งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
ความหมายของคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม การใช้คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต ระบบ CAD/CAM ในงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

2 ความหมายของคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม หมายถึง การใช้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูลและฐานข้อมูลรวมทั้งซอฟต์แวร์ประยุกต์ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเครื่องมือวัดวิเคราะห์ควบคุมกระบวนการผลิต,ระบบสินค้าคงคลัง,ระบบขนถ่ายสินค้าและวัสดุระบบเครือข่ายมาตรฐานในกระบวนการผลิต การบริการและสิ่งแวดล้อมเป็นต้น คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งานทางด้านงานอุตสาหกรรมโดยแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการการผลิต

3 วัตถุประสงค์การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานลักษณะที่เป็นกระบวนการทำงานทางด้านอุตสาหกรรมเหมือนกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการกับข้อมูลวัตถุประสงค์ที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรมมีดังนี้ เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตปริมาณของที่ผลิตได้ต่อชั่วโมงโดยระบบควบคุมอัตโนมัติจะสูงกว่าระบบแรงงานโดยทั่วไป เพื่อลดปัญหาการขาดแรงงานบางครั้งการมีการหยุดงานประท้วงซึ่งอาจเกิดผลเสียให้กับอุตสาหกรรม ในลักษณะที่ทำให้ต้องหยุดการผลิตลงชั่วคราวซึ่งอาจมีผลต่อภาพพจน์ของโรงงานดังนั้นระบบอัตโนมัติอาจแก้ปัญหานั้นได้ เพื่อตัดปัญหาการขาดช่างฝีมือบางลักษณะต้องการช่างฝีมือซึ่งหาไม่ได้ง่ายนักและอาจทำงานด้วยไม่นานหากช่างฝีมือเกิดลาออกก็จะทำให้งานไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เพื่อลดอันตรายงานในงานที่เป็นอันตรายก็จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อัตโนมัติที่จะแทนคนเช่น การเชื่อมโลหะ หรืองานที่ต้องทำภายใต้มลพิษ เพื่อทำให้คุณภาพของสินค้าสูงขึ้นสินค้าที่ผลิตออกมาจะมีลักษณะและคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ

4 วัตถุประสงค์การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานลักษณะที่เป็นกระบวนการทำงานทางด้านอุตสาหกรรมเหมือนกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการกับข้อมูลวัตถุประสงค์ที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรมมีดังนี้ เพื่อทำให้เวลาการผลิตสั้นลงเวลาตั้งแต่รับงานจนถึงส่งงานให้ลูกค้าสามารถคำนวณได้และจะสั้นกว่าการใช้แรงงาน เพื่อลดเวลาและต้นทุนการผลิตในส่วนของการออกแบบและกระบวนการผลิตเพราะไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน เพื่อความผิดพลาดน้อยลงเพราะเป็นการนำข้อมูลซึ่งเก็บไว้ในฐานข้อมูลมาใช้ มิใช่เป็นการสร้างข้อมูลใหม่ในแต่ละส่วนซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดได้ เพื่อลดขั้นตอนการผลิตสินค้าทำให้สินค้าใหม่ ๆ สามารถออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้วัสดุสิ้นเปลืองลดลงเพราะมีการวางแผนการใช้วัสดุอย่างรัดกุม เพื่อทำให้สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้เพราะเป็นระบบที่ทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำให้สามารถวางแผนงานได้เนื่องจากสามารถตรวจเช็คงานได้ทุกขั้นตอน

5 การใช้คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
การใช้คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการการผลิต โดยงาน 3 ส่วนมีการทำงานร่วมกันเรียกว่า CIM ย่อมาจากคาว่า computer integrated manufacturing เป็นการเชื่อมต่อระหว่างระบบที่ทำการผลิตแบบอัตโนมัติกับการจัดการสารสนเทศ โดยระบบจะช่วยทาการผลิตแบบอัตโนมัติคือช่วยในการออกแบบและผลิตควบคุมเครื่องมือหรือเครื่องจักรจะเป็นการทำงานด้วยคำสั่งจากคอมพิวเตอร์เช่นการควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและการวางแผนการใช้วัตถุดิบในการผลิตโดยอัตโนมัติ การวางแผนงานจะสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้จะต้องมีการจัดข้อมูลที่ต้องใช้ทั้งหมดมารวมอยู่เพียงแห่งเดียวจากนั้นก็จัดการกระบวนการผลิตทั้งหมดโดยอัตโนมัติได้ทันที

