ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction of Research)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction of Research)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction of Research)
ดร.บรินดา สัณหฉวี

2 ความหมายของการวิจัย การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชาการ หรือตรงกับ คำในภาษาอังกฤษ คือ “Research” (พจนานุกรมฯ ๒๕๔๒) การค้นคว้าหาความรู้ในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ ชัดเจน และการศึกษาค้นคว้าจะต้องทำอย่างมีระบบแบบแผนทาง วิทยาศาสตร์

3 Research is an Organized and Systematic way to
Finding answers to Questions.

4 สรุปความหมายของ “วิจัย”
- การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ (Finding answer to questions) - มีวัตถุประสงค์การค้นคว้าที่แน่ชัด (Focused and limited to a specific scope) - ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ (Systematic procedures)

5 การแบ่งประเภทของการวิจัย
 หลักในการจำแนกประเภท - มีกลุ่มครบถ้วน (Mutually exhaustive) - แยกออกจากกันโดยชัดเจน (Mutually exclusive) - มีความหมายที่ชัดเจนและมีจำนวนมากพอ  ประเภทของการวิจัย : จำแนกตามวิธีการวิจัย 1.) การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) 2.) การวิจัยประยุกต์ (Applied research)

6 ลักษณะของการของการวิจัยพื้นฐาน
1.) จุดมุ่งหมายหลัก - เป็นการค้นหาคำตอบว่า “อะไร” หรือ “ทำไม” - เพื่อค้นหาและเพิ่มพูนความรู้ทางทฤษฎี หรือค้นหาความรู้ ทางทฤษฎี(Theoretical research) - ผลการวิจัยอาจนำไปใช้หรือไม่ได้นำไปใช้ในการแก้ปัญหา อาจเรียกการวิจัยชนิดนี้ว่า การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) - เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ทางเศรษฐกิจ

7 ลักษณะของการของการวิจัยพื้นฐาน (ต่อ)
2.) วิธีการศึกษาวิเคราะห์ - อาศัยความรู้จากหลักวิชาหรือทฤษฎีของศาสตร์นั้น ๆ - มีการทดสอบหรือพิสูจน์โดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ก่อนที่จะยอมรับ จึงมีชื่อเรียกว่า การวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research) - เครื่องมือวิเคราะห์ที่นิยมใช้ในทางเศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องมือ ทางสถิติ เช่น ค่า mean , correlation, econometric 3.) ผลการวิจัย - เกิดเป็นทฤษฎีใหม่ หรือการเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎี - เศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักความจริง (Positive economics)

8 ลักษณะของการของการวิจัยประยุกต์
1.) จุดมุ่งหมายหลัก - ค้นหาคำตอบ “อย่างไร, เมื่อไร, ที่ไหน, เพื่อใคร , โดยใคร” - เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้แก้ปัญหา/ตัดสินใจ - อาจเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยมีการเรียนรู้และทำวิจัยควบคู่กันไปด้วย หรือที่เรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

9 ลักษณะของการของการวิจัยประยุกต์ (ต่อ)
2.) วิธีการศึกษาวิเคราะห์ - มุ่งหาหลักการหรือวิธีการที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขหรือ ข้อจำกัดที่มีอยู่ - อาศัยทฤษฎีและหลักการต่าง ๆ ผสมผสานกับค่านิยมของสังคม เพื่อใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์ 3.) ผลการวิจัย - ได้แนวทางการแก้ปัญหา/แนวนโยบายที่เหมาะสม - เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการกำหนดนโยบาย(Normative economics)

10 ความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัย
ต้องการปรับปรุงความเป็นอยู่ของตนเอง/สังคมให้ดีขึ้น - ความต้องการที่ไม่หยุดนิ่งและไม่สมดุลกับทรัพยากรที่มีอยู่ - ความรู้ใหม่แก้ปัญหาให้กับคนหนึ่งแต่กระทบคนกลุ่มอื่น ประโยชน์ของการวิจัย - เกิดวิชาความรู้ใหม่ - เข้าใจปัญหาและช่วยแก้ปัญหา - ช่วยในการกำหนดนโยบาย และวางแผน - ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร - ทราบถึงข้อบกพร่องของการดำเนินการ

11 วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
1.) วิธีการอนุมาน (Deductive method) - การหาความรู้โดยวิธีการนำเอาความจริงหรือทฤษฎีที่มีอยู่ มาอธิบายหรือวิเคราะห์ เพื่อหาความรู้เฉพาะเรื่อง ตั้งสมมติฐาน การทดสอบสมมติฐาน 2.) วิธีการอุปมาน (Inductive method) - ความจริงเฉพาะเรื่องไปอธิบายส่วนใหญ่ เป็นการหาความรู้ โดยมุ่งสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำมาสร้างเป็นข้อสรุปทั่วไป รวบรวมข้อเท็จจริง การทดสอบความถูกต้อง

12 ขอบเขตของของการวิจัยทางสังคมศาสตร์
 เป็นศาสตร์ว่าด้วยการจัดสรร - การศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เป็นศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรม - การศึกษาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์หรือองค์กรทางธุรกิจและ เศรษฐกิจ  เป็นศาสตร์ว่าด้วยกำหนดนโยบาย - การศึกษาแนวทางในการกำหนดนโยบายและวางแผน

13 กระบวนการและขั้นตอนการวิจัย

14 เนื้อหาการบรรยาย ขั้นตอนการวิจัย กระบวนการวิจัย การดำเนินการวิจัย
การเลือกหัวเรื่องวิจัย การตั้งสมมติฐาน การสำรวจเอกสารงานวิจัย การกำหนดนิยามตัวแปร การกำหนดประเด็นปัญหา การเก็บข้อมูล การกำหนดขอบข่ายทฤษฎี การวิเคราะห์และตีความ การกำหนดแบบจำลอง การนำเสนอรายงานการวิจัย

15 การลงมือดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนในการวิจัย แบ่งออกได้เป็น ๔ ขั้นตอนสำคัญ ขั้นที่ ๔. ขั้นที่ ๓. การเสนอผลการวิจัย ขั้นที่ ๒. การลงมือดำเนินการวิจัย ขั้นที่ ๑. การออกแบบ วิจัย การเตรียม การวิจัย

16 ขั้นตอนในการวิจัย ขั้นที่ ๑. การเตรียมการวิจัย
การพิจารณาเลือกและกำหนดปัญหาที่จะทำวิจัย การเลือกหัวเรื่องและการตั้งชื่อเรื่อง

17 ขั้นที่ ๒. การออกแบบวิจัย
ศึกษาค้นคว้าจากทฤษฎี แนวคิด งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กำหนดรูปแบบหรือแนวทางการวิจัยให้เหมาะสมกับปัญหาที่จะศึกษา การกำหนดกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) หรือแบบจำลองของเรื่องที่จะศึกษา การกำหนดสมมติฐานการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการเลือกใช้เครื่องมือทางสถิติ

18 ขั้นที่ ๓. การลงมือดำเนินการวิจัย
ดำเนินการตามแผน(แบบการวิจัย)ที่วางไว้ ขั้นที่ ๔. การเสนอผลการวิจัย การรวบรวมข้อค้นพบสำคัญที่ได้จากการลงมือดำเนินการวิจัย ตลอดจนการเตรียมการและการออกแบบการวิจัย พิจารณารูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ต้องสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการไปและสิ่งที่ค้นพบ

19 กระบวนการการวิจัย “ กระบวนการการวิจัย หมายถึง กิจกรรมและวิธีการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือความรู้ใหม่ ๆ อย่างมีขั้นตอนซึ่งมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน”

20 สร้าง+ทดสอบวิธีการเก็บรวบ
กำหนดหัวข้อ ตีพิมพ์ รายงาน กำหนดประเด็น ทบทวน วรรณกรรม สร้างกรอบ แนวคิด สมมติฐาน ออกแบบ การวิจัย สุ่มตัวอย่าง กำหนประชากรเป้าหมาย สร้าง+ทดสอบวิธีการเก็บรวบ รวมข้อมูล กำหนดแนวทาง และวิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูล จัดระเบียบหัวข้อ ร่างรายงาน ปรับปรุง เผยแพร่

21 ขั้นตอนการค้นหา (Search)
- การทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ - การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่สังเกต - การสำรวจระบบของปรากฏการณ์

22  การดำเนินการวิจัย (Research)
การเลือกหัว ข้อวิจัย การสำรวจเอกสาร การกำหนดประเด็นปัญหา การตั้ง สมมติฐาน การกำหนดแบบจำลอง กำหนดขอบข่ายของทฤษฎี กำหนดนิยามตัวแปร เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และตีความ นำเสนอรายงานการวิจัย

23 การเลือกหัวข้อวิจัย (Topic Selection)
- จุดเริ่มต้นของการวิจัย : กำหนดหัวข้อไว้กว้าง ๆ - กำหนดชื่อเรื่อง : ลักษณะแคบกว่าหัวข้อ/สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ - ชื่อเรื่องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (เมื่อได้ประเด็นที่ชัดเจน)

24 การสำรวจเอกสาร (Literature Survey)
- ช่วยให้ทำงานไม่ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น - เข้าใจสภาวะเบื้องต้นของเรื่องที่ศึกษา - กำหนดขอบข่ายของแบบจำลอง และตัวแปรที่จะศึกษา

25 การกำหนดประเด็นปัญหา (Formulating Researchable Problem)
- กำหนดคำถามให้ชัดเจน : อาจมีได้มากกว่า 1 ประเด็น - ประเด็นปัญหาจะบอกถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะศึกษา - สามารถทำไปพร้อมกับขั้นตอนที่ 1.) และ 2.)

26 การกำหนดขอบข่ายของทฤษฎี (Theoretical Framework)
- หาขอบข่ายของแนวคิด/ทฤษฎี ที่ประกอบด้วยเหตุและผล - กรอบในการค้นหาแนวคำตอบ - เข้าใจในระบบโครงสร้างและพฤติกรรมของเรื่องที่ศึกษา

27 การกำหนดแบบจำลอง (Model)
- เข้าใจปรากฏการณ์จริงดีขึ้น : มีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย - เป็นการเลียนแบบและสะท้อนให้เห็นภาพของปรากฏการณ์ - อาศัยแนวคิด/ทฤษฎีอย่างมีเหตุผล

28 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
- สมมติฐาน : กำหนดแนวคำตอบไว้ล่วงหน้า - กำหนดทิศทางของการวิจัย

29 การกำหนดนิยามตัวแปร - กำหนดคำจำกัดความตัวแปรที่ศึกษาให้ชัดเจน - ตัวแปรที่ต้องการวัด มาตรการวัด วิธีการวัด - สอดคล้องกับแบบจำลอง

30 การเก็บข้อมูล (Data Collection)
- เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่กำหนดไว้ - แหล่งของข้อมูลที่ใช้ ตลอดจนวิธีการเก็บข้อมูล

31 การวิเคราะห์และตีความ
- กำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ชัดเจน - เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับข้อมูลและวัตถุประสงค์การวิจัย - มีการตรวจสอบข้อมูล แจกแจงข้อมูล การคำนวณ

32 การนำเสนอรายงานการวิจัย
- ขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย - นำเสนอสิ่งที่ค้นพบ (Finding)

33 การกำหนดประเด็นปัญหา+วัตถุประสงค์
การสังเกตปรากฏการณ์ และการเลือกหัวข้อ กรอบทฤษฎี ข้อสมมติฐาน การวิจัย การกำหนดประเด็นปัญหา+วัตถุประสงค์ การทบทวนเอกสารและ การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น แบบจำลองแนวคิด ที่มีเหตุผลและตัวแปร แบบจำลองแนวคิด การวัดการทดสอบ ตัวแปร การวิเคราะห์ การประมวลผลข้อมูล การทดสอบ - การตีความ การเสนอผลการวิจัย การเก็บข้อมูล หลักฐาน

34 ประเด็นปัญหาการวิจัย
การกำหนดหัวข้อและ ประเด็นปัญหาการวิจัย

35 เนื้อหาการบรรยาย การกำหนดหัวเรื่องและประเด็นปัญหา
ที่มาของหัวเรื่องการวิจัย หลักในการกำหนดหัวเรื่อง การพิจารณาเลือกหัวข้อวิจัย การกำหนดประเด็นปัญหา หลักเกณฑ์ในการกำหนดประเด็นปัญหา แนวทางการกำหนดประเด็นปัญหา การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย

36 การกำหนดหัวข้อเรื่องและประเด็นปัญหาการวิจัย
จุดเริ่มต้นของการวิจัย : เป็นการกำหนดทิศทางและขอบเขตของเรื่อง ที่จะทำการศึกษาวิจัย สัมพันธ์กับกิจกรรมอื่น ๆ ของการวิจัย ประเด็นปัญหา สมมติฐาน วัตถุประสงค์ ค้นคว้าหาหลักฐาน การทดสอบ สรุปผล ข้อสงสัย/คำถาม คำตอบ

37 ที่มาของหัวข้อเรื่องการวิจัย
๑. ผู้ที่จะทำวิจัย - ความสนใจของผู้วิจัยเอง ๒.วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง- เช่น วารสารบริหารธุรกิจ ๓. ผู้นำทางวิชาการ- นักวิชาการในสาขาต่าง ๆ ๔. แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย- เช่น สภาวิจัยแห่งชาติ ๕. ข่าวในสื่อมวลชน- เรื่องที่อยู่ในความสนใจ/ ความทันเหตุการณ์ ๖. หน่วยงานที่ทำงาน- หน่วยงานที่ผู้วิจัยทำงานอยู่

