งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.

2 รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET

3 รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการสอบ O-NET
สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียนใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ตามกรอบมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในลักษณะของการวัดและประเมินในชั้นเรียน (Classroom Assessment) ตามปกติ

4 มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
ตัวชี้วัด1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด2 มาตรฐาน1 ตัวชี้วัด3 หลัก สูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐาน2 ตัวชี้วัด4 มาตรฐาน3 กลุ่มสาระการเรียนรู้

5 รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการสอบ O-NET
การประเมินใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าว ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งการประเมินความรู้ (Knowledge Assessment) การประเมินทักษะกระบวนการ (Process-skill Assessment) และการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desirable Characteristics Assessment) ตามพฤติกรรมที่ระบุไว้ในมาตรฐานและตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้นี้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและกระบวนการของนักเรียนเป็นหลัก ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) เป็นอันดับแรก

6 ลักษณะพฤติกรรมของมาตรฐานตัวชี้วัด
ความรู้ (knowledge: K) หรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ตัวชี้วัด1 มาตรฐาน1 ตัวชี้วัด2 ทักษะกระบวนการ (process skill: P) หรือทักษะพิสัย (Psychomotor D.) ตัวชี้วัด3 หลักสู ตร มาตรฐาน2 ตัวชี้วัด4 คุณลักษณะ (Attribute: A) หรือจิตพิสัย (Affective Domain) มาตรฐาน3

7 มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน Knowledge Process & Skill ระบุสีคู่ตรงข้าม และอภิปรายเกี่ยวกับการใช้สีคู่ ตรงข้ามในการถ่ายทอดความคิดและอารมณ์ สร้างงานทัศนศิลป์จากรูปแบบ ๒ มิติ เป็น ๓ มิติ โดยใช้หลักการของแสงเงาและน้ำหนักสร้างงาน ทัศนศิลป์โดยการทดลองใช้สี ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ศิลปะ ป.6

8 บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศัยองค์ประกอบดนตรี และศัพท์สังคีต
มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน Knowledge Process & Skill บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศัยองค์ประกอบดนตรี และศัพท์สังคีต จำแนกประเภทและบทบาทหน้าที่เครื่องดนตรีไทย และเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ อ่าน เขียนโน้ตไทย และโน้ตสากลทำนองง่าย ๆ ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลง ด้น สด ที่มีจังหวะ และทำนองง่าย ๆ ดนตรี ป.6

9 มาตรฐาน พ ๓.๑ เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา
Knowledge Process & Skill แสดงทักษะการเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นในลักษณะแบบ ผลัดและแบบผสมผสานได้ตามลำดับ ทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ ใช้อุปกรณ์ประกอบและการเคลื่อนไหวประกอบ เพลง จำแนกหลักการเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรง และความสมดุลในการเคลื่อนไหวร่างกายในการเล่นเกม เล่นกีฬา และนำผลมาปรับปรุงเพิ่มพูนวิธีปฏิบัติของตน และผู้อื่น ใช้ทักษะกลไก เพื่อปรับปรุงเพิ่มพูนความสามารถของตน และผู้อื่นในการเล่นกีฬา สุขศึกษา ป.6

10 อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุง การทำงานแต่ละขั้นตอน
มาตรฐาน ง ๑. ๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว Knowledge Process & Skill อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุง การทำงานแต่ละขั้นตอน ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน และมี ทักษะการทำงานร่วมกัน ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับ ครอบครัวและผู้อื่น การงาน ป.6 Attribute

11 การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร (เพื่อการประเมินผลการเรียนรู้)
มาตรฐาน ง ๑. ๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ความรู้ (Knowledge) ทักษะกระบวนการ (Process Skill) คุณลักษณะ พึงประสงค์ (Attribute) อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอน / ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน และมีทักษะการทำงานร่วมกัน ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับครอบครัวและผู้อื่น การประเมินความรู้ (Knowledge Assessment) การประเมินทักษะกระบวนการ (Process-skill Assessment) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desirable Characteristics Assessment)

