งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป้องกันและปราบรามการทุจริต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป้องกันและปราบรามการทุจริต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป้องกันและปราบรามการทุจริต
สำนักงาน ป.ป.ช. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป้องกันและปราบรามการทุจริต ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

2 คณะกรรมการ ป.ป.ช. 9 คน พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร นางสุวณา สุวรรณจูฑะ พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์  นายปรีชา เลิศกมลมาศ พล.ต.อ. สถาพร หลาวทอง นายณรงค์ รัฐอมฤต นางสาวสุภา ปิยะจิตติ

3 หน่วยงานตรวจสอบความโปร่งใสที่ควรทราบ
ก) องค์กรตรวจสอบความโปร่งใสให้ปราศจากทุจริตคอร์รัปชั่น -ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) -ป.ป.ช. -ป.ป.ท. -สตง. -ป.ป.ง. -กรมสอบสวนคดีพิเศษ -ผู้ตรวจการแผ่นดิน -สรรพากร -สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ ข) เครื่องมือตรวจสอบความโปร่งใสให้ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่น -กล่าวเฉพาะกรณีอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ในการตรวจสอบความโปร่งใส การทุจริต

4 ประเด็นนำเสนอ งานป้องกันการทุจริต งานตรวจสอบทรัพย์สิน
งานปราบปรามการทุจริต งานมาตรการเสริมอำนาจหน้าที่ ป.ป.ช.

5 อำนาจหน้าที่ ป.ป.ช. ป้องกันการทุจริต ปราบปรามการทุจริต
ตรวจสอบทรัพย์สิน - เสนอมาตรการ ความเห็น ข้อเสนอแนะต่อ ครม. รัฐสภา ศาล หรือ คตง. ให้มีการ ปรับปรุงการปฏิบัติราชการเพื่อ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต - เสริมสร้างทัศนคติและค่านิยม เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วน ร่วมในการป้องกันและปราบปราม การทุจริต -กำกับดูแลคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง -ดำเนินการเกี่ยวกับด้านการต่างประเทศ -ไต่สวนและเสนอวุฒิสภาเพื่อพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนด -ไต่สวนและเสนออัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าร่ำรวยผิดปกติทุจริต หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ -ไต่สวนและวินิจฉัยกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยกองถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ ทุจริต หรือ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษทางวินัย และเสนออัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีทางอาญา กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้อง ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินของตนเอง คู่ สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติ ภาวะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบความถูกต้องและ มีอยู่จริงรวมทั้งความเปลี่ยนแปลง ของทรัพย์สินและหนี้สิน ไต่สวนกรณีที่มีการ กล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวย ผิดปกติ เพื่อการร้องขอให้ ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

6 ส่งเสริมตามหลักธรรมาภิบาล

7

8 ความหมาย : การทุจริต คอร์รัปชัน
ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ทุจริต หมายถึง ประพฤติชั่ว คดโกง ไม่ซื่อตรง ทุจริต สุจริต ทุ จริต สุ จริต ชั่ว เลว ทราม ต่ำ ช้า กริยา อาการ ความประพฤติ ดี งาม ง่าย เรียบร้อยสงบ กริยา อาการ ความประพฤติ

9 ความหมาย : การทุจริต คอร์รัปชัน ความหมายตามประมวลกฎหมายอาญา
โดยทุจริต หมายถึง แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ประโยชน์ที่ มิควรได้ ตนเอง ผู้อื่น ไม่ใช่ทรัพย์สิน ทรัพย์สิน -เงิน -ทอง -ที่ดิน -หลอกจนได้ประกันตัว -ได้แต่งงาน

10 ความหมาย : การทุจริต คอร์รัปชัน -ไถจากผู้ประกอบอาชีพสุ่มเสียงผิด กม.
ความหมายทางสังคม ทุจริต โกง กิน รีด ไถ -ตัวเอง -บุคคลอื่น -กินตามน้ำ -กินตามใจ -รีดจากผู้กระทำผิด -ไถจากผู้ประกอบอาชีพสุ่มเสียงผิด กม.

