ การให้บริการขนส่งโดยที่เรือแต่ละลำจะรับผิดชอบในการจัดหาสินค้าและดำเนินการจัดส่งด้วยตนเองตลอดเส้นทาง อีกรูปแบบหนึ่งเป็นการดำเนินการจนส่งในลักษณะของสายการเดินเรือ คือการเดินเรือที่ผู้ให้บริการมีเรือในสังกัดจำนวนมาก และมีความหลากหลายของประเภทและขนาดของเรือ ให้บริการในรูปแบบการจัดสรรเส้นทางการเดินเรือ โดยมีการกำหนดเส้นทางและตารางการเดินเรือในแต่ละสายที่ชัดเจน

5 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ได้แก่
เจ้าของเรือ (Ship Owner) ผู้เช่าเรือ (Ship Charterer) ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Shipping Agent & Freight Forwarder) ผู้ส่งสินค้า (Shipper or Exporter) ผู้รับตราส่ง (Consignee) ผู้รับสินค้า (Notify Party)

6 ต้นทุนคงที่(Fixed cost)ของการขนส่งทางทะเลได้แก่
ค่าโสหุ้ย ประกอบด้วย ค่าการจัดการ ข้อผูกมัดทางสำนักงาน ค่าการตลาด โฆษณา ต้นทุนการขาย และตัวแทนจำหน่วย ต้นทุนสายเดินเรือ อำนวยการต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับกิจกรรมขนส่งทางทะเล ค่าทุนประจำ ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม ค่าตรวจสอยสภาพเรือ ค่าประกันภัย ค่าเสื่อมราคา ค่าจ้างลูกเรือประจำ อัตราและภาษีการเดินเรือ ค่าจัดเก็บสินค้าและภาษอาการบนเรือ

7 ต้นทุนผันแปร(Variable cost)ของการขนส่งทางทะเลได้แก่
ค่าเชื้อเพลิง ค่าจ้างลูกเรือ ค่าท่าเรือและบริการสถานี ค่าประกันภัยที่ครอบคลุมค่าความเสี่ยงทางน้ำ ค่าบำรุงรักษาเรือ ค่าขนส่ง ค่าเดินเรือเบ็ดเตล็ด ต้นทุนรวม (Total cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่รวมเอาต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรเข้าไว้ด้วยกัน ถือเป็นต้นทุนการบริการขนส่งทั้งหมด ทั้งนี้รวมถึงต้นทุนเที่ยวกลับ (Backhauling cost) ด้วย

8 รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเลมีดังนี้ 1
รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเลมีดังนี้ 1. LINER TERM คือการว่าจ้างขนส่งสินค้าโดยเรือที่มีตารางเดินเรือที่วิ่งประจําเส้นทาง ซึ่งประกอบด้วยเรือ 3 แบบด้วยกันคือ 1.1 Conventional Vessel คือเรือสินค้าอเนกประสงค์แบบดั้งเดิม ทำการขนส่งสินค้าโดยการบรรทุกสินค้าลงในระวางเรือใหญ่ ส่วนใหญ่ใช้ในการขนสินค้าแบบเทกอง (Bulk Cargo) มักมีเส้นทางเดินเรือแบบจากเมืองท่าต้นทางถึงเมืองท่าปลายทาง (End to end) 1.2 Container Vessel คือเรือสินค้าที่ทําการขนส่งโดยระบบตู้คอนเทนเนอร์ มักมีเส้นทางเดินเรือแบบเครือข่าย (Network service) หรือเส้นทางเดินเรือแบบรอบโลก (Round the worldservice) โดยใช้เรือแม่ขนาดใหญ่ (Mother Vessel) วิ่งให้บริการเฉพาะเมืองท่าหลักที่เป็นฐานการให้บริการ เช่นเมืองท่า Singapore แล้วใช้เรือลูก (Feeder) ขนตู้คอนเทนเนอร์จากเมืองท่าหลักไปยังเมืองท่ารองหรือเมืองท่าปลายทาง เช่น ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นต้น

