ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประวัติการค้นพบทางดาราศาสตร์
2
พัฒนาการทางดาราศาสตร์
วิถีชีวิตของมนุษย์มีความผูกพันกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์มาช้านานแล้ว ดวงอาทิตย์ ลูกไฟดวงใหญ่ให้ แสงสว่างและความอบอุ่นแก่ สรรพสิ่งบนพื้นโลก ดวงจันทร์และดาวจำนวนมหาศาล ที่ปรากฏบนท้องฟ้าในยามค่ำคืน การปรากฏของดาวหาง ผีพุ่งไต้ ราหูอมจันทร์
3
แนวความคิดเกี่ยวกับการกำหนดกลุ่มดาว
ดาวฤกษ์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าทั้งหมดถูกจัดเป็นกลุ่มดาว 88 กลุ่ม ชื่อของกลุ่มดาวมักจะเกี่ยวข้องกับตัวละครในเทพนิยายกรีกแทบทั้งสิ้น การเล่านิทานในยุคนั้น มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพนิยายกรีกและเมื่อเอ่ยถึงตัวแสดงหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับนิยายเหล่านี้ ก็จะสร้างมโนภาพลงบนกลุ่มดาวต่างๆ บนท้องฟ้า ซึ่งทำให้ผู้ฟังได้เกิดภาพพจน์ และได้รับความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
4
ดาราศาสตร์ยุคโบราณ มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของวัฏจักรของธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่างๆ บนท้องฟ้าที่อาจมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของเขาเหล่านั้น ทำให้มนุษย์เริ่มสังเกตวัตถุท้องฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และกลุ่มดาวต่างๆที่ขึ้นและตกในช่วงเวลาต่างๆ ในรอบปี
5
ภาพ: สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ
แม้คนในยุคนั้นยังไม่มีกล้องโทรทรรศน์ที่นำมาใช้ในการสังเกตการณ์อย่างละเอียด แต่ เขาก็ใช้ตาเปล่าและจินตนาการ ในการที่จะทำความเข้าใจกลไกธรรมชาติอันซับซ้อน มนุษย์เริ่มสังเกตตำแหน่งการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ที่สัมพันธ์กับฤดูกาล ทำให้รู้ถึงฤดูกาลเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และเวลาที่ควรออกล่าสัตว์เพื่อสะสมอาหารเอาไว้บริโภค ภาพ: สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ
6
แนวความคิดและความจำเป็นในการกำหนดเวลา
นับตั้งแต่โบราณ ชีวิตมนุษย์มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับดวงอาทิตย์ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสว่างหรือให้ความอบอุ่นก็ตาม มนุษย์เริ่มมีการเชื่อถือว่าดวงอาทิตย์เป็นตัวแทนของเทพเจ้า เริ่มกราบไหว้บูชาเสมือนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
7
เมื่อมนุษย์ได้เริ่มสังเกตการณ์และรู้จักพัฒนาความคิดในเชิงเหตุผลมากขึ้น ก็เริ่มเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้าต่างๆ ทำให้ความเชื่อถืออย่างงมงายก็เริ่มลดลง และกลับหันมาสนใจการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งวัตถุบนท้องฟ้าที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล ทำให้เริ่มเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเวลา
8
แนวความคิดและความจำเป็นในการกำหนดเวลา
ชาวจีนเป็นชาติแรก ที่สามารถกำหนดระยะเวลาใน 1 ปีได้อย่างถูกต้อง โดยใช้หลักเกณฑ์การทอดเงาของดวงอาทิตย์ระหว่างการทอดเงาสั้นที่สุด 2 ครั้ง ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าใน 1 ปี จะมี วัน Adam Shall Z
9
พื้นฐานเกี่ยวกับเอกภพในยุคแรก
ในยุคแรก แนวความคิดเกี่ยวกับเอกภพมีขอบเขตจำกัดมาก เนื่องจากพัฒนาการทางด้านแนวความคิด ประสบการณ์และเครื่องมือต่างๆ ยังอยู่ในวงแคบ คนโบราณมีความเชื่อว่าโลกแบนและมีวัตถุรูปครึ่งทรงกลมซึ่งมีช่องโหว่เป็นจำนวนนับร้อยนับพันกระจายอยู่ทั่วผิว
10
ชาวอียิปต์โบราณ เชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นเทพสุริยะ (Sun God) ซึ่งทุกวันจะประทับเรือข้ามท้องฟ้า ซึ่งเป็นหลังของเทพดารา (Starry Goddess)
11