38 หลักในการกำหนดหัวข้อเรื่อง
๑. เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ๒. เป็นเรื่องที่ไม่กว้าง หรือแคบเกินไป ๓. เป็นเรื่องที่อยู่บนพื้นฐานของความจริง ๔. เป็นเรื่องที่บ่งถึงสภาวะที่เป็นปัญหา

39 การพิจารณาเลือกหัวข้อวิจัย
ด้านตัวผู้วิจัย ผู้วิจัยมีความสนใจ ใคร่รู้อย่างแท้จริง เป็นเรื่องคุ้มค่าการลงทุน เป็นเรื่องที่ผู้วิจัยสามารถทำได้

40 ด้านปัญหาที่จะทำวิจัย
เป็นเรื่องใหม่ไม่ซ้ำกับเรื่องเดิมที่มีผู้ทำวิจัยมาก่อน เป็นเรื่องที่มีความเหมาะสมกับงานวิจัย สามารถหาคำตอบได้และมีข้อยุติ เป็นเรื่องที่มีคุณค่าสามารถนำผลการวิจัยใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่องค์กร

41 ด้านปัจจัยสนับสนุนการวิจัย
เป็นเรื่องที่มีแหล่งสำหรับค้นคว้าเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างพียงพอ เป็นเรื่องที่มีผู้สนับสนุนด้านวิชาการ เป็นเรื่องที่มีวัสดุอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ

42 ข้อบกพร่องในการเลือกหัวข้อวิจัย
เลือกปัญหาการวิจัยตามผู้อื่น เลือกปัญหาใหญ่กว้างเกินกำลัง เลือกปัญหาอย่างรีบร้อน

43 การกำหนดประเด็นปัญหา : ทำไมต้องกำหนดประเด็นปัญหา?
๑. เป็นแนวทางในการวิจัย ๒. ช่วยในการวางแผนการวิจัย ๓. ช่วยในการออกแบบสอบถามและเก็บข้อมูล ๔. ช่วยในการกำหนดสมมติฐาน ๕. ช่วยให้ผู้วิจัยพบว่าจะทำการวิจัยได้หรือไม่

44 หลักเกณฑ์ในการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย
๑. เป็นปัญหาที่ชัดเจน ๒. เป็นปัญหาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร ๓. เป็นปัญหาที่จะให้คำตอบที่มีความหมาย ๔. เป็นปัญหาที่จะให้คำตอบซึ่งทดสอบได้

45 แนวทางกำหนดประเด็นปัญหา
๑. อาศัยปรากฏการณ์หรือประสบการณ์ ๒. อาศัยทฤษฎีและหลักเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ๓. อาศัยความอยากรู้อยากเห็น ๔. อาศัยทัศนคติและอุดมการณ์

46 การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย
๑. สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ๒. ลักษณะของการเก็บข้อมูล ๓. ประชากรเป้าหมาย/สถานที่ ๔. ประเด็นสาระสำคัญของการวิจัย

47 ตัวอย่างการตั้งชื่อการวิจัย:
“ผลกระทบการเปิดเสรีทางการค้าขององค์การการค้าโลกต่อสินค้าอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทย” ประเด็นสำคัญฯ ศึกษาผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้า ตัวแปรที่ศึกษา การเปิดเสรีทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศประชากรเป้าหมาย สินค้าอุตสาหกรรม

48 งานครั้งที่ ๑ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ กำหนดหัวเรื่องการวิจัยและชื่อเรื่องการวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑. ชื่อเรื่อง ๒. หัวเรื่องการวิจัย ๓. สถานการณ์ของปัญหา ๔. ประเด็นปัญหา ๕. สรุป

49 ชื่อเรื่องการวิจัย : …………………………………………………………
หัวเรื่องการวิจัย : ………………………………………………………. ………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………….

50 สถานการณ์ปัจจุบัน : ………………………………………………………
……………………………………………………………………………… ประเด็นปัญหา : ………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………. สรุป : …………………………………………………………………….

51 ชื่อเรื่องการวิจัย : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคข้าวของคนไทย
(หัวเรื่องการวิจัย) : …ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ คนไทย เพราะข้าวเป็นทั้งอาหารและอาชีพหลักของคนไทย .....จากข้อมูลทางสถิติพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตข้าวเป็นลำดับ ต้น ๆ ของโลก โดยในปีพ.ศ ประเทศไทยมีการผลิตข้าวเป็นลำดับที่ ๓ ของโลก รองจากประเทศ นอกจากข้าวจะเป็นพืช เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยดังที่กล่าวมาแล้ว คนไทยยังมีการบริโภค ข้าวเป็นอาหารหลักในทุกมื้อ

52 (สถานการณ์ปัจจุบัน) : …ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยได้
เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต เนื่องจากการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกทำ ให้ทุกวันนี้คนไทยหันไปบริโภคอาหารประเภทกินด่วน (Fast Food) มากขึ้น ทำให้การบริโภคข้าวของคนไทยลดลง โดยจากข้อมูลในปี … (ประเด็นปัญหา) : …ปัจจัย(อะไร)ที่ทำให้การบริโภคข้าวของคนไทยลดลง โดยการ...อาศัยแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์...ปัจจัยกำหนดอุปสงค์... (สรุป) : …จากสภาพปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้ทำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาหาคำตอบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคข้าวของคนไทย…

53 วัตถุประสงค์การวิจัย
การศึกษาวิจัยต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะที่เป็นปัญหา ประเด็นปัญหา ข้อสมมติฐาน และวัตถุประสงค์การวิจัย สภาวะที่เป็นปัญหา วัตถุประสงค์ ประเด็นปัญหา สมมติฐาน

54 การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
ลักษณะและการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย  ต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง สภาพความเป็นมาของปัญหา  สามารถกำหนดสมมติฐานการวิจัยได้  ต้องครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษา  ต้องระบุสิ่งที่จะศึกษา ตัวแปร และกลุ่มที่ศึกษา  ภาษาที่ใช้ สั้น กะทัดรัดได้ใจความ ชัดเจน  สามารถกำหนดรูปแบบการวิจัยได้

55 ชื่อเรื่อง : “การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตแผ่นยางรมควันระหว่างภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย” ความเป็นมาของปัญหา ปัจจุบันมีการการขยายการผลิตยางไปยังภาคตะวันออก จึงควรที่จะมีการศึกษาเปรียบเทียบ ต้นทุนการผลิตและปริมาณการผลิตยางแผ่นรมควันระหว่างการผลิตของภาคตะวันอออก และภาคใต้ ว่าแตกต่างกันหรือไม่? เมื่อวิเคราะห์ปัญหาจะพบว่า สิ่งที่ต้องการศึกษาเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ สถานที่ผลิตยาง ต้นทุนการผลิตแยกเป็นด้านต่างๆ วัตถุประสงค์ ๑). เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตยางแผ่นรมควัน ที่ผลิตในภาคตะวันออกและภาคใต้ ๒). เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ด้าน วัตถุดิบ ค่าแรง ค่าดอกเบี้ย ค่าขนส่ง และ ปริมาณการผลิต

56 พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคน
ไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยในช่วง ๑๐ ปีที่ ผ่านมามีการบริโภคข้าวลดลงจาก ๑๖๐ กก./หัว/ปี เหลือเพียง ๑๕๐ กก./หัว/ปี และพบมีการนำเข้าข้าวสาลีเพิ่มขึ้น เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภค และปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหาร ของคนไทย ราคาของขนมปังและรสนิยมการบริโภค ของคนไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภค และอุปสงค์สำหรับขนมปังของคนไทยเปลี่ยน แปลงไป เมื่อราคาขนมปังถูกลงผู้บริโภคจะ ซื้อขนมปังเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นผู้บริโภคยัง นิยมบริโภคขนมปังเพราะสะดวกในการปรุง ปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพล ต่อความต้องการและการบริโภค ขนมปังของคนไทย

57 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
(Related Literature)

58 เนื้อหาการบรรยาย วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประเภทของการทบทวนวรรณกรรม ประโยชน์ในการทบทวนวรรณกรรม ประเด็นสำคัญ ๆ จากการทบทวนวรรณกรรม

59 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (related literature)
หมายถึง เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง/ ชื่อเรื่องการวิจัย ที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ ได้แก่ ตำรา รายงานประจำปี บทความในวารสาร ดัชนี พจนานุกรม รายงานสถิติ จุลสาร

60 วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม
อาจเป็นงานวิจัย รายงาน บทความ ตำราวิชาการ ช่วยหาประเด็นทำวิจัย แนวคิด กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ ป้องกันการทำวิจัยซ้ำซ้อน เรื่องที่ได้มีการทำมาแล้ว ช่วยชี้พรมแดนความรู้ วิจัยที่จะทำเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน แง่ใดบ้าง ทำให้เกิดแนวคิดที่มีทิศทาง พัฒนาความคิดภายใน เพื่อออกแบบการศึกษาวิจัย

61 ประเภทการทบทวนวรรณกรรม
ทบทวนเชิงศึกษาด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มความรู้ เชิงเนื้อหาสาระ ให้เห็นภาพกว้าง เชิงประวิติศาสตร์ แสดงการพัฒนาประเด็นที่ทำวิจัย เชิงทฤษฎี เพื่อเปรียบเทียบกับประเด็นปัญหาที่ทำวิจัย เชิงวิธีการศึกษา งานแต่ละชิ้นมีวิธีการอย่างไร เพื่อสรุปว่า ขณะหนึ่งขณะใดมีอะไรบ้างที่รู้กันแล้ว

62 ประโยชน์ในการทบทวนวรรณกรรม
ชี้จุดแข็งจุดอ่อนงานวิจัยอื่นๆ ทั้งเชิงทฤษฎี, เชิงประจักษ์ ช่วยบ่งชี้ทฤษฏีที่นำมาใช้ หรือ ทดสอบ เสนอแนะวิธีการที่จะใช้ในการศึกษา อธิบายเทคนิคการเก็บข้อมูล และ เครื่องมือที่ใช้ มีเทคนิคในการแบ่งประเภท จำแนกข้อมูล ชี้แนะการทำตาราง สถิติ กราฟ แสดงวิธีตีความผลการวิจัย เกิดความคิดในปัญหาที่จะทำวิจัย แสดงวิธีการเสนองานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์ เสนอแนะแหล่งสำหรับพิมพ์ผลงานวิจัย

63 ประเด็นสำคัญ ๆ จากการทบทวนวรรณกรรม
ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ปีที่เขียน(ข้อมูลควรครบถ้วนเพื่อเขียนอ้างอิง) ปัญหาในการวิจัย หรือ วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ข้อมูลที่ใช้ และ วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย (ข้อค้นพบ) ข้อสรุป เสนอแนะ

64 งานครั้งที่ ๒ จากหัวเรื่อง/ชื่อเรื่องการวิจัย ให้นักศึกษาดำเนินการศึกษา ค้นคว้าผลงานวิจัย/ หรือผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องการวิจัย โดยต้องมีวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๖ เรื่อง (ไม่เกิน ๑๐ ปี) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องต้องประกอบด้วยงานวิจัยภาษาอังกฤษอย่างน้อย ๒ เรื่อง

65 กรอบแนวคิดและแบบจำลองการวิจัย

66 เนื้อหาการบรรยาย ความสำคัญของการกำหนดกรอบแนวคิด
ที่มาของกรอบแนวคิดในการวิจัย หลักในการเลือกกรอบแนวคิดในการวิจัย ประโยชน์ของการเลือกกรอบแนวคิดในการวิจัย การประยุกต์ความรู้สู่กรอบแนวคิด แบบจำลอง ประเภทของแบบจำลอง การสร้างแบบจำลองและตัวแปร การเสนอกรอบแนวคิด

67 ความสำคัญของการกำหนดกรอบแนวคิด
เป็นส่วนหนึ่งของการประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาวิจัย(จากแหล่งต่างๆ หรือประสบการณ์ตรง)เป็นอย่างดี เพื่อให้ผลการศึกษาที่ได้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ เป็นแนวทาง/แนวคิดที่นำมาใช้ในการวิจัยที่กำลังจะศึกษาวิจัยต่อไป จากความรู้ทางทฤษฎี หรือประสบการณ์ในอดีตที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านำมาบูรณาการขึ้นเป็นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย ได้แก่ การกำหนดสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการวิเคราะห์ เป็นต้น

68 ที่มาของกรอบแนวคิดในการวิจัย
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - งานวิจัยที่มีผู้อื่นได้ทำมาแล้วในอดีต โดยมีประเด็นตรงกับประเด็นที่ต้องการศึกษา เช่น วิทยานิพนธ์ , ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นต้น ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง - ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา (ตัวแปร,ความสัมพันธ์) ซึ่งได้มีการทดสอบความถูกต้องมาแล้วในระดับหนึ่ง แนวคิดของผู้วิจัย - จากความคิดและประสบการณ์ของผู้วิจัย

69 หลักในการเลือกกรอบแนวความคิดในการวิจัย
ความตรงประเด็น - ผู้วิจัยควรเลือกแนวคิดที่ตรงกับประเด็นของการวิจัย ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน - ควรเลือกทฤษฎีที่เข้าใจง่ายแต่อธิบายเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ ความสอดคล้องกับความสนใจ - ควรมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับตัวแปรตรงกับความสนใจ ความมีประโยชน์ในเชิงนโยบาย - เลือกตัวแปรที่สามารถนำมากำหนดเป็นนโยบายได้

