งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โอกาสสุดท้ายทำโรงแรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โอกาสสุดท้ายทำโรงแรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โอกาสสุดท้ายทำโรงแรม
ปลดล็อค โอกาสสุดท้ายทำโรงแรม ให้ถูกกฎหมาย

2 กฎหมายโรงแรมในประเทศไทย
บัณฑูร นริศรางกูร ผอ.ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 โทร

3 นิยามคำว่า โรงแรม พ.ร.บ.โรงแรม 2478 “โรงแรม” หมายความว่า บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์จะหาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว พ.ร.บ.โรงแรม 2547 “โรงแรม” หมายความว่า สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นโดยมีค่าตอบแทน ทั้งนี้ไม่รวมถึง

4 สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราว ซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเพื่อการกุศล หรือการศึกษา ทั้งนี้โดยมิใช่เป็นการผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการที่พักอาศัยโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น สถานที่พักอื่นใดตามกำหนดในกฎกระทรวง

5 กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551
กฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 ให้สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกินสี่ห้องและมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อบริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด ไม่เป็นโรงแรมตาม (3) ของบทนิยามคำว่า “โรงแรม”ในมาตรา 4

6 การนำโรงแรมที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเข้าสู่ระบบกฎหมาย
มาตรา 63 พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 กำหนดให้ 1. ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ก่อนวันที่หรือในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2547) 2. ถ้าประสงค์จะประกอบธุรกิจโรงแรมต่อไป ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนโรงแรมภายใน 1 ปี นับวันที่กฎหมายซึ่งออกตาม มาตรา 13 ใช้บังคับ

7 ถามว่า : กฎกระทรวงตามมาตรา 13 ที่ระบุในมาตรา 63 ของ พ. ร. บ
ถามว่า : กฎกระทรวงตามมาตรา 13 ที่ระบุในมาตรา 63 ของ พ.ร.บ.โรงแรม 2547 ใช้บังคับเมื่อใด ตอบว่า : กฎกระทรวงดังกล่าว คือ กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 ดังนั้น โรงแรมที่ไม่ได้รับอนุญาตที่ประกอบธุรกิจอยู่ก่อนหรือในวันที่ 12 พ.ย.2547 หากประสงค์จะประกอบธุรกิจโรงแรมต่อไป ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อ นายทะเบียนภายในวันที่ 14 พ.ค.2551 ถึง 15 พ.ค. 2552

8 การแก้ไขปัญหา ด้านผังเมือง
กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแจ้งให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดหรือสำนักผังเมือง ดำเนินการแก้ไขหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองโดยให้อาคารที่ใช้ประกอบกิจการโรงแรมประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เป็นอาคารที่อยู่อาศัยสามารถก่อสร้างได้ในที่ดินทุกประเภท เพื่อให้โรงแรมประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 สามารถอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ถูกต้องตามกฎหมาย

9 ด้านที่จอดรถ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 64 (พ.ศ.2555) แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) เรื่องที่จอดรถ โดยกำหนดให้อาคารโรงแรมที่มีพื้นที่ห้องโถงหรือพื้นที่ที่ใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกัน ตั้งแต่ ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีอาคารที่จอดรถ (ห้องโถง คือ ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่ชุมนุมหรือประชุม)) กรุงเทพมหานคร ห้องโถงตั้งแต่ 300 ตร.ม. ที่จอดรถไม่น้อยกว่า 1 คัน/10 ตร.ม. เศษของ 10 ตร.ม.ให้คิดเป็น 10 ตร.ม. กรุงเทพมหานคร พื้นที่พาณิชยกรรม ที่จอดรถไม่น้อยกว่า 1 คัน/20 ตร.ม. เศษของ 20 ตร.ม.ให้คิดเป็น 20 ตร.ม. เทศบาล/ท้องที่ที่ พ.ร.บ.ควบคุม การก่อสร้างอาคาร 2479 บังคับ ห้องโถงตั้งแต่ 300 ตร.ม. ที่จอดรถไม่น้อยกว่า 1 คัน/30 ตร.ม. เศษของ 30 ตร.ม.ให้คิดเป็น 30 ตร.ม. เทศบาล/ท้องที่ที่ พ.ร.บ.ควบคุม การก่อสร้างอาคาร 2479 บังคับ พื้นที่พาณิชยกรรม ที่จอดรถไม่น้อยกว่า 1 คัน/40 ตร.ม. เศษของ 40 ตร.ม.ให้คิดเป็น 40 ตร.ม. * กรณีที่โรงแรมที่มีพื้นที่ห้องโถงหรือพื้นที่ที่ใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 300 ตร.ม.ขึ้นไป หรือโรงแรมที่มีอาคารขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตามสภาพธรรมชาติไม่สามารถนำรถยนต์เข้าไปใช้ได้ จะไม่จัดให้มีที่จอดรถยนต์ ที่กลับรถยนต์ และทางเข้าออกของรถยนต์ก็ได้ ส่วนที่จอดรถยนต์ต้องจัดให้อยู่ภายในบริเวณของอาคารนั้น ถ้าอยู่นอกอาคารต้องมีทางไปสู่อาคารนั้นไม่เกิน 200 เมตร

