งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Bureau of Epidemiology

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Bureau of Epidemiology"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา HOW TO WRITE EPIDEMIOLOGIC INVESTIGATION REPORT สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

2 ขั้นตอนการสอบสวนโรค (STEPS OF INVESTIGATION)
1. ยืนยันการวินิจฉัยโรค 2. ยืนยันการระบาดของโรค 3. ค้นหาผู้ป่วย  รายแรก ๆ  รายใหม่ 4. รวบรวมข้อมูลทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เวลา สถานที่ และบุคคล 5. ตั้งสมมุติฐานและพิสูจน์สมมุติฐาน 6. กำหนดมาตรการป้องกันเพื่อควบคุมการระบาดของโรค 7. เขียนรายงาน  เพื่อรายงานผู้บริหาร  เพื่อพิมพ์เผยแพร่

3 เขียนดี Good writing การศึกษาที่ดี Good work การศึกษาที่เลว Bad work เขียนเลว Bad writing

4 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology GOLDEN RULE OF REPORT WRITING 1. CONCISE กระชับ 5. PRESENTABLE นำเสนอได้ชัดเจน 6. INTERESTING น่าสนใจ 2. CLEAR ชัดเจน 3. ACCEPTABLE เป็นที่ยอมรับ อ่านได้ง่าย 4. READABLE GOLDEN Rule

5 Bureau of Epidemiology ประเภทของรายงานการสอบสวน
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology ประเภทของรายงานการสอบสวน 1. รายงานการสอบสวนเสนอผู้บริหาร 1.1 รายงานการสอบสวนเบื้องต้น (Preliminary Report) 1.2 รายงานการสอบสวนสรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report) 2. รายงานการสอบสวนฉบับสมบูรณ์ (Full Report) 3. รายงานบทความวิชาการ (Scientific Article)

6 1. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน เบื้องต้น (Preliminary Report)
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology 1. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน เบื้องต้น (Preliminary Report)

7 Bureau of Epidemiology องค์ประกอบของรายงานการสอบสวนเบื้องต้น
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบของรายงานการสอบสวนเบื้องต้น ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ความเป็นมา ผลการสอบสวนโรค กิจกรรมควบคุมโรคที่ทำไปแล้ว แนวโน้มของการระบาด สรุปความสำคัญ และเร่งด่วน ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ ความยาว 1-2 หน้ากระดาษ A4

8 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น บทนำหรือ ความเป็นมา เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ สอบสวนการระบาด ขนาดของปัญหาที่ได้รับแจ้ง เริ่มสอบสวนและเสร็จสิ้นเมื่อไร วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค

9 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น ผลการสอบสวนโรค สถานการณ์ที่เกิดขึ้น จำนวนผู้ป่วย เสียชีวิต ผู้ป่วยเป็นใคร หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงใด แหล่งรังโรคและวิธีถ่ายทอดโรค สาเหตุของการระบาด ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการระบาด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศึกษาสิ่งแวดล้อม

10 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น กิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว ระบุกิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว ระบุหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการควบคุมโรค รายงานผลการควบคุมโรคในเบื้องต้น

11 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น แนวโน้มของการระบาด พยากรณ์แนวโน้มการระบาด โดยประมวลจาก จำนวนผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัยที่พบ พบสาเหตุหรือแหล่งรังโรคหรือไม่ มาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพหรือไม่ อยู่ในฤดูการระบาดของโรคหรือไม่

12 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น สรุปความสำคัญทางสาธารณสุข และความเร่งด่วน สรุปขนาดของปัญหา และผลกระทบต่อประชาชน เป็นการระบาดหรือเป็นโรคอุบัติใหม่หรือไม่ ต้องการความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ ระดับของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว

13 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ มาตรการควบคุมโรคเดิมที่ต้องดำเนินการต่อ ระบุมาตรการใหม่ที่ต้องดำเนินการเพิ่ม ระบุหน่วยงานที่ต้องประสานงานดำเนินการ ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังโรคต่อเนื่อง

14 ตัวอย่างรายงานการสอบสวนเบื้องต้น

15 รายงานการสอบสวนโรคอุจาระร่วงอย่างแรง
ตัวอย่าง รายงานการสอบสวนโรคอุจาระร่วงอย่างแรง เรื่อง การสอบสวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง เรียน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาแบบสอบสวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2544 งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุขสมบูรณ์ ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ห้องชันสูตรโรงพยาบาลจังหวัดสุขสมบูรณ์ว่า ผลการตรวจอุจจาระของ ดญ.จุ๊บ ทองอ่อน อายุ 14 ปี พบเชื้อ V. cholerae 01, eltor, Inaba โดยผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เวลา 9.35 น. ด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำหลายครั้ง ทีมสอบสวนและควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุขสมบูรณ์ ร่วมกับทีมสอบสวนและควบคุมโรค คปสอ. เมือง และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยชอนไพร ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคในพื้นที่ ระหว่างวันที่ กุมภาพันธ์ 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค แหล่งรังโรค และควบคุมป้องกันการระบาดของโรค

