ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Bond and Fixed Income Highlight
27 พ.ย. 2560 Market Performance News & Economic Highlight ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา : ปิดทรงตัว ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนวันหยุด โดยหุ้นกลุ่มบริการด้านเทเลคอม ปรับตัวขึ้นมากที่สุด และหุ้นกลุ่มพลังงานบวกขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ ตลาดหุ้นยุโรป : ปรับตัวลง จากผลของยูโรที่แข็งค่าขึ้น และจากความ ล้มเหลวในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของเยอรมนี ตลาดหุ้นเอเชีย : ตลาดหุ้นญี่ปุ่น : ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแรงหนุนของหุ้นขนาดใหญ่ อาทิ หุ้น ซอฟท์แบงก์ และหุ้นฟานุค และหุ้นกลุ่มการเงิน รวมถึงความหวังต่อเศรษฐกิจโลกที่ ช่วยหนุนบรรยากาศซื้อขายในตลาดหุ้นทั่วโลก ตลาดหุ้นจีน : ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากแรงหนุนของหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่ม พลังงาน สวนทางกับหุ้นกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มเฮลธ์แคร์ที่ปรับฐานลง หลังปรับตัวขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นฮ่องกง : ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงาน หุ้น กลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่มีสัญญาณว่านักลงทุนจีนมีการลงทุน ในตลาดหุ้นฮ่องกงเพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นไทย : ปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม sentiment ของตลาดโลก รวมถึงแรง หนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ท่ามกลางมูลค่าการซื้อขายปานกลางที่ 57, ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมากมีสถานะซื้อสุทธิ ล้านบาท Bond and Fixed Income Highlight อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ % หลังจากตัวเลขดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาดีกว่าคาด อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 2 ปี และ10ปี ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 1.470% และ 2.370% ตามลำดับ Commodity Highlight ราคาน้ำมันล่วงหน้า NYMEX : ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ราคาทอง : ปรับตัวลดลงจากสกุลเงินดอลลาร์ฯที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร ซึ่งเป็นผลมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในเยอรมนี
2
Weekly Investment View
27 พ.ย. – 1 ธ.ค Weekly Investment View ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกปิดปรับตัวลดลงโดยได้รับแรงกดดันจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจจีนเช่น ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ชะลอตัวลง และ ความกังวลต่อความไม่แน่นอนในการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯ รวมถึงการประกาศผลประกอบการผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 3 ในแต่ละประเทศ ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนยังคงต้องติดตาม 1) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขั้นสุดท้ายเดือน พ.ย ของสหรัฐฯ (22 พ.ย.) 2) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. (22 พ.ย.) 3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. ของยุโรป (22 พ.ย.) 4) ประมาณการ GDP ไตรมาส 3/60 ครั้งที่ 2 ของอังกฤษ (23 พ.ย.) 5) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือน ต.ค. ของยุโรปและสหรัฐฯ (23 พ.ย. , 24 พ.ย.) Thai Stock Market Global Stock Market บลจ.วรรณ คาดว่าตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้จะแกว่งตัวลักษณะ sideway up ในกรอบ 1,690-1,730 จุด โดยตลาดไทยคาดว่าจะยังได้แรงหนุนจาก 1) ราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังอยู่ในระดับสูงจากความคาดหวังต่อการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปก ซึ่งจะส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มพลังาน 2) การประกาศ GDP ไตรมาส 3 ออกมาดีกว่าคาดและมีการขยายตัว 4.3% โดยมีการเติบโตมาจากการขยายตัวของการท่องเที่ยว และ ส่งออก 3)มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่คาดว่า กระทรวงการคลัง จะนำเสนอเข้า ครม พิจารณา ในสัปดาห์นี้ ในส่วนของข่าวมาตรการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันในตลาดหุ้นไทยเพียงระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากทาง บลจ.วรรณ คาดว่าแรงขายของนักลงทุนต่างชาติจะเริ่มมีการชะลอตัวลงในช่วงถัดไป บลจ.วรรณ มองว่า สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกมีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ (sideway) โดยคาดว่าตลาดยังคงจับตามองการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งวุฒิสมาชิกจะมีการโหวตภายในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตามคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะเป็นเพียงปัจจัยเข้ามากระทบในระยะสั้น ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่างๆที่ยังดีขึ้นต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงไม่มากและมีโอกาสปรับตัวขึ้นในช่วงต่อไป ทั้งนี้ให้ติดตามรายละเอียดมาตรการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯ และ ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญต่างๆในสัปดาห์นี้ Factor 20 พ.ย. 60 JP ตัวเลขนำเข้าและส่งออกเดือน ต.ค. US ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจเดือน ต.ค. TH GDP ไตรมาส 3 21 พ.ย. 60 US ยอดขายบ้าน ต.ค. 22 พ.ย. 60 US ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขั้นสุดท้ายเดือน พ.