ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
International Law กฎหมายระหว่างประเทศ
โดย ผศ.ดร. วิบูลพงศ์ พูนประสิทธิ์ (สงวนลิขสิทธิ์)
2
International Law: Definition
The body of law which is composed of the principles and rules of conduct that enables “Subject of International Law” the rights and duties as binding upon one another in their mutual relations. กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่ทำให้ “บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ” มีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน
3
INTERNATIONAL LAW International law or law of nations
“subjects of international law” “บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ” implies mainly to states. * After World War II, permanent international institutions possessing international legal personality i.e., international organizations are also included.
4
ประเภทกฎหมายระหว่างประเทศ
Three Distinct Legal Disciplines: ประเภทกฎหมายระหว่างประเทศ A) Public International Law กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง Governs the relationship between States and/or International Entities, either as an individual or as a group. (True International Law)
5
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นระบบกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่ รัฐอธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรัฐเล็กหรือรัฐใหญ่และไม่ว่ารัฐนั้นจะตั้งอยู่ ณ ที่ใด รวมทั้งใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสถาบันหรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งถูกอนุเคราะห์ให้มีฐานะเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศด้วย กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ถือว่าเป็นระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่แท้จริง และเป็นระบบหนึ่งต่างหากจากกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ
6
B) Private International Law or Conflict of Laws:
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล หรือ กฎหมายขัดกัน (less international than public international law ) governs conflicts between international private persons rather than states. It is a set of procedural rules that determines which legal system and which jurisdiction apply to a given dispute.
7
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล หรือ กฎหมายขัดกัน
กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ ซึ่งกำหนดถึงความสัมพันธ์ในลักษณะต่างประเทศ ของบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง สัญชาติ ภูมิลำเนา หรือสถานที่ที่ก่อให้เกิดนิติกรรม เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิที่บัญญัติขึ้น เพื่อใช้บังคับแก่บุคคลและทรัพย์สินที่อยู่ในกรอบอธิปไตยประเทศนั้นๆ ในกรณีที่ความสัมพันธ์เกี่ยวกับบุคคลและทรัพย์สินนี้ มีกฎหมายประเทศอื่นมาเกี่ยวของอยู่ด้วย จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฎหมายขัดกัน
8
Branches of Conflict of Law 3 กรณีที่ขัดแย้งกัน
Jurisdiction : อำนาจศาล - whether the forum court has the power to resolve the dispute at hand Choice of law : ตัวเลือกกฎหมาย - the law which is being applied to resolve the dispute Foreign judgments : คำพิพากษาศาลต่างประเทศ - the ability to recognize and enforce a judgment from an external forum within the jurisdiction of the adjudicating forum
9
INTERNATIONAL LAW กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
C) International Criminal Law กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา involves conflicting jurisdictions in criminal cases of courts of law in different states. Extradition is the process whereby one country transfers a suspected or convicted criminal to another country. Between these countries extradition is usually regulated by treaties called EXTRADITION TREATIES (สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน).
10
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
กำหนดไว้เกี่ยวกับ อำนาจศาลของประเทศต่างๆ ในการ ปราบปราม และลงโทษ ผู้กระทำผิดทางอาญา ในกรณีที่มีปัญหาว่าด้วย การขัดกัน ระหว่างอำนาจของศาลภายในประเทศและต่างประเทศ ในอีกความหมายหนึ่ง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา คือระบบกฎหมายผสม ระหว่างกฎหมายอาญาภายในประเทศ กับ กฎหมายขัดกัน ในเรื่องอำนาจศาลทางคดีอาญา ที่เรียกว่ากฎหมาย อาญาขัดกัน (Conflict of Criminal Law)โดยอยู่ภายใต้หลัก กฎหมายระหว่างประเทศ ที่เรียกว่าหลักดินแดน และ หลักอธิปไตย
11
INTERNATIONAL LAW Supranational law (กฎหมายเหนือชาติ) or The law of supranational organizations concerns , at present, regional agreements where the Special Distinguishing Quality is that the laws of nations are overridden by them when conflicting with each other. For example, the European or ASEAN communities (AEC)
12
INTERNATIONAL LAW International morality (ธรรมจรรยา) vs. International law Anzilotti / Kelsen International Legal Personality (บุคลิกภาพระหว่างประเทศ) “ Sanction” (ผลการบังคับ) the concept of “consent” (หลักความยินยอม)
13
Sovereignty and Territoriality หลักอธิปไตย และ หลักดินแดน
Sovereignty (อำนาจอธิปไตย) is the quality of having supreme, independent authority over a geographic area, such as a territory. Territoriality (หลักดินแดน)is a principle which a sovereign state can prosecute criminal offences that are committed within its borders
14
ลักษณะเฉพาะของกฎหมายระหว่างประเทศ
Special aspects of international law: ลักษณะเฉพาะของกฎหมายระหว่างประเทศ A) Weak bindings (in comparison with State law) ผูกพันคู่กรณี แต่อ่อนแอกว่า B) Not universally enforced มีลักษณะไม่สมบูรณ์และไม่มั่นคง ไม่มีองค์กรใดที่ได้รับการยอมรับนับถือ ให้ใช้อำนาจเหนือรัฐอื่นๆ C) Operating under “Rule of consent” มีลักษณะเฉพาะเรื่องการยอมรับอำนาจตุลาการ D) No final enforcement (SANCTION) ปราศจากอำนาจบังคับที่เด็ดขาด
15
POSITIVISM VS. NATURALISM สำนักกฎหมายบ้านเมือง กับ สำนักกฎหมายธรรมชาติ
International law theories The “positivists” hold that the rules of international law are issued from the “Will” (เจตจำนง) of the State. Their validity depends ONLY on the fact that States have consented to them. (Regarding the actual behavior of states as the basis of law.) Anzilotti – Italian jurist
16
สำนักกฎหมายบ้านเมือง
สำนักกฎหมายบ้านเมือง ทฤษฎีนี้ถือว่า มูลฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ขึ้นอยู่กับความยินยอมของรัฐ กล่าวคือ ถ้ารัฐใดไม่ยินยอมให้เอากฎหมายระหว่างประเทศมาใช้บังคับ กฎหมายนั้นก็จะนำไปใช้บังคับแก่รัฐนั้นไม่ได้ เราอาจเรียกพวกนี้ว่า พวกที่ถือหลักการแสดงเจตนา (Will) เป็นใหญ่ นักนิติศาสตร์ที่ให้การสนับสนุนทฤษฎีนี้ คือนักกฎหมายอิตาลี ชื่อ อันซีลอตตี้ (ANZIOTTI)
17
THE NATURALISTS The “naturalists” นักกฎหมายธรรมชาติ hold that other States look to the new State to comply (ปฏิบัติตาม) with the whole body of established international law (a part of natural law เหตุผลที่ถูกต้องและมีอยู่แล้วในธรรมชาติ โดยมนุษย์มิได้สร้างขึ้น). Such a new State is bound by international law from the date of its emancipation without the need of an express act of consent. Hugo Grotius., Hans Kelsen - Austrian jurist and philosopher).
18
สำนักกฎหมายธรรมชาติ สำนักกฎหมายธรรมชาติ ทฤษฎีที่ 2นี้ถือว่า กฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับหลักศักดิ์สิทธิแห่งเจตนา แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นอกเหนือจากเจตนา นั่นคือความจำเป็นที่ต้องยอมรับนับถือกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นความจำเป็นในการที่รัฐ จะต้องอยู่รวมกับรัฐอื่นในประชาคมระหว่างประเทศ ดังนั้น แม้ว่ารัฐจะไม่มีเจตนายินยอมก็ตาม แต่ความจำเป็นนี้เอง ทำให้รัฐต้องยอมรับกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเกิดมีกฎหมายระหว่างประเทศขึ้น (นักกฎหมายที่สนับสนุนทฤษฎีนี้คือ เคลเซน (KELSEN) ชาวเวียนนา ออสเตรีย)
19
Nature, Origins and Basis of International Law ต้นกำเนิดและประวัติความเป็นมาของกฎหมายระหว่างประเทศ
The Four Periods of Evolution: a) Ancient Period(สมัยโบราณ) (Up to 5th Century) b)Middle Ages (สมัยกลาง) (After 5th - 14th Century) c) Modern Era(สมัยใหม่) (After 14th– 18Century) d)Postmodern Era(หลังสมัยใหม่) (After 18th Century to - Present)
20
The Ancient/Classic Period
Jus Gentium (The Law of Nations) กฎหมายของชนชาติอื่นๆ Jus Civile (Law for the Roman) กฎหมายโรมัน Hindu Code of Manu กฎหมายมนู Sovereignty / Territoriality หลักอธิปไตย / หลักดินแดน
21
Middle Ages/Early Modern Era
Feudalism : ศักดินา Truce of god : บทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า The Renaissance : ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ The Protestant Reformation : ขบวนการการปฏิรูปศาสนา Treaty of Westphalia 1648 (Modern Era) : สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย
22
Modern/Postmodern Era
Hugo Grotius (1583 – 1645) De Jure Belli Ac Pacis 1625 (on the law of war and peace กฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) Sainte – Alliance พันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ (1815) Mancini, Nationalism (ลัทธิชาตินิยม) Monrole Doctrine (1823)
23
International Law and State law ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในประเทศ
24
Relations between International Law and State law ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศ Dualistic Theory or Dualism ทฤษฎีทวินิยม -Anzilotti Monistic theory or Monism ทฤษฎีเอกนิยม -Kelsen l. Oppenheim International practice
25
Dualism and Monism Dualists
emphasize the difference between national and international law, and require the translation (การแปลง) of the latter into the former.
26
ทฤษฎีทวินิยม ทฤษฎีทวินิยม ทฤษฎีนี้ถือว่า กฎหมายระหว่างประเทศแตกต่างกับกฎหมายภายใน และแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด ข้อสนับสนุนของทฤษฎีนี้ คือ บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศแตกต่างจากบ่อเกิดของกฎหมายภายในโดยสิ้นเชิง มีวัตถุประสงค์ในการใช้บังคับแตกต่างกัน มีความเป็นอิสระในการใช้บังคับแยกจากกัน ขั้นตอนในการใช้บังคับไม่เหมือนกัน
27
MONISM THEORY ทฤษฏีเอกนิยม
Monists assume that the internal and international legal systems form a unity. ทฤษฎีนี้ถือว่า กฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายในเป็นกฎหมายอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยยึดถือความเป็นเอกภาพของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ยังมีความเห็นแตกต่างออกไปเป็น 2 แนวทาง โดยแนวทางแรกถือว่า กฎหมายภายในมีค่าบังคับเหนือกว่า กฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนแนวทางที่สอง ถือว่า กฎหมายระหว่างประเทศมีค่าบังคับเหนือกว่ากฎหมายภายใน
28
Major Points of Conclusion
แม้จะมีการโต้แย้งถึงความถูกต้องสมบูรณ์ของทฤษฎีทั้ง 2 แต่การโต้แย้งนี้มีลักษณะนางวิชาการมากกว่า ทางในปฏิบัติแล้ว ยังไม่อาจตัดสินลงไปอย่างเด็ดขาดว่า ทฤษฎีใดจะถูกต้องกว่ากัน ทฤษฎีเอกนิยม ดูจะมีแนวโน้มในการวางหลักเกณฑ์ที่ว่า กฎหมายภายในที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายระหว่างประเทศ ถือว่าสิ้นผลลงโดยอัตโนมัติ
29
ทฤษฎีทวินิยม มีแนวโน้มที่จะถือว่ากฎหมายภายในนั้น แม้ว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายภายในประเทศ ก็ยังมีผลใช้บังคับได้ ยกเว้นในกรณีเกี่ยวกับปัญหาความรับผิดชอบของรัฐ อันมีลักษณะระหว่างประเทศเท่านั้น ที่ไม่สามารถที่จะบัญญัติกฎหมายภายในมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้
30
SOURCES OF INTERNAIONAL LAW บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ
31
CUSTOM : จารีตประเพณี CUSTOM : จารีตประเพณี - consisted for the most part of customary rules. These rules had generally evolved after a long historical process culminating (bringing to its highest) in their recognition by the international community.
32
จารีตประเพณีระหว่างประเทศ ได้แก่สิ่งซึ่งบรรดารัฐต่างๆ ได้ปฏิบัติต่อกันในลักษณะต่างตอบแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกัน การปฏิบัติดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากผลของกฎหมาย แต่เกิดจากการปฏิบัติที่ยอมรับนับถือกันที่สืบเนื่องต่อๆมา จนกลายเป็นหลักเกณฑ์ที่มีผลผูกพันระหว่างกันขึ้น
33
Treaty in International Law
TREATIES : สนธิสัญญา - A second most important material source of international law. That important is increasing. สนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ความตกลงระหว่างรัฐกับรัฐ ระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ หรือ บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติระหว่างกัน
34
Some other names of a treaty are:
convention, agreement, declaration, act, protocol, memorandum of agreement, exchange of letters/notes, charter, statute, pact, concordat etc.
35
CUSTOM *Custom refers to “international custom”
emphasizing the two requirements of state practice ., a) on the reciprocal basis (เป็นการปฏิบัติซึ่งกันและกัน) and b) the acceptance of practice as obligatory. (เป็นการปฏิบัติในลักษณะจำเป็น)
36
Relation between custom and treaty ความสัมพันธ์ระหว่าจารีตประเพณีและสนธิสัญญา
One can terminate, alter or change the other. 1) สนธิสัญญาอาจบัญญัติขึ้นเพื่อยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขจารีตประเพณี ที่ใช้ปฏิบัติอยู่แต่เดิมได้ 2) ในทางกลับกันจารีตประเพณีก็อาจมีผลเป็นการยกเลิก หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไข สนธิสัญญาได้เช่นกัน และในบางกรณีอาจทำให้สนธิสัญญาปราศจากผลการบังคับใช้โดยสิ้นเชิง Examples: Anti-Slavery Treaty of Vienna Convention 1815 Brussels Conference Act of 1890
37
Sources of international law by Hague Convention 1907 ที่มากฎหมายระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญากรุงเฮก 1907 a) Treaties สนธิสัญญาระหว่างประเทศ b) Customs จารีตประเพณีระหว่างประเทศ c) General principles of law หลักกฎหมายทั่วไป d) Principle of equity หลักความยุติธรรม Judicial decisions or juristic writings คำวินิจฉัยของศาล หรือ ทฤษฎีกฎหมาย
38
General principles of law
Implies to legal principles that are common to a large number of systems of State (internal) law provided that they had in some ways been accepted by States as part of the legal order. หมายถึง หลักกฎหมายทั่วไป ตามกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหลักที่ยอมรับกันในขณะนั้น โดยจะต้องเป็นหลักกฎหมายที่ยอมรับกันในบรรดาอารยประเทศด้วย
39
COMMENTS: The scope of general principles of law to which
Article 38(1) of the Statue of the ICJ refers to, can be argued as unclear and controversial. It may be looked upon as a directive to the Court to fill any gap in the law by referring to the general principles. (Example) PACTA SUNT SERVANDA<’pak-ta-’sunt-ser-’van-da>: “agreements or promises must be kept” ข้อตกลงต้องมีผลผูกพัน
40
PRINCIPLE OF EQUITY: หลักความยุติธรรม
Principle of allowing Courts to use their discretion and apply justice in accordance with natural law. It is generally used in Common Law system. เป็นหลักที่นำมาใช้ในกฎหมายโรมันและกฎหมายจารีตประเพณี เพื่อแก้ไขให้การยึดมั่นแบบของกฎหมายเกินไปลดน้อยลง เช่น 1) เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายผ่อนคลายลง 2) เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีผลสมบูรณ์มากขึ้น
41
EQUITY: The application of the principles of justice to correct or supplement the law
42
“ Ex Aequo et Bono” <eks-e-kwo-et-bo-no> : “According to what is equitable and good” (on the merits of the case), when the matter is to be decided according to principles of equity rather than by points of law. (example of Mohammad Ali case)
43
Judicial decisions/Juristic writings คำพิพากษาของศาลและทฤษฎีกฎหมาย
“Judicial decisions” and “juristic writings” are referred as subsidiary means for the determination of rules of law.
44
เป็นบ่อเกิดที่รองลงไป ไม่ใช่บ่อเกิดโดยตรง ได้แก่ คำวินิจฉัยของศาลระหว่างประเทศ หรือขององค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งทฤษฎีต่างๆ ของนักนิติศาสตร์ หรือนักวิชาการของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อช่วยยืนยันว่ากฎหมายระหว่างประเทศที่ถูกต้องแท้จริง หรือจารีตประเพณีที่ยกขึ้นมาอ้างอิงนั้น มีขอบเขตและความเป็นมาอย่างไร ทั้งยังช่วยในการตีความต่างๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและสมตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์มากยิ่งขึ้น
45
COMPROMIS ความตกลงระหว่างคู่พิพาท
“COMPROMIS” (kom-pruh-mee) means A FORMAL DOCUMENT, executed in common by nations submitting a dispute to arbitration, that defines the matter at issue, the rules of procedures and the powers of the arbitral tribunal and the principles for determining the award.
46
Article 38(1) the 1946 Statute of the I. C. J on sources of I. L
A)international conventions “expressly recognized by the contesting states” B)”international custom, as evidence of a general practice accepted as law” C)”the general principles of the law recognized by civilized nations” (accepted by states as part of the legal order)
47
D)principles of equity and conscience(Ex aequo et bono)
E)”judicial decisions” and “juristic writings” as subsidiary means for the determination of rules of law.
48
ELEMENTS OF STATEHOOD องค์ประกอบของรัฐ
49
Montevideo Convention on Rights and Duties of States1933
ELEMENTS OF STATEHOOD: องค์ประกอบของรัฐ 1) Permanent population; ประชากรในลักษณะที่อยู่รวมกันเป็นประจำ 2) A defined territory; ดินแดนที่กำหนดไว้ 3) A government; รัฐบาล/การปกครอง 4) A capacity to enter into relations with other States (sovereignty ) ความสามารถในการติดต่อกับรัฐอื่นๆ (อำนาจอธิปไตย)
50
A PERMANENT POPULATION
A state is an organization of human beings living together as a community. The population of a state comprises all individuals who, in principle, inhabit the territory in a permanent way. It may consist of nationals and foreigners. As has repeatedly been pointed out by doctrine, the requirement of a population is not necessarily an equivalent of the requirement of nationality.
51
A DEFINED TERRITORY It is required that the State must consist of a certain coherent territory effectively governed and the territory of a State need not be exactly fixed by definite frontiers. The Vatican City (0.44 square kilometer) leads to the conclusion that no minimum size is required for the territory, as this element was never a reason for denying statehood.
52
GOVERNMENT The government is the executive branch of the state and has the role to administer the state uniformly in the following aspects: political, economic, social, cultural, use of natural resources, environmental protection, national defense and security, and foreign affairs.
53
SOVEREIGNTY Sovereignty is the quality of having supreme, independent authority over a territory. It can be found in a power to rule and make law that rests on a political fact for which no purely legal explanation can be provided. The definition of “the Sovereignty” is quite similar to “the Independence”.
54
CONCEPT OF SOVEREIGNTY
A sovereign state is a state with a defined territory on which it exercises INTERNAL (อธิปไตยภายใน) and EXTERNAL (อธิปไตยภายนอก)sovereignty.
55
SOVEREIGNTY……… INTERNAL sovereignty is the relationship between a sovereign power and its own subjects. อำนาจอธิปไตยภายใน หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน EXTERNAL sovereignty concerns the relationship between a sovereign power and other states. อำนาจอธิปไตยภายนอก หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐอื่นๆ (Thomas Hobbs VS. Hans Kelsen on the Definition and scope of “Sovereignty”)
56
INTERNATIONAL LAW Absolute Sovereignty State / Nation
Jean Bodin ( ) De la Republique Thomas Hobbs ( ) Hans Kelsen Supra-National
57
The Different kinds of “States” ประเภทของรัฐ
58
The Different kinds of “States” ประเภทของรัฐ
A) Single State : Type of State which has central (รัฐเดี่ยว) government i.e., Thailand, Japan etc. คือรัฐ ซึ่งรัฐบาลกลางใช้อำนาจทางด้าน นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่เพียงผู้เดียว B) Composite State: Type of State that contains (รัฐรวม) other states (known as sub-states). แบ่งได้เป็น 3 ประเภท :
59
TYPES OF COMPOSITE STATE
1) Federal States สหพันธรัฐ (A real State at international law) 2) Confederation of States สมาพันธรัฐ (Not a real State at international law as the individual States maintain their international position.) 3) ASSOCIATION OF STATES สมาคมรัฐ
60
สหพันธรัฐ สหพันธรัฐ มีลักษณะแตกต่างจากรัฐเดี่ยวหรือเอกรัฐ คือดินแดนที่เข้ามารวมอยู่ในดินแดนสหพันธรัฐ มีอำนาจในการปกครองตนเอง ในลักษณะที่เป็นอิสระยิ่งกว่าจังหวัด ซึ่งเป็นดินแดนในความปกครองในรูปรัฐเดี่ยว ดินแดนที่มีการปกครองดินแดนตนเองในสหพันธรัฐเรียกว่า มลรัฐ (State) ซึ่งแม้จะมีความเป็นอิสระอย่างมากในการปกครองตนเองก็จริง แต่ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับสหพันธรัฐโดยเฉพาะในด้านกิจการต่างประเทศ ส่วนในด้านกิจการภายในจะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกันไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญของสหพันธ์
61
Elements of Federal States องค์ประกอบของสหพันธรัฐ
A) Two levels of Governments i.e., Federal and State ones (รัฐบาลกลางและมณฑลรัฐ) B) Bound together from among former independent States by a new Constitution. (รวมตัวกันจากรัฐเอกราชเดิมโดยรัฐธรรมนูญใหม่)
62
Federal States…….. C) Federal Government and State Governments have loose relationships ความสัมพันธ์อย่างหลวมๆ (based on what are written in the Constitution) D )Basically, the Federal Government takes care of external affairs (กิจการระหว่างประเทศ) such as foreign relation, defense and trade issues while States Governments take care of their domestic กิจการภายในมลรัฐ (states) affairs.