11 สถานการณ์ : การทุจริต คอร์รัปชัน
ระหว่างประเทศ ครอบครัว ประเทศ หมู่บ้าน การทุจริต ตำบล จังหวัด อำเภอ

12 สถานการณ์ : การทุจริต คอร์รัปชัน

13 สถานการณ์ : การทุจริต คอร์รัปชัน

14 ทัศนะของประชาชนต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น

15 เรื่องเร่งด่วนที่ควรแก้ไข
ร้อยละ ปัญหาค่าครองชีพ 23.6 การเพิ่มรายได้ของประชาชน 21.1 ปัญหาน้ำท่วม 17.5 ปัญหายาเสพติด 16.8 ปัญหาคอร์รัปชั่น 11.5 ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 6.9 ปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเยาวชน 2.6 รวม 100.0

16 หากท่านพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชั่น ท่านจะทำอย่างไร
รายการ ร้อยละ แจ้งตำรวจดำเนินคดี 8.2 ถ่ายคลิปหลักฐาน แล้วส่งตำรวจ 3.7 แจ้งหน่วยงานปราบปรามการทุจริต 8.9 ร้องเรียนในระดับผู้บังคับบัญชาให้ทราบ 4.1 เฉยๆ ไม่ทำอะไร 75.1 รวม 100 เหตุผลที่เฉยๆ ไม่ทำอะไร รายการ ร้อยละ แจ้งไปก็ไม่เห็นผล 24.2 กลัวเดือนร้อน 28.7 ไม่เกี่ยวกับตัวเรา 32.1 เป็นเรื่องปกติ 14.4 อื่นๆ 0.6 100

17 ตัวอย่างใบกำกับภาษี

18 ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน

19 ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน

20 เสนอมาตรการประมูลเลขทะเบียนสวย
งานป้องกันการทุจริต เสนอมาตรการประมูลเลขทะเบียนสวย การจัดซื้อรถโดยสารสาธารณะใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ขสมก. โครงการระบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศ การแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง หรือบุคคลดำรงตำแหน่งในกรรมการรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง การทุจริตเกี่ยวกับการจัดสรรโควตา และการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ มาตรการป้องกันการทุจริตและการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้

21 การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
I. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) ส.ส. (4) ส.ว. (5) ข้าราชการการเมืองอื่น (6) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด II. เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามที่กฎหมาย ป.ป.ช. บัญญัติ เช่น ประธานศาลฎีกา, ศาลปกครอง, ศาลรัฐธรรมนูญ, อัยการสูงสุด กกต. ฯลฯ III. กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่ต้องยื่น (ม.40 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ) IV. สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหายื่นบัญชี (ม.79 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ)

22 จงใจยื่นฯ ด้วยข้อความเป็นเท็จ
จงใจไม่ยื่นฯ จงใจยื่นฯ ด้วยข้อความเป็นเท็จ ปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้ง กรณี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ้นและห้ามดำรงตำแหน่ง 5 ปีนับแต่วันที่ศาลวินิจฉัย โทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน - ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท - ทั้งจำทั้งปรับ

23 งานปราบปรามการทุจริต
ป.ป.ช. ตรวจสอบใคร ป.ป.ช. ตรวจสอบอะไรบ้าง ตรวจสอบอย่างไร ผลการตรวจสอบดำเนินการอย่างไร

24 งานปราบปรามการทุจริต
ผู้กระทำ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงาน/พนักงาน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ การกระทำ ร่ำรวยผิดปกติ ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ

25 ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ความรับผิดทางละเมิด/โทษปรับทางปกครอง ประพฤติมิชอบ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุจริตต่อหน้าที่ ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ/การยุติธรรม พ.ร.บ.ฮั้ว ร่ำรวยผิดปกติ ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัว+ส่วนรวม รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ เกิน ๓,๐๐๐ บาท ถอดถอนออกจากตำแหน่ง

26 ตรวจสอบ(การทุจริต) อย่างไร
สถานะของผู้ถูกกล่าวหา อำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา การกระทำและเจตนาผู้ถูกกล่าวหา ความเสียหาย และผลกระทบ

27 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เงื่อนไขการตรวจสอบของ ป.ป.ช.
1. ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2. กระทำผิดอยู่ในฐานอำนาจของ ป.ป.ช. 3. รวมถึงตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน

28 เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่า ข้าราชการ
พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

29 เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ต่อ)
เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ต่อ) เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ กรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ

30 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เปลี่ยนไปเมื่อมีคณะกรรมการ ป.ป.ท.
อำนาจไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรง ตำแหน่งดังกล่าวหรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดใน ลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการด้วย (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 250 (3)) สกม.

31 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป. ป. ช. และคณะกรรมการ ป
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ท. คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. 1. เจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป 1. เจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับที่ต่ำกว่า ผู้บริหารระดับสูง หรือผู้อำนวยการกองหรือ เทียบเท่า 2. เจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 84 พ.ร.บ. ประกอบฯ ได้แก่ (1) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือผู้บริหารระดับสูงซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 (2) ผู้พิพากษาและตุลาการ (3) พนักงานอัยการ (4) เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของศาลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ 2. เจ้าหน้าที่ของรัฐนอกเหนือจากบุคคลตามมาตรา 84 (มาตรา 3 พ.ร.บ. ป.ป.ท.) สกม.

