งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวัดและประเมินผลการเรียนรู้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
Learning Measurement and Evaluation ดร. อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

2 วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา บทที่ 7 การประเมินจิตพิสัย
ดร.อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา บทที่ 7 การประเมินจิตพิสัย

3 พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย
ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ นิสิตคิดว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านใด ที่วัดได้ยากและมีจุดอ่อนในเรื่องความเป็นปรนัยมากที่สุด

4 จิตพิสัย (Affective Domain)
 ปี ค.ศ Benjamin S. Bloom และคณะ ได้ทำการ แบ่งวัตถุประสงค์ทางการศึกษาออกเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า อนุกรมวิธานของวัตถุประสงค์การศึกษา (Taxonomy of educational objectives) ประกอบด้วย พุทธิพิสัย (Cognitive domain) จิตพิสัย (Affective domain) ทักษะพิสัย (Psychomotor domain)

5 ความหมาย จิตพิสัย เป็นลักษณะพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจ ได้แก่ ความสนใจ ความตั้งใจ เจตคติ ค่านิยม จริยธรรม บุคลิกภาพ ความรับผิดชอบ การตระหนักรู้ การเห็น ความสำคัญ เป็นต้น เนื่องจากจิตพิสัยเป็นคุณลักษณะแฝงภายในบุคคล จึงทำให้สังเกต ได้ยาก เพราะแม้ว่าบุคคลจะมีความคิดความรู้สึกแบบเดียวกัน ก็อาจ แสดงพฤติกรรมออกมาแตกต่างกันได้ หรือแม้ว่าบุคคลจะแสดง พฤติกรรมออกมาเหมือนกัน ก็อาจจะมาจากความคิดความรู้สึกและ เหตุผลภายในจิตใจที่ต่างกัน รวมถึงการที่บุคคลทำการประเมินจิตพิสัย ด้วยความเสแสร้ง ลำเอียง และเข้าข้างตัวเอง เป็นต้น

6 Affective Domain Krathwohl, D. R., Bloom, B. S., & Masia, B. B. (1956)
ที่มา:

7 ระดับการพัฒนาการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
1. การรับรู้ (Receiving) ตัวอย่างเช่น การตั้งใจฟังครูสอน การตั้งใจฟังคำ บรรยายหรืออภิปราย การดูอย่างตั้งใจ การควบคุมตัวเองให้จดจ่อกับการเรียน การไม่พูดคุยหยอกล้อหรือใช้โทรศัพท์ ระหว่างเรียน เป็นต้น การตระหนักรู้ (Awareness) ความเต็มใจที่จะรับรู้ (Willingness to receive) การควบคุมหรือเลือกที่จะใส่ใจ (Controlled or selected attention)

8 ระดับการพัฒนาการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
2. การตอบสนอง (Responding) ตัวอย่างเช่น การตอบคำถาม การอภิปรายในชั้น เรียน การลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยความสนุกสนาน ผู้เรียนมีความสุข และมีความพึงพอใจที่ได้เรียนรู้และได้ ทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอก ห้องเรียน ความยินยอมในการตอบสนอง (Acquiescence in responding) ความเต็มใจที่จะตอบสนอง (Willingness to respond) ความพึงพอใจในการตอบสนอง (Satisfaction in response)

9 ระดับการพัฒนาการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
3. การเห็นคุณค่า (Valuing) ตัวอย่างเช่น นักเรียนเกิดการยอมรับและเห็นคุณค่า ในแนวคิด ทฤษฎี องค์ความรู้ที่ได้เรียน เห็นว่าการเรียนหนังสือเป็นสิ่งที่มี ประโยชน์ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่น มี ความชื่นชอบในการเรียนการศึกษาหา ความรู้ มีความยึดถือหรือเชื่อมั่นว่าการ เรียนหนังสือหรือการศึกษาหาความรู้ นั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม นั่นคือ มีฉันทะหรือมี เจตคติที่ดีต่อเรื่องนั้นๆ การยอมรับในคุณค่า (Acceptance of a value) การชื่นชอบคุณค่านั้น (Preference for a value) การผูกพันยึดถือหรือเชื่อมั่น (Commitment, conviction)

10 ระดับการพัฒนาการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
4. การจัดระบบค่านิยม (Organization) ตัวอย่างเช่น การรวบรวมค่านิยมที่ดีงามต่างๆ หลาย ประการ ทั้งค่านิยมของสังคม ศาสนา หลักจรรยาวิชาชีพที่ยึดถือ ที่มี ความสัมพันธ์กันให้อยู่ในหมวดหมู่ เดียวกัน มีการเปรียบเทียบ เชื่อมโยง จัดลำดับความสำคัญ และกำหนด แนวทางในการแสดงออกของพฤติกรรม เช่น ค่านิยมในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความกตัญญู ความ รับผิดชอบ เป็นต้น ความคิดรวบยอดทางค่านิยม (Conceptualization of a value) การจัดระบบค่านิยม (Organization of a value system)

11 ระดับการพัฒนาการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
5. การสร้างลักษณะนิสัยตามค่านิยม (Characterization by a value or value complex) ตัวอย่างเช่น การนำระบบค่านิยมเข้ามาปรับใช้ใน ชีวิตประจำวัน หรือการดำรงชีวิตตาม ค่านิยมที่ยึดถือ แสดงพฤติกรรมใน สถานการณ์ต่างๆ จนสร้างเป็นลักษณะ นิสัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพและ ปรัชญาในการดำเนินชีวิต เช่น ค่านิยม เรื่องความซื่อสัตย์ ถ้านักเรียนยึดถือเรื่อง ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญ นักเรียนก็จะมี พฤติกรรมที่ไม่คดโกง ขโมยของผู้อื่น เป็น คนที่รักษาคำพูด ไม่โกหก เป็นต้น การสร้างชุดข้อสรุปที่มีลักษณะทั่วไป (Generalized set) การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization)

12 องค์ประกอบหลักของจิตพิสัย
Anderson (1981) เป้าหมาย (Target) เป็นสิ่งที่บุคคลต้องการแสดงความรู้สึกลงไปให้ชัดเจนและแน่นอนว่า ความรู้สึกนั้นเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด ซึ่งอาจเป็นวัตถุสิ่งของ บุคคล สถาบัน พฤติกรรม หรือแนวคิด ที่เป็นเป้าหมายของความรู้สึก ทิศทาง (Direction) คือ แนวทางการแสดงความคิดความรู้สึกไปในทิศทางบวกหรือลบ ชอบหรือไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ ความเข้ม (Intensity) คือ ระดับความรู้สึกมากน้อยของบุคคลที่มีต่อเป้าหมายนั้นๆ เช่น เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย เห็นด้วยน้อยที่สุด