63
Confederation of states
A confederation is constituted by a number of independent States bound together by an international treaty(pact/กติกา) into a Union with organs of Government extending over the member States. The Union is set up for the purpose of maintaining the EXTERNAL and INTERNAL independence of all.
64
สมาพันธรัฐ สมาพันธรัฐ หมายถึง การที่รัฐอธิปไตยตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป ซึ่งแต่ละรัฐต่างมีฐานะเป็นบุคคลระหว่างประเทศได้มีความสัมพันธ์กัน โดยอยู่ภายใต้ประมุขหรือผู้นำเดียวกัน เนื่องจากการรวมกันในลักษณะดังกล่าว ไม่ถือว่าสูญเสียบุคลิกภาพระหว่างประเทศ ดังนั้นรัฐสมาชิกที่รวมกันต่างก็ยังเป็นรัฐเอกราช จึงยังคงมีสภาพ เป็นบุคคลระหว่างประเทศในลักษณะที่แยกกันอยู่
65
ลักษณะสำคัญของสมาพันธรัฐ
เนื่องจากรัฐที่รวมอยู่ในสมาพันธ์ยังคงมีสภาพเป็นบุคคลระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงยังคงรักษาบุคลิกภาพที่สำคัญ ประการ ก)สิทธิในการทำสงคราม ข)สิทธิในการทำสนธิสัญญา ค)สิทธิในการรับและส่งทูต สมาพันธรัฐ รวมกันเข้าโดยการทำกติกา (Pact) ซึ่งมีลักษณะเป็นสนธิสัญญา
66
ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาพันธรัฐกับเอกชน สมาพันธรัฐไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเอกชน ซึ่งแตกต่างจากความสัมพันธ์ในระบบสหพันธรัฐ (Federal System) โดยจะต้องดำเนินการผ่านทางสมาชิกขอสมาพันธ์ ซึ่งเอกชนผู้นั้นอยู่ในบังคับ
67
ผลที่ตามมาจากการเข้ารวมตัวเป็นสมาพันธรัฐ
รัฐสมาชิกที่รวมกันโดยอาศัยกติกาดังกล่าว อาจบอกเลิกกติกาและแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐ เพื่อกลับมีเสรีภาพอย่างเดิมได้ การเข้าเป็นสมาชิกสมาพันธรัฐไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อความเป็นเอกราชและการปกครองตามรัฐธรรมนูญของรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ ดังนั้นการรวมตัวเข้าอยู่ในสมาพันธ์ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสมาชิกนั้นๆ รัฐสมาชิกของสมาพันธ์มีความเสมอภาคกัน คือ รัฐใดรัฐหนึ่งจะมีสิทธิพิเศษหรือมีอำนาจเหนือกว่าอีกรัฐหนึ่งไม่ได้
68
ASSOCIATION OF STATES สมาคมรัฐ
สมาคมรัฐ หมายถึง การที่รัฐตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปรวมตัวกันเข้าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แบ่งออกได้เป็นหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการรวมตัว และการยอมรับอำนาจของรัฐต่างๆ ที่เข้ามารวมตัวกันว่ามีลักษณะอย่างไร
69
INTERNATIONAL LAW 2) French Empire จักรวรรดิฝรั่งเศส
C) Association of States: 1) British Empire จักรวรรดินิยมอังกฤษ >Commonwealth of Nations ประเทศในเครือจักรภพ 2) French Empire จักรวรรดิฝรั่งเศส >Union of France สหภาพฝรั่งเศส > Franco-African Community ประชาคมฝรั่งเศส-แอฟฟริกา
70
INTERNATIONAL LAW Neutralized States รัฐเป็นกลาง
(Switzerland and Austria) A neutralized State is one whose independence and political and territorial integrity are guaranteed PERMANENTLY (อย่างถาวร) by a collective agreement of Great Powers.
71
รัฐเป็นกลาง รัฐเป็นกลาง ได้แก่ รัฐซึ่งเอกราชและบูรณภาพในอนาคต ได้รับการประกันโดยอนุสัญญาระหว่างประเทศภายใต้เงื่อนไขที่ว่า รัฐที่เป็นกลางย่อมผูกพันตนเองในอันที่จะไม่ใช้กำลังอาวุธต่อรัฐอื่น เว้นแต่ในกรณีป้องกันตนเองจากการถูกโจมตี และต้องไม่เข้าช่วยเหลือรัฐอื่นที่เป็นคู่สงคราม ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
72
NEUTRALIZED STATE……… It is also subject to the condition that a neutralized State will never take up arms against another States - except to defend itself- and will never enter into treaties of alliance, etc., which may compromise its impartiality or lead it into war. รัฐเป็นกลางอยู่ภายใต้เงื่อนไข ซึ่งจะต้องปฏิเสธที่จะไม่ช่วยรัฐอื่นใดในการทำสงคราม แต่ยังคงมีสิทธิใช้กำลังต่อต้านการรุกรานใดๆ ซึ่งกระทบกระเทือนต่อรัฐตน
73
The obligations of a neutralized State are as follows: เงื่อนไขของรัฐเป็นกลาง
a) Not to engage in hostilities except in self-defense; ไม่เกี่ยวข้องในการพิพาท ยกเว้นในกรณีป้องกันตนเอง b) To abstain from agreements involving the risk of hostilities, or granting of military bases, or use of its territory for military purposes; งดเว้นเข้าร่วมในสนธิสัญญาที่เสี่ยงต่อการพิพาท การยอมให้มีฐานทัพหรือใช้ดินแดนของตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร
74
CONTINUE…….. เคารพกฎเกณฑ์ความเป็นกลางในสงครามระหว่างรัฐ
c) To obey the rules of neutrality during a war between other States; เคารพกฎเกณฑ์ความเป็นกลางในสงครามระหว่างรัฐ d) Not to allow foreign interference in its internal affairs ไม่ยินยอมให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงในกิจการภายในของตน
75
Neutralized state (รัฐเป็นกลาง) differs from neutrality ความเป็นกลาง : 1) รัฐเป็นกลางต้องมีลักษณะความเป็นกลางถาวร ส่วนความเป็นกลางที่รัฐใดรัฐหนึ่งประกาศนั้นมีลักษณะชั่วคราวและจะสิ้นสุดลง เมื่อสงครามระหว่างรัฐอื่นยุติลง 2) รัฐเป็นกลางใช้เฉพาะกับรัฐเท่านั้น แต่ความเป็นกลางอาจใช้บังคับกับดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐ ที่ได้มีการประกาศให้เป็นกลางก็ได้ 3) รัฐเป็นกลางก่อตั้งขึ้นในรูปของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ โดยรัฐอื่นได้ร่วมลงนามยอมรับรู้หรือประกันความเป็นกลางของรัฐนั้น แต่ความเป็นกลางของรัฐใดรัฐหนึ่ง ไม่ได้เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าว แต่เกิดขึ้นจากการประกาศของรัฐนั้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียว
76
VATICAN CITY STATE รัฐวาติกัน
Vatican City was established by the Treaty of Lateran of 1929 signed with the Kingdom of Italy. It is ruled by the Bishop of Rome – the Pope. It is a sovereign State with the area of approximately of 110 acres (the smallest State in the world) with the population of just over 800 who are mainly Catholic clergymen of various national origins. It has been recognized by other States under the international law.
77
รัฐวาติกัน รัฐวาติกัน เป็นรัฐที่มีคุณสมบัติพิเศษทางศาสนา โดยไม่มีดินแดนและประชาชน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐแต่กฎหมายระหว่างประเทศ ได้อนุโลมให้เป็นรัฐในกรณีพิเศษ คือ มีลักษณะเป็นกลุ่มเอกเทศไม่ร่วมอยู่ในดินแดนของรัฐที่เข้าไปตั้งอยู่ มีลักษณะการปกครองที่อิสระ ไม่อยู่ภายใต้อาณัติหรือภายใต้บังคับหรือการช่วยเหลือจากรัฐที่เข้าไปตั้งอยู่แต่ประการใด ประมุขของรัฐวาติกัน คือ พระสันตะปาปา จะมีฐานะเช่นเดียวกับประมุขของรัฐอธิปไตยทั้งหลาย
78
Status of Non-Self-Governing Territory under UN Charter ดินแดนในภาวะทรัสตี
The United Nations Charter accords a special status to colonial territories, possessions, and dependencies under general designation of “non-self-governing territories” later known as Territories under Trusteeship.
79
MORE….. These trust territories were mainly former mandates (รัฐในอาณัติ) of the League of Nations or territories taken from nations defeated at the end of World War II. They have all now attained independence either as separate States or joining neighboring independent States.
80
การก่อกำเนิดและการสิ้นสภาพของรัฐ
The Origin of States and The Extinction of States การก่อกำเนิดและการสิ้นสภาพของรัฐ
81
The Origins: A) Acquiring an unoccupied land (การยึดครองดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ) i.e., the Liberian Republic. B) Separating from existing states (การแยกดินแดนออกจากรัฐเดิม) i.e., Singapore
82
Charles Rousseau’s Theory of Recognition of States: การให้การรับรองรัฐที่ก่อกำเนิดขึ้นใหม่ ก็เพื่อทำให้รัฐใหม่นั้นเข้ารวมอยู่ในสังคมระหว่างประเทศตามกฎหมาย
83
General Theories of Recognition
ทฤษฎีทั่วไปเรื่องการรับรอง คือ การรับรอง เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีความมุ่งหมายที่จะทำให้การก่อรูปทางการเมืองได้แก่การตั้งรัฐขึ้นใหม่ หรือการตั้งรัฐบาลใหม่เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย Classical Doctrine: ทฤษฎีดั้งเดิม คือ การรับรองตามกฎหมายระหว่างประเทศมีการผสม ดังนี้ :
84
RECOGNITION a) Recognition as a political act
ทฤษฎีการรับรองที่เป็นผลกระทำทางการเมือง หมายถึง วิธีการรับรองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารับรองของรัฐที่รับรอง ต่อรัฐที่เกิดขึ้นใหม่ b) Recognition as a legal act ทฤษฎีการรับรองที่เป็นผลกระทำทางกฎหมาย หมายถึง วิธีการรับรองที่มุ่งหมายให้สิ่งที่มีผลในทางปฏิบัติอยู่แล้วกลายมามีผลทางกฎหมาย
85
Major Categories of Recognitions ประเภทของการรับรอง
- Recognition of States การรับรองรัฐ - Recognition of Governments การรับรองรัฐบาล - Recognition of Belligerency การรับรองผู้เป็นฝ่ายในสงคราม - Recognition of Insurgency การรับรองฝ่ายกบฏ
86
THE POLITICAL ACT OF RECOGNITION means that the recognizing state EXPRESSES (แสดงเจตนา) the willingness to enter into relations with the recognized state. This recognition can be brought about either by a unilateral declaration of the recognizing state or by a bilateral transaction of both states. (เป็นการกระทำตามความพึงพอใจ) Political recognition may be conditional or unconditional. (เป็นการกระทำที่อาจมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาก็ได้)
87
A legal act of recognition
The legal act of recognition refers to the Establishment of a fact (การยอมรับสถานะความเป็นจริง ซึ่งหมายถึง ว่าถ้ารัฐใหม่นั้นประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญๆ ที่ขาดไม่ได้ในการที่จะดำรงอยู่เป็นรัฐ); it is NOT the expression of a will. Its effect is that the recognized state becomes (in its relation with the recognizing state)itself a state.
88
PRESENT THEORIES
89
Constitutive Theory ทฤษฎีก่อตั้ง - It is the act of recognition alone which creates statehood or a new Government with status in the international sphere. ทฤษฎีนี้ถือว่า การรับรองเท่านั้นที่จะทำให้รัฐที่เกิดขึ้นใหม่มีสภาพเป็นรัฐและมีฐานะเป็นบุคคลระหว่างประเทศ
90
Declaratory or Evidentiary Theory ทฤษฎีประกาศ: Statehood or the authority of the new
government exists as such prior to an independent of recognition. The act of recognition is merely a formal acknowledgement of an established situation of fact. ทฤษฎีนี้ถือว่า สภาพของรัฐหรืออำนาจของรัฐบาลได้เกิดขึ้นแล้ว ถ้ารัฐนั้นมีปัจจัยของการเป็นรัฐโดยบริบูรณ์ การรับรองมีลักษณะเป็นเพียงการยอมรับรู้อย่างเป็นทางการของการก่อตั้งรัฐใหม่ ตามสถานการณ์ที่เป็นจริงเท่านั้น
91
Recognition of state in practice:
A)Between the parent State and the separating State: ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเดิมและรัฐใหม่ที่แยกตัวออกไป -Regarded as internal matter between the two. B)Between the separating State and other States: ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่แยกตัวออกไปและรัฐอื่นๆ -Time factor and the obligation.
92
Stimson Doctrine ลัทธิสติมสัน - (Henry Stimson)
is a policy of the US (in 1932) of non-recognition of international territorial changes that was executed by force. ลัทธิสติมสัน คือ หลักเกณฑ์ที่ว่า รัฐเก่ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะปฏิเสธไม่ให้การรับรองรัฐใหม่ ถ้าปรากฏว่าการก่อตั้งรัฐใหม่นั้นเป็นไปโดยไม่ชอบเช่น ก่อตั้งด้วยวิธีการรุนแรงหรือการเข้ายึดครองดินแดน
93
International Law “ RETRO ACTIVE ACTION” การมีผลย้อนหลัง –relates back to the date of inception of the particular State or Government concerned. DIRECT AND IMPLIED RECOGNITION: การรับรองโดยตรง IMPLIED RECOGNITION การรับรองโดยปริยาย recognition.
94
Recognition of Governments การรับรองรัฐบาล
Is required ONLY when a new Government comes to power by illegal means (วิธีการนอกกฎหมาย) such as a coup d’etat, or a revolution. ปัญหาในการรับรองรัฐบาลเกิดขึ้น เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ โดยผลแห่งการปฏิวัติ ซึ่งเป็นวิธีการนอกกฎหมายไม่ว่าการปฏิวัตินั้นจะเรียกชื่อว่าอะไรก็ตาม ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยใช้กำลัง
95
International Law Tobar Doctrine: Recognition of a government should only be granted when that administration came to power by legitimate means. ลัทธิTobar หมายถึง การที่รัฐต้องงดเว้นไม่ให้การรับรองรัฐบาลต่างประเทศ ถ้ารัฐบาลนั้นได้ตั้งขึ้นโดยการใช้กำลัง กล่าวคือรัฐบาลที่จะได้การรับรองรัฐ ควรเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
96
Wilson Doctrine ( ) It is called “Missionary diplomacy”. It was Woodrow Wilson’s policy of the United States’ moral responsibility to deny recognition to any Latin American government that was view as hostile to American interests. หมายถึง นโยบายของสหรัฐ ในการที่จะปฏิเสธการให้การรับรองรัฐบาลของรัฐในลาตินอเมริกา ที่ไม่เป็นมิตรต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ
97
The differences between De Facto and De Jure Government ความแตกต่างระหว่างรัฐบาลโดยพฤตินัย และ รัฐบาลโดยนิตินัย A De Facto (a Latin expression that means by the fact or in practice) Government is the one in actual possession of authority and control of the state. It comes into, or remains in power by means not provided for in the country’s constitution, such as a coup d’ etat, revolution or suspension of the constitution. รัฐบาลโดยนิตินัย ได้แก่รัฐบาลที่เกิดขึ้น โดยผลของการละเมิดต่อความถูกต้องแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเกิดขึ้นจากการที่ไม่มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยปกติมักจะเกิดจากการใช้กำลัง
98
International Law A De Jure (which means “concerning the law”) Government is the legal, legitimate government of a state and is so recognized by other states. รัฐบาลโดยนิตินัย ได้แก่ รัฐบาลที่เกิดขึ้นจากความถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย เช่น จากการที่มีการเลือกตั้งโดยเสรี ถ้าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น
99
Elements of De facto/De jure Govt
A) Effectiveness Factor หลักสำฤทธิ์ผลในการปกครอง : Must be able to enforce orders to state officials. B.1) Irregularity Factor หลักความไม่ถูกต้องตามระบอบการปกครอง : (for a de facto Government) Acquiring power by illegitimate means (at least at the beginning!) B.2) Regularity Factor หลักความถูกต้องตามระบอบการปกครอง : (for a de jure Government) : Acquiring power by legitimate means.
100
Transition from de facto to de jure government การแปรสภาพจากรัฐบาลโดยพฤตินัยมาเป็นรัฐบาลโดยนิตินัย
การมีอำนาจปกครองที่แท้จริง: a) “Status of Enemy” with former legitimate government has ended; สถานะศัตรูกับรัฐบาลเดิมที่ชอบด้วยกฎหมายได้สิ้นสุดลง b) New government has sole power over the land. รัฐบาลใหม่มีอำนาจเด็ดขาดเหนือดินแดนแต่เพียงผู้เดียว
101
“De Facto Governments”
Special status of de facto Governments in International Law: A) The ability to execute treaties with other States ความสามารถในการทำสนธิสัญญากับรัฐอื่น B) Being accountable to wrongful acts resulting in damages to other States ความรับผิดในผลของการกระทำละเมิดต่อรัฐอื่น C) Having the rights to establish diplomatic relations with other States ความสามารถในการมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐอื่น
102
Similarities and Differences between Recognition of States/Government: ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างการรับรองรัฐและการรับรองรัฐบาล Difference meanings of transition from “ De facto” to “De jure ” status between State and Government. เมื่อรัฐมีสภาพเป็นรัฐโดยพฤตินัยแล้ว ย่อมมีสภาพเป็นโดยนิตินัยด้วยเสมอ B)The recognition of a State always include its Government at the time. การให้การรับรองรัฐใหม่ย่อมรวมถึงการให้การรับรองรับบาลที่มีอำนาจอยู่ในขณะนั้นด้วย C) The changes of Government in a State do not effect the already recognized status of that State. การให้การรับรองรัฐยังมีผลอยู่เสมอแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลขึ้นในรัฐนั้นๆในภายหลังก็ตาม
103
Recognition of Belligerency การรับรองผู้เป็นฝ่ายในสงคราม
The recognition of belligerency (the state of being engaged in warfare like conflict ) is merely an assertion of the fact that the rebels are in a position to exercise authority over the territory in their possession. การรับรองผู้เป็นฝ่ายในสงคราม ได้แก่ การให้การรับรองต่อกองทัพของฝ่ายต่อต้านในสิทธิทั้งหลายที่จำเป็นและพึ่งมีในการทำสงคราม การให้การรับรองนี้จะมีผลทำให้ฝ่ายที่ได้รับการรับรองได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับเป็นรัฐภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
104
and….. ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่อต้าน และรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย ผลของการรับรองที่สำคัญได้แก่ การนำกฎหมายระหว่างประเทศภาคสงครามมาใช้บังคับ กล่าวคือ ฝ่ายต่อต้านมีสิทธิได้รับความคุ้มครองและได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับเฉลยศึกในสงคราม ในด้านความสัมพันธ์ของคู่สงครามกับรัฐภายนอกแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ คือทั้งสองฝ่ายอาจใช้สิทธิของคู่สงครามได้ เช่น การยึดทรัพย์เฉลยหรือการปิดล้อมท่าเรือ ในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐภายนอก รัฐภายนอกจะต้องงดเว้นที่จะช่วยเหลือผู้เป็นฝ่ายในสงครามทั้งสองฝ่าย กล่าวคือต้องวางตัวเป็นกลางและไม่เข้าแทรกแซงในการรบนั้น
105
Cases in point: a) France involvement in the American revolution against the British in 1776, b) US involvement in the colonial wars of Spain in South America in 1822 and c) American civil war d) US supporting the rebels in Syria 2011. “Casus belli กรณีหรือการกระทำที่อาจก่อให้เกิดสงครามได้” Latin expression meaning an act or situation provoking or justifying war.
