ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยนัยนา ชินวัตร ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
1
ความปลอดภัยและระเบียบ ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ด้านชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม นางสาวนิรันตรี ทวีโคตร นักวิทยาศาสตร์ ประจำศูนย์ วิทยาศาสตร์
2
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นสถานที่จัดให้ นักศึกษาได้ทำปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีสิ่ง อำนวยความสะดวกในการทำปฏิบัติการและ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องแก้ว สารเคมีแก๊สชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง อาหารเลี้ยงเชื้อและจุลินทรีย์และสัตว์ทดลอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคล ดังนั้นถ้าผู้ปฏิบัติการขาดความระมัดระวังหรือ ขาดความรู้อาจทำให้เกิดความเสียหายหรือ ทรัพย์สินของห้องปฏิบัติการได้ ฉะนั้น สถานศึกษาจึงมีการจัดการให้เป็นระบบและมี แบบแผนขั้นตอนดำเนินงาน เพื่อให้การทำ ปฏิบัติการมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง
3
1. ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด ที่ออกแบบให้มีเต้าเสียบ 3 ขาจะต้องใช้เต้าเสียบนี้ ต่อกับเต้ารับที่มี 3 ช่องเท่านั้น เพื่อช่วยป้องกัน อันตรายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร 2. ความปลอดภัยในการใช้แก๊สและสารไวไฟ ก่อนเปิดวาล์วควรตรวจสอบสภาพของสายแก๊ส และหัวแก๊สเมื่อเลิกใช้แล้ว ต้องปิดวาล์วก่อนปิด เครื่องควบคุมความดันของแก๊สที่ใช้ทุกครั้ง แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย
4
แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย ต่อ 3. ความปลอดภัยจากรังสีและไอสารพิษ อันตรายจากสารเคมีเป็นสมบัติเฉพาะตัวของ สารแต่ละชนิดสารบางชนิดมีพิษร้ายแรง ไอของ สารอาจทำให้ ระคายเคืองต่อดวงตา และระบบ หายใจ บางชนิดเป็นสารกัมมันตรังสีที่ทำลาย เนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต อาจทำให้เนื้อเยื่อตายหรือ เปลี่ยนแปลงไปจนเกิดเป็นโรคมะเร็งได้ การทดลองที่มีควันพิษเกิดขึ้น จะต้องใช้ผ้า กรองควันพิษปิดจมูกและปาก และทำปฏิบัติการ ในตู้ดูดควัน (HOOD)
5
4. ความปลอดภัยจากเชื้อโรค การทำปฏิบัติการทางชีววิทยาที่ต้องใช้พืช สัตว์ และจุลินทรียในการทดลองจุลินทรีย์บางชนิดอาจ เป็นอันตรายหรือทำให้ เกิดโรคได้ ตู้เย็นที่ใช้ในห้องปฏิบัติการต้องไม่เก็บอาหาร หรือ เครื่องดื่มที่ใช้รับประทานไว้กับสารเพราะจะทำให้ เกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือก่อให้เกิดโรคได้ เครื่องแก้วที่ใช้ทดลองเกี่ยวกับเชื้อโรค ต้องฆ่า เชื้อด้วยวิธีการที่เหมาะสม (Clave) ก่อนนำไปล้าง ทำความสะอาดจนไม่มีคราบติดค้างอยู่ แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย ต่อ
6
การบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ 1. การเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ สารเคมี 2. การขอใช้ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และ ห้องปฏิบัติการ 3. การจัดเก็บวัสดุและสารเคมี 4. การดูแล บำรุงรักษาครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบการชำรุด เพื่อแจ้ง ให้กับหัวหน้าหน่วยงาน
7
1. การเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม สาขาวิชา ชีววิทยา
8
2. การขอใช้ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการ แบบฟอร์มขอใช้ครุภัณฑ์และ ห้องปฏิบัติการ บันทึกการใช้งานทุกครั้งลงใน LOG BOOK
9
3. การจัดเก็บวัสดุและสารเคมี การจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ทั้งประเภทเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องแก้วจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและการใช้ ประโยชน์วัสดุอุปกรณ์พวกที่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ หรือที่ใช้นานครั้งควรแยกกันไว้ เพื่อสะดวกในการใช้ อุปกรณ์ทางชีววิทยา ประกอบด้วย กล้องจุลทรรศน์ ประเภทต่าง ๆ เช่น E600 E400 E200 หรือกล้องสเต อริโอ เก็บในตู้ที่มีถุงซิริกาเจล เพื่อดูดความชื่น หรือมี หลอดไฟฟ้า 40-50 องศา เพื่อรักษาสภาพของอุปกรณ์ การจัดเก็บสารเคมี การจดเก็บสารเคมีที่ดีจะช่วย ป้องกันไม่ให้มีอันตรายเกิด ขึ้น ตามปกติไม่ควรเก็บ สารเคมีใน ห้องปฏิบัติการหรือห้องเตรียมปฏิบัติการ และไม่ควรเก็บสารเคมีไว้ในปริมาณมากเกินความ จำเป็น 3. การจัดเก็บวัสดุและสารเคมี
10
- การแยกเก็บสารเคมีตามประเภทของสารชนิด ต่าง ๆ - การจัดเก็บแยกไว้บนชั้น - การเก็บในตู้เย็น - การเก็บสารเคมีแยกไว้โดยเฉพาะ
11
- เมื่อครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์มีการชำรุดและใช้งาน ไม่ได้ หน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์จะเป็นคน ประสานการซ่อมบำรุงโดยผ่านการอนุมัติของ หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์ 4. การดูแล บำรุงรักษาครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการตรวจสอบการชำรุด เพื่อแจ้ง ให้กับหัวหน้าหน่วยงาน ข้อแนะนำในการใช้ห้องปฏิบัติการ วิทยาศาสตร์ - ระมัดระวังในการทำปฏิบัติการและทำปฏิบัติการ อย่างตั้งใจไม่เล่นหยอกล้อก้น - อ่านคู่มือการใช้อุปกรณ์ทดลองทุกชนิดก่อนใช้ งาน ถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องให้ มือแห้งสนิท ก่อนใช้การถอดหรือเสียบเต้าเสียบต้องจับที่เตา เสียบ เท่านั่นอย่าจับที่สายไฟ
12
Thank you
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.