13 วัดคุณลักษณะแฝงด้านจิตใจ ซึ่งมอง ไม่เห็นหรือเป็นนามธรรม
ธรรมชาติของการวัดจิตพิสัย หลักการวัดพฤติกรรมจิตพิสัย วัดคุณลักษณะแฝงด้านจิตใจ ซึ่งมอง ไม่เห็นหรือเป็นนามธรรม เป็นการวัดทางอ้อม อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการวัด ขึ้นได้ง่าย ผู้ถูกวัดอาจมีการเสแสร้งและบิดเบือน คำตอบได้ การตอบของผู้ถูกวัด อาจมีลักษณะ เป็นไปตามที่สังคมมุ่งหวัง วัดให้ครอบคลุมพฤติกรรมหรือ คุณลักษณะที่ต้องการวัด วัดหลายๆ ครั้ง และใช้เทคนิคการวัด หลายวิธี ทำการวัดผลอย่างต่อเนื่อง ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่ถูกวัด เป็นอย่างดี ใช้ผลการวัดให้ถูกต้อง

14 ตัวอย่างคุณลักษณะด้านจิตวิทยาที่นิยมสร้างเครื่องมือวัดจิตพิสัย
ความหมาย ความสนใจ (Interest) ความรู้สึกชื่นชอบกิจกรรมหนึ่งมากกว่ากิจกรรมอื่น เช่น ความสนใจในการวาดภาพ การอ่านหนังสือ การร้องเพลง การเล่นดนตรี เป็นต้น เจตคติ (Attitude) ระดับความรู้สึกมากน้อยในด้านบวกหรือลบที่มีต่อบุคคลหรือสิ่งของ เช่น เจตคติต่อวิชาชีพครู เจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น ค่านิยม (Value) สิ่งที่บุคคลหรือสมาชิกในสังคมยึดถือและยอมรับว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายและมีความสำคัญสำหรับตน จึงนำมาเป็นเป้าหมาย มาตรฐาน และอุดมคติในชีวิตตนเอง จริยธรรม (Ethics) คุณความดีที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ซึ่งพิจารณาจากพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ การลงมือทำ โดยอาศัยคุณธรรมหรือความดีทั้งหลาย บุคลิกภาพ (Personality) ลักษณะที่โดดเด่นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งได้แสดงออกแบบนั้นอยู่เป็นประจำกับสถานการณ์เฉพาะอย่าง จนเกิดเป็นนิสัยถาวร

15 ฉันชอบบริจาคอาหารแห้ง
จงจับคู่ให้ถูกต้อง ฉันชอบทำอาหาร ฉันชอบกิน อาหารญี่ปุ่น ฉันชอบบริจาคอาหารแห้ง ช่วยเหลือคนยากจน ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม

16 วิธีการและประเภทของเครื่องมือวัดจิตพิสัย
วิธีการและประเภทของเครื่องมือที่นิยมใช้ในการวัดจิตพิสัย ได้แก่ 1. การสังเกต 2. การสอบถาม/การสัมภาษณ์ 3. การทดสอบด้วยแบบวัดทางจิตวิทยา

17 1. การสังเกต (Observation)
การสังเกตเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียนใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ผู้สอนหรือผู้สังเกตทำหน้าที่ในการวัด โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยเฉพาะทางตาและหูเป็นสำคัญ ในการเรียนการสอน การสังเกตจะปล่อยให้สภาพการณ์ต่างๆ ดำเนิน ไปตามธรรมชาติ ทำให้ครูทราบข้อมูลที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับคุณลักษณะของ ผู้เรียน ซึ่งเห็นได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกมา คุณลักษณะต่างๆ ที่นิยมวัดโดยการสังเกต ได้แก่ ความสนใจ นิสัยใน การเรียน ความซาบซึ้ง การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน การปรับตัว เป็นต้น

18 1. การสังเกต (Observation)
เมื่อจำแนกตามลักษณะสถานการณ์ในการสังเกต สามารถแบ่งประเภท ของการสังเกต ได้เป็น 1. การสังเกตที่เป็นทางการ ตัวอย่างเช่น การสังเกตการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของนักเรียนขณะทำ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การสังเกตความมีวินัยของนักเรียนในการเข้าแถว เคารพธงชาติ การเข้าแถวซื้ออาหาร เป็นต้น 2. การสังเกตที่ไม่เป็นทางการ ตัวอย่างเช่น การสังเกตปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนกับเพื่อนระหว่างพักกลางวัน หรือการเล่นร่วมกันภายในกลุ่มหลังเลิกเรียน เป็นต้น

19 1. การสังเกต (Observation)
เมื่อจำแนกตามจำนวนผู้รับการสังเกต สามารถแบ่งประเภทของการ สังเกตเป็นได้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ตามสภาพภาระงานที่ผู้สอนได้ มอบหมายให้ผู้เรียนลงมือทำ ดังนี้ 1. การสังเกตเป็นรายบุคคล ตัวอย่างเช่น การสังเกตพฤติกรรมจิตพิสัยควบคู่ไปกับการวัดภาคปฏิบัติ เช่น การให้นักเรียนทดสอบการรำไทยเป็นรายบุคคล ผู้สอนอาจทำการสังเกตเรื่อง ความกล้าแสดงออก ความพร้อมของการแต่งกาย เป็นการประเมินจิตพิสัยด้วย 2. การสังเกตเป็นกลุ่ม ตัวอย่างเช่น การสังเกตการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งผู้สอนอาจทำการสังเกตและให้ คะแนนในภาพรวมของกลุ่ม เรื่องการปฏิบัติงานตรงตามเวลา ความรับผิดชอบ ความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน เป็นต้น

20 ข้อดีของการสังเกต ได้ข้อมูลจากแหล่งโดยตรง
1 ได้ข้อมูลจากแหล่งโดยตรง 2 สามารถเก็บข้อมูลกับผู้ที่พูดและเขียนไม่ได้ ผู้ที่ไม่มีเวลา 3 สามารถเก็บข้อมูลที่ผู้ถูกสังเกตไม่สะดวกใจที่จะตอบออกมาได้ 4 สะดวกในทางปฏิบัติ จะเริ่มหรือหยุดสังเกตเวลาใดก็ได้ 5 กรณีผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นธรรมชาติ ใกล้เคียงความจริง 6 สามารถใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนหรือโต้แย้งกับข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการอื่น เมื่อทำการศึกษาในประเด็นเดียวกัน