106
Recognition of Insurgency การรับรองฝ่ายกบฏ
การรับรองฝ่ายกบฏ คือการรับรอฝ่ายที่มีกำลังเฉพาะ เช่นทางเรือและไม่สามารถที่จะจัดตั้งเจ้าหน้าที่ทางการปกครองและทางทหารเป็นการถาวรได้ จึงไม่ได้รับการรับรองเช่นเดียวกับการให้การรับรองผู้เป็นฝ่ายทางสงคราม * applying in revolutionary wars, allowing parties in conflict to apply international law and forcing neutrality stand on third party’s involvement
107
More…. 1) It is done mainly for humanitarian reason. เหตุผลทางด้านมนุษยธรรม 2) The acts by the insurgent are not binding the parent government for the liability to other States. การกระทำของฝ่ายกบฏจะไม่ผูกพันรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย
108
The Extinction of States: การสิ้นสภาพของรัฐ 1) Annexation เมื่อรัฐถูกผนวกดินแดนเข้ากับรัฐอื่นโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าโดยความสมัครใจหรือถูกบังคับก็ตาม (defeated in colonial wars, or by treaties) 2) Transformation to a Federal state or new states i.e., the former Soviet Union การที่รัฐเข้าร่วมเป็นสหพันธรัฐหรือกลายเป็นรัฐใหม่ขึ้น
109
สิทธิขั้นพื้นฐานและหน้าที่ของรัฐ
110
Fundamental Rights and Duties of States
Thomas, Joseph Lawrence ’s Principles of International Law Natural Endowments กฎหมายธรรมชาติ/Morality หลักธรรมจรรยา l. Oppenheim’s Qualification of state International Inquiry กระบวนการตรวจสอบระหว่างประเทศ Arbitration อนุญาโตตุลาการ/ Absolute เด็ดขาด Seclusion Theory ทฤษฏีปิดประตู
111
FUNDAMENTAL RIGHTS Fundamental rights are different than “Other rights สิทธิโดยทั่วไป” as the former needs not be created by any treaties
112
สิทธิขั้นมูลฐาน สิทธิขั้นมูลฐานของรัฐ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายธรรมชาติ ไม่ได้มีโดยเด็ดขาดแต่ต้องอยู่ใต้ข้อจำกัด 2 ประการ กล่าวคือ ข้อแรก การใช้สิทธิเหล่านี้ต้อองเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย นั่นคือในขณะที่จะใช้สิทธิขั้นมูลฐานอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น จะต้องปรากฏว่ามีเหตุการณ์ตามกฎหมายอันทำให้ต้องใช้สิทธิเช่นนั้น ข้อที่สอง การใช้สิทธิขั้นมูลฐาน จะต้องคำนึงถึงหน้าที่ต่อสิทธินั้น ด้วยโดยนัยดังกล่าว หมายความว่าการที่รัฐหนึ่ง จะใช้สิทธิขั้นมูลฐานใด ก็ต้องเคารพต่อสิทธิขั้นมูลฐานเดียวกันนั้น ที่รัฐอื่นมีอยู่ด้วย
113
INTERNATIONAL LAW Lawrence (Thomas joseph)’s five basic fundamental rights are: (สิทธิขั้นมูลฐานของรัฐ 5 ประการ คือ) a) Right of Existence สิทธิในการดำรงชาติ b) Right of Independence สิทธิในเอกราช c) Right of Equality สิทธิในความเสมอภาค d) Right of Jurisdiction สิทธิในอำนาจเหนืออาณาเขต e) Right of Intercourse สิทธิในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
114
Right of Existence สิทธิในการดำรงชาติ
สิทธิในการดำรงชาติ คือสิทธิที่เป็นมูลฐานที่สุด ในบรรดาสิทธิขั้นมูลฐานทั้งหลายของรัฐ อาจกล่าวได้ว่าสิทธินี้เป็นที่มาของบรรดาสิทธิขั้นพื้นฐานทั้งหมด หมายความว่า ในทางข้อเท็จจริง เมื่อรัฐหนึ่งได้ก่อกำเนิดขึ้นมาแล้ว ย่อมต้องการดำรงอยู่และขยายตัว (พัฒนา) พฤติการณ์เช่นนี้กล่าวได้ว่าเป็นอุปนิสัยของรัฐ รัฐจึงอาจจัดตั้งองค์กรที่จำเป็นขึ้น และดำเนินการตามมาตรการที่เหมาะสม เพื่อการดำรงอยู่และการเติบโต
115
Right of Independence สิทธิในเอกราช
สิทธิในเอกราช หมายถึง เสรีภาพในการกำหนดเจตนา ความต้องการ (Will) โดยใช้สิทธิภายในขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยปราศจากการควบคุมทางการเมืองจากภายนอก การกำหนดเจตนาอาจจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ต่อภายในและต่อภายนอก ต่อภายในหมายถึง ความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดในทางการเมือง (การปกครอง)และต่อภายนอกก็คือ เสรีภาพโดยสมบูรณ์ในความสัมพันธ์ (Intercourse) กับรัฐอื่น
116
Right of Equality สิทธิในความเสมอภาค
สิทธิในความเสมอภาค หมายถึง การที่รัฐทั้งหลายได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายระหว่างประเทศทั้งสิ้น ความเสมอภาคนี้ถือความเสมอภาคในทางกฎหมาย ไม่ใช่ความเสมอภาคในทางการเมือง
117
Right of Jurisdiction สิทธิในอำนาจเหนืออาณาเขต
สิทธิในอำนาจเหนืออาณาเขต หมายถึง สิทธิจัดการของรัฐเหนือบุคคลและทรัพย์ ภายในอาณาเขตของรัฐนั้น หรืออีกนัยหนึ่ง ขอบเขตอำนาจนี้จะเท่ากับอาณาเขตของรัฐหนึ่ง สิทธิอำนาจเหนืออาณาเขต จะมีลักษณะเฉพาะ (Exclusive) ภายใต้ข้อกำหนดพิเศษตามจารีตประเพณี และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ แต่อาจมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง เช่น เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (Extraterritoriality)
118
INTERNATIONAL LAW Right of Jurisdiction is “Exclusive ลักษณะเฉพาะ”
“Ex-territoriality / Extraterritoriality สิทธิสภาพนอกอาณาเขต”(immunity from the jurisdiction of a state, granted to foreign diplomatic officials; the applicability or exercise of sovereign’s laws outside its territory) -Diplomatic Immunity ความคุ้มครองทางการทูต Seclusion Theory -no relationship with any states)
119
Right of Intercourse สิทธิในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สิทธิในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น สิทธิในการพาณิชย์ การแลกเปลี่ยนทูต และการทำสนธิสัญญากับรัฐอื่น การใช้สิทธินี้ต้องขึ้นอยู่กับความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย แต่การที่รัฐจะปฏิเสธไม่มีความสัมพันธ์กับรัฐใดๆเลย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทั้งในทางปฏิบัติและในทางกฎหมาย โดยรัฐไม่สามารถยึดถือทฤษฎีปิดประตู (Seclusion) ได้
120
Related Fundamental Rights
- Right of Self-Preservation สิทธิในการรักษาตนเอง - Right of Self-Defense สิทธิในการป้องกันตนเอง Right of Property สิทธิในทรัพย์สิน Right to Protect Nationals สิทธิคุ้มกันคนในชาติ
121
Rights of self-preservation สิทธิในการรักษาตนเอง
“The right to Self Preservation” is a minor fundamental right for the role that it has played in political thought and in political history. The right is for applying necessary measurements in NORMAL (ปกติ) situation to maintain State’s existence and developments .
122
สิทธิในการรักษาตนเอง
สิทธิในการรักษาตนเอง เป็นสิทธิในการใช้มาตรการที่จำเป็นในยามปกติเพื่อรักษาความดำรงอยู่และการพัฒนา ซึ่งมีวิธีการที่สำคัญ ประการ คือ การเสริมสร้างกำลังป้องกันประเทศประการหนึ่ง และการพัฒนาเศรษฐกิจอีกประการหนึ่ง
123
Rights of self-defense สิทธิในการป้องกันตนเอง
The right to self-defense is a cornerstone of international law. Article 42 of the UN Charter(3) states that the right to self defense is fundamental to the system of states. It is recognized and protected by Article 51 of the UN Charter.
124
International Law สิทธิในการป้องกันตนเอง
The use of The Right of Self-Defense is for an emergency (ฉุกเฉิน) situation. สิทธิในการป้องกันตนเอง รัฐทั้งหลาย ย่อมทรงไว้ซึ่ง สิทธิ ในการรักษาความสมบูรณ์ของดินแดน และความละเมิดไม่ได้ เมื่อมีรัฐอื่นรุกรานสิทธิเช่นนี้ มีฐานะเหนือกว่าหน้าที่ทั้งหลายเหนือรัฐอื่น และแม้ว่ารัฐหนึ่งจะได้ทำ “สนธิสัญญาสละสงคราม” ก็หาได้สละสิทธิป้องกันตนเองไม่
125
Acts of Aggression การรุกราน
การรุกราน คือการที่รัฐลงมือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนในกรณีดังต่อไปนี้… (Sometimes, they are called “Measures Short of War วิธีการรองจากสงคราม” meaning a clash of lower intensity) 1. Declaration of war upon another State. การประกาศสงครามกับรัฐอื่น 2. Invasion by its armed forces without a declaration of war, of the territory of another State. การใช้กำลังรุกรานเข้าไปในดินแดนของรัฐอื่น โดยไม่ได้ประกาศสงคราม
126
3. Attack by its land, naval or air forces without a declaration of war, on the territory, vessels or aircraft of another State.การใช้กำลังทหารบก เรือ หรืออากาศ โจมตีดินแดนเรือรบเรืออากาศยาน โดยไม่ได้ประกาศสงคราม 4. Naval blockade of the coasts or ports of another State. การกระทำการปิดฝั่งทะเลหรือท่าเรือของรัฐอื่นโดยกำลังทหาร 5. Provision of support to armed bands formed in its territory for the purpose of invading the territory of another State. การสนับสนุนกองกำลังที่ร่วมกันก่อตั้งภายในดินแดนของรัฐ เพื่อรุกรานรัฐอื่น
127
General Treaty for Renunciation of War สนธิสัญญาสละสงคราม
The Kellogg-Briand Pact was a 1928 international agreement in which signatory states promised not to use war to resolve whatever nature or of whatever origin they may be, which may arise among them. (signed by Germany, France and the United States on August 27, 1928)
128
International Law General Treaty for the Renunciation of war (Kellogg-Briand Pact of August also know as the Pact of Paris) It was an international agreement in which signatory states promised not to use war to resolve “disputes or conflicts” which may arise among them.
129
Daniel Webster’s definition of legal self defense คำจำกัดความของการป้องกันตนเองที่ชอบด้วยกฎหมาย
Necessity of Self-Defense, Instant, Overwhelming เมื่อมีความจำเป็นต้องป้องกันตัวเองในปัจจุบันทันด้วยโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ Leaving no choice of means, and no moment for Deliberation ต้องไม่อาจเลือกใช้วิธีการและไม่มีโอกาสไตร่ตรองไว้ก่อน
130
the act of self-defense must be justified by the necessity of self-defense, must be limited by that necessity, and kept clearly within it. ต้องไม่เกินขอบเขตแห่งความจำเป็นเช่นนั้นด้วย
131
Different Types of Self Defense ประเภทของการป้องกันตนเอง
A) Self defense against DIRECT aggression from other States การป้องกันตนเองต่อการรุกรานโดยตรงจากรัฐอื่น B) Self defense against INDIRECT aggression from other States (Anticipatory Self-Defense-ASD) การป้องกันตนเองโดยทางอ้อม C) Self defense against non-state armed forces in another State การป้องกันตนเองต่อการรุกรานของคณะบุคคลที่ไม่ใช่รัฐ ในดินแดนของรัฐอื่น D) Self defense in International Waters( High Sea) การป้องกันตนเองในทะเลหลวง
132
INTERNATIONAL LAW/ CASES:
A)Treaty of Tilsit of July 7, 1807 Between France & Russia (Kulsrud, c.j. “The Seizure of the Danish Fleet 1807”) (A British pre-emptive attack) B) “The Caroline Case”(Canadian Rebellion of 1837) Niagara River, Navy island, Steamboat C) “The Virginius Incident of 1873”
133
Seizure of the Danish Fleet 1807 (Against indirect aggression)
II. Anticipatory Self-Defense- ASD (against other states) การป้องกันตนเองโดยทางอ้อม The Battle of Copenhagen (or the Bombardment of Copenhagen) (16 August – 5 September 1807) was a British bombardment of Copenhagen in order to seize the Dano-Norwegian fleet, during the Napoleonic Wars. (The attack gave rise to the term to Copenhagenize.)s
134
TREATY OF TILSIT, 1807 (Secret agreement between France and Russia)
The treaty ended war between Imperial Russia and the French Empire and began an alliance between the two empires that rendered the rest of continental Europe almost powerless. The two countries secretly agreed to aid each other in disputes. In the three weeks between 16 August and 5 September 1807, the British landed, assaulted and captured the city of Copenhagen before making off with the Danish fleet.
135
III. Anticipatory Self-Defense –ASD (against non-state actor) การป้องกันตนเองต่อการรุกรานของคณะบุคคลที่ไม่ใช่รัฐ ในดินแดนของรัฐอื่น The imminent threat is a standard criterion in international law, developed by Daniel Webster as he litigated the Caroline affair, described as being "instant, overwhelming, and leaving no choice of means, and no moment for deliberation." The criteria are used in the international law justification of preemptive self-defense: self-defense without being physically attacked first.
136
THE CAROLINE CASE In 1837, settlers in Canada rebelled against the British colonial government. The United States remained officially neutral about the rebellion, but American sympathizers assisted the rebels with men and supplies, transported by a steamboat named the Caroline. In response, a British force from Canada entered United States territory at night, seized the Caroline, set the ship on fire, and sent it over Niagara falls. At least one American was killed.[1] The British claimed that the attack was an act of self-defense.
137
PRE-EMPTIVE SELF DEFENSE การป้องกันตนเองล่วงหน้า
The concept of “Pre-Emptive” self defense is limited by requirement that the threat be imminent(ภยันตรายที่แท้จริง). Lawful “Pre-Emptive” self defense is simply the act of landing the first-blow in a situation that has reached a point of no hope for de-escalation or escape.
138
The terms "anticipatory self-defense", "preemptive self-defense" and "preemption" traditionally refers to a state's right to strike first in self-defense when faced with imminent attack. In order to justify such an action, the act must have two distinct requirements: A)The use of force must be necessary because the threat is imminent and thus pursuing peaceful alternatives is not an option (necessity) B)The response must be proportionate to the threat (proportionality: พอสมควรแก่เหตุ).
139
The Virginius Incident of 1873(Case of self defense in the High Sea) IV) การใช้สิทธิป้องกันตนเองในทะเลหลวง The VIRGINIUS was a steamship that was used by Cuban rebels and their American collaborators during the first half of the Ten Years’ War ( ), Cuba’s unsuccessful first attempt to fight for independence from Spain. Spanish authorities captured the vessel in the High Sea and executed several of its crew members (including American and British citizens) in 1873.
140
TERRORISM การก่อการร้าย
Terrorism is essentially a political act. It is meant to inflict dramatic and deadly injury on civilians and to create an atmosphere of fear, generally for a political or ideological purpose. การก่อการร้าย คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดภยันตรายอย่างกะทันหัน การบาดเจ็บและเป็นอันตรายต่อชีวิตของพลเมือง ก่อให้เกิดความเกรงกลัวเพื่อวัตถุประสงค์ ทางลัทธิหรือความคิดทางการเมือง
141
International Law and Terrorism
TERRORIST (a member of a political group aiming at the demoralization of the government by terror.) ผู้ก่อการร้าย คือสมาชิกของกลุ่มการเมืองที่มุ่งหวังบ่อนทำลายรัฐบาลโดยการก่อการร้าย TERRRORISM means premeditated, politically motivated violence perpetrated against noncombatant targets by subnational groups or clandestine agents, usually intended to influence an audience. (Source: Patterns of Global Terrorism, Washington: Dept. of State, 2001)
142
Right of Property สิทธิในทรัพย์สิน
สิทธิในทรัพย์สิน หมายถึง การที่รัฐอาจได้มาซึ่งดินแดนและทรัพย์สินอื่นที่สามารถยึดถือได้ด้วยวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงสิทธิในการใช้สอยได้รับดอกผลและจำหน่ายทรัพย์สินตามอำเภอใจ ทัศนะเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน แตกต่างกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศ แม้ว่ากฎหมายภายในกรรมสิทธิ์จะตกอยู่กับเอกชนผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่เนื่องจากรัฐมีสิทธิในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (The Right of Eminent Domain) ดังนั้นกรรมสิทธิ์ขั้นสุดท้ายจึงต้องเป็นของรัฐ
143
Right to Protect Nationals สิทธิคุ้มครองคนในชาติ
สิทธิคุ้มครองคนในชาติ หมายถึง สิทธิในการอารักขาคนในชาติทางกฎหมายระหว่างประเทศถือเป็นสิทธิชนิดหนึ่งของรัฐ ดังนั้นรัฐหนึ่งอาจร้องขอให้รัฐอื่นให้ความอารักขาคนในชาติของตนที่อยู่โพ้นทะเลเท่าเทียมกับคนชาติของรัฐท้องถิ่น ให้ได้รับการพิจารณาพิพากษาตามกฎหมายจากศาลโดยเท่าเทียมกันด้วย
144
RIGHT OF NON INTERVENTION สิทธิในการไม่ถูกแทรกแซง
Non Interference in the internal affairs of other states. สิทธิในการไม่ถูกแทรกแซง หมายถึงการหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง หรือวิธีการข่มขู่ จำกัดเสรีภาพการกระทำของรัฐอื่น หรือใช้วิธีการบังคับต่อรัฐอื่นให้กระทำในสิ่งที่ไม่สมัครใจ สิทธิดังกล่าวนี้ใช้บังคับตลอดทั้งกิจกรรมภายในและกิจกรรมระหว่างประเทศ
145
Definition: Right of Non-Intervention
The duty not to intervene in the affairs of another State. Exceptions: Acting under the principle of consent i.e., Good Offices(การแนะนำ) is the beneficial acts performed for another by a mediator in a dispute or, Mediation (การไกล่เกลี่ย) is an alternative dispute resolution-ADR- by expressing a view on what might be a fair or reasonable settlement.
146
Right of non-intervention and Isolationism(ลัทธิโดดเดี่ยว)
Right of Non Intervention is distinct from Isolationism which feature economic nationalism (protectionism) and restrict immigration. ลัทธิโดดเดี่ยว แตกต่างกับสิทธิในการแทรกแซง เพราะลัทธิโดดเดี่ยว หมายถึง ลักษณะทางชาตินิยมทางเศรษฐกิจและการกวดขันเกี่ยวกับคนเข้าเมือง
147
Categories of Intervention ประเภทของการแทรกแซง
A) Legal Intervention (การแทรกแซงโดยมีพื้นฐาน(ข้ออ้าง)ที่ชอบด้วยกฎหมาย): acts in self-defense, acts upon rights under treaties, acts to obstruct illegal activities. B) Humanitarian Intervention (การแทรกแซงโดยมนุษยธรรม) : “refers to the using of military force against another state when the main purpose of the military action is to end human-rights violations being perpetrated by the state against its own people” C) Political Intervention. (การแทรกแซงที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง)
148
Legal Intervention การแทรกแซงโดยชอบด้วยกฎหมาย
การแทรกแซงโดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การแทรกแซงโดยมีข้ออ้างตามกฎหมายหรือสนธิสัญญา โดยจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด กล่าวคือ ก. การแทรกแซงเพื่อใช้สิทธิป้องกันตนเอง ข. การแทรกแซงโดยอาศัยสิทธิตามสนธิสัญญา ค. การแทรกแซงเพื่อขจัดขัดขว้างการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย
149
Humanitarian intervention
There is no one standard or legal definition of humanitarian intervention. The field of analysis (such as law, ethics or politics) often influences the definition that is chosen. “ Standard Morality”(มาตรฐานทางจรรยาบรรณ)
150
CONTINUED…… The current approaches to humanitarian intervention are that humanitarian intervention should be undertaken multilaterally by either the UN, regional organizations, or a group of states. They should act in response to mass violations of human rights(การละเมิดสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง). (Most states would prefer to secure UN authorization before using force.)
151
Case in Point: Idi Amin of UGANDA Amin, Idi , president of Uganda ( ), also known as Idi Amin Dada, whose brutality and disregard for the rule of law led to hundreds of thousands of deaths and plunged the country into chaos and poverty. Tanzanian army invaded Uganda in early By April they had fought their way to Kampala, the Ugandan capital, and overthrown Amin's government.
152
Unauthorized Interventions (การแทรกแซงที่ไม่ได้รับความเห็นชอบ)
In several instances states or groups of states have intervened with force, and without advance authorization from the UN Security Council, in part, in response to alleged extreme violations of basic human rights. Recent examples include the intervention after the Gulf War to protect the Kurds in northern Iraq as well as NATO’s intervention in Kosovo.
153
GULF WAR The Gulf War (2 August 1990 – 28 February 1991), codenamed Operation Desert Storm (17 January 1991 – 28 February 1991) was a war waged by a U.N.-authorized coalition force from 34 nations led by the United States, against Iraq in response to Iraq's invasion and annexation of Kuwait.
154
KOSOVO WAR The Kosovo War was an armed conflict in Kosovo (from 28 February 1998 until 11 June 1999.) It was fought by the forces of the Federal Republic of Yugoslavia, the Kosovo Albanian rebel group known as the Kosovo Liberation Army(KLA) and NATO. Yugoslav President Slobodan Milošević was charged by the International Criminal Tribunal for the Former Yugoslavia (ICTY) with crimes against humanity.
155
Responsibility to protect(R2P) vs Right to Intervene(R2I) (ความรับผิดชอบในการปกป้องคุ้มครอง เปรียบเทียมกับ สิทธิในการแทรกแซง) The Right to Non-Intervention vs. Protection of Human Rights- If a government cannot protect a section of its own people from violence unleashed on them, the outside forces have the right to intervene(R2I). ถ้ารัฐบาลไม่สามารถปกป้องประชาชนส่วนมากจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อพวกเขา กองกำลังภายนอกมีสิทธิในการแทรกแซงได้
156
R2P has two foundation pillars:
A state has a responsibility to protect its population from genocide, war crimes, crimes against humanity, and ethnic cleansing. If the state manifestly fails to protect its citizens from the four above mass atrocities and peaceful measures have failed, the international community has the responsibility to intervene through coercive measures such as economic sanctions. Military intervention is considered the last resort.
157
The responsibility to protect (R2P or R toP) is a United Nations initiative established in It consists of an emerging intended norm, or set of principles, based on the claim that sovereignty is not a right, but a responsibility.
158
Case of Libya The UN resolution demanded a ceasefire in Libya, and end to attacks on civilians which it said could be termed as “crimes against humanity” in Gaddafi regime. Muammar abu Minyar al-Gaddafi (7 June 1942 – 20 October 2011) was the leader of Libya from 1969, when he overthrew the monarchy in a bloodless coup, until 2011 when he was overthrown by a NATO-backed internal rebellion.
