ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
2
เอกภพหรือจักรวาล(Universe) หมายถึง ระบบรวมของกาแล็กซี
ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก เชื่อกันว่าเอกภพประกอบด้วยกาแล็กซี จำนวนแสนล้านกาแล็กซี เอกภพมีรัศมีไม่น้อยกว่า 13,700 ล้านปีแสง และมีอายุประมาณ 13,700 ล้านปี ภายในกาแล็กซีประกอบด้วย ระบบของดาวฤกษ์ (Stars) กระจุกดาว (Star clusters) เนบิวลา (Nebulae) หลุมดำ อุกกาบาต ฝุ่นธุลีคอสมิก (Cosmic dust) กลุ่มก๊าซ และที่ว่างรวมกันอยู่ ทฤษฎีกำเนิดเอกภพ ทฤษฎีกำเนิดเอกภพ ที่ได้รับความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับมาก ในหมู่นักดาราศาสตร์ คือ ทฤษฎีระเบิดใหญ่ (Big Bang Theory)
3
ทฤษฎีระเบิดใหญ่ หรือ Big Bang
ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่เมื่อประมาณ 15,000 ล้านปีก่อน เป็นต้นกำเนิดของเอกภพ เป็นการระเบิดใหญ่จากพลังงานบางอย่างที่ทำให้พลังงานบางส่วนเกิดเป็นสสาร พลังงานบางอย่างหลังการระเบิดเอกภพขยายตัวออกทุกทิศทางพร้อมกับอุณหภูมิที่ค่อยๆ ลดลง เมื่อเวลาผ่านไปนับล้านปี สสารที่เกิดขึ้นหลังการระเบิดใหญ่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นกาแล็กซี่ เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ก่อนเกิด Bigbang จอร์จส เลอแมท์ร (Georges Lemaitre) เป็นผู้เสนอทฤษฎีB บิกแบง และถูกพัฒนาโดย จอร์จ กามอฟ ( George Gamow) ปัจจุบันบิกแบง เป็นที่ยอมรับมาก เพราะสามารถอธิบายปรากฏการณ์หลายอย่างที่สอดคล้องกับ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ได้ เชื่อว่า ก่อนการเกิดบิกแบง เอกภพประกอบด้วยพลังงานล้วนๆ ภายใต้อุณหภูมิที่สูงยิ่ง ทำให้เกิดการระเบิดใหญ่ ที่เรียกว่า “ บิกแบง (BigBang) ” นับเป็นจุดที่พลังงานเริ่มเปลี่ยนเป็นสสารครั้งแรก จอร์จส เลอแมท์ร
4
ขณะเกิด Bigbang ขณะเกิดบิกแบง มีเนื้อสารเกิดขึ้นในรูปของอนุภาคมูลฐาน (elementary particle) ได้แก่ ควาร์ก (Quark) อิเล็กตรอน (Electron) นิวทริโน (Neutrino) และโฟตอน(Photon) ควาร์ก (Quark) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดซึ่งเล็กกว่าอะตอม ซึ่งมีทั้งประจุบวกและประจุลบ อิเล็กตรอน (Electron) อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ของอะตอมและมีประจุเป็นลบ นิวทริโน (Neutrino) เป็นอนุภาคมูลฐานซึ่งเป็นกลางทางประจุไฟฟ้า โฟตอน (Photon) คือ อนุภาคของแสง ไม่มีประจุไฟฟ้า
5
ขณะเกิด Bigbang
6
เมื่อเกิดอนุภาคก็จะมีปฏิอนุภาค (Anti-particle)
เกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ ปฏิอนุภาค จะมีประจุ ไฟฟ้าตรงกันข้ามกับอนุภาค ยกเว้นนิวทริโน และแอนตินิวทริโน จะไม่มีประจุไฟฟ้า เมื่อปฏิอนุภาคพบกับอนุภาค ชนิดเดียวกัน จะหลอมรวมกัน เนื้อสารเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจนหมดสิ้น
7
ถ้าในเอกภพมีจำนวนอนุภาคเท่ากับ ปฏิอนุภาคพอดี เมื่อพบกันจะกลาย