กรีกเป็นอีกชนชาติหนึ่ง ซึ่งวางแนวปรัชญาเกี่ยวกับเอกภพไว้มากมาย เทลิสแห่งไมเลตุส (Thales of Miletus) วางแนวความคิดไว้ว่า น้ำเป็นปัจจัยหลักของกำเนิดสรรพสิ่งต่างๆ ท่านจินตนาการว่า โลกเป็นจานแบนลอยอยู่บนผิวน้ำ
12
อาแนกซิแมนเดอร์ (Anaximander) กล่าวว่า โลกมีสันฐานเป็นทรงกระบอกลอยอยู่ในอากาศ
13
อาแนกซากอรัส (Anaxagoras) ให้ความสนใจดวงจันทร์และดาวเคราะห์ต่างๆ ให้แนวความคิดว่า วัตถุท้องฟ้าเหล่านี้มีองค์ประกอบเหมือนกับองค์ประกอบของโลก และมีแสงสว่างได้โดยการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ ยังได้ให้แนวความคิดอย่างถูกต้องในการอธิบายการเกิดจันทรุปราคาว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงาของโลกอีกด้วย
14
ปีทากอรัส (Pythagorus) แห่งชามอส (Samos) เป็นปราชญ์ท่านแรกที่เสนอแนวความคิดว่า โลกมีสัณฐานกลม ซึ่งนับว่าเป็นก้าวใหญ่หนึ่งของการพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับเอกภพ
15
450 ปีก่อนคริสตศักราช ฟิโลลาอุส (Philolaus) เสนอแนวความคิดในอันที่จะไม่ยึดถือว่าโลกเป็นวัตถุที่หยุดนิ่งว่า แท้จริงแล้วโลกมีการโคจรรอบ ดวงไฟใหญ่ดวงหนึ่ง (แต่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์)
16
ดีโมคริตัส (Democritus) เป็นปราชญ์รุ่นหลังปีทากอรัสที่ไขความลับเกี่ยวกับทางช้างเผือก ว่า เป็นดาวจำนวนมากที่อยู่รวมกันอย่างหนาแน่น
17
อาริสโตเติล (Aristotle) 350 ปี ก่อนคริสตกาล เป็นปราชญ์ท่านแรกที่สามารถครอบงำความเชื่อของมนุษย์ในแนวความคิดทางดาราศาสตร์แห่งเอกภพที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพโดยดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจรรอบโลก
18
ในสมัยพระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราช ก็ได้มีนักปราชญ์ชื่อ อารีสตาคัส (Aristarchus) ที่กล้าแย้งแนวความคิดของอาริสโตเติล โดยเสนอว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โดยโลกและดาวเคราะห์อื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์
19
ฮิปปาคัส (Hipparchus) ได้สร้างผลงานทางดาราศาสตร์ที่เป็นประโยชน์มากมาย แม้ว่าท่านจะยังคงยึดแนวความคิดเดิมเกี่ยวกับโลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพ แต่ได้พัฒนาเทคนิคการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ขั้นสูงในสมัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องเกี่ยวกับการวัดตำแหน่งทางดาราศาสตร์ (Positional Astronomy) และเป็นคนแรกที่ทำแคตาล๊อกของดาวฤกษ์อย่างเป็นระบบ
20
ในปีคริสตศักราช 140 พโทเลมี (Ptolemy) ปราชญ์แห่ง อเลกซานเดรียอีกท่านหนึ่ง ที่ได้รวบรวมแนวความคิดของ อาริสโตเติล ปีทากอรัส และ ฮิปปาคัส ผนวกเข้ากับแนวความคิดของท่านเอง สร้างแบบจำลองของเอกภพที่มีชื่อว่า ระบบของพโทเลมี (Ptolemaic System) โดยใช้แนวความคิดเกี่ยวกับโลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพจากอาริสโตเติล
21
การปฏิวัติทางดาราศาสตร์
เริ่มเมื่อ ปี ค.ศ เมื่อนิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์-เยอรมัน ตีพิมพ์หนังสือ ชื่อ “การโคจรของวัตถุท้องฟ้า (The Revolutions of the Heavenly Bodies)”
22
ในหนังสือของโคเปอร์นิคัส กล่าวว่า “โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของเอกภพ ดาวเคราะห์ทุกดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์” ดังนั้นดวงอาทิตย์จึงเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ซึ่งโลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนกับดาวเคราะห์ดวงอื่นด้วย
23
ในปี ค.ศ นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ชื่อทิโค บราห์(Tycho Brahe) ได้เริ่มพัฒนามิติทางการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์โดยสร้างเครื่องวัดทางดาราศาสตร์หลายชิ้น สังเกตการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และตำแหน่งของดาวฤกษ์ ได้สรุปว่า ดาวเคราะห์ต่างก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกโดยโลกอยู่กับที่