6 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการสารสนเทศ
สารสนเทศหมายถึงข้อมูลที่มีความหมาย ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ดังนั้นจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสม และถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในรูปแบบที่ใช้ได้ และจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น เมื่อต้องการไปใช้ในการวางแผน การขาย สารสนเทศที่ต้องการก็ควรจะเป็นรายงานสรุปยอดขายแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมา สารสนเทศหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลาและอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดีเช่นอาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกันข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเองนอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล

7 ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
บุคลากรเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเพราะบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเป็นผู้ดำเนินการในการทำงานทั้งหมดบุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคนเช่นร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคนตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขายเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้ ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลามีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผลการทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอนหากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วยเพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงานผลตามที่ต้องการคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงานและทำงานได้ต่อเนื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานตามต้องการและประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ข้อมูลเป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการเช่นในสถานศึกษามักต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียนข้อมูลผลการเรียนและข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิดสารสนเทศ

8 การจัดการสารสนเทศ การเก็บรวบรวมข้อมูล สมมติต้องการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนไทยในหมู่บ้านอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสาหรับการสำรวจข้อมูล เพื่อให้ครอบครัวต่าง ๆ ในหมู่บ้านกรอกข้อมูล มีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่น การใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตรวจหรืออ่านข้อมูลที่ใช้ดินสอดำฝนตำแหน่งที่กรอกข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลดูแลเรื่องความถูกต้องของข้อมูล มีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องข้อมูลที่จัดเก็บต้องมีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย การรวบรวมข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล การรวบรวมข้อมูลที่เก็บไว้ให้เป็นแฟ้มข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งการไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าเรื่องอะไร ส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลมาหลายเรื่องจาเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อให้การดาเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น การจัดเรียงข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูลตามลำดับเพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ การคำนวณข้อมูลที่จัดเก็บมีข้อมูลที่เป็นตัวอักษรข้อความและตัวเลขดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณตัวเลขที่ได้มาจากข้อมูลเช่นหาค่าเฉลี่ย หาผลรวม การทำรายงานการสรุปทารายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งานจะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้นเพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ การจัดเก็บข้อมูลที่สำรวจหรือที่เรารวบรวมมาและมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศซึ่งจะต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลังซึ่งในการจัดเก็บข้อมูลสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การทำสำเนาหากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว การสื่อสารข้อมูล เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย เทคโนโลยีสื่อสาร สมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

9 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตในงานอุตสาหกรรม
แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัทซึ่งเป็นส่วนกำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตเช่นเอกสารที่เกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิตและเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการรวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นข้อจากัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลังและโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ระบบประมวลผลรายการได้แก่ข้อมูลที่จะได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อในการผลิตได้แก่การประมวลผลการสั่งซื้อข้อมูลสินค้าคงคลังข้อมูลการรับและตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต ข้อมูลบุคลากรและข้อมูลขบวนการผลิต แหล่งข้อมูลภายนอกได้แก่ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ ๆ อาจมาจากบริษัท วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หรือได้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้สามารถคาดเดาเรื่องของแรงงานค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่น ๆ อีกเช่นองค์กรผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ สมาคมทางธุรกิจซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขันทั้งในด้านขบวนการผลิต

