งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คอมพิวเตอร์เบื้องต้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ม 2 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

2 ความหมายของ Hardware ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบรวมกันเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์

3 การจัดแบ่งประเภทฮาร์ดแวร์
สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 4 หน่วย ดังนี้ 1. หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) 2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU – Central Processing Unit) 3. หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

4 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 1. หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input unit)
ทำหน้าที่ในการรับคำสั่งต่าง ๆ และข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์

5 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูล

6 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เมาส์(Mouse)
นิยมใช้ในการติดต่อสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ภายในมีแกน 2 แกนฉากกัน ซึ่งสัมผัสอยู่กับผิวของลูกกลิ้ง เมื่อมีการหมุนจะทำให้ทราบตำแหน่งการเลื่อน ซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลต่าง และปุ่มบนเมาส์จะทำการส่งสัญญาณให้ซอฟต์แวร์ทำงานตามต้องการ

7 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องขับจานบันทึก(Disk drive)
ทั้งอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล โดยใช้ในการอ่านและเขียนแผ่นบันทึกข้อมูลแบบอ่อน(Floppy disk)

8 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) ปากกาแสง (Light pen)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยในการใช้ปากกาแสงจะต้องเขียนตัวอักษรหรือแตะปากกาแสงบนจอภาพแบบ LCD เมื่อมีการวางปากกาลงบนจอภาพหรือเลื่อนตำแหน่งปากกา จะทำให้ทราบตำแหน่งจุดพิกัดต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นข้อมูลส่งเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์

9 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) ก้านควบคุม (Joystick)

10 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องกราดภาพ(Scanner)
Sheet-Feed Scanner Flatbed Scanner เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อ่านตัวอักษรหรือรูปภาพกราฟิกต่าง ๆ โดยมี กลไกในการแปลงอักษรหรือรูปภาพต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล

11 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) เครื่องขับซีดีรอม(CD-ROM Drive)
เป็นอุปกรณ์ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม (Compact Disk Read Only Memory) ซึ่งแผ่นซีดีรอมจะเคลือบด้วยพลาสติก และ ใช้แสงในการเก็บบันทึกข้อมูลแทนการใช้สารแม่เหล็กที่ใช้ในแผ่น ดิสก์เก็ต

12 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) จอภาพแบบสัมผัส (Touch screen)
ใช้ปลายนิ้วแตะลงไป ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัสจะรับทราบตำแหน่งที่ผู้ใช้ เลือกการทำงาน และส่งข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำไป ประมวลผลต่อไป

13 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) ลูกกลมควบคุม(Track ball)
มีหลักการทำงานเหมือนกับเมาส์ แต่แตกต่างกันที่แทรกบอล ทำงานโดยผู้ใช้จะหมุนลูกกลิ้งโดยตรง เพื่อให้ตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) เลื่อนไปในตำแหน่งที่ต้องการ

14 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล(Digital Camera)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นภาพ แล้วเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลในลักษณะของดิจิตอล โดยมีอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) จะทำการปรับความเข้มของภาพให้เป็นแรงดันไฟฟ้า และมีกลไกในการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลดิจิตอล

15 หน่วยรับคำสั่งและข้อมูล (Input Unit) กล้องวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
เป็นอุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวและเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล

16 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU – Central Processing Unit)
COMPUTER DEPARTMENT

17 หน่วยประมวลผลกลาง COMPUTER DEPARTMENT

18 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 3.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory หรือ Primary storage) เป็นหน่วยความจำที่อยู่บนแผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้คือ หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว (ROM – Read Only Memory) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM – Random Access Memory) 3.2 หน่วยความจำรอง (Secondary storage หรือ Auxiliary Storage) ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างถาวร ก่อนที่จะเลิกใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ การเก็บบันทึกข้อมูลจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก แผ่นดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

19 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3. 1 หน่วยความจำหลัก 3. 1
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.1 หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว (ROM – Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง (Program) ที่ใช้เริ่มต้นการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งจะอยู่แบบถาวร โดยไม่ต้องมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง ROM

20 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3. 1 หน่วยความจำหลัก 3. 1
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.1 หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM – Random Access Memory) หน่วยความจำแบบ RAM เป็นหน่วยความจำสำหรับ เก็บโปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ ในขณะที่เครื่องทำงานอยู่ ถ้าปิดเครื่องข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะลบหายไป ดังนั้นต้องมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงตลอดเวลา

21 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยความจำรอง)
เนื่องจากหน่วยความจำ RAM ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับโปรแกรมและข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน การใช้งานหน่วยความจำ RAM จะต้องเปิดเครื่องตลอดเวลาทำให้ไม่สะดวกที่จะเก็บข้อมูลไว้อย่างถาวร ดังนั้นจึงมีหน่วยความจำรองขึ้นมาเพื่อใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างถาวร ก่อนที่จะเลิกใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ การเก็บบันทึกข้อมูลจะเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูล เช่น เทปแม่เหล็ก แผ่นดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

22 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยความจำรอง
จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) - เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก - สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct Access) ใช้คู่กับเครื่องขับจานแม่เหล็ก (Disk drive) - Disk drive จะมีหัวสำหรับอ่าน/เขียน ที่เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ

23 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) หน่วยความจำรอง
จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ปัจจุบันนิยมใช้กันมี 2 ชนิด 1. แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Floppy Diskette หรือ Diskette) - สามารถพกพาได้สะดวก - ตัวแผ่นทำมาจากพลาสติกอ่อนและฉาบด้วยสารแม่เหล็ก - บนแผ่นดิสก์เก็ตจะมีแถบป้องกันการบันทึก (Write protection ) ถ้าเป็นแผ่นดิสก์เก็ตขนาด 3.5 นิ้ว ผู้ใช้สามารถที่จะเปิดแถบนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลบหรือบันทึกข้อมูลลงไป

24 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยความจำรอง
2. แผ่นจานแม่เหล็กแบบแข็ง (Hard disk) - ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นโลหะแข็ง ในหนึ่งตัวอาจมีโลหะหนึ่งแผ่นหรือมากกว่า และแบ่งออกเป็นแทรกและเซกเตอร์ ซึ่งสามารถบันทึกได้ทั้ง 2 หน้า - ตำแหน่งที่ทุกแทรกตรงกันเรียกว่า ไซลินเดอร์(Cylinder) เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์หนึ่งตัว ประกอบด้วยแผ่นบันทึกหนึ่งแผ่น ตำแหน่งหน้า 1 แทรก และ หน้า 2 แทรก 10 จะถือว่าเป็นไซลินเดอร์ เดียวกัน

25 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยความจำรอง
แผ่นจานแม่เหล็กแบบแข็ง (Hard disk) ต่อ ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์จะหมุนด้วยความเร็วตั้งแต่ 3,600 รอบต่อนาทีขึ้นไป ความจุของมีความจุตั้งแต่ 1 GB (Giga byte) เป็นต้นไป มี 2 ประเภทคือ ติดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Fixed Disk) - เคลื่อนย้ายได้ (Removable disk)

26 หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยความจำรอง
จานแสง (Optical Disk) - เป็นแผ่นดิสก์ที่เคลือบด้วยพลาสติก และใช้แสงเลเซอร์ในการเก็บบันทึกข้อมูล

27 ซีดีอาร์ดิบเบิลยู (CD-RW )
หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage) 3.2 หน่วยความจำรอง จานแสง (Optical Disk) ซีดีอาร์ (CD-R หรือ Compact Disk Recordable) สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ การบันทึกข้อมูลจะบันทึกได้ครั้งเดียว โดยใช้ เครื่องบันทึกแผ่นซีดี(CD-Writer) ซีดีอาร์ดิบเบิลยู (CD-RW ) สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง ซึ่งการบันทึกข้อมูลลงแผ่น จะต้องใช้กับ เครื่องบันทึกแผ่นซีดี (CD-Writer)

28 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
จอภาพ (Monitor) บนจอภาพจะประกอบไปด้วยจุดเป็นจำนวนมาก จุดเหล่านี้เรียกว่า พิกเซล(pixel) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการสร้างภาพ หนึ่งพิกเซล เกิดจากจุดของแสงหลาย ๆ จุดมารวมกัน มีสามแบบคือ - จอภาพแบบซีอาร์ที (CRT – Cathode Ray Tube) - จอภาพแบบแอลซีดี (LCD - Liquid Crystal Display) - จอภาพแบบแอลอีดี (LED-Light Emitting Diode)