16 ผลการสอบสวนโรค พบว่าผู้ป่วย ดญ
ผลการสอบสวนโรค พบว่าผู้ป่วย ดญ.จุ๊บ ทองอ่อน อายุ 14 ปี เป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมในตำบลชอนไพร อยู่บ้านเลขที่ 18 ม. 1 ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัดสุขสมบูรณ์ มีประวัติเริ่มป่วยวันที่ 9 สิงหาคม เวลา น. มารับการรักษาที่โรงพยาบาลวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เวลา 9.35 น. ด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำหลายครั้ง ไม่มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน 2-3 ครั้ง อ่อนเพลีย ไม่ปวดท้อง ไม่ได้นอนโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Acute diarrhea จ่ายยา Norfloxacin และน้ำเกลือแร่ แล้วให้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน สภาพบ้านผู้ป่วยมีลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียวตั้งอยู่กลางทุ่งนา อยู่ห่างเพื่อนบ้านไปเกือบครึ่งกิโลเมตร หลังคามุงแฝก สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านสะอาด ส้วมที่บ้านเป็นส้วมซึมซึ่งอยู่คนละด้านกับบ่อน้ำน้ำดื่มน้ำใช้มาจากบ่อ แต่ต้มน้ำดื่ม ดญ.จุ๊บอาศัยอยู่กับพี่สาวอีก 1 คน ซึ่งมีอายุ 16 ปี และมีอาการถ่ายเหลว หลายครั้ง ภายหลังจาก ดญ.จุ๊บ ป่วยได้ 1 วัน แต่ไม่ได้ไปรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งสองคนจะทำอาหารด้วยกันและรับประทานขณะร้อนๆในมื้อเย็น ส่วนมื้อเที่ยงซื้ออาหารกินที่โรงเรียน และดื่มน้ำกรองในโรงเรียนซึ่งนำมาจากน้ำประปาในตำบล

17 จากการสอบถามประวัติการรับประทานอาหารพบอาหารที่สงสัยเป็นสาเหตุ ได้แก่ หมูปิ้ง ที่ซื้อมาจากร้านขายของชำในหมู่บ้าน และรับประทานหลังจากทิ้งค้างไว้นานหลายชั่วโมง โดยที่ไม่ได้อุ่น หมูปิ้งนี้ร้านขายของชำรับมาจากร้านค้าในตลาด และพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อ V. cholerae 01, eltor, Inaba ซึ่งต้นตอการปนเปื้อนเชื้อมาจากเขียงหมูเถื่อนในหมู่บ้าน ซึ่งผลการส่งตรวจตัวอย่างเศษหมูติดเขียงพบเชื้อ V. cholerae 01, eltor, Inaba และได้ทำ rectal swab คนชำแหละหมู 2 คน ส่งเพาะเชื้อพบ V. cholerae 01, eltor, Inaba ในคนชำแหละ 1 ราย ทั้งสองคนมีประวัติถ่ายเหลวในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คนชำแหละที่ไม่พบเชื้อได้รับยาปฏิชีวนะแล้ว ส่วนคนที่พบเชี้อยังไม่ได้รับการรักษา

18 มาตรการควบคุมโรคที่ทีมสอบสวนและควบคุมโรคได้ดำเนินการแล้ว มีดังนี้
ให้ยารักษาผู้ที่มีอาการอุจจาระร่วงและผู้สัมผัสที่ตรวจพบเชื้อทุกราย ทำลายเชื้อที่อาจจะ เหลืออยู่ในห้องส้วมที่บ้านของผู้ป่วยและผู้ที่ตรวจพบเชื้อ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ สั่งให้คน ชำแหละหมูหยุดทำงาน จนกว่าโรคสงบ ให้สุขศึกษาในเรื่องพฤติกรรมการปรุงและการ บริโภคอาหารแก่แม่ค้า เพื่อปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในร้านค้าร้านขายของชำ และเขียงหมู เพื่อป้องกันการระบาดในภายหน้า

19 แม้ว่าการระบาดของโรคอหิวาตกโรคในครั้งนี้ที่มีแหล่งรังโรคร่วมจากเขียงหมู มีแนวโน้มว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ เนื่องจากได้ตรวจพบแหล่งรังโรคที่แพร่เชื้อพร้อมทั้งสามารถขัดขวางการถ่ายทอดเชื้อจากแหล่งนี้ได้แล้วก็ตาม ทีมสอบสวนโรค มีข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1. เฝ้าระวังเชิงรุกในพื้นที่ จนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 10 วัน 2. แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ดำเนินการปิดเขียงหมูเถื่อนรายนี้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคในภายหน้า 3. แจ้งหน่วยบริการสาธารณสุขต่างๆในจังหวัดทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ในระยะนี้ เรียนมาเพื่อทราบ และพิจารณาสั่งการต่อไป