9 1.3 Semi container Vessel คือเรือสินค้าที่มีรูปแบบการขนส่งผสมผสานระหว่างเรือ Conventional กับเรือContainer กล่าวคือ เป็นเรือสินค้าที่สามารถบรรทุกสินค้าลงในระวางส่วนหนึ่งและมีพื้นที่บนเรือที่จะวางตู้คอนเทนเนอร์ได้อีกส่วนหนึ่ง มักมีเส้นทางเดินเรือแบบเมืองท่าต้นทางถึงเมืองท่าปลายทาง 2. CHARTER TERM คือการว่าจ้างขนส่งสินค้าโดยเรือที่เช่ามาขนส่งสินค้าเป็นเที่ยวๆ เป็นเรือที่ไม่มีตารางเดินเรือและเส้นทางเป็นการตายตัว เรียกว่าการเช่าเรือ ซึ่งแบ่งการเช่าออกเป็น 4 ลักษณะคือ 2.1 Voyage Charter เป็นการเช่าเหมาเรือแบบเที่ยวเดียว เพื่อขนส่งสินค้าที่กําหนด ส่วนใหญ่เป็นการเช่าเหมาเรือทั้งลํา เพื่อขนส่งสินค้าจากท่าเรือแห่งหนึ่งไปยังท่าเรืออีกแห่งหนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการเดินเรือเป็นภาระของเจ้าของเรือที่จะต้องรับผิดชอบ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาเช่าเหมาเรือที่ได้ทํากันไว้ระหว่างเจ้าของเรือกับผู้เช่าเรือ

10 2.2 Time Charter เป็นการเช่าเหมาเรือแบบระยะเวลา ผู้เช่าเหมาเรือจะได้สิทธิในการใช้เรือในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เจ้าของเรือมีหน้าที่ที่จะต้องทําให้เรืออยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้เท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินเรือตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาการเช่าเหมาเรือ จะตกเป็นภาระของผู้เช่าเรือที่จะต้องรับผิดชอบ 2.3 Bareboat Charter เป็นการเช่าเหมาเรือเฉพาะตัวเรือเปล่าๆ ไม่รวมลูกเรือ มักเป็นการเช่าเหมาเรือในระยะเวลาที่ยาวนาน เจ้าของเรือจะรับภาระเฉพาะการหาเรือมาให้แก่ผู้เช่าเรือ ส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินเรือตลอดจนการทําให้เรือสามารถปฏิบัติงานได้เป็นภาระของผู้เช่าเรือ 2.4 Hybrid Charter เป็นการเช่าเหมาเรือแบบผสมผสานกัน เช่น การเช่าเหมาเรือเที่ยวเดียวอย่างต่อเนื่องและการเช่าเหมาเรือที่ผสมระหว่างการเช่าแบบเที่ยวเดียวและการเช่าแบบระยะเวลา

11 ตารางเดินเรือ (SHIPPING SCHEDULE) ตารางเดินเรือมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อการนําเข้าและส่งออก เพราะมีผลโดยตรงต่อการส่งมอบสินค้า ดังนั้นผู้นําเข้าและผู้ส่งออกจึงจําเป็นจะต้องทราบตารางเดินเรือเพื่อที่จะกําหนดระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าหรือให้ทันต่อความต้องการของสายการผลิตในกรณีที่เป็นการนําเข้า หรือกําหนดระยะเวลาในการผลิตหรือรวบรวมสินค้าเพื่อให้ทันต่อเที่ยวเรือที่จะส่งออกก่อนที่ L/C หรือคําสั่งซื้อจะหมดอายุ เป็นต้น ค่าระวางเรือ (FREIGHT CHARGE) เนื่องจากค่าระวางเรือและค่าใช้จ่ายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากนี้ค่าระวางในเส้นทางเดินเรือเดียวกันของสายเดินเรือต่างๆ ก็อาจไม่เท่ากันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางที่มีเรือนอกชมรมเดินเรือวิ่งอยู่ในเส้นทางด้วย ดังนั้นผู้นําเข้าและผู้ส่งออกที่ต้องจ่ายค่าระวางด้วยตนเองจึงควรจะสอบถามค่าระวางจากตัวแทนเรือหลายๆ แห่ง และควรที่จะให้ตัวแทนเรือออกหนังสือเสนอราคาค่าระวางเรือรวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องจ่ายเพิ่มเติมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

12 โครงสร้างค่าระวางเรือของ Liner Vessel มีลักษณะแตกต่างจาก Charter Vessel คือ ค่าระวางของเรือ Liner หรือเรือประจำเส้นทาง ค่าระวางของเรือวิ่งประจำเส้นทาง อัตราจะขึ้นอยู่กับระยะทางเส้นทางเดินเรือและตารางเวลา เรือวิ่งประจำเส้นทางโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่เป็นสมาชิกอยู่ในชมรมเดินเรือประจำเส้นทางนั้นๆ เช่น ชมรมเดินเรือเอเชีย-อเมริกาเหนือ (Asia-North American Eastbound Rate Agreement - ANERA) อัตราก็จะใกล้เคียงกันทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีเรือที่อยู่นอกชมรมเดินเรือมากขึ้น เรือเหล่านี้ก็จะมีอัตราค่าระวางน้อยกว่าเรือในชมรมเดินเรือ ค่าระวางของเรือวิ่งประจำเส้นทางประกอบไปด้วย 1. อัตราค่าระวางพื้นฐาน (Basic Freight Rate) 2. เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราน้ำมันที่เพิ่มขึ้น (Bunker Adjustment Factor Surcharge- BAF) 3. เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา(Currency Adjustment Factor Surcharge - CAF)