159
Third Category of Intervention
C) Political Intervention(การแทรกแซงทางการเมือง) : Maintaining a balance of powers, interfering in civil war. Key words: “Political motivation มูลเหตุจูงใจทางการเมือง” “Morality ศีลธรรม” “Public Opinion มติมหาชน”
160
Monroe Doctrine (1823) ลัทธิมอนโรว์
The Monroe Doctrine was articulated in President James Monroe’s seventh annual message to Congress on December 2,1823. The European powers, according to Monroe, were obligated to respect the Western Hemisphere as the United States’ sphere of Interest. ลัทธิมอนโรว์ เป็นนโยบายต่างประเทศนโยบายหนึ่งที่สืบทอดกันมาของอเมริกา ไม่ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์อันหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับสิทธิในการไม่แทรกแซง
161
The Holy Alliance(พันธมิตรศักดิ์สิทธิ์)
Referred to the agreement among the emperors of Russia and Austria and the King of Prussia, signed at the Congress of Verona in 1822(the last congress of the Holy Alliance) proclaiming their right of armed intervention in other states for the purpose of suppressing revolution. ( Case of Spain and her colonies in the American Continent )
162
MESSAGE TO CONGRESS: A)That American Continent would no longer be a subject for future colonization by a European Power; B) Of absence of interest in European wars or European affairs;
163
C) That any attempt by the European Powers “to extend their system” to any portion of the American Continent would be regarded as “dangerous” to the “peace and safety” of the United States.
164
Standpoints: A) The Western hemisphere was no longer open for colonization. no further interventions would be allowed. (On the issue of on-going wars between Europe and its colonies)……… The United States would leave the parties to themselves in hope that other powers would pursue the same course……. .
165
จุดยืนของลัทธิมอนโรว์
อเมริกาจะไม่เข้าแทรกแซงกิจการภายในของรัฐใดในทวีปยุโรป แต่ก็จะไม่ยอมให้รัฐใดๆ ในทวีปยุโรปเข้าแทรกแซงกิจการของรัฐทั้งหลายในอเมริกาใต้ ส่วนกรณี พิพาทระหว่างสเปนกับอาณานิคมเดิมของตน อเมริกาจะปล่อยให้คู่กรณีจัดการกันตามลำพัง แต่ก็มุ่งหวังให้รัฐ อื่นๆ ยึดถือปฏิบัติในนโยบายทำนองเดียวกันนี้
166
Standpoint no. 2 B) The United States would refrain from participation in European Wars and would not disturb existing colonies in the western hemisphere; 2. อาณานิคมทั้งหลายที่มีอยู่เดิมของรัฐต่างๆในทวีปยุโรป อเมริกาจะไม่เข้าแทรกแซง แต่หลังจากนี้เป็นต้นไป อเมริกาจะไม่ยินยอมให้รัฐใดในทวีปยุโรปเข้าแสวงหาอาณานิคมในทวีปอเมริกาอีกต่อไป
167
Standpoint no.3 C)The political system of Europe was different from the Americas and it would not be allowed to be extended to any portions of the American continent. 3. อเมริกาจะไม่ยินยอมโดยเด็ดขาดให้ระบอบการเมือง (หมายถึง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ของทวีปยุโรป ขยายเข้าไปในทวีปอเมริกาไม่ว่าแห่งใดก็ตาม
168
Monroe Doctrine’s Strategy (ยุทธศาสตร์ของลัทธิมอนโรว์)
The Doctrine was issued at a time when nearly all Latin American colonies of Spain and Portugal had achieved independence from the Spanish Empire (except Cuba and Puerto Rico) and the Portuguese Empire. The United States, working in agreement with Britain, wanted to guarantee no European power would move in.
169
The intent(of the US) and its impact:(ความมุ่งหมายและผลกระทบของลัทธิมอนโรว์)
Its primary objective was to free the newly independent colonies of Latin America from European intervention and avoid situations which could make the New World a battleground for the Old World powers.
170
Monroe Doctrine It became a defining moment in the foreign policy of the United States and one of its longest-standing tenets (doctrines), and had been invoked by many U.S. statesmen and several U.S. presidents, including Theodore Roosevelt, John F. Kennedy, Lyndon B. Johnson, Ronald Reagan and many others.
171
Dollar Diplomacy and Monroe Doctrine นโยบายเหรียญดอลล่าและลัทธิมอนโรว์
Dollar Diplomacy is the effort of the United States- particularly under President William Howard Taft- to further its aims in Latin America through use of its economic power by guaranteeing loans made to foreign countries.
172
Good Neighbor Policy นโยบายเพื่อนบ้านที่ดี
The Good Neighbor policy was the foreign policy of the administration of United States President Franklin Roosevelt toward the countries of Latin America. The policy's main principle was that of non-intervention and non-interference in the domestic affairs of Latin America. It also reinforced the idea that the United States would be a “good neighbor” and engage in reciprocal exchanges with Latin American countries.
173
MONROE DOCTRINE’S CONCLUSION: ข้อสรุปของลัทธิมอนโรว์
The immediate impact of the Monroe Doctrine was mixed. It was successful to the extent that the continental powers did not attempt to revive the Spanish empire, but this was on account of the strength of the British Navy, not American military might, which was relatively limited.
174
TREATIES สนธิสัญญา
175
TREATIES A treaty is an express agreement under International Law entered into by actors in International Law, namely Sovereign States and International Organizations. สนธิสัญญา หมายถึง คำตกลงต่างๆ ระหว่างบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อให้คำตกลงนี้ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายและได้รับการยอมรับตามกฎหมายระหว่างประเทศ
176
TREATIES A treaty is an agreement in written form between nation-states (or international agencies, such as the United Nations, that have been given treaty-making capacity by the states that created them) that is intended to establish a relationship governed by International Law.
177
ELEMENTS OF A TREATY องค์ประกอบของสนธิสัญญา
A) An expressed agreement has been made. (Offer-Acceptance) ข้อตกลงได้กระทำขึ้น (ข้อเสนอ ข้อสนอง) B) Parties –subjects of International law (Federal States) ต้องมีคู่ภาคีในสนธิสัญญา ซึ่งต้องเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ (สหพันธรัฐ)
178
ELEMENTS OF A TREATY องค์ประกอบของสนธิสัญญา(ต่อ)
Legal bindings within International Law framework ก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย ซึ่งหมายถึงมีความผูกพันและบังคับคู่ภาคี ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ D) In written form ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
179
Different names of Treaties คำต่างๆที่ใช้เรียกสนธิสัญญา
Treaties can be referred to by a number of different names: international conventions, international agreements, covenants, final acts, charters, protocols, pacts, accords, and constitutions for international organizations. Usually these different names have no legal significance in international law.
180
INTERNATIONAL LAW Treaty “สนธิสัญญา” ใช้สำหรับคำตกลงระหว่างประเทศที่กระทำเต็มตามแบบพิธีและเป็นทางการอย่างเคร่งขัดมักใช้สำหรับความตกลงที่ถือว่ามีความสำคัญมาก Convention “อนุสัญญา” ใช้สำหรับสนธิสัญญาหลายฝ่ายที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย ซึ่งมักจะเป็นเรื่องที่ถือว่ามีความสำคัญรองลงมาจากสนธิสัญญา
181
Agreement “ความตกลง” มักใช้เรียกความตกลงที่กระทำโดยฝ่ายบริหารโดยมากเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญน้อยหรือมีขอบเขตแคบกว่าสนธิสัญญา Declaration “ปฏิญญา” ถูกนำมาใช้ในความหมายต่างๆ เช่น การประกาศสงคราม (Declaration of War) หรือการประกาศความเป็นกลาง (Declaration of Neutrality)
182
Act “กรรมสาร” หมายถึง สนธิสัญญาหลายฝ่ายซึ่งวางหลักกฎหมาย หรือระบอบกฎหมายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
Final act “กรรมสารสุดท้าย” ใช้เรียกคำแถลงเป็นทางการสรุปผลการพิจารณาของการประชุมระหว่างประเทศ หรือระบุชื่อการตกลงที่กระกัน ในรูปสนธิสัญญาหรือนุสัญญาอันเป็นผลจากการประชุม
183
General act “กรรมสารทั่วไป” ได้แก่กรรมสารหลังการประชุมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาหรือความตกลงในตัวของตัวเองโดยรวมหรือผนวกข้อความที่ตกลงกันไว้ในตัวกรรมสารนั้น Modus Vivendi “ความตงลงที่มีลักษณะชั่วคราว” เช่น ความตกลงที่ใช้ชั่วคราวก่อนการทำความตกลงถาวร หรือที่ใช้ระหว่างการต่ออายุความตกลงอื่น Protocol “พิธีสาร”ใช้เรียกความตกลงที่มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม ต่อท้าย หรือกำหนดรายละเอียดของสนธิสัญญาหรือความตกลงอื่น
184
Memorandum of agreement / Understanding
“บันทึกความตกลง” ใช้เรียกข้อตกลงในรายละเอียดเพิ่มเติมหรืออธิบายความตกลงอื่น Exchange of letters “จดหมายแลกเปลี่ยน” เป็นการตกลงที่กระทำในรูปจดหมาย แจ้งและยืนยันความตกลงระหว่างผู้แทนของภาคี Exchange of notes “หนังสือแลกเปลี่ยน” เป็นการตกลงที่กระทำกันในรูปหนังสือราชการระหว่างหระทรวงต่างประเทศกับสถานเอกอัครทูตต่างประเทศ ส่วนมากเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญน้อย
185
PROCES-VERBAL “บันทึกวาจา” เป็นบันทึกทางราชการกำหนดถึงการตกลงที่ได้เจรจาหรือประชุมกัน
CONCORDAT ใช้เรียกความตกลงที่กระทำกันระหว่างพระสันตะปาปากับประมุขของรัฐ เกี่ยวกับการคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์ของคริสศาสนาในรัฐที่ทำความตกลง LETTRES REVERSALES ใช้เรียกความตกลงและเปลี่ยนการให้สิทธิซึ่งกันและกัน
186
CHARTER “กฎบัตร” ใช้เรียกสนธิสัญญาหรือความตกลงที่มีลักษณะเป็นการจัดตั้งองค์กร
STATUTE “ธรรมนูญ” ใช้เรียกสนธิสัญญาหรือความตกลงที่วางระบอบกฎหมายหรือระบบขององค์การ PACT “กติกา” มักใช้เรียกความตกลงระหว่างประเทศที่มีความสำคัญพิเศษเฉพาะเรื่อง
187
Law making treaties vs. treaty contract สนธิสัญญาแบบกฎหมายเปรียบเทียบกับสนธิสัญญาแบบสัญญา
The “law making” treaties apply to treaties that are multilateral treaties of universal or general in nature (lay down rules of general application). สนธิสัญญาแบบกฎหมาย มีลักษณะเป็นการวางกฎเกณฑ์ระเบียบในการใช้บังคับ สำหรับรัฐทั่วๆไป
188
The “treaty-contracts” are treaties that are signed between a small number of States on certain limited issues (dealing with specific matters). สนธิสัญญาแบบสัญญา หมายถึง สนธิสัญญาที่มีลักษณะเฉพาะเรื่องและมีผลเฉพาะระหว่างรัฐที่ลงนาม
189
สนธิสัญญาที่เป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ
The provisions of a “law making treaty” are directly a source of international law ; while the purpose of “treaty contracts” is to lay down special obligations between parties only. เฉพาะสนธิสัญญาแบบกฎหมายเท่านั้นที่เป็นที่มาโดยตรงของกฎหมายระหว่างประเทศ
190
สนธิสัญญาที่ตกลงในหลักการแล้วแต่ยังไม่ได้รับการให้สัตยาบัน
Examples of Law-Making Treaties or Normative Treaties Types: ตัวอย่าง A) Treaties operating as general standard-setting instruments. (UN Charter) กฎบัตรสหประชาชาติ B) Un-ratified Conventions significant as agreed statements of principles to which a large number of States have subscribed. (Law of the Sea before 1996) สนธิสัญญาที่ตกลงในหลักการแล้วแต่ยังไม่ได้รับการให้สัตยาบัน
191
C) “ Closed” or “limited participation” treaties opened for signature by a restricted number of countries i.e., treaties formulating regional or community rules -(ASEAN) สนธิสัญญาที่จำกัดการมีส่วนร่วม เช่น สนธิสัญญาอาเซียน D) Treaties creating an internationally recognized status of a regime (Vatican City) สนธิสัญญาที่ก่อตั้งรัฐ ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป คือ รัฐวาติกัน E) Instruments such as Final Act or Protocol which are annexed “international regulations” intended to be applied by States parties as general rules. ข้อตกลงที่ต่อท้ายข้อตกลงใหญ่ ใช้กับรัฐที่เป็นคู่สัญญาโดยทั่วไป
192
The Vienna Convention on the Law of Treaties 1969 (VCLT) อนุสัญญาแห่งกรุงเวียนนาว่าด้วยสนธิสัญญา 1969
193
The Vienna Convention on the Law of Treaties (VCLT) is a treaty concerning the international law on treaties between states. It was adopted on 22 May 1969 and opened for signature on 23 May The Convention entered into force on 27 January The VCLT has been ratified by 113 states as of January (It does not cover international organizations)
194
Most states whether they are party to it or not, recognize it as the preeminent "Treaty of Treaties“. It is widely recognized as the authoritative guide vis-à-vis the formation and effects of treaties.
195
Negotiation (Step I) การเจรจา
Negotiation: The Communication process between individuals or parties that is intended to reach a compromise or agreement to the satisfaction of parties concerned. เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการเจรจา คือประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล หรืออาจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือ ผู้แทนของประเทศที่มีอำนาจเต็มในการทำสนธิสัญญาก็ได้
196
Signature (Step II) การลงนาม
Where the signature is subject to ratification, acceptance or approval, the signature does not establish the consent to be bound by the State. However, it is a means of authentication and expresses the willingness of the signatory state to continue the treaty-making process.
197
การลงนามสนธิสัญญา จะยังไม่เป็นการสร้างพันธะกรณีทางกฎหมายระหว่างคู่ภาคี (รัฐ) แต่การลงนามนี้แสดงนัยยะสำคัญ 3 ประการ แสดงให้เห็นว่าสนธิสัญญาฉบับต่างๆมีเนื้อความต้องตรงกัน แสดงให้เห็นว่าผู้มีอำนาจเต็มในการทำสนธิสัญญาเห็นพ้องด้วยกับข้อความในสนธิสัญญา แสดงให้เห็นว่าสนธิสัญญาได้ลงนามไว้ที่ไหนและเมื่อใด
198
Natures of Signature A) Full Signature : is a process whereby a state
(with its authorized representative) indicates to other contraction parties its consent to be bound by the adopted international agreement.
199
ลักษณะของการลงนาม การลงนามเต็ม หมายถึง การลงนามซึ่งผู้ลงนามเป็นผู้มีอำนาจเต็มโดยมีหนังสือที่แสดงว่ามีอำนาจเต็มแสดงต่อคู่ภาคีที่จะมาทำสนธิสัญญาและลงนาม ผู้ออกหนังสือที่มีอำนาจเต็มนั้น คือ รัฐมนตรีกระทรวงการ ต่างประเทศ หรือประธานาธิบดี หรือจะเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้
200
FULL POWERS "Full powers" means a document emanating from the competent authority of a state designating a person or persons to represent the state for negotiating, adopting, authenticating the text of a treaty, expressing the consent of a state to be bound by a treaty.
201
Simple/Definitive(final)Signature การลงนามทั่วไป/การลงนามเด็ดขาด
The “Simple Signature” applies to most treaties, means it is subject to ratification, acceptance or approval. การลงนามทั่วไป หมายถึง การลงนามในสนธิสัญญาส่วนมาก ซึ่งยังจำเป็นต้องมีการให้สัตยาบันหรือการยอมรับอีกทีหนึ่ง
202
The “Definitive Signature” in contrary, occurs where a State expresses its consent to be bound by a treaty by signing it without the need for ratification (only when the treaty so permits). การลงนามเด็ดขาด ในทางตรงกันข้าม หมายถึง การที่รัฐแสดงเจตนาที่จะเข้าผูกพันในสนธิสัญญาโดยผลของการลงนามซึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับการให้สัตยาบันอีกทีหนึ่ง (เฉพาะในกรณีที่สนธิสัญญาอนุญาตให้เท่านั้น)
203
Signature ad referendum การลงนามชั่วคราว
B) Signature ad referendum -Signing by a non- fully authorized representative subject to confirmation by his /her government. Ad referendum means for reference i.e., for further consideration by one having the authority to make a final decision.
204
การลงนามชั่วคราว หมายถึง การลงนามซึ่งผู้ลงนามโดยปกติมีอำนาจที่จะลงนามอยู่แล้วแต่ไม่แน่ใจว่าข้อตกลงที่ตกลงกันนั้นตรงกับความต้องการของรัฐบาลของเขาหรือไม่ หรืออาจเกินอำนาจขอบเขตที่ได้รับมอบหมายมา การลงนามชั่วคราว จะยังไม่มีผลผูกพันรัฐบาลของเขาโดยจะมีผลต่อเมื่อมาลงนามเต็มหลังจากได้รับความยินยอมจากรัฐบาลของเขาแล้วอีกทีหนึ่ง
205
Initialing การลงนามย่อ
C) Initialing : A token of agreement signed ( by a non authorized representative ) on behalf of others subject of ratification or approval by his/ her government.
206
การลงนามย่อ หมายถึง การลงนามที่ผู้ทำสนธิสัญญาไม่มีอำนาจในการเจรจาและลงนาม จึงลงนามย่อไว้ในสนธิสัญญา ซึ่งจะไม่มีผลผูกพันต่อรัฐบาลของเขาจนกว่าจะมีการลงนามอีกครั้งหนึ่ง เมื่อผู้ลงนามย่อนั้นได้อำนาจเต็มจากรัฐบาลของเขาในภายหลัง
207
Ratification (STEP III) การให้สัตยาบัน
Refers to the act undertaken in the International Law process, whereby a state establishes its consent to be bound by a treaty. การให้สัตยาบันเป็นการแสดงเจตนาของรัฐเพื่อเข้าผูกพันสนธิสัญญาที่ได้รับการลงนามไว้ โดยเจ้าหน้าที่ ที่มีอำนาจ ในประวัติศาสตร์ผู้ให้สัตยาบันส่วนมากคือประเจ้าแผ่นดิน ในปัจจุบันคือ รัฐสภาในระบบประชาธิปไตย
208
สนธิสัญญาที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ
Types of Treaties usually Requiring Ratification. หลักเกณฑ์ที่ถือว่าสนธิสัญญาที่ต้องได้รับการให้สัตยาบัน A) Treaties involving with International Organizations. สนธิสัญญาที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ B) Treaties requiring States to carry financial burden(i.e., loan, financial aids etc.) สนธิสัญญาที่ทำให้รัฐต้องรับภาระทางการเงิน
209
สนธิสัญญาที่ทำให้ต้องแก้ไขกฎหมายภายในของรัฐเพื่อรองรับ
Treaties requiring the amendment of States laws (i.e., AEC agreement, EU agreement, investment agreements). สนธิสัญญาที่ทำให้ต้องแก้ไขกฎหมายภายในของรัฐเพื่อรองรับ D) Treaties requiring changes of people’s legal status (investment agreements with conditions for example) สนธิสัญญาที่ทำให้เปลี่ยนสถานะทางกฎหมายของบุคคล
210
ข้อสังเกต การให้สัตยาบันจะจำเป็นก็ต่อเมื่อมีข้อความในสนธิสัญญากำหนดว่าต้องมีการให้สัตยาบัน เมื่อรัฐที่เข้าทำการเจรจาทำสนธิสัญญาตกลงว่าจำเป็นต้องมีการให้สัตยาบันภายหลัง รัฐที่ลงนามไว้ในสนธิสัญญามีความเป็นอิสระที่จะให้สัตยาบัน หรือไม่ให้ก็ได้ องค์การที่มีหน้าที่ในการให้สัตยาบันจะถูกกำหนดโดยกฎหมายมหาชนภายในของรัฐนั้นๆ
211
ข้อยกเว้นการให้สัตยาบัน
สนธิสัญญาหลายฝ่ายนั้นใช้บังคับได้ ถ้าการใช้บังคับสนธิสัญญานั้น ไม่ได้รับการคัดค้าน โดยรัฐที่ไม่ได้ทำการให้สัตยาบัน ในสนธิสัญญาสันติภาพ (คือสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างประเทศที่ชนะกับประเทศที่แพ้สงคราม) สนธิสัญญาชนิดนี้ ประเทศที่ชนะสงครามไม่จำเป็นต้องให้สัตยาบันถือว่าสนธิสัญญามีผลใช้บังคับได้ทันทีนับตั้งแต่ลงนาม ประเทศที่ทำการยอมรับ(Acceptation) ก็ถือว่าได้เข้าผูกพันในสนธิสัญญาโดยไม่ต้องขอการให้สัตยาบันจากรัฐสภาหรือสภาสูงอีกทีหนึ่ง
212
ข้อแตกต่างระหว่างการให้สัตยาบันกับการยอมรับ
THE DIFFERENCE BETWEEN RATIFICATION AND ACCEPTANCE OR ACCEPTATION ข้อแตกต่างระหว่างการให้สัตยาบันกับการยอมรับ The instruments of "acceptance" or "approval" of a treaty have the same legal effect as ratification and consequently express the consent of a state to be bound by a treaty. In the practice of certain states acceptance and approval have been used instead of ratification when, at a national level, constitutional law does not require the treaty to be ratified by the head of state.