20 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค ให้ระบุวัตถุประสงค์เฉพาะของการสอบสวนโรค เช่น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคตาม บุคคล เวลา และสถานที่ เพื่อค้นหาแหล่งโรค วิธีการถ่ายทอดโรค และผู้สัมผัสโรค เพื่อหามาตรการในการป้องกันควบคุมโรค อื่นๆ ตามแต่กรณี เช่น ศึกษาประสิทธิภาพวัคซีน

21 Bureau of Epidemiology ประเภทของรายงานการสอบสวน
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology ประเภทของรายงานการสอบสวน 1. รายงานการสอบสวนเสนอผู้บริหาร 1.1 รายงานการสอบสวนเบื้องต้น (Preliminary Report) 1.2 รายงานการสอบสวนสรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report) 2. รายงานการสอบสวนฉบับสมบูรณ์ (Full Report) 3. รายงานบทความวิชาการ (Scientific Article)

22 2. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน สรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report)
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology 2. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน สรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report) ชื่อเรื่อง ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค ความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการสอบสวนโรค มาตรการควบคุมป้องกันโรค สรุปผล

23 รายงานเบื้องต้น รายงานสรุป (Final report)
- ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่อง - ผู้รายงาน ผู้รายงาน - ความเป็นมา (และวัตถุประสงค์) ความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา (เพิ่ม) - ผลการสอบสวนโรค ผลการสอบสวนโรค (เพิ่มรายละเอียด) - กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคที่ทำแล้ว มาตรการควบคุมป้องกันโรค (ทั้งหมด) - แนวโน้มของการระบาด - สรุปความสำคัญและเร่งด่วน - ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ สรุปผล

24 วิธีการศึกษา 1. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
ข้อมูลผู้ป่วยได้จาก - ทบทวน / รวบรวม …. (passive case finding) - ค้นหาผู้ป่วย (active case finding) - วินิจฉัยผู้ป่วยจากอะไร 2. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (ถ้ามี) รูปแบบการศึกษาใช้ case-control study หรือ cohort study - นิยาม case / control - เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม ถามอะไร 3. การศึกษาสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) 4. สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนา และเชิงวิเคราะห์ (ถ้ามี)

25 ผลการสอบสวนโรค 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
- พรรณนาภาพรวมผู้ป่วย เช่น ป่วยเท่าไร ตายเท่าไร - พรรณนาผู้ป่วยตามบุคคล เช่น อายุ เพศ แถม อาการ อาการแสดง ผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ ผลการรักษา (ถ้าสำคัญ) - พรรณนาผู้ป่วยตามเวลา เช่น epidemic curve - พรรณนาผู้ป่วยตามสถานที่

26 ผลการสอบสวนโรค สรุปผล 3. ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (ถ้ามี)
ผลการทดสอบสมมุติฐานจาก case-control study หรือ cohort study 4. ผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) มาตรการควบคุมและป้องกันโรค สรุปผล

27 รายงานสรุป (Final report) รายงานบทความวิชาการ
- ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่อง - ผู้รายงาน ผู้รายงาน บทนำ เพิ่ม background โรคนั้นในประเทศไทย และในพื้นที่ ช่วงเวลาที่ผ่านมา - ความเป็นมา ความเป็นมา - วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ - วิธีการศึกษา วิธีการศึกษา - ผลการสอบสวนโรค ผลการศึกษา (ผลการสอบสวนโรค) - มาตรการควบคุมป้องกันโรค รวมมาตรการควบคุมป้องกันโรค วิจารณ์ (อภิปรายผล) - สรุปผล บทคัดย่อ (เพิ่ม) เอกสารอ้างอิง (เพิ่ม)

28 วิจารณ์ (อภิปรายผล) เป็นส่วนที่ยากที่สุดสำหรับการเขียน
ไม่ควรเสนอผลการสอบสวนโรคที่เป็นตัวเลขซ้ำอีก เขียนข้อสรุปที่ได้จากการสอบสวนโรค ข้อสรุป ควรเชื่อมโยงเข้ากับวัตถุประสงค์ของการศึกษา ควรอภิปรายถึงผลการสอบสวนโรค เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ควรอภิปรายข้อจำกัดของการศึกษาครั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการประกาศว่าเป็นผู้ริเริ่มการศึกษาเป็นคนแรก