29 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) จอภาพ (Monitor)
จอภาพแบบซีอาร์ที (CRT – Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หลักการทำงาน - ส่งค่าข้อมูลดิจิตอลมาให้อะแดปเตอร์การ์ด ในการ์ดจะมีวงจรเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาลอก แล้วส่งสัญญาณไปยังที่ยิงอิเล็กตรอน - ลำแสงอิเล็คตรอนจะผ่านหลอดภาพเพื่อแสดงผลตามตำแหน่งบน จอภาพต่อไป

30 ประเภทของฮาร์ดแวร์ 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) จอภาพ (Monitor)
จอภาพแบบแอลซีดี (LCD - Liquid Crystal Display) นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา หลักการทำงาน ใช้หลักการเรืองแสง โดยหลอดไฟที่อยู่ข้างหลังจะส่งแสงออกมาทุกทิศทาง ผ่านตัวกรองแสงแบบโพลาไรซ์ และผ่านชั้นผลึกเหลว จากนั้นผ่านตัวกรอง สีแดง เขียว และน้ำเงินและผ่านตัวกรองโพลาไรซ์อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงจะปรากฏเป็นภาพที่หน้าจอภาพ LCD Monitor

31 จอภาพแบบแอลอีดี COMPUTER DEPARTMENT

32 สรุปอย่างได้ใจความได้ว่า LED ก็คือ LCD ที่เปลี่ยนจากหลอด CCFL เป็นหลอด LED ในการกำเนิดแสงนั่นเอง โดยยังใช้ Liquid Crystral ผลึกแข็งกึ่งเหลวคอยบิดตัวเพื่อให้แสง Backlight ส่องผ่านไปยัง Color Filter ทั้ง 3 สี ในการสร้างสีในแต่ละพิกเซล ดังนั้นตามหลักการแล้วมันก็คือ "LED Backlight - LCD " เพียงแต่สลับจากการใช้หลอด CCFL ให้เป็นหลอด LED เพื่อใช้กำเนิดแสง อีกหนึ่งตัวอย่างก็คือ LED เป็นเทคโนโลยีที่มีให้เห็นกันบ่อยในจอโน๊ตบุ๊คที่บางๆ COMPUTER DEPARTMENT

33 โปรเจคเตอร์ ( Projector )
COMPUTER DEPARTMENT

34 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์
2. ซอฟต์แวร์ (Software) ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง ชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสั่งให้ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคำสั่งได้อย่างอัตโนมัติ สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานดังต่อไปนี้ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือ ส่วนควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เช่น ซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการ 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เช่น ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ COMPUTER DEPARTMENT

35 Analog and Digital สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สัญญาณอะนาลอกและสัญญาณดิจิตอล สัญญาณอะนาลอกเป็นสัญญาณที่มีขนาดเป็นค่าต่อเนื่องส่วนสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณ ที่มีขนาดเปลี่ยนแปลง เป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1" หรืออาจจะมีหลายสถานะ ซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องระบบสื่อสารดิจิตอล มีค่าที่ตั้งไว้ (threshold) เป็นค่าบอกสถานะ ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "1" ถ้าต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้ สถานะเป็น "0" ซึ่งมีข้อดีในการทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง COMPUTER DEPARTMENT

36 Analog and Digital สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น สัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน COMPUTER DEPARTMENT

37 Analog and Digital COMPUTER DEPARTMENT

38 คำถามท้ายบท 1. จงบอกชื่ออุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับข้อมูล ว่ามีอะไรบ้าง
2. หน่วยความจำหลักคืออะไร 3. จงบอกชื่ออุปกรณ์ ที่ใช้ในหน่วยความจำรอง 4. จงบอกชื่ออุปกรณ์ ที่ใช้ในหน่วยแสดงผล 5. จงเขียนมายด์แมพปิ้ง ซอฟต์แวร์ 6. จงเขียนมายด์แมพปิ้ง อุปกรณ์ที่เป็น ฮาร์ดแวร์ 7. โปรเจคเตอร์ เป็นอุปกรณ์ในหน่วยใด 8. แผ่น CD-DVD แบบไหนที่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้ 9. หน่วยความจำแบบไหนที่ต้องใช้ไฟเลี้ยงตลอดเวลา ข้อมูลถึงจะไม่ถูกลบไป COMPUTER DEPARTMENT

39 จบ


ดาวน์โหลด ppt คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google