32 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป. ป. ช. และคณะกรรมการ ป
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ท. คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. (5) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (6) เจ้าหน้าที่ของรัฐในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร/วุฒิสภา (7) เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. (8) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการ (9) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งร่วมกระทำความผิดกับบุคคลตาม (1) – (8) สกม.

33 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่น เช่น ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง - ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด ผู้บริหารท้องถิ่น รอง/ผู้ช่วย ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด

34 ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
หน.ส่วนราชการระดับ กระทรวง สำหรับข้าราชการ ทบวง พลเรือน กรม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สำหรับข้าราชการทหาร ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หัวหน้าหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

35 ผู้บริหารระดับสูง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
กรรมการในองค์กรอิสระตาม รัฐธรรมนูญ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่า ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง และหมายความรวมถึงบบุคคล/คณะบุคคลที่กำกับดูแลหน่วยงานฯ

36 ผู้อำนวยการกอง ๑ ข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งประเภทอำนวยการ หน.ส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม หน.ส่วนราชการประจำจังหวัด หน.สำนักงานจังหวัด หน.ส่วนราชการที่ประจำในต่างประเทศ.. นายอำเภอ ตำแหน่งที่ ก.พ.กำหนด เช่น หน.สำนักงานรัฐมนตรี หน.หน่วยงานอื่นๆ เช่น ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์/สถานแรกรับเด็ก/สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ผอ.สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ผอ.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ผอ. ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพ ผอ.ศูนย์พัฒนาสังคม ในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน/โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา/โครงการก่อสร้างในกรมชลประทาน ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น

37 ผู้อำนวยการกอง (ต่อ) (ฌ) ผู้อำนวยการแขวงการทางในกรมทางหลวง (ญ) หัวหน้าสำนักงานที่ดิน (สาขา) ในกรมที่ดิน (ฎ) ผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุข ตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง ๒ ตำแหน่งข้าราชการ อบจ. อบต. เทศบาลและเมืองพัทยา ตำแหน่งบริหารที่เป็น หน.ส่วนราชการ ที่เป็นผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสำนัก หน.หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะตั้งแต่ระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น

38 ความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบ
ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๔๒ ความผิดตามมาตรา ๑๐๐ (การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัว-ส่วนรวม) ความผิดตามมาตรา ๑๐๓ (รับทรัพย์สิน/ประโยชน์อื่นใด เกิน ๓,๐๐๐ บาท)

39 ทุจริตต่อหน้าที่ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

40 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๑๔๗-๑๖๖ เช่น มาตรา ๑๖๒ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร (๑)รับรองเป็นหลักฐานอันเป็นเท็จ (๔) รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริง..อันเป็นความเท็จ

41 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม มาตรา ๒๐๐-๒๐๕ เช่น ม.๒๐๑ เป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ อัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด

42 ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินมากผิดปกติ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ
มีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่

43 ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
การที่ทรัพย์สินหรือหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ได้ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่งในลักษณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือหนี้สินลดลงผิดปกติ

44 การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สส. สว. ข้าราชการการเมืองอื่น ผู้กล่าวหา มีเหตุอันควรสงสัย บังคับกรณีบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ผู้ให้ ผู้ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน/ประโยชน์ ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ปอ. กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่/ทุจริตต่อหน้าที่ตาม กม.อื่น อัยการ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไต่สวน ถ้าผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีระหว่างถูกดำเนินคดีมิให้นับเวลาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งอายุความ ผู้เสียหาย คณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา กล่าวหา นรม./รมต,ประธานสภาผู้แทน/ประธานวุฒิ ขอให้ตั้งผู้ไต่สวนอิสระ(กรณี ปปช.ไม่รับ /ล่าช้า/เห็นว่าไม่มีมูล)

45 การร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ (เป็นหรือพ้นไม่เกิน 5 ปี) ม.75 ไม่ตัดอำนาจคณะกรรมการป.ป.ช.ถ้ามีการกล่าวหาไว้แล้ว/มีเหตุอันควรสงสัยต้องไม่เกิน10 ปี ร่ำรวยผิดปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัยเบื้องต้น ให้แสดงรายการ สินทรัพย์และหนี้สิน กรณีนายก รมต./ รมต./สส./สว. ข้าราชการการเมืองอื่น ไม่รับ รับ ออกคำสั่งยึด อายัดชั่วคราว กรณีน่าเชื่อว่ามีการโยกย้าย แปรสภาพซุกซ่อนทรัพย์สิน ตกไป ไต่สวนข้อเท็จจริง อัยการสูงสุด ชี้มูล ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ประธานองค์กรต่างๆ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง อัยการสูงสุด เจ้าหน้าที่อื่น ศาลที่มีเขตอำนาจ พิจารณา สั่งให้ทรัพย์สิน ตกเป็นของแผ่นดิน