10 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
หน้าที่คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบได้แก่การจำลองสภาพการทำงานจริงของชิ้นงานที่ได้ออกแบบในสภาวะต่าง ๆ เพื่อศึกษารายละเอียดของชิ้นงานและวิเคราะห์ใช้หาประสิทธิภาพและคุณภาพของชิ้นงานโดยที่ผู้ออกแบบไม่จำเป็นต้องสร้างชิ้นงานต้นแบบขึ้นมาทดลองจริง ๆ คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบยังช่วยประหยัดเวลาในการคำนวณค่าต่าง ๆ ของงานที่เราต้องการตัวอย่าง เช่น งานออกแบบอาคารหรือถนนต้องใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์หาแรงกระทำตามจุดต่าง ๆ บนโครงสร้างของอาคารหรือถนนเมื่อต้องรับน้ำหนักรถขนาดต่าง ๆ กัน ในการออกแบบรถยนต์ที่ใช้เราจึงต้องใช้คอมพิวเตอร์จำลองสภาพการวิ่งของรถยนต์ที่ความเร็วต่าง ๆ บนพื้นถนนหลายชนิดเพื่อดูลักษณะการปะทะลมของตัวถังและแรงกระทำต่อแกนล้อรถยนต์และในการออกแบบเครื่องบินเราต้องใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์หาลักษณะของการพยุงตัวของปีกเครื่องบินในมุมต่าง ๆ เหล่านี้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยผู้ออกแบบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

11 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design หรือ CAD) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริงตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบโดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริงตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบโดยเฉพาะในเรื่องของเวลาการแก้ไขแบบต่าง ๆ และการจัดเก็บแบบต่าง ๆ

12 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบแบ่งส่วนประกอบออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ระบบฮาร์ทแวร์ (hardware) หมายถึงอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลต่าง ๆ ระบบซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลต่าง ๆ และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้

13 ระบบฮาร์ทแวร์ หน่วยแสดงภาพแบบกราฟิก (graphic display unit) ซึ่งบางคนเรียกว่ากราฟิกเทอร์มินัล (graphic terminal) เป็นหัวใจของระบบเพราะเป็นสื่อกลางในการติดต่อและถ่ายทอดข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้หน่วยนี้สามารถแสดงภาพลายเส้นบนจอภาพได้อย่างละเอียด นอกเหนือไปจากแสดงตัวอักษรและด้วยตัวเลขบนจอภาพตามธรรมดาและบางเครื่องสามารถแสดงภาพเป็นสีได้ด้วยความชัดของจอภาพ วัดด้วยจำนวนจุดที่จะแสดงบนจอได้ละเอียดอีกมาก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในหน่วยนี้จะต้องมีการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถแสดงภาพลวดลายต่าง ๆ นับพันเส้นบนจอให้ได้อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์กำหนดตำแหน่งที่จะเขียนภาพอุปกรณ์นี้เป็นเครื่องมือสาหรับให้ผู้ใช้กำหนดตามตำแหน่งที่ต้องการสร้างหรือวาดภาพ (graphic cursor positioning equipments) อุปกรณ์เหล่านี้มีอยู่หลายชนิดแล้วแต่ความเหมาะสม อุปกรณ์ด้านหน่วยความจำในงานเขียนแบบที่ต้องการวาดกราฟที่ละเอียดมาก ๆ นั้น จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำมากกว่าธรรมดาทั้งหน่วยความจำที่ใช้ในการสร้างภาพหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรูปภาพและระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการเขียนแบบมีหน่วยความจำภายในคือแรกมากและขณะเดียวกันมักจะมีหน่วยความจำสำรอง เครื่องเขียน (plotter) หรือเครื่องพิมพ์กราฟ (graphic printer) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสาหรับนำภาพชิ้นงานจากหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์มาวาดลงบนกระดาษเขียนแบบมีทั้งชนิดที่วาดกราฟโดยใช้ปากกาสีและแบบที่พิมพ์เป็นจุดสีได้ (colour electrostatic printer)

14 ระบบซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ CAD และCAM ที่อยู่ในตัวเดียวกันเช่น Pro/engineer, catia ,unigraphics ,SDRC เป็นต้นข้อดีของซอฟต์แวร์คือไม่ต้องผ่านตัวแปลงข้อมูลให้เป็นข้อมูลมาตรฐาน (neutral file format) เช่น IGES (initial graphics exchange standard), STEP (standard for exchange of product information) สามารถนาข้อมูลของ CAD Model ไปใช้งานใน CAM ได้เลยแต่มีข้อเสียคือมีราคาสูง ซอฟต์แวร์ CAM เพียงตัวเดียวเช่น master CAM, surf CAM, virtual gibbs เป็นต้น ข้อดีคือราคาถูก ข้อเสียคือมีโอกาสของการผิดพลาดที่เกิดจากการส่งและรับข้อมูลเนื่องจากต้องมีการแปลงเป็นข้อมูลมาตรฐานเพราะไม่มีส่วนของการสร้าง CAD Model จะอาศัยการรับ CAD Model จากโปรแกรม CAD ด้วย