70 ประโยชน์ของการเลือกกรอบแนวความคิดในการวิจัย
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล - เก็บข้อมูลหรือตัวแปรอะไร จากแหล่งใด ตลอดจนวิธีการเก็บข้อมูล ขั้นตอนการออกแบบ - วิธีการวัดตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล - ทราบถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำมาใช้ ขั้นตอนการตีความหมาย - ทำให้การตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่น

71 การอธิบายเชิงสังคมศาสตร์
การประยุกต์ความรู้สู่กรอบแนวคิด การอธิบายเชิงสังคมศาสตร์ ความรู้/ทฤษฎี กรอบแนวคิด การอธิบายแบบอุดมคติ (Paradigm) การอธิบายแบบประวัติศาสตร์ (Historical) การอธิบายแบบน่าจะเป็นไปได้ (Probabilistic) การอธิบายแบบหน้าที่ (Functional)

72 “ยังไม่ใช่การอธิบายเชิงเหตุผลโดยสมบูรณ์”
(Paradigm) อธิบายถึงผลที่เกิดตามมาจากข้อเสนอที่เป็นจริงหรือเกิดขึ้นจริง ทองคำเป็นของที่หายาก เพราะฉะนั้นจึงมีราคาแพง (Historical) อธิบายแสดงลำดับการเกิดของเหตุการณ์ เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การประกอบอาชญากรรมจึงมีมากขึ้น (Probabilistic) อธิบายโดยอาศัยประสบการณ์ ครอบครัวที่มีรายได้สูงจะมีจำนวนรถยนต์ส่วนตัวมากกว่าครอบครัวที่ทีรายได้ต่ำ (Functional) อธิบายโดยพิจารณาจากบทบาทหน้าที่ รัฐบาลมีหน้าที่ให้บริการสาธารณะป้องกันประเทศ จึงต้องเก็บภาษีจากประชาชน “ยังไม่ใช่การอธิบายเชิงเหตุผลโดยสมบูรณ์”

73 สรุป การอธิบายได้อย่างแท้จริงเชิงเหตุผลและเป็นเชิงวิทยาศาสตร์ จะต้องสามารถพิสูจน์ได้ กล่าวคือ ผลเกิดจากเหตุ และสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน หรือตรงข้ามกัน ทดสอบได้ว่ามีความเป็นเหตุเป็นผลแท้จริง เหตุนำไปสู่ผล ทดสอบได้ว่าความสัมพันธ์ของเหตุและผลเป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง พิจารณาว่าเหตุที่ทำให้เกิดผลนั้น เป็นสาเหตุเดียวหรือเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆสาเหตุ

74 แบบจำลอง (Model) แบบจำลอง หมายถึง หุ่นหรือแบบลอกเลียนจากของจริง จากปรากฎการณ์ที่เป็นจริง หรือจากแนวคิด โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงหรือเรียบเรียงข้อเท็จจริง ปรากฎการณ์หรือแนวคิดให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เข้าใจปรากฎการณ์หรือแนวคิดได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากของจริงอาจใหญ่เกินไป ปรากฎการณ์หรือแนวคิดอาจมีลักษณะกว้างขางและสลับซับซ้อนมากจนยากที่เข้าใจหรือวิเคราะห์ได้

75 ประเภทของแบบจำลอง แบบจำลองทางวัตถุ (Material Model)
เช่น แบบจำลองลูกโลก / แบบจำลองบ้าน / แบบจำลองเครื่องบินโบอิ้ง แบบจำลองทางแนวคิด (Intellectual Model) เช่น แบบจำลองดุลยภาพของตลาด (Market equilibrium) / แบบจำลองการหมุนเวียนของผลผลิตและรายได้ (The circular flow of product and income) เป็นต้น

76 แบบจำลองการวิจัย แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Model)
แสดงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของการพรรณา แผนภาพ หรือสัญลักษณ์ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์อย่างมีเหตุผล โดยนำเอาทฤษฎีที่มีอยู่แล้วมาอธิบายปรากฎการณ์ที่ต้องการศึกษา แบบจำลองทางสถิติ (Statistical Model) แสดงหรืออธิบายแนวคิดในการวัดค่าของตัวแปรต่าง ๆ ตลอดจนการวิเคราะห์และการทดสอบค่าสถิติ

77 การสร้างแบบจำลองและตัวแปร
แบบจำลองจะต้องประกอบด้วยชุดของตัวแปร ซึ่งเป็นตัวแทนของปรากฎการณ์หรือแนวคิด ตัวแปรในแบบจำลองการวิจัยแยกได้เป็น ๓ ประเภทตามลักษณะความสัมพันธ์ คือ - ตัวแปรตาม (Dependent Variable) - ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) - ตัวแปรคุม (Controlled Variable)

78 ตัวแปรตาม (Dependent Variable)
คือ ตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัว บางครั้งอาจเรียกตัวแปรประเภทนี้ว่าตัวแปรผล คือ เป็นผลที่เกิดจากตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจำลองอาจมีตัวแปรตามเพียง ๑ ตัว หรือหลายตัวก็ได้ เช่น ปริมาณการบริโภคขนมปังของคนไทย (C) เปลี่ยนแปลงไปตามราคาขนมปัง (P) และรายได้ (Y) ในกรณีนี้ปริมาณการบริโภคขนมปังของคนไทยเป็นตัวแปรตาม

79 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable)
คือ ตัวแปรที่แสดงปรากฏการณ์ที่เป็นอิสระหรือไม่ได้รับอิทธิพลจากตัวแปรตัวอื่น ๆ เช่น ปริมาณการบริโภคขนมปังของคนไทย (C) เปลี่ยนแปลงไปตามราคาขนมปัง (P) และรายได้ (Y) ในกรณีนี้ราคาขนมปัง และรายได้เป็นตัวแปรอิสระ การกำหนดตัวแปรอิสระอาจพิจารณาได้ตามทฤษฎี หรือพิจารณาจาปรากฏการณ์ว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล นอกจากนี้ในบางครั้งอาจพิจารณาให้ตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงยากกว่าเป็นตัวแปรอิสระ

80 ตัวแปรคุม (Controlled Variable)
คือ ตัวแปรที่แสดงปรากฏการณ์ที่ครอบคลุมตัวแปรอื่น ๆ ที่สมมติให้คงที่ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรตามและตัวแปรอิสระภายใต้เงื่อนไขของตัวแปรคุม เช่น ภายใต้เงื่อนไขว่าลักษณะครอบครัวที่เหมือนกัน พฤติกรรมการบริโภคขนมปังของคนไทยจะแตกต่างกันไปตามราคา และรายได้ต่อหัว

81 การเสนอกรอบแนวความคิด
แบบพรรณาความ - เพื่อบรรยายให้เห็นว่าในการวิจัยครั้งนี้มีตัวแปรอะไรบ้างที่สำคัญเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือประเด็นของการวิจัย ตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างไร มีเหตุผลหรือทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน - กรอบแนวคิดที่เสนอในลักษะดังกล่าวบางครั้งมีความยาวมาก จึงเกิดความสับวนและไม่ชัดเจนในแนวคิดของผู้วิจัย ในบางครั้งจึงใช้วิธีการเสนอแบบอื่นประกอบด้วย

82 แบบจำลอง - แสดงแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปรในรูปของสัญลักษณ์ หรือสมการซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยแบบจำลองการวิจัยอาจจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ - แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ - แบบจำลองทางสถิติ/เศรษฐมิติ (ต้องระบุว่าสัญลักษณ์หรืออักษรแต่ละตัวที่ใช้หมายความว่าอะไร)

83 ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Model)
C = f (P, Y)…………..(1) เมื่อ C = ปริมาณการบริโภคขนมปังปอนด์ ของครัวเรือนไทย P = ราคาเฉลี่ยขนมปังปอนด์ที่ซื้อโดยครัวเรือน Y = รายได้เป็นตัวเงินของครัวเรือน ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม

84 แบบจำลองทางสถิติ (Statistical Model)
จาก (1) C =  + 1Pi 2Yi Ui เมื่อ C = ปริมาณการบริโภคขนมปังของคนไทย (กรัม/คน/เดือน) P = ราคาเฉลี่ยขนมปังที่ซื้อโดยครัวเรือน (บาท/กรัม) Y = รายได้เป็นตัวเงินของครัวเรือน (บาท/คน/เดือน) U = ค่า error term  = ค่าคงที่ (Constant)  i = ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรต่าง ๆ (Coefficient)

85 แบบแบบแผนภาพ - แนวคิดการวิจัย “ราคาขนมปัง รายได้ และรสนิยมต่างมีความสัมพันธ์กับการบริโภคขนมปังฯ” แต่ไม่มีความสัมพันธ์กันเอง รายได้และรสนิยมมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ส่วนราคาขนมปังฯมีผลในเชิงลบต่อการบริโภคขนมปัง ราคาขนมปังปอนด์ รสนิยมของผู้บริโภค ปริมาณการบริโภค ขนมปังปอนด์ รายได้เป็นตัวเงิน - 1 + 2 + 3

86 แบบผสมผสาน - การเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยไม่จำเป็นว่าเมื่อใช้วิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว จะใช้วิธีการอื่นอีกไม่ได้ เช่น การเสนอกรอบแนวคิดในแบบของการพรรณากับแบบจำลองด้วยสมการ หรือการพรรณากับแผนภาพ เป็นต้น - การเลือกกรอบแนวคิดเป็นสิ่งสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย เพราะมีความเกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนของการวิจัย นับตั้งแต่การกำหนดหัวข้อ และประเด็นของการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมไปจนถึงสมมติฐานสำหรับ การวิจัย การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล

87 การตั้งสมมติฐานและการกำหนดตัวแปร

88 เนื้อหาการบรรยาย สมมติฐานการวิจัย คุณสมบัติของสมมติฐานการวิจัย
แหล่งที่มาของสมมติฐานการวิจัย ปัญหาการตั้งข้อสมมติฐาน

89 สมมติฐาน (Hypothesis)
เป็นคำตอบล่วงหน้าของประเด็นปัญหาที่ทำการวิจัย ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Variables) หรือแนวคิด (Concept) ซึ่งผู้วิจัยต้องการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่

90 คุณสมบัติของสมมติฐาน
๑. เป็นข้อความหรือข้อเสนอที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหา สมมติฐานต้องเป็นคำตอบล่วงหน้าหรือข้อเสนอที่ตรงกับประเด็น ปัญหาที่ตั้งไว้ เช่น ถ้าตั้งประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้อุปสงค์สินค้า เปลี่ยนแปลงไปคำตอบก็ควรจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ในสินค้า

91 ๒. เป็นคำตอบหรือข้อเสนอที่มีเหตุผล
ต้องเกี่ยวโยงกับทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ประกอบด้วยเหตุผล ทั้งนี้เพราะทฤษฎีจะให้หลักเกณฑ์ที่เข้าใจระบบและแนวทางปฎิบัติ ความ เกี่ยวโยงของข้อสมมติฐานกับทฤษฎีหรือหลักการนั้นอาจจะแสดงในลักษณะ การเปรียบเทียบ สนับสนุน คัดค้านหรือสร้างเงื่อนไขใหม่ ๆ ขึ้นมาก็ได้

92 ๓. เป็นคำตอบหรือข้อเสนอที่ชัดเจนและเจาะจง
ข้อความของสมมติฐานจะต้องบ่งถึงตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความ สัมพันธ์ของตัวแปร ตัวแปรและความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถให้คำนิยาม หรือความหมายได้อย่างชัดเจน และเป็นนิยามที่สามารถยอมรับกันได้ทั้งใน เชิงทฤษฎีและเชิงปฎิบัติ

93 ๔. สามารถทดสอบได้ด้วยหลักฐานต่าง ๆ
เป็นข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง มีข้อเท็จจริง เชิงประจักษ์ชัด สามารถตรวจนับปรากฏการณ์ได้ วัดได้ และบ่งถึงวิธี การทดสอบ ตลอดจนข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ

94 ๕. เป็นข้อความหรือข้อเสนอที่มีความหมายทางวิชาการ
เช่น สมมติฐานของการวิจัยพื้นฐานจะมีลักษณะบ่งถึงความรู้ใหม่ ๆ ที่ยอมรับได้ หรือถ้าเป็นสมมติฐานของการวิจัยประยุกต์ก็เป็นข้อความที่ชี้ ถึงแนวทางที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาได้

95 แหล่งที่มาของข้อสมมติฐาน
๑. ทฤษฎี/หลักวิชาการ ๒. ประสบการณ์ของนักวิจัย ๓. มาจากศาสตร์สาขาอื่น ๆ ๔. ผลงานวิจัยก่อนหน้า ๕. มาจากความต้องการของนักวิจัย

96 ปัญหาการตั้งข้อสมติฐาน
๑. ไม่มีการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัยไว้ จึงไม่รู้ว่าจะศึกษาอะไร และจะตั้งสมมติฐานอย่างไร ๒. ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น จึงไม่สามารถตอบคำถามที่ตั้งไว้ได้ ๓. ขาดทฤษฎีที่จะช่วยเป็นแนวทางในการตอบคำถามและตั้งสมมติฐาน ที่ประกอบด้วยหลักการและเหตุผล ๔. ขาดความสามารถในการใช้ทฤษฎีเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ๕. ขาดความรู้/เทคนิค การวิเคราะห์และการทดสอบ