46 แสวงหาข้อเท็จจริง พนักงานสอบสวน ผู้กล่าวหา มีเหตุอันควรสงสัย
ร่ำรวยผิดปกติ/ทุจริตต่อหน้าที่/ทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ/การยุติธรรม (ผู้บริหารระดับสูง/ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับต่ำกว่าร่วมทำผิดกับบุคคลดังกล่าว/นักการเมือง)เป็นหรือพ้นไม่เกิน 5 ปี (มาตรา 84) พนักงานสอบสวน ผู้กล่าวหา มีเหตุอันควรสงสัย คณะกรรมการ ป.ป.ช. แสวงหาข้อเท็จจริง มอบหมายพนักงานไต่สวน ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน คณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีอาจก่อความเสีย/อุปสรรคในการไต่สวน แจ้งผู้บังคับบัญชาพักราชการ/พักงาน สำนักงานอัยการสูงสุด ให้ข้อกล่าวหาตกไป มีมูลอาญา วินัย ต้นสังกัด

47 ข้อห้ามมิให้คณะกรรมการป.ป.ช.รับเรื่องไว้พิจารณา
1.เรื่องที่คณะกรรมการป.ป.ช.ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว และไม่มีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งคดี 2.เรื่องที่ศาลประทับฟ้องหรือพิพากษาหรือมีคำสั่งเสร็จเด็ดขาดแล้ว เรื่องร้องเรียนที่อาจไม่รับพิจารณา 1.เรื่องที่ไม่ระบุพยานหลักฐานหรือไม่ปรากฏพฤติการณ์ชัดเจนเพียงพอ 2.เรื่องที่ล่วงเลยมาแล้วเกิน 5 ปี นับแต่วันเกิดเหตุจนถึงวันกล่าวหาและไม่อาจหลักฐานได้เพียงพอ 3.เรื่องที่คณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินการต่อผู้ถูกกล่าวหาตามกฎหมายอื่นเสร็จสิ้นและเป็นไปโดยชอบแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าการดำเนินการนั้นไม่เที่ยงธรรม .

48 การถอดถอนจากตำแหน่ง ส.ส [ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่] หรือประชาชน [ที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน] (สว.ยื่นขอถอดถอน สว.) เข้าชื่อร้องขอต่อ ประธานวุฒิสภาให้ ถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สส. สว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักงานตุลาการทหาร รองอัยการสูงสุด ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง มีพฤติการณ์ ร่ำรวยผิดปกติ ส่อ ว่าทุจริตต่อหน้าที่ ส่อ ว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อ ว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อ ว่าใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง(ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงาน) ประธานวุฒิฯ ส่ง ป.ป.ช.ไต่สวน กรณีมีมูลส่งประธานวุฒิฯ เรียกประชุมวุฒิสมาชิกลงคะแนนลับ 3 ใน 5 เห็นว่าผิด ให้พ้นและห้ามมิให้ดำรงตำแหน่ง 5 ปี เป็นที่สุด

49 กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง
แสวงหาข้อเท็จจริง ไต่สวนข้อเท็จจริง ส่งเรื่องให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. อนุไต่สวน พ.ไต่สวน พงส. ต้นสังกัด

50 กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง
ไต่สวนข้อเท็จจริง ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. อนุไต่สวน พ.ไต่สวน พงส ต้นสังกัด แจ้งคำสั่ง แจ้งข้อหา กก.วินัย แจ้งข้อกล่าวหา ควบคุมตัว/ปล่อยชั่วคราว ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา สรุปสำนวนส่งอัยการ สรุปสำนวน/มีความเห็น

51 ผลการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
กรณีข้อกล่าวหาไม่มีมูล กรณีข้อกล่าวหามีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป อาญา วินัย อัยการสูงสุด ผู้บังคับบัญชา

52 การดำเนินการของผู้บังคับบัญชา (วินัย)
พิจารณาลงโทษภายใน 30 วัน ตามฐานความผิด ที่ ป.ป.ช. มีมติ ส่งคำสั่งลงโทษให้ ป.ป.ช. ภายใน 15 วัน นับแต่วัน ออกคำสั่งโดย ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีก ให้ถือว่ารายงานและความเห็นของ ป.ป.ช. เป็นสำนวน การสอบสวนทางวินัย