15 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบในงานอุตสาหกรรม
งานนำเสนอข้อมูลในการนำเสนอข้อมูลหากข้อมูลที่นำเสนอมีเฉพาะ ข้อความ ตัวเลขหรือตารางจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อหน่ายและอาจสื่อความเข้าใจได้ยากดังนั้นจึงนิยมใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานในการสร้างภาพกราฟิกเพื่อการนำเสนอข้อมูลเช่นทำเป็นรูปกราฟวงกลม กราฟเส้น กราฟแท่ง เพื่อแสดงถึงปริมาณหรือความสัมพันธ์ของค่าต่าง ๆ งานออกแบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกนำไปใช้งานมีประสิทธิภาพในการสร้างภาพกราฟิกเพื่อออกแบบทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (computer aided design หรือ CAD) ได้ถูกใช้งานอย่างมากในการออกแบบสิ่งก่อสร้าง รถยนต์ เครื่องบิน ยานอวกาศ รวมทั้งการออกแบบคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ซึ่งส่วนมากมักจะถูกออกแบบในคอมพิวเตอร์ก่อนแล้วจึงนำมาสร้างจริงในภายหลัง

16 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการการผลิต
คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing or CAM) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกันตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงานประการสำคัญช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด CAM คือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเขียนโปรแกรมเพื่อนาใช้ควบคุมเครื่องจักรกลซีเอ็นซี โดยใช้ข้อมูลทางรูปร่างจาก CAD ไปทาการกำหนดว่าจะใช้เครื่องจักรชนิดใดในการผลิต, ใช้อุปกรณ์ตัดเฉือนอะไรบ้าง,ใช้วัสดุทาชิ้นงานขนาดเท่าใด,วางตำแหน่งที่อ้างอิงอย่างไร,ใช้วิธีการตัดเฉือนและมีขั้นตอนทำงานอย่างไร รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองขั้นตอนการทำงานและการตรวจสอบความถูกต้องในกระบวนการผลิต CAM เป็นคำย่อมาจากคำว่า computer aided manufacturing ซึ่งแปลตามศัพท์ได้ความว่า คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตซึ่งจะใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อควบคุมเครื่องจักรให้สามารถสร้างชิ้นงานได้ตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว

17 การใช้โปรแกรม CAD/CAM ในงานอุตสาหกรรม

18 การใช้โปรแกรม CAD/CAM ในงานอุตสาหกรรม
การใช้ CAD และ CAM นี้หากจะใช้ให้ได้ผลเต็มที่จะต้องสามารถส่งข้อมูลถึงกันและกัน ได้ กล่าวคือ ข้อมูลที่ออกแบบโดย CAD ซึ่งเป็นข้อมูลในลักษณะรูปภาพกราฟิกจะสามารถนำไปใช้ ในการผลิตชิ้นงานซึ่งมีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับที่ออกแบบไว้ทุกประการดั้งนั้นหากมองใน ลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกันลักษณะของงาน CAD/CAM ส่วนของโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่เข้ามาช่วย คือระบบ CAD ซึ่งจะช่วยในการออกแบบ สินค้านักออกแบบอาจออกแบบหลาย ๆ แบบ วิเคราะห์แบบจนได้แบบที่เหมาะสมแล้วจึงนำไปวาด แบบโดยอัตโนมัติ จากนั้นข้อมูลทั้งหมด อาทิเช่นขนาดลักษณะจะถูกส่งไปยังระบบ CAM เพื่อวาง แผนการผลิตและใช้ข้อมูลในการสั่งซื้อวัสดุรวมทั้งวางกำหนดการผลิตและวางแผนการใช้วัสดุแล้ว จึงเริ่มการผลิตโดย CAM จะไปช่วยในการควบคุมเครื่องจักรในการผลิตและควบคุมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมเมื่อได้สินคาแล้วก็จะทำการตรวจสอบคุณภาพซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการ ตรวจสอบคุณภาพจะได้ความถูกต้อง 100% ผิดกับการตรวจเช็คด้วยมือหรือโดยการสุ่มซึ่งโอกาส สูงที่จะได้ของที่คุณภาพไม่ดีพอ