12 รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการสอบ O-NET
การประเมินใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องแบ่งคะแนนในการประเมินความรู้ การประเมินทักษะกระบวนการ และการประเมินคุณลักษณะ ให้สอดคล้องกับลักษณะของธรรมชาติวิชาตลอดภาคเรียนหรือปีการศึกษา

13 รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการสอบ O-NET
การประเมินใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าวต้องการดำเนินงานในลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) โดยเป็นการมอบหมายให้ผู้เรียนทำโครงงาน (Project) ภารกิจงานหรือชิ้นงาน (Task) ทั้งงานกลุ่มและบุคคล และให้ผู้เรียนบูรณาการความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ระบุไว้ในมาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานตามโครงการให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย

14 ออกแบบการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
มาตรฐานและตัวชี้วัด ออกแบบการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน กำหนดโครงงาน ภารกิจงานหรือชิ้นงาน บูรณาการ ความรู้ & ทักษะกระบวนการ & คุณลักษณะอันพึงประสงค์ วัดและประเมินผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัด สอดคล้อง

15 แนวทางการดำเนินงาน การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET

16 ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประชุมชี้แจงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 จัดส่งคู่มือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในการสร้างเครื่องมือประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อใช้พัฒนาครูผู้สอนในสังกัด ตรวจเยี่ยม กำกับและติดตามการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET ของสถานศึกษาในสังกัด ให้มีความเป็นมาตรฐานและน่าเชื่อถือ สรุปและรายงานผลการดำเนินงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและสาธารณชนรับทราบ

17 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (1/2)
ประชุมชี้แจงสถานศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ O-NET ช่วยเหลือสนับสนุนให้สถานศึกษาวิเคราะห์และกำหนดมาตรฐานที่ใช้เป็นกรอบในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถสร้างเครื่องมือประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น อบรมเชิงปฏิบัติการ ชี้แจงให้ความรู้ ทำเอกสารสื่อนิเทศ ฯลฯ

18 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (2/2)
นิเทศ กำกับและติดตามการประเมินผลของสถานศึกษาในสังกัด ให้มีความเป็นมาตรฐานและน่าเชื่อถือ สรุปและรายงานผลการดำเนินงานและการประเมินคุณภาพการศึกษาใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าว

19 ระดับสถานศึกษา (1/4) วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดที่ใช้เป็นกรอบในการประเมินผลทั้งในด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ กำหนดกรอบหรือแผนงานในการประเมินความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ ตลอดปีการศึกษา ซึ่งได้แก่ โครงงานหรือชิ้นงาน มาตรฐานและตัวชี้วัดที่ต้องการวัด ระยะเวลาในการประเมิน วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน เป็นต้น

20 ระดับสถานศึกษา (2/4) กำหนดโครงงาน (Project) ภารกิจงานหรือชิ้นงาน (Task) ที่ใช้เป็นสถานการณ์สำหรับการประเมินที่สอดคล้องกับสภาพการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ให้เหมือนกันทั้งหมดทุกห้องในแต่ละระดับชั้นของสถานศึกษา โดยทุกโครงงานหรือชิ้นงาน จะต้องเอื้อให้เด็กแสดงพฤติกรรมตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่เป็นกรอบในการประเมินคุณภาพผู้เรียนอย่างครบถ้วน สร้างเครื่องมือประเมินภาคความรู้ ซึ่งได้แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ ฯลฯ เครื่องมือประเมินภาคปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ แบบตรวจสอบกระบวนการทำงาน แบบประเมินผลงาน ฯลฯ และเครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบวัดเจตคติหรือทัศนคติ ฯลฯ

21 ระดับสถานศึกษา (3/4) การประเมินความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ ตามกำหนดการที่วางแผนอย่างเคร่งครัด กำกับและติดตามการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ได้ทำการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในแต่ละห้องเรียนให้มีความเป็นมาตรฐานและน่าเชื่อถือ