29 กิตติกรรมประกาศ ตำแหน่ง เนื้อหา
- ต่อท้ายคำอภิปรายผล หรือหมายเหตุ หน้าแรก แล้วแต่วารสาร เนื้อหา - มีส่วนร่วม แต่ไม่ต้องการสิทธิความเป็นผู้แต่ง - ช่วยเหลือในด้านเทคนิค - ช่วยเหลือในด้านการเงิน และวัสดุ

30 เอกสารอ้างอิง การอ้างอิงบทความในวารสารมี 2 ระบบ
การอ้างอิงบทความในวารสารมี 2 ระบบ 1. เรียงเลขตามลำดับของเอกสารอ้างอิงที่ปรากฏ (ระบบ Vancouver) 2. เรียงตามชื่อผู้แต่ง จะใช้ระบบไหน ให้ดูคำแนะนำของวารสารนั้น ๆ ตัวอย่างใน “ คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ ” วารสารวิชาการสาธารณสุข

31 หลีกเลี่ยง 2. การศึกษาที่ยังมิได้รับการตีพิมพ์ 3. การติดต่อส่วนตัว
1. บทคัดย่อมาเป็นเอกสารอ้างอิง 2. การศึกษาที่ยังมิได้รับการตีพิมพ์ 3. การติดต่อส่วนตัว

32

33 สวัสดี

34 3. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (Full report)
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology 3. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (Full report)

35 Bureau of Epidemiology องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (1)
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (1) ชื่อเรื่อง (Title) ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค (Principal Investigator & Team) บทคัดย่อ (Abstract) บทนำหรือความเป็นมา (Introduction or Background) วัตถุประสงค์ (Objectives) วิธีการศึกษา (Methodology) ผลการสอบสวน (Results)

36 Bureau of Epidemiology องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (2)
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (2) มาตรการควบคุมและป้องกันโรค (Prevention & Control Measures) วิจารณ์ผล (Discussion) สรุปผล (Conclusion) ข้อเสนอแนะ (Recommendations) ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวน (Limitations) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) เอกสารอ้างอิง (Reference)

37 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ชื่อเรื่อง - สั้น กระชับ - ตรงประเด็น - ความหมายครบถ้วน

38 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผู้รายงานและทีมสอบสวน - ชื่อ - หน่วยงาน - ตำแหน่ง

39 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ บทคัดย่อ บทนำ (และวัตถุประสงค์) สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา วิธีการศึกษา คำสำคัญ - ไม่เกิน 1 หน้า A4 - หัวข้อหลัก - สรุปย่อรายงาน

40 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ บทนำหรือ ความเป็นมา เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ สอบสวนการระบาด ขนาดของปัญหา คณะสอบสวนประกอบด้วยหน่วยใด เริ่มสอบสวนและ เสร็จสิ้นเมื่อไหร่

41 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค ให้ระบุวัตถุประสงค์เฉพาะของการสอบสวนโรค เช่น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคตาม บุคคล เวลา สถานที่ เพื่อค้นหาแหล่งโรค วิธีการถ่ายทอดโรค และผู้สัมผัสโรค เพื่อหามาตรการในการป้องกันควบคุมโรค อื่นๆ ตามแต่กรณี เช่น ศึกษาประสิทธิภาพวัคซีน

42 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ วิธีการศึกษาที่ใช้ในการสอบสวนโรค ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ - นิยามผู้ป่วย - รูปแบบที่ใช้ในการศึกษา - เครื่องมือที่ใช้ในการสอบสวน - สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล - ศึกษาทางห้องปฏิบัติการ สิ่งแวดล้อม Case-control study Cohort study

43 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผลการศึกษา 1 3 2 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป ยืนยันการวินิจฉัยเบื้องต้น อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

44 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผลการศึกษา 1 2 3 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป แสดงจำนวนผู้ป่วยของโรค หรือเหตุการณ์ที่ผิดปกติโดยเปรียบเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนๆ จากค่ามัธยฐาน 5 ปี แสดงให้เห็นชัดถึงพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น อัตราป่วยรายพื้นที่

45 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผลการศึกษา 1 2 3 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลประชากร ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เกิดโรค เส้นทางคมนาคมและพื้นที่ติดต่อ ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ข้อมูลสุขาภิบาล สาธารณูปโภค ข้อมูลสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณน้ำฝน

46 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผลการศึกษา 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค 4.1 ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ลักษณะการกระจายโรคตามบุคคล ลักษณะการกระจายโรคตามเวลา ลักษณะการกระจายโรคตามสถานที่ 4.2 ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

47 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผลการศึกษา 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค ประเภทวัตถุตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เก็บจากผู้ป่วย และปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเป็นสาเหตุของการระบาด สถานที่ส่งตรวจ ผลการตรวจที่ได้