21 ข้อจำกัดของการสังเกต
1 บางครั้งต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง เพื่อรอให้เหตุการณ์ที่สนใจเกิดขึ้น 2 กรณีผู้ถูกสังเกตรู้ตัว ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่เป็นธรรมชาติ ผิดจากความจริง 3 ไม่สามารถสังเกตเหตุการณ์หรือสิ่งที่สนใจได้ตลอดเวลา จึงอาจทำให้พลาดการสังเกตได้ หรือบางเหตุการณ์ก็ไม่เกิดขึ้นเลย 4 ไม่สามารถเก็บข้อมูลที่ผู้ถูกสังเกตหรือเจ้าของเหตุการณ์ไม่อนุญาตได้ 5 เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นรวดเร็ว สังเกตไม่ทัน หรือลืมบันทึกการสังเกต 6 การสังเกตเป็นรายบุคคลต้องใช้เวลานาน 7 การขาดทักษะในการสังเกต อคติของผู้สังเกต มีผลต่อข้อมูลที่บันทึกได้ 8 การขาดความเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น อาจส่งผลต่อการแปลความหมายจากการสังเกตได้

22 นิสิตเห็นด้วยหรือไม่ว่า ในการสังเกตทุกครั้ง ผู้สอนควรทำการสังเกตโดยไม่ให้ผู้เรียนรู้ตัว เพราะเหตุใด แล้วจำเป็นหรือไม่ ที่บางครั้งต้องทำการสังเกต แบบให้ผู้เรียนรู้ตัว เพราะเหตุใด

23 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต
แบบสังเกตที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน วัน –เดือน –ปี ที่ทำการสังเกต สมาชิกกลุ่มผู้ถูกประเมิน 1. ชื่อ-สกุล ชั้น เลขที่...... 2. ชื่อ-สกุล ชั้น เลขที่...... คำชี้แจง จงทำเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่ตรงกับพฤติกรรมของผู้เรียน ลงชื่อ ผู้ประเมิน รายการพฤติกรรม ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ ข้อมูลเพิ่มเติม 1. ร่วมกันวางแผนการทำงานกลุ่ม 2. รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 3. ร่วมกันปฏิบัติงานจนสำเร็จ 4. ร่วมกันประเมินผลงาน 5. ร่วมกันปรับปรุงแก้ไขผลงาน

24 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต
แบบสังเกตที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน วัน –เดือน –ปี ที่ทำการสังเกต ชื่อ-สกุล ผู้ถูกประเมิน ชั้น เลขที่...... คำชี้แจง จงทำเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่ตรงกับพฤติกรรมของผู้เรียน ลงชื่อ ผู้ประเมิน รายการพฤติกรรม ระดับความถี่ของพฤติกรรม เสมอ (4) บ่อยครั้ง (3) บางครั้ง (2) นานๆ ครั้ง (1) ไม่เคยเลย (0) 1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา 2. ตั้งใจฟังการบรรยายของครู 3. ร่วมอภิปรายซักถาม 4. ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้น 5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน

25 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต
แบบสังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน วัน –เดือน –ปี ที่ทำการสังเกต ชื่อ-สกุล ผู้ถูกประเมิน ชั้น เลขที่...... คำชี้แจง จงทำเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่ตรงกับพฤติกรรมของผู้เรียน ลงชื่อ ผู้ประเมิน รายการประเมิน ระดับคุณภาพของพฤติกรรม ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1) ความรับผิดชอบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ ด้วยตนเอง ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ โดยมีครูแนะนำเป็นบางครั้ง ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ โดยครูต้องเข้าไปแนะนำตลอด ความกล้าแสดงออก เสนอตัวเองเป็นตัวแทนในการทำกิจกรรมอย่างไม่เคอะเขิน เสนอตัวเองเป็นตัวแทนในการทำกิจกรรม เมื่อถูกครู/เพื่อนกระตุ้น ไม่เสนอตัวเองเป็นตัวแทนในการทำกิจกรรม แม้ถูกครู/เพื่อนกรุต้น ความสนใจในการทำกิจกรรม ซักถาม โต้ตอบ แสดงความคิดเห็นระหว่างทำกิจกรรมบ่อยครั้ง ซักถาม โต้ตอบ แสดงความคิดเห็นระหว่างทำกิจกรรมบางครั้ง ไม่มีการซักถาม โต้ตอบ แสดงความคิดเห็นระหว่างทำกิจกรรม

26 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต
แบบสังเกตที่มีลักษณะเป็นแบบตารางจดบันทึก แบบสังเกตพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนิสิต วัน –เดือน –ปี ที่ทำการสังเกต ลงชื่อ ผู้บันทึก ช่วงเวลา พฤติกรรม ความถี่ จำนวน (คน) น. 1. อ่านหนังสือ IIII IIII IIII I 16 2. สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ IIII IIII IIII 14 3. เขียนรายงาน IIII II 7 4. ค้นหาหนังสือ IIII IIII IIII III 18 5. นอนหลับ II 2

27 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต
การบันทึกระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotal Record) การบันทึกพฤติการณ์ของผู้เรียน ชื่อ-สกุลผู้ถูกสังเกต………………………….………… ชั้น…………เลขที่……….. วัน เดือน ปี ที่สังเกต .…………ช่วงเวลาที่สังเกต……………..สถานที่ที่สังเกต………………...... เหตุการณ์และพฤติกรรม……….……………………………………………………...... ……………………………………………………………………….…………. ………………………………………………………………………………….. ข้อเสนอแนะของผู้สังเกตในการช่วยเหลือหรือแก้ไข ……………………………………… …………………………………………………………………………….……. …………………………………………………………………………………... ลงชื่อ…………………………... ผู้สังเกต

28 2. การสัมภาษณ์ (Interview)
การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้รับการสัมภาษณ์ (ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน) เป็นการสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์จะเป็นข้อเท็จจริงที่เจาะลึกเฉพาะด้านเกี่ยวกับพฤติกรรม คุณลักษณะ ความรู้สึก ความสนใจ ความคิดเห็นและเจตคติ เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสัมภาษณ์คือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ มีลักษณะทั้งที่กำหนดคำถาม-คำตอบไว้ล่วงหน้า และที่ไม่กำหนดคำถามตายตัว แต่จะกำหนดเป็นคำถามกว้างๆ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตอบได้เต็มที่และอาจนำคำตอบนั้นมาตั้งเป็นคำถามใหม่ได้

29 ประเภทของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์จำแนกตามลักษณะการวางแผนการสัมภาษณ์ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และ 3) การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 1) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีการเตรียมคำถามและแนวทางคำตอบไว้เรียบร้อยแล้ว มีการจัดลำดับข้อคำถามที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ทำการสัมภาษณ์เพื่อตรวจสอบความผิดปกติทางจิต หรือใช้ประกอบการทดสอบทางจิต ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์ มีคู่มือการสัมภาษณ์ที่ประกอบด้วยชุดคำถาม แนวคำตอบ และเกณฑ์การให้คะแนน