213
การยอมรับ อาจทำโดยมติคณะรัฐมนตรีหรือองค์การฝ่ายบริหารต่อสนธิสัญญาหลายฝ่ายที่ประเทศได้ลงนามไว้ การยอมรับกับการให้สัตยาบันมีความหมายเหมือนกัน แต่ที่ใช้คำว่าการยอมรับก็เพื่อหลีกเลี่ยงคำว่า การให้สัตยาบัน เพราะการให้สัตยาบันนั้นจะต้องมาจากรัฐสภาหรือสภาสูงเท่านั้น คณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารจะทำการให้สัตยาบันกับสิ่งที่ตนเองลงนามไม่ได้
214
รัฐที่เข้าเจรจา หมายถึง รัฐที่มีส่วนร่วมร่างสนธิสัญญามาตั้งแต่ต้น
NEGOTIATING STATE refers to a State which took part in the drawing up and adoption of the text of the treaty. รัฐที่เข้าเจรจา หมายถึง รัฐที่มีส่วนร่วมร่างสนธิสัญญามาตั้งแต่ต้น CONTRACTING STATE refers to a State which has consented to be bound by the treaty, whether or not the treaty has entered into force. รัฐที่ได้ลงนามไว้ หมายถึง รัฐที่แสดงเจตนาผูกพันต่อสนธิสัญญาไม่ว่าสนธิสัญญานั้นจะมีผลใช้บังคับหรือไม่
215
PARTY STATE refers to a State which has consented to be bound by the treaty and for which the treaty is in force. รัฐคู่สัญญา คือ รัฐที่แสดงเจตนาผูกพันต่อสนธิสัญญาที่ได้รับการบังคับใช้แล้ว
216
Methods of entering a treaty วิธีการเข้าเป็นคู่ภาคีในอนุสัญญา
Immediate Signing การลงนามทันที ในกรณีที่ผู้ลงนามได้ร่วมร่างอนุสัญญามาตั้งแต่ต้น Deferred Signing (before the deadline) การลงนามภายหลัง คือ การลงนามโดยรัฐที่ไม่ได้เข้าร่วมร่างอนุสัญญาหรือเข้าร่วมร่างอนุสัญญาแต่ไม่ได้ลงนามไว้ เมื่อร่างอนุสัญญาเสร็จ การจะเข้าได้หรือไม่นั้น อนุสัญญาจะต้องระบุไว้ด้วยว่าทำได้ โดยการกำหนดระยะเวลาเอาไว้
217
C) Accession or Adhesion (after the deadline)
การเข้าภาคยานุวัตเต็มส่วน (Accession ) หรือ การเข้าภาคยานุวัตส่วน (Adhesion) คือการแสดงเจตนาเข้าเป็นผู้ภาคีหลังจากกำหนดระยะเวลาลงนามภายหลังได้สิ้นสุดลงแล้ว
218
Accession/Adhesion Accession is the formal entrance of a third State into an existing treaty where the deadline for signature has passed, so that it becomes a party to the treaty. Adhesion means such an entrance covers only to a part of the stipulations, or with regard only to certain principles laid down in the treaty.)
219
Reservations ข้อสงวน Reservations are unilateral statements purporting to exclude or to modify the legal obligation and its effects on the reserving state. These must be included at the time of signing or ratification. ข้อสงวน เป็น กลวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการผูกมัดตัวของรัฐต่อข้อบทบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งของอนุสัญญา ข้อสงวนอาจจะทำได้เมื่อตอนลงนามแก่อนุสัญญาหรือหลังจากที่ลงนามแล้วคือตอนที่ให้สัตยาบันก็ได้
220
Reservation and its usefulness ประโยชน์ของการทำข้อสงวน
A reservation enables a state to accept a multilateral treaty as a whole by giving it the possibility not to apply certain provisions with which it does not want to accept. การทำข้อสงวนนี้ จะทำได้เฉพาะสนธิสัญญาหลายฝ่ายเท่านั้น การอนุญาตให้ทำข้อสงวนในสนธิสัญญาก็เพื่อที่จะได้มีรัฐเป็นคู่ภาคีมากขึ้น เพื่อเป็นการจูงใจให้รัฐต่างๆเข้ามาเป็นคู่ภาคีมากๆ เพราะเป็นการอนุญาตให้รัฐที่จะมาเป็นคู่ภาคีสามารถตั้งข้อเสนอบางข้อที่เขาไม่ชอบ
221
Valid Reservations ลักษณะของข้อสงวนที่ถือว่ามีผลใช้บังคับได้
Reservations must not be incompatible with the object and the purpose of the treaty. Furthermore, a treaty might prohibit reservations or only allow for certain reservations to be made. [Arts.2 (1) (d) and 19-23, Vienna Convention of the Law of Treaties 1969]
222
ลักษณะของข้อสงวนที่ถือว่ามีผลใช้บังคับได้
ในเรื่องรูปแบบ คือ ต้องตั้งข้อสงวนไว้เมื่อตอนลงนามหรือตอนยื่นหนังสือให้สัตยาบัน โดยข้อสงวนนั้นจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรลงไว้ในเอกสารการทูต ในเรื่องเนื้อหาของข้อสงวน คือต้องได้รับความยินยอมต่อคู่ภาคีอื่นในข้อสงวนที่ทำขึ้น การยินยอมของคู่ภาคีอื่นนี้ อาจเป็นแบบแจ้งชัดหรือโดยปริยาย เช่น คู่ภาคีฝ่ายอื่นไม่คัดค้านต่อการทำข้อสงวนนั้น ข้อสงวนนั้นจะต้องไม่ขัดกับ วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาหรือสนธิสัญญา
223
ผลของการทำข้อสงวน ในกรณีสนธิสัญญาสองฝ่าย ถ้าข้อสงวนนั้นได้รับการยอมรับข้อสงวนนั้น ก็จะถูกกำหนดไว้ในสนธิสัญญา แต่ถ้าข้อสงวนนั้นถูกปฏิเสธสนธิสัญญานั้นก็ใช้ไม่ได้ คือขาดความตกลงของทั้งสองฝ่าย ในกรณีของสนธิสัญญาหลายฝ่ายผลทางกฎหมาย จะแยกออกเป็น ข้อสงวนที่มีผลต่อคู่ภาคีที่รับข้อสงวนนั้นและไม่มีผลต่อคู่ภาคีที่ไม่ยอมรับข้อสงวน ในการถอนข้อสงวนรัฐที่ทำข้อสงวนอาจแสดงเจตนาขอถอนข้อสงวนที่ตนทำไว้ได้ทุกขณะ
224
Executive Agreement ข้อตกลงแบบย่อ
An agreement, usually pertaining to administrative matters and less formal than an international treaty. ข้อตกลงแบบย่อ เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลตามกฎหมายใช้บังคับระหว่างคู่ภาคี นับตั้งแต่ลงนามในข้อตกลงแบบย่อนี้ ข้อตกลงแบบย่อนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมหรือการให้สัตยาบันอีกทีหนึ่งถือว่าใช้บังคับได้ทันที เป็นข้อตกลงที่ใช้ระยะเวลาในการเจรจาและลงนามที่รวดเร็ว
225
Executive Agreement (case of US government)
An agreement between the United States and a foreign government that is less formal than a treaty and is not subject to the constitutional requirement for ratification by two-thirds of the U.S. Senate. The Constitution of the United States does not specifically give a president the power to conclude executive agreements.
226
International law vs US Law……..
Executive Agreements are considered treaties by some authors as the term is used under international law in that they bind both the United States and a foreign sovereign state. However, they are not considered treaties as the term is used under United States Constitutional law, because the United States Constitution's treaty procedure requires the advice and consent of two-thirds of the Senate, and these agreements are made solely by the President of the United States.
227
Gentlemen’s Agreement ข้อตกลงแบบสุภาพบุรุษ
A gentlemen's agreement is an informal agreement between two or more parties. It is typically oral, though it may be written, or simply understood as part of an unspoken agreement by convention or through mutually beneficial etiquette. ข้อตกลงแบบสุภาพบุรุษ เป็นข้อตกลงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งทำขึ้นระหว่างหัวหน้ารัฐบาลหรือประธานาธิบดีเป็นการตกลงว่าจะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ได้ให้แก่กันไว้ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่เมื่อพ้นตำแหน่งแล้วข้อผูกพันนี้ก็จะไร้ผลและไม่ผูกพันประเทศ
228
Ending Treaty Obligations การเสียผลของสนธิสัญญา
เหตุของการเสียผลของสนธิสัญญามี 4 ประการคือ การประทุษร้าย มีสองอย่างคือการประทุษร้ายต่อรัฐกับการประทุษร้ายต่อผู้มีอำนาจเต็มในการทำสนธิสัญญา การขัดกับหลักบังคับของกฎหายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาที่ได้ทำขึ้นเกิดจากการหลอกหลวง เช่น การคอร์รัปชั่น เป็นต้น การสำคัญผิด ซึ่งแบ่งเป็นสำคัญผิดในข้อกฎหมายและการสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
229
Termination of treaties การสิ้นสุดของสนธิสัญญา
Ending of time period.โดยการกำหนดระยะเวลาเอาไว้ Stipulating the cause of ending, โดยการกำหนดเหตุของการสิ้นสุดเอาไว้ Replaced by a new treaty. การสิ้นสุดของสนธิสัญญาเก่าโดยสนธิสัญญาใหม่ Unforeseen circumstances การสิ้นสุดของสนธิสัญญาเนื่องจากมีเหตุการณ์อันหนึ่งเกิดขึ้น เหตุการณ์อันนี้ไม่ได้กำหนดไว้ในสนธิสัญญา
230
PEACEFUL SETTLEMENT OF DISPUTES การระงับกรณีพิพาทโดยสันติ
231
Peaceful Settlement of Disputes: A definition
A fundamental principle in international law requiring states with disputes that could lead to war to first of all try to seek solutions through peaceful methods such as negotiation, mediation, enquiry, conciliation , arbitration, or judicial settlement.
232
คำจำกัดความ รัฐมีพันธกรณีที่จะต้องระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ปัจจุบันนี้ได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรา 2 (3) ของกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งเป็นกฎอันหนึ่งของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อันเป็นกฎเกณฑ์ที่มีมาก่อน การระงับกรณีพิพาทโดยสันติ เป็นหลักการที่ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นกฎหมายคือได้รับการยอมรับ จากสนธิสัญญาต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ พันธกรณีนี้ ไม่เพียงตกแก่รัฐที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติเท่านั้น รัฐทุกๆรัญในโลกนี้ก็ต้องปฏิบัติตามด้วย
233
Duties of a State หน้าที่ของรัฐ
1)Refraining from the use of force and ; รัฐต่างๆมีหน้าที่ต้องละเว้นไม่ใช้กำลังอาวุธ 2) Obligation to seek a solution to end the disputes by peaceful means. และ มีพันธกรณีที่จะต้องทำให้ข้อขัดแย้งที่มีอยู่ พบข้อยุติโดยสันติวิธี
234
Limitations:ขอบเขตของการใช้บังคับ
A) Internal Affairs (Matters under State laws) เรื่องซึ่งสงวนไว้ในอำนาจภายในของรัฐ ซึ่งหมายถึงเรื่องที่ขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในของรัฐและไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายระหว่างประเทศ B) Limited Choices of Means/Methods ขอบเขตของรัฐในการใช้สิทธิเลือกวิธีระงับข้อพิพาท
235
วิธีทางกฎหมาย : การใช้อนุญาโตตุลาการ และ การใช้ศาลยุติธรรม
Political Means: Negotiation, good offices –mediation, enquiry (fact-finding), conciliation. วิธีทางการทูต : การเจรจาทางการทูต, การอำนวยความสะดวก-การไกล่เกลี่ย, การไต่สวนข้อพิพาท, การประนีประนอม Legal Means: Arbitration and Judicial settlement. วิธีทางกฎหมาย : การใช้อนุญาโตตุลาการ และ การใช้ศาลยุติธรรม Settlement under Auspices of United Nation Organization: General Assembly, Security Council. การใช้บริการขององค์การสหประชาชาติ : สมัชชาใหญ่และคณะมนตรีความมั่นคง มนตรีความมั่นคง
236
Political Dispute ข้อพิพาททางการเมือง
A political dispute is one which states claim conflicting rights without the respect of their legal rights or demanding the alteration of the existing laws. (sometimes it is called a conflict of interests). ข้อพิพาททางการเมือง หมายถึง ข้อพิพาทที่อ้างถึงสิทธิที่ขัดแย้งกันโดยไม่คำนึงถึงสิทธิทางกฎหมาย หรือ คู่พิพาทซึ่งคู่กรณีร้องขอให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
237
Legal Dispute ข้อพิพาททางกฎหมาย
A legal dispute is one which involves the non- agreement in the implementation of existing laws or the interpretation of laws. ข้อพิพาททางกฎหมาย หมายถึง ข้อพิพาทที่คู่กรณี ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการนำกฎหมายที่มีอยู่มาใช้บังคับ รวมทั้งการตีความกฎหมายด้วย
238
Political means to settle dispute
Negotiation, Good offices, Mediation Enquiry (fact-finding), Conciliation-Bryan Treaty 1913 – 1914 Treaty of Washington 1871 Compromis / Arbitration Ex Aequo et Bono
239
Negotiation is a dialogue between two or more parties, intended to reach the understanding, to produce an agreement upon courses of action. การเจรจาทางการทูต เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทโดยการแลกเปลี่ยนโดยการพูด การแลกเปลี่ยนด้วยคำพูด หรือด้วยการเรียนรู้สิ่งซึ่งคู่เจรจาขัดแย้งกัน เพื่อหาทางที่จะระงับข้อขัดแย้งและทำข้อตกลงกัน
240
Good offices การอำนวยความสะดวก/Mediation การไกล่เกลี่ย is a form of Alternative Dispute Resolution (ADR) in which a third party (mediators) may express a view on what might be a fair or reasonable settlement. การอำนวยความสะดวก/การไกล่เกลี่ย เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทโดยมีฝ่ายที่ 3 ข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้คู่พิพาทบรรลุข้อตกลงกันได้
241
A theoretical distinction(ความแตกต่างทางทฤษฎี):
GOOD OFFICES consist in various kinds of action (facilitating) tending to call negotiations between the conflicting States into existence. การอำนวยความสะดวก คือ การที่รัฐที่สามเสนอที่จะเป็นคนกลางในการอำนวยความสะดวกให้แก่คู่กรณีพิพาทที่จะทำการเจรจากันโดยปกติจะใช้วิธีเชิญรัฐคู่กรณีมาเจรจากันในรัฐที่สาม โดยที่รัฐที่สามจะไม่เข้าไปแทรกแซงใดๆ ในการเจรจาของคู่กรณีอย่างเป็นทางการ คือจะไม่เสนอแนะข้อยุติอย่างเป็นทางการ
242
MEDIATION consists in direct conduct of negotiations between the parties at issue on the basis of proposal made by the mediator. การไกล่เกลี่ย หมายถึงการที่รัฐที่สาม จะเข้าร่วมเจรจาด้วยและจะเสนอหนทางในการยุติปัญหาข้อพิพาทให้คู่กรณีพิจารณา ซึ่งเป็นเรื่องของความสมัครใจ ดังนั้นจึงมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
243
การจะเสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ถือเป็นความสมัครใจของรัฐนั้น
รัฐคู่กรณีมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ในการที่จะปฏิเสธข้อเสนอเป็นผู้ไกล่เกลี่ยของรัฐที่สาม ผลของการไกล่เกลี่ยจะไม่ผูกพันต่อผู้พิพาท ถ้าผู้พิพาทไม่ยอมรับ
244
Enquiry/การไต่สวน (fact-finding: การค้นหาความจริง) is an investigation, a formal one conducted into the matter of disputes. Its main purpose is to seek the facts which cause the dispute in order to end it. การไต่สวน เป็นกระบวนการสอบสวน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเหตุของข้อพิพาทเพื่อยุติข้อพิพาทนี้
245
Hague Conventions of 1899 and 1907 (on Enquiry method)สนธิสัญญาสองฉบับของกรุงเฮก ปี 1899 และ 1907 ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องคณะกรรมการไต่สวนไว้ Briand Kellogg Pact 1928 (To refrain from the use of force in their international relations) สนธิสัญญาบรียอง เป็นสนธิสัญญาที่สหรัฐอเมริกาได้ทำเป็นสนธิสัญญาสองฝ่ายกับหลายประเทศ ในระหว่างปี
246
Conciliation is another form of ADR in which a neutral third party hears both sides and then issues a solution which has no binding character. They do this by lowering tensions, improving communications, interpreting issues, providing technical assistance, exploring potential solutions and bringing about a negotiated settlement.
247
การประนีประนอม คือ วิธีการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี โดยการที่ผู้พิพาทมอบอำนาจให้คณะกรรมการประนีประนอม ทำการสอบสวนกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงการมุ่งหาข้อเท็จจริงที่ก่อให้เกิดข้อพิพาทเท่านั้น แต่จะศึกษาข้อพิพาทโดยละเอียดในทุกแง่มุม โดยมุ่งที่จะให้คู่พิพาทเข้าสู่กระบวนการประนีประนอมกันได้ โดยการเสนอข้อยุติข้อพิพาท
248
คณะกรรมการประนีประนอมอาจจะได้รับการจัดตั้งหลังจากข้อพิพาทเกิดขึ้น หรือก่อนที่ข้อพิพาทจะเกิดขึ้นก็ได้ ในกรณีแรกคณะกรรมการประนีประนอมอาจถูกกำหนดไว้ในอนุสัญญาฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้า ส่วนในกรณีหลัง คณะกรรมการประนีประนอม จะได้รับการจัดตั้งขึ้นหลังจากข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว และจะพ้นหน้าที่ไปต่อเมื่อ ได้ทำรายงานเสร็จสิ้น เกี่ยวกับข้อพิพาท รายงานนี้ไม่มีลักษณะเหมือนคำพิพากษา ดังนั้นคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปฏิเสธก็ได้
249
LEGAL DISPUTES การระงับข้อพิพาททางกฎหมาย
ARBITRATION AND WORLD COURT อนุญาโตตุลาการ และ ศาลโลก PERMANENT COURT OF INTERNATIONAL JUSTICE - PCIJ 1920 ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ 1920 INTERNATIONAL COURT OF JUSTICE– ICJ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
250
Arbitration, a form of alternative dispute resolution (ADR), is a legal technique for the resolution of disputes outside the courts. It is a settlement technique in which a third party (called “arbitral tribunal”) reviews the case and imposes a decision that is legally binding for both sides.
251
Means to settle legal disputes
ARBITRATION is a proceeding in which a dispute is resolved by an impartial adjudicator whose decision the parties to the dispute have agreed, will be final and binding.
252
Jay Treaty, also as Jay's Treaty, the British Treaty, and the Treaty of London of 1794, was a treaty between the United States of America and the Kingdom of Great Britain that is credited with averting war. The parties agreed that disputes over wartime debts and the American-Canadian boundary were to be sent to arbitration—one of the first major uses of arbitration in diplomatic history.
253
INTERNATIONAL LAW COMPROMIS (kom-pruh-mee) is a formal document, executed in common by nations submitting a dispute to arbitration. It defines the matter at issue, the rules of the procedures and the powers of the arbitral tribunal and the principles for determining the awards.
254
The Treaty of Washington ( 1871) was a treaty signed and ratified by the United Kingdom and the United States in 1871 that settled various disputes between the two countries (arisen from the period of American civil war.) สนธิสัญญาแห่งกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่ได้ทำขึ้นเมื่อปี 1871 นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการกำหนดตั้งอนุญาโตตุลาการ ซึ่งประกอบด้วย อนุญาโตตุลาการ 5 คน (สัญชาติอังกฤษ อเมริกัน อิตาเลียน สวิสฯ บราซิล) ไว้ในสนธิสัญญา
255
Most important, the first eleven of the forty-three articles of the treaty provided that the claims should be adjudicated at Geneva, Switzerland, by five arbitrators, appointed, respectively, by the presidents of the United States and Switzerland and by the rulers of Great Britain, Italy, and Brazil.
256
Permanent Court of Arbitration
The court was established in 1899 as one of the acts of the first Hague Peace Conference , which makes it the oldest institution for international dispute resolution.
257
Permanent Court of Arbitration
The creation of the PCA is set out under Articles 20 to 29 of the 1899 Hague Convention for the specific settlement of international disputes, which was a result of the first Hague Peace Conference. At the second Hague Peace Conference, the earlier Convention was revised by the 1907 Convention for the Pacific Settlement of International Disputes.
258
Permanent Court of Arbitration (PCA)
The PCA is not a “court in the conventional understanding” of that term, but an administrative organization with the object of having permanent and readily available means to serve as the registry for purposes of international arbitration and other related procedures. (including commissions of enquiry and conciliation.)
259
Principle of Ex aequo et bono หลักความเหมาะสม
Ex aequo et bono (Latin for "according to the right and good" or "from equity and conscience") is a phrase derived from Latin that is used as a legal term of art. In the context of ARBITRATION, it refers to the power of the arbitrators to dispense with consideration of the law and consider solely what they consider to be fair and equitable in the case at hand.
260
หลักความเหมาะสม มีความหมาย สาม ประการคือ
หลักที่เพิ่มเติมสิทธิที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ขึ้น เช่น การที่รัฐมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งศาลอาจจะกำหนดค่าเสียหายให้สมบูรณ์ขึ้น คืออำนาจของศาลในการมีสิทธิยกเลิกสิทธิของรัฐฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีอยู่ ซึ่งไม่ต้องตรงหลักของความยุติธรรม คืออำนาจที่จะใช้ความเหมาะสมในการพิจารณาพิพากษาคดี
261
Definition: Ex Aequo Et Bono is a Latin term which means what is just and fair or according to equity and good conscience. Something to be decided ex aequo et bono is something that is to be decided by principles of what is fair and just. A decision-maker who is authorized to decide ex aequo et bono is not bound by legal rules but may take account of what is just and fair.
262
Rule of Law vs. Ex aequo et bono หลักกฎหมายเปรียบเทียบกับหลักความเหมาะสม
Most legal cases are decided on the strict rule of law. For example, a contract will be enforced by the legal system no matter how unfair it may prove to be. But a case to be decided ex aequo et bono, overrides the strict rule of law and requires instead a decision based on what is fair and just under the given circumstances.