48 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผลการศึกษา 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค อธิบายเหตุการณ์แวดล้อมที่มีความสำคัญ ต่อการระบาดของโรค สภาพโรงครัว แหล่งน้ำ ส้วม กรรมวิธีการปรุงอาหาร

49 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผลการศึกษา 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค เฝ้าระวังโรคต่ออีกเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวของโรค

50 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ มาตรการควบคุมและป้องกันโรค เพื่อควบคุมการระบาดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ Agent Host Environment

51 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ วิจารณ์ผล อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาเหตุผลและสมมติฐาน ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วิจารณ์ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการควบคุมโรค ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างหรือคล้ายคลึง กับการระบาดในอดีตหรือไม่ อย่างไร

52 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค ระบุปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ข้อจำกัดที่พบในขณะสอบสวนโรค บอกแนวทางการแก้ไขปัญหา สำหรับการสอบสวนครั้งต่อไป

53 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ สรุปผลการสอบสวน ยืนยันการเกิดโรคและการระบาด แหล่งรังโรค วิธีถ่ายทอดโรค กลุ่มเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง สถานการณ์ล่าสุด

54 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการควบคุมป้องกันโรค ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงการสอบสวนในครั้งหน้า ให้สอดคล้องและจำเพาะ กับผลการศึกษา

55 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ กิตติกรรมประกาศ ผู้ให้ความร่วมมือในการสอบสวนโรค ผู้ให้การสนับสนุนด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผู้ที่ให้ข้อมูลอื่นๆ ประกอบการสอบสวนโรค เอกสารอ้างอิง รูปแบบแวนคูเวอร์ ( Vancouver Style) รูปแบบมาตรฐาน อื่นๆ ตามที่วารสารกำหนด

56 ตัวอย่างรายงานสอบสวนโรค

57 รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ Botulism
จากหน่อไม้อัดปี๊บ ในจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2541 Foodborne botulism from home canned bamboo shoot, Nan province, Thailand, 1998 นพ. พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์1 นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ2 พญ.ลักขณา ไทยเครือ1 นาย ธัญญา วิเศษสุข2 นส.ศุภวรรณ นันทวาส2 นายอนุวัฒน์ ธนะวงศ์4 นส.สุกัลยา เล็กศิริวิไล3 1กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข 2 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน 3 โรงพยาบาลน่าน 4 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าวังผา

58 ความเป็นมา วันที่ 14 เมษายน คณะสอบสวนโรคได้รับทราบข้อมูลจากอายุรแพทย์ของโรงพยาบาลน่าน ว่ามีผู้ป่วย 6 ราย มีอาการทางระบบประสาท ได้แก่ หนังตาตก, พูดไม่ชัด, กลืนลำบาก,แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน โดยเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ เมษายน 2541 และทั้ง 6 รายมาจากอำเภอท่าวังผา แพทย์ได้ให้การวินิจฉัยว่าสงสัยเกิดจากพิษ Botulinum toxin คณะสอบสวนโรคจากกองระบาดวิทยาร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน จึงได้ทำการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 15 –18 เมษายน 2541

59 1. เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค 2. เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค ในแง่ บุคคล เวลา สถานที่ และปัจจัยเสี่ยง 3. เพื่อค้นหาแหล่งที่มาของการแพร่ระบาด 4. เพื่อหาแนวทางในการควบคุม และป้องกันการ แพร่กระจายของโรค

60 วิธีการศึกษา 1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
1.1 ทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน ตั้งแต่วันที่ เมษายน 2541 โดยมีนิยามผู้ป่วยดังนี้ นิยามผู้ป่วย คือผู้ที่มีอย่างน้อย 3 ใน 10 อย่างดังต่อไปนี้ หนังตาตก, กลืนลำบาก, พูดไม่ชัด, เสียงอาการ แหบ, ปากแห้ง, เจ็บคอ, อุจจาระร่วง, อาเจียน, แขนขาอ่อนแรง แบบ symmetrical 1.2 ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา 2.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ทำการศึกษาแบบ Case-control study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค โดยมีกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเปรียบเทียบดังนี้ ผู้ป่วยมีอาการตามนิยามเช่นเดียวกับการศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงพรรณา และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา ในช่วงเวลา เมษายน 2541 กลุ่มเปรียบเทียบ เป็นแม่บ้านที่มาช่วยงานศพของผู้ป่วยในวันที่ 16 เมษายน 2541 เวลา – น. และไม่มีอาการตามนิยามผู้ป่วย

