ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจัดการต้นทุนการขนส่งสินค้าทางอากาศ AIR FREIGHT
2
ประเด็นคำถาม 1.บุคคลที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการขนส่งมีใครบ้าง 2.สินค้าที่นิยมขนส่งทางอากาศเป็นสินค้าประเภทใด 3.สินค้าที่ไม่สามารถขนส่งทางเครื่องบินได้คือสินค้าประเภทใด 4.บริษัทการบิน หรือ Carrier หมายถึงอะไร 5.การขนส่งทางอากาศมีข้อดีอย่างไร
3
Vocabulary 1.General Cargo Rates ค่าระวางสาหรับสินค้าทั่วไป 2.General Cargo สินค้าทั่วไป 3.Perishable Cargo สินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย 4.Dangerous Good Cargo การขนส่งสินค้าอันตราย 5.Valuable Cargo การขนส่งสินค้าที่มีมูลค่า 6.Live Animal Cargo การขนส่งสัตว์มีชีวิต 7.Express Cargo การส่งสินค้าแบบด่วนพิเศษ 8.Human Remain Cargo การขนส่งศพ 9.Fixed cost ต้นทุนคงที่ 10.Variable cost ต้นทุนผันแปร 11.Total cost ต้นทุนรวม 12.Crisis Surcharge ค่าธรรมเนียมความเสี่ยง 13.Fuel Surcharge ค่าธรรมเนียมน้ำมัน 14.Terminal Charge ค่าธรรมเนียมคลังสินค้า 15. Just in Time การส่งมอบทันเวลา
4
บทนำ การขนส่งสินค้าทางอากาศมีบทบาทสำคัญ และมีความจำเป็น เป็นอย่างยิ่ง สำหรับการขนส่งสินค้าที่ต้องการแข่งกับเวลาและลดความเสียหายที่มีสาเหตุจากการขนส่งน้อยที่สุด การขนส่งทางอากาศเป็นการขนส่งที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ ความรวดเร็วในการขนส่ง เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ เป็นการขนส่งที่สามารถใช้สำหรับระยะทางที่ไกลกว่าทางถนน สามารถส่งสินค้าไปได้ทั่วทุกมุมโลก หลากหลายประเภท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของภาชนะที่ใช้บรรจุเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางอากาศมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยสูงมาก และการขนส่งทางอากาศสามารถเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ได้ที่ท่าอากาศยานเท่านั้น รวมถึงการที่ไม่สามารถใช้คลังสินค้าร่วมกับการขนส่งรูปแบบอื่นได้ โดยเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากความมั่นคงของประเทศ และรูปแบบของภาชนะที่ใช้ในการขนส่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว
5
ผู้ที่มีบทบาทในการขนส่งสินค้าทางอากาศ
1.ผู้ส่งสินค้าหรือ Shipper หมายถึง ผู้ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารกำกับสินค้า หรือ Air Waybill ที่จะทำการ หรือร่วมทำการขนส่งสินค้า ภายใต้เงื่อนไขใน Air Waybill 2.บริษัทการบิน หรือ Carrier หมายถึงบริษัทการบินต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งบริษัทการบินที่ ออกเอกสารกำกับสินค้า Air Waybill ที่จะทำการหรือร่วมทำการขนส่งสินค้า ภายใต้เงื่อนไขใน Air Waybill 3.ผู้รับสินค้า หรือ Consignee หมายถึงผู้ที่มีนามระบุอยู่ใน Air Waybill ซึ่งบริษัทการบินจะต้องส่งมอบสินค้าให้ เมื่อถึงเมืองปลายทางตามที่ระบุไว้ 4.บริษัทตัวแทน หรือ IATA CARGO AGENT หมายถึงบริษัทที่ได้รับรองจาก สมาคมการขนส่งทางอากาศ และแต่งตั้งโดยบริษัทการบิน ให้ดำเนินการรับและออกเอกสารกำกับสินค้า Air Waybill พร้อมทั้งเก็บค่าขนส่งที่เกี่ยวข้องในนามของบริษัทการบิน 5.ศุลกากร (Customs)
6
ข้อดีและข้อเสียของการขนส่งทางอากาศ