97 วัตถุประสงค์และข้อสมมติฐาน
การศึกษาวิจัยต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะที่เป็นปัญหา ประเด็นปัญหา ข้อสมมติฐาน และวัตถุประสงค์การวิจัย สภาวะที่เป็นปัญหา วัตถุประสงค์ ประเด็นปัญหา สมมติฐาน

98 ชื่อเรื่อง : “การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตแผ่นยางรมควันระหว่างภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย” ความเป็นมาของปัญหา ปัจจุบันมีการการขยายการผลิตยางไปยังภาคตะวันออก จึงควรที่จะมีการศึกษาเปรียบเทียบ ต้นทุนการผลิตและปริมาณการผลิตยางแผ่นรมควันระหว่างการผลิตของภาคตะวันอออก และภาคใต้ ว่าแตกต่างกันหรือไม่? เมื่อวิเคราะห์ปัญหาจะพบว่า สิ่งที่ต้องการศึกษาเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ สถานที่ผลิตยาง ต้นทุนการผลิตแยกเป็นด้านต่างๆ วัตถุประสงค์ ๑). เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตยางแผ่นรมควัน ที่ผลิตในภาคตะวันออกและภาคใต้ ๒). เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ด้าน วัตถุดิบ ค่าแรง ค่าดอกเบี้ย ค่าขนส่ง และ ปริมาณการผลิต

99 พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคน
ไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยในช่วง ๑๐ ปีที่ ผ่านมามีการบริโภคข้าวลดลงจาก ๑๖๐ กก./หัว/ปี เหลือเพียง ๑๕๐ กก./หัว/ปี และพบมีการนำเข้าข้าวสาลีเพิ่มขึ้น เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภค และปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหาร ของคนไทย ราคาของขนมปังและรสนิยมการบริโภค ของคนไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภค และอุปสงค์สำหรับขนมปังของคนไทยเปลี่ยน แปลงไป เมื่อราคาขนมปังถูกลงผู้บริโภคจะ ซื้อขนมปังเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นผู้บริโภคยัง นิยมบริโภคขนมปังเพราะสะดวกในการปรุง ปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพล ต่อความต้องการและการบริโภค ขนมปังของคนไทย

100 แนวคิดเกี่ยวกับการวัดและข้อมูล

101 ข้อมูลและการรวบรวมข้อมูล
ในการวิจัยจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลควบคู่ไปกับแนวคิด โดยการเชื่องโยงแนวคิดเข้ากับข้อมูล ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่วัดได้ สิ่งที่นักวิจัยจะต้องทำความเข้าใจก็คือ ข้อมูล ประเภท ของข้อมูล คุณสมบัติ ชนิดของ แนวคิด ในการวัด

102 แนวคิดในการวัด การวัด (Measurement) คือ กระบวนการที่ระบุความแตกต่างของคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ แตกต่างกันในลักษณะใด และมากน้อยเพียงใด เงื่อนไขสำคัญในการวัดตัวแปรมี ๒ ประการ คือ - นิยามตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการจะวัดให้ชัดเจน - มีมาตราและหน่วยที่ใช้วัด (Unit of measurement)

103 การวัดในเชิงคุณลักษณะ (Qualitative measurement)
- การวัดคุณภาพหรือกายภาพที่แสดงลักษณะของปรากฏการณ์ที่สังเกต เช่น ร้อน – เย็น, ดี – ไม่ดี, หนัก – เบา เป็นต้น การวัดในลักษณะนี้จึงเป็นการวัดในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อแยกระดับของตัวแปรให้มีความแตกต่างกัน เช่น ความพึ่งพอใจ ทัศนคติ รสนิยม เป็นต้น การวัดในเชิงปริมาณ (Quantitative measurement) - การจำแนกความแตกต่างที่สามารถบอกจำนวน หรือขนาดที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน จึงสามารถนำจำนวนมารวมกันหรือกระจายเป็นจำนวนย่อย ๆ ได้ เช่น รายได้ของประชาชน ปริมาณเงินออม เป็นต้น

104 ชนิดของข้อมูล ข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal data)
- ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยการจำแนกตัวแปรออกตามลักษณะที่กำหนดขึ้น แล้วแทนแต่ละกลุ่มด้วยตัวเลข ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงแต่ชื่อหรือนามไม่อาจนำมาใช้ในการคำนวณทางเลขคณิตได้ (การบวก ลบ คูณ หารข้อมูลชนิดนี้ไม่มีความหมาย) - สถิติที่ใช้กับข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่ ความถี่ อัตราร้อยละ ฐานนิยมส่วนสถิติที่นิยมใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกลุ่มเดียวกันคือ Chi - square

105 ตัวอย่าง ตัวแปรเพศ : ๑ = เพศชาย ๒ = เพศหญิง ตัวแปรระดับการศึกษา
๑ = เพศชาย ๒ = เพศหญิง ตัวแปรระดับการศึกษา ๑ = ระดับประถมศึกษา ๒ = ระดับมัธยมศึกษา ๓ = ระดับอาชีวะศึกษา ๔ = ระดับอุดมศึกษา ตัวอย่าง

106 ข้อมูลเรียงอันดับ (Ordinal data)
- ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยการจัดอันดับให้เห็นความแตกต่าง โดยแทนค่าด้วยตัวเลข แต่ตัวเลขเหล่านี้ไม่มีค่าทางเลขคณิตที่แท้จริง คือ สามารถเปรียบเทียบค่า(มากกว่าน้อยกว่า)ระหว่างหน่วยที่ได้ทำการวัดได้ แต่ยังไม่สามารถบอกปริมาณของความแตกต่างของแต่ละอันดับได้แน่นอนข้อมูลประเภทนี้จึงเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ - สถิติที่ใช้กับข้อมูลชนิดนี้ ได้แก่ ความถี่ อัตราร้อยละ ค่าสหสัมพันธ์ ของสเปียร์แมน(Spearman rank correlation) หรือใช้ Chi-square

107 ตัวอย่าง การวัดความพอใจของลูกค้า ๕ = พอใจมากที่สุด ๔ = พอใจมาก
๕ = พอใจมากที่สุด ๔ = พอใจมาก ๓ = พอใจ ๒ = ไม่พอใจ ๑ = ไม่พอใจมากที่สุด การวัดความนิยมของผู้บริโภค ๕ = ชอบมากที่สุด ๔ = ชอบมาก ๓ = ชอบ ๒ = ไม่ชอบ ๑ = ไม่ชอบมากที่สุด

108 ข้อมูลอันตรภาค (Interval data)
- ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตราและหน่วยการวัด แต่เป็นการวัดของตัวแปรเป็นช่วง ๆ โดยมีช่วงความห่างที่แน่นอน จึงมีคุณสมบัติทางเลขคณิต (บวก ลบ คูณ หาร) ครบถ้วน แต่ขาดคุณจุดศูนย์โดยธรรมชาติ เช่น คะแนนสอบ คะแนนทัศนคติ หรือระดับอุณหภูมิ - สถิติที่ใช้กับข้อมูลประเภทนี้ คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ค่าเบี่ยง- เบนมาตรฐาน (Standard deviation) การวิเคราะห์ถดถอย (Regression analysis)

109 ข้อมูลอัตราส่วน (Ratio data)
- ข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตราและหน่วยวัดเช่นเดียวกับข้อมูลอันตรภาค แต่มาตราและหน่วยวัดจำแนกค่าของตัวแปรแต่ละค่าออกเป็นปริมาณหรือจำนวนอย่างชัดเจน โดยแม้แต่ค่าศูนย์ก็สามารถวัดได้ - ข้อมูลชนิดนี้มีคุณสมบัติทางเลขคณิตครบถ้วน (สามารถบวก ลบ คูณ หารได้) และยังมีจุดศูนย์โดยธรรมชาติ

110 คุณสมบัติของข้อมูล ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
- ผลที่ได้จากการวัดเหมือนกันทุกครั้ง (สิ่งต่าง ๆ คงที่) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Validity) - วัดได้ตรงกับประเด็นที่ต้องการ ความเกี่ยวเนื่อง (Relevancy) - มีความหมายและเกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่ศึกษา ความไม่มีอคติ (Unbiased) - แสดงถึงคุณสมบัติที่แท้จริงของสิ่งที่วัด

111 ประเภทของข้อมูล จำแนกตามแหล่งที่มาออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ๒. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ๓. ข้อมูลเชิงคุณภาพหรือข้อสนเทศ

112 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data)
- ข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องเก็บขึ้นมาใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นโดยเฉพาะ ซึ่งอาจใช้วิธีเก็บข้อมูลได้หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ (Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) , การสังเกต (Observation) , การใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ (Mail questionnaire) เป็นต้น ข้อดี ได้ข้อมูลตรงตามที่ต้องการ สามารถควบคุมเรื่องคุณภาพของ การเก็บข้อมูล ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายสูง/เสียเวลา อาจได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ข้อมูลไม่ได้คุณภาพ

113 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)
- ข้อมูลที่ผู้อื่น หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้แล้ว โดยส่วนใหญ่จะเก็บไว้ในรูปของเอกสาร เช่น รายงานประจำปี เอกสารวิชาการ ข้อดี ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร ประหยัดเวลาในการเก็บข้อมูล ได้ข้อมูลย้อนหลังไปหลายช่วงเวลา ข้อเสีย ข้อมูลอาจไม่ตรงตามความ ต้องการ อาจได้ข้อมูลที่ไม่ทันสมัย ข้อมูลอาจมีความคาดเคลื่อน ไปจากสถานการณ์จริง

114 ข้อมูลเชิงคุณภาพหรือข้อมูลสนเทศ
- ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การจดบันทึกเหตุการณ์และพูดคุยกันระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้สัมภาษณ์ โดยข้อมูลที่ได้ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เป็นเพียงข้อความที่แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา ซึ่งอาจใช้วิธีการทางมนุษยวิทยา การประชุมระดมสมอง (Brain-storming) การสนทนากลุ่ม (Focus group) เป็นต้น

115 การเก็บรวบรวมข้อมูล

116 เนื้อหาการบรรยาย การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ
การสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนการสุ่มตัวอย่าง แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามและการสัมภาษณ์

117 วิธีการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ
การสังเกต (Observation) การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล (In-depth Interview) การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) การใช้แบบทดสอบ /แบบประเมิน (Test/Assessment) การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) การใช้กรณีศึกษา (Case Study)

118 การสำรวจด้วยแบบสอบถาม ผ่านช่องทางต่าง ๆ
สัมภาษณ์ต่อหน้า : ได้รับคำตอบที่ครบถ้วน มีโอกาสอธิบายคำถามที่ไม่ชัดเจน สามารถสังเกตเห็นปฎิกิริยาของผู้ตอบ ค่าใช้จ่ายสูงใช้เวลามาก สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ : ได้รับคำตอบที่ครบถ้วน มีโอกาสอธิบายคำถามที่ไม่ ชัดเจน ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและใช้เวลาน้อยกว่าแบบต่อหน้า แต่ไม่เห็นปฎิกิริยา ของผู้ตอบ ส่งแบบสอบถามให้ตอบกลับ : ค่าใช้จ่ายต่ำ แต่สัดส่วนตอบกลับต่ำ คำตอบอาจไม่ครบถ้วน ผู้ตอบไม่เข้าใจประเด็น ตอบผิดพลาด

119 ประชากรและตัวอย่าง ประชากร (Population) ตัวอย่าง (Sample)
พฤติกรรมการบริโภคข้าวของคนไทย คนไทยทุกคน อัตราการว่างงานของบัณฑิตมรภ.สวนดุสิต บัณฑิตมรภ.สวนดุสิต ตัวอย่าง(Sample) - หมายถึง หน่วยที่ถูกเลือกออกจากประชากรตัวอย่าง เพื่อเป็นตัวแทนของประชากร ประชากร (Population) การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) ตัวอย่าง (Sample)

120 การสุ่มตัวอย่างเพื่อสำรวจด้วยแบบสอบถาม
ถ้า...ไม่ต้องการเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด แต่ต้องการประมวลผล และรายงานผลในเชิงสถิติ จะต้องเก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่าง (Sample)ที่มี คุณลักษณะเช่นเดียวกับ ประชากร (Population) ในจำนวนมากพอที่จะให้ความ เชื่อมั่นทางสถิติในระดับที่ยอมรับได้ Confidence Level □95% □ 99%

121 ขั้นตอนการสุ่มตัวอย่าง
ขั้นที่ ๑ กำหนดประชากรเป้าหมายของการวิจัย (Population target) ขั้นที่ ๒ สร้างกรอบการสุ่มตัวอย่าง (Sampling frame) ขั้นที่ ๓ กำหนดขนาดของตัวอย่าง(Sample size) ขั้นที่ ๔ เลือกแบบแผนและระบุวิธีการสุ่มตัวอย่าง

122 ขั้นที่ ๑ การกำหนดประชากรเป้าหมาย
- คำจำกัดความ ; ประชากรเป้าหมาย (Population Target) หมายถึง กลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยกำหนดจะศึกษา โดยมีการกำหนดขอบเขตให้เฉพาะเจาะจงและชัดเจนยิ่งขึ้น - ระบุคุณสมบัติของประชากรเป้าหมาย ; ผู้วิจัยต้องให้คำจำกัดความของประชากรเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น หากหมู่บ้านเป็นประชากรเป้าหมายจะต้องระบุว่า เป็นหมู่บ้านในเขตเมืองหรือเขตชนบท

