งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชาภาษาไทย 3 1. คะแนนภาคบรรยาย 30 คะแนน 2. คะแนนภาคทักษะ 70 คะแนน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชาภาษาไทย 3 1. คะแนนภาคบรรยาย 30 คะแนน 2. คะแนนภาคทักษะ 70 คะแนน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชาภาษาไทย 3 1. คะแนนภาคบรรยาย 30 คะแนน 2. คะแนนภาคทักษะ 70 คะแนน
การวัดและประเมินผล 1. คะแนนภาคบรรยาย 30 คะแนน 2. คะแนนภาคทักษะ คะแนน ภาคบรรยาย สอบปลายภาค ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 120 ข้อ ตอนที่ 1. การใช้ภาษา 80 ข้อ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ข้อ อภิปราย ข้อ บทความ ข้อ จดหมายราชการ ข้อ รายงานการประชุม ข้อ ภาษาเขียน ประโยค ข้อ การเขียนเชิงกิจธุระ ข้อ แบบฝึกหัดต่างๆ ข้อ ตอนที่ 2. หนังสือนอกเวลา 40 ข้อ สี่แผ่นดิน ข้อ หลักพระพุทธศาสนา ข้อ พระมหาชนก ข้อ ความจริงของแผ่นดิน ข้อ สารคดีที่น่ารู้ ข้อ ปรัชญาชีวิต ข้อ

2 ภาคทักษะ เสนอรายงานในชั้นเรียน และทำงานที่ได้รับมอบหมาย 70 คะแนน
ภาคทักษะ เสนอรายงานในชั้นเรียน และทำงานที่ได้รับมอบหมาย 70 คะแนน 1. การเสนอรายงานการฟังและการอ่านเพื่อ พ.ค.ช. 10 คะแนน 2. การเขียนบทความ คะแนน 3. การเขียนย่อความ คะแนน 4. การเขียนหนังสือราชการ คะแนน 5 การเขียนเชิงกิจธุระ คะแนน 6. การเขียนรายงานการประชุม คะแนน 7. การอภิปรายหนังสือนอกเวล คะแนน ( )

3 หนังสือราชการ ความหมาย
2. เอกสารที่ทางราชการทำขึ้นเพื่อ เป็นหลักฐานในราชการ เช่น หนังสือรับรอง บันทึก รายงานการประชุม 1.เอกสารที่มีไปมาระหว่าง - ส่วนราชการ หรือในส่วน ราชการเดียวกัน - ส่วนราชการ & หน่วยงานอื่น หรือบุคคลภายนอก - หน่วยงานอื่นหรือบุคคลภายนอก & ส่วนราชการ 3. เอกสารที่ทางราชการทำขึ้นตาม กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ เช่น โฉนด สัญญา คำร้อง หลักฐานการสืบสวนสอบสวน

4 หนังสือราชการ 6 ชนิด 1.หนังสือภายนอก - ใช้เป็นทางการ พิธีการ หรือเรื่องสำคัญๆ โดยทั่วไปใช้ระหว่างกระทรวง ทบวง กรม ใช้กระดาษตราครุฑ 2.หนังสือภายใน ใช้ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือ จังหวัด ใช้กระดาษบันทึกข้อความ 3.หนังสือประทับตรา - ใช้กับเรื่องไม่สำคัญ เช่น รายละเอียดเพิ่มเติม - ส่งสำเนาหนังสือ ตอบรับทราบ เตือน คำสั่ง - ใช้กับส่วนราชการระดับกรม - ลงชื่อย่อหัวหน้า

5 4.หนังสือสั่งการ ได้แก่คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ชอบ
ด้วยกฎหมาย ใช้กระดาษตราครุฑ 5.หนังสือประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ ใช้กระดาษตราครุฑ ข่าว ใช้กระดาษที่ส่วนราชการกำหนด 6.หนังสือที่ทำขึ้นไว้เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือรับรอง ใช้กระดาษตราครุฑ รายงานการประชุม ใช้กระดาษที่ส่วนราชการกำหนด บันทึก ใช้กระดาษบันทึกข้อความ หนังสืออื่น เช่น ภาพถ่าย แถบบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ ฯลฯ