ข้อดี 1.ใช้เวลาในการขนส่งน้อย 2.สินค้าแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะสินค้าประเภทแฟชั่น สามารถส่งไปยังตลาดต่าง ๆ ทั่ว โลกได้ในเวลาที่รวดเร็ว ข้อเสีย 1.เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่อนข้างสูง เพราะมีอัตราค่าขนส่งสินค้าสูงกว่าอัตราค่าขนส่ง ประเภทอื่น ๆ 2.การขนส่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง หากสภาพภูมิอากาศ ไม่เอื้ออำนวย
7
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศ
8
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางอากาศ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
1.ค่าระวางขนส่งสินค้าทางอากาศ (Airfreight) ค่าระวางการขนส่งทางอากาศ เป็นค่าใช้จ่ายหลักในการขนส่งสินค้าทางอากาศ ค่าระวางการ ขนส่งทางอากาศจะเป็นอัตราที่แต่ละสายการบินกำหนดขึ้นมา ซึ่งค่าระวางสาหรับการขนส่งสินค้าทาง อากาศที่สำคัญมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1.1ค่าระวางสาหรับสินค้าทั่วไป (General Cargo Rates: GCR) โดยค่าระวางสำหรับสินค้าทั่วไป (GCR) จะแบ่งเป็น 3 อัตรา คือ -อัตราปกติ (Normal Charge) เป็นอัตราที่ใช้สาหรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่ถึง 45 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบิน) -อัตราตามจำนวนน้ำหนัก (Quantity Charge) เป็นอัตราที่ใช้สาหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่า 45 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบิน) -อัตราขั้นต่ำที่เรียกเก็บ (Minimum Charge) เป็นค่าระวางที่กำหนดไว้เป็นขั้นต่ำ หากผู้ส่งออกคำนวณค่าระวางตามอัตราปกติ หรืออัตราตามจำนวนน้ำหนักแล้ว ได้มูลค่าต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำจะต้องใช้อัตราขั้นต่ำ 1.2ค่าระวางสำหรับสินค้าพิเศษ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 อัตราคือ -อัตราค่าระวางสำหรับสินค้าพิเศษบางประเภท (Class Rates) เป็นอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสินค้าบางประเภท เช่น สัตว์มีชีวิต ของมีค่า สิ่งพิมพ์ สินค้าอันตราย เป็นต้น โดยอัตราประเภทนี้ อาจมากหรือน้อยกว่าค่าระวางสำหรับสินค้าทั่วไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการขนส่งสินค้าพิเศษแต่ละประเภท
9
- อัตราค่าระวางสำหรับสินค้าที่มีการกำหนดค่าระวางเป็นพิเศษ (Specific Commodity Rates) เป็นอัตราค่าระวางสาหรับสินค้าที่มีการส่งออกเป็นประจำ และครั้งละมาก ๆ เช่น สินค้าจำพวกอาหาร ผลไม้ เป็นต้น โดยจะมีข้อกำหนดว่าแต่ละประเภทสินค้าจะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าที่กำหนด สาหรับการคำนวณน้ำหนักของสินค้าจะ มี 2 วิธี คือ -การคำนวณจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ (Gross Weight) มีหน่วยเป็นกิโลกรัม -การคำนวณจากน้ำหนักปริมาตร (Volume Weight) จะคิดจากขนาดของกล่องหรือหีบห่อบรรจุสินค้า คือ กว้าง x ยาว x สูง ทั้งนี้ จะใช้รูปแบบใดจะต้องนำผลจากการคำนวณน้ำหนักทั้งสองรูปแบบมาเปรียบเทียบกัน แล้ว เลือกใช้น้ำหนักที่มากสุดมาเป็นตัวคูณกับอัตราค่าระวางสินค้า ส่วนการชำระค่าระวางสินค้านั้น ผู้ส่งออกสามารถชำระได้ 2 วิธี คือ 1.ชำระ ณ ต้นทาง (Pre-Paid) โดยผู้ส่งออกเป็นผู้ชำระ ให้กับตัวแทนรับขนส่งสินค้าและตัวแทนรับขนส่งสินค้าจะออกใบกำกับราคาค่าระวาง (Invoice) ให้กับผู้ส่งออก หรือ 2.ชำระ ณ ปลายทาง (Collect) ซึ่งผู้รับสินค้าเป็นผู้ชำระค่าระวางสินค้า ให้กับตัวแทนผู้รับสินค้าปลายทาง ซึ่งเป็นผู้ออกใบกำกับราคาค่าระวาง (Invoice) ให้กับผู้รับสินค้าปลายทาง หลังจากนั้น ตัวแทนผู้รับสินค้าปลายทางจึงโอนค่าระวางสินค้าให้กับตัวแทนรับขนส่งสินค้าต้นทางต่อไป สาหรับการขนส่งสินค้าโดยทั่วไป นั้นจะใช้ค่าระวางสาหรับสินค้าทั่วไป (General Cargo Rates: GCR) ส่วนสินค้าเฉพาะอย่างนั้น จะมีการกำหนดค่าระวางแตกต่างกันไป