263
Arbitration Advantages and disadvantages
ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของการใช้อนุญาโตตุลาการ Parties often seek to resolve their disputes through arbitration because of a number of perceived potential advantages over judicial proceedings: ข้อได้เปรียบ คือ...
264
การพิจารณารวดเร็วกว่า
A) when the subject matter of the dispute is highly technical, arbitrators with an appropriate degree of expertise can be appointed (as one cannot "choose the judge" in litigation) เมื่อเรื่องที่พิพาทมีข้อเกี่ยวข้องทางเทคนิคสูง B) arbitration is often faster than litigation in court การพิจารณารวดเร็วกว่า C) arbitral proceedings and an arbitral award are generally non-public, and can be made confidential การพิจารณาไม่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะชน
265
Arbitration Some of the disadvantages include:
ข้อได้เสียเปรียบ คือ... A) arbitration may be subject to pressures from powerful State representing as the stronger and wealthier party การถูกกดดันจากรัฐที่มีอำนาจ B) if the arbitration is mandatory and binding, the parties waive their rights to access the courts and to have a judge or jury decide the case อาจต้องยอมรับและสละสิทธิในการนำคดีขึ้นสู่ศาลในภายหลัง
266
C) there are very limited avenues for appeal, which means that an erroneous decision cannot be easily overturned มีทางเลือกน้อยในการอุทรณ์ข้อผิดพลาดในการตัดสิน D) in some legal systems, arbitrary awards have fewer enforcement options than judgments; although in the United States arbitration awards are enforced in the same manner as court judgments and same effect การบังคับตามคำตัดสินอาจไม่มีประสิทธิภาพในระบบกฎหมายบางระบบ
267
JUDICIAL SETLEMENT (WORLD COURT) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)
268
ข้อแตกต่างหลักระหว่างอนุญาโตตุลาการกับศาลโลก
A) The Court shall decide whether States in have the right to file the case in Court or not. ศาลโลกจะเป็นองค์กรที่จะพิจารณาและตัดสินว่า คู่พิพาทฝ่ายใดมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิในการนำคดีขึ้นสู่ศาล B) The Court has been established as an independent institution free from any involvements of States (parties) in dispute. ศาลโลกเป็นองค์กรที่อิสระและไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งของคู่พิพาทฝ่ายใด C) The Court has its own rules and regulations which States in dispute have no part in making them. ศาลโลกมีระเบียบและกฎเกณฑ์ของตัวเอง ซึ่งคู่พิพาทไม่ได้มีส่วนสร้างขึ้น
269
History of Judicial Settlement ประวัติศาลโลก
Court of Arbitration proposed by the US ในปี 1907 สหรัฐอเมริกาได้เสนอให้มีการจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการในที่ประชุมระหว่างประเทศที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำพิพากษาศาลโลก ที่จะเป็นบรรทัดฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ
270
ในปี 1922 ได้มีการจัดตั้งศาลโลกศาลแรกขึ้น ชื่อว่าศาลยุติธรรมถาวร
Central American Court of Justice was signed in 1907 by Costa Rica, Guatemala, Honduras, Nicaragua and Salvador (only lasted for 10 years)ในปี 1907 เช่นเดียวกัน ก็ได้มีการสร้างศาลระหว่างประเทศระหว่าง 5 รัฐของกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ชื่อว่าศาลยุติธรรมอเมริกากลาง ศาลนี้ปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงสิบปีก็ถูกยุบ เนื่องจากในการปฏิบัติงานได้เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของรัฐ Permanent Court of International Justice PCIJ 1922 ในปี 1922 ได้มีการจัดตั้งศาลโลกศาลแรกขึ้น ชื่อว่าศาลยุติธรรมถาวร ระหว่างประเทศ ภายใต้มาตรา 14 ของกติกาสันนิบาตชาติ
271
PCIJ’S HISTORY The Permanent Court of International Justice was an international court attached to the League of Nations. Created in 1922, the Court was initially met with a good reaction from states with many cases submitted to it for its first decade of operation. With the heightened international tension of the 1930s the Court was more and more rarely used. by a resolution by the League of Nations on 18 April 1946, the Court ceased to exist.
272
International Court of Justice ICJ 1945
ศาลโลกปัจจุบัน ตั้งขึ้นในเดือนเมษายนปี 1945 เป็นศาลโลกใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงข้อยุ่งยาก เกี่ยวกับการที่สหรัฐอเมริกาและประเทศรัสเซียไม่ยอมเป็นสมาชิกของศาลโลกเก่า ศาลโลกใหม่นี้ยังคงยึดถือธรรมนูญศาลและข้อบังคับของศาลโลกเก่าเป็นหลัก และถือว่าศาลนี้เป็นองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ
273
ความสัมพันธ์ของศาลโลกและสหประชาชาติ
ธรรมนูญศาล (Statue) เป็นส่วนหนึ่งของกฎบัตร (Charter) สหประชาชาติ ดังนั้นประเทศหนึ่งประเทศใด เมื่อเป็นสมาชิกของสหประชาชาติก็เป็นสมาชิกของศาลโลกด้วย สมัชชาใหญ่และคณะมนตรีความมั่นคง เป็นองค์กรที่เลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก ค่าใช้จ่ายของศาลโลกเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายของสหประชาชาติ รัฐที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ อาจเป็นสมาชิกของศาลโลกได้ หากยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนดไว้ รัฐที่ไม่ได้เป็นทั้งสมาชิกของสหประชาชาติและศาลโลกก็อาจมาใช้บริการศาลได้ ถ้ามีพันธกรณีตามสนธิสัญญาให้ต้องมา
274
Judicial Settlement The International Court of Justice (French: Cour internationale de Justice; commonly referred to as the World Court or ICJ) is the primary judicial organ of the United Nations. It is based in the Peace Palace in The Hague, Netherlands. Its main functions are to settle legal disputes submitted to it by states and to provide advisory opinions on legal questions submitted to it by duly authorized international organs, agencies, and the UN General Assembly.
275
INTERNATIONAL LAW Established in 1945 by the UN Charter, the Court began work in 1946 as the successor to the Permanent Court of International Justice. The Statute of the International Court of Justice, similar to that of its predecessor, is the main constitutional document constituting and regulating the Court.
276
การเลือกตั้งผู้พิพากษา
ผู้พิพากษามีทั้งหมด 15 คน อยู่ในตำแหน่งได้ 9 ปี ทุก 3 ปีจะมีการเลือกตั้งเพื่อเปลี่ยนผู้พิพากษา โดยจะมีผู้พิพากษาออกจากตำแหน่ง 5 คน ทุก 3 ปี บัญชีรายชื่อผู้สมัครเป็นผู้พิพากษาจะส่งไปที่สมัชชาใหญ่แห่งหนึ่ง และที่คณะมนตรีความมั่นคงอีกแห่งหนึ่ง ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากทั้งที่สมัชชาใหญ่และที่คณะมนตรีความมั่นคง โดยปกติศาลจะนั่งครบเต็มจำนวน 15 คน แม้ว่าบทบัญญัติของศาลโลกจะกำหนดองค์ประชุมไว้เพียง 9 คน
277
Court’s composition The ICJ is composed of fifteen judges elected to nine year terms by the UN General Assembly and the UN Security Council from a list of persons nominated by the national groups in the Permanent Court of Arbitration. The election process is set out in Articles 4–19 of the ICJ statute.
278
WORLD COURT’S JURISDICTION อำนาจของศาลโลก
รัฐเท่านั้นที่มีคุณวุติที่จะฟ้องศาลโลกได้ มาตรา 34 วรรค 1 กำหนดให้รัฐเท่านั้น โดยองค์กรระหว่างประเทศ แม้จะเป็นบุคคลระหว่างประเทศแต่ก็ไม่สามารถฟ้องศาลโลกได้ รัฐสามารถฟ้องคดีที่ชนชาติของตนมีส่วนได้เสีย การฟ้องเช่นนี้เรียกว่า การให้ความคุ้มครองทางการทูต ซึ่งโดยความหมายแล้วไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทูต แต่เป็นเรื่องที่ชนชาติธรรมดาของรัฐเสียหาย โดยการกระทำของรัฐต่างชาติ
279
วิธีการให้ความยินยอมของรัฐต่อศาลโลก
ศาลจะพิจารณาคดีได้ก็ต่อเมื่อ รัฐคู่พิพาทยอมรับอำนาจศาล ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้ การให้ความยินยอมโดยทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร (Compromis) ซึ่งจะบ่งว่าพิพาทกันเรื่องอะไร และมีปัญหาประเด็นอะไรบ้างที่ศาลจะใช้ รวมถึงกำหนดหลักกฎหมายที่จะใช้ในการพิจารณา พิพากษาคดี จะถือว่าเป็นการให้ความยินยอมโดยปริยาย ในกรณีที่รัฐคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฟ้องต่อศาลและคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งยอมมาศาลเพื่อสู้คดี
280
การให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้า
ข้อกำหนดเมื่อมีคดีให้มาศาล : ถ้าในสนธิสัญญามีมาตราหนึ่งที่กำหนดว่าถ้ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับการตีความสนธิสัญญาให้ศาลโลกเป็นผู้ชี้ขาด การมีข้อกำหนดเช่นนี้ถือว่าคู่พาคีในสนธิสัญญายอมรับอำนาจศาลไว้ล่วงหน้า ก่อนที่คดีจะเกิดขึ้น สนธิสัญญาที่มีข้อกำหนดยอมรับอำนาจศาลไว้ล่วงหน้านั้น อาจมีข้อยกเว้นไว้ในสนธิสัญญาก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ถ้าคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งอ้างว่าเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวหรือไม่ ศาลจะเป็นผู้ตีความนั้น
281
การประกาศฝ่ายเดียวยอมรับอำนาจศาล ตามข้อ 2 ข้างต้น จะใช้ได้เฉพาะคู่กรณีในสนธิสัญญาเท่านั้น แต่ในกรณีนี้ การประกาศฝ่ายเดียวใช้ได้สำหรับรัฐทุกรัฐ แม้ไม่มีสนธิสัญญาระหว่างกันให้นำคดีมาฟ้องศาลได้ ในอีกนัยหนึ่งหมายความว่า เมื่อรัฐใดรัฐหนึ่งประกาศยอมรับอำนาจศาลโลกไว้ต่อมาเมื่อมีคดีเกิดขึ้น รัฐอีกรัฐหนึ่งที่ได้รับความเสียหายก็อาจนำคดีมาฟ้องศาลโลกได้ โดยรัฐที่ประกาศยอมรับอำนาจศาลโลกไว้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
282
ข้อยกเว้น หากคดีที่เกิดขึ้นเข้าข้อยกเว้นดังต่อไปนี้ ศาลก็จะไม่มีอำนาจเข้ามาพิจารณาพิพากษาคดี: ข้อยกเว้นในเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลา หมายถึงรัฐอาจจะกำหนดระยะเวลาของการยอมรับอำนาจศาล เช่นกำหนดว่า การยอมรับอำนาจศาลจะสิ้นสุดเมื่อใด เป็นต้น ข้อยกเว้นในคดีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐ (Domestic jurisdiction) เมื่อคู่พิพาททั้งสองฝ่ายตกลงจะระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอื่น หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาล
283
“Compromis” (kom-pruh-mee) means A formal document,
INTERNAITONAL LAW “Compromis” (kom-pruh-mee) means A formal document, executed in common by nations submitting a dispute to arbitration, that defines the matter at issue, the rules of procedures and the powers of the arbitral tribunal and the principles for determining the award.
284
WORLD COURT’S POWERS อำนาจวินิจฉัยของศาลโลก
A) The interpretation of a treaty. ตีความสนธิสัญญา B) Any questions of international law. ข้อสงสัยใดๆที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ C) The existence of any fact which, if established, would constitute a breach of international obligation. ข้อเท็จจริง ซึ่งหากปรากฏจะเป็นการฝ่าฝืนหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ D) The nature or extent of the reparation to be made for the breach of an international obligation. วิธีการแก้ไขเยียวยาต่อการฝ่าฝืนต่อหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
285
The Principle of “estoppels” หลักกฎหมายปิดปาก
It means “ a bar preventing one from making an allegation or a denial that contradicts what one has previously stated as the truth”. หมายถึง ในทางกฎหมายหากมีการยอมรับความจริงโดยไม่มีการโต้แย้ง ต่อมาจะปฏิเสธสิ่งที่ยอมรับนั้นไม่ได้
286
คดีเขาพระวิหาร (สรุปข้อเท็จจริง)
เป็นของไทยมาก่อน ตั้งแต่สมัยอยุธยา พระยาละแวกคิดกบฏ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปปราบและทำพิธีปฐมกรรมที่เขาพระวิหาร ศตวรรษที่ ฝรั่งเศสเข้ามา และทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสรวม 5 ครั้ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เขมรได้รับเอกราชแต่ยังไม่สมบูรณ์ คืออู่ภายใต้สหภาพฝรั่งเศส พระเจ้านโรดมสีหนุ ประมุขเขมร ในขณะนั้นได้พยายามต่อสู้ที่จะได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ซึ่งไทยก็ช่วยเหลือสนับสนุนให้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ** เขมรได้เอกราชสมบูรณ์เมื่อวันที่ กันยายน พ.ศ. 2498
287
ต่อมาเขมรได้เรียกร้องเอาเขาพระวิหารไปจากไทย ทั้งนี้เพราะสนธิสัญญาเขมร-ไทย ที่สำคัญ คือ ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ และ 23 มีนาคม พ.ศ ซึ่งฝรั่งเศสทำไว้กับไทยเป็นหลัก ตามความในสนธิสัญญา ทั้ง 2 ฝ่าย (ไทย-French) ต้องตั้งกรรมการผสม (เรียกว่าข้าหลวงผสม) ทำการปักเขตแดนให้เสร็จภายใน 4 เดือน มีการถกเถียงกันและทำไม่เสร็จตามแผน กับมีการทำสนธิสัญญาใหม่เมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ โดยฝรั่งเศสก็ได้พิมพ์แผนที่ขึ้นในปี พ.ศ ให้เขาพระวิหารเข้าไปในเขตแดนเขมร โดยไม่ถือสันปันน้ำเป็นหลัก ทั้งๆที่สนธิสัญญาก็กำหนดให้เป็นไปตามสันปันน้ำ กรณีพิพาท ไทยยึดถือหลักสันปันน้ำ เขมรยึดถือแผนที่ (หลักเรื่อง การตีความสนธิสัญญา)
288
เหตุการณ์เริ่มรุนแรงเมื่อ พ. ศ. 2497 และเมื่อ พ. ศ
เหตุการณ์เริ่มรุนแรงเมื่อ พ.ศ.2497 และเมื่อ พ.ศ ก็หนักขึ้น ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายพยายามใช้หลักกฎหมายระหว่างประเทศแก้ปัญหา พ.ศ เจ้าฟ้านโรดมสีหนุก็เดินทางมาเจรจา แต่ตกลงกันไม่ได้ โดยสรุปว่า เขมรขอให้เสนอเรื่องขึ้นสู่ศาลระหว่างประเทศ ไทยจึงต้องยอมเพราะประกาศรับอำนาจศาลโลกล่วงหน้าไว้แล้ว ไทยอ้างตามข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติว่าปกครองอยู่ (De Facto) เขมรอ้างว่าให้ถือมูลฐานจากหลักกฎหมายที่มีอยู่เป็นตัวกำหนด 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2502(1959) เขมรยื่นฟ้องศาลโลก โดยไทยก็ยินดีที่จะสู้คดีในศาล โดยไทยอ้างข้อเท็จจริงและความผิดพลาดในการทำแผนที่
289
ศาลใช้เวลาตัดสิน 3 ปี โดยพิพากษาเมื่อ 15 มิถุนายน พ. ศ
ศาลใช้เวลาตัดสิน 3 ปี โดยพิพากษาเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ ให้เขาพระวิหารเป็นของเขมรโดยอาศัยหลักกฎหมายปิดปาก ประเด็นคือ เมื่อแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นส่งให้ไทย ถึงแม้ไทยจะมิได้ตอบรับเป็นทางการ แต่ก็ถือได้ว่า มีการรับโดยพฤตินัย ถ้ารัฐบาลไทยต้องการคัดค้านก็ทำได้ในหลายคราว แต่ไม่ทำ ต้องถือตามหลักกฎหมายดังภาษาลาตินที่ว่า “ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ ถ้าเขามีหน้าที่ ที่จะต้องพูดและสามารถพูดได้ ก็คือว่าเขายินยอม” ศาลไม่เชื่อว่าไทยยอมรับเส้นเขตแดนด้วยความเข้าใจผิด
290
เพราะฉะนั้นเขมรชนะคดีด้วยหลักกฎหมายปิดปาก คือศาลทราบความจริงว่าปราสาทอยู่ในเขตไทย แต่เมื่อมีความผิดพลาดในแผนที่ไม่คัดค้านก็ต้องเสียไป โดยยึดหลักกฎหมาย ดังกล่าว
291
ข้อวิจารณ์ ไทยไม่ควรยอมตั้งแต่แรกในการนำคดีขึ้นสู่ศาล เพราะควรศึกษาว่าศาลจะใช้ข้อกฎหมายบังคับ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ฝรั่งเศสมีอิทธิพลมากในขณะนั้น ไทยถูกอุดปาก คือเถียงไม่ขึ้นว่าทำไมถึงไม่ประท้วง โดยอ้างว่า หลักกฎหมายปิดปากต้องคำนึงถึงความยุติธรรมด้วย แต่ต้องคำนึงถึงจารีตประเพณีของท้องถิ่นด้วย หลักกฎหมายปิดปากนี้ไม่ควรใช้ในกรณีที่มีสนธิสัญญากำหนด เส้นเขตแดนที่แน่นอนแล้วโดยถือเอาสันปันน้ำเป็นหลัก หลักนี้ควรใช้เป็นข้อยกเว้น ต่อเมื่อไม่มีสนธิสัญญากำหนดแน่นอนไว้แน่นอน
292
เพราะฉะนั้น ความเห็นของนักกฎหมาย จึงมีได้ว่า “หลักกฎหมายปิดปากไม่ควรสำคัญไปกว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษร” เพราะฉะนั้นเมื่อคำพิพากษาขัดต่อหลักนี้ คำพิพากษาก็ควรจะใช้ไม่ได้เช่นกัน แต่ไทยจำเป็นต้องยอมเพราะเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ศาลอ้างว่า (ไทยยอมรับโดยการนิ่งเฉย)แต่ก็ไม่ได้บอกไว้ในคำพิพากษาว่าใช้หลักอะไรสนับสนุนการกระทำที่ขีดข้องเท็จจริง ---สรุปว่าเป็นผลสำเร็จของอิทธิพลทางการเมืองประกอบกับความเฉื่อยชาของรัฐบาลไทยที่ไม่ยอมทำให้ถูกต้องตามหลักสากล
293
“Diplomatic protection” การให้ความคุ้มครองทางการทูต
is a means for a State to take diplomatic and other action against another State on behalf of its national whose rights and interests have been injured by the other State. รัฐสามารถฟ้องคดีที่ชนชาติของตนมีส่วนได้เสีย ซึ่งเรียกว่าการให้ความคุ้มครองทางการทูต แต่ตามความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทูตแต่เป็นเรื่องที่ชนชาติธรรมดาของรัฐเสียหาย โดยการกระทำของรัฐต่างชาติ
294
เมื่อบุคคลธรรมดา ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรัฐใดรัฐหนึ่ง บุคคลนี้ไม่อาจฟ้องต่อศาลโลกโดยตรงได้ ต้องให้รัฐที่บุคคลนั้นมีสัญชาติทำการฟ้องแทน อย่างไรก็ดีบุคคลธรรมดานั้น จะต้องปฏิบัติให้ครบองค์ประกอบของการคุ้มครองทางการทูตด้วย หลักทฤษฎีถือว่าเป็นการเปลี่ยนสถานะของข้อพิพาท คือขอพิพาทจะกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐ เมื่อรัฐของคนสัญชาติของคนต่างประเทศ ตัดสินใจที่จะเข้าทำการคุ้มครองคนสัญชาติของเขา
295
รัฐจะฟ้องในฐานะมีความเสียหายทางจิตใจ (Moral Damage) เนื่องจากเกียรติยศของประเทศและสิทธิของประเทศได้รับความเสียหาย การที่รัฐเข้าทำการฟ้องแทนคนสัญชาติของเขาก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัฐเองการที่รัฐจะเข้าฟ้องแทนหรือไม่ฟ้องแทนนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐ ในการให้ความคุ้มครองทางการทูต รัฐจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายในเพียงรูปแบบวิธี (Symbolic Reparation) เพราะถือว่ารัฐเองเป็นผู้เสียหายทางจิตใจเท่านั้น
296
เงื่อนไขการให้ความคุ้มครองทางการทูต
เงื่อนไขการให้ความคุ้มครองทางการทูต ต้องมีความสัมพันธ์มากพอระหว่างรัฐกับคนสัญชาติของรัฐ การที่รัฐใดรัฐหนึ่ง จะใช้สิทธิการให้ความคุ้มครองทางการทูตก็ต้องดูที่สัญชาติเป็นหลัก ถ้าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมีสองสัญชาติ จะถือเอาสัญชาติไหนต้องดูจากสัญชาติที่แท้จริงของเขาว่าเป็นสัญชาติอะไร โดยดูความผูกพัน ดังนั้นรัฐที่สัญชาติที่มีความผูกพันมากเท่านั้นที่จะมีสิทธิให้ความคุ้มครองทางการทูต รัฐอื่นแม้บุคคลนั้นจะมีสัญชาติอื่นก็ไม่มีสิทธิให้ความคุ้มครองทางการทูต
297
History Diplomatic protection traces its roots to the 18th century. The idea that a state has a right to protect its subjects who are abroad has been stated in the “The Law of Nations” (by Emmerich de Vattel, a Swiss philosopher, and a diplomat ) “ whoever ill-treats a citizen indirectly injures the State, which must protect that citizen”.