6 (ชั้นความลับ-ถ้ามี) (ชั้นความเร็ว-ถ้ามี)
ที่ ศธ /เลขลำดับหนังสือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครุฑ ถนนพญาไท กทม.10330 2 กรกฎาคม 2550 เรื่อง ขอส่งรายงานการประชุม (หัวเรื่อง) เรียน สิ่งที่ส่งมาด้วย รายงานการประชุม จำนวน 1 ชุด ตามที่ นั้น (เนื้อเรื่อง) คณะครุศาสตร์ ขอส่งรายงานการประชุม จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย (จุดประสงค์) จักเป็นพระคุณยิ่ง ขอแสดงความนับถือ (ลายมือชื่อ) (รองศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์) (ท้ายเรื่อง) คณบดี สำนักเลขานุการคณะ โทรศัพท์

7 ครุฑ (ชั้นความเร็ว-ถ้ามี) บันทึกข้อความ
(ชั้นความลับ-ถ้ามี) ครุฑ (ชั้นความเร็ว-ถ้ามี) บันทึกข้อความ ส่วนราชการ เจ้าของหนังสือ เจ้าของเรื่อง โทร ที่ รหัสหน่วยงาน/ลำดับหนังสือ วันที่ กรกฎาคม 2550 เรื่อง เรียน ด้วย จึงเรียนมาเพื่อ * (ไม่มีคำลงท้าย) (ลายมือชื่อ) ( ชื่อตัวบรรจง ) ตำแหน่ง * (ส่วนราชการเจ้าของเรื่องย้ายไปเขียนข้างบน)

8 บันทึก คือข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่ากรมติดต่อกันในการ ปฏิบัติราชการ บันทึก ต่างจาก หนังสือภายใน (บันทึกข้อความ) ดังนี้ 1. ไม่ต้องใช้กระดาษบันทึกข้อความก็ได้ 2. ไม่ระบุส่วนราชการเจ้าของหนังสือ, รหัสเลขประจำขอ เจ้าของเรื่อง, เลขทะเบียน 3. เขียน วัน เดือน ปี ใต้ลายมือชื่อ (ยกเว้นถ้าใช้กระดาษบันทึกข้อความ) 4. ไม่ต้องเขียน เรื่อง 5. คำขึ้นต้นเหมือนหนังสือภายใน 6. การลงชื่อ ตำแหน่ง ไม่ต้องพิมพ์ชื่อเต็มใต้ลายมือชื่อ 7. ออกในนามบุคคลถึงบุคคล

9 ตัวอย่างหนังสือประทับตรา
ครุฑ ที่ / ถึง (ข้อความ) สำนักงาน ก.พ. ขอส่งหนังสือ “คู่มือข้าราชการ” มาอภินันทนาการแก่ท่าน 1 เล่ม เพื่อประโยชน์ในการปฐมนิเทศ ข้าราชการใหม่ต่อไป ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก ชื่อย่อกำกับตรา วัน เดือน ปี ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง โทร. หรือ ที่ตั้ง

10 หนังสือประทับตรา อาจเขียนจุดประสงค์ของเรื่องเลย โดยไม่อ้างเหตุ
ที่มีหนังสือไป เช่น สำนักงาน ก.พ. ขอส่งหนังสือ “คู่มือข้าราชการ” มาอภินันทนาการแก่ท่าน 1 เล่ม เพื่อประโยชน์ในการปฐมนิเทศ ข้าราชการใหม่ต่อไป หรืออ้างเหตุในย่อหน้าเดียวกัน เช่น ด้วยสำนักงาน ก.พ. ได้จัดพิมพ์หนังสือ “คู่มือข้าราชการ” เพื่อใช้ในการปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ จึงขอส่งหนังสือดังกล่าว มาอภินันทนาการ 1 เล่ม