19 การประยุกต์ใช้ CAD/CAM ในงานอุตสาหกรรม
การใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบลายผ้าการ การใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบสร้าง pattern การใช้คอมพิวเตอร์วางแผนการใช้วัสดุอย่างมีประสิทธิภาพไม่ให้เศษผ้าเหลือมากไป การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการตัดผ้าด้วย laser ซึ่งทำให้การตัดทำได้ครั้งละมาก ๆ และเกิดความถูกต้องสูงมีประสิทธิภาพ อุตสาหกรรมพลาสติกการประยุกต์ใช้ CAD/CAM อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น การใช้CAD ช่วยในการออกแบบผลิตภันฑ์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการทดสอบ วิเคราะห์แบบ การสร้างแบบจำลองของการฉีดพลาสติกเข้าในเบ้า เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณสมบัติตามความต้องการของผู้บริโภค อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การประยุกต์ใช้งาน CAD/CAM ทาได้หลายลักษณะเช่น การใช้ CAD ช่วยออกแบบวงจรแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์พร้อมทั้งทดสอบการทำงาน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบวงจร PC board การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการเจาะรูเพื่อใส่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

20 การประยุกต์ใช้ CAD/CAM ในงานอุตสาหกรรม
ความคล่องตัวในการผลิตสินค้าด้วยเทคโนโลยีการออกแบบการควบคุมการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถดัดแปลงแก้ไขกระบวนการผลิต หรือลักษณะของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของตลาด หากตลาดมีความต้องการในสิ่งใหม่ ๆ ก็จะสามารถผลิตออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วเพราะขั้นตอนการทางานไม่ซ้ำซ้อน ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลหลายครั้ง ข้อมูลถูกเก็บไว้ที่เดียวฝ่ายใดต้องการใช้ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ทาให้เกิดความรวดเร็วและมีมาตรฐาน ข้อเสียของการประยุกต์ใช้ CAD/CAM ในงานอุตสาหกรรม ราคาแพงแม้ว่าปัจจุบันราคาของไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจะลดลงมาก แต่หากเป็นโรงงานขนาดเล็กก็อาจจะยังไม่คุ้มกับการลงทุน ต้องการบุคลากรที่มีความสามารถเนื่องจากคอมพิวเตอร์ต้องการดูแล และการสั่งงานอย่างมีระบบ ดังนั้น จึงต้องมีการจ้างผู้มีความสามารถ หรืออาจอบรมให้พนักงานได้เข้าใจ

21 บทสรุป การใช้คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการการผลิต โดยงานทั้ง 3 ส่วนนี้มีความสัมพันธ์กันมีการทำงานร่วมกันเรียกรวม ๆ ว่า CIM (computer integrated manufacturing) และ ระบบ CAD/CAM มีความสามารถในการประมวลผลและรับส่งข้อมูลได้จึงเป็นเครื่องมือในการแบ่งเบาภาระการทำงานของมนุษย์โดยเฉพาะงานที่มีความซับซ้อนทาซ้ำหลายครั้งและมีความเกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมากเช่นการแก้ไขปัญหาทาง วิทยาศาสตร์ ทางวิศวกรรมและธุรกิจเป็นต้น การทำงานจะมีขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกันดังนั้นจึงควรศึกษาหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมต่อไป

22 แบบฝึกหัด จงอธิบายความหมายของคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
จงบอกเหตุผลในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม จงอธิบายระบบ CIM จงเขียนไดอะแกรมของระบบ CIM ในโรงงานอุตสาหกรรม จงบอกประโยชน์ของของการใช้ CIM จงอธิบายความหมายของสารสนเทศ จงบอกส่วนประกอบของสารสนเทศ จงอธิบายการใช้ CADในงานอุตสาหกรรม จงอธิบายการใช้ CAMในงานอุตสาหกรรม จงอธิบายการใช้ CAD/CAMในงานอุตสาหกรรม


ดาวน์โหลด ppt การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google