61 3.การศึกษาสิ่งแวดล้อม 3.1 ศึกษาวิธีการผลิตหน่อไม้อัดปี๊ป ในหมู่บ้าน 3.2 สำรวจบ้านที่ผลิตหน่อไม้อัดปี๊ปและจำนวนหน่อไม้อัดปี๊ปที่มี อยู่ในหมู่บ้าน 4. การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ 4.1 เก็บอุจจาระผู้ป่วย 2 ราย ตัวอย่างดินบริเวณรอบร้านขายหน่อไม้ปี๊ปที่ สงสัย และอาหารที่สงสัยอื่นๆ ส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ Clostridium botulinum ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4.2 เก็บตัวอย่างหน่อไม้อัดปี๊ปในบ้านผู้ป่วยและจากร้านที่ขายหน่อไม้ อัดปี๊ปในหมู่บ้าน ส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ Clostridium botulinum ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ตรวจหา botulinum toxin ที่ US Army Medical Research Institue for Infectious Disease

62 1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา 1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา จากการทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน ตั้งแต่วันที่ เมษายน พบผู้ป่วย 9 ราย ซึ่งทั้ง 9 รายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้วอำเภอท่าวังผา จึงได้ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในทั้งสองหมู่บ้านพบผู้ป่วยอีก 4 ราย รวมพบ ผู้ป่วยทั้งสิ้น 13 รายโดยมีลักษณะตาม เวลา สถานที่ และ บุคคลดังนี้

63 รูปที่ 1 จำนวนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ Botulism จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย
หมู่บ้านหนองบัวและดอนแก้ว อ.ท่าวังผา จ.น่าน, เมษายน 41 (N=13) จำนวน (คน) วันที่ เดือน เมษายน 2541

64 ผู้ป่วย 12 รายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว อีก 1 รายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา อัตราส่วนผู้ป่วยชายต่อหญิง เท่ากับ 1 : อายุเฉลี่ย (Median) 44 ปี (อยู่ในช่วง ปี) ผู้ป่วย 2 รายเสียชีวิต 3 วันและ 5 วันหลังจากมีอาการ จากประวัติและการตรวจร่างกาย อายุรแพทย์ผู้ทำการรักษาให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรค Foodborne Botulism โดยมีโรคอื่นๆที่อาจเป็นไปได้ดังนี้ -พิษจากยาฆ่าแมลง (Anticholinergic, organophosphate poisoning) -พิษจากเห็ดพิษบางชนิด (Amanita muscaris poisoning) -พิษจากสารเคมีบางชนิด (Chemical poisoning)

65 รูปที่ 2 ลักษณะทางคลินิก ของผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ Botulism ,
หมู่บ้านหนองบัวและดอนแก้ว อ.ท่าวังผา จ.น่าน, เมษายน 41 สัดส่วนของอาการและอาการแสดง

66 ผู้ป่วย 2 ราย มีอาการหายใจลำบาก แพทย์ได้ทำการใส่ท่อช่วยหายใจ (intubation) และส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิษวิทยา ได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ทั้ง 2 ราย (Electromyogram) พบว่ามีลักษณะเฉพาะ ที่เข้าได้กับโรค Botulism (โดยผู้ป่วยทั้งสองรายเป็นพี่น้องกัน)

67 ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งซึ่งเสียชีวิต เป็นเจ้าของร้านหน่อไม้
อัดปี๊ป จากการสอบถามญาติของผู้ที่เสียชีวิตพบว่า ผู้ตายได้ผลิตหน่อไม้อัดปี๊ปขายเป็นอาชีพที่หมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา ในวันที่ 9 เมษายน 2541 ผู้ตายได้เปิดหน่อไม้อัดปี๊ป 2 ปี๊ป ปี๊ปแรกมีลักษณะผิดปกติจึงได้นำไปทิ้ง และเปิดปี๊ปที่ 2 และนำไปกินร่วมกันกับเพื่อนอีก 2 คนซึ่งเป็นผู้ป่วยด้วยโดยไม่ได้ปรุงด้วยความร้อน เหลือจากนั้นนำออกขายที่ตลาดบ้านหนองบัวในเช้าวันที่ 10 เมษายน และผู้ตายเริ่มมีอาการในบ่ายวันนั้น จากข้อมูลอาหารและวันที่สัมผัสอาหารทำให้ได้ ระยะฟักตัว 12 ชม. ถึง 4 วัน

68 2.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
ได้ทำการศึกษา Case –control study โดยใช้แบบสอบถาม ถามผู้ป่วยและกลุ่มเปรียบเทียบ ถึงประวัติอาหารที่รับประทานในวันที่ 9-11 เมษายน 2541 (คำถามปลายเปิด) และ ถามว่าได้รับประทานอาหารที่สงสัย ดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ (คำถามปลายปิด)