30 ประเภทของการสัมภาษณ์ (ต่อ)
2) การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีการเตรียมคำถามไว้ แต่ไม่ถึงขนาดที่ต้องมีการเตรียมคำตอบ เก็บข้อมูลเพื่อทราบแนวคำตอบที่หลากหลาย เพื่อนำไปใช้ในการค้นหาความคิด ความเชื่อของกลุ่มคำถาม สามารถนำประเด็นคำตอบที่พบบ่อยๆ ไปใช้เป็นแนวทางเพื่อสร้างแบบวัดทางจิตวิทยาได้ต่อไป 3) การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ไม่มีการเตรียมคำถามไว้ ไม่ใช้แบบสัมภาษณ์ กำหนดเพียงประเด็นหรือแนวทางการสัมภาษณ์อย่างคร่าวๆ กว้างๆ สามารถดัดแปลงคำถามให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถตอบคำถามได้อย่างอิสระ ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีความชำนาญในการสัมภาษณ์มาก

31 นิสิตคิดว่าในสถานศึกษา โดยทั่วไปคุณครูจะนิยมใช้การสัมภาษณ์ประเภทใด เพราะเหตุใด และข้อมูลที่คุณครูนิยมเก็บรวบรวมคือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด

32 ประเภทของการสัมภาษณ์ (ต่อ)
การสัมภาษณ์จำแนกตามจำนวนผู้รับการสัมภาษณ์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) การสัมภาษณ์รายบุคคล และ 2) การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม 1) การสัมภาษณ์รายบุคคล เหมาะกับการเก็บข้อมูลด้านความคิด ความรู้สึก ทัศนคติของบุคคลในเรื่องต่างๆ นิยมใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา เข้าทำงาน เป็นต้น ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคลได้ดี และปราศจากอิทธิพลจากการตอบคำถามของบุคคลอื่น 2) การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม ผู้ถูกสัมภาษณ์มีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (แต่อาจไม่เกิน 10 คน) ส่วนใหญ่ทำการสัมภาษณ์เพื่อระดมแลกเปลี่ยนความคิด แสวงหาแนวทาง วางแผน แก้ไขปัญหา สรุปความคิดจากการทำงาน มากกว่าการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมโครงการหรือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

33 ข้อดีของการสัมภาษณ์ 1 ใช้ได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และผู้ที่มีปัญหาอ่านไม่ได้ออกเขียนไม่ได้ 2 ให้ข้อมูลที่ละเอียด สามารถสังเกตพฤติกรรมท่าทางของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ 3 สามารถปรับคำถามให้ชัดเจน ยืดหยุ่นได้ 4 ซักถามข้อสงสัย หรือคำตอบที่ยังไม่ชัดเจนได้ 5 ผู้ถูกสัมภาษณ์มักให้ความร่วมมือดีกว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการใช้แบบสอบถาม

34 ข้อจำกัดของการสัมภาษณ์
1 เสียเวลา กำลังคน และค่าใช้จ่ายสูง 2 ผู้ถูกสัมภาษณ์อาจให้ความร่วมมือน้อยลง หากผู้สัมภาษณ์ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 3 ผู้สัมภาษณ์ต้องอาศัยประสบการณ์ที่มากพอ เพื่อไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ระแวง 4 การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างจะทำให้รวบรวมคำตอบได้ค่อนข้างยาก 5 การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม คำสัมภาษณ์ของสมาชิกแต่ละคนมักส่งอิทธิพลต่อสมาชิกคนอื่นๆ อาจครอบงำหรือทำให้แนวความคิดแปรผันไปกับสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มได้

35 การสอบถาม (Questionnaire)
การสอบถาม เป็นการให้ผู้เรียนเป็นผู้รายงานตนเองตามข้อคำถามที่เตรียมไว้ ทำการสอบถามเรื่องราวต่างๆ ที่เน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความจริง ข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็น ซึ่งคำตอบไม่มีถูกหรือผิด แบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบทำเครื่องหมายในข้อที่ต้องการตอบ เรียกว่าแบบสอบถามปลายปิด แต่ถ้าให้ผู้ตอบเขียนคำตอบขึ้นมาเอง จะเรียกว่า แบบสอบถามปลายเปิด เนื้อหาที่ถามอาจเป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียน หรือเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนของผู้เรียนในด้านการเรียน ลักษณะนิสัยการเรียน ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของครู เป็นต้น

36 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการสอบถาม แบบสำรวจความสนใจในกิจกรรมด้านศิลปะ
วัน –เดือน –ปี ที่ทำการสำรวจ ชื่อ-สกุล ผู้ตอบแบบสำรวจ ชั้น เลขที่...... คำชี้แจง จงทำเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน รายการ สนใจ ไม่สนใจ 1. การเต้นรำ 2. การร้องเพลง 3. การเล่นดนตรี 4. การวาดรูป ระบายสี 5. การตกแต่งบ้าน 6. การทำอาหาร 7. งานปะติมากรรม 8. การปลูกผัก

37 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการสอบถาม
แบบสำรวจความสนใจในกิจกรรมด้านการอ่าน วัน –เดือน –ปี ที่ทำการสำรวจ ชื่อ-สกุล ผู้ตอบแบบสำรวจ ชั้น เลขที่...... คำชี้แจง จงทำเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน รายการ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด 1. อ่านข่าวสารเรื่องราวด้านการเมือง 2. อ่านข่าวสารเรื่องราวด้านเศรษฐกิจ 3. อ่านข่าวสารเรื่องราวด้านการศึกษา 4. อ่านข่าวสารเรื่องราวด้านเหตุการณ์ทางสังคม 5. อ่านข่าวสารเรื่องราวด้านวงการบันเทิง 6. อ่านข่าวสารเรื่องราวด้านการกีฬา 7. อ่านข่าวสารเรื่องราวด้านสุขภาพ