10
2.ค่าธรรมเนียมความเสี่ยง (Crisis Surcharge)
3.ค่าธรรมเนียมน้ำมัน (Fuel Surcharge) ค่าธรรมเนียมน้ำมันที่ใช้ในการขนส่ง (Fuel Surcharge) เป็นค่าที่แต่ละสายการบินกำหนดขึ้นตามระยะทางที่ทำการขนส่ง โดยจะแบ่งตามโซนพื้นที่ และคิดตามน้ำหนักของสินค้าที่จะทำการขนส่ง 4.ค่าธรรมเนียมคลังสินค้า (Terminal Charge) ค่าธรรมเนียมคลังสินค้า สำหรับของไทย ณ สนามบินสุวรรณภูมิ จะมีผู้ให้บริการ 2 ราย คือ การบินไทย (TG) และ Bangkok Flight Services (BFS) ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับว่าสายการบินจะเลือกใช้ผู้ให้บริการรายใด 5.ค่าใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill Fee) ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) เป็นเอกสารสำคัญในการขนส่งสินค้าทางอากาศซึ่งจัดทำโดยผู้ส่งสินค้าหรือตัวแทนผู้ส่งสินค้า ถือเป็นสัญญาระหว่างผู้ส่งและสายการบิน เพื่อรับขนสินค้าไป ยังจุดหมายปลายทาง ค่าใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill Fee) ซึ่งเป็นเอกสารที่ผู้รับจ้างส่งสินค้าออกให้ ในฐานะผู้ส่งสินค้าต้องนำ Air Waybill มาเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารส่งออกที่ส่งไป เรียกเก็บเงินหรือให้ผู้ซื้อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการรับสินค้าต่อไป
11
ประเภทของสินค้าที่ขนส่งทางอากาศ
12
ในการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ สามารถแบ่งประเภทของสินค้าที่ขนส่งทางอากาศได้ เป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1) สินค้าทั่วไป (General Cargo) 2) สินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย (Perishable Cargo) ได้แก่ เช่น ผัก ผลไม้ เป็นต้น แต่สำหรับสินค้าที่ ต้องอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศา จะเรียกว่า High Perishable เช่น กุ้งแช่แข็ง เป็นต้น 3) สินค้าอันตราย (Dangerous Good Cargo) ได้แก่ ยา น้ำหอม น้ำแข็งแห้ง เป็นต้น 4) สินค้ามีค่า (Valuable Cargo) ได้แก่ เช่น เพชร ทับทิม ทองคำ เป็นต้น 5) สัตว์มีชีวิต (Live Animal Cargo) 6) การส่งสินค้าแบบด่วนพิเศษ (Express Cargo) 7) การขนส่งศพ (Human Remain Cargo)
13
ปัจจัยในการขนส่งและปัจจัยในการเลือกของการขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อลดต้นทุน
14
ต้นทุนของการขนส่งจะแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้
- ระยะทาง (Distance) ระยะทางเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อต้นทุนการขนส่ง เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับต้นทุนผันแปร คือ ค่าแรง เชื้อเพลิงและการบำรุงรักษา ประการแรกคือ ต้นทุนของการรับและส่งสินค้าที่ไม่คำนึงถึงระยะทาง ประการที่สองคือ เส้นต้นทุนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงตามระยะทาง เรียกว่า tapering principle เป็นผลจากการเคลื่อนย้ายระยะไกลขึ้นซึ่งมีแนวโน้มทำให้เปอร์เซ็นต์การวิ่ง ระหว่างเมืองจะมีมากกว่าในเมือง