ปฏิอนุภาคพอดี เมื่อพบกันจะกลาย เป็นพลังงานทั้งหมด ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็จะไม่เกิดกาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ แต่ธรรมชาติ มีอนุภาคมากกว่าปฏิอนุภาคเสมอ เมื่อปฏิอนุภาคพบอนุภาค ชนิดเดียวกัน นอกจากจะได้ พลังงานเกิดขึ้นแล้ว อนุภาค ที่เหลืออยู่ จะเป็นอนุภาค ต้นกำเนิดของสสารในเอกภพต่อไป
8
หลังเกิด Bigbang หลังบิกแบงเพียง 10- 6 วินาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็นสิบล้านล้านเคลวิน ทำให้ ควาร์กเกิดการรวมตัวกันเป็นโปรตอน (นิวเคลียสของไฮโดรเจน) หรือนิวตรอน หลังบิกแบง 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็นร้อยล้านเคลวิน มีผลทำให้โปรตอน และนิวตรอนเกิดการรวมตัวเป็นนิวเคลียสของ H ในช่วงแรกๆนี้ เอกภพขยายตัวเร็วมาก
9
หลังบิกแบง 300,000ปี อุณหภูมิลดลงเหลือ 10,000 เคลวิน นิวเคลียสของไฮโดรเจนและฮีเลียมดึงอิเล็กตรอนเข้ามาอยู่ในวงโคจร เกิดเป็นอะตอมไฮโดรเจนและฮีเลียมตามลำดับ กาแล็กซีต่างๆ เกิดหลักบิกแบงอย่างน้อย 1,000 ล้านปี ภายในกาแล็กซีมีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมซึ่งเป็น สารเบื้องต้นซึ่งก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นแรกๆ
10
จากการกำเนิดเอกภพตามทฤษฎีบิกแบง มีหลักฐานที่สำคัญอยู่ 2 ข้อด้วยกัน คือ
เอ็ดวิน พี. ฮับเบิล ประการที่ 1: การขยายตัวของเอกภพ เอ็ดวิน พี. ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ ชาวอเมริกันพบว่า กาแล็กซีที่อยู่ไกลยิ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสูงกว่ากาแล็กซีที่อยู่ใกล้ คืออัตราเร็วของการเคลื่อนที่ของกาแลกซี่จะแปรผันตรงกับระยะห่าง กาแล็กซีที่อยู่ไกลยิ่งเคลื่อนที่ห่างออกไปเร็วกว่ากาแล็กซีที่อยู่ใกล้ นั่นคือ เอกภพกำลังขยายตัว ทำให้นักดาราศาสตร์คำนวณอายุ ของเอกภพได้
11
ประการที่ 2 : อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพคืออุณหภูมิของเอกภพในปัจจุบัน
ประการที่ 2 : อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพคืออุณหภูมิของเอกภพในปัจจุบัน ที่ลดลงเหลือ 2.73 เคลวิน การค้นพบคลื่นรังสีความร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 3 เคลวิน ขณะกำลังทำการทดสอบระบบเครื่องรับสัญญาณของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ โดยบังเอิญของโรเบิร์ต วิลสัน และอาร์โน เพนเซียส คลื่นรังสีความร้อนที่กระจายอยู่ทั่วไปในจักรวาลนี้ สอดคล้องรับกับทฤษฎีกำเนิดจักรวาลจากการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่คือพลังงานของการระเบิดที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบันคือนิวทริโนนั่นเอง เมื่อคำนวณจากขนาดของพลังงานความร้อนที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ย้อนหลังไปสู่จุดกำเนิดที่มาก็จะลงตัวได้อย่างค่อนข้างพอดี คือประมาณ 3 เคลวิน หรือประมาณ -270 องศาเซลเซียส ตรงกับอุณหภูมิพื้นหลังของอวกาศ คือ อุณหภูมิของเอกภพในปัจจุบัน Robert Wilson Arno Penzius
12
ได้เวลาทำแบบฝึกหัด แล้วนะจ๊ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.