38 3. การทดสอบด้วยแบบวัดทางจิตวิทยา
การทดสอบด้วยแบบวัดทางจิตวิทยา เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียนผ่านการทำแบบวัดทางจิตวิทยา แบบวัดความสนใจ แบบวัดเจตคติ แบบวัดบุคลิกภาพ เป็นต้น แบบวัดทางจิตวิทยามักเกี่ยวข้องกับครูแนะแนวและนักจิตวิทยาของโรงเรียน ซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสิ่งที่วัด การนำแบบวัดไปดำเนินการทดสอบและแปลผลคะแนนจากแบบวัดได้ รูปแบบหรือลักษณะการใช้แบบวัดทางจิตวิทยาในสถานศึกษาที่นิยมใช้ คือ 1) แบบวัดสถานการณ์ 2) แบบวัดแบบมาตรประมาณค่า 3) แบบวัดแบบกำหนดคำตอบหรือบังคับตอบ (Force choices) และ 4) แบบวัดที่มีลักษณะปลายเปิด เป็นต้น โดยครูผู้สอนสามารถพัฒนาแบบวัดความพึงพอใจเพื่อสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดโครงการต่างๆ ของโรงเรียนได้

39 ตัวอย่างของแบบวัดทางจิตวิทยา
แบบวัดความสนใจ แบบวัดเจตคติ

40 แบบวัดความสนใจ เป็นแบบวัดที่มุ่งค้นหากิจกรรมที่ผู้ตอบเลือกทำมากกว่ากิจกรรมอื่นๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นสามารถสะท้อนถึงความสนใจทางการศึกษา รวมถึงความสนใจเกี่ยวกับการเลือกในอาชีพในอนาคตได้ด้วย ตัวอย่างแบบวัดความสนใจ ได้แก่ - แบบวัดเอสไอไอของสตรอง (The Strong Interest Inventory: SII) - แบบสำรวจความสนใจในอาชีพของคูเดอร์ (The Kuder Occupational Interest Survey: KOIS) - มาตรวัดสไตล์ของบุคคล (Personal style scales) - มาตรวัดประเด็นทางอาชีพโดยทั่วไป (General occupational theme scale) เป็นต้น

41 แบบวัดเอสไอไอของสตรอง
ตัวอย่าง แบบวัดเอสไอไอของสตรอง ประกอบด้วยรายการคำถาม 317 รายการ ครอบคลุมอาชีพ รายวิชา กิจกรรม ประเภทของคน และความพึงพอใจในงานด้านต่าง ๆ ใช้เวลาทำ นาที ให้ผู้ตอบเลือกคำตอบแบบใดแบบหนึ่งระหว่าง “ชอบ (Like)” “เฉยๆ (Indifferent)” และ “ไม่ชอบ (Dislike) ” กิจกรรมในรายการคำถาม ได้แก่ ทำบัญชี เที่ยวป่า พิมพ์งาน ทดลองเคมี เขียนบันทึก รักษาระบบนิเวศน์ ทำวิจัย ซ่อมเครื่องใช้ เป็นต้น เมื่อผู้ตอบได้เลือกคำตอบแล้ว คำตอบที่ได้จะถูกนำไปแปลผลว่า บุคคลนั้นมีลักษณะความสนใจเกี่ยวกับอาขีพในด้านใด ได้แก่ - ความสนใจทางวิชาชีพ เช่น หมอ ทนายความ - ความสนใจทางอาชีพที่ต้องใช้ทักษะ เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างไม้ - ความสนใจทางอาชีพที่ไม่ต้องใช้ทักษะ เป็นต้น

42 แบบวัดเอสไอไอของสตรอง
ตัวอย่าง แบบวัดเอสไอไอของสตรอง ตัวอย่างข้อคำถามแบบวัดเอสไอไอของสตรอง คำชี้แจง เลือกตัวเลือก “ชอบ” “เฉยๆ” และ “ไม่ชอบ” ในข้อคำถามต่อไปนี้ ขอบ เฉยๆ ไม่ชอบ 1. ทำบัญชี L I D 7. ซื้อของในร้านค้า 2. เที่ยวป่า 8. ทำงานวิจัย 3. พิมพ์งาน 9. บริจาคสิ่งของ 4. ทดลองเคมี 10. ซ่อมเครื่องใช้ 5. เขียนบันทึก 11. เป็นผู้นำกลุ่ม 6. รักษาระบบนิเวศน์ 12. ศึกษางานดนตรี ศิลปะ ที่มา: ปรับปรุงจาก Murphy & Davidshofer (2001) อ้างถึงในโชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และกมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)

43 แบบสำรวจความสนใจในอาชีพของคูเดอร์
ตัวอย่าง แบบสำรวจความสนใจในอาชีพของคูเดอร์ มีการจัดกลุ่มกิจกรรมที่สัมพันธ์กับอาชีพต่างๆ ไว้ 100 กลุ่มกิจกรรม ผู้ถูกสำรวจจะต้องเลือกตอบว่าชอบกิจกรรมใดมากที่สุดและชอบกิจกรรมใดน้อยที่สุด ระบบของกิจกรรมที่ชอบมากที่สุดจะเป็นตัวชี้ความน่าจะเป็นของความสนใจในอาชีพใดอาชีพหนึ่งของคนๆ นั้น เป็นการใช้รูปแบบข้อคำถามบังคับตอบ (Force-choice) จาก 2 ตัวเลือก ตรวจสอบความสนใจในกลุ่มงาน 10 ประเภท เช่น งานกลางแจ้ง งานจักรกล งานด้านคำนวณ งานวิทยาศาสตร์ งานชักชวนโฆษณา งานศิลปะ งานวรรณกรรม งานดนตรี งานบริการสังคม และงานธุรการ

44 แบบสำรวจความสนใจในอาชีพของคูเดอร์
ตัวอย่าง แบบสำรวจความสนใจในอาชีพของคูเดอร์ ตัวอย่างข้อคำถามแบบสำรวจเคโอไอเอส คำชี้แจง กลุ่มกิจกรรมที่ประกอบด้วย 3 กิจกรรมนี้ ผู้ตอบต้องเลือกตัวเลือกหนึ่งคำตอบที่ชอบทำมากที่สุด และเลือกตัวเลือกอีกหนึ่งคำตอบที่ชอบทำน้อยที่สุด แล้ววงกลมคำตอบ M (Most) กรณีที่ชอบมากที่สุด และวงกลมคำตอบ L (Least) กรณีที่ชอบน้อยที่สุด 1. ชมงานแสดงศิลปะ M L ดูหนังสือในห้องสมุด ชมพิพิธภัณฑ์ 2. เก็บสะสมรูปภาพตนเอง เก็บสะสมเหรียญ เก็บสะสมก้อนหิน ที่มา: ปรับปรุงจาก Murphy & Davidshofer (2001) และ Aiken (2003) อ้างถึงในโชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และกมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)