69 ตารางที่ 1 ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
ตารางที่ 1 ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ อาหารที่รับประทาน ผู้ป่วย กลุ่ม เปรียบเทียบ ค่า OR. 95 %CI กิน ไม่กิน หน่อไม้อัดปี๊ปจากร้านใดๆ 13 15 51 89.7* ( ) หน่อไม้อัดปี๊ปจากร้านที่สงสัย 4 62 375.0* ( ) เหล้าขาว 6 7 60 8.57 ( ) เหล้าสาเก 8 5 25 41 2.62 ( ) เห็ดจากตลาด 3 10 16 50 0.94 ( )

70 3.การศึกษาสิ่งแวดล้อม วิธีการผลิตหน่อไม้ปี๊ปในหมู่บ้าน
การผลิตหน่อไม้อัดปี๊ปในจังหวัดน่านเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตมากในอำเภอท่าวังผา โดยเฉพาะในหมู่บ้านดอนแก้ว โดยในช่วงฤดูฝน (เดือนมิย.-ตค.) ชาวบ้านจะเก็บหน่อไม้ในป่า นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาใส่ในปี๊ป ขนาด 20 ลิตร (ปี๊ปใส่น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว) ซึ่งมีรูเปิดข้างบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ใส่น้ำจนเต็มปี๊ปแล้วต้มจนเดือด คอยเติมน้ำตลอด ต้มประมาณ 1 ชม.และแน่ใจว่าหน่อไม้สุกแล้ว จึงยกลงจากเตาแล้วปิดด้วยฝาโลหะ และเชื่อมด้วยตะกั่ว โดยละลายตะกั่วด้วยกรดไฮโดรซัลฟูริก แล้วเก็บหน่อไม้อัดปี๊ปไว้ขายในฤดูร้อน (เดือน กพ.-เมย.) ซึ่งไม่มีหน่อไม้สดขาย รวมเก็บไว้ประมาณ 3-6 เดือน

71 หน่อไม้อัดปี๊ป ขนาด 20 ลิตร
ซึ่งมีการผลิตและขายในตลาด วิธีการปิดผนึกฝาด้วยดีบุกและ ใช้ตะกั่วซึ่งหลอมด้วยกรดซัลฟุริก ป้ายรอบฝา

72 ตารางที่ 3 ผลการส่งตรวจหน่อไม้อัดปี๊ปทางห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างหน่อไม้ได้จาก ส่งเพาะ เชื้อที่NIH* US Army Medical Research Institute เพาะ เชื้อ Elisa test Mouse antitoxin bioassay 1)เหลือจากเจ้าของร้านที่เสียชีวิต - ve + ve +ve type A 2)เหลือจากผู้ป่วยที่ส่งต่อไปรพ.ศิริราช 3)สุ่มจากร้านค้าทั่วไป(ปี๊ปปกติ) 2 ปี๊ป 4)สุ่มจากร้านค้าทั่วไป(ปี๊ปบวม) 2 ปี๊ป

73 วิจารณ์ ข้อจำกัดของการสอบสวน
เสนอมาตรการควบคุมป้องกันโรค ขณะที่ดำเนินการสอบสวน ในส่วนของอำเภอ จังหวัด สำนักงาน อย. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ :- พัฒนาระบบเฝ้าระวัง การ รักษา ระบบป้องกันโรค เอกสารอ้างอิง

74 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology การเขียนบทคัดย่อ

75 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง ผู้รายงานและคณะสอบสวน หน่วยงาน บทนำ (และวัตถุประสงค์): กล่าวถึงที่มาของเรื่อง และวัตถุประสงค์ของ การสอบสวน อย่างสั้น รัดกุม และได้ใจความ

76 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology บทคัดย่อ (ต่อ) วิธีการศึกษา : ระบุองค์ประกอบที่สำคัญของระเบียบวิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา (Study Design) กลุ่มตัวอย่าง และประชากรศึกษา ตัวแปรที่ใช้วัดผล เช่น นิยามผู้ป่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

77 Bureau of Epidemiology
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology บทคัดย่อ (ต่อ) ผลการศึกษา : ระบุผลการศึกษาที่สอดคล้องกับวิธีการศึกษา สรุปและข้อเสนอแนะ : สรุปผลการศึกษาอย่างสั้น รัดกุม และชัดเจน โดยเน้นประเด็นสำคัญ และผลกระทบของการศึกษา รวมทั้ง ข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการต่อไป คำสำคัญ (Key word): 3-5 คำ