การวิ่งระหว่างเมืองจะถูกกว่าเนื่องจากระยะทางวิ่งที่มากกว่าโดยใช้เชื้อ เพลิงและค่าแรงที่เหมือนกันและผลจากอัตราวิ่งที่สูงกว่า และเป็นเพราะความถี่ของการหยุดรถในเมืองที่ทำให้ต้นทุนการรับและส่งสินค้า สูง - จำนวน (Volume) โดยต้นทุนการขนส่งต่อน้ำหนักสินค้าจะลดลงเมื่อปริมาณสินค้ามีจำนวนเพิ่มขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะต้นทุนคงที่ของการรับและส่งสินค้าและการค่าการจัดการ ต่างๆได้ถูกเฉลี่ยลงไปตามจำนวนสินค้าที่เพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์นี้จะถูกจำกัดด้วยความสามารถในการบรรทุกของยานพาหนะ เช่นเมื่อยานพาหนะคันที่หนึ่งเต็ม ก็จะต้องใช้คันที่สองบรรทุกส่วนที่เหลือ ดังนั้นถ้าปริมาณสินค้าน้อยก็ควรที่จะทำการรวบรวมสินค้าให้มีมากพอเพื่อความ ได้เปรียบตามหลักของเศรษฐศาสตร์ - ความหนาแน่น (Density) ปัจจัยที่สามคือความหนาแน่นของสินค้า ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักและพื้นที่ด้วย โดยทั่วไปจะคิดค่าขนส่งตามน้ำหนัก เช่น ต่อตัน เป็นต้น ยานพาหนะบรรทุกจะถูกจำกัดด้วยพื้นที่มากกว่าน้ำหนักบรรทุก ถ้าบรรทุกเต็มแล้วก็เป็นไปไม่ได้ที่จะบรรทุกเพิ่มแม้ว่าสินค้านั้นจะเบาก็ ตาม ค่าแรงคนขับและค่าเชื้อเพลิงไม่ได้มีผลจากน้ำหนักบรรทุก ความหนาแน่นของสินค้าเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนคงที่ถูกแบ่งไปตามน้ำหนักที่ เพิ่ม เป็นผลให้ต้นทุนค่าขนส่งต่อน้ำหนักน้อยลงด้วย
15
- การจัดเก็บ (Stowability) หมาย ถึงขนาดของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีผลต่อยานพาหนะที่จะบรรทุก ขนาดและรูปทรงที่ผิดแผก เช่นเดียวกับน้ำหนักที่เกินหรือความยาวที่เกิน จะทำให้การจัดเก็บได้ไม่ดีและสิ้นเปลืองเนื้อที่บรรทุก แม้ว่าผลิตภัณฑ์จะมีความหนาแน่นเท่ากันแต่การจัดเก็บก็จะแตกต่างกัน ผลิตภัณฑ์ที่รูปทรงมาตรฐานจะจัดเก็บได้ง่ายกว่ารูปทรงที่ผิดแผกออกไป ตัวอย่างเช่น แท่งเหล็กและคันเบ็ด มีความหนาแน่นเท่ากัน แต่คันเบ็ดจัดเก็บยากกว่าเพราะความยาวและรูปทรง การจัดเก็บมีผลต่อขนาดของการจัดส่ง บางครั้งผลิตภัณฑ์จำนวนมากสามารถจัดเก็บเป็นกลุ่มได้ มิฉะนั้นก็จะยากต่อการจัดเก็บ ตัวอย่างเช่น รถบรรทุกขนกระป๋องที่ไม่ใช้แล้ว ถ้าบรรทุกเป็นกระป๋องเดี่ยวทำให้ยากแก่การจัดเก็บมากกว่ากระป๋องที่ถูกอัด ให้แบน - การจัดการ (Handling) อุปกรณ์พิเศษในการจัดการสินค้าช่วยในการขนย้ายสินค้าขึ้นลงรถบรรทุกหรือเรือ รวมถึงลักษณะของภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ เช่นกล่อง พาเลต เชือกผูก ซึ่งมีผลต่อต้นทุนของการจัดการ - ความรับผิดชอบ (Liability) ผลิตภัณฑ์ที่จะถูกความกระทบกระเทือนได้ง่าย การเน่าเปื่อย การถูกขโมย ระเบิด ผู้รับขนส่งควรจะทำประกันสินค้า และผู้ส่งออกสามารถลดความเสี่ยง และค่าขนส่งได้โดยการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้สามารถป้องกันหรือลดการสูญหาย หรือเสียหาย - ปัจจัยด้านการตลาด (Market Factors) ช่องทางขนส่งหมายถึงการเคลื่อนย้ายจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดปลายทาง รถส่งสินค้าและพนักงานจะต้องกลับมายังจุดเริ่มต้นจึงควรจะทำการบรรทุกสินค้า ขากลับ (back-hual) มิเช่นนั้นก็จะต้องตีรถเปล่ากลับ (deadhead) กรณีของ deadhead แรงงาน เชื้อเพลิงและต้นทุนของการบำรุงรักษาจะต้องคิดขากลับรวมด้วย ดังนั้นควรที่จะทำการบรรทุกสินค้าทั้งไปและกลับให้เกิดความสมดุล อย่างไรก็ตามมันแทบจะเป็นไปได้น้อยมากที่จะทำให้ความต้องการเท่ากันในส่วน ของโรงงานผลิตและสถานที่ตั้งของผู้บริโภค จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ต้นทุนในการขนส่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายปัจจัย ดังนั้นหากองค์กรจะทำการลดต้นทุนการขนส่งสินค้า องค์กรจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้านประกอบกัน เพื่อให้ สามารถลดต้นทุนได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