45 แบบวัดเจตคติ (Attitude scale)
เป็นแบบวัดที่มีข้อคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกของบุคคลในหัวข้อหรือประเด็นต่างๆ ตัวอย่างเช่น เจตคติต่อวิชาชีพครู เจตคติต่อการเรียน เจตคติต่อวิชา เป็นต้น เจตคติของบุคคลเป็นสิ่งสะท้อนแนวโน้มของการมีพฤติกรรมตอบสนองอันเนื่องมาจากการเรียนรู้ ที่ประกอบมาจากการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม การวัดเจตคติ ต้องมีความชัดเจนของเป้าหมาย (Target) ที่ต้องการวัด เช่น วิชาชีพครู วิชาภาษาไทย การเรียน เป็นต้น โดยเป้าหมายนั้นจะมีมิติเพิ่มเติมว่าบุคคลมีแนวโน้มความชอบหรือไม่ชอบไปในทิศทางใด (Direction) เช่น ถ้าชอบวิชาภาษาไทย ก็จะมีลักษณะเจตคติทางบวก ถ้าไม่ชอบวิชาภาษาไทยก็จะมีเจตคติทางลบ ซึ่งทิศทางของความชอบหรือไม่ชอบนี้ก็สามารถบอกระดับความเข้ม (Intensity) ต่อทิศทางความรู้สึกว่ามากน้อยเพียงใดได้ด้วย

46 รูปแบบการวัดเจตคติ รูปแบบการวัดเจตคติที่นิยมใช้ ได้แก่
แบบวัดเจตคติตามวิธีของเทอร์สโตน (Thurstone scale) แบบวัดเจตคติตามวิธีของออสกูด (Osgood scale) แบบวัดเจตคติตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert scale) แบบวัดเจตคติตามวิธีของเทอร์สโตน (Thurstone scale) ปี 1929 Louis Leon Thurstone แห่งมหาวิทยาลัยชิกาโก ได้พัฒนามาตรวัดเจตคติในยุคเริ่มต้นด้วยวิธี the method of equal-appearing intervals โดยใช้ข้อความจำนวนมากที่แสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าในทางบวก กลาง และลบ ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นที่ผู้ตอบอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ โดยผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้นำข้อความจำนวนมากมาจำแนกตามระดับความเข้มของข้อความ ซึ่งแบ่งเป็นช่วงต่อเนื่อง 11 ช่วงเท่ากัน ตามความรู้สึกที่มีจากไม่เห็นด้วยมากที่สุดไปจนถึงเห็นด้วยมากที่สุด

47 แบบวัดเจตคติตามวิธีของเทอร์สโตน (Thurstone scale)
สำหรับข้อความที่จัดให้มีค่าเท่ากับ 1 หมายความว่า ไม่ชอบหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความนั้นมากที่สุด ส่วนข้อความที่จัดให้มีค่าเท่ากับ 11 หมายความว่า ชอบหรือเห็นด้วยกับข้อความนั้นมากที่สุด เมื่อได้ข้อมูลการจัดระดับความเข้มของผู้เชี่ยวชาญแล้ว (ผู้เชี่ยวชาญควรมีอย่างน้อย 30 คนขึ้นไป) ผู้สร้างแบบวัดจะทำการหาค่าประจำข้อ (Scale value: S) สำหรับข้อความแต่ละข้อ โดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานหรือค่ากลาง (median) นอกจากค่า S แล้ว ผู้สร้างจะต้องพิจารณาค่าพิสัยควอไทล์ร่วมด้วย เนื่องจากเป็นค่าที่บ่งชี้ว่ามีผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นให้ค่าประจำข้อแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด หากค่าพิสัยคลอไทล์ที่คำนวณได้มีค่าต่ำ แสดงว่า ผู้เชี่ยวชาญค่อนข้างมีความเห็นสอดคล้องกันว่าข้อความนั้นมีค่าประจำข้อเท่ากับค่ากลางนั้นจริง ค่าพิสัยควอไทล์ หาได้จาก ความแตกต่างระหว่างค่าข้อความลำดับที่ Q1 (เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25) กับค่าข้อความลำดับที่ Q3 (เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75)

48 แบบวัดเจตคติตามวิธีของเทอร์สโตน (Thurstone scale)
ตัวอย่างข้อความและการให้ค่าระดับความรู้สึกประจำข้อโดยผู้เชี่ยวชาญ 100 คน ข้อความ ระดับความรู้สึก 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 1. ผู้ป่วยโรคเอดส์เปรียบเหมือนญาติของเรา - 35 20 2. ผู้ป่วยโรคเอดส์สมควรได้รับกรรม 40 30 3. ผู้ป่วยโรคเอดส์ควรได้รับการปฏิบัติเหมือนบุคคล ทั่วไป 25 4. การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ 5. ผู้ป่วยโรคเอดส์ก็เป็นคนเหมือนเรา 6. ผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่น่าเข้าใกล้

49 แบบวัดเจตคติตามวิธีของเทอร์สโตน (Thurstone scale)
ตัวอย่างค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยควอไทล์ของข้อความแต่ละข้อ ข้อความที่ median Q1 Q3 Inter-quartile Range 7 1 2 15 2.5 1.5 80 5 4 25 3 3.5 : 32 10 8.5 11 41 ค่าพิสัยควอไทล์ ไม่ควรเกิน 2 จึงจะดี

50 การแปลผล โดยใช้ค่าเฉลี่ย S
การตอบแบบวัดเจตคติของเทอร์สโตน จะให้ผู้ตอบเลือกข้อความที่เห็นด้วยเท่านั้น แล้วนำข้อความเหล่านั้นมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือค่ามัธยฐานของระดับความรู้สึกประจำข้อ ถ้าได้คะแนนเฉลี่ยมาก (สูงสุด 11) แสดงว่า มีเจตคติต่อเรื่องนั้นไปในทางบวก แต่ถ้าได้คะแนนเฉลี่ยน้อย (ต่ำสุด 1) แสดงว่า มีเจตคติต่อเรื่องนั้นไปในทางลบ การแปลผล โดยใช้ค่าเฉลี่ย S ค่าเฉลี่ย S ความหมาย 1 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางลบ ระดับมากที่สุด 2 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางลบ ระดับมาก 3 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางลบ ระดับปานกลาง 4 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางลบ ระดับน้อย 5 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางลบ ระดับน้อยมาก 6 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางปานกลาง ไม่สนับสนุน ไม่ต่อต้าน 7 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางบวก ระดับน้อยมาก 8 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางบวก ระดับน้อย 9 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางบวก ระดับปานกลาง 10 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางบวก ระดับมาก 11 มีเจตคติต่อเรื่องนั้นๆ ในทางบวก ระดับมากที่สุด