53 กรณีที่ผู้บังคับบัญชาละเลยไม่ดำเนินการ
1. ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยหรือกฎหมาย 2. ป.ป.ช. เสนอนายกรัฐมนตรี สั่งการตามที่ เห็นสมควร 3. ป.ป.ช. สั่งให้ ก.พ. หรือคณะกรรมการอื่น พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ถูกต้อง เหมาะสมต่อไป

54 สิทธิของผู้ถูกดำเนินการทางวินัย
1. อุทธรณ์ดุลยพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชา 2. ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ทราบคำสั่งลงโทษ 3. ฟ้องศาลปกครอง

55 การดำเนินการทางอาญา อัยการสูงสุดฟ้องยังศาลที่มีเขตอำนาจ
ถือว่ารายงาน ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนตาม ป.วิ อาญา ให้ศาลประทับรับฟ้อง โดยไม่ต้องไต่สวน มูลฟ้อง ถ้ามีข้อไม่สมบูรณ์ ต้องตั้งคณะทำงาน ฝ่ายละเท่ากัน เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์เพื่อฟ้องคดีต่อไป ถ้าคณะทำงานหาข้อยุติไม่ได้ ให้ ป.ป.ช. มีอำนาจฟ้องคดีเอง หรือแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีแทน

56 การชี้มูลความผิดทางวินัยของ ป.ป.ช.
มีการกล่าวหาต่อ ปปช. มีเหตุควรสงสัยโดย ปปช. ไต่สวน ข้อเท็จจริง ปปช. รายงาน มูลความผิดวินัย ผู้บริหารต้อง สั่งลงโทษ ภายใน 30 วัน / รายงาน ปปช. ภายใน 15 วัน พนักงานท้องถิ่น ทุจริตต่อหน้าที่ ถือเป็นสำนวน การสอบสวน ทางวินัย การอุทธรณ์ ภายใน 30 วัน กรณีผู้บริหารไม่สั่งลงโทษ/รายงาย ปปช. ผู้บริหารมีความผิดฐานละเว้น (ม. 157) พนักงานมีความผิดวินัย กรณีปลดออก/ไล่ออก ให้ขอความเห็นชอบ ก.จังหวัด

57 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และควรทราบเกี่ยวกับการจัดหาพัสดุ
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ ระเบียบ คตง.ว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ (หลักธรรมาภิบาล) ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๕๔ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระบบ e-GP วินัยข้าราชการพลเรือน ฯลฯ

58 ก่อนซื้อหรือจ้างทุกวิธี
ต้องจัดหาราคากลางของสิ่งของที่จะซื้อ หรืองานที่จะจ้าง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาราคาของ ผู้เข้าเสนอราคาและเปิดเผยไว้ใน เว๊บไซต์ของหน่วยงาน และศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง ของกรมบัญชีกลางที่ มติครม. คสช. ลว.๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖และ๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๕/ ว ๑๒๙ ลว. ๙ สิงหาคม ๒๕๕๖) กำหนดให้ ฉบับที่ ๑๐๔/๒๕๕๗ ลว. ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ การจัดซื้อจัดจ้างของ อปท.ต้องโปร่งใส แข่งขันกัน ราคากลาง กส. ๕ ล้าน รายงาน ผวจ./นอภ. ใน ๓ วัน กม.ป.ป.ช. การจัดหาพัสดุที่มีวงเงินเกิน 100,000 บาท ขึ้นไป ต้องนำรายละเอียดการคำนวณราคากลางไปลงเว็บไซต์ด้วย

59 งานจ้างก่อสร้าง ทุกครั้ง/ทุกวงเงิน ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางเพื่อเปรียบเทียบกับ วงเงินงบประมาณที่ได้รับและราคาของผู้เข้าเสนอราคา(มติ ครม.มีนาคม ๒๕๕๕) ราคากลาง หมายถึง ราคา ค่าก่อสร้างในงานก่อสร้างของทางราชการในแต่ละงาน/โครงการ ซึ่งได้จากการประเมิน หรือคำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งเป็นราคาที่ทางราชการยอมรับได้ ไม่สูงจนผู้ประกอบกอบการได้กำไรมากเกินกว่าที่ควรได้รับ และไม่เป็นราคาที่ต่ำจนผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะดำเนินการก่อสร้างได้ ดังนั้น ราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการจึงไม่ไช่ราคามาตรฐานของงานก่อสร้าง แต่เป็นราคาที่ได้จากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ ให้ทำบันทึกส่งสตง. กรณีที่ผลประกวดราคาปรากฏว่า ราคากลางที่กำหนดไว้/ สูงหรือ ต่ำกว่าราคาที่ประกวดราคาได้ เกิน ๑๕% ขึ้นไป