11 การเขียนส่วนต่างๆในหนังสือราชการ
เรื่อง - สรุปใจความสำคัญ ย่อให้สั้นที่สุด ไม่ควรเกิน 2 บรรทัด - ต้องเป็นประโยค / วลี ที่ได้ใจความและควรมีคำกริยาอยู่ด้วย - สามารถแยกเรื่องเพื่อเก็บอ้างอิงได้ - ในกรณีที่เป็นเรื่องต่อเนื่องควรใช้ชื่อเดิม (ยกเว้นชื่อเดิม ไม่เหมาะสม) - ไม่ขึ้นต้นด้วยคำปฏิเสธ ตัวอย่าง ขออนุมัติลาไปต่างประเทศ ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถาม... ขอเชิญประชุมคณะกรรมการตัดสินประกวดเรียงความ เนื่องในวันคนพิการ

12 ในกรณีที่เป็นเรื่องต่อเนื่องควรใช้ชื่อเดิมหรือปรับชื่อเดิมให้เหมาะสม
เช่น การขออนุมัติลาไปต่างประเทศ การตอบแบบสอบถาม... การประชุมคณะกรรมการตัดสินประกวดเรียงความเนื่องในวัน คนพิการ อื่นๆ เช่น การซื้อตู้เอกสาร ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง เช่น ขอเชิญประชุม ขอความร่วมมือ ตู้เอกสาร ไม่สามารถเข้าประชุมได้ ไม่อนุมัติให้ไปต่างประเทศ

13 2. คำขึ้นต้น – คำลงท้าย สำหรับบุคคลทั่วไป มี 2 แบบ คือ 2.1 เรียน – ขอแสดงความนับถือ ใช้กับบุคคลทั่วไปจนถึง ระดับรัฐมนตรี 2.2 กราบเรียน – ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ใช้กับบุคคลต่อไปนี้ ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ สำหรับพระสงฆ์ทั่วไป ใช้ นมัสการ - ขอนมัสการด้วยความเคารพ สำหรับเจ้านาย พระมหากษัตริย์ และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์สูง ให้ศึกษาค้นคว้าจากเรื่องราชาศัพท์

14 รายละเอียด และการบอกเรื่องสืบเนื่อง (ถ้ามี) โดยใช้
3. เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย การอ้างเหตุที่มีหนังสือไป การบอก รายละเอียด และการบอกเรื่องสืบเนื่อง (ถ้ามี) โดยใช้ คำขึ้นต้นเนื้อเรื่องต่างกัน ดังนี้ 3.1 เรื่องใหม่ที่ไม่เคยติดต่อกันมาก่อน หรือเคยติดต่อแต่จบเรื่อง ไปแล้ว และเริ่มติดต่อใหม่ ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า ด้วย เนื่องด้วย หรือ เนื่องจาก เช่น ด้วยคณะครุศาสตร์จะจัดการประชุมนานาชาติ... เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 17 เมษายนเป็น วันหยุดราชการ... 3.1 เรื่องที่เคยติดต่อกันมาก่อน (หนังสือตอบ) ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า ตาม ตามที่ อนุสนธิ ดังนี้ ตาม (คำนาม) นั้น (หลังคำว่า นั้น ต้องขึ้นย่อหน้าใหม่) ตามที่(ประโยค) นั้น ( “ “ “ ) อนุสนธิ(คำนาม) นั้น ( “ “ “ )

15 เช่น ตามมติที่ประชุม........ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น
ตามที่คณะกรรมการได้มีมติให้ นั้น อนุสนธิมติที่ประชุม นั้น 4. จุดประสงค์ของเรื่อง ปกติเป็นย่อหน้าสุดท้ายของหนังสือราชการ ขึ้นต้นด้วยคำว่า จึง ตามด้วยคำว่า เรียน กราบเรียน นมัสการ ฯลฯ ให้เหมือนกับ คำขึ้นต้นหนังสือ แล้วต่อด้วย จุดประสงค์ ข้อความประกอบ คำขอบคุณ และอาจมีเรื่องอื่นต่อท้ายได้ เช่น จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ส่วนกำหนดการประชุมจะแจ้งให้ทราบต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการต่อไปด้วย จะขอบพระคุณยิ่ง จึงเรียนมาเพื่อทราบ อนึ่ง บริษัทได้เปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์เป็น.....ขอได้โปรดติดต่อตามหมายเลขใหม่นี้ “โปรด” ใช้กับ คำขอ ผู้รับเป็นผู้ใหญ่กว่า หรือใช้เป็นคำสุภาพ