16
ปัจจัยในการเลือกของการขนส่งสินค้าทางอากาศ
การตัดสินใจเลือกว่า สินค้าใดควรขนส่งทางอากาศ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1.ลักษณะของสินค้า -สินค้าที่เสื่อมสภาพได้ง่าย เช่น ดอกกล้วยไม้ พืชผลสด -สินค้าที่เป็นไปตามสมัยนิยม เช่น แฟชั่นเสื้อผ้า -สินค้าเร่งด่วน เช่น อะไหล่เครื่องบิน -สินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น ทองคำ เพชร 2.ลักษณะของความต้องการ -สินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างภาวะฉุกเฉิน เช่น ยารักษาโรค อาวุธสงคราม -สินค้าที่กำลังทดลองตลาด -สินค้าตามฤดูกาล
17
3.สินค้าที่ต้องการลดปัญหาในด้านต่าง ๆ -ปัญหาการสูญหาย แตกหัก หรือเสื่อมคุณภาพของสินค้า -ค่าประกันสินค้า ค่าบรรจุหีบห่อ ค่าขนย้ายสินค้า ณ จุดขนย้าย -เงินทุนที่ไม่อาจหมุนเวียนในระหว่างที่สินค้าจัดส่ง -เงินที่สูญหายไปสำหรับสินค้าคงคลัง 4.ลักษณะของตลาด -ประเทศที่ไม่มีอาณาเขตติดทะเล การขนส่งทางอื่นอาจจะไม่ทันต่อเหตุการณ์การ การขนส่งทางอากาศจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งนี้สินค้าเกือบทุกชนิดสามารถขนส่งทางอากาศได้ ถ้าเป็นการขนส่งตามกฎข้อบังคับของการรับสินค้าของสายการบิน อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าอีกหลายประเภท ที่โดยลักษณะของสินค้าไม่เหมาะสมต่อการขนส่งทางอากาศ เช่น น้ำมันดิบ ไม้ซุง เป็นต้น โดยสินค้าที่ดำเนินการจัดส่งทางอากาศ ประมาณร้อยละ 90 เป็นสินค้าที่ไม่อยู่ในข่ายของสินค้าประเภทอันตราย
18
5 กลยุทธ์ในการลดต้นทุนการขนส่ง
19
ต้นทุนการขนส่งนับเป็นต้นทุนที่สำคัญ และกระทบต่อต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งโครงสร้างต้นทุนของผู้ประกอบการขนส่ง ประกอบด้วยต้นทุนดังต่อไปนี้ 1. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามปริมาณการขนส่ง เช่น ค่าเช่าสถานที่จอดรถ เงินเดือนพนักงานขับรถ เป็นต้น 2. ต้นทุนผันแปร (Variable cost) เป็นต้นทุนหรือ ค่าใช้จ่ายที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามปริมาณการให้บริการการขนส่ง เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำมันหล่อลื่น เป็นต้น 3. ต้นทุนรวม (Total cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่รวมเอาต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรเข้าไว้ด้วย กัน ถือเป็นต้นทุนการบริการขนส่งทั้งหมด ทั้งนี้รวมถึงต้นทุนเที่ยวกลับ (Backhauling cost) ด้วย ต้นทุนของผู้ประกอบการขนส่งจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาค่าขนส่ง ปริมาณหรือน้ำหนักของสินค้า ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายจึงจำเป็นต้องมีการบวกค่าใช้จ่าย ในส่วนที่เป็นเรื่องของการประกันภัยจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนส่งผลให้ เกิดการปรับตัวของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังตารางด้านล่าง ซึ่งต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีสัดส่วนมากของต้นทุนการขนส่งทั้งหมด