60 แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ก. พ
แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2556 การเปิดเผยราคากลาง สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกิน 100,000 บาท ให้หน่วยงานของรัฐ ประกาศราคากลาง และรายละเอียด การคำนวณราคากลางไว้ในเว็บไซต์ของหน่วยงานและเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ( สำหรับคู่มือแนวทางการเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างราคากลาง และการคำนวณราคากลาง ของ สำนักงาน ป.ป.ช. สามารถดาวน์โหลดได้ที่

61 การเปิดเผยราคากลางในระบบ e-GP
ให้เปิดเผยราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค /ว 90 ลงวันที่ 22 สิงหาคม โดยสามารถบันทึกในระบบ e-GP ได้ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค เป็นต้นมา งานก่อสร้าง

62 การเปิดเผยราคากลางในระบบ e-GP
ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค /ว 179 ลว. 14 พ.ค. 2556 กรมบัญชีกลางได้พัฒนาระบบ e-GP เพื่อรองรับโดยมีเงื่อนไข ดังนี้ 1. เมื่อหน่วยงานภาครัฐเพิ่มโครงการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP ระบบ จะกำหนดให้บันทึกข้อมูลราคากลาง และแนบไฟล์รายละเอียดการคำนวณราคากลาง ไว้ในระบบ ในช่วงวันที่ 15 พ.ค ถึงวันที่ 11 ส.ค หน่วยงานสามารถเลือกได้ว่า จะบันทึกข้อมูลราคากลางหรือไม่ก็ได้ สำหรับตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค เป็นต้นไป ระบบกำหนดให้ต้องบันทึกราคากลาง และแนบไฟล์รายละเอียดการคำนวณราคากลาง ไม่สามารถเลือกไม่บันทึกข้อมูลได้ งานประเภทอื่นที่มิใช่งานก่อสร้าง

63 การเปิดเผยราคากลางในระบบ e-GP
2. การประกาศราคากลาง 2.1 การจัดหาที่มีการแข่งขัน ประกอบด้วย วิธีสอบราคา ประกวดราคา ประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การจ้างออกแบบและ ควบคุมโดยวิธีคัดเลือก การจ้างออกแบบและควบคุมโดยวิธีคัดเลือก แบบจำกัดข้อกำหนด และการจ้างออกแบบและควบคุมโดยวิธีพิเศษ แบบประกวดแบบ จะเปิดเผยพร้อมกับการประกาศเชิญชวน ที่หน้าเว็บไซต์ 2.2 การจัดหาที่ไม่มีการแข่งขัน จะเปิดเผยข้อมูลราคากลางได้รับ อนุมัติรายงานขอซื้อขอจ้างหรืออนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างและ ส่วนราชการได้บันทึก เลขที่และวันที่เอกสารนั้น ในระบบ e-GP

64 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2556
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 6 ส.ค. 2556 รับทราบผลการดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การคำนวณ ราคากลางของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบการปรับปรุง แนวทางการเปิดเผยราคากลางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ก.พ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

65 แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ก. พ
แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยราคากลาง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2556และหนังสือ กค. ว111 ลงวันที่ 17กันยายน 2556 การจัดซื้อจัดจ้างประเภทอื่นที่มิใช่งานก่อสร้าง ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการประกาศรายละเอียดการคำนวณ ราคากลางตามแนวทางที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน

66 ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่าย ของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ใช้บังคับกับ - สัญญาที่เกี่ยวกับการจัดหาพัสดุของหน่วยงานของรัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ หรือระเบียบ ข้อกำหนด กฎ หรือข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐ - สัญญาสัมปทาน และ - สัญญาให้ทุนสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐเพื่อการวิจัยหรือเพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง - เดิมมูลค่าตั้งแต่ 5 แสนบาทขึ้นไป ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 55 – 31 มี.ค. 56 ปัจจุบันบังคับกับสัญญามูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

67 ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่าย ของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐต้องนำไปกำหนดไว้ใน TOR - ผู้เสนอราคา ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อว่าเป็นคู่สัญญาที่ไม่ได้แสดงบัญชีรายรับรายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญตามประกาศฯ - ผู้เสนอราคาต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ได้ลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ - ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือก และหากมีการทำสัญญากับ (ชื่อหน่วยงาน) ต้องรับจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากกระสายวัน เว้นแต่การรับจ่ายเงินแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามหมื่นบาทสามารถรับจ่ายเป็นเงินสดได้ และต้องจัดทำบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายยื่นต่อกรมสรรพากร และต้องปฏิบัติตามประกาศฯ