123 ขั้นที่ ๒ การสร้างกรอบตัวอย่าง
- กรอบการสุ่มตัวอย่าง (Sampling frame) หมายถึง รายชื่อหรือหมายเลขของทุกๆหน่วยที่ประกอบกันเป็นประชากรเป้าหมาย ซึ่งมีขั้นตอนในการสร้างกรอบตัวอย่าง ดังนี้ ๑.) ทำบัญชีรายชื่อประชากรทั้งหมด ๒.) กำหนดหมายเลขประจำตัวหน้ารายชื่อ ๓.) ระบุรายชื่อ สถานที่ติดต่อ ที่อยู่

124 ขั้นที่ ๓ การกำหนดขนาดของตัวอย่าง (Sample size)
- หลักเกณฑ์การกำหนดขนาดของตัวอย่าง ประกอบด้วย  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย  เป็นตัวแทนของประชากร  ลักษณะการกระจายของประชากร  เหมาะสมกับงบประมาณ - สูตรที่ใช้ในการคำนวณ จำแนกเป็น ๒ กรณี คือ ๑.) กรณีที่ประชากรมีจำนวนที่แน่นอน (Finite Population) ๒.) กรณีที่ประชากรมีจำนวนไม่แน่นอน (Infinite Population)

125 ประชากรมีจำนวนที่แน่นอน : สูตรของ Yamane
=

126 Ex. สมมติว่าประชากรครัวเรือนของกรุงเทพฯมี 1,840,000 ครัวเรือนและ
ผู้วิจัยต้องการสุ่มตัวอย่างให้มีความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มร้อยละ 5 (.05) ขนาดของครัวเรือนในกรุงเทพฯที่ควรสุ่มคือ n = ,840,000 1 + 1,840,000(.05)2 = ,840,000 4,601 = 400 ครัวเรือน

127 ประชากรมีจำนวนไม่แน่นอน : สูตรของ Roscoe
เมื่อ n = ขนาดของตัวอย่าง Zc = ค่ามาตรฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ต้องการ S = ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน em = ค่าความคาดเคลื่อนสูงสุดที่ยอมรับได้ 2 Zc S n = em

128 Ex. กำหนดให้มีระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 และความคาดเคลื่อนมาก
ที่สุดที่ยอมรับได้เท่ากับ 10 ส่วนของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นั่นคือ n = S S / 10 = (1.96  10) 2 = 384 ตัวอย่าง หมายเหตุ : Z = , Z0.01 = 2.58 2

129 จำนวนประชากร (Population)
Sample Size Calculator จำนวนตัวอย่างที่ต้องใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร, Confidence Level Confidence Interval Confidence Level = 95% จำนวนประชากร (Population) Confidence Interval 30 100 1,000 10,000 50,000 100,000 ± 5% 28 80 278 370 381 383 ± 2% 96 706 1,936 2,291 2,345 ± 1% 99 906 4,899 8,057 8,763 Confidence Level = 99% 29 87 400 624 657 661 98 806 2,938 3,841 3,994 943 6,247 12,486 14,267

130 แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง
ในการสุ่มตัวอย่างจากประชากรอาจแบ่งได้ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Non – probability sampling) การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง (Probability sampling)

131 การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ไม่ทราบโอกาส
- ไม่สามารถวัดควาถูกต้องหรือความเชื่อถือได้ของค่าประมาณจากตัวอย่างนั้น ๆ ใช้ได้ผลดีในกรณีที่ลักษณะของสิ่งที่ศึกษาพบได้น้อยในประชากร และในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดกรอบของหน่วยศึกษาได้ - การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) - การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota sampling) - การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) - การสุ่มตัวอย่างแบบบอลล์หิมะ (Snowball sampling)

132 การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ทราบโอกาส
- สามารถกำหนดได้ว่าหน่วยแต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสเท่าใดที่จะถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง โดยโอกาสที่แต่ละหน่วยประชากรเป้าหมายจะถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่างต้องเท่ากัน - การสุ่มกระจายแบบง่าย (Simple random sampling) - การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) - การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) - การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling)

133 การสุ่มตัวอย่างชนิดไม่ทราบความน่าจะเป็น
การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ - เลือกหน่วยประชากรขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ - หน่วยประชากรที่เราต้องการจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ ข้อเสีย ; อาจทำให้ได้ตัวอย่างที่ไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนประชากรเป้าหมายได้ เช่น ต้องการประชากรเป้าหมายเพศชายและเพศหญิงในสัดส่วนที่เท่ากัน แต่การสุ่มด้วยวิธีนี้อาจได้ตัวอย่างที่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

134 ผลกระทบของราคาน้ำมัน ที่มีต่อประชาชนในกรุงเทพฯ
กรุงเทพมหานคร ร้านค้า ตลาดสด ผลกระทบของราคาน้ำมัน ที่มีต่อประชาชนในกรุงเทพฯ ป้ายรถเมล์ สถานที่ทำงาน สำรวจ ฯลฯ การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling)

135 การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า
- การสุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดสัดส่วนและจำนวนตัวอย่างของประชากรที่มีคุณสมบัติบางประการที่ต้องการจะเก็บข้อมูล - จากนั้นจึงเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างให้ได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่ม ข้อเสีย : อาจประสบความยุ่งยากในการระบุคุณลักษณะของประชากรที่ใช้ในการกำหนดจำนวนตัวอย่าง

136 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1,100 20% 0.20 400 = 80
3. หาจำนวนตัวอย่าง ในแต่ละกลุ่ม 1. แบ่งประชากรเป้าหมายเป็นกลุ่ม ๆ 2. กำหนดโควต้า คณะ จำนวนนักศึกษา สัดส่วน จำนวนตัวอย่าง วิทยาการจัดการ 2,200 40% 0.40 400 = 160 ครุศาสตร์ 1,375 25% 0.25 400 = 100 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1,100 20% 0.20 400 = 80 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 825 15% 0.15 400 = 60 5,500 100% 400

137 การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
- การสุ่มตัวอย่างโดยการใช้ดุลยพินิจของผู้วิจัยเอง - ปกติจะใช้วัตถุประสงค์บางประการของการวิจัยเป็นเครื่องช่วยตัดสิน - ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ ข้อเสีย : การสุ่มตัวอย่างวิธีนี้มีโอกาสที่จะพลาดได้เสมอ หากไม่คุ้นเคยกับประชากรทั้งหมดที่จะสุ่มตัวอย่างออกมาเป็นตัวแทน

138 การสุ่มตัวอย่างแบบบอลล์หิมะ
- ในบางครั้งหน่วยที่จะศึกษายากแก่การเข้าถึง - เริ่มต้นจากการพยายามหาตัวอย่างแรกให้ได้ - ขอความร่วมมือจากตัวอย่างแรกในการแนะนำตัวอย่างต่อ ๆ ไป - สำรวจไปเรื่อยจากตัวอย่างแรก จนได้จำนวนตัวอย่างตามที่ต้องการ ข้อเสีย : อาจประสบปัญหาในการขอความร่วมมือเพื่อหาตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเป้าหมายของการวิจัย

139 n ตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างที่ 2 ตัวอย่างที่ 3 จำนวน n ตัวอย่าง
4 n การสุ่มตัวอย่างแบบบอลล์หิมะ (Snowball sampling)

140 การสุ่มตัวอย่างชนิดที่ทราบความน่าจะเป็น
การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย - ขั้นที่ ๑ : กำหนดกรอบตัวอย่างและหมายเลขกำกับ - ขั้นที่ ๒ : ทำการเลือกตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่ม(Random number) หรือใช้วิธีการจับฉลาก การใช้ตารางเลขสุ่ม กำหนดระบบการอ่านให้ชัดเจนว่าจะอ่านในทิศทางใด กำหนดจำนวนหลักที่ต้องการอ่าน

141 ตัวอย่างการใช้ ตารางเลขสุ่ม
00 54463 22662 65905 01 15389 85205 18850 02 85941 40756 82414 03 61149 69440 11286 04 05219 81619 10651 05 41417 98326 87719 06 28357 94070 20652 07 17783 00015 10806 08 40950 84820 29881 09 82995 64157 66164 ตัวอย่างการใช้ ตารางเลขสุ่ม - จำนวนปรชากรทั้งหมด ๕๑ คน - อ่านจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง ต้องการจำนวน ๑๐ ตัวอย่าง

142 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling)
- เหมาะสำหรับประชากรที่มีหลากหลายลักษณะอยู่ด้วยกัน - แบ่งประชากรที่มีหลากหลายลักษณะออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มมีทุกลักษณะอยู่ด้วยกัน เท่าเทียมกัน - สุ่มแบบง่ายจากประชากรกลุ่มย่อยออกมาศึกษาเพียง 1 ถึง 2 กลุ่ม

143 กลุ่มตัวอย่าง ประชากร กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3
Cluster sampling กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 2 ประชากร กลุ่มที่ 3

144 การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling)
- เหมาะสำหรับประชากรที่มีหลายลักษณะรวมกัน - คำนวณหาจำนวนตัวอย่างที่ต้องการทั้งหมด และหาจำนวนตัวอย่างในแต่ละชั้น - แบ่งประชากรออกเป็นชั้น ๆ ให้ภายในชั้นมีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด แต่มีความแตกต่างระหว่างชั้นมาก ๆ - สุ่มแบบง่ายจากทุกระดับชั้นให้ได้จำนวนตามสัดส่วนของประชากร - สร้างกรอบตัวอย่างแล้วสุ่มตัวอย่างจากแต่ละชั้นให้ได้ตามจำนวนตัวอย่างที่ต้องการทั้งหมด ตัวอย่างแต่ละชั้น = จน.ตัวอย่างที่ต้องการ  จน.สมาชิกแต่ละกลุ่ม จน.สมาชิกทั้งหมด

145 กลุ่มตัวอย่าง ประชากร n = 30 N = 500 ชั้นที่ 1 S1 = 9 E1 = 150
Stratified sampling ชั้นที่ 1 S1 = 9 E1 = 150 ชั้นที่ 2 S2 = 13 E2 = 220 กลุ่มตัวอย่าง n = 30 ประชากร N = 500 ชั้นที่ 3 S3 = 8 E3 = 130

146 การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling)
- เหมาะสำหรับประชากรมีขนาดใหญ่มาก และกระจัดกระจายและไม่สามารถสร้างกรอบการสุ่มตัวอย่างได้ - เริ่มจากการแบ่งประชากรเป็นกลุ่มย่อย ๆ - สุ่มตัวอย่างออกจากกลุ่มย่อยไปทีละขั้น - กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากรได้

147 ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 4 เหนือ กลาง อิสาน ใต้ 2 ตำบล
Multi-stage sampling ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 4 2 ตำบล เหนือ 5 จังหวัด 3 อำเภอ 1 ม.บ้าน 2 ตำบล 1 ม.บ้าน กลาง 5 จังหวัด 3 อำเภอ 3 อำเภอ 2 ตำบล 1 ม.บ้าน อิสาน 5 จังหวัด 1 ม.บ้าน 2 ตำบล ใต้ 5 จังหวัด 3 อำเภอ

148 การออกแบบสอบและการสัมภาษณ์
รูปแบบคำถามและคำตอบ สเกลการวัด การสร้างแบบสอบถาม ลักษณะของแบบสอบถามที่ดี การวางแผนการสำรวจ รูปแบบการสัมภาษณ์ การพิจารณาเลือกรูปแบบการสัมภาษณ์

149 รูปแบบของคำถามและคำตอบ
คำถามปลายเปิด (Opened-End Question) คำถามปลายปิด (Closed-End Question) = แบบสองตัวเลือก (Dichotomous) = แบบหลายตัวเลือก (Multiple Choice) = มาตรวัดแบบลิเกิร์ต (Likert Scale) = มาตรวัดแบบความหมายตรงกันข้ามกัน(Semantic differential Scale) = คำถามแบบจัดอันดับ (Ranking)

150 สเกลการวัด Nominal Scale Ordinal Scale Interval Scale Ratio Scale
ค่าของตัวแปรระบุเป็นชื่อ (เช่น ชาย หญิง) แต่ ไม่มีลำดับที่บ่งได้ชัด ไม่มีหน่วยวัด ไม่มีค่าศูนย์ Ordinal Scale ค่าของตัวแปรระบุเป็นชื่อ และมีลำดับที่บ่งได้ชัด (เช่น ประถม, มัธยม) แต่ ไม่มีหน่วยวัด ไม่มีค่าศูนย์ Interval Scale ค่าของตัวแปรเป็นตัวเลขที่แสดงถึง”ขนาด” ใช้เปรียบเทียบมาก-น้อยได้ และมีหน่วยวัด ( เช่น เซลเซียส ) แต่ ไม่มีค่าศูนย์ Ratio Scale ค่าของตัวแปรเป็นตัวเลขที่แสดงถึง”ขนาด” ใช้เปรียบเทียบมาก-น้อยได้ มีหน่วยวัด ( เช่น บาท ) และมีค่าศูนย์ที่แท้จริง

151 ขั้นตอนการออกแบบสอบถาม
กำหนดข้อมูลที่ต้องการ กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดลำดับของคำถาม กำหนดเนื้อหาของคำถามแต่ละคำถาม ตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถาม ทดสอบแบบสอบถาม (Pre-testing questionnaire) จัดพิมพ์แบบสอบถามให้สวยงามและง่ายต่อการตอบ

