งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พอเพียงอย่างไร ? ในอุดมศึกษาไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พอเพียงอย่างไร ? ในอุดมศึกษาไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พอเพียงอย่างไร ? ในอุดมศึกษาไทย
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

2 การศึกษาในระดับอุดมศึกษามี 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาบัณฑิต และระดับบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการจัดการศึกษา ปัจจุบันจำนวนสถาบันอุดมศึกษามี 258 แห่ง (ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ)

3 วิสัยทัศน์ ปี 2559 “...อุดมศึกษาเป็นแหล่งองค์ความรู้และพัฒนากำลังคนระดับสูงที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน สร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ ) บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีบทบาทสูงในสังคมประชาคมอาเซียน และมุ่งสู่คุณภาพอุดมศึกษาระดับนานาชาติ...” (จากแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11 (พ.ศ ) โดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา)

4 พระราชดำรัส “...การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติและคุณธรรมของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วน ล้วนพอเหมาะกันทุกๆ ด้าน สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถธำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้โดยตลอด...”

5 พระราชดำรัส “...ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาทุกๆ คนจึงต้องถือว่า ตัวของท่านมีความรับผิดชอบต่อชาติบ้านเมืองอยู่อย่างเต็มที่ ในอันที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เที่ยงตรง ถูกต้อง สมบูรณ์โดยเต็มกำลัง จะประมาทหรือละเลยมิได้ เพราะถ้าปฏิบัติให้ผิดพลาดบกพร่องไปด้วยประการใดๆ ผลร้ายอาจเกิดขึ้นแก่ส่วนรวมและประเทศชาติได้มากมาย...”

6 พระราชดำรัส “...การศึกษาที่ดีด้านวิชาการ เป็นทั้งรากฐานและปัจจัยสำหรับการสร้างสรรค์ แต่การที่จะนำเอาวิชาการมาสร้างสรรค์ให้สำเร็จได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการศึกษาที่ดีด้านอื่นๆ ประกอบด้วย การศึกษาด้านอื่นๆ ที่กล่าวก็คือ การศึกษาอบรมทุกๆ อย่างที่จะรู้จักรับผิดชอบ รู้จักตัดสินใจตามทางที่ถูกต้องเป็นธรรม และไม่เป็นการทำลาย...”

7 พระราชดำรัส “...คำว่า พอเพียง มีความหมายกว้างขวางกว่าความสามารถในการพึ่งตนเองหรือความสามารถในการยืนบนขาของตัวเอง เพราะความพอเพียงหมายถึงการที่มีความพอ คือ มีความโลภน้อย เมื่อโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียงหมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อาจจะเป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น...”

8 เศรษฐกิจพอเพียง

9 เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร เศรษฐกิจพอเพียงมีกรอบแนวคิดคือ เป็นปรัชญา ชี้แนะแนวทางปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น มีพื้นฐาน มาจากวิถีชีวิตของสังคมไทย และเป็นการมองโลกเชิง พลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากวิกฤต ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนว การดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนา เศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดย คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความ จำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อ ผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและ ภายใน บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง รวมทั้งจะต้องเสริมสร้างพื้นฐาน จิตใจของคนให้มีสำนึกใน คุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ใช้ สติปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎี ใหม่ โดยที่ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิดที่ ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างการใช้หลัก เศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับ หลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบ พื้นฐานกับแบบก้าวหน้า กล่าวคือ - ความพอเพียงในระดับบุคคล/ครอบครัว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ - ความพอเพียงในระดับชุมชน/ระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าซึ่งครอบคลุม ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ - ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจ พอเพียงแบบก้าวหน้า ครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ 9

10 สถาบันอุดมศึกษากับเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ - ดำเนินงานโดยยึดหลักความพอดีในการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา - คำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ ใช้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ - พัฒนาบุคลากรของสถาบันฯ ให้ทำงานด้วยความเชี่ยวชาญและเต็มศักยภาพ

11 สถาบันอุดมศึกษากับเศรษฐกิจพอเพียง
ความมีเหตุผล - การบริหารจัดการงานด้านต่างๆ ต้องมีการศึกษาและวางแผนอย่างรอบคอบ - พัฒนางานด้านต่างๆ อาทิ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการเรียนการสอนให้ทันสมัยมีคุณภาพเป็นสากลและการวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ - พัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับสภาพความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต

12 สถาบันอุดมศึกษากับเศรษฐกิจพอเพียง (ต่อ)
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อเสริมสร้างจุดแข็ง และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ - ติดตามผลและพัฒนาปรับปรุงนโยบาย ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน

13 สถาบันอุดมศึกษากับเศรษฐกิจพอเพียง
ภูมิคุ้มกันที่ดี - สร้างความเข้มแข็งในสถาบันฯ โดยใช้ระบบการบริหารจัดการที่ดี - พัฒนาหลักสูตรและพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการบริหารจัดการและการพัฒนาคุณภาพการศึกษารวมทั้งรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น - ติดตามประเมินผลงานและแก้ไขอย่างเป็นระบบ

14 สถาบันอุดมศึกษากับเศรษฐกิจพอเพียง
ความรู้ - ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ของบุคลากรเพื่อให้ได้คณาจารย์และบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อนำความรู้มาใช้ในการทำงาน เช่น การสนับสนุนให้มีการศึกษาต่อ การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม ฯลฯ - ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ หลากหลาย และทั่วถึงแก่คนในสถาบันฯ

15 สถาบันอุดมศึกษากับเศรษฐกิจพอเพียง
คุณธรรม - ยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน - เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงาน บริหารคน - เสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดีของสถาบันฯ ในการอยู่ร่วมกัน - มุ่งให้เห็นถึงประโยชน์ส่วนรวม สร้างเสริมความสามัคคี ความเพียร และความซื่อสัตย์

16 ความพอเพียงของผู้ปฏิบัติงาน
บุคลากร คณาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา - ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต - ขยัน อดทน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการพนันและอบายมุข ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฯลฯ - พัฒนาระบบการเรียนการสอนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง - ตั้งใจสอน หมั่นหาความรู้เพิ่มเติม - อบรม สั่งสอนให้นิสิต นักศึกษารักการเรียน คิดเป็น เข้าใจในหลัก เหตุผล มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานของศีลธรรมและการ พัฒนาจิตใจควบคู่กันไปเพื่อเป็นการสร้างคนดี คนเก่ง ให้แก่สังคม

17 ความพอเพียงของนิสิต นักศึกษา
ความพอเพียงของนิสิต นักศึกษา นิสิต นักศึกษา ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ต้องรู้จักแบ่งเวลาเรียน การทำกิจกรรมอื่นๆ และดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมและพอประมาณกับตนเอง ใฝ่หาความรู้ ใช้หลักวิชาและความรู้จริงในการตัดสินใจลงมือทำสิ่งต่างๆ ประพฤติดีมีระเบียบวินัย ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักแบ่งปัน มีความกตัญญู ใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเอง อาทิ ประหยัดอดออม ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา ไม่เสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติด

18 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ.2554 ว่า “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน”

19 ตามรอยพระยุคลบาท พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

20 การนำปรัชญา แนวคิด บทเรียนของพระองค์ เข้าสู่ระบบการศึกษา
การนำปรัชญา แนวคิด บทเรียนของพระองค์ เข้าสู่ระบบการศึกษา

21 สร้างหลักสูตรในสถาบันการศึกษา
หลักสูตรการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน ม.แม่โจ้ หลักสูตรการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืน ม.บูรพา หลักสูตรพัฒนาผู้นำตามแนวพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วปอ. หลักสูตรธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง นิด้า ฯลฯ

22 หลักสำคัญของความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ทรงทำให้ดู เช่น ทรงให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาและศูนย์สาธิตการเกษตรต่างๆ

23 ทรงค้นคว้าวิจัยในศาสตร์ต่างๆ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเพิ่มพูนความรู้ของพระองค์ให้ก้าวหน้าและทันสมัยอยู่เสมอ พระองค์ทรงค้นคว้าวิจัยงานเพื่อพัฒนาใหม่ๆ เช่นการศึกษาวิจัยในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชกรณียกิจต่างๆ ทรงนำความรู้และวิชาการต่างๆ มาใช้ร่วมกันที่เรียกว่า “บูรณาการ”

24 ทรงสอนให้ยึดหลัก ภูมิสังคม

25 รู้ รัก สามัคคี

26 เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

27 ทรงสอนให้เห็นแก่ผู้อื่น
ทรงเคยรับสั่ง “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำงานทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น”

28


ดาวน์โหลด ppt พอเพียงอย่างไร ? ในอุดมศึกษาไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google