298
The nature of Diplomatic protection
Traditionally, diplomatic protection has been seen as a right of the state. This means that a State is in no way obliged to take up its national's case and resort to diplomatic protection (if it considers this not to be in its own political or economic interests).
299
Legal requirements Customary international law recognizes the existence of certain requirements that must be met before a state can validly espouse(support) its national's interest. The two main requirements are: a) exhaustion of local remedies and b) continuous nationality.
300
Nottenbohm case of 1955 Nottebohm (Liechtenstein v. Guatemala)
Liechtenstein v. Guatemala is the proper name for the 1955 contentious case adjudicated by the International Court of Justice (ICJ). Liechtenstein sought a ruling to force Guatemalan recognition of Friedrich Nottebohm as a Liechtenstein national.
301
BARCELONA TRACTION CASE OF 1970:
Barcelona Traction, Light and Power Company (BTLP) was a Canadian utility company that operated light and power utilities in Spain. It was incorporated on September 12, 1911 in Toronto, Canada by Frederick Stark Pearson. The company was developed by Belgian-American engineer Dannie Heineman. It operated in Spain but was owned mostly by the Belgian holding companies SOFINA and SIDRO and became the subject of the important International Court of Justice case, Belgium v. Spain (1970).
302
Diplomatic Immunity การให้ความคุ้มกันทางการทูต
Diplomatic immunity is a form of legal immunity and a policy held between governments that ensures that diplomats are given safe passage and are considered not susceptible to lawsuit or prosecution under the host country's laws. การให้ความคุ้มกันทางการทูต เป็นเรื่องเอกสิทธิ์ทางการทูต ที่ให้กับบุคคลทางการทูตที่เข้าไปประจำอยู่ในรัฐอื่น
303
International Law Estopel Provisional Clause Nationalization
Moral Damage Compulsory Jurisdiction Symbolic reparation
304
International Law Nottebohm Case, Guatemala(1953) Juristic Person
Barcelona Traction Case(1970) Liechtenstein Nationality Stateless Person STATELESS
305
THE INTERNATIONAL LAW OF THE SEA กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล
306
Maritime Law/Law of the Sea กฎหมายแพ่งพาณิชย์นาวี/กฎหมายทะเล
Maritime law(also referred to as admiralty law) is a body of both domestic law governing maritime activities, and private international law governing the relationships between private entities which operate vessels on the oceans. กฎหมายแพ่งพาณิชย์นาวี หมายถึง กฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องราวของการเดินเรือในทะเล ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องราวของกฎหมายระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในทางทะเลตลอดจน กฎหมายแพ่งพาณิชย์นาวีในสาขาของกฎหมายเอกชน
307
กฎหมายทะเล Law of the Sea is a body of public international law dealing with navigational rights, mineral rights, jurisdiction over coastal waters and international law governing relationships between nations. กฎหมายทะเล หมายถึง เรื่องราวของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ในส่วนที่บัญญัติถึงอำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือพื้นน้ำส่วนต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในการใช้และแสวงหาประโยชน์จากทะเล ทั้งในยามสันติและยามสงคราม
308
Law of The Sea Maritime Law ( Admiralty Law ) or The law of navigation of the surface. I) Classic period: -Principles of Law of The Sea หลักการกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล ซึ่งเป็นหลักสากลที่ยอมรับและใช้ปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ -Customary Law กฎหมายทะเล ที่เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
309
Law of The Sea 1) Classic Period (from ancient time to after World War II) สมัยคลาสสิก (จากอดีตถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง) 2) Geneva Convention on The Law of The Sea (1958) สมัยอนุสัญญากรุงเจนีวา ) The present International Law of The Sea (1982) กฎหมายทะเลในปัจจุบัน
310
กฎหมายทะเลสมัยคลาสสิก
Historical Background พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ Communisomium Naturali Jure ( By the right of natural law, the seas belong to all mankind)- Res Communi (ตามสิทธิแห่งกฎธรรมชาตินั้น ทะเลเป็นของส่วนรวมของมนุษยชาติ- Res Communis)
312
(ไม่เป็นของใครเลย # เป็นของส่วนรวม)
“The monopoly of the Flag” (12th-16Th Centuries) (ทฤษฏีธงเรือถึงไหนอำนาจถึงนั้น) The sea belonging to the king of England (ทะเลที่เรืออังกฤษไปถึงจะตกเป็นของกษัตริย์อังกฤษ) The Black Book of the Admiralty (เอกสารการเดินเรือ) RES NULLIUS # RES COMMUNI (Public domain) (ไม่เป็นของใครเลย # เป็นของส่วนรวม)
313
โปรตุเกสได้อ้างตัวเป็นเจ้าของมหาสมุทรแอตแลนดิก และมหาสมุทรอินเดีย ในขณะที่สเปนประกาศอ้างตนเป็นเจ้าของมหาสมุทรแปสิฟิกและแอตแลนติก จนเกิดกรณีพิพาทกันในที่สุดพระสันตะปาปาออเล็กซานเดอร์ที่ 6 ต้องยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขกรณีพิพาทระหว่างสเปนกับโปรตุเกส เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ และมีการลงนามในสนธิสัญญาในปีต่อมาที่เรียกกันว่า สนธิสัญญา Tordesillos
314
ต่อมาในระยะปลายศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 นั้น ปรากฎว่าได้นักกฎหมายของประเทศที่ได้รับการกระทบกระเทือนในหลักผลประโยชน์แห่งชาติ โดยตรงจากระบบ “ธงเรือถึงไหนอำนาจถึงนั่น” ได้ปฏิเสธระบบดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เป็นระบบที่เป็นธรรม ในขณะเดียวกันก็ได้เสนอหลักการแห่งกฎหมายขึ้นใหม่ ได้แก่ “หลักเสรีภาพในท้องทะเลสากล” (Freedom of High Sea) ของนายโกเซียส (Hugo Grotius) ค.ศ ถึง 1645 ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นบิดากฎหมายระหว่างประเทศ ค.ศ
315
การยอมรับทฤษฎีว่าด้วยหลักเสรีภาพในท้องทะเลของโกเซียส ในสมัยนั้นก็เท่ากับเป็นการยอมรับว่าพื้นน้ำในทะเลนั้น ไม่มีใครยึดเป็นเจ้าของได้นั้นเอง (Res Nullius) แม้ว่าอังกฤษจะประกาศปฎิเสธไม่ยอมรับรู้ทฤษฎีของโกเซียส ในระยะต้นก็ตาม แต่หลักเสรีภาพในการใช้น่านน้ำสากลก็กลับถูกนำมาใช้อีก จนกลายเป็นจารีตประเพณีของกฎหมายระหว่างประเทศของกฎหมายทางทะเลในปัจจุบัน
316
The Adriatic Sea /ˌeɪdriˈætɨk (Albanian: Deti Adriatik) is a body of water separating the Italian Peninsula from the Balkan peninsula. ทะเลอาร์เดียร์ติก คือส่วนของทะเลที่แยกคาบสมุทรอิตาลีจากคาบสมุทรบัลข่าน The Republic of Venice was a major maritime power during the Middle Ages and Renaissance as well as a very important center of commerce (especially silk, grain, and spice) and art in the 13th century up to the end of the 17th century. อาณาจักรเวนิสเคยเป็นมหาอำนาจทางทะเลมหาอำนาหนึ่งในช่วงสมัยกลางและสมัยเรเนซอง และเป็นศูนย์กลางของการพานิชย์ โดยเฉพาะผ้าไหม ธัญพืช เครื่องเทศและศิลปะ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ถึงปลายศตวรรษที่ 17
317
THE BLACK BOOK OF THE ADMIRALTY
The Liber Niger Admiralitatis, or Black Book of the Admiralty, is an illuminated manual of instruction for the Lord High Admiral. It contains details on the appointment and office of admiral, the conduct of cases in the High Court of Admiralty, and a section on the examination and punishment of offenders, and includes the Laws of Oléron, a code of maritime law thought to have been compiled in the thirteenth century under English royal authority.
318
The Treaty of Tordesillas (สนธิสัญญาทอร์เดสซิลลัส) signed at Tordesillas in Spain) on 7 June 1494 and authenticated at Setúbal, Portugal, divided the newly discovered lands outside Europe between Portugal and Spain along a meridian 370 leagues west of the Cape Verde islands (off the west coast of Africa). This line of demarcation was about halfway between the Cape Verde Islands (already Portuguese) and the islands invaded by Christopher Columbus on his first voyage claimed for Spain.
319
Hugo Grotius’ Freedom of the Sea หลักการเสรีภาพในท้องทะเล
Mare Liberum (English: The Free Sea or The Freedom of the high Sea) In The Free Sea, Grotius formulated the new principle that the sea was international territory and all nations were free to use it for seafaring trade and that nobody had the right to deny others access to it. (Res Nullius) หลักการเสรีภาพในท้องทะเล ของ ฮูโก โกรเชียส หมายความว่า รัฐ ซึ่งมีอำนาจอธิปไตยย่อมมีอำนาจและสิทธิในการเดินเรือไปทั่วทุกแห่งหนในบริเวณพื้นน้ำของโลก
320
''Res nullius'' (lit: nobody's property) is a Latin term derived from Roman law whereby res (an object in the legal sense, anything that can be owned, even a slave, but not a subject in law such as a citizen) is not yet the object of rights of any specific subject. Such items are considered ownerless property การยอมรับทฤษฏี ว่าด้วยหลักเสรีภาพในท้องทะเลหลวงก็เท่ากับเป็นการยอมรับว่า พื้นน้ำในทะเลนั้นไม่อาจมีใครยึดเป็นเจ้าของได้นั่นเอง
321
CANNON-SHOT PRINCIPLE ทฤษฏีกระสุนปืนใหญ่
Most scholars attribute the determination of the range of the cannon shot in those times to the Italian Ferdinand Galiani, who measured it at three nautical miles or a league (although the Scandinavian Countries used a league of 4 miles or “German league”) เนื่องจากทฤษฎีความกว้างของทะเลอาณาเขต โดยอาศัยระยะกระสุนปืนใหญ่ตกของ โกรเชียสนั้นยังขาดความแน่นอน ต่อมาในศตวรรษที่ 18 ต่อมานายกาลิเอนี ชาวอิตาเลียน ได้เสนอแนวคิดระยะไกลสุดของกระสุนปืนใหญ่ตกไม่เกินสามไมล์ทะเล เป็นหลักสากล
322
สรุป ข้อสังเกต กฎหมายทะเลในลักษณะคลาสสิกนั้นเป็นกฎหมายทะเลในระยะแรก มีลักษณะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเดินเรือ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เรือรบเรือสินค้า เรือโดยสารตลอดจนถึงเรือประมง รวมทั้งเรื่องการป้องกันตัวของรัฐชายฝั่งจากการโจมตีของเรือข้าศึก หรือการปราบปรามโจรสลัด ซึ่งล้วนแต่ต้องอาศัยเรือที่แล่นบนผิวน้ำทั้งสิ้นเท่านั้น โดยไม่มีการพูดถึงปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรใต้ทะเลหรือในบริเวณไหล่ทวีปใต้ทะเลอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
323
Territorial Waters/High Seas ทะเลอาณาเขต/ทะเลหลวง
Inland and coastal waters under the jurisdiction of a nation or state, especially the ocean waters within 3 or 12 miles (4.8 or 19.3 kilometers) of the shoreline. ทะเลอาณาเขต คือส่วนของทะเลที่เป็นแนวประชิดชายฝั่งยื่นออกไปในทะเลในระยะ 3 ถึง 12 ไมล์ The open waters of an ocean or a sea beyond the limits of the territorial jurisdiction of a country. ทะเลหลวงคือส่วนของทะเลเปิดหรือบริเวณทะเลที่อยู่นอกเหนือขีดจำกัดของอำนาจอธิปไตยของรัฐชายฝั่ง
324
เสรีภาพในทะเลหลวง(น่านน้ำสากล)
Treaty of Tordesillas 1493 Freedom of The High Sea (Hugo Grotius) เสรีภาพในทะเลหลวง(น่านน้ำสากล) Cannon Shot Theory ทฤษฎีปืนใหญ่ Galiani…..3 Nauticla Miles หลักการสามไมล์ทะเลของกาลิเอนี่ Adriatic Sea is a body of water separating Italian Peninsula from the Balkan Peninsula
325
เหตุผลที่นำไปสู่การร่างกฎหมายทะเลฉบับแรก
ชาวโลกได้กลับมาให้ความสนใจกับปัญหาทะเลอย่างจริงจัง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง เป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุผลสำคัญ 4 ประการคือ สงครามโลกได้ทำลายทรัพยากรของโลกไปมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นการบังคับให้มนุษย์ต้องหันไปแสวงหาทรัพยากรและพลังงานจาทะเล เพื่อน้ำมาใช้ทดแทนส่วนที่สูญไปกับสงคราม
326
ในขณะเดียวกันในด้านของวิทยาการ สงครามนั้นได้กลายเป็นตัวเร่งต่อความเจริญทางด้านวิจัย ค้นคว้า ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนทำให้มนุษย์สามารถขุด เจาะ เพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติของพื้นดินใต้ทะเล อันได้แก่ น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์ได้ในความลึก ไม่เกิน 2,500 เมตร การที่บริษัทน้ำมันอเมริกัน (Magnolia Petroleum Company) สามารถขุดพบน้ำมันในไหล่ทวีปใต้ทะเล ในบริเวณห่างจากรัฐหลุยส์เชียน่า 28 ไมล์ ในปี ค.ศ. 1945 วี
327
ประธานาธิบดีทรูแมน ได้ออกประกาศควบคุมทรัพยากรบริเวณไหล่ทวีปใต้ทะเลที่มีอาณาเขตต่อเนื่องจากพื้นแผ่นดินสหรัฐ แม้ว่าจะอยู่ใต้ทะเลหลวงก็ตาม โดยให้ถือว่าทรัพยากรในบริเวณไหล่ทวีปต่างๆ อยู่ภายใต้อำนาจและการควบคุมของสหรัฐอเมริกา ต่อมาทำให้ประเทศบางประเทศ เช่น เปรูก็ได้ประกาศความกว้างของอณาเขตและไหล่ทวีปของตนถึง 200 ไมล์ ในปี ค.ศ และซิลีก็ได้ประกาศเช่นเดียวกัน ในปีเดียวกัน
328
ประเด็นทางด้านยุทธศาสตร์ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มนุษย์สามารถสร้างเรือดำน้ำปรมาณู และเรือบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ อันเป็นสาเหตุสำคัญในการเปลี่ยนมาตรการป้องกันประเทศจากทางทะเลโดยสิ้นเชิง ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจากบรรดาเรือบรรทุกน้ำมันชาติต่างๆ จึงมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิ อันเนื่องมาจากปัญหามวลพิษในทะเล ในที่สุด สหประชาชาติจึงได้ตกลงใจ ยื่นมือเข้าแก้ไขปัญหาทางทะเล โดยการจัดประชุมระหว่างประเทศเพื่อร่างกฎหมายทะเลให้เป็นไปในลักษณะที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
329
CLASSIC PERIOD Magnolia Petroleum Company
Law of The Sea / Maritime Law Territorial Sea (water) High Seas Communisomium Naturali Jure The Black Book of Admiralty
330
Treaty of Tordesillas 1493 Freedom of The High Sea (Hugo Grotius) Principles of International Law of The Sea Customary Law Geneva Convention on Law of The Sea 1958 The present International Law of The Sea(1982)
331
United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS 1) 1958
I) Convention on the Territorial Sea and Contiguous Zone (Enter into force: Sept.1964) อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง II) Convention on The High Seas(Sept.1962) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง III) Convention on fishing and conservation of living resources of The High Seas (March 1966) อนุสัญญาว่าด้วยการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลหลวง IV) Convention on The Continental Shelf (June 1964) อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป
332
Concept of Sovereignty
The territorial sea is regarded as the sovereign territory of the state. ทะเลอาณาเขตถือว่าอยู่ในส่วนอำนาจอธิปไตยของรัฐ This sovereignty extends beyond its land territory and internal waters and also extends to the airspace over as well as to its bed and subsoil. อำนาจอธิปไตยของรัฐขยายต่อออกไปจากพื้นดินไปยังพื้นน้ำ ส่วนที่เป็นแนวทะเลประชิดชายฝั่งของตน ซึ่งมีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน
334
LAW OF THE SEA 1958(UNCLOS1) Territorial Sea: The area of the sea measured from the base line (shore) whose breadth cannot be extended beyond 12 nautical miles. Coastal states have full sovereignty over this area.(articles,1,2) นอกจากนั้นแล้วอำนาจอธิปไตยของรัฐยังขยายไปถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขตตลอดจนพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของทะเลอาณาเขตอีกด้วย
336
LAW OF THE SEA 1958 RIGHT OF INNOCENT PASSAGE THEORY: สิทธิในการผ่านโดยสุจริต “passing through waters in an expeditious and continuous manner, which is no ‘prejudicial to the peace, good order or the security’ of the coastal state” สิทธิในการผ่านโดยสุจริต: คือทฤษฎีที่หมายถึง เรือของรัฐทั้งหลายมีสิทธิในการเล่นผ่านทะเลอาณาเขตของรัฐอื่นได้ รวมทั้งการหยุดและการทอดสมอก็อาจจะกระทำได้ ถ้าจำเป็นต้องกระทำโดยเหตุสุดวิสัย
337
การผ่านโดยสุจริตใจนั่น เรือที่แล่นผ่านต้องไม่พยายามกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อสันติภาพและความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง และยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ ซึ่งรัฐชายฝั่งอาจตราขึ้น และประกาศให้ทราบ
338
Law of the Sea 1958 Contiguous Zone: เขตต่อเนื่อง
Area further territorial sea which cannot be extended beyond 12 nautical miles measured from the base line. (Article 24) เขตต่อเนื่อง : คือทะเลหลวง ซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของรัฐชายฝั่งนั้น และมิอาจขยายเกิน 12 ไมล์ นับจากเส้นฐาน ประเทศที่มีอาณาเขตกว้างเกิน 12 ไมล์ ก็จะไม่มีสิทธิมีเขตต่อเนื่องโดยปริยาย
340
In the contiguous zone:
LAW OF THE SEA 1958 In the contiguous zone: -a state can continue to enforce laws in four specific areas: pollution, taxation, customs and immigration. เขตต่อเนื่อง มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับการศุลกากร การรัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย
341
Law of the Sea 1958 CONTINENTAL SHELF:
The seabed and subsoil of the submarine areas adjacent to the coast but outside the area of the territorial sea, to a depth of 200metres or, beyond the limit, to where the depth of the waters admit of the exploitation of the natural resources of the said areas. (Articles1,2,3,4and 5.1)
342
ไหล่ทวีป ไหล่ทวีป : หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเลที่ประชิดกับชายฝั่ง แต่อยู่ภายนอกทะเลอาณาเขตจนถึงความลึก 200 เมตร (จากระดับน้ำทะเล) หรือเกินขีดจำกัดนั้น ไปจนถึงที่ซึ่งความลึกของน่านน้ำเหนือที่นั่นสามารถจะให้แสวงหาผลประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณดังกล่าวได้ โดยให้หมายความรวมถึง พื้นดินท้องทะเล และดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ที่ประชิดกับชายฝั่งของเกาะด้วย
343
LAW OF THE SEA 1958 Coastal states have the sovereign rights to harvest mineral and non-living material in the subsoil of its continental shelf, to the exclusion of others but no control over living resources nor creatures living in the water above. รัฐชายฝั่งมีเพียงสิทธิอธิปไตย (the sovereign rights) เหนือไหล่ทวีปเท่านั้นไม่ใช่มีอธิปไตย (Sovereignty) เหมือนทะเลอาณาเขต
344
สิทธิอธิปไตยของรัฐชายฝั่ง เหนือบริเวณไหล่ทวีป ก็ต้องเป็นไปเพื่อความมุ่งประสงค์ในการสำรวจไหล่ทวีป และแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของไหล่ทวีปเท่านั้น สิทธิของรัฐชายฝั่งนี้ จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสถานะภาพทางกฎหมาย ของน่านน้ำที่อยู่เหนือในฐานะเป็นทะเลหลวงหรือของห้วงอากาศ เหนือน่านน้ำเหล่านั้นแต่อย่างใด รวมทั้งยังต้องไม่เป็นการขัดขว้างการวาง หรือการบำรุงรักษาสายหรือท่อใต้น้ำบนไหล่ทวีปตลอดจนการเดินเรือ การประมง หรือการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลด้วย
345
Image of Continental Shelf
346
LAW OF THE SEA MEDIUM LINE (Equidistance)/เส้นมัธยะ วิธีการแบ่งไหล่ทวีปในกรณีที่อาณาเขตของรัฐสองรัฐตั้งอยู่ประชิดกัน หรือมีฝั่งทะเลอยู่ตรงกันข้ามหากไม่มีการตกลงระหว่างกันให้ใช้หลักเส้นมัธยะในการแบ่ง
347
เรือจะใช้เดินภายใต้ธงเพียงรัฐเดียวเท่านั้น
Major Points on Convention of the High Sea ข้อสรุป ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง หลักเสรีภาพในการเดินเรือ การประมง การวางสายและท่อใต้ทะเล การบินเหนือทะเลหลวง เรือจะใช้เดินภายใต้ธงเพียงรัฐเดียวเท่านั้น เรือรบในทะเลหลวงมีความคุ้มกันโดยสมบูรณ์ จากอำนาจของรัฐใดๆ นอกเหนือไปจากรัฐเจ้าของธง ในกรณีที่มีอุบัติเหตุในทะเลหลวง การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลประจำการของเรือมิอาจกระทำได้ เว้นแต่จะกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของธงหรือของรัฐซึ่งบุคคลเช่นว่า เป็นคนชาตินั้น
348
Hot pursuit การไล่ติดตาม can refer to an immediate pursuit whereby the competent security officers or the agents of a state are allowed to pursue a fleeing offender provided that the pursuit (chase) must start within the territory of the pursuing state, and is continuous and without any interruption. การไล่ติดตาม: การไล่ติดตามเรือต่างชาติอาจกระทำได้เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐชายฝั่งมีเหตุผลอันสมควรที่เชื่อได้ว่าเรือนั้นได้ละเมิดกฎหมายและข้อบังคับของรัฐนั้น การไล่ติดตามเช่นว่าจะต้องเริ่มต้นเมื่อเรือต่างชาตินั้นอยู่ภายในน่านน้ำภายในหรือทะเลอาณาเขตหรือเขตต่อเนื่อง การติดตามต้องกระทำโดยไม่ขาดระยะถึงแม้จะออกสู่ทะเลหลวงก็ยังกระทำ แต่สิทธิในการไล่ติดตามจะสิ้นสุดลงเมื่อเข้าสู่ทะเลอาณาเขตของรัฐอื่น หรือรัฐที่สาม
350
LAW OF THE SEA(UNCLOS2) A success? It left open the important issue of breadth of territorial waters. การประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเลครั้งที่ 1 ในปี 1958 นั้น แม้ว่าจะประสบผลสำเร็จพอสมควรในเรื่องทั่วไป แต่ก็ประสบความล้มเหลวในเรื่องการกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขต In 1960 the United Nations held the second conference on the Law of the Sea (UNCLOS II) but did not result in any new agreements. องค์การสหประชาชาติได้มีมติให้มีการจัดประชุมกฎหมายทะเลครั้งที่สองขึ้นในเดือน เมษายนปี ค.ศ.1960 ที่กรุงเจนีวาแต่ก็ปรากฏว่าที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องเกี่ยวกับความกว้างของทะเลอาณาเขต
351
เหตุผล : ในช่วงระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาปรากฏว่าได้มีประเทศเกิดใหม่หลายประเทศและส่วนใหญ่ไม่ยอมเข้าเป็นพาคีของอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ.1958 เนื้อหาของอนุสัญญากรุงเจนีวาทั้ง 4 ฉบับนั้น มุ่งที่จะพิทักษ์ผลประโยชน์ทางทะเลที่มีกำลังทางเรือมากกว่าของประเทศด้อยพัฒนา ชาติใหญ่พยายามจะกำหนดทะเลอาณาเขตให้แคบที่สุดเพื่อที่จะให้ได้ทะเลหลวงที่กว้างไว้ อันเป็นการสะดวกแก่การเดินเรือและการประมง ซึ่งชาติเล็กย่อมเสียเปรียบ
352
บทบัญญัติหลายมาตราขาดความแน่นอน ทำให้รัฐต่างๆตีความเพื่อให้ได้ประโยชน์กับตนเองมากที่สุด
ประเทศมหาอำนาจใหม่คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ถือว่าตนไม่ได้มีส่วนร่วมร่างและพิจารณาในการสร้างกฎหมายทะเลในครั้งนั้น
353
New Concepts of the International Law of the Sea/ แนวความคิดใหม่ของกฎหมายทะเล
Dr. Pardo, of Malta/ UN Resolution 2467 for the Common Heritage of Mankind (1967) ในปี 1967 ได้มีผู้แทนของประเทศมอลต้าในสหประชาชาติ คือ ดอกเตอร์ปาโด้ ได้เรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาทะเลในลักษณะของการสร้างอนุสัญญาระหว่างประเทศ โดยให้ยึดหลักการขั้นพื้นฐานว่าทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณก้นทะเล หรือใต้ดินของพื้นทะเลนั้นเป็น “สมบัติตกทอดโดยธรรมชาติของมนุษย์” (Common Heritage of Mankind )
354
Historical Background
The issue of varying claims of territorial waters was raised in the UN in 1967 by Arvid Pardo, of Malta, and in 1973 the Third United Nations Conference on the Law of the Sea was convened in New York.