68 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓)ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ อาศัยอำนาจตามความใน (๒) ของบทนิยาม "คำสั่งทางปกครอง" ในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครอง ๑. การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือ ให้สิทธิประโยชน์ (๒) การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ (๓) การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใด ในลักษณะเดียวกัน (๔) การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ๒. การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา

69 พ.ร.บ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
กรณีที่เกิดละเมิดขึ้นแก่เอกชน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการไปตามหน้าที่แล้วเกิดละเมิดขึ้นแก่เอกชน หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่ เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในผลแห่งละเมิดนั้น ถ้าการละเมิดนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้เสียหายจะต้องฟ้องตัวเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิด จะฟ้องร้องหน่วยงานไม่ได้

70 พ.ร.บ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
กรณีที่เกิดละเมิดขึ้นแก่หน่วยงานของรัฐ การละเมิดนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ต้องบังคับไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถ้าเกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ - พิจารณาตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรณีกระทำละเมิดต่อเอกชน - เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐ ก็ต่อเมื่อได้กระทำไปโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

71 วิธีการจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง : ราคาแพง
สัดส่วนความรับผิด 60: 20 : 10 :10 คกก.พิจารณาผล : (ผ่าน) ฝ่ายพัสดุ : ผบ.ผู้ผ่านงาน : ผู้อนุมัติ สัดส่วนความรับผิด : ไม่ผ่านฝ่ายพัสดุ 60: 20 : 20 คกก.พิจารณาผล : ผบ.ผู้ผ่านงาน : ผู้อนุมัติ สัดส่วนความรับผิด : ไม่ผ่านฝ่ายพัสดุ และ ผบ.ผู้ผ่านงาน 60: 40 คกก.พิจารณาผล : : ผู้อนุมัติ

72 สัดส่วนความรับผิด : ไม่คัดเลือกต่ำสุด ที่ถูกต้องตามเงื่อนไข
60:15:15:10 คกก.เปิดซองสอบราคา : ฝ่ายพัสดุ : ผบ.ผู้ผ่านงาน : ผู้อนุมัติ 60:15:15:10 คกก.พิจารณาผลการประกวดราคา : ฝ่ายพัสดุ: ผบ.ผู้ผ่านงาน : ผู้อนุมัติ 60 : 40 คกก.พิจารณาผลการประกวดราคา : ผู้อนุมัติ กรณีที่ จนท.ฝ่ายพัสดุ ผู้ผ่านงานทักท้วงแล้ว แต่ผู้บังคับบัญชา ใช้อำนาจสั่งอนุมัติ จนท.ฝ่ายพัสดุ ผู้ผ่านงานไม่ต้องรับผิด

73 พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ แนวคิดเดิม ... “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น” การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ แนวคิดปัจจุบัน ... “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”

74 พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐
หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการ แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ ประกาศสอบราคา ประกาศประกวดราคา ผลการพิจารณาการจัดซื้อ จัดจ้าง สรุปผลเป็นรายเดือนทุกเดือน รายละเอียด งานที่จัดซื้อจัดจ้าง วงเงินงบประมาณ /ราคากลาง วิธีซื้อหรือจ้าง รายชื่อผู้เสนอราคาและราคาที่เสนอ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและราคา เหตุผลที่คัดเลือก

75 เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง

76 ระเบียบ คตง.ว่าด้วยวินัยการงบประมาณและการคลัง
โทษชั้นที่ 1 - มีหน้าที่ปิดประกาศ จัดส่งเอกสาร - ละเลยไม่ปิดปิดประกาศหรือจัดส่งหรือเผยแพร่ - ปรับไม่เกินเงินเดือน 1 เดือน โทษชั้นที่ 2 - มีหน้าที่เบิกจ่ายพัสดุ จัดทำบัญชี - ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง - ปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 2 เดือน ถึง 4 เดือน

77 ระเบียบ คตง.ว่าด้วยวินัยการงบประมาณและการคลัง
โทษชั้นที่ 3 - มีหน้าที่พิจารณาผลปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข โดยรู้ หรือควรจะรู้เกิดความเสียหาย - ปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 5 เดือน ถึง 8 เดือน โทษชั้นที่ 4 - มีหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติ โดยมิชอบ แบ่งแยกวงเงินจัดซื้อ จัดจ้าง - ปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 9 เดือน ถึง 12 เดือน