20
1.กลยุทธ์การใช้พลังงานทางเลือก โดยปรับเปลี่ยนพลังงานที่ใช้ในการขนส่งจากน้ำมันดีเซลหรือเบนซิน เป็นไบโอดีเซลหรือก๊าซ CNG ซึ่งการใช้ก๊าซ CNG จะประหยัดกว่าการใช้น้ำมันประมาณ 60-70% แต่ในการตัดสินใจติดตั้งระบบ NGV ผู้ประกอบการควรมีการตัดสินใจที่ละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากการติดตั้งระบบ NGV ใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง ในการติดตั้งผู้ประกอบการควรพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ พิจารณาประเภทของเครื่องยนต์ พิจารณาสถานีบริการ NGV และเส้นทางในการขนส่ง สุดท้ายคือ การพิจารณาผลตอบแทนการลงทุน ซึ่งการพิจารณาถึงองค์ประกอบเหล่านี้ จะทำให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความเป็นไปได้ของการติดตั้งในด้านผลตอบแทนการลง ทุน รวมถึงการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน 2. กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งแบบใหม่ หรือการใช้วิธีการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal transportation) ซึ่งเป็นวิธีการขนส่งที่ผสมผสานระหว่างการขนส่งตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป ภายใต้สัญญาหรือผู้รับผิดชอบการขนส่งรายเดียว 3. กลยุทธ์ศูนย์กระจายสินค้า การหาที่ตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่สามารถกระจายและส่งต่อไปยังจังหวัดใกล้เคียงหรือประเทศเพื่อนบ้าน มีการจัดระบบการขนถ่ายสินคาการจัดพื้นที่การเก็บสินค้า ระบบการจัดส่งสินค้า (บาร์โค้ด /สายพานลำเลียง) ระบบบริหารคลังสินค้า มีการจัดประเภทสินค้า ที่จัดเก็บการบรรจุด้วยหน่วยมาตรฐาน (Stock Keeping Units: SKU) มีอุปกรณ์จัดวางสินค้า 4. กลยุทธ์การขนส่งสินค้า ทั้งเที่ยวไปและกลับ การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งด้วยการลดการวิ่งเที่ยวเปล่าหรือ Backhauling management เป็นการจัดการการขนส่งที่มีเป้าหมายให้ เกิดการใช้ประโยชน์จากยวดยาน (Load utilization) เพราะการขนส่งโดยทั่วไปเมื่อส่งสินค้า เสร็จ จะตีรถวิ่งเที่ยวเปล่ากลับมา ซึ่งทำให้เกิดต้น ทุนของการประกอบการเพิ่มสูงขึ้นโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นมานี้นับเป็นต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า (Non-value added cost) และผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนเหล่านี้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้นแต่อย่างไรก็ตาม การบริหารการขนส่งเที่ยวกลับ ในปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนักเนื่องจากไม่ ทราบปริมาณความต้องการในการขนส่งสินค้า รวมถึงจุดหมายปลายทางของสินค้า ที่สำคัญปริมาณความต้องการการขนส่งสินค้า ระหว่างต้นทางและปลายทางมักจะมีปริมาณไม่เท่ากัน
21