10 ด้านอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ร่วมกับกรมการปกครองยกร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2559 ซึ่งได้มีผลประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไป เพื่อผ่อนปรนหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนการใช้อาคารประเภทอื่นมาเป็นโรงแรม ประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้ - กฎกระทรวงใช้สำหรับโรงแรมที่ให้บริการห้องพักประเภท 1 (ห้องพักอย่างเดียวไม่เกิน 50 ห้อง) หรือโรงแรมที่ให้บริการห้องพักประเภท 2 (มีห้องพักและห้องอาคารเท่านั้น) ** ห้องอาหารในที่นี้ หมายถึง ห้องสำหรับรับประทานอาหาร หัวครัว หรือห้องประกอบอาหาร - การนำอาคารอื่นมาเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้ผู้ประสงค์ขอรับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ภายใน 5 ปี นับแต่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับ ในขณะที่ การดัดแปลงอาคารก่อนขอรับใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารมายื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือแจ้งและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ เพื่อดัดแปลงอาคารภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับ

11 ด้านอาคาร ต่อ - วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เสา คาน ตง พื้น บันได โครงหลังคา และผนังของอาคาร ถ้าอาคารมีความสูงไม่เกินสองชั้น ไม่ต้องทาด้วยวัสดุทนไฟก็ได้ - ช่องทางเดินในอาคารหรือเฉลียงทางเดิน อาคารที่มีความสูงไม่เกินสองชั้น + ห้องพักในอาคารเดียวกันไม่เกิน 10 ห้อง ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร อาคารที่มีความสูงเกินสองชั้น + ห้องพักในอาคารเดียวกันไม่เกิน 20 ห้อง ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร ถ้าเกิน 20 ห้อง ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร - บันไดของอาคาร อาคารที่มีความสูงไม่ถึงสี่ชั้น ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.09 เมตร และระยะห่าง ตามแนวทางเดิน ไม่เกิน 40 เมตร จากจุดที่ไกลสุดบนชั้นนั้น อาคารที่มีความสูงตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไป ต้องมีผนังหรือประตูทาด้วยวัสดุทนไฟที่สามารถ ปิดกั้นมิให้มีเปลวไฟหรือควันเมื่อเกิดเพลิงไหม้เข้าไปในบริเวณช่องบันได ทั้งนี้ ผนัง หรือประตูดังกล่าวต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 30 นาที - ที่ว่างอาคาร ต้องมีไม่น้อยกว่า 10 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร

12 ด้านอาคาร ต่อ - หน่วยบรรทุกจรสาหรับส่วนต่างๆ
อาคารมีความสูงไม่เกินสองชั้น ให้คานวณโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร อาคารมีความสูงเกินสองชั้น ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับอื่นที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เว้นแต่บันได และช่องทางเดินของอาคารที่เปลี่ยนการใช้มาจากห้องแถวหรือตึกแถว หน่วยน้าหนักบรรทุกจรต้องไม่ต่ากว่า 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตร - อุปกรณ์ดับเพลิง อาคารมีความสูงไม่เกินสองชั้น ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือหรือเครื่องดับเพลิงยกหิ้ว ตามประเภท ขนาด และสมรรถนะตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง ไม่น้อยกว่า ชั้นละ 1 เครื่อง อาคารมีความสูงเกินสองชั้น ให้มีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยตามที่กาหนดใน กฎกระทรวงฉบับอื่นที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

13 ด้านอาคาร ต่อ การนำอาคารประเภทอื่นมาใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม ที่มีอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ข้อกำหนดเกี่ยวกับแนวอาคาร ระยะดิ่งของอาคาร ระยะหรือระดับระหว่างอาคาร หรือเขตที่ดินของผู้อื่น หรือระหว่างอาคารกับถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ทาง หรือที่สาธารณะ ตามกฎหมายในขณะที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารนั้น * จากสภาพการณ์ในปัจจุบันที่มีโรงแรมที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยถูกต้องตามกฎหมายกว่า 10,000 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมในระยะเวลา 6 ปี กว่า 7,000 แห่ง คาดว่าการบังคับใช้กฎกระทรวงดังกล่าวจะทำให้มีโรงแรมที่สามารถนามาขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 หรือกว่า 5,000 แห่ง ในระยะเวลา 5 ปีนี

14 จากสำนักการสอบสวนและนิติการ
ขอขอบคุณ จากสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง


ดาวน์โหลด ppt โอกาสสุดท้ายทำโรงแรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google