78 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ. ศ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ มาตรา 23 ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ ที่จะใช้ ราคา และประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพ และการดูแลรักษาเป็นสำคัญ ให้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแล ระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

79 ถ้าทำผิด “กฎหมายว่าด้วยการฮั้ว”
มีบทลงโทษอย่างไร  ความผิดบุคคลทั่วไป (มาตรา 4 – มาตรา 9)  ความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ผดม (มาตรา 10 – มาตรา 13) มีทั้งโทษ จำคุก และ ปรับ

80 ความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (มาตรา 10)
ความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (มาตรา 10) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด มีอำนาจ อนุมัติ รู้ มีหน้าที่ พิจารณา มีพฤติการณ์ ปรากฏแจ้งชัดว่าควรรู้ ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการเสนอราคา การเสนอราคาในครั้งนั้น มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ ละเว้นไม่ดำเนินการ เพื่อให้มีการยกเลิก การเสนอราคา มีความผิดฐานกระทำ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ อัตราโทษ จำคุก 1 ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 200,000 บาท

81 มาตรา 11 - - ออกแบบ เจ้าหน้าที่ใน หน่วยงานของรัฐ กำหนดราคา
เจ้าหน้าที่ใน หน่วยงานของรัฐ กำหนดราคา อันเป็นมาตรฐาน ในการเสนอราคา โดยทุจริตทำการ - ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐ เงื่อนไข ผลประโยชน์ ตอบแทน โดยมุ่งหมายไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้เสนอราคาให้มีสิทธิทำสัญญาโดยไม่เป็นธรรม เพื่อกีดกันผู้เสนอราคาไม่ให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม อัตราโทษ จำคุกตั้งแต่ 5 ถึง 20 ปี หรือ ตลอดชีวิต และปรับ 100,000 ถึง 400,000 บาท

82 ตัวอย่างการกระทำตามมาตรา 11 (ทุจริตในการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข)
การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการจัดหาให้แคบ อยู่เฉพาะพัสดุที่เป็นของเอกชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดหรือระบุ ยี่ห้อของพัสดุที่จะซื้อ กำหนดรายละเอียดของพัสดุให้มีความยุ่งยากในการจัดหาหรือ ไม่สามารถทำได้ในเวลาจำกัด กำหนดคุณสมบัติผู้จะเข้าเสนอราคาอย่างจำกัด เช่น เรื่องระยะ เวลาของผลงานนานหลายปี จำนวนมูลค่าของผลงานที่สูงมากหรือ ต้องมีทุนจดทะเบียนสูงมาก กำหนดเงื่อนไขสูงเกินความจำเป็น เช่น จำนวนเครื่องจักร ขนาดใหญ่ กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรกล เป็นต้น

83 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ
กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ ความผิดฐาน กระทำความผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใด ๆ มุ่งหมาย มิให้มี การแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม เอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ

84 - - - กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มิใช่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ - กรรมการ มีอำนาจ อนุมัติ กระทำการใด ๆ ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ - อนุกรรมการ มีหน้าที่ พิจารณาการใดๆ ที่เกี่ยวข้อง จูงใจ ยอมรับการเสนอราคาที่มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ ผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

85 กระบวนการกล่าวหาร้องเรียนเพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายนี้
มีการกล่าวหาร้องเรียน กล่าวหาบุคคลทั่วไป เช่น ผู้รับเหมา ผู้เสนอราคา ฯลฯ จนท.ในหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเสนอราคา ว่ามีการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ ตามมาตรา ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้ดำเนินการให้ผู้ถูกกล่าวหา ถูกลงโทษทางอาญา รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ถูกถอดถอน ถูกลงโทษทางวินัย

86 ชื่อ ที่อยู่ของผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาแล้วแต่กรณี
ในการร้องเรียนไปยัง ป.ป.ช ลักษณะของคำร้องเป็นอย่างไร ชื่อ ที่อยู่ของผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาแล้วแต่กรณี ชื่อตำแหน่งและสังกัดของผู้ถูกกล่าวหา ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด ตามข้อกล่าวหาพร้อมพยานหลักฐาน

87 พบเห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุจริต หรือ ร่ำรวยผิดปกติ
พบเห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุจริต หรือ ร่ำรวยผิดปกติ สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด หรือ แจ้ง สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนสนามบินน้ำ อ.เมืองนนทบุรี นนทบุรี  โปรดส่งข้อมูลมายัง


ดาวน์โหลด ppt ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป้องกันและปราบรามการทุจริต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google