152 ขั้นที่ ๑ กำหนดข้อมูลที่ต้องการ
(Specify what information will be sought) - เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญของการสร้างแบบสอบถาม ซึ่งต้องทำ ด้วยความพิถีพิถัน การสร้างแบบสอบถามต้องอาศัยความรู้ที่เพียงพอในการศึกษาโครงสร้างของสมมติฐาน ซึ่งจะช่วยชี้นำว่าควรได้ข้อมูลอะไรบ้างในแบบสอบถาม และถามจากใคร เพราะสมมติฐานจะระบุถึความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการจะศึกษา

153 ขั้นที่ ๒ กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
(Specify type of interviewing method) - ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องกำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจใช้การส่งทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรือการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีความสัมพันธ์กันอย่างมากกับวิธีการสร้างแบบสอบถาม

154 ขั้นที่ ๓ กำหนดเนื้อหาของคำถามแต่ละคำถาม
(Determine content of individual questions) - ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องกำหนดเนื้อหาของคำถามและวัตถุประสงค์ของคำถาม โดยจะต้องพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ “จำเป็นต้องถามคำถามเหล่านั้นหรือไม่” “สามารถใช้คำถามเดียวแทนหลายคำถามหรือไม่” “ผู้ตอบมีข้อมูลเพียงพอหรือไม่” “ผู้ตอบเต็มใจที่จะให้ข้อมูลหรือไม่”

155 ขั้นที่ ๔ กำหนดลำดับของคำถาม
- เริ่มต้นจากคำถามที่ง่ายและน่าสนใจก่อน - ใช้ทักษะจากวงกว้างไปหาเจาะจง - การใช้คำถามต่อเนื่อง - การถามเพื่อการจัดประเภทข้อมูลในภายหลัง (ข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลที่ใช้ในการจัดประเภท) - คำถามที่ยากหรือคำถามที่ละเอียดอ่อนควรไว้ตอนท้าย

156 ขั้นที่ ๕ ตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถาม
- ความแม่นตรง (Validity) หมายถึง การวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ (ตรงประเด็นกับสิ่งที่ต้องการวัด (Face Validity) และครอบคลุมปรากฏการณ์ที่ต้องการวัดอย่างกว้างขวางเพียงพอ (Content Validity) - ความเชื่อถือได้ (Reliability) หมายถึง คำตอบที่ได้จากคำถามต้องไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร (ถามหลาย ๆ ครั้ง หลายๆคน หรือเปลี่ยนคนถาม คำตอบไม่ควรจะเปลี่ยนแปลงไป)

157 ขั้นที่ ๖ ทดสอบแบบสอบถาม (Pre-testing questionnaire)
- ทดลองแจกแบบสอบถามก่อนนำไปใช้จริง แล้วนำมาวิเคราะห์ ขั้นที่ ๗ จัดพิมพ์แบบสอบถามให้สวยงามและง่ายต่อการตอบ - ตามจำนวนที่ต้องการใช้ทั้งหมด

158 ลักษณะแบบสอบถามที่ดี
สะดวกและง่ายต่อการตอบ ใช้ความสามารถของผู้ตอบน้อยที่สุด คำถามเกี่ยวข้องและแม่นยำกับสิ่งที่ต้องการ จูงใจให้ผู้ตอบให้ความร่วมมือ รบกวนเวลาผู้ถูกสัมภาษณ์น้อยที่สุด ใช้ถ้อยคำและประโยคที่ชัดเจนและที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของคำถามและพยายามให้มีจำนวนข้อน้อยที่สุด มีคำตอบที่เป็นไปได้ครบ

159 การวางแผนการเก็บแบบสอบถาม
การเตรียมแบบสอบถามและคู่มือแบบสอบถาม - จัดทำแบบสอบถามให้เรียบร้อย - คู่มือและคำอธิบายแบบสอบถาม คัดเลือกพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล - มีความน่าเชื่อถือ - มีมุษยสัมพันธ์ดี มีความอดทนและเฉลียวฉลาด - สามารถใช้ภาษาและทักษะในการสื่อสารได้ดี - มีความคุ้นเคยกับเรื่องหรือท้องที่ที่ทำการสำรวจ

160 อบรมพนักงานเก็บข้อมูล
- ชี้แจงเกี่ยวกับแบบสอบถามและให้คำแนะนำต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์ ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ขอความร่วมมือและติดต่อนัดหมายล่วงหน้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การให้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ก่อนดำเนินการเก็บข้อมูล - ก่อนดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหากมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย

161 รูปแบบการสัมภาษณ์ สนทนาแบบธรรมชาติ
- ปล่อยให้ประเด็นคำถามผุดขึ้นโดยธรรมชาติตามเนื้อหาที่พูดคุยกันไม่มีการกำหนดกรอบคำถามหรือหัวข้อไว้ล่วงหน้า สัมภาษณ์ตามกรอบประเด็นที่กำหนด - กำหนดหัวข้อประเด็นหลักไว้ล่วงหน้าเป็นกรอบกว้างๆ ผู้สัมภาษณ์ตัดสินใจเลือกคำถามประเด็นก่อน-หลังตามสถานการณ์

162 รูปแบบการสัมภาษณ์ (ต่อ)
สัมภาษณ์ตามคำถามมาตรฐานแบบปลายเปิด - ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องตอบคำถามทุกข้อ(ที่กำหนดไว้) และตอบตามลำดับอย่างเดียวกันทุกราย สัมภาษณ์ตามคำถามมาตรฐานแบบปลายปิด - ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องตอบคำถามทุกข้อ(ที่กำหนดไว้) ตามลำดับอย่างเดียวกันทุกราย โดยเลือกจากคำตอบ(Choices) ที่กำหนดไว้

163 การพิจารณาเลือกรูปแบบการสัมภาษณ์
สนทนา แบบธรรมชาติ  สามารถตั้งคำถามให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของ ผู้ตอบ มีโอกาสสูงที่จะค้นพบประเด็นที่คาดไม่ถึง  ประเด็นหลากหลายไม่อยู่ในกรอบเดียวกัน ประมวลยาก สัมภาษณ์ตาม กรอบประเด็น ที่กำหนด  การสนทนาค่อนข้างเป็นธรรมชาติ สามารถปรับให้ เข้ากับสถานการณ์ของผู้ตอบแต่ละราย  มีโอกาสได้ข้อมูลครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ  ไม่เอื้อต่อการเปรียบเทียบระหว่างผู้ตอบหลายราย

164 การพิจารณาเลือกรูปแบบการสัมภาษณ์ (ต่อ)
สัมภาษณ์ตาม คำถามมาตรฐาน แบบปลายเปิด  ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ นำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบได้  ลดความเบี่ยงเบนที่เกิดจากการเลือกลำดับคำถามของผู้ถาม  อาจมีคำถามที่ไม่เหมาะสมกับบทบาทสถานการณ์ของผู้ตอบ แบบปลายปิด  สะดวกต่อการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ  มีโอกาสครอบคลุมคำถามจำนวนมาก ในเวลาอันสั้น  ผู้ตอบถูกบังคับให้เลือกคำตอบที่อาจจะไม่ตรงความคิดนัก

165 เทคนิคการสัมภาษณ์ ควรใช้ภาษาที่สุภาพและเข้าใจง่าย
เริ่มจากคำถามง่าย ๆ และอยู่ในความสนใจของผู้ตอบก่อน ตั้งคำถามในลักษณะการสนทนา และไม่ควรอ่านคำถาม ควรใช้วิจารณญาณในการจดบันทึกข้อมูล จดบันทึกข้อมูลด้วยความซื่อสัตย์ ตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล และกล่าวคำขอบคุณภายหลังจากสัมภาษณ์เสร็จสิ้น

166 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

167 เนื้อหาการบรรยาย สถิติเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
สถิติพรรณนาสำหรับตัวแปรเชิงคุณภาพ สถิติพรรณนาสำหรับตัวแปรเชิงปริมาณ การทดสอบสมมติฐาน สถิติสำหรับการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ตารางไขว้ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์สมการถดถอย การเลือกใช้เครื่องมือทางสถิติ

168 การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง กระบวนการในการหาค่าและการตีความหมายของตัวแปร การศึกษาสภาพของข้อมูล การเลือกเครื่องมือการวิเคราะห์ การเสนอผลการวิเคราะห์ การอ่านและตีความ

169 การศึกษาสภาพของข้อมูล
การตรวจสอบข้อมูล (Data editing) - การพิจารณาคุณสมบัติของข้อมูลก่อนที่จะนำมาใช้วิเคราะห์ การกำหนดหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of analysis) - หน่วยของประชากรที่กำหนดขึ้นเพื่อทำการสังเกตและวิเคราะห์ การกำหนดนิยามและมาตรการวัดของตัวแปร - การให้ความหมายในเชิงปฎิบัติการของตัวแปรและการกำหนดมาตรการวัดของตัวแปร

170 การเลือกเครื่องมือการวิเคราะห์
- การกำหนดวิธีทางสถิติที่จะตอบสนองความต้องการของผู้วิจัย การเสนอผลการวิเคราะห์ - การสร้างตารางแสดงผลการวิเคราะห์ให้ได้มาตรฐาน การอ่านและตีความ - การอ่านตัวเลขสถิติในตารางและให้ความเห็น

171 สถิติเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
ประเภทของสถิติ - สถิติพรรณนา (Descriptive statistic) คือ สถิติที่ใช้สรุปบรรยายคุณสมบัติที่สำคัญของประชากร(Population) หรือตัวอย่าง(Sample) ของสิ่งที่ต้องการศึกษา - สถิติวิเคราะห์ (Analytical statistic) คือ วิธีการทางสถิติที่ผู้วิจัยนำมาใช้เพื่อพิสูจน์หรือทดสอบสมมติฐาน และยืนยันเกี่ยวกับข้อค้นพบ

172 การประมาณค่า (Estimate) การทดสอบสมติฐาน (Hypothesis test)
ประชากร (Population) การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) ตัวอย่าง (Sample) สถิติพรรณนา สถิติพรรณนา ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) การประมาณค่า (Estimate) การทดสอบสมติฐาน (Hypothesis test) ค่าสถิติ  ค่าเฉลี่ย (Mean) X  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) S

173 สถิติพรรณนาสำหรับตัวแปรที่มีการวัดเชิงคุณภาพ
ค่าสถิติที่ใช้ - ค่าความถี่ (Frequency) แสดงให้เห็นถึงจำนวนประชากรหรือตัวอย่างในแต่ละกลุ่มย่อยของตัวแปร - ค่าอัตราส่วนร้อยละ (Percent) แสดงให้เห็นสัดส่วน หรืออัตราส่วนร้อยละของประชากรหรือตัวอย่างที่ตกอยู่ในแต่ละกลุ่มย่อย สูตรที่ใช้ในการคำนวณค่าสถิติเหล่านี้หาดูได้จากหนังสือสถิติทั่วไป ดังนั้น จะไม่นำมาแสดงในที่นี้ ค่าความถี่และค่าร้อยละสามารถใช้การประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS ซึ่ง ทำให้ได้ค่าที่ถูกต้องและรวดเร็ว

174 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS (1)
Respondent ‘s Sex Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent Valid Male Female Total 636 881 1517 41.9 58.1 100.0

175 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS (2)
Age of Respondent Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent Valid – 20 21 – 40 41 – 60 Total 30 704 425 358 1517 2.0 46.4 28.0 23.6 100.0 48.4 76.4

176 Occupational Category
ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS (3) Occupational Category Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent Valid None Sale Farmer Labor Total 105 443 501 468 1517 6.9 29.2 33.0 30.9 100.0 36.1 69.1

177 การเสนอผลการวิเคราะห์ ตาราง 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คุณสมบัติ อัตราส่วนร้อยละ เพศ ; ชาย หญิง 41.9 58.1 อายุ ; ต่ำกว่า 21 ปี 21 – 40 ปี 41 – 60 ปี 61 – 80 ปี 2.0 46.4 28.0 23.6 อาชีพ ; ว่างงาน พนักงานขาย เกษตรกร รับจ้างทั่วไป 6.9 29.2 33.0 30.9

178 สถิติพรรณนาสำหรับตัวแปรที่มีการวัดเชิงปริมาณ
ค่าสถิติที่ใช้ - ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) - ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) - ค่าสูงสุด/ต่ำสุด (Maximum/Minimum) ในการคำนวณค่าสถิติเหล่านี้สามารถใช้การประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS ซึ่งทำให้ได้ค่าที่ถูกต้องและรวดเร็ว

179  xi n (xi – x)2  n - 1 x = S.D = สูตรการคำนวณค่าเฉลี่ย (Mean)
สูตรการคำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  xi n (xi – x)2  n - 1 x = S.D = เมื่อ x = ค่าเฉลี่ย S.D = ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน xi = ข้อมูลหน่วยที่ i n = ขนาดตัวอย่าง

180 Description Statistics
ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS Description Statistics N Statistic Minimum Maximum Mean Std. Income Demand of Bread Member of Fam. Valid N(Listwise) 400 5050 200 2 45500 2500 8 7800.0 950.2 4.8 450.0 105.5 3.2

181 การเสนอผลการวิเคราะห์
ตาราง 2 รายได้ การบริโภคขนมปัง จำนวนสมาชิกในครอบครัว ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนฯ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด รายได้ต่อเดือน (บาท) 7,800 450.0 5,050 45,500 การบริโภคขนมปังฯ (กรัม) 950.2 105.5 200 2,500 จำนวนสมาชิกในครอบครัว (คน) 4.8 3.2 2 8