355
ในเรื่องทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง
Third UN Convention on the Law of the Sea การประชุมกฎหมายทะเลระหว่างประเทศครั้งที่ 3 ปัญหาสำคัญในการประชุมครั้งที่ 3 นี้ คือการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของลักษณะกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล โดยมีการเสนอแนวคิดใหม่ ในเรื่องดังต่อไปนี้ : ในเรื่องทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ในเรื่องช่องแคบที่ใช้ในการเดินเรือระหว่างประเทศ ในเรื่องไหล่ทวีป ในเรื่องทะเลหลวง ในเรื่องเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (The Exclusive Economic Zone) ในเรื่องหมู่เกาะ (Archipelagos)
356
UNCLOS III บริเวณทะเลอาณาเขตมีการกำหนดระยะความกว้างแน่นอนเป็น 12 ไมล์
Territorial waters : Out to 12 nautical miles (22 kilometers) from the baseline. บริเวณทะเลอาณาเขตมีการกำหนดระยะความกว้างแน่นอนเป็น 12 ไมล์ Vessels were given the right of innocent passage through any territorial water. เรือทั้งหลายยังมีสิทธิในการผ่านบริเวณทะเลอาณาเขต ภายใต้สิทธิในการผ่านโดยสุจริตเหมือนเดิม
358
Straits used of for International Navigation ช่องแคบระหว่างประเทศที่ใช้ในการเดินเรือ
Transit Passage Theory:ทฤษฎีผ่าน มีการกำหนดให้ใช้นำทฤษฎีผ่านมาใช้ในทะเลอาณาเขตในส่วนที่เป็นช่องแคบระหว่างประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ให้มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนยิ่งขึ้น โดยในประเด็นที่สำคัญคือต้องการให้เรือดำน้ำแล่นผ่านโดยไม่ต้องโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ การใช้สิทธิผ่านนี้จะต้องกระทำการติดต่อและรวดเร็ว และการผ่านจะต้องเป็นการผ่านระหว่าทะเลหลวงหรือเขตเศรษฐกิจจำเพราะไปยังทะเลหลวงหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ คือจะผ่านเพื่อวกเข้าไปในทะเลอาณาเขตหรือน่านน้ำภายในไม่ได้
359
UNCLOS III Contiguous zone: Beyond the 12 nautical mile limit, there is a further 12 nautical miles from the territorial sea baseline limit, in which a state can continue to enforce laws in four specific areas: customs, taxation, immigration and pollution. มีการกำหนดความกว้างใหม่ของเขตต่อเนื่องเป็น 12 ไมล์ ส่วนหลักการนั้นเหมือนเดิม คือรัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตย ในบริเวณนี้ในเรื่องการศุลกากร การรัษฎากร การตรวจคนเข้าเมืองและการอนามัย
361
The continental shelf: ไหล่ทวีป
ไหล่ทวีป หลักการทั่วไปยังคงเหมือนเดิม ตามที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญาปี 1958 ในส่วนของข้อเสนอใหม่นั้น คือ วิธีการกำหนดความกว้างของไหล่ทวีป โดยแทนที่จะใช้วิธีวัดความลึก จากผิวน้ำลงไปในระดับความลึกระดับ 200 เมตรตามเดิมนั้นให้เปลี่ยนมาใช้วิธีวัดจากระยะการลาดเทของพื้นทะเลที่ออกไป จากแผ่นดินใหญ่จนไปสิ้นสุดที่ขอบสุดของลาดทวีป (Oter edge of the continental margin) เป็นระยะ 200 ไมล์ หรือเกินกว่านั้น เท่าที่จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่ต้องไม่เกิน 350 ไมล์ โดยรวม
363
Exclusive Economic Zone (EEZ)
เขตเศรษฐกิจจำเพาะ หมายถึง น่านน้ำส่วนที่ต่ออกไปจากทะเลอาณาเขต โดยวัดจากเส้นฐานออกไปเป็นระยะ 200 ไมล์ ในบริเวณดังกล่าวนี้ รัฐชายฝั่งจะมีสิทธิอธิปไตย (Sovereign rights) ในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณห้วงน้ำ บริเวณพื้นดินใต้น้ำและใต้ดินพื้นทะเล โดยการใช้สิทธิดังกล่าวนี้จะต้อไม่กระทบกระเทือนต่อการเดินเรือ การวางสายสื่อสารหรือการวางท่อ การที่รัฐอื่นจะมาทำการค้นคว้าวิจัยในบริเวณเขตเศรษฐกิจนั้นจะต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐชายฝั่งก่อนด้วย
365
Archipelago Concept/ทฤษฎีหมู่เกาะ เป็นข้อเสนอใหม่ของรัฐหมู่เกาะ(Archipelagic States)ได้แก่ Fiji, Indonesia, Philippine โดยใช้หลักการเส้นฐานตรงคือ อนุญาตให้มีการลากปิดชายฝั่งส่วนนอกสุดของเกาะ โดยลากเส้นเป็นเส้นตรงรอบหมู่เกาะเป็นตอนๆ จากจุดนอกสุดของเกาะหนึ่งไปยังจุดนอกสุดของอีกเกาะหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงระยะแต่ละจุดว่าห่างกันเท่าใด
366
Archipelago Concept HIGH SEA HIGH SEA HIGH SEA
367
เส้นรอบวงนี้ ถือเป็นเส้นฐาน (Base lines)สำหรับใช้ในการจับทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขตไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ บริเวณน่านน้ำที่อยู่ภายในเส้นรอบวงหมู่เกาะจึงกลายเป็นน่านน้ำภายใน ซึ่งรัฐหมู่เกาะมีอำนาจอธิปไตยเช่นเดียวกับบนพื้นดิน แต่ยอมให้มีการใช้สิทธิในการผ่านโดยสุจริต (Right of innocent passage)โดยรัฐหมู่เกาะจะเป็นผู้กำหนดเส้นทางเดินเรือ ซึ่งเรือทุกลำต้องปฏิบัติตาม
368
Archipelago Concept HIGH SEA HIGH SEA HIGH SEA
369
เหตุผลสำคัญของรัฐหมู่เกาะเพื่อเสนอทฤษฎีดังกล่าว คือ:
เพื่อความมั่นคงของรัฐหมู่เกาะจากการซุ่ม ซ่อนของเรือดำน้ำของข้าศึก หรือจากการแทรกแซงของภายนอก เพื่อป้องกันอันตรายจากมลภาวะ(Pollution)ของน้ำมันในกรณีอุบัติเหตุเรือบรรทุกน้ำมัน เพื่อสิทธิในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถือว่าน่านน้ำดังกว่าเป็นอู้ข้าวอู้น้ำของประชาชน
370
Law of the Sea (UNCLOS) 1982 The Convention was opened for signature on 10 December 1982 in Montenegro Bay, Jamaica. This marked the culmination of more than 14 years of work involving participation by more than 150 countries representing all regions of the world. At the time of its adoption, the Convention introduced new legal concepts and regimes and addressed new concerns. The Convention also provided the framework for further development of specific areas of the law of the sea.
371
Thailand and UNCLOS 1982 On April 26, 2011, the 6th Joint Session of the Parliament approved Thailand’s becoming State party to the United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS) Thailand also made a declaration according to Article 298, declaring that Thailand DOES NOT accept compulsory dispute settlement procedures entailing binding decisions with respect to certain categories of disputes, especially those concerning maritime boundary disputes. The Convention entered into force for Thailand on 14 June 2011 in accordance with its article 308 (2).
372
Summary of Development of UNCLOS 1,UNCLOS2 and UNCLOS 3
In 1956, the United Nations held its first Conference on the Law of the Sea (UNCLOS I) at Geneva, Switzerland. UNCLOS I resulted in four treaties concluded in 1958.
373
UNCLOS II In 1960, the United Nations held the second Conference on the Law of the Sea ("UNCLOS II"); however, the six-week Geneva conference did not result in any new agreements. Generally speaking, developing nations and third world countries participated only as clients, allies, or dependents of United States or the Soviet Union, with no significant voice of their own.
374
UNCLOS III The issue of varying claims of territorial waters was raised in the UN in 1967 by Arvid Pardo, of Malta, and in 1973 the Third United Nations Conference on the Law of the Sea was convened in New York. In an attempt to reduce the possibility of groups of nation-states dominating the negotiations, the conference used a consensus process rather than majority vote. With more than 160 nations participating, the conference lasted until The resulting convention came into force on November 16, 1994, one year after the sixtieth state, Guyana, ratified the treaty.
375
UNCLOS III Continues….. The convention introduced a number of provisions. The most significant issues covered were setting limits, navigation, archipelagic status and transit regimes, exclusive economic zones (EEZS), continental shelf jurisdiction, deep seabed mining, the exploitation regime, protection of the marine environment, scientific research, and settlement of disputes.
376
ผลกระทบของกฎหมายทะเลฉบับใหม่ที่มีต่อประเทศไทย
ข้อเท็จจริง : ประเทศไทยมีฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยยาวประมาณ 1000 กิโลเมตร และฝั่งมหาสมุทรอินเดียยาวประมาณ 300 กิโลเมตร ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งจำเป็นต่อการขนส่งทางทะเล ดังนั้นการขนส่งทะเลจึงมีอิทธิพลต่อผลประโยชน์ของชาติและการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ การประมงเป็นอุตสาหกรรมใหญ่และไทยได้เคยเสนอเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีหมู่เกาะ ว่าต้องมีการตกลงกันระหว่างรัฐเป็นหลัก ไทยถูกรอบรอบโดยหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ทางด้ายทิศตะวันออกและหมู่เกาะอินโดนีเซียทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก โดยมีเกาะนิโคบาของอินเดียอยู่ทางฝั่งตะวันตกของไทยเช่นกัน
377
เงื่อนไขและข้อต่อรอง
ทั้งฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ยืนยันเรื่องทฤษฎีหมู่เกาะไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหรือไม่ ประเทศเวียดนามประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะในปี ค.ศ.1976 ในขณะที่ไทยไม่ยอมรับในตอนต้น แต่ต่อมาได้ยอมรับและประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยเอง เมื่อปี ค.ศ.1980 ไทยสามารถขยายเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้เพียง 130 ไมล์เท่านั้น ไทยต้องพึ่งช่องแคบมะละกาเพื่อออกมหาสมุทรอินเดียและช่องแคบของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เพื่อออกมหาสมุทรแปสิฟิก ดังนั้นทางออกช่องแคบจึงเป็นปัญหาทางด้านยุทธศาสตร์ และทางด้านความมั่นคงของไทย แม้ว่าจะมีทฤษฎีผ่าน (Transit Passage) ก็ตาม
378
ปัญหาไหล่ทวีป อ่าวไทยทั้งอ่าวมีความลึกไม่เกิน 200 เมตร ดังนั้น ทั้งอ่าวไทยจึงมีลักษณะเป็นไหล่ทวีป อ่าวไทยประกอบด้วยประเทศไทย กัมพูชา เวียดนาม จึงขยายได้ไม่เหมือนที่อื่นๆ ในส่วนด้านทะเลอันดามัน ไหล่ทวีปก็ขยายได้ไม่ถึง 200 ไมล์เช่นเดียวกัน เพราะมีเกาะนิโคบาของอินเดียตั้งอยู่ การแบ่งอาณาเขตของทะเลโดยใช้หลักเส้นมัธยะ (Median Line) ไทยก็เสียเปรียบเพราะเกาะของไทยอยู่ใกล้ฝั่ง
379
ข้อสังเกต การต่อรองควรเป็นไปในรูปแบบที่ ประเทศที่มีฝั่งทะเลยาวกว่าควรได้ประโยชน์มากกว่าประเทศที่มีฝั่งทะเลสั้นกว่า ดังนั้น จึงควรที่จะมีการกำหนดความยาวของฝั่งทะเลเป็นปัจจัยประกอบด้วย ปัญหาด้านการประมง บริเวณปลายญวนใต้ประเทศกัมพูชา มีบริเวณที่เรียกว่า “แหล่งปลาชุกชุม” (Shallow Shelf)ซึ่งเคยอยู่ในบริเวณน่านน้ำสากล แต่เมื่อมีการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะก็ทำให้ประเทศไทย ไม่สามารถเข้าไปจับปลาในบริเวณดังกล่าวได้อีกต่อไป
380
อุสาหกรรมการประมงน้ำลึกของประเทศไทย นับว่าก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยเคยมีสถิติ มีอุสาหกรรมการประมงเป็นอันดับ 7 ของโลก แต่หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายทะเลฉบับปัจจุบัน มีผลทำให้ประเทศไทย ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งจับปลาขนาดใหญ่ในบริเวณรอบๆ อ่าวไทย เนื่องจาก บริเวณดังกล่าวได้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเพื่อนบ้านไปทั้งหมด ในแง่ยุทธศาสตร์การถูกล้อมรอบด้วยข้อจำกัดของทฤษฎีหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้เรือรบของไทยไม่สามารถออกสู่มหาสมุทรใหญ่ โดยเสรีได้
381
LAW OF THE SEA 1982: New legal concepts
A) Transit Passage B) Exclusive Economic Zone (EEZ) formerly know before the second world war as “Patrimonial Sea” C) Archipelago Concept D) Archipelagic States E) Regime of Islands F) Enclosed & Semi-Enclosed Seas
382
Transit Passage (for straits used for international navigation)
ทฤษฎีผ่านใช้สำหรับการเดินเรือผ่านช่องแคบระหว่างประเทศ Transit passage is a concept in which allows for a vessel and aircraft in accordance with Law of the Sea 1982 (Part III) of the freedom of navigation and over flight solely for the purpose of continuous and expeditious transit of the Strait between one part of the high seas or an exclusive economic zone and another part of the high seas or an exclusive economic zone.
383
MORE…. The submarines are free to transit international straits submerged, since that is their normal mode of operation. The legal regime of transit passage exists in the most important straits for the international trade exchange and security.
384
EXCLUSIVE ECONOMIC ZONE
Under the law of the sea, an exclusive economic zone (EEZ) is a sea zone over which a state has special rights over the exploration and use of marine resources, including production of energy from water and wind.., It stretches from the seaward edge of the state's territorial sea out to 200 nautical miles from its coast.
385
Definition Of EEZ A state's exclusive economic zone starts at the seaward edge of its territorial sea and extends outward to a distance of 200 nautical miles (370,4 km) from the baseline. Thus, the EEZ includes the contiguous zone. States also have rights to the seabed of what is called the continental shelf up to 350 nautical miles (648 km) from the coastal baseline, beyond the EEZ, but such areas are not part of their EEZ.
386
IMAGES OF EEZ
387
Baselines and EEZ in East and Southeast Asia
388
Archipelago Concept According to the Law of the Sea Convention, an Archipelago(arkhi-chief + pelagos –sea) is "a group of islands, including parts of islands, interconnecting waters and other natural features which are so closely interrelated that such islands, waters and other natural features form an intrinsic geographical, economic and political entity, or which historically have been regarded as such."
389
Archipelago Concept HIGH SEA HIGH SEA HIGH SEA
390
Archipelagic Waters A baseline is drawn between the outermost points of the outermost islands, subject to these points being sufficiently close to one another. All waters inside this baseline are designated Archipelagic Waters. The state has full sovereignty over these waters (like internal waters), but foreign vessels have Right of Innocent Passage through archipelagic waters (like territorial waters).
391
Archipelago Concept HIGH SEA HIGH SEA HIGH SEA
392
Archipelagic States The convention set the definition of Archipelagic States in Part IV, which also defines how the state can draw its territorial borders. A baseline is drawn between the outermost points of the outermost islands, subject to these points being sufficiently close to one another. All waters inside this baseline are designated Archipelagic Waters. The state has full sovereignty over these waters (like internal waters), but foreign vessels have right of innocent passage through archipelagic waters (like territorial waters).
393
UNCLOS III (Image)
394
Straits used for International Navigation
Through these waters, ships and aircraft of all countries are allowed “transit passage”, as long as they proceeded without delay and without threatening the bordering States. During transit passage, foreign ships, including maritime scientific research and hydrographic survey ships, may not carry out any research or survey activities without the prior authorization of the States bordering straits. States alongside the straits are able to regulate navigation and other aspects of passage.
395
Exclusive Economic Zone (EEZ)
An Exclusive Economic Zone not extending a 200-nautical-mile distance, may be declared by any coastal State, in which event such State is endowed with sovereign rights for the purpose of exploring and exploiting, conserving and managing the natural resources, whether living or non-living, of the waters superjacent to the sea-bed and of the sea-bed and its subsoil, and with regard to other activities for the economic exploitation and exploration of the zone, such as the production of energy.
396
Image of the Philippines islands
397
New Concepts Territorial waters: Out to 12 nautical miles from the baseline. The coastal state is free to set laws, regulate use, and use any resource. Contiguous zone: Beyond the 12 nautical miles, there is a further 12 nautical miles from the territorial sea in which a state can continue to enforce law in four specific areas: customs, taxation, immigration and pollution.
398
More…. Continental shelf: is defined as the “natural prolongation” of the land territory to the continental margin’s outer edge, or 200 nautical miles from the coastal state’s baseline whichever is greater. A state’s continental shelf may exceed 200 nautical miles until the natural prolongation ends. However, it may never exceed 350 nautical miles from the baseline.
399
Transit passage exists throughout the entire strait and not just the area overlapped by the territorial sea of the coastal nations. The ships and aircraft of all nations, including warships, auxiliaries, and military aircraft, enjoy the right of unimpeded transit passage such straits and their approaches.
400
Regime of Islands(Article 121)
1. An island is a naturally formed area of land, surrounded by water, which is above water at high tide. 2. Except as provided for in paragraph 3, the territorial sea, the contiguous zone, the exclusive economic zone and the continental shelf of an island are determined in accordance with the provisions of this Convention applicable to other land territory.
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.