5. กลยุทธ์การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมา ช่วยในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง คือ ระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้า (Transportation management system; TMS) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวางแผนการขนส่ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจการขนส่ง ซึ่งก็คือ ความรวดเร็วและต้นทุนที่ประหยัดที่สุด องค์ประกอบของระบบ TMS คือ การบริหารการจัดการด้านขนส่ง (Transportation manager) ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผนการดำเนินงานขนส่งและอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง (Transportation optimizer) มีหน้าที่ช่วยการตัดสินใจในเรื่องการบรรทุกสินค้า และการจัดวางเส้นทางให้มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ หากผู้ประกอบการสามารถนำระบบการบริหารการจัดการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ในกิจกรรมการขนส่งขององค์กร จะทำให้องค์กรของผู้ประกอบการสามารถบรรลุองค์ประกอบของการส่งมอบแบบ 5Rs Delivery ดังนี้ 1. Right Place: ส่งมอบตรงสถานที่ 2. Right Time: ตรงเวลาที่ลูกค้าต้องการ 3. Right Quantity: ตรงตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ 4. Right Quality: สินค้า ตรงตามคุณภาพที่ตกลง 5. Right Cost: การส่งสินค้า ตามราคาที่แข่งขัน
22
ถ้าองค์กรของคุณสามารถบรรลุการส่งมอบแบบ 5Rs Delivery จะทำให้เกิด JIT: Just in Time คือ “การส่งมอบแบบทันเวลา ถูกต้อง ถูกสถานที่ ตรงตามความต้องการภายใต้ต้นทุนที่แข่งขัน” เพื่อให้องค์กรมีการพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ผู้บริหารต้องตรวจติดตามโดยตลอด คือ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในการจัดส่งสินค้า และบริการ โดยองค์กรควรมีการกำหนด ดัชนีวัดผลการปฏิบัติงาน (Key performance indicator: KPI) ซึ่ง KPI ที่นิยมใช้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการขนส่งโดยใช้ KPI 7ด้าน ได้แก่ 1. On-Time Deliveries การส่งมอบ 2.Damage ความเสียหาย 3.Demurrage (Delay) ความล่าช้า 4.Assessorial (Evaluation) การประเมินผล 5.Appointments การนัดหมาย 6.Freight Bill Accuracy ความถูกของค่าขนส่ง 7. security ความปลอดภัย
23
Q/A 1.การขนส่งทางอากาศมีความสำคัญอย่างไร 2.จงบอกข้อดีและข้อเสียของการขนส่งสินค้าทางอากาศ 3.ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางอากาศมีอะไรบ้าง 4.ปัจจัยที่ใช้ในการเลือกส่งสินค้าทางอากาศมีอะไรบ้าง 5.ดัชนีวัดประสิทธิภาพงานด้านการขนส่งมีกี่ข้อ อะไรบ้าง
24
Answer 1.สามารถขนส่งสินค้าได้รวดเร็วทันเวลา และสามารถส่งสินค้าไปได้ไกลทั่วโลก 2. ข้อดี ใช้เวลาในการขนส่งน้อย สินค้าแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะสินค้าประเภทแฟชั่น สามารถส่งไปยังตลาดต่าง ๆ ทั่วโลกได้ในเวลาที่รวดเร็ว ข้อเสีย เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่อนข้างสูง,การขนส่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง หากสภาพภูมิอากาศ ไม่เอื้ออำนวย 3.ค่าระวางขนส่งสินค้าทางอากาศ,ค่าธรรมเนียมความเสี่ยง,ค่าธรรมเนียมน้ำมัน ,ค่าธรรมเนียมคลังสินค้า ค่าใบตราส่งสินค้าทางอากาศ 4.สินค้าทั่วไป สินค้าที่เน่าเสียได้ สินค้าอันตราย สัตว์มีชีวิต การส่งสินค้าแบบด่วนพิเศษ การขนส่งศพ 5. 7ข้อ ได้แก่ 1. On-Time Deliveries การส่งมอบ 2.Damage ความเสียหาย 3.Demurrage (Delay) ความล่าช้า 4.Assessorial (Evaluation) การประเมินผล 5.Appointments การนัดหมาย 6.Freight Bill Accuracy ความถูกของค่าขนส่ง 7. security ความปลอดภัย
25
อ้างอิง
26
สมาชิกในกลุ่ม สาขาการจัดการโลจิสติกส์ 1.วิมลรัตน์ นักบุญ 2.ปราณี อาทร 3.สุชิรา โกสิงห์ 4.ปิยะธิดา สายุต 5.สุนิษา แดงสีอ่อน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.