182 H1:   0 หรือ H1: 1  0 หรือ H1: 1  0
การทดสอบสมมติฐาน สมมติฐานทางสถิติ (Statistics Hypothesis) 1.) สมมติฐานหลัก(Null Hypothesis : H0) – สมมติฐานที่เป็นกลาง หมายถึงข้อความเชื่อหรือการคาดคะเนที่เป็นกลาง เช่น H0:  = หรือ H0: 1 = 2 2.) สมมติฐานทางเลือก (Alternative Hypothesis : H1) – สมมติฐานที่แสดงความแตกต่าง (ไม่เท่ากับ, มากกว่า หรือน้อยกว่า) เช่น H1:   หรือ H1: 1  0 หรือ H1: 1  0

183 ขั้นตอนในการทดสอบสมมติฐาน
1.) เปลี่ยนสมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) ให้เป็นสมมติฐานทางสถิติ (Statistics Hypothesis) 2.) กำหนดค่าระดับนัยสำคัญ  (Significance) 3.) กำหนดค่าสถิติทดสอบให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของการใช้สถิติทดสอบ และคำนวณผล 4.) ตัดสินใจเพื่อสรุปผลว่ายอมรับหรือปฎิเสธสมมติฐานหลัก

184 Accept Ho Reject Ho Z - Distribution Sig. < /2 ; ปฎิเสธ Ho ค่า /2
ระดับนัยสำคัญ ค่า /2  = 0.01  = 0.05 /2 = 0.005 /2 = 0.025 Accept Ho /2 /2 Reject Ho

185 Reject Ho เมื่อ Sig. < 
2 - Distribution Reject Ho เมื่อ Sig. <  Accept Ho 2

186 F - Distribution Reject Ho เมื่อ Sig. <  Accept Ho F-test

187 สถิติสำหรับการวิเคราะห์
หลักการใช้สถิติ - พิจารณาความเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม - พิจารณาระดับการวัดของตัวแปร สถิติที่ใช้กับตัวแปร 2 ตัว - ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ - ตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ - ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ

188 การวิเคราะห์โดยใช้ตารางไขว้ (Crosstabulation Analysis)
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ - เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่มีการวัดเชิงคุณภาพ (Nominal Scale or Ordinal Scale) ตารางความถี่ระหว่าง 2 ตัวแปร (Contingency Table) - ตัวอย่างตารางความถี่ระหว่าง 2 ตัวแปร เพื่อทดสอบว่าตัวแปรตาม(Y) ถูกกำหนดจากตัวแปรอิสระ(X)

189 Contingency Table ตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระ X1 X2 X3 รวม Y1 Eij Ri Y2 Cj N

190 ค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์
2 = (Oij - Eij)2 Eij โดยที่ Oij = ความถี่จากการสำรวจ Eij = ความถี่ที่คาดหมาย = Ri  Cj เมื่อ d.f = (r – 1)(c – 1) r = จำนวนแถว c = จำนวนคอลัมน์ N

191 การตั้งสมมติฐานในการทดสอบ
Ho : ตัวแปรอิสระไม่มีผลต่อตัวแปรตาม (Oi  Ei) Ha : ตัวแปรอิสระมีผลต่อตัวแปรตาม (Oi  Ei) เกณฑ์การตัดสินใจ - Reject Ho 2 2table หรือ ค่า Sig.  

192 กรณีตัวอย่าง : การวิเคราะห์โดยใช้ตารางไขว้
สมมติฐานการวิจัย : การส่งเสริม(PROM) มีผลต่อผลผลิต(PROD) สมมติฐานทางสถิติ : กำหนดค่าสถิติทดสอบ : ระดับนัยสำคัญ () = 0.05 Ho: การส่งเสริมฯไม่มีผลต่อผลผลิต H1: การส่งเสริมฯมีผลต่อผลผลผลิต

193 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS
การส่งเสริม (PROM) Total ได้ ไม่ได้ PROD (ไม่เพิ่ม) 2 (เพิ่มขึ้นเล็กน้อย) 3 (เพิ่มขึ้นมาก) Count % with in PROM 50 25.0 85 42.5 135 33.8 65 32.5 130

194 Asymptotic Sig. (2 sided)
Chi-Square Test Value d.f Asymptotic Sig. (2 sided) Pearson Chi Square Likelihood Ratio Linear by Linear Association N of Valid Cases 8.253 6.342 3.516 360 2 1 .012 .096 .059 * 0 cell has expected count less than 5 The minimum expect count in more than

195 การได้รับการส่งเสริม
การเสนอผลการวิเคราะห์ ผลของการส่งเสริม การได้รับการส่งเสริม Chi Sq. (Sig.) ได้ ไม่ได้ การเพิ่มผลผลิต ไม่เพิ่ม เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพิ่มขึ้นมาก 25.0 32.5 42.5 8.253 (.012) สรุปผล : ปฎิเสธ Ho การส่งเสริมมีผลต่อผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญฯ ณ ระดับ ความเชื่อมั่น ร้อยละ 95

196 การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance)
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ - เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระแต่ละตัวและทุกตัวที่มีต่อตัวแปรตาม - เพื่อศึกษาปฎิกิริยาระหว่างตัวแปรอิสระว่ามีผลต่อตัวแปรตามหรือไม่ หมายเหตุ - ตัวแปรอิสระมีระดับการวัดเชิงคุณภาพ และตัวแปรตามมีระดับ การวัดเชิงปริมาณ

197 - สำหรับตัวแปรอิสระ 1 ตัว ซึ่งประกอบด้วย T Treatment หรือ ตัวแปรอิสระนั้นมีกลุ่มย่อยอยู่ทั้งหมด T กลุ่ม และแต่ละระดับมีจำนวนตัวอย่าง n ตัว Source of Variation Sum of Square d.f Mean Square F - Test Independent (Var1) (XT–X)2 T-1 SST/d.f MST/MSE Residual (XTi- XT)2 T(n-1) SSE/d.f Total (XTi- X)2 Tn-1

198 ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบความสัมพันธ์
Ftest = MST MSE โดยที่ MST = SST/d.f MSE = SSE/d.f เมื่อ d.f = (t – 1)(n – 1) t = จำนวนกลุ่มของตัวแปรอิสระ n = จำนวนตัวอย่างทั้งหมด

199 การตั้งสมมติฐานในการทดสอบ
Ho : ตัวแปรอิสระไม่มีผลต่อตัวแปรตาม (1  2  … t) Ha : ตัวแปรอิสระมีผลต่อตัวแปรตาม (1  2  …  t) เกณฑ์การตัดสินใจ - Reject Ho F  Ftable หรือ ค่า Sig.  

200 กรณีตัวอย่าง : การวิเคราะห์ความแปรปรวน
สมมติฐานการวิจัย : การรณรงค์ประหยัดพลังงานมีผลต่อค่าใช้จ่าย สมมติฐานทางสถิติ : กำหนดค่าสถิติทดสอบ : ระดับนัยสำคัญ () = 0.05 Ho: การรณรงค์ไม่มีผลต่อค่าใช้จ่าย (มี   ไม่มี ) H1: การรณรงค์มีผลต่อค่าใช้จ่าย (มี   ไม่มี )

201 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS
ANOVA Sum of Square Df Mean Square F Sig. Between Group Within Group Total 798.00 18,156.00 18,954.00 1 178 179 102.00 7.824 .005

202 Descriptive N Mean Std. error 95% Confidence for Mean Min. Max. Lower Bound Upper มี 180 72.00 13.56 5.45 58.00 86.00 56 95 ไม่มี 85.00 7.17 3.17 76.84 83.16 77 97 รวม 360 83.50 3.20 66.26 79.74 49

203 การเสนอผลการวิเคราะห์
การรณรงค์ประหยัด N ค่าเฉลี่ย ค่าเบียงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ มี ไม่มี รวม 180 360 72.0 85.0 83.5 13.56 7.17 F = 7.824 Sig. = .005 สรุปผล : ปฎิเสธ Ho การรณรงค์มีผลต่อค่าใช้จ่ายฯอย่างมีนัยสำคัญฯ ณ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95

204 การวิเคราะห์สมการถดถอย (Regression Analysis)
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ - เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระแต่ ละตัว โดยการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ ทั้งหมด - เพื่อศึกษาถึงทิศทางและอัตราความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระแต่ละตัวกับตัวแปรตาม - เพื่อการประมาณค่าตัวแปรตาม หมายเหตุ - ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมีระดับการวัดเชิงปริมาณ

205 ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบความสัมพันธ์
- ค่า F-test เป็นค่าที่แสดงให้ทราบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดที่อยู่ในสมการมีผลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ - ค่า t-test เป็นค่าที่แสดงให้ทราบว่าตัวแปรอิสระแต่ละตัวมีผลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ - ค่า R2 เป็นค่าที่แสดงให้ทราบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดของสมการสามารถอธิบายความเคลื่อนไหวของตัวแปรตามได้ร้อยละเท่าไร ถ้ามีค่ามากแสดงว่าสมการที่ใช้สามารถอธิบายตัวแปรตามได้ดี - ค่า Durbin-Watson Statistics (D.W) เพื่อดูปัญหา Autocorrelation

206 การตั้งสมมติฐานในการทดสอบ
Ho : ตัวแปรอิสระไม่มีผลต่อตัวแปรตาม (1  2  … 0) Ha : ตัวแปรอิสระมีผลต่อตัวแปรตาม (1  2  …  0) เกณฑ์การตัดสินใจ - Reject Ho F  Ftable หรือ ค่า Sig.  

207 กรณีตัวอย่าง : การวิเคราะห์สมการถดถอย
สมมติฐานการวิจัย : ราคาของผลผลิตมีอิทธิพลต่อปริมาณผลผลิต สมมติฐานทางสถิติ : กำหนดค่าสถิติทดสอบ : ระดับนัยสำคัญ () = 0.05 Ho: ราคาฯไม่มีผลต่อปริมาณผลผลิต H1: ราคาฯมีผลต่อปริมาณผลผลิต

208 Unstandardized coefficients Standardized Coefficients Beta
ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS Coefficients Unstandardized coefficients Standardized Coefficients Beta t Sig. B Std. Error Model 1 Constant P 45.170 .307 1.726 .024 - .819 27.337 12.988 .000 Model Summary Model R R Square Adjusted Std. Error of the Estimate 1 .819 .670 .666 6.20

209 ANOVA Sum of Square df Mean F Sig. Model 1 Regression Residual Total 1 170 179 38.38 .000

210 การเสนอผลการวิเคราะห์
PRO = P (27.337) (12.988) R = .819, R2 = .670, F = , Sig. = .000 สรุปผล : ปฎิเสธ Ho ราคาฯมีอิทธิพลต่อปริมาณผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญฯ ณ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95

211 การเลือกใช้เครื่องมือทางสถิติเพื่อทดสอบความสัมพันธ์
ระดับการวัดของตัวแปร วัตถุประสงค์อื่นในการวิเคราะห์ ตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระ Crosstabulation คุณภาพ - ANOVA Ratio หา interaction Regression ทำนายค่าตัวแปรตาม

212 Assignment 3rd ให้นักศึกษากำหนดสมมติฐานการวิจัย กำหนดสมมติฐานทางสถิติ
สรุปผลการศึกษาจากผลวิเคราะห์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS

213 ข้อมูลในการวิเคราะห์
ความสามารถในการชำระหนี้ รหัส ภายในระยะเวลาที่กำหนด 1 ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด 2 หนี้สูญ 3 ภาคการผลิต รหัส ผลิตพืช 1 ผลิตสัตว์ 2 ผสมผสาน 3

214 สมมติฐานการวิจัย สมมติฐานทางสถิติ
ภาคการผลิตของเกษตรกรมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ สมมติฐานทางสถิติ สมมติฐานหลัก (Null-hypothesis) - ภาคการผลิตของเกษตรกรไม่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ สมมติฐานทางเลือก (Alternative hypothesis) - ภาคการผลิตของเกษตรกรมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้

215 ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์
การวิเคราะห์ตารางไขว้ (Crosstabulation Analysis) ตารางการวิเคราะห์ ความสามารถ ในการชำระหนี้ ภาคการผลิต รวม ผลิตพืช ผลิตสัตว์ ผสมผสาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด E11 E12 E13 R1 ช้ากว่าเวลาที่กำหนด E21 E22 E23 R2 หนี้สูญ E31 E32 E33 R3 C1 C2 C3 N

216 ผลการวิเคราะห์ ความสามารถในการชำระหนี้ ลักษณะของการผลิต Chi Sq. (Sig.)
ผลิตพืช ผลผลิตสัตว์ ผสมผสาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด หนี้สูญ 25.0 32.5 42.5 45.5 39.0 15.5 18.253 (.002)

217 สรุปผล การอ่านค่า การสรุปผล
- ค่า Sig. = สรุปว่ายอมรับสมมติฐานทางเลือก (Sig. <  ) อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 - หมายความว่าภาคการผลิตของเกษตรกรมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้

218 การนำเสนอรายงานการวิจัย

219 เนื้อหาการบรรยาย การนำเสนอรายงานการวิจัย
ส่วนประกอบที่สำคัญของรายงานการวิจัย การเขียนอ้างอิง การจัดทำตาราง การจัดทำบรรณานุกรม การเขียนบรรณานุกรม การจัดทำภาคผนวก