13 นอกจากค่าระวางเรือแล้ว บริษัทเรือยังอาจเรียกเก็บค่าระวางพิเศษต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายพิเศษที่ต้นทางได้อีกด้วย เช่น 1. ค่าขนถ่ายตู้สินค้าที่ท่าเรือ (Terminal Handling Charge - THC) 2. ค่าท่าคับคั่ง (Congestion Surcharge) 3. ค่าบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์ (Container Freight Station Charge - CFS Charge) 4. ค่าออกเอกสาร เป็นต้น 5. ซึ่งค่าระวางพิเศษต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายพิเศษเหล่านี้บริษัทเรือเรียกเก็บในอัตราค่อนข้างสูง เช่น 5.1 ค่า CFS Charge สําหรับสินค้าที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป เรียกเก็บในอัตรา 4,215 บาทต่อตู้ขนาด 20 ฟุต (อัตรา ณ เดือน สิงหาคม 2543) / 8,430 บาทต่อตู้ขนาด 40 ฟุต 5.2 ค่า THC สําหรับสินค้าที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป เรียกเก็บในอัตรา 2,600 บาทต่อตู้ขนาด 20 ฟุต (อัตรา ณ เดือน สิงหาคม 2543) / 3,900 บาทต่อตู้ขนาด 40 ฟุต

14 6. ค่าระวางพิเศษหรือค่าใช้จ่ายพิเศษที่เรียกเก็บที่ต้นทางนี้เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรือต้องจ่ายออกไปแล้วนับว่าเป็นเงินที่เรียกเก็บในอัตราที่สูงมาก ค่าระวางของเรือ Charter หรือเรือจรเช่า - ไม่มีอัตราแน่นอน เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างเจ้าของเรือกับผู้เช่าเรือ

15 บทบาทและหน้าที่ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล ตัวแทนสายเดินเรือ (Ship Agent)ตัวแทนสายเดินเรือคือผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าของเรือ ให้เป็นผู้ดําเนินการแทนเจ้าของเรือ ณ.เมืองท่าต้นทางและเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือมีหน้าที่โดยทั่วไป ดังต่อไปนี้ 1. จัดหาระวางบรรทุกให้แก่ผู้นําเข้าและผู้ส่งออก 2. ออกใบตราส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก 3. ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้นําเข้า ความสำคัญของการขนส่งทางทะเล 1. ก่อให้เกิดกิจการที่ต่อเนื่อง เช่น การรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freigh Forwarder Agent) 2. ตัวแทนออกของ (Customs Broker) 3. การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodel Transport) 4. กิจการโลจิสติกส์ (Logistics Service)

16 วิธีลดต้นทุนของการขนส่งทางทะเล
1. ทุกบริษัทต่างต้องแข่งกันลดต้นทุน โดยการพยายามสร้างเรือที่ใหญ่ที่สุด เพื่อให้มีต้นทุนที่ต่ำที่สุด 2. ให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ดูแลด้านการขนส่งสินค้า ประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นให้ทราบก่อน เพื่อจะได้ตรวจสอบว่าค่าใช้จ่าย ค่าขนส่งมีความเหมาะสม ถูกต้องมากน้อยแค่ไหน 3. หากเป็นการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จากท่าเรือไปโรงงานต้องแน่ใจว่า จะมีการนำสินค้าออก จากตู้คอนเทนเนอร์ตามเวลาที่บริษัทเรือหรือเอเย่นต์เรือกำหนด มิฉะนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 2 อย่างคือ ค่า เสียเวลาในการนำสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ ค่าคืนตู้คอนเทนเนอร์เกินจำนวนวันที่กำหนด เช่น เกินกว่า 5 วัน ค่าใช้จ่ายที่คืนตู้คอนเทนเนอร์เกินกำหนดนี้ เรียกว่า Demurrage Charge

17 คำถามท้ายบท ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ได้แก่อะไรบ้าง?
ต้นทุนคงที่ของการขนส่งทางทะเลมีอะไรบ้าง? ต้นทุนผันแปรของการขนส่งทางทะเลมีอะไรบ้าง? รูปแบบการขนส่งทางทะเลมีอะไรบ้าง? ค่าระวางของเรือวิ่งประจำเส้นทางประกอบด้วยอะไรบ้าง?


ดาวน์โหลด ppt การจัดการต้นทุนการขนส่งสินค้าทางทะเล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google