24
ได้สรุปว่า ดาวเคราะห์ต่างก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกโดยโลกอยู่กับที่
25
ต่อมา โยฮันส์ เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ผู้ซึ่งเคยเป็นผู้ช่วยของไทโค บราเฮ ได้นำเอาผลการสังเกตการณ์ของบราเฮ ซึ่งทำเอาไว้มากมายในสมัย บราเฮยังมีชีวิตอยู่ มา วิเคราะห์และยืนยันว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของระบบสุริยะ ตามทฤษฎี ของโคเปอร์นิคัส เคปเลอร์ยังได้คิดค้นกฎการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ที่สำคัญไว้ 3 ข้อ
26
กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เป็นนักดาราศาสตร์คนสำคัญที่บุกเบิกวิชาดาราศาสตร์ยุคใหม่ เป็นคนแรกที่ใช้กล้องที่ประกอบด้วยระบบเลนส์ส่องดูวัตถุท้องฟ้าและบันทึกสิ่งที่ค้นพบมากมาย
27
และได้ถือว่าเป็นบิดาแห่งวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่ ได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ในปี ค.ศ ส่องดูวัตถุบนท้องฟ้า และสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสที่กล่าวว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบโลกและดาวเคราะห์อื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์
28
เซอร์ไอแซกนิวตัน (Sir Isaac Newton)
ผู้นำโลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยการเสนอกฎแห่งความโน้มถ่วงและการเคลื่อนที่ของวัตถุ ที่สามารถอธิบายปรากฏการต่างๆบนโลก ถึงการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ เขาพบว่าการที่บริวารของดวงอาทิตย์สามารถโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ เพราะมีแรงดึงดูดระหว่างมวล ที่เรียกว่าแรงโน้มถ่วง
29
เซอร์เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ (sir Edmund Halley)
ผู้ศึกษาดาวหางแฮลลีย์ และพิสูจย์ว่าดาวหางคือสมาชิกหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และมีพฤติกรรมเป็นไปตามกฏของแรงโน้มถ่วงเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ทั้งหลาย และได้เนอผลการศึกษาเกี่ยวกับดาวหางดวงหนึ่งที่มาให้ชาวโลกเห็นทุกๆ ประมาณ 75 ปี
30
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
ผู้ปฏิวัติความคิดเดิมและนำวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคอะตอม โดยเสนอว่าแสงเดินทางเป็นเส้นโค้งในอวกาศ และเชื่อว่าทุกสิ่งในเอกภพมีการเคลื่อนที่ไม่มีสิ่งใดโดยสมบูรณ์ การเคลื่อนที่และเวลาจึงเป็นสิ่งสัมพันธ์กันที่ยังคงความลึกลับอยู่จนบัดนี้ ผู้คิดค้นสูตรแห่งจักรวาล
31
เอ็ดวิน ฮับเบิล(Edwin Hubble)
ผู้บุกเบิกศึกษาเรื่องกาแลกซี และเสนอว่าด้วยเอกภพขยายตัว จากการสังเกตกาแลกซีทั้งหลายที่กำลังเคลื่อนที่หนีห่างจากกัน
32
สตีเฟน ฮอว์คิง(ค.ศ.1942-ปัจุบัน)
นักวิทยาศาสตร์ศตวรรษที่ 20 ผู้นำทฤษฏีพื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อน มาอธิบายความเป็นไปของจักรวาล โดยนำทฤษฏีสัมพันธภาพทั่วไป ร่วมกับหลักกลศาสตร์ควอนตัมของไอน์สไตน์มาอธิบายของจุดเริ่มต้นของการระเบิดใหญ่ (Big bang) และวาระสุดท้ายของหลุมดำ (Black Hole)
33
ในระบบสุริยะประกอบไปด้วยดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลาง โดยมีดาวเคราะห์และวัตถุบนท้องฟ้า อื่นๆเป็นบริวาร การที่ดาวบริวารของดวงอาทิตย์ยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ เนื่องจากมีแรงดึงดูดระหว่างมวลที่เรียกว่า “แรงโน้มถ่วง” เป็นแรงสู่ศูนย์กลาง ทำให้ดวงดาวบริวาลอยู่ในวงโคจรได้ ปรากฏการณ์ที่ดวงดาวต่างฝ่ายต่างดึงดูดกันและกัน เรียกว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงดาวในระบบสุริยะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.