220 การนำเสนอรายงานการวิจัย
วัตถุประสงค์ของรายงานผลการวิจัย 1.) เพื่อเสนอข้อเท็จริง/ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ 2.) เพื่อพัฒนาความคิด ด้านความคิดริเริ่ม การวิเคราะห์และการประมวลความคิดอย่างมีระบบ 3.) เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

221 ส่วนประกอบที่สำคัญของรายงานการวิจัย
ส่วนนำ - ปกนอก - ปกใน - บทคัดย่อ ; วัตถุประสงค์/ระเบียบวิธีวิจัย/ข้อค้นพบ/ข้อสรุป - กิตติกรรมประกาศ ; ระบุความเป็นมาโดยย่อ/แหล่งทุน/ขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ - สารบัญ ; ระบุส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในรายงาน และเลขหน้า - สารบัญตาราง ; ระบุเลขที่ตาราง ชื่อตาราง และเลขหน้าของตาราง - สารบัญรูปภาพ ; ระบุเลขที่ภาพ ชื่อภาพ และเลขหน้าของภาพ 1.) ชื่อเรื่องที่วิจัย 2.) ชื่อผู้ทำวิจัยหรือคณะผู้วิจัย 3.) แหล่งเงินทุนที่ได้รับ (ถ้ามี) 4.) ปีที่พิมพ์รายงาน

222 ส่วนเนื้อเรื่อง 1.) บทที่ 1 บทนำ - ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา - วัตถุประสงค์ของการวิจัย - สมมติฐานการวิจัย - ขอบเขตของการศึกษา - ข้อตกลงเบื้องต้น - คำนิยามศัพท์เฉพาะ - ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

223 ส่วนเนื้อเรื่อง (ต่อ)
2.) บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3.) บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล - การเก็บรวบรวมข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 4.) บทที่ 4 ผลการวิจัย 5.) บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายและข้อเสนอแนะ

224 ส่วนอ้างอิง - บรรณานุกรม ; เป็นรายการของหนังสือ เอกสาร หลักฐานทั้งหมดที่ใช้ประกอบ สนับสนุนและใช้อ้างอิงในรายงานการวิจัย - ภาคผนวก ; เป็นส่วนประกอบที่สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยของผู้เขียนรายงาน และจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ - ประวิติผู้วิจัย ; ข้อมูลเกี่ยวกับผู้วิจัย

225 การเขียนอ้างอิง - เป็นการอ้างอิงโดยการแทรกเนื้อหาของเอกสารไว้ในเนื้อหาของการวิจัยด้วยการระบุชื่อ – สกุล ของผู้แต่ง และปีที่พิมพ์ พร้อมทั้งเลขหน้าที่อ้างอิงในเอกสารนั้น โดยเขียนอ้างอิงใส่ไว้ในวงเล็บแทรกอยู่กับเนื้อหางานวิจัย - เป็นการอ้างอิงอย่างย่อ ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ของเอกสารที่อ้างอิงจะปรากฎอยู่ในบรรณานุกรมตอนท้ายเล่ม

226 (ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ : หน้าที่อ้างถึง)
เอกสารที่มีผู้แต่งคนเดียว (ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ : หน้าที่อ้างถึง) เช่น (สมยศ นาวีการ, 2524 : 234) (Bower, 1973 : 323) (นราธิปพงศ์ประพันธ์, กรมหมื่น : 7-10) (ทักษิณ ชินวัตร, 2526 : 139) (สมภพ โรจนพันธ์, ผู้แปล, 2526 : 10)

227 เอกสารที่มีผู้แต่ง 2 – 3 คน
เช่น (มณีชัย รัตนมณี และอนันต์ เกตุวงศ์, 2526 : 2 - 3) (Iversen and Norphth, 1976 : ) เอกสารที่มีผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป เช่น (แสวง รัตนมงคล และคณะ, 2528 : 1 - 3) (Andy and other, 1989 : ) (Stanly, et. al., 1989 : 1 - 4)

228 เอกสารออกในนามสถาบัน/หน่วยงาน
เช่น (มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต คณะวิทยาการจัดการ, 2535 : 3) (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2543 : 20) (ก.พ., 2544 : 10 – 11) เอกสารที่ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง ; ใช้ชื่อหนังสือแทน เช่น (100 ปีกลยุทธฝ่าวิกฤตธุรกิจไทย, 2534 : 162) เอกสารที่ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์ ; ให้ระบุคำว่า “ม.ป.ป.” หรือ “n.d” เช่น (ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, ม.ป.ป. : )

229 การอ้างอิงกรณีพิเศษ - การสัมภาษณ์ เช่น (อานันท์ ปันยารชุน, สัมภาษณ์) - การบรรยาย/ปาฐกถา เช่น (กมล ประจวบเหมาะ, บรรยาย) - รายการวิทยุ/โทรทัศน์ เช่น (มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โทรทัศน์ “กลยุทธการบริหาร”)

230 การอ้างอิงจากเอกสารที่ไม่ใช่ต้นฉบับ
(ชื่อผู้แต่ง,ปีที่พิมพ์:หน้าที่อ้างอิง อ้างถึงใน ชื่อผู้แต่ง,ปีที่พิมพ์ : หน้าที่อ้างอิง) ต้นฉบับ ทุติยภูมิ เช่น (Merry, 1985 : 3 อ้างถึงในปรีชา สังกิตติสุนทร, 2530 : 17) การคัดลอกข้อความ - ความยาวไม่เกิน 3 บรรทัด ให้คัดลอกข้อความในเครื่องหมาย “___”แทรกในเนื้อหาของการวิจัย - ยาวเกินกว่า 3 บรรทัด ให้ยกข้อความที่คัดลอกมาพิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเว้นระยะเข้าไป 4 ตัวอักษรทุกบรรทัด

231 การจัดทำตาราง ความสำคัญของตาราง
- ช่วยเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของรายงานได้ดีขึ้น แต่ไม่ใช่สิ่งที่แทนคำอธิบาย จึงมีความสำคัญดังนี้ 1.) ช่วยอธิบาย 2.) ช่วยเน้นจุดสำคัญ และ3.) ช่วยจัดระเบียบของข้อมูลเชิงปริมาณ องค์ประกอบของตาราง - เลขลำดับตาราง ; บอกลำดับที่ของตาราง - ชื่อตาราง ; ระบุชื่อตารางให้คำบรรยาย - ระบุหน่วยการวัด ; ข้อมูลที่นำเสนอมีมาตรการวัดเป็นอะไร - ระบุแหล่งที่มา (กรณีจัดทำเองไม่ต้องระบุ)

232 ตาราง 1 มูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2545 - 2549
ตาราง มูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศไทยในปี พ.ศ ปี พ.ศ. สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่า (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 2545 2546 2547 2548 2549 ที่มา กรมการค้าระหว่างประเทศ, 2549

233 การจัดทำบรรณานุกรม - หมายถึง รายชื่อสิ่งพิมพ์หรือเอกสารที่ใช้ประกอบการค้นคว้า และรายชื่อหนังสือจะต้องให้ข้อมูลทางการพิมพ์อย่างครบถ้วนและได้มาตรฐาน - ในกรณีที่รายการเอกสารมีไม่มากนักอาจนำบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศมาเขียนรวมกันได้ โดยนำรายชื่อสิ่งพิมพ์ภาษาไทยขึ้นก่อน - ในแต่ละภาษาให้เรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้เขียน

234 การลงชื่อผู้แต่ง 1.) ให้ลงชื่อผู้เขียนตามธรรมเนียมนิยม เช่น - อมร รักษาสัตย์ - Kasem Chunkao - Keynes ,J.M 2.) กรณีมีฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ และยศทางทหาร ตำรวจ ให้ระบุไว้หลังชื่อ เช่น - ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว. - พัลลภ ปิ่นมณี, พล.อ.

235 การลงชื่อเรื่อง 1.) ให้ลงชื่อเรื่องตามหน้าปกของหนังสือ 2.) หนังสือภาษาอังกฤษให้ขึ้นต้นทุกคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้น คำนำหน้า(Articles) บุพบท(Preposition) หรือสันธาน (Conjunction) การลงรายการทางการพิมพ์ 1.) สถานที่พิมพ์ – เมืองที่ตั้งของโรงพิมพ์ (ไม่ลงชื่อประเทศ) 2.) สำนักพิมพ์ – ลงชื่อสำนักพิมพ์โดยตัดคำว่า บริษัท, ห.จ.ก., จำกัด, Co., and Co., Inc., Publishers, Pub. Co. หรือคำที่มีความหมายเดียวกันออก 3.) ถ้าไม่ปรากฎชื่อสำนักพิมพ์ให้ลงรายการด้วยคำว่า ม.ป.ท. หรือ n.p 4.) ถ้าไม่ปรากฎปีที่พิมพ์ให้ลงรายการด้วยคำว่า ม.ป.ป. หรือ n.d

236 การลงชื่อผู้แต่ง (ต่อ)
3.) กรณีมีผู้แต่งไม่เกิน 3 คน ใช้คำว่า “และ” หรือ “and” หน้าชื่อคนสุดท้าย แต่ถ้าเกิน 3 คน ให้ลงชื่อเฉพาะคนแรกแล้วตามด้วย “และคณะ” หรือ “and other” เช่น - สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และธวัชชัย อาทรธุระสุข - เพ็ญศรี สุโรจน์ และคณะ - Senders, William B. and Pinhey, Thomas K. - Siegel, Claire and other 4.) กรณีไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง แต่จัดทำโดยหน่วยงานให้นำชื่อหน่วยงานมาแทนชื่อบุคคล

237 การเขียนบรรณานุกรม หนังสือ/ตำรา
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์).ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้ง ที่ 12. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง. Siegel, Sidney. (1956). Nonparametric Statistics for the Behavioral Sciences. New York : Mcgraw - Hill.

238 บทความในวารสาร ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). “ชื่อบทความ”. ชื่อวารสาร.ปีที่ (เดือน) : เลขหน้า. สมชาย เรืองทอง. (2545). “ยุทธศาสตร์การส่งออก”. เศรษฐกิจการพาณิชย์. ปีที่ 10 : 20 – 25. Brayfield, Arthur H., and Harold F. Rothe.(1951). “Index of Job Satisfaction” Journal of Applied Psychology. Vol. 35 :

239 ชื่อผู้เขียน. (วัน เดือน ปี).ชื่อบทความ.ชื่อหนังสือพิมพ์.เลขหน้า.
ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ. (5 ก.ย. 2549). ต่างชาติเตรียมยึดค้าปลีกไทย. มติชน. 20. หัวข่าว ชื่อหนังสือพิมพ์. (วัน เดือน ปี).ชื่อข่าวหรือหัวข่าว:หน้า. สยามรัฐ. (10 ม.ค. 2536). การเกษตรไทยจะไปทางไหน : หน้า 7.

240 วิทยานิพนธ์ ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์).ชื่อวิทยานิพนธ์.ระดับการศึกษา คณะและมหาวิทยาลัย. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2545). การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเชิงประจักษ์ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายการประถมศึกษาของ ไทย (พ.ศ – 2527). วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

241 บทความในสารานุกรม ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์).ชื่อบทความ. ชื่อสารานุกรม.เล่มที่ : เลขหน้า. จำนง ทองประเสริฐ. ( ). มหาวิทยาลัย. สารานุกรมฉบับราช บัณฑิตสถาน. 22: –

242 แหล่งสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิคส์
1.) อ้างอิงข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) ชื่อผู้แต่ง.ปีที่พิมพ์.(เดือน,วันที่).ชื่อเรื่อง.[ประเภทวัสดุ].ที่มา:ที่มาของ สารสนเทศ. Pioch, Nicholas (August, 21). All you ever wanted to know about the Web Museum [Online]. Available URL :

243 แหล่งสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิคส์ (ต่อ)
2.) อ้างอิงบทความจากวารสารออนไลน์ ชื่อผู้แต่ง.ปีที่พิมพ์.ชื่อบทความ.ชื่อวารสาร.[ประเภทวัสดุ].ปีที่ออก, ฉบับที่ ออก: เลขหน้า.ที่มา : สถานที่มาของสารสนเทศ Overby, J.M Ozone bring better bottle water. Water Technology [Online], 19, no. 5 : 62 – 63. Abstract from Dialog File: Water Resource Abstracts (117) Item :

244 แหล่งสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิคส์ (ต่อ)
3.) อ้างอิงสารสังเขปวิทยานิพนธ์จากซีดีรอม ชื่อผู้แต่ง.ปีที่พิมพ์.ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์.[ประเภทวัสดุ].ที่มา:/ที่มาของ สารสนเทศ. Bower,D.L Employee assistant programs supervisory referrals : characteristics of referring and nonreferring supervisors [CD ROM]. Abstract from : Proquest File : Dissertation Abstract Item :

245 การจัดทำภาคผนวก ภาคผนวก คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายงาน แต่ไม่ใช่เนื้อหาของรายงาน เป็นส่วนที่นำมาเพิ่มขึ้นในตอนท้ายเพื่อช่วยผู้อ่านให้เข้าใจยิ่งขึ้น ภาคผนวกจะมีหรือไม่ แล้วแต่ความจำเป็น ถ้ามีต้องจัดไว้ต่อจากบรรณานุกรม ภาคผนวกนี้มีไว้สำหรับเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูล แบบสอบถามและอื่น ๆ ที่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้อ่าน การที่ต้องจัดข้อความบางอย่างไว้ในภาคผนวกนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเรื่องของรายงานสับสนเกินไป


ดาวน์โหลด ppt ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction of Research)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google