51 ตัวอย่างแบบวัดเจตคติต่อวิชาชีพครู
ข้อความ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย 1. ผู้มีอาชีพครูไม่มีวันอดตาย 2. อาชีพครูเหมาะสำหรับคนที่มีจิตใจเข็มแข็ง 3. อาชีพครูเป็นผู้ตื่นตัวทางวิชาการอยู่เสมอ 4. อาชีพครูเป็นอาชีพของคนจับจดและฉาบฉวย 5. อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูง 6. อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ต้องรับผิดชอบ 7. มาตรฐานของมารยาทผู้ที่เป็นครูต่ำ 8. อาชีพครูเหมาะสำหรับสุภาพสตรี 9. อาชีพครูไม่มีอะไรมากไปกว่ากางตำราสอน 10. อาชีพครูเป็นอาชีพของคนดี 11. อาชีพครูเป็นอาชึพที่ต้องเสียสละ

52 ตัวอย่างแบบวัดเจตคติต่อวิชาชีพครู
ข้อความ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย 1. ผู้มีอาชีพครูไม่มีวันอดตาย (7.3) 2. อาชีพครูเหมาะสำหรับคนที่มีจิตใจเข็มแข็ง (9.1) 3. อาชีพครูเป็นผู้ตื่นตัวทางวิชาการอยู่เสมอ (11.0) 4. อาชีพครูเป็นอาชีพของคนจับจดและฉาบฉวย (3.2) 5. อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูง (10.0) 6. อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ต้องรับผิดชอบ (4.3) 7. มาตรฐานของมารยาทผู้ที่เป็นครูต่ำ (1.1) 8. อาชีพครูเหมาะสำหรับสุภาพสตรี (6.0) 9. อาชีพครูไม่มีอะไรมากไปกว่ากางตำราสอน (2.4) 10. อาชีพครูเป็นอาชีพของคนดี (5.5) 11. อาชีพครูเป็นอาชึพที่ต้องเสียสละ (8.0)

53 แบบวัดเจตคติตามวิธีของออสกูด (Osgood scale)
ปี 1957 Charles Osgood แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยล์ ได้พัฒนามาตรจำแนกความหมาย (Semantic differential scale) ขึ้น โดยอาศัยทฤษฎีและผลงานวิจัยเกี่ยวกับความหมายของคำในประโยคที่แสดงความรู้สึก โดยการใช้คำสั้นๆ แทนการใช้ประโยคยาวๆ ซึ่งให้ความหมายที่ไม่ต่างกัน คำคุณศัพท์ที่นำมาใช้อธิบายเป้าหมายที่ต้องการวัดนั้น ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ด้านการประเมิน เป็นคุณศัพท์ที่สะท้อนการตัดสินคุณค่า เช่น ดี-เลว ประโยชน์-อันตราย 2) ด้านศักยภาพ เป็นคุณศัพท์ที่สะท้อนถึงพลังอำนาจ เช่น หนัก-เบา ใหญ่-เล็ก และ 3) ด้านกิจกรรม เป็นคุณศัพท์ที่สะท้อนถึงกิริยาอาการ เช่น เร็ว-ช้า กระฉับกระเฉง-เฉื่อยชา ดังนั้น แบบวัดเจตคติตามแนวคิดของออสกูดจึงมีลักษณะเป็นการใช้คำคุณศัพท์ 2 คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน ให้ผู้ตอบตัดสินใจถ่วงน้ำหนักไปในมาตราใดก็ขีดตอบมาตรานั้นๆ อย่างไรก็ตาม มิติที่นำมาใช้ในการวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย คือ มิติด้านการประเมินเท่านั้น

54 แบบวัดเจตคติตามวิธีของออสกูด (Osgood scale)
ตัวอย่างแบบวัดเจตคติต่อคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน 1. ซื่อสัตย์ 3 2 1 -1 -2 -3 คดโกง 2. สำเร็จ ล้มเหลว 3. มีวิสัยทัศน์ ไร้วิสัยทัศน์ 4. มีระบบ ไร้ระบบ 5. มีประสิทธิภาพ ไร้ประสิทธิภาพ 6. ก้าวหน้า ล้าหลัง 7. ยุติธรรม อยุติธรรม 8. ใจกว้าง ใจแคบ 9. รวดเร็ว ชักช้า 10. ขยัน ขี้เกียจ 11. สร้างความสามัคคี สร้างความแตกแยก 12. มุ่งประโยชน์ส่วนรวม มุ่งประโยชน์ส่วนตน

55 แบบวัดเจตคติตามวิธีของออสกูด (Osgood scale)
ตัวอย่างแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ 1. ง่าย 5 4 3 2 1 ยาก 2. สับสน แจ่มชัด 3. ไม่มีคุณค่า มีประโยชน์ 4. น่าเบื่อ น่าสนุก 5. ชอบ เกลียด 1. ง่าย +2 +1 -1 -2 ยาก 2. สับสน แจ่มชัด 3. ไม่มีคุณค่า มีประโยชน์ 4. น่าเบื่อ น่าสนุก 5. ชอบ เกลียด

56 แบบวัดเจตคติตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert scale)
ปี 1932 Rensis Likert แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้พัฒนามาตรรวมการประมาณค่าของลิเคิร์ท (Summated ratings scale) หรือมาตรแบบลิเคิร์ท (Likert-type scale) ขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบของมาตรวัดที่เป็นที่นิยมใช้วัดคุณลักษณะจิตพิสัยอย่างมาก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ลักษณะของมาตรวัดจะเสนอข้อความจำนวนมาก ให้ผู้ตอบตอบว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความแต่ละข้อมากน้อยเพียงใด ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่นิยมใช้ 5 ระดับ ตั้งแต่ เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง/ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วยมาก ไม่เห็นด้วยมากที่สุด ข้อความที่ในอยู่มาตรวัด จะประกอบด้วยข้อความที่มีความหมายทั้งทางบวกและทางลบคละกันไปตามความเหมาะสม

57 แบบวัดเจตคติตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert scale)
การแปลความหมายคะแนน ในการแปลผลระดับเจตคติตามแนวคิดของลิเคิร์ทนั้น นิยมแปลผลเป็นตัวเลขตามมาตรหรือระดับที่กำหนด ด้วยการหาค่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้เกณฑ์การแปลคะแนนแบบวัด (กรณีกำหนด 5 ระดับ) ดังนี้ คะแนน ความหมาย มีเจตคติสูงมาก มีเจตคติสูง มีเจตคติปานกลาง มีเจตคติต่ำ มีเจตคติต่ำมาก