ย - ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ต.ค. - รายงานการประชุม FOMC (31 ต.ค. -1 พ.ย.) EU ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 23 พ.ย. 60 EU ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต พ.ย UK แถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางอังกฤษ - ประมาณการ GDP ไตรมาส 3/60 ครั้งที่ 2 24 พ.ย US ประมาณการดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต และ บริการ พ.ย. Bond Market ในสัปดาห์นี้ บลจ.วรรณ คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดพันธบัตรของสหรัฐฯ โดยยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการผ่านร่างกฎหมายการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯที่จะผ่านวุฒิสภาเป็นแรงหนุนให้นักลงทุนยังคงเข้าซื้อพันธบัตร อย่างไรก็ตามในช่วงต่อไปหากกฎหมายการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯมีแนวโน้มผ่านมากขึ้นอาจจะส่งผลให้ดอลลาร์ฯแข็งค่าและกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติอาจมีการขายทำกำไรในพันธบัตรไทยได้ ในส่วนของปัจจัยภายในประเทศในสัปดาห์นี้จะมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB366A และ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย BOT209A ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ไทยมากนักเนื่องจากสภาพคล่องในประเทศยังอยู่ในระดับสูงมาก
3
Fund Recommendation (ในช่วงไตรมาส 4/60)
ONE-FIXED กองทุนฯ จะลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ โดยตราสารที่ลงทุนมีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี กองทุนฯ เน้นลงทุนในตราสารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ Investment Grade เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนระยะสั้นและต้องการสภาพคล่อง ONE-GLOBHY กองทุนลงทุนผ่านกองทุน BNY Mellon Global Short-Dated High Yield Bond Fund(กองทุนหลัก) Class USD W (Acc.) ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) จะลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นทั่วโลกที่ให้ผลตอบแทนในระดับสูง (High Yield Bond) และมีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้ต่างประเทศเพื่อสร้างผลตอบแทนระดับสูง โดยสามารถรับความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตระดับสูง รวมถึงสามารถยอมรับการขาดทุนเงินต้น และความผันผวนของอัตราผลตอบแทนในบางช่วงของระยะเวลาที่ถือหน่วยลงทุน ONE-STOXXASEAN ลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มประเทศอาเซียนที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี STOXX ASEAN SELECT DIVIDEND 30 โอกาสการลงทุนกลุ่มอาเซียนที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงจากอานิสงส์ของการเข้าร่วมกลุ่ม AEC การเติบโตของการบริโภคจากประชากรและการดำเนินนโยบายการเมืองต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกันและการแข่งขันได้ในตลาดโลก ONE-UGG กองทุนฯ จะลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund (กองทุนหลัก) โดยกองทุนหลักจะเน้นลงทุนในตราสารทุนทั่วโลกที่มีศักยภาพในการเติบโต (Growth) และเน้นลงทุนในระยะยาวเพื่อให้สร้างผลตอบแทน รวมทั้งจะมีการผสมผสานกลยุทธ์การลงทุนและการสร้างผลตอบแทนอย่างเหมาะสม เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูงและต้องการกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ ONE-APACPROP เน้นลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น (Asia Pacific ex Japan) ในลักษณะ Fund of Funds ผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์เอเชียชั้นนำ 2 กองทุนรวม ได้แก่ NikkoAM-StraitsTrading Asia ex-Japan REIT ETF และ Phillip SGX APAC Dividend Leaders REIT ETF เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูงและต้องการกระจายการลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ 1SG-LTF กองทุนรวมหุ้นระยะยาว การบริหารกองทุนแบบเชิงรุกเพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนให้ชนะ SET Index (Benchmark) จากการคัดเลือกหุ้น (Stock Selection) โดยเน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ถึงกลาง ที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีและหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในแต่ละช่วงที่เหมาะสม กองทุนฯ ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลระหว่างทาง แต่จะนำเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในหุ้นไป re-invest เพื่อสร้างผลตอบแทนให้แก่กองทุน เหมาะสำหรับ 1) นักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนในหุ้นและรับความเสี่ยงได้สูง 2) บุคคลธรรมดาที่ต้องการลดหย่อยภาษีและปฏิบัติตามเงื่อนไข การลงทุนของการลงทุนประเภท LTF ได้ ONE-UGERMF กองทุนฯ เน้นสร้างโอกาสผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นทั่วโลกอย่างไม่มีข้อจำกัด โดยผ่านการลงทุนในหุ้นเติบโตในระยะยาวผ่านกองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund (LTGG) และกระจายความเสี่ยงผ่านหน่วยลงทุน ETF ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และกลางในประเทศที่พัฒนาแล้วผ่านกองทุน ETF : Ishares MSCI ACWI ETF และ SPDR MSCI ACWI UCITS ETF ได้รับประโยชน์สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับบุคลลธรรมดา เหมาะสำหรับ 1) นักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง 2) บุคคลธรรมดาที่ต้องการลดหย่อยภาษีและปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนของการลงทุนประเภท RMF ได้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.