78 ตัวอย่างบทคัดย่อ

79 บทคัดย่อ ความเป็นมา เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2541 แพทย์ประจำบ้านในโครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา ได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยด้วยอาการทางระบบประสาทพร้อมกัน จำนวน 6 ราย จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุและแหล่งที่มาของการระบาดในครั้งนี้ วิธีการศึกษา นิยามผู้ป่วย หมายถึง ชาวบ้านในหมู่บ้าน 2 หมู่บ้านในจังหวัดน่าน ที่มีอาการอย่างน้อย 3 ใน 9 อย่าง ดังนี้ หนังตาตก, กลืนลำบาก, พูดไม่ชัด, เสียงแหบ, ปากแห้งคอแห้ง, เจ็บคอ, อุจจาระร่วง, อาเจียน, กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากนิยามดังกล่าว นำไปสู่การสัมภาษณ์ และศึกษาอาการป่วยจากทะเบียนผู้ป่วย และทำการศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (case-control study) โดยมีผู้ป่วย 13 ราย และ กลุ่มควบคุม 66 ราย หลังจากนั้นได้ทำการเก็บตัวอย่างอาหารที่สงสัย, หน่อไม้อัดปี๊บ, ดิน และ อุจจาระของผู้ป่วย เพื่อส่งตรวจเพาะเชื้อ Clostridium Botulinum และ ทดสอบหาสารพิษที่ห้องปฏิบัติการ ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งศึกษากรรมวิธีการทำหน่อไม้อัดปี๊บ ในหมู่บ้าน

80 ผลการศึกษา: ในผู้ป่วยทั้งหมด 13 ราย มีผู้เสียชีวิต 2 ราย มีอัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 15 ผู้ป่วย 9 ราย เป็นผู้หญิง และอายุเฉลี่ย 44 ปี อยู่ในช่วง ปี ผู้ป่วยรายแรกคือเจ้าของร้านหน่อไม้อัดปี๊บ เริ่มมีอาการป่วยเมื่อ 10 เมษายน ระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 6 ชั่วโมง ถึง 6 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 2 วัน ผู้ป่วยทั้ง 13 รายมีประวัติการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บที่ทำจากแหล่งเดียวกัน แต่รับประทานในเวลาต่างกัน เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ป่วยในกลุ่มควบคุมรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บ 4 คน (6 %) (OR 375, 95%CI 19,7385) และการนำหน่อไม้มาผ่านการปรุงด้วยความร้อน สามารถช่วยป้องกันหรือลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อได้ (ค่า OR = 0.03 และ 95%CI =0.00,0.95) อาหารอื่นๆไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง 2 ราย พบว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ เข้าได้กับโรคอาหารเป็นพิษ Botulism และจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจพบพิษ Botulinum toxin ในหน่อไม้อัดปี๊บที่ได้รับมาจากผู้ป่วยรายหนึ่ง โดยวิธีการ Elisa และ Mouse antitoxin bioassay และจากการศึกษากรรมวิธีการผลิตหน่อไม้อัดปี๊บ พบว่า ใช้การต้มให้เดือด ซึ่งไม่เพียงพอในการฆ่า สปอร์ของเชื้อ Botulinum ได้ สรุป การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ Botulism ในประเทศไทย ซึ่งได้ดำเนินการควบคุมโรค โดยหยุดการจำหน่าย หน่อไม้อัดปี๊บจากหมู่บ้านที่ผลิต จำนวน 12,000 ลิตร และป้องกันการระบาดต่อไปโดยให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ในการปรุงหน่อไม้อัดปี๊บให้ร้อนก่อนรับประทาน รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ผลิตในการควบคุมคุณภาพการผลิตต่อไป ซึ่งหลังจากการดำเนินการดังกล่าว ไม่พบมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก

81 Bureau of Epidemiology ประโยชน์ที่ได้รับจากการเขียนรายงาน
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Bureau of Epidemiology ประโยชน์ที่ได้รับจากการเขียนรายงาน ผู้เขียนได้รับความรู้เพิ่มเติมจากขบวนการเขียน เรียบเรียงข้อมูล ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ วางแผนควบคุมและป้องกันโรคต่อไป ผู้อ่านได้รับความรู้ในเรื่องการสอบสวนทางระบาดวิทยา พัฒนาคุณภาพของการสอบสวนทางระบาดวิทยา

82 รายงานฉบับสมบูรณ์ VS รายงานบทความวิชาการ
(Full report) (Scientific article) - เน้นรายละเอียดของ เน้นผลการศึกษาที่สำคัญ การสอบสวนโรค และอภิปรายผล และผลการศึกษา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ตามเหตุการณ์ทุกขั้นตอน

83 รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานบทความวิชาการ
รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานบทความวิชาการ ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งและที่อยู่ บทนำหรือความเป็นมา บทคัดย่อ บทนำ วัตถุประสงค์ วิธีการสอบสวน วิธีการศึกษา ผลการศึกษา ผลการสอบสวน วิจารณ์ผล อภิปรายผล กิตติกรรมประกาศ สรุปผล การควบคุมป้องกันโรค เอกสารอ้างอิง ปัญหาและข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค เอกสารอ้างอิง

84 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt Bureau of Epidemiology

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google