58 ตัวอย่างแบบวัดเจตคติต่อการเมือง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
คำชี้แจง โปรดอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วทำเครื่องหมาย ลงในช่องว่างที่ตรงกับความรู้สึกของท่าน ข้อความ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1. การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนรวม 2. การเมืองเป็นเรื่องของผู้มีอำนาจ 3. การเมืองทำให้ประชาชนเป็นสุข 4. การเมืองทำให้ประเทศชาติพัฒนา 5. การเมืองเป็นเรื่องสร้างสรรค์ 6. คนทำงานการเมืองเป็นผู้เสียสละ 7. การเมืองสร้างความแตกแยกให้คนในชาติ 8. การเมืองเป็นเรื่องล้างแค้น 9. การเมืองเป็นเรื่องของคนรวย 10. การเมืองเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน

59 ตัวอย่างแบบวัดเจตคติต่อการอ่านสำหรับเด็ก
ที่มา: McKenna, Michael C., & Kear, Dennis J. (1990, May)

60 แนวทางการเขียนข้อคำถามเพื่อวัดคุณลักษณะทางจิตพิสัย
ด้วยแบบวัดที่ให้ผู้ตอบรายงานตนเอง (Self-report test) McCoach, Gable, & Madura (2013) Edwards (1957 cited in Payne, 2003) ได้เสนอแนวทางสำหรับการเขียนคำถาม ดังนี้ ข้อความที่ใช้ถามควรมีบริบทเป็นปัจจุบัน ข้อความที่ใช้ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริง ผู้ตอบสามารถตอบตามความนึกคิดของตนได้ ข้อความที่ใช้ควรมีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว หลีกเลี่ยงคำเชื่อม “และ” “หรือ” ข้อความที่ใช้ควรมีเนื้อความที่สอดคล้องกับคุณลักษณะหรือสภาพเงื่อนไขที่วัด ไม่ควรเป็นข้อความที่คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะรู้สึกเห็นด้วย ภาษาที่ใช้ต้องชัดเจน กระชับ ตรงไปตรงมา ง่ายต่อการตีความ 7. ข้อความที่ใช้ไม่ควรมีคำว่า “เสมอ” “ไม่เคยเลย” “ตลอด” “ทั้งหมด” “เพียง” “แค่” “เกือบ” เพราะจะสร้างความสับสนให้ผู้ตอบ ที่มา: โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)

61 แนวทางการเขียนข้อคำถามเพื่อวัดคุณลักษณะทางจิตพิสัย
ด้วยแบบวัดที่ให้ผู้ตอบรายงานตนเอง (Self-report test) 8. ข้อความที่ใช้ควรมีภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้ตอบ 9. ควรหลีกเลี่ยงคำที่เป็นนิเสธซ้อน 10. ควรหลีกเลี่ยงการใช้เนื้อความที่มีทั้งเหตุผลและผลในประโยค 11. ข้อความที่ใช้ไม่ควรเป็นข้อความในเชิงเปรียบเทียบอย่าง มากกว่า/น้อยกว่า หรือเทียบสิ่งใดกับสิ่งหนึ่ง 12. ข้อความที่ใช้ควรมีคำตอบที่เป็นไปได้สมเหตุสมผล รองรับข้อความหรือคำถามที่กำหนดให้ 14. ควรเริ่มจากคำถามที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ส่วนคำถามที่ซับซ้อนหรือก่อให้เกิดความไวต่อความรู้สึกควรอยู่ในข้อคำถามส่วนท้ายของแบบวัด 15. ควรมีจำนวนข้อความที่มากเพียงพอสำหรับวัดคุณลักษณะที่ต้องการวัดนั้นๆ ที่มา: โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)

62 แนวทางการเขียนข้อคำถามเพื่อวัดคุณลักษณะทางจิตพิสัย
ด้วยแบบวัดที่ให้ผู้ตอบรายงานตนเอง (Self-report test) ตัวอย่างของช่วงการตอบที่มีการใช้จำนวนมาก เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยมากที่สุด ชอบมากที่สุด ชอบ เฉยๆ ไม่ชอบ ไม่ชอบมากที่สุด เป็นประจำ บ่อย บางครั้ง นานๆ ครั้ง ไม่เคยเลย จำเป็น สำคัญมาก สำคัญปานกลาง สำคัญน้อย ไม่สำคัญ เป็นจริงสำหรับฉันมาก เป็นจริงสำหรับฉันเป็นส่วนใหญ่ เป็นจริงสำหรับฉันบางส่วน ไม่เป็นจริงสำหรับฉัน ดีเยี่ยม ดี พอใช้ ควรปรับปรุง ต้องปรับปรุงอย่างยิ่ง พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจ พึงพอใจปานกลาง ไม่พึงพอใจ ไม่พึงพอใจมากที่สุด ที่มา: โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)

63 แบบวัดสถานการณ์ แบบวัดคุณลักษณะทางจิตอื่นๆ เช่น แบบวัดสถานการณ์ เป็นแบบวัดที่สร้างสถานการณ์ที่มีข้อขัดแย้งและยากต่อการตัดสินใจ ซึ่งผู้ตอบจะต้องใช้วิจารณญาณคิดพิจารณาตัดสินใจเลือกที่จะกระทำสิ่งที่ถูกหรือผิดด้วยการให้เหตุผล ตัวอย่างเช่น ข้อคำถามวัดความมีวินัย ดังนี้ สมใจเป็นนักเรียนที่ตั้งใจเรียนมาโดยตลอด วันหนึ่งช่วงเวลาพักกลางวันซึ่งใกล้เวลาเข้าเรียน สมฤทัยซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของสมใจได้มาชวนสมใจไปซื้อขนมในร้านค้าที่อยู่ห่างไกลจากอาคารเรียน และอาจทำให้ต้องเข้าห้องเรียนสายกว่าเวลาที่กำหนด สมใจจึงได้ปฏิเสธที่จะไปกับสมฤทัย นักเรียนคิดว่าการปฏิเสธไม่ไปกับเพื่อนของสมใจเกิดขึ้นด้วยเหตุผลใด 1. ต้องการได้คะแนนจากการเข้าเรียนตรงเวลา 2. ไม่ต้องการให้ครูลงโทษจากการเข้าเรียนสาย 3. ต้องการเคารพกฎกติกาในชั้นเรียนที่ตกลงไว้ 4. ไม่ต้องการให้ครูมองว่าเป็นเด็กที่ขาดวินัย

64 ภาระงานที่มอบหมาย ให้นิสิตแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลและทำการศึกษาเกี่ยวกับแบบวัดทางจิตวิทยาที่กลุ่มสนใจ 1 แบบวัด แล้วออกมานำเสนอแบบวัดทางจิตวิทยาฉบับนั้นหน้าชั้นเรียน ในสัปดาห์ถัดไป

65 บรรณานุกรม โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558). การวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์. ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2551) เอกสารประกอบการสอนวิชา การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ดาวน์โหลด ppt การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google