16 ตัวอย่างจุดประสงค์ต่างๆ
แจ้ง จึงเรียนมาเพื่อทราบ , จึงขอแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ชี้แจง จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบ ขอ จึงเรียนมาเพื่อขอความร่วมมือ.., จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ ยืนยัน จึงเรียนยืนยันมาเพื่อทราบ คำสั่ง จึงเรียนมาเพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป คำถาม จึงเรียนมาเพื่อขอทราบ... หารือ จึงเรียนหารือมา... 5. การลงชื่อในส่วนท้ายเรื่อง 5.1 ใช้ นาย นาง นางสาว และพิมพ์ชื่อเต็มในวงเล็บ พิมพ์ตำแหน่งใต้ วงเล็บ เช่น ขอแสดงความนับถือ (ลงชื่อ) วิจิตร ศรีสอ้าน (นายวิจิตร ศรีสอ้าน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

17 5.2 สตรีที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และฐานันดรศักดิ์ ให้ใช้คำ นำหน้านามตามกฎหมายพิมพ์ในวงเล็บ เช่น
(ลงชื่อ) พูนทรัพย์ นพวงศ์ ( ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ) นายกสมาคมซอนต้า 5.3 ยศ ประกอบชื่อให้พิมพ์ไว้หน้าลายมือชื่อ เช่น (ลงชื่อ) พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (สุรยุทธ์ จุลานนท์) นายกรัฐมนตรี (ลงชื่อ) พลตรี คึกฤทธิ์ ปราโมช (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช)

18 การใช้ภาษาในหนังสือราชการ
1. ใช้ภาษาเขียน (มาตรฐาน , กึ่งมาตรฐาน ) เช่น จึงเรียนมาเพื่อบอกให้รู้ แก้เป็น จึงเรียนมาเพื่อทราบ เรื่องนี้ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ยังตกลงกันไม่ได้ แก้เป็น การพิจารณาเรื่องนี้ยังไม่มีข้อยุติ 2. ใช้คำเชื่อมให้ถูกต้องและสอดคล้องกัน เช่น โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจน เสริมสร้างความสามัคคีระหว่างพนักงาน จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้เลขานุการและหรือผู้ช่วยเลขานุการ เข้ารับการอบรมครั้งนี้ด้วย 3. ใช้คำที่มีน้ำหนักเหมาะสม เช่น จะ - ใช้ทั่วไป จัก - ค่อนข้างบังคับ หนักแน่น ควร - คำแนะนำ สุภาพ พึง - คำแนะนำ สุภาพ มักใช้กับระเบียบ ข้อบังคับ ย่อม - บังคับอย่างนุ่มนวล ต้อง, ให้ – บังคับเด็ดขาด ไม่ควรใช้

19 4. ใช้คำขอร้องแทนคำบังคับหรือสั่ง เช่น
ขอให้ตอบแบบสอบถามโดยด่วน ควรแก้เป็น ใคร่ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามโดยเร็วด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง ขอให้ดำเนินการให้ด้วย ควรแก้เป็น จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง 5. ใช้คำที่ให้ความรู้สึกในด้านดี เช่น คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เห็นว่าผลงานของท่านยังใช้ไม่ได้ อยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีบางส่วนควรปรับปรุง 6.ใช้คำหรือข้อความที่ราบรื่น เช่น จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และกรุณาแจ้งให้ส่วนราชการในสังกัดทราบ ต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง


ดาวน์โหลด ppt วิชาภาษาไทย 3 1. คะแนนภาคบรรยาย 30 คะแนน 2. คะแนนภาคทักษะ 70 คะแนน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google