22 ระดับสถานศึกษา (4/4) สรุปและรายงานผลการดำเนินงานและการประเมินคุณภาพการศึกษาใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้มายังเขตพื้นที่การศึกษา

23 การวิเคราะห์ตัวชี้วัดด้าน Process & Skill
มุ่งเน้นที่ขั้นตอนการทำงาน ผลงาน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มุ่งเน้นที่ความเชี่ยวชาญหรือชำนาญในการปฏิบัติ (Psychomoter Domain)

24 ตัวชี้วัดเน้นด้านกระบวนการ (Process)
ทดลองและอธิบาย น้ำ แสง เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืช ปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงของการออกกำลังกาย การเล่นเกม การละเล่นพื้นเมืองได้ด้วยตนเอง สร้างงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ โดยใช้ทัศนธาตุที่เน้นเส้น รูปร่าง ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการทำงานอย่างเหมาะสมกับงานและประหยัด ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงานด้วยความสะอาด ความรอบคอบ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

25 ตัวชี้วัดเน้นด้านทักษะ (Skill)
อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน เคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ เล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ เล่นกีฬาไทย และกีฬาสากลประเภทบุคคลและประเภททีมได้อย่างละ ๑ ชนิด วาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติตามความรู้สึกของตนเอง

26 หลักการประเมินภาคปฏิบัติ
1. สภาพแวดล้อม การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนอาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการทดลอง สถานที่สถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์จริง ผู้สอนต้องมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างครบครัน เพื่อให้เกิดทักษะ และพฤติกรรมในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร

27 หลักการประเมินภาคปฏิบัติ
2. มอบหมายงานให้ผู้เรียน การมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติและหมุนเวียนให้ผู้เรียนได้มีการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในด้านความสามารถความถนัดและความสนใจ

28 หลักการประเมินภาคปฏิบัติ
3. การควบคุมการปฏิบัติงาน การควบคุมการปฏิบัติงานหรือการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นขั้นตอนภายใต้การแนะนำของผู้สอน ดังนี้ 3.1 การอธิบายและการสาธิตโดยครูผู้สอน 3.2 การฝึกปฏิบัติโดยผู้เรียน 3.3 การแนะนำและการแก้ไขข้อผิดพลาดจากผู้สอน

29 หลักการประเมินภาคปฏิบัติ
4. กระบวนการวัดผลการปฏิบัติงาน 4.1 ผู้สอนกำหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงาน โดยกำหนดงานให้ผู้เรียนปฏิบัติภายใต้สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง 4.2 การวิเคราะห์งาน โดยเน้นความสำคัญของการวัดกระบวนการหรือผลงานหรือทั้งสองอย่าง 4.3 กำหนดวิธีการวัดผลการปฏิบัติงานสามารถกระทำได้หลายวิธีตามสิ่งที่ต้องการวัด 4.4 การกำหนดเครื่องมือในการวัดผลการปฏิบัติงานต้องสอดคล้องกับวิธีการวัด

30 หลักการประเมินภาคปฏิบัติ
5. การตัดสินผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้สอนพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการวัดผลการปฏิบัติงานที่นำมาประเมินเพื่อตัดสินคุณภาพการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่ 5.1 วิธีการเปรียบเทียบกับความสามารถโดยเฉลี่ยของกลุ่ม 5.2 วิธีเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ผู้สอนกำหนด 5.3 วิธีการเปรียบเทียบกับความสามารถของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือผู้รู้ (Known Group)

31 รูปแบบของการประเมินภาคปฏิบัติ
1 ประเมินจากผลงาน = ประเมินผลงานนักเรียนที่ปรากฏ ไม่เน้นความสำคัญของกระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัติ 2 ประเมินจากกระบวนการ = สังเกตกระบวนการและผลงานไปพร้อม ๆ กัน ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุด 3 ประเมินจากกระบวนการและผลงาน = สังเกตขณะกำลังปฏิบัติงานและพิจารณาคุณภาพของชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